ท่านพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ วิชชา อวิชชา

ในห้อง 'ทวีป อเมริกา' ตั้งกระทู้โดย Wat Pa Gothenburg, 1 ธันวาคม 2008.

  1. Wat Pa Gothenburg

    Wat Pa Gothenburg เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    920
    ค่าพลัง:
    +260
    <table border="0" cellpadding="7" cellspacing="7" width="500"><tbody><tr><td colspan="3" align="center">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="3" align="center">[SIZE=+2]ท่านพ่อลี ธัมมธโร[/SIZE]</td> </tr> <tr> <td colspan="3" align="center">[SIZE=+1]วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ[/SIZE]</td> </tr> </tbody></table> <center> วิชชา อวิชชา </center> ตัวจริงของธรรมะนั้น ความจริงเป็นของไม่ยากสำหรับคนที่มีวิชชา แต่ยากสำหรับคนที่ไม่มีวิชชา เรื่องที่ว่ายากนั้นก็เพราะเป็นสิ่งที่ฝืนใจตนเอง ถ้าเป็นที่ตามใจตนเองแล้วก็เป็นของง่าย ฉะนั้นธรรมะที่แท้จริงจึงเป็นเรื่องที่ฝืนใจ เพราะธรรมดาของดีก็ย่อมเป็นเช่นนั้น เป็นธรรมดาของสิ่งที่จะเกิดคุณประโยชน์แก่ตัวเราแล้ว สิ่งนั้นเราจะต้องใช้ความพยายาม ทำด้วยความยากลำบาก แม้ในทางโลกก็เป็นไปอย่างนี้เหมือนกัน สิ่งใดที่จะให้สาระประโยชน์แก่ตน ย่อมเป็นของที่แสวงหามาได้โดยยาก แต่ส่วนที่ไม่เป็นสาระประโยชน์นั้น ข้างๆบ้านเราก็มีเยอะแยะ ไม่ต้องไปเที่ยวหาให้ยาก
    สิ่งนี้ก็ได้แก่ “อวิชชา” คือ “ความไม่รู้ที่เป็นตัวจริง” แต่ก็ “ความไม่รู้ตัวจริง” นี้แหละเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิด วิชชา คือ ความรู้ตัวจริงได้ ความรู้ความจริงนี้ย่อมมีอยู่ทั่วไป เหมือนกับเมล็ดฝนที่ผุดขึ้นในอากาศใครรู้จักหาและน้อมเข้ามาไว้ในตนได้ก็จะ รู้สึกร่มเย็นเป็นสุข นี้เรียกว่า “วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน” ซึ่งเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับคำว่า “อวิชฺชา” เหตุนั้นจึงจะยกธรรมะมาแสดงให้ฟังอีกสักข้อหนึ่ง ในข้อที่ว่า “วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน” ซึ่งแปลความว่า “บุคคลใดเป็นผู้แสวงหาธรรมะจริงๆแล้ว บุคคลนั้นย่อมจะมีวิชชาเกิดขึ้นในตนเสมอ” ในที่นี้จะได้อธิบายถึงคำว่า “ธรรมะ” เสียก่อน ธรรมะในโลกนี้ย่อมมีอยู่ด้วยกันทุกคนทุกรูปทุกนามถ้าจะแบ่งออกก็เป็น ๓ อย่าง คือ กุสลา ธมฺมา อกุสลา ธมฺมา และ อพฺยากตา ธมฺมา
    ๑. กุสลา ธมฺมา คือ ความดีซึ่งมีอยู่โดยธรรมชาติ ถึงพระพุทธเจ้าจะมาแสดงหรือไม่แสดงก็ย่อมมีอยู่ธรรมะนี้คือสิ่งที่จะอำนวย ประโยชน์สุขให้สัตวโลกทั้งหลายได้ตามความปฏิบัติของตนๆ อย่าไปเข้าใจว่าความดีนั้นเกิดจากพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติ หรือเกิดจากพระศาสนา ความดีนั้นมีอยู่ในโลกนี้มานานนักหนาก่อนพุทธกาลแล้ว แต่ไม่มีใครรู้จัก เพราะนักปราชญ์ก็ยังไม่ได้ค้นพบ ต่อมาพระพุทธเจ้าได้ทรงเป็นผู้ค้นหา “ความรู้” ขึ้น จึงทรงแลเห็นธรรมซึ่งมีอยู่แต่ดึกดำบรรพ์ในโลกธาตุนี้ ธรรมะเช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะพระองค์ตรัสหรือเกิดจากพระพุทธศาสนา แต่เป็นส่วนกุศลธรรมที่มีอยู่ในโลกโดยธรรมชาติเอง ถ้ากุศลธรรมอย่างนี้ไม่มีประจำอยู่ในโลกแล้ว มนุษย์ก็จะต้องตายกันหมดทั้งโลก ที่เราพากันอยู่เย็นเป็นสุขทุกวันนี้ก็เพราะได้อาศัยธรรมะมาประกอบจิตใจขึ้น ตามสติกำลังของตนๆที่จะพึงค้นหาได้ มิฉะนั้นเราก็ทนต่อความร้อนทุกๆอย่างในโลกไม่ได้ นี้อย่างหนึ่ง
    ๒. อกุสลา ธมฺมา คือความชั่ว นี้ก็เช่นเดียวกัน ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะพระพุทธเจ้ามากล่าว หรือพระพุทธเจ้ามาสอน มีอยู่ในโลกเองโดยธรรมชาติ แต่คนมิได้นึกถึง มิได้สังเกตเห็น ก็เข้าใจผิด นึกว่าบาปนี้ก็เกิดจากคำสอนของพระพุทธเจ้า จึงไม่สนใจ เพราะคิดว่า พระพุทธเจ้าเป็นคนแต่งบาปแต่งบุญ บุญบาปก็เลยปนเปกันอยู่ดังนี้ โดยไม่มีผู้รู้ความจริง แต่พระพุทธเจ้าท่านทรงมีพระสติปัญญาอย่างยิ่ง จึงได้มาคัดเลือกว่าส่วนไหนเป็นข้าวเปลือก ส่วนไหนเป็นข้าวสาร ส่วนไหนเป็นข้าวกล้อง ส่วนไหนเป็นแกลบ และส่วนไหนเป็นรำพระองค์ได้ทรงจัดสรรแยกออกเป็นพวกๆ เมื่อใครชอบอย่างไหนก็เลือกเอาอย่างนั้น แล้วแต่ความพอใจ พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า กรรมเป็นของๆตน เมื่อใครทำกรรมดีก็ต้องได้ดี ใครทำชั่วก็ต้องได้ชั่ว
    ธรรมะทั้งหลาย คือ ความดีและความชั่วซึ่งมีอยู่โดยธรรมชาตินี้ เมื่อกล่าวจริงๆแล้วก็คือ ดวงจิตของเราซึ่งมีอยู่ในสรีระร่างกายนี่เอง ไม่ใช่ว่าเราจะต้องไปเอามาจากไหน ถ้าจะถามถึงสาเหตุแล้ว พระพุทธเจ้าก็คงบอกได้ แต่มันเป็นกำปั้นตีดิน ถ้าจะถามว่าดวงจิตมาจากไหน? ก็ต้องตอบว่ามาจากตัวเรา แล้วตัวเรามาจากไหน? ก็ตอบว่า มาจากพ่อจากแม่ มันก็ได้แค่นี้แหละ ถ้าจะตอบอีกอย่างหนึ่งก็เป็นสิ่งที่แลเห็นได้ยาก ผู้ที่มีวิชชานั่นแหละจึงจะตอบได้ คือ ถามว่าจิตเกิดจากอะไร? ก็ตอบว่าจิตเกิดจากอวิชชา แล้วอวิชชาเกิดจากอะไร? อวิชชาก็เกิดจากสังขาร แล้วสังขารเกิดจากอะไร? สังขารเกิดจากอวิชชา เหมือนกับปัญหาที่เขาถามกันว่า ไก่เกิดจากอะไร? ก็ตอบว่าไก่เกิดจากไข่ แล้วไข่เกิดจากอะไร? ไข่ก็เกิดจากไก่ ถ้าถามกันไปตอบกันมา ก็ต้องวนไปเวียนมาอยู่อย่างนี้ไม่รู้จบ นี่แหละโลกิยธรรมมันเป็นอย่างนี้
    เรื่องจิตใจของคนเรานี้ กล่าวโดยย่อๆก็มีอยู่ ๒ ใจ คือใจหนึ่งชอบทำบุญ อีกใจหนึ่งชอบทำบาป ใจเดียวนี้แหละ แต่มันมี ๒ ใจ บางคราวที่บุญเข้ามาสิง ใจก็นึกอยากจะทำบุญ นี่เรียกว่ากุศลธรรมเข้ามาสิงคราวใดที่บาปเข้ามาสิง ใจก็นึกอยากจะทำบาป นี่เรียกว่าอกุศลธรรมเข้ามาสิง ดวงจิตของเราจึงพะเวพะวังอยู่อย่างนี้ เหตุนั้นพระพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้คนมีวิชชา จะได้รู้จักว่าอันใดเป็นบุญกุศล อันใดเป็นบาปอกุศล ถ้าอวิชชามันปิดใจเราอยู่ เราก็จะมองไม่เห็นอะไรได้ถนัด เหมือนกับมีหมอกมาบังตาไว้ ถ้าความรู้ของเราออกไปห่างไกลจากโลกมากนัก ก็ยิ่งจะมองไม่เห็นอะไรเลย เหมือนคนที่อยู่บนเครื่องบินสูงๆ แล้วมองลงมายังพื้นดินข้างล่าง ก็ย่อมจะมองเห็นบ้านเรือนหรือวัตถุอะไรๆไม่ชัดเจนเหมือนกับเมื่อยังอยู่บน ภาคพื้นดิน ยิ่งสูงขึ้นไปเท่าไร ก็ยิ่งเป็นหมอกไปหมด มองไม่เห็นอะไรเลย แม้แต่ผู้คน เหตุนั้นพระพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้พากันหาวิชชาใส่ตัวเองไว้ให้มากๆ เพื่อหูตาของเราจะได้สว่างแจ่มใสไม่มีเมฆหมอกมาปิดบัง วิชชาที่จะเกิดในพระพุทธศาสนา มีอยู่ ๓ ทาง คือ
    ๑. สุตมยปัญญา เป็นวิชชาที่จะต้องพากันศึกษาสดับตรับฟังให้เข้าใจว่า สิ่งใดเป็นบาปที่จะนำคนให้ไปสู่ในทางชั่ว สิ่งใดเป็นบุญที่จะนำคนให้ไปสู่ในทางดี เมื่อรู้แล้วเราก็จะถามตัวเองว่า เราอยากไปทางทุกข์ไหม? ถ้าเราตอบว่ามันลำบาก เราไม่ต้องการ เราอยากไปทางสุข เราก็ต้องตั้งหน้าประกอบความดีเข้า ความดีนั้นก็จะต้องนำให้เราไปทางสุข เช่นบางคนที่เป็นบ้านนอกบ้านนาแท้ๆ แต่เขามาศึกษาอบรมจนมีวิชาความรู้เขาก็ได้เป็นใหญ่เป็นโตขึ้น ก็เหมือนกับพวกเรานี่แหละ ถ้าเราพากันศึกษาอบรมจนเกิดวิชชาขึ้นแล้ว ก็ย่อมจะต้องได้เป็นคนดีด้วยกันทุกคน นี่เป็นปฐมศึกษา ก.กา ก.ไก่ ที่เรียกว่า สุตมยปัญญา
    ๒. จินตามยปัญญา คือวิชชาที่เราได้เรียนมาแล้วนั้น ถ้าเห็นว่าอะไรเป็นความดีแล้ว เราก็พากันทำไปทีละอย่างๆ จนปรากฎเห็นผลดีขึ้นในตน อย่าเพิ่งไปกำหนดเชื่อแน่เอาว่าอย่างนั้นอย่างนี้แล้วจะเป็นการดีเป็นการถูก ต้องไปทุกอย่าง บางทีสิ่งที่ทำไปนั้นถูกกับธรรมะแต่ไม่ถูกกับใจคนก็มี ฉะนั้นสิ่งใดที่พระท่านพูดถูกเราก็จำไว้ พูดไม่ถูกเราก็จำไว้ แล้วก็เก็บไปพิจารณาไตร่ตรองในตัวเองให้เกิดวิชชาความรู้ขึ้นในตน นั่นแหละจึงจะเรียกว่าคนฉลาด คือไม่ใช่เชื่อตามตำรา เชื่อตามเขาว่า หรือเชื่อตามครูอาจารย์ ก่อนจะทำอะไรเราจะต้องพิจารณาทบทวนดู จนเห็นแน่ชัดเสียก่อนแล้วจึงทำ อย่างนี้จึงจะเรียกว่าเชื่อตามเหตุผลที่เกิดขึ้นในตนเอง นี่เป็นวิชชาขั้นที่สองเรียกว่า จินตามยปัญญา แต่ยังไม่เลิศนัก เป็นแต่เพียงถ่ายเท อวิชชา ที่มีอยู่ในตัวออกได้บ้าง ทั้ง ๒ อย่างที่กล่าวมานี้ก็ยังเป็นวิชชาขั้นต่ำ
    ๓. วิชชาที่สูงจริงๆนั้นเรียกว่า ภาวนามยปัญญา วิชชานี้ย่อมเกิดขึ้นในดวงจิตของบุคคลซึ่งได้อบรมแล้ว ที่ท่านเรียกว่า “วิชชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู” วิชชานี้ก็คือ ๑. ปุพฺเพนิวาสานุสฺสติญาณ รู้กำเนิดชาติภพของตัวเอง ๒. จุตูปปาตญาณ รู้จักจิตสันดานของมนุษย์ ว่าสร้างบุญสร้างกรรมอะไรๆมา แล้วเมื่อเขาตายแล้วเขาจะไปไหน ๓. อาสวกฺขยญาณ เมื่อใครทำจิตเป็นสัมมาสมาธิเกิดความสงบขึ้นในจิต จนเกิดวิปัสสนาญาณขึ้นแล้ว ก็จะพากันละ สักกายทิฏฐิ มองเห็นว่าร่างกายไม่ใช่ของๆตน ละวิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในคุณพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ก็หมดสิ้นไป ไม่สงสัยในมรรคในผล และเมื่อผู้ใดตั้งใจปฏิบัติธรรมจริงแล้ว ไม่ว่ากาลใดเวลาใดมรรคผลนิพพานจะต้องมีได้ทุกเวลา นี่เรียกว่า “อกาลิโก” ให้ผลไม่มีกาลและเมื่อใครเจริญศีล สมาธิ ปัญญา ให้มีขึ้นในตนเป็น “โอปนยิโก” แล้ว ก็จะต้องเห็นได้ว่า พระพุทธเจ้ามีคุณกำจัดภัยได้จริง พระธรรมมีคุณกำจัดภัยได้จริง พระสงฆ์มีคุณกำจัดภัยได้จริง ก็จะละสีลพัตตปรามาส พากันตั้งมั่นอยู่ในศีล ๕ เมื่อละได้ดังนี้ ก็จะเป็น อาสวกฺขยญาณ เป็น “วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน”
    สามอย่างนี้เป็นวิชชาขั้นแรก ต่อไปก็จะเกิดทิพยจักขุ มีตาทิพย์ หูทิพย์ มโนมยิทธิและอิทธิวิธิ มีฤทธิ์เกิดขึ้นทางใจ ถึงใครจะไปเรียนพระไตรปิฎกจบแปดหมื่นสี่พัน ก็ไม่สามารถที่จะเกิดปุพฺเพนิวาสานุสฺสติญาณได้ ถ้าผู้นั้นไม่ทำให้จิตสงบ เพราะวิชชานี้จะเกิดได้ก็ต้องอาศัยจิตสงบเป็นสมาธิ ที่จะละวางความชั่วให้หมดไปได้ก็ต้องอาศัยจิตสงบนี้
    เมื่อผู้ใดมีวิชชาเกิดขึ้นในตนเองแล้วก็ย่อมจะเห็นความจริงว่า อันใดเป็นบุญ อันใดเป็นบาป คนที่ยังไม่มีวิชชาเกิดขึ้นในตน ก็ยังหลงงมงายอยู่ เช่นยึดถือว่าร่างกายเป็นของๆตนบ้าง คือยึดในขันธ์ ๕ ว่า รูปเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นของๆตน เป็นต้น บางคนก็ถือเอาความโลภ โกรธ หลง เป็นตัวเป็นตนเช่นในคราวโลภก็ถือเอาโลภมาเป็นตัวของตัว ในคราวหลงก็ถือเอาหลงมาเป็นตัวของตน แต่พวกนี้มันก็เกิดขึ้นเป็นครั้งเป็นคราว บางทีในคราวที่ไม่โกรธก็ถือว่าความไม่โกรธนั่นแหละเป็นตัวของตัว แล้วในคราวที่ไม่โลภไม่หลงก็ถือเอาความไม่โลภไม่หลงนั่นแหละมาเป็นตัวของตัว อีก ก็เลยป้วนเปี้ยนกันอยู่อย่างนี้ นี่เป็นเพราะอวิชชา ความไม่รู้จริง
    ถ้าใครมีวิชชาเกิดขึ้นแล้ว ถึงจะมีความโลภก็ไม่ถือเอาความโลภว่าเป็นตัวของตัว ความโกรธ ความหลงก็เช่นเดียวกัน ข้อนี้เราจะต้องเรียนรู้และจับตัวจริงของมันให้ได้ว่า กิเลส ๓ ตัวนี้มันมาอย่างไรไปอย่างนั้นคือเวลาที่ตัวโลภมันมา เราก็นั่งเฝ้านอนเฝ้าเจ้าตัวโลภอยู่นั่นแหละจนมันตายไปกับตัว คราวนี้เราก็จะได้รู้ว่าเวลามันมานั้น มันมีรูปร่างหน้าตาไม่ดีอย่างนั้นๆ แล้วเวลาที่หายไปแล้วมันดีอย่างนี้ๆ เรานั่งดูมันอยู่นั่นแหละจนกระทั่งมันดับไป แล้วเราก็จะรู้สึกใจเย็นขึ้นมาทันที ในคราวที่ตัวโกรธมันมา หรือตัวหลงมันมา เราก็นั่งเฝ้าดูมันอยู่กับโกรธ เฝ้าดูมันอยู่กับหลงอย่างนั้นอีกอย่าไปไหน แล้วเราก็จะมองเห็นอีกว่าเวลาที่ตัวโกรธมันมา มันไม่ดีอย่างนั้นๆ เวลาที่โกรธหายไปแล้ว มันดีอย่างนี้ๆ ในคราวหลงก็เป็นอย่างนั้นๆ มันจะหลงไปข้างไหน เราก็ตั้งใจจ้องมองมันอยู่อย่างนี้แหละ
    เมื่อเรายับยั้งตั้งจิตของเราไว้ได้อย่างนี้ก็เป็นวิชชา ถ้าเมื่อโลภมาเราก็ไปตามโลภ โกรธมาเราก็ไปตามโกรธ หลงมาเราก็ไปตามหลง อย่างนี้ก็เป็นอวิชชา เจ้าตัวกิเลส ๓ ตัวนี้แหละ ถ้าเราคอยจับจ้องมันอยู่เสมอๆแล้วมันจะต้องอับอายเราจนได้ โลภ โกรธ หลง มันเกิดขึ้นอย่างไร เราก็รู้ มันตั้งอยู่อย่างไรเราก็มองเห็น มันดับไปเราก็ทราบ นี่แหละเป็นวิชชาที่เกิดขึ้นจากอวิชชา
    เมื่อเรามาพิจารณาอย่างนี้ เราก็จะได้วิชชาทั้ง ๘ ประการ ถ้าใครรู้จักยับยั้งตั้งจิตของตนอยู่ในกองกิเลสโดยไม่ต้องแสดงอาการกิริยา ของมันให้ปรากฎออกมาได้แล้ว ผู้นั้นก็จะเกิดวิชชาขึ้นในตัวของตัวเอง นี้เรียกว่า “วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน” ใจของเราก็จะสะอาดปราศจากโลภ โกรธ หลง เป็น สุคโต โลกวิทู จะไปก็ดีจะมาก็ดี จะอยู่ในโลกก็ดี จะอยู่ที่ไหนก็ดี ความรู้เช่นนี้แหละเป็นของจริง อันเป็นวิชชาที่จะให้ความสำเร็จในทางธรรมได้.

    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="500"> <tbody><tr> <td align="center">*********</td> </tr> </tbody></table>
     

แชร์หน้านี้

Loading...