ท่านพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ มารยาท

ในห้อง 'ทวีป อเมริกา' ตั้งกระทู้โดย Wat Pa Gothenburg, 1 ธันวาคม 2008.

  1. Wat Pa Gothenburg

    Wat Pa Gothenburg เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    920
    ค่าพลัง:
    +260
    <table border="0" cellpadding="7" cellspacing="7" width="500"><tbody><tr><td colspan="3" align="center">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="3" align="center">[SIZE=+2]ท่านพ่อลี ธัมมธโร[/SIZE]</td> </tr> <tr> <td colspan="3" align="center">[SIZE=+1]วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ[/SIZE]</td> </tr> </tbody></table> <center> มารยาท </center> “มรรยาท” คือการทำความดีโดยละมุนละม่อม เพื่อเชื่อมสามัคคีคนชั่ว และการพูดความดีโดยละมุนละม่อม เพื่อเชื่อมสามัคคีคนชั่ว
    ความเจริญ ไม่ได้เกิดด้วยการพูด แต่เกิดด้วยมรรยาทความประพฤติ และอัธยาศัยใจคอ นี่แหละเป็นลักษณะเครื่องหมายของ คนดี
    ถ้าตัวเราเป็นคนดีอย่างเดียว อะไรๆก็ย่อมดีไปหมดทุกอย่าง เช่นพระพุทธเจ้าของเรานั้น เมื่อพระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว แม้บริขารต่างๆของพระองค์มีบาตร จีวร หมอน กลด ย่าม ฯลฯ เป็นต้นเขาก็ยังนำมาบรรจุไว้ในบริโภคเจดีย์ให้คนบูชากราบไหว้กัน ถ้าเราเป็นคนเลวอย่างเดียว อย่างอื่นมันก็เลวไปหมดทุกอย่าง
    คติของเจ้าของเอง (คือองค์ท่านพ่อ) มีอยู่ว่า “ทำตัวของเราให้ดีที่สุด แล้วอย่างอื่นก็จะต้องดีไปตามเรา” ถ้าคนเราไม่ทิ้งตัวเองไปเอาข้างนอกๆเสีย เราก็ต้องดี มิฉะนั้นอย่าพากันทิ้งตัวเอง จงทำดีให้สมใจของตัวเถิด
    มติทางโลกนั้นเขาว่า “จะดีหรือไม่ดีก็ช่าง ให้มันมีเงินมากๆแล้วเป็นดี” ตรงกันข้ามกับทางธรรมซึ่งท่านเห็นว่า “จะมีหรือจนก็ช่างเถิด ขอให้เป็นคนดีก็แล้วกัน”
    ถ้าตัวเราดีแล้ว นั่งนิ่งๆเฉยๆมันก็ดี ถ้าตัวเราเป็นโรคเรื้อนคุดทะราดสิ พอไหวตัวแมลงวันก็อื้อเลย ถ้าตัวเราบริสุทธิ์ผุดผ่องไม่มีบาดแผล แมลงวันมันก็ไม่มีมาตอมได้
    ความดี ถ้าใช้ไม่เป็นก็เป็นโทษเป็นบาป เหมือนกับเงินที่เป็นของดี แต่จ่ายไม่เป็นก็ขาดทุน หรือมีดคมถ้าเราใช้ไม่เป็น มันก็กลายเป็นโทษ เช่นเอามีดไปฆ่าเขาตาย เมื่อเขาจับได้ตัวเองก็ต้องติดคุก หรือถูกประหารชีวิต มีดนั้นก็กลายเป็นอาวุธฆ่าตัวของตัวเอง
    สมบัติของคนเรา ก็มีอยู่ ๔ อย่าง คือ ความดีที่เป็นไปในทางกายกรรม ความดีที่เป็นไปในทางวจีกรรม ความดีที่เป็นไปในทางมรรยาท และความดีที่เป็นไปในทางดวงจิต ฉะนั้น เราจึงควรที่จะต้องพากันรักษาสมบัติทั้ง ๔ อย่างนี้ไว้ให้ดีที่สุดเท่าที่จะดีได้
    คนเราโดยมากมีของดีแล้วไม่ค่อยจะนำออกใช้ ชอบเอาแต่ของไม่ดี เสียๆหายๆออกมาใช้กัน จึงเป็นสิ่งที่ไม่น่าดูน่าชม ชอบเก็บความดีไว้แล้วก็นำออกใช้แต่ความชั่ว เหมือนข้าวของถ้วยชามในบ้านของเราที่สวยๆงามๆก็เก็บใส่ตู้ไว้ ที่ไหนแตก หัก บิ่น ร้าว ก็มักชอบนำมาใช้ ที่ดีๆก็เสียดายกลัวมันจะแตก เสื้อผ้าดีๆก็ไม่กล้าใช้ กลัวมันจะเก่าจะขาดเร็ว ในที่สุดก็เก็บไว้ในตู้หรือในหีบจนขึ้นราเป็นดอกเป็นดวง ดำๆด่างๆ บางคนเก็บไว้นานจนเปื่อยผุใช้ไม่ได้เลย ต้องกลายเป็นผ้าขี้ริ้วก็มี นี่แหละของดีนั้นก็เลยไม่ได้ใช้ประโยชน์อันใดให้สมกับค่า ความดีมีแล้วไม่ใช้ก็หาคุณประโยชน์แก่ตัวเองและผู้อื่นมิได้เช่นเดียวกัน เหมือนกับมีดที่เก็บไว้จนเป็นสนิม จะนำมาใช้ตัดหรือหั่นอะไรรับประทาน สนิมนั้นก็กลายเป็นพิษให้โทษแก่ร่างกาย ถ้าบาดมือหรือบาดเท้าเข้าก็อาจเป็นบาดทะยักถึงตายเลย
    “คนฉลาด” ดีชั่วใช้ได้ทั้งนั้น ไม่มีโทษ แม้พระอรหันต์ท่านก็ยังใช้กิเลสของท่านให้เป็นคุณประโยชน์ได้ นักปราชญ์พูดหยาบก็เป็นบุญกุศล คนพาลพูดดีก็เป็นบาป ยิ่งพูดไม่ดียิ่งซ้ำร้ายใหญ่ คนพูดหยาบกลายเป็นบุญกุศลนั้น ยกตัวอย่างเช่นเจ้าคุณพระอุบาลีฯ สิริจนฺโท (จันทร์) ครั้งหนึ่งท่านได้รับนิมนต์เข้าไปเทศน์งานสตมวารพระศพเจ้านายพระองค์หนึ่ง ที่ในวัง พระศพนั้นเพิ่งจะสิ้นใหม่ๆก็ยังทำความเศร้าโศกาลัยให้แก่หมู่พระประยูรญาติ ทั้งหลายเป็นอันมาก วันก่อนๆมาก็ได้เคยนิมนต์พระซึ่งเป็นเจ้าคุณใหญ่ๆในวัดเทพศิรินทร์ฯไปถวาย เทศน์เป็นประจำอยู่แล้ว ท่านเจ้าคุณต่างๆเหล่านั้นก็ได้แสดงโวหารพรรณนาถึงคุณสมบัติของผู้วายชนม์ อันเป็นที่น่ารักน่าอาลัยเสียดาย ซึ่งควรจะได้อยู่กระทำคุณงามความดีต่อไปอีก ก็มาด่วนทิ้งโลกไปเสียในเวลาอันยังมิควร เป็นเหตุให้พระประยูรญาติเหล่านั้น ยิ่งพากันโศกเศร้ากันแสงยิ่งขึ้น ครั้นพอถึงวาระที่ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯไปถวายเทศน์ ท่านก็หาได้รำพันความในทำนองเดียวกันนั้นไม่ ขึ้นต้นก็เริ่มแสดงถึง “กายคตาสติ” ให้เห็นความปฏิกูลน่าเกลียดและเห็นทุกข์เห็นโทษโดยประการต่างๆในร่างกาย ซึ่งล้วนแต่เป็นสิ่งโสโครกสกปรกไม่น่าดูน่าชมทั้งสิ้น เช่น ขี้หู ขี้ตา ขี้ฟัน ขี้เหงื่อ ขี้ไคล ฯลฯ เหล่านี้เป็นต้น เวลาตายแล้วก็ไม่เห็นมีอะไรดีสักอย่าง แล้วก็มานั่งร้องไห้อาลัยรักกันจนขี้มูกย้อยลงมาถึงคาง น้ำตาก็ไหลเป็นทางลงมาอาบแก้ม หน้าตาเปรอะเลอะเทอะแลดูไม่สวยไม่งามเลย ทำให้พระประยูรญาติที่กำลังเศร้าโศกกันแสงอยู่นั้นเกิดความละอายใจ หยุดจากปริเวทนาการเสียได้ในทันที และต่อจากนั้นก็พากันชื่นชมโสมนัสเลื่อมใสในองค์ท่านและคำเทศนาของท่านเป็น อย่างมาก ถึงกับคุณหญิงคุณนายและพวกผู้ดีชั้นสูงๆบางคนในสมัยนั้นได้พากันพูดว่า “อยู่บ้านไม่มีคนด่า ต้องพากันไปวัดให้เจ้าคุณอุบาลีฯท่านด่าแล้วสบายใจ” ดังนี้ก็มี
    เหตุนั้นท่านจึงว่าคน “ด่าเป็น” นั้นเป็น “มหาบัณฑิต” คนมีปัญญาจะพูดอะไรก็เป็นบุญเป็นกุศลเพราะรู้จักการพูดให้ถูกกาล ถูกเวลา สถานที่ บุคคล และสังคม สิ่งใดที่จะเกิดประโยชน์แม้เป็นคำไม่ดีไม่เพราะก็ควรพูด ถ้าสิ่งใดไม่เกิดประโยชน์แล้ว ถึงจะเป็นคำดีก็ไม่พูด
    เรื่องของศาสนาเป็นเรื่องของ “หัวใจ” อย่าไปดูกันที่ตามดิน ตามหญ้า หรือตามวัดตามวา ตามโบสถ์วิหาร ถึงใครจะทำดีด้วยกาย วาจา ก็ยังเป็นเรื่องของโลก เรื่องของศาสนาเป็นเรื่องนิ่งๆสงบเงียบ ไม่วุ่นวายท่านหมายเอาดวงจิตที่บริสุทธิ์ผุดผ่องไม่เศร้าหมอง ความดีนั้นไม่ต้องทำอะไรมากมายดอก นั่งเฉยๆมันก็บริสุทธิ์ ยกตัวอย่างเรื่องสามเณรน้อยผู้มีมรรยาทสงบเสงี่ยมองค์หนึ่ง เวลาเช้าๆเมื่อได้เดินบิณฑบาตเข้าไปในบ้านเศรษฐีสามีภรรยาบ้านหนึ่งซึ่งเป็น คนขี้ตระหนี่นั้น เขาจะใส่อาหารหรือไม่ใส่ก็ตาม สามเณรน้อยก็มิได้กังวลหรือปริปากพูดแต่อย่างใด เมื่อกลับออกมาบาตรเปล่า ก็ค่อยๆเดินต่อไปด้วยความใจเย็นไม่รีบร้อน ภริยาเศรษฐีก็สะกดรอยตามไปห่างๆ จนไปถึงสถานที่แห่งหนึ่ง สามเณรเกิดปวดปัสสาวะก็ค่อยๆวางบาตรลง และใช้เท้าเขี่ยใบไม้ออกไป แล้วแหวกดินลงให้เป็นแอ่ง พอไม่ให้น้ำไหลได้ ก่อนจะนั่งลงถ่ายปัสสาวะก็เหลียวมองดูรอบๆตัว ทั้งซ้ายขวาหน้าหลัง เมื่อไม่เห็นมีใครจะเดินผ่านมาแล้ว จึงค่อยทรุดตัวลงนั่งอย่างเรียบร้อย พอถ่ายเสร็จแล้วก็ใช้เท้าคุ้ยดินลงกลบเสีย และเอาใบไม้ปิดไว้ตามเดิม แล้วจึงถือบาตรเดินสำรวมต่อไป
    ฝ่ายภริยาของเศรษฐีที่เดินตามมาดู ได้มองเห็นมรรยาทของสามเณรเช่นนั้น ก็เกิดความสงสัยว่าสามเณรคงจะทำการฝังสิ่งของมีค่าอะไรไว้เป็นแน่ จึงค่อยๆเดินตรงมายังที่นั้น และใช้มือควักดินลงไปในหลุมตรงที่สามเณรกลบไว้ หยิบขึ้นมาดมดู จึงทราบว่าเป็นปัสสาวะที่สามเณรน้อยองค์นี้ได้รักษาปัสสาวะของตนราวกับว่า เป็นทองคำ ถ้าหากว่าเป็นของมีค่ายิ่งกว่านี้แล้ว สามเณรน้อยจะรักษาไว้ดีสักเพียงไหน นิสัยอย่างนี้น่าจะได้มาเป็นบุตรบุญธรรมของเรายิ่งนัก คงจะรักษาทรัพย์สมบัติของเรามิให้เสื่อมสูญได้เป็นแน่
    เศรษฐีผู้สามีก็เกิดความเลื่อมใส จึงให้คนไปนิมนต์สามเณรน้อยนั้นเข้าไปในบ้าน และแจ้งความประสงค์ของตนให้ท่านทราบโดยตลอด สามเณรก็ปฏิเสธในการที่จะเป็นทายาทของเศรษฐีนั้น และได้แสดงธรรมโปรดทั้งสามีภริยา ให้เห็นอานิสงส์ของการบริจาคทานวัตถุสิ่งของ และรักษาศีลภาวนา เศรษฐีสองสามีภรรยาก็มีความซาบซึ้งจับใจเป็นอย่างยิ่ง คลายความตระหนี่เหนียวแน่น และขอสมาทานเข้าถึงไตรสรณาคมน์ตั้งแต่วันนั้นมา จนในที่สุดก็ได้บำเพ็ญตนอยู่ในศีลภาวนามีสัมมาปฏิบัติ จนได้บรรลุเห็นธรรมทั้ง ๒ คน ครั้นต่อมาก็ได้บริจาคทรัพย์อีกเป็นจำนวนมาก สร้างพระเจดีย์ไว้ให้ครอบลงตรงที่ซึ่งสามเณรถ่ายปัสสาวะนั้น เพื่อเป็นอนุสรณ์ให้นึกถึงความดีของตน ที่เกิดจากกองปัสสาวะ ที่สามเณรน้อยได้เป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทไว้ให้ในครั้งนั้น นี่แหละมรรยาทที่ดี ย่อมเป็นเครื่องส่งเสริมพระพุทธศาสนาได้ ดังนิทานที่ยกมาเล่าให้ฟังนี้
    เรื่องของศาสนา คือ “สจิตฺตปริโยทปนํ” การทำดวงจิตให้สะอาดบริสุทธิ์ขาวรอบ “เอตํ พุทฺธานสาสนํ” นี่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาฯ

    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="500"> <tbody><tr> <td align="center">*********</td> </tr> </tbody></table>
     

แชร์หน้านี้

Loading...