ธรมมะและกฐิน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย รสมน, 16 สิงหาคม 2009.

  1. รสมน

    รสมน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,451
    ค่าพลัง:
    +2,047
    พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 722

    ธรรมเหล่าใด ย่อมทำอันตรายแก่สวรรค์และนิพพาน; เพราะเหตุนั้น

    ธรรมเหล่านั้นชื่อว่า อันตรายิกธรรม. อันตรายิกธรรมเหล่านั้นมี ๕ อย่าง

    ด้วยอำนาจ กรรม กิเลส วิบาก อุปวาท และอาณาวีติกกมะ. บรรดา

    อันตรายิกธรรมมีกรรมเป็นต้นนั้น ธรรมคือ อนันตริยกรรม ๕ อย่าง ชื่อว่า

    อันตรายิกธรรม คือ กรรม. ภิกขุนีทูสกกรรม ก็อย่างนั้น. แต่ภิกขุนีทูสก-

    กรรมนั้น ย่อมทำอันตรายแก่พระนิพพานเท่านั้น หาทำอันตรายแก่สวรรค์ไม่.

    ธรรมคือ นิยตมิจฉาทิฏฐิ ชื่อว่า อันตรายิกธรรม คือ กิเลส. ธรรมคือ

    ปฏิสนธิของพวกบัณเฑาะก์ ดิรัจฉาน และอุภโตพยัญชนก ชื่อว่า อันตรายิก-

    ธรรมคือวิบาก. การเข้าไปว่าร้ายพระอริยเจ้า ชื่อว่า อันตรายิกธรรม คือ

    อุปวาทะ. แต่อุปวาทันตรายิกธรรมเหล่านั้น เป็นอันตรายตลอดเวลาที่ยังไม่ให้

    พระอริยเจ้าทั้งหลายอดโทษเท่านั้น, หลังจากให้ท่านอดโทษไป หาเป็นอัน-

    ตรายไม่. อาบัติที่แกล้งต้อง ชื่อว่าอันตรายิกธรรมคือ อาณาวีติกกมะ. อาบัติ

    แม้เหล่านั้น ก็เป็นอันตรายตลอดเวลาที่ภิกษุผู้ต้องยังปฏิญญาความเป็นภิกษุ

    หรือยังไม่ออก หรือยังไม่แสดงเท่านั้น ต่อจากทำคืนตามกรณีนั้น ๆ แล้วหา

    เป็นอันตรายไม่.


    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒

    ข้อความบางตอนจากอรรถกถาอลคัททูปมสูตร

    ...... ชื่อว่าอันตรายิกธรรม เพราะทำอันตรายต่อสวรรค์และนิพพาน.

    อันตรายิกธรรมเหล่านั้นมี ๕ อย่าง คือ กรรม กิเลส วิบากอริยุปวาท

    และอาณาวีตกกมะ. .....

    ... อาบัติ ๗ กองที่ภิกษุจงใจล่วงละเมิดแล้ว ชื่อว่า อันตรายิกธรรมคือ

    อาณาวีติกกมะ. แม้อาณาวีติกกมันตรายิกธรรมเหล่านั้น ย่อมกระทำอันตราย

    ตลอดเวลาที่ภิกษุต้องอาบัติแล้วยังปฏิญญาตนว่าเป็นภิกษุอยู่ก็ดี ไม่อยู่ปริวาส

    กรรมก็ดี ไม่แสดงอาบัติก็ดีเบื้องหน้าแต่นั้น(แก้ไขให้ถูกต้อง) หากระทำอันตรายไม่.
    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1072

    [๒๘๒] อภัพพสัตว์เป็นไฉน ?
    สัตว์ทั้งหลาย ผู้ประกอบด้วยธรรมเป็นเครื่องกั้น คือ กรรม
    กิเลส วิบาก เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีฉันทะ มีปัญญาทราม ไม่อาจ
    ย่างเข้าสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลาย เหล่านี้เป็นอภัพพสัตว์.
    [ ๒๘๓ ] ภัพพสัตว์เป็นไฉน ?
    สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่ประกอบด้วยธรรมเป็นเครื่องกั้น คือ กรรม
    กิเลส วิบาก เป็นผู้มีศรัทธา มีฉันทะ มีปัญญาอาจย่างเข้าสู่สัมมัตต-
    นิยามในกุศลธรรมทั้งหลายเหล่านี้เป็นภัพพสัตว์ นี้เป็นญาณในฉันทะ
    เป็นที่มานอน และกิเลสอันนอนเนื่องแห่งสัตว์ทั้งหลาย ของพระ-
    ตถาคต.
    คำว่า " กฐิน " แปลว่าไม้สะดึง คือไม้แบบสำหรับเย็บจีวรของพระภิกษุ

    โดยความ หมายถึง ผ้า ผืนใดผืนหนึ่งที่พระพุทธองค์ทรงอนุญาต แก่พระภิกษุที่อยู่จำ

    พรรษาครบ ๓ เดือน ในอาวาสนั้นมีภิกษุอยู่จำพรรษา อย่างน้อย ๕ รูปขึ้นไป ถ้าจำนวนน้อย

    กว่านั้นไม่เป็นกฐิน

    [​IMG] กฐิน เป็นสังฆกรรมของสงฆ์อย่างหนึ่งที่ภิกษุทุกรูปต้องร่วมกันทำ กิจกรรมทั้งหมดต้องให้

    เสร็จภายในวันนั้น เมื่อพระภิกษุสงฆ์ได้กรานกฐินถูกต้องตามวินัยจะได้รับอานิสงส์ ๕ ประการ

    คือได้รับการผ่อนผันทางวินัย

    บางข้อ เช่น เที่ยวไปโดยไม่ต้องบอกลา และ ฉันคณะโภชน์ได้ เป็นต้น

    [​IMG] คำว่า " กฐินเดาะ " คือ รื้อกฐิน หมายความว่า ไม่ได้รับอานิสงส์ของกฐิน หรือหมดเขต

    อานิสงส์กฐิน
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#fefbe7 height=22 align=right><INPUT class=nostyle value=13027 align=absMiddle type=checkbox name=t_sel> </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=8 width=580 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top>
    พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ หน้าที่ 193
    กฐินขันธกะ
    ภิกษุปาไฐยรัฐเดินทางเข้าเฝ้า
    [๙๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันอาราม
    ของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุปาไฐยรัฐจำนวน
    ๓๐ รูป ล้วนถืออารัญญิกธุดงค์ บิณปาติกธุดงค์ และเตจีวริกธุดงค์ เดินทาง
    ไปพระนครสาวัตถี เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจวนถึงวันเข้าพูดพรรษา
    ไม่สามารถจะเดินทางให้ทันวันเข้าพรรษาในพระนครสาวัตถี จึงจำพรรษา ณ
    เมืองสาเกต ในระหว่างทาง ภิกษุเหล่านั้นจำพรรษามีใจรัญจวนว่า พระผู้มี-
    พระภาคเจ้าประทับอยู่ใกล้ ๆ เรา ระยะทางห่างเพียง ๖ โยชน์ แต่พวกเราก็
    ไม่ได้เฝ้าพระองค์ ครั้นล่วงไตรมาส ภิกษุเหล่านั้นออกพรรษาทำปวารณา
    เสร็จแล้ว เมื่อฝนยังตกชุก พื้นภูมิภาคเต็มไปด้วยน้ำ เป็นหล่มเลน มีจีวร
    ชุ่มชื้นด้วยน้ำ ลำบากกาย เดินทางไปถึงพระนครสาวัตถี พระเชตวัน อาราม
    ของอนาถบิณฑิกคหบดี เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ
    ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
    การที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย ทรงปราศัยกับพระอาคันตุกะทั้ง
    หลายนั่นเป็นพุทธประเพณี
    พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ หน้าที่ 193-194

    พุทธประเพณี

    ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า ดูก่อนภิกษุ
    ทั้งหลาย พวกเธอยังพอทนได้หรือ พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ พวกเธอ
    เป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน จำพรรษาเป็นผาสุก และไม่
    ลำบากด้วยบิณฑบาตหรือ ?
    ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า พวกข้าพระพุทธเจ้ายังพอทนได้ พอยัง
    อัตภาพให้เป็นไปได้ พระพุทธเจ้าข้า อนึ่ง ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้
    พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน จำพรรษาเป็นผาสุก และไม่ลำบาก
    ด้วยบิณฑบาต พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระพุทธเจ้าในชุมนุมนี้เป็นภิกษุ
    ปาไฐยรัฐจำนวน ๓๐ รูป เดินทางมาพระนครสาวัตถี เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระ-
    ภาคเจ้า เมื่อจวนถึงวันเข้าพรรษา ไม่สามารถจะเดินทางให้ทันวันเข้าพรรษา
    ในพระนครสาวัตถี จึงจำพรรษา ณ เมืองสาเกต ในระหว่างทาง พวกข้า-
    พระพุทธเจ้านั้นจำพรรษามีใจรัญจวนว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ใกล้ ๆ
    เรา ระยะทางห่างเพียง ๖ โยชน์ แต่พวกเราก็ไม่ได้เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
    ครั้นล่วงไตรมาส พวกข้าพระพุทธเจ้าออกพรรษาทำปวารณาเสร็จแล้ว เมื่อ
    ฝนยังตกชุก พื้นภูมิภาคเต็มไปด้วยน้ำ เป็นหล่มเลน มีจีวรชุ่มชื้นด้วยน้ำ
    ลำบากกาย เดินทางมา พระพุทธเจ้าข้า.
    พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ หน้าที่194-195

    พระพุทธานุญาตให้กรานกฐิน
    [๙๖] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุ
    เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน
    ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลาย ผู้จำพรรษาแล้วได้กรานกฐิน
    พวกเธอผู้ได้กรานกฐินแล้ว จักได้อานิสงส์ ๕ ประการ คือ:-
    ๑. เที่ยวไปไหนไม่ต้องบอกลา.

    ๒. ไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบสำรับ.
    ๓. ฉันคณะโภชน์ได้.
    ๔. ทรงอดิเรกจีวรไว้ได้ตามปรารถนา.
    ๕. จีวรอันเกิดขึ้น ณ ที่นั้นจักได้แก่พวกเธอ.
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๕ ประการนี้ จักได้แก่เธอทั้งหลาย

    ผู้ได้กรานกฐินแล้ว
    พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ หน้าที่ 193-240

    วิธีกรานกฐิน
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงกรานกฐินอย่างนี้ คือ ภิกษุผู้ฉลาด
    ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
    กรรมวาจาให้ผ้ากฐิน
    ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผ้ากฐินผืนนั้นเกิดแล้วแก่สงฆ์
    ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้ผ้ากฐินผืนนี้ แก่ภิกษุมีชื่อนี้
    เพื่อกรานกฐิน นี้เป็นญัตติ.
    ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผ้ากฐินผืนนี้เกิดแล้วแก่สงฆ์
    สงฆ์ให้ผ้ากฐินผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้ เพื่อกรานกฐิน การให้ผ้ากฐินผืนนี้แก่ภิกษุ
    มีชื่อนี้ เพื่อกรานกฐิน ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงนิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด
    ท่านผู้นั้นพึงพูด.
    ผ้ากฐินผืนนี้ สงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุมีชื่อนี้ เพื่อกรานกฐิน ชอบแก่สงฆ์
    เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล กฐินเป็นอันกราน อย่างนี้ไม่เป็น
    อันกราน.
    พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ หน้าที่ 197-198

    กฐินเป็นอันกราน
    [๙๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างไรเล่า กฐินเป็นอันกราน คือ:-
    ๑. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าใหม่.
    ๒. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าเทียมใหม่.
    ๓. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าเก่า.
    ๔. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าบังสุกุล.
    ๕. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ตกตามร้าน.
    ๖. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ไม่ได้ทำนิมิตได้มา.
    ๗. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ไม่ได้พูดเลียบเคียงได้มา.
    ๘. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ไม่ได้ยืมเขามา.
    ๙. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ไม่ได้เก็บไว้ค้างคืน.
    ๑๐. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ไม่ได้เป็นนิสสัคคีย์.
    ๑๑. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ทำกัปปะพินทุแล้ว.
    ๑๒. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าสังฆาฏิ.
    ๑๓. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าอุตราสงค์.
    ๑๔. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าอันตรวาสก.
    ๑๕. กฐินเป็นอันกราน ด้วยจีวรมีขันธ์ ๕ หรือเกิน ๕ ซึ่งตัดดีแล้ว
    ทำให้มีมณฑลเสร็จในวัน.
    ๑๖. กฐินเป็นอันกราน เพราะการแห่งบุคคล.
    ๑๗. กฐินเป็นอันกรานโดยชอบ ถ้าภิกษุอยู่ในสีมาอนุโมทนากฐินนั้น
    แม้อย่างนี้ กฐินก็ชื่อว่าเป็นอันกราน.
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล กฐินเป็นอันกราน.
    [๙๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างไรเล่า กฐินเป็นอันเดาะ ?
    พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ หน้าที่ 198

    มาติกา ๘
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาติกาเพื่อเดาะกฐิน ๘ ข้อนี้ คือ
    ๑. กำหนดด้วยหลีกไป. ๒. กำหนดด้วยจีวรทำเสร็จ.
    ๓. กำหนดด้วยตกลงใจ. ๔. กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.
    ๕. กำหนดด้วยได้ยินข่าว. ๖. กำหนดด้วยสิ้นหวัง.
    ๗. กำหนดด้วยล่วงเขต. ๘. กำหนดด้วยเคาะพร้อมกัน
    พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ หน้าที่ 198-199

    อาทายสัตตกะที่ ๑
    [๑๐๐] ๑. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรที่ทำเสร็จแล้วหลีกไป ด้วย
    คิดว่าจักไม่กลับมา การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยหลีกไป
    ๒. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไป เธออยู่นอกสีมา เกิดความ-
    คิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ จักไม่กลับมาละ
    เธอให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ.
    ๓. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไป เธออยู่นอกสีมา เกิดความ-
    คิดอย่างนี้ว่า จักไม่ให้ทำจีวรผืนนี้ จักไม่กลับ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น
    กำหนดด้วยตกลงใจ.
    ๔. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไป เธออยู่นอกสีมา เกิดความ-
    คิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ จักไม่กลับ แล้วให้ทำ
    จีวรผืนนั้น จีวรของเธอ ที่กำลังทำอยู่นั้นได้เสียหรือหาย การเดาะกฐินของ
    ภิกษุนั้น กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.
    ๕. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไป ด้วยคิดว่าจักกลับมา เธอ
    อยู่นอกสีมา ให้ทำจีวรผืนนั้น ครั้นทำจีวรเสร็จแล้ว ได้ยินข่าวว่าในอาวาสนั้น
    กฐินเดาะเสียแล้ว การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยได้ยินข่าว.
    ๖. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไป ด้วยคิดว่าจักกลับมา
    เธออยู่นอกสีมา ให้ทำจีวรผืนนั้น ครั้นทำจีวรเสร็จ คิดว่าจักกลับมา จักกลับ
    มา แล้วล่วงคราวกฐินเดาะ ณ ภายนอกสีมา การเดาะกฐินของภิกษุนั้น
    กำหนดด้วยล่วงเขต.
    ๗. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไป ด้วยคิดว่าจักกลับมา เธอ
    อยู่นอกสีมา ทำให้จีวรผืนนั้น ครั้นทำจีวรเสร็จ คิดว่าจักกลับมา จักกลับมา
    แล้วกลับมาทันกฐินเดาะ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น พร้อมกับภิกษุทั้งหลาย
    อาทายสัตตกะที่ ๑ จบ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...