ท่านพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ อธิจิต

ในห้อง 'ทวีป อเมริกา' ตั้งกระทู้โดย Wat Pa Gothenburg, 1 ธันวาคม 2008.

  1. Wat Pa Gothenburg

    Wat Pa Gothenburg เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    920
    ค่าพลัง:
    +260
    <table border="0" cellpadding="7" cellspacing="7" width="500"><tbody><tr><td colspan="3" align="center">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="3" align="center">[SIZE=+2]ท่านพ่อลี ธัมมธโร[/SIZE]</td> </tr> <tr> <td colspan="3" align="center">[SIZE=+1]วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ[/SIZE]</td> </tr> </tbody></table> <center> อธิจิต </center> ต่อไปนี้จะได้นำแนวทางปฏิบัติมาชี้แจง เพื่อให้ท่านทั้งหลายได้บรรลุถึงธรรมที่มีอยู่ในตัวเราทุกคน จงพากัน ตั้งใจปฏิบัติบำเพ็ญให้จิตเป็นธรรมเกิดขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ได้ก็จะเป็นเครื่องส่งเสริมผลักดันให้ดวงจิตซึ่งเป็นธรรม ได้มี ความหนักแน่นละเอียดต่อไป จนถึงกับบรรลุคุณธรรมอันสูงสุด คือพระนิพพาน
    ดวงจิตของเราซึ่งตามธรรมชาติธรรมดาย่อมจมอยู่ด้วยกิเลสอาสวะ อันติดมาแต่กำเนิดเสียเป็นส่วนมาก เมื่อ เรามามุ่งชะล้างออก ก็ต้องอาศัยความพยายาม ถ้าไม่เช่นนั้นจิตของเราก็จะถูกดูดเลื่อนลอยไปตามกระแสของมัน ดวง จิตธรรมชาติเป็นดวงจิตที่แก้ไขดัดแปลงได้ ไม่เหลือความสามารถของใคร ถ้ามุ่งจริง เพียรจริง
    พุทธบริษัทผู้มุ่งความหลุดพ้น พึงทำจิตของตนให้ถึง อธิจิต โดยความไม่ประมาทเถิด อธิจิตฺเต จ อาโยโค เอตํ พุทฺธานสาสนํ พระองค์ทรงตรัสไว้ดังนี้ อธิจิต นี้ แปลว่า จิตที่ยิ่ง สามารถที่จะขึ้นเหนือกิเลสกรรม การที่จะขึ้นถึง อธิจิตนั้น มีอยู่ ๒ ประการ คือ
    ๑. ดวงจิตของตนไม่มีคุณธรรมอันยิ่ง แต่ตนทำให้ยิ่งด้วยความเพียร
    ๒. ดวงจิตมีคุณธรรม และอาศัยคุณธรรมนั้นปกป้องจิตเอาไว้ให้อยู่เหนือกิเลสกรรม
    ประการแรก เช่นจิตคนเราธรรมดา เมื่อไม่นั่งเข้าที่ก็ไม่มีสมาธิ แต่ต้องอาศัยอดทนไตร่ตรอง เมื่อกิเลสเกิด ขึ้นในจิต เราก็ต้องรู้และใฝ่นึกคิดว่า เราจะไม่ยอมให้กิเลสนั้นๆมาข่มเหงจิตเราได้ เราจะต้องพยายามอยู่เหนือ อำนาจกิเลสให้จงได้ นี่เป็นสัมมาสังกัปโป เช่นนี้เป็นความคิดนึกที่ถูกต้อง ถึงจะยังไม่มีสมาธิก็ยังพอใช้การได้ หมายถึง จิตเรารู้ทัน เช่นเวลาเราโกรธ เมื่อพบหรือไปกระทบอารมณ์ที่ไม่พึงปรารถนาเช่นนี้ ก็ให้เรามีความรู้ตัว และให้มีความ ตั้งใจนึกว่า เราจะข่มความโกรธนั้นๆให้อยู่ในอำนาจของเราให้จงได้! โดยอดทนต่อสู้นำเอาของดีๆออกมาใช้ คือเมื่อ เราโกรธ เราก็ทำเหมือนไม่โกรธ ไม่เอาความโกรธมาทับจิตของตน ให้เอาความดีมาทับ นี้เรียกว่า อธิจิต หรือเมื่อพบ อารมณ์ที่ไม่พึงปรารถนา เราก็ไม่แสดงความไม่ชอบออกมา แต่ให้แสดงมรรยาทอันเป็นไปเพื่อความเยือกเย็นและเป็น สุขออกมา จงนำของดีออกมาใช้ อย่านำของเสียมาใช้เป็นอันขาด
    เมื่อผู้ใดมีความรอบคอบรู้จักยับยั้งชั่งใจ ก่อนที่จะแสดงกิริยาอาการตามอำนาจกิเลสออกมา แล้วข่มกิเลสให้ หยุด แสดงแต่มรรยาทที่ควรออกมาได้ ผู้นั้นก็นับว่าเป็นผู้ที่มีอธิจิตได้ และจะได้นามว่า กัลยาณชน เป็นคนดีของ หมู่คณะ อันจะเป็นทางนำไปสู่ความเจริญด้วย ตามบาลีเรียกว่า โสรัจจะ ชื่อว่าเป็นผู้มีจิตเหนือกิเลสดังกล่าวมานี้ เรียกว่าอธิจิตประการหนึ่ง ซึ่งควรบำเพ็ญให้มีในตนของผู้ปฏิบัติตามกำลังความสามารถ
    ประการที่ ๒ อธิจิตอีกประการหนึ่ง คือจิตที่ปราศจากนิวรณธรรม บำเพ็ญใจของตนให้อยู่ในสัมมาสมาธิ มีจิตตั้งมั่นในคุณธรรม เมื่อกิเลสเกิดขึ้นก็เข้าครอบครองดวงจิตเขาผู้นั้นไม่ได้ เพราะเข้าไม่ถึง ด้วยจิตของผู้นั้นมี คุณธรรมปกป้องเพียบพร้อมอยู่แล้ว
    ขอให้ผู้ปฏิบัติมุ่งบำเพ็ญความดี คืออธิจิตนี้ให้เกิดขึ้นกับตน โดยอาศัยความเพียรบากบั่นพยายามให้รัก ความดีของตน เหมือนเรามีอาหารรสดี เราก็ต้องพยายามขับไล่แมลงหวี่แมลงวันไม่ให้มาไต่ตอม จึงจะบริโภคได้สบาย ไม่มีโทษ ต้องรู้จักสังเกตและประกอบ โยคะธรรม ให้เกิดขึ้น คือ
    ๑. ปหานปทา สิ่งใดที่เป็นศัตรูหมู่มาร จะมาทำสันดานตนให้หม่นหมอง เราต้องประหารเสีย
    ๒. วิริยะปทา คือต้องอาศัยวิริยภาพ เพียรพยายามสร้างคุณงามความดีให้เกิดมีขึ้นในตน
    ทั้ง ๒ ประการนี้ ถ้าใครประกอบเนืองๆ จะยังจิตของตนให้ถึงอธิจิตได้
    กล่าวถึงเรื่องความเพียรก็ควรให้รู้ไว้ด้วยว่า เขาแยกออกเป็น ๒ ประการ ประการที่หนึ่ง คือการเพียรละ เครื่องเศร้าหมองใจ ประการที่สองเพียรยกจิตของตนขึ้นสู่กรรมฐาน อันเป็นเครื่องประหารนิวรณธรรมต่างๆเสียได้
    นิวรณธรรม คือธรรมอันกั้นจิตไม่ให้บุคคลบรรลุความดี มีอยู่ ๕ อย่าง คือ
    กามฉันทะ การพอใจรักใคร่ในอารมณ์ที่ถูกใจชอบใจ มีรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์เป็นต้น
    พยาปาทะ การปองร้ายผู้อื่น
    ถีนมิทธะ ความที่จิตหดหู่และเคลิบเคลิ้ม
    อุทธัจจะกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ และ
    วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย ไม่ตกลงใจได้
    เรื่องกรรมฐานนี้ มี ๒ วิธี คือ ชนิดที่ต้องเรียนทาง อันดับ และกรรมฐานชนิดที่ต้องเรียน ทางสันโดษ” ดังจะได้อธิบายต่อไปนี้
    ๑. การเรียนกรรมฐานตามอันดับ คือการพิจารณาไปโดยลำดับ เรียนไปตามหมวดหมู่ของมันอย่าให้ ข้ามหน้าข้ามหลัง ทั้งนี้แล้วแต่เราจะเจริญอย่างใด ใช้ชนิดไหน ก็ต้องให้เข้าใจหมวดหมู่ ลำดับหน้าลำดับหลัง ของแต่ละ ชนิดนั้นๆให้ดี เพื่อจะได้นำไปใช้ให้ถูกกับเรื่อง กรรมฐานชนิดนี้มีคุณอนันต์ แต่ก็มีโทษมหันต์เหมือนกัน ตัวอย่างเช่น การเจริญอสุภะ ถ้าพิจารณาในด้านคุณก็ก่อให้เกิดจิตสังเวช ปล่อยวาง อารมณ์สงบฯลฯ แต่บางทีกลับทำให้ผู้เจริญ กลืนข้าวไม่ลงคอก็มี เพราะมองเห็นอะไรมันโสมมไปหมด อย่างนี้ก็กลับเป็นโทษ อีกอย่างหนึ่ง บางคนพิจารณาจน เกิดนิมิต แต่กลับมีอาการหวาดกลัวเกิดขึ้น อย่างนี้จึงต้องให้ผู้บำเพ็ญภาวนาพยายามมีความรู้เท่าทันเอาไว้จะได้ก่อให้ เกิดประโยชน์ มิใช่ให้กลับเป็นได้รับโทษมาสู่ตน
    ๒. การเรียนกรรมฐานทางสันโดษ คือให้ตั้งใจกำหนดส่วนที่ละเอียด ที่ไม่มีอาการมากมาย คือ การเจริญ ธาตุลม ตั้งสติกำหนดลมเข้าออก อย่าวอกแวกไปอื่น ลมสบายอย่างไหนก็ควรใช้อย่างนั้น จิตจะสงบลงไป แล้วพยายาม ทำลมให้ละเอียดเข้า ต้องประคับประคองลมตลอดทั้งจิตของเราด้วย ให้เหมือนกับประคองสำลีในฝ่ามือฉะนั้น จนเรา รู้สึกว่าลมไม่มีอาการเข้าออก จิตไม่วอกแวก สงบเงียบ ตัดสัญญาอดีตอนาคตเสียได้จึงจะละเอียดยิ่งขึ้นไปอีก ไม่มี ความฟุ้งซ่าน จิตจะเที่ยงไม่เปลี่ยนไปตามอารมณ์ จิตจะตั้งมั่นไม่หวั่นไหว จิตจะเป็นอัปปนาสมาธิ และเกิดกำลังขึ้น
    ผู้เจริญกรรมฐานจนถึงขั้นนี้แล้วจะทำให้จิตของตนปล่อยวาง มีความรู้ความศรัทธาในเรื่องไตรลักษณะญาณ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ความสงสัยต่างๆจะคลายตัว ย่อมทราบได้ถึงทางพระนิพพาน และทางโลกีย์โดย ไม่ต้องไปถามใคร เมื่อรู้แจ้งชัดไม่สงสัย ใจมั่นด้วยตนเอง ก็ย่อมได้ชื่อว่าตนของตนเป็นที่พึ่งของตน อตฺตาหิ อตฺตโน นาโถ” ไม่ต้องพึ่งพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อีก เพราะพึ่งตนเองได้แล้ว ความวุ่นวายเดือดร้อนและนิวรณ์ ทั้งห้าก็จะดับลง ดวงจิตก็จะขึ้นถึงโลกุตรธรรมได้สำเร็จ ดวงจิตจะไม่หวั่นไหวไปตามผู้อื่น อารมณ์อื่นจิตจะถึงความสุข ที่เรียกว่า อธิจิต”

    *********
     

แชร์หน้านี้

Loading...