ท่านพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ วิชชาวิปัสสนา

ในห้อง 'ทวีป อเมริกา' ตั้งกระทู้โดย Wat Pa Gothenburg, 1 ธันวาคม 2008.

  1. Wat Pa Gothenburg

    Wat Pa Gothenburg เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    920
    ค่าพลัง:
    +260
    <table border="0" cellpadding="7" cellspacing="7" width="500"><tbody><tr><td colspan="3" align="center">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="3" align="center">[SIZE=+2]ท่านพ่อลี ธัมมธโร[/SIZE]</td> </tr> <tr> <td colspan="3" align="center">[SIZE=+1]วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ[/SIZE]</td> </tr> </tbody></table> <center> วิชชาวิปัสสนา </center> วิปัสสนา ไม่ใช่วิชชาสอน เป็นวิชชาที่ต้องทำให้เกิดให้มีขึ้นในตัว ไม่ใช่เป็นการฟังเอาแล้วจำไปพูดได้อย่างเดียว ถ้าเป็นการสอนเพื่อให้ฟังและจำกันได้แล้ว ก็ขอรับรองว่าจะสอนให้ได้ภายในไม่ถึง ๕ ชั่วโมง แต่ถ้าจะเอาให้อ่านออกกันเพียงตัวเดียวเท่านั้น บางที ๓ ปีก็ยังเรียนไม่สำเร็จ การท่องให้ได้ผลคือ “ความจำ” การทำให้ได้ผลคือ “ความจริง” เหตุนั้นจึงต้องอาศัยความพากเพียรพยายาม จึงจะได้รู้วิชชานี้ด้วยตนเอง คือ “วิปัสสนาญาณ”
    เมื่อมีวิชชาวิปัสสนาเกิดขึ้นแล้ว อะไรมันเป็นอะไรมาจากทางไหน และจะไปอย่างไร เราก็จะรู้ได้หมดเช่นเราเห็นตะเกียงดวงหนึ่งสว่างจ้าอยู่ เรามองไป เราก็รู้ได้ว่านั่นเป็น“ไฟ” นั่นเป็น“ควัน” และนั่นเป็น“แสง” มันเกิดมาได้จากอะไรกับอะไรผสมกันเราก็รู้ เราดับตะเกียงแล้ว ไฟมันหายไปทางไหนเราก็รู้ อย่างนี้เป็นวิชชาวิปัสสนา
    บางคนเขาว่า สมถะ กับ วิปัสสนา ไม่ใช่อันเดียวกัน ทำไมจะไม่ใช่ สมถะเป็นตัว “หยุด” วิปัสสนาเป็นตัว “คิด” เกิดญาณเป็นตัว “รู้แจ้ง” เมื่อรู้แจ้งแล้วก็หยุด มันก็มาจากอันเดียวกัน การรู้มันจะต้องมาจากการหยุด ถ้าไม่หยุดมันจะรู้ได้อย่างไร? เช่นเรานั่งไปในรถหรือในเรือที่กำลังวิ่งไปเร็วๆ เราจะมองหน้าคนที่อยู่ใกล้ๆหรือสิ่งต่างๆที่ผ่านไปตามทาง ไม่รู้ไม่เห็นถนัดเลยว่าใครเป็นใคร หรืออะไรเป็นอะไร ถ้าเรือหรือรถนั้นหยุดนิ่งอยู่กับที่แล้ว เราจึงจะมองเห็นได้ชัด
    ไม่ต้องดูอื่นไกล แม้แต่การพูดของเรานี้ ก็ต้องมีการหยุดเป็นคำๆไป ถ้าใครลองพูดโดยไม่หยุดเลยสักคำดูซิ จะฟังกันรู้เรื่องไหม?
    เหตุนั้นจึงต้องทำจิตของเราให้มันหยุดสงบนิ่งเสียก่อน การนิ่งเป็นปกติศีล แล้วสมาธิจึงเกิด ปัญญาจึงเป็นผลตามมา เราต้องลงมือฝึกหัดทำกับตัวเอง อย่ามัวไปเชื่อตามเขาว่า ทำให้มันรู้ว่า อ้อ อ้อ ขึ้นมาในตัวอย่ามัวไปรู้แต่ โอ้ โอ้ โอ้ ตามเขาพูด อย่าไปเอาแต่ดีของเขามาใส่ใจของเรา ต้องทำให้มันมีขึ้นมาในตัวของเรา ใช้เงินของเราเอง ๑ บาท ดีกว่าไปยืมของคนอื่นเขาให้มาตั้ง ๑๐๐ บาท เราต้องหนักใจเพราะเป็นหนี้เขาเมื่อเราใช้เงินของเราเองแล้วเราก็สบายใจ
    การหยุด ทำให้เกิดกำลัง เหมือนคนที่กำลังเดินอยู่ นั่งอยู่ หรือนอนอยู่นั้น ถ้าจะสู้กับใครเขาก็สู้ไม่ไหวเพราะกำลังย่อมมีกับคนที่ยืนนิ่งอยู่ ไม่ใช่มีในคนวิ่ง เดิน นั่ง หรือนอนอยู่ ฉะนั้นท่านจึงสอนให้ทำใจให้หยุดนิ่งเสียก่อน เพื่อให้เกิดพละกำลัง แล้วจึงก้าวต่อไปได้คล่องแคล่ว
    คนเรามีขา ๒ ขาก็จริง แต่เราก็เดินทีละขา ถ้าใครเดินทีเดียว ๒ ขาก็ก้าวไปไม่รอด หรือจะเดินแต่ขาเดียวก็ไปไม่ได้ เมื่อขาขวาหยุด ขาซ้ายก็ต้องก้าว เมื่อขาซ้ายหยุด ขาขวาก็ต้องก้าว ต้องหยุดขาหนึ่งก้าวขาหนึ่งจึงจะมีกำลัง เพราะกำลังอยู่กับขาข้างหนึ่งที่หยุด ขาที่ก้าวไปนั้นไม่มีกำลังดอก ต้องหยุดเสียก่อนข้างหนึ่งแล้วก้าวไปข้างหนึ่ง จึงจะช่วยประคับประคองกันได้ มิฉะนั้นก็ไม่มีหลัก ต้องล้มกลิ้ง ไม่เชื่อใครลองเดินพร้อมๆกันทีละ ๒ ขาดูบ้างซิ ว่าจะไปได้ตลอดไหม?
    ฉันใด สมถะ วิปัสสนา ก็ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน ดำเนินปฏิบัติเช่นเดียวกัน ต้องทำใจหยุดให้เป็นสมถะเสียก่อน แล้วจึงก้าวไป พิจารณาเป็นวิปัสสนา อารมณ์ก็เกิดเป็นปัญญา ปล่อยอารมณ์นั้นได้ก็เป็นวิมุติการหยุดเป็นเหตุให้ได้กำลัง เกิดวิชชา เกิดปัญญา (อัปปนาจิต) รู้ได้ทั้งโลกและธรรม เป็นตัวอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ก็เข้าสู่โลกุตรธรรม

    *********
     

แชร์หน้านี้

Loading...