ท่านพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ บุญกุศลตัวจริง

ในห้อง 'ทวีป อเมริกา' ตั้งกระทู้โดย Wat Pa Gothenburg, 1 ธันวาคม 2008.

  1. Wat Pa Gothenburg

    Wat Pa Gothenburg เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    920
    ค่าพลัง:
    +260
    <table border="0" cellpadding="7" cellspacing="7" width="500"> <tbody><tr> <td colspan="3" align="center">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="3" align="center">[SIZE=+2]ท่านพ่อลี ธัมมธโร[/SIZE]</td> </tr> <tr> <td colspan="3" align="center">[SIZE=+1]วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ[/SIZE]</td> </tr> </tbody></table> <center> บุญกุศลตัวจริง </center> บุญกุศล คือตัวเจตนาเดิมที่มีขึ้นในจิต ตั้งแต่ในขณะแรกเริ่มที่เราคิดว่าจะทำความดี เช่นวันนี้เราคิดว่า อยากจะมาวัด พอคิดขึ้นเช่นนี้ ก็เป็นตัว กุศล เกิดขึ้นในจิตแล้ว ต่อมาเราก็มาวัดมารับศีล มาฟังเทศน์ตามที่เราเจตนาไว้แต่ต้น เจตนาที่เราตั้งไว้ก็ย่อมสำเร็จเป็นตัวบุญ สมดังความตั้งใจ ถ้าเราคิดว่าวันนี้เราจะมาวัด รักษาศีล ฟังธรรม แต่เผอิญมีคนมาทักท้วงห้ามปรามหรือติเตียนว่าอย่างนั้นอย่างนี้ ทำให้เราใจเสีย ตัวกุศลที่เกิดขึ้นในดวงจิตของเรา คือ เจตนาเดิม นั้น ก็ย่อมดับสูญไป คราวนี้ถึงใครจะมาชักชวนให้มาวัด เราก็ต้องฝืนใจมา แล้วก็มานั่งทื่อๆอยู่ ไม่มีบุญกุศลเกิดขึ้นในดวงใจ เพราะบุญกุศล ตัวจริง นั้นมันได้ดับตายไปแล้ว
    บุญที่ทำขึ้นใหม่ไม่ใช่บุญตัวจริง เช่นการทำทาน รักษาศีล ฟังเทศน์ หรือจะมานั่งสมาธิภาวนาก็ดีเหล่านี้หาใช่ตัวบุญที่แท้จริงไม่ แต่เราก็ต้องหมั่นทำไว้ให้เสมอๆ เพื่อจะได้ส่งเสริมเพิ่มพูนบุญเก่าให้เจริญอ้วนพีขึ้นไม่ให้มันตายหายสูญไป เสีย ดังนั้นพอเราคิดตั้งใจอยากจะทำความดีเมื่อใด ก็ให้รีบทำเสียทันที เมื่ออยากจะทำทานก็ให้ทาน เมื่ออยากจะรักษาศีลก็รักษาศีล เมื่ออยากจะฟังเทศน์ก็มาฟังเทศน์ เมื่ออยากจะภาวนาก็นั่งภาวนา ทำดังนี้ ผลแห่งการกระทำของเราจึงจะมีความสมบูรณ์ พร้อมทั้ง ๓ กาล คือใจของเราก็จะมีความสุข ร่าเริง ปิติ อิ่มเอิบ ในส่วนแห่งบุญนั้น ตั้งแต่แรกที่คิดจะทำ กำลังทำอยู่ และทำไปแล้ว
    เจตนาที่เราคิดว่าจะทำความดีในครั้งแรกนั้น เป็นตัวกุศลที่แท้จริง คือ ความดีในขั้นแรก เปรียบเหมือนกับเราตั้งใจปลูกต้นไม้ไว้ต้นหนึ่ง ต่อมาเมื่อเราบำเพ็ญทาน ก็เปรียบเหมือนเราหาปุ๋ยไปใส่ไว้ที่โคนต้นไม้นั้น รักษาศีลก็เท่ากับเราคอยระวังเก็บตัวบุ้งตัวหนอนที่มันจะมาคอยกัดกินดอกกิน ใบ และทำอันตรายแก่ต้นไม้นั้น ส่วนภาวนาก็เท่ากับเราไปตักน้ำเย็นๆที่ใสสะอาดมารดที่โคนต้น ไม่ช้าต้นไม้ของเรานั้นก็จะต้องงอกงามเจริญขึ้นทุกทีๆ จนเกิดดอกออกผลให้เราได้กินอิ่มหนำสำราญสมความตั้งใจ ถ้าเป็นไม้ดอกมันก็จะมีสีสดงดงาม กลีบใหญ่มีกลิ่นหอมชื่นใจ ถ้าเป็นไม้ผลลูกของมันก็จะต้องดก มีพันธุ์ใหญ่และรสหวาน เหตุนั้น ทานศีล และภาวนา จึงเป็นการส่งเสริมเพิ่มพูนบุญเก่าด้วยประการฉะนี้
    ถ้าใจของเราเป็นโทษเสียแล้ว จะไปทำบุญทำทานอะไรก็ไม่ได้ผล เหมือนกับเราขนปุ๋ยไปใส่ต้นไม้ที่ตายแล้ว ดังนี้เมื่อเราอยากจะกินน้อยหน่าสัก ๑ ลูก ก็ย่อมไม่ได้ผลสมใจ เพราะปุ๋ยที่ขนใส่โคนต้นน้อยหน่านั้นมันก็ไปดีอยู่กับต้นหญ้า แตงกวา ผักเสี้ยน ผักขมหมด หาเป็นประโยชน์แก่ต้นน้อยหน่าซึ่งเราต้องการจะกินผลของมันนั้นไม่ ฉันใดก็ดี ความสำเร็จของเราคือต้องการจะละตัวโลภะ โทสะ และโมหะ ให้หมดไป ก็ย่อมไม่ได้ผล ทำแต่บุญทานภายนอกไป แต่ไม่ทำกุศลภายในใจ บุญทานนั้นก็เท่ากับ “ปุ๋ย” ของกุศลเท่านั้น เมื่อตัวจริงมันตายไปเสียแล้ว ปุ๋ยนั้นเราจะนำมากลืนกินเข้าไปได้อย่างไร เพราะมีแต่ของสกปรก ล้วนแต่ขี้วัวขี้ควายทั้งสิ้น เราจะไปเรียกร้องให้ปุ๋ยที่เลอะเทอะเหล่านี้มาช่วยอย่างไรได้ แต่ก็นับว่ายังดีกว่าคนที่ไม่ได้ใส่ปุ๋ยเสียเลย (คือ ไม่มีศีล สมาธิ ปัญญา) เพราะถึงอย่างไรๆ ก็ยังพอจะได้เก็บต้นผักขม ผักเสี้ยนที่อยู่ใกล้ๆนั้นมาแกงเลียงหรือจิ้มน้ำพริกกินได้บ้าง
    ฉะนั้น ขณะที่เราจะทำอะไรก็ตาม ต้องหมั่นตรวจดูว่าตัวบุญกุศลที่แท้จริงนั้นมีอยู่ในใจเราหรือไม่? บางคนทำบุญ แต่ใจเป็นบาป ก็เปรียบเหมือนข้าวหลามที่ข้างหน้าปากกระบอกมันก็สุกขาวดี แต่ก้นกระบอกยังเป็นข้าวสารดิบอยู่ หรือไหม้ดำเกรียม เมื่อเป็นเช่นนี้ข้าวหลามนั้นก็ไม่เป็นอันกิน เพราะมันดีไม่ทั่ว คนเรานั้นโดยมากกายกับใจมักไม่ค่อยจะตรงกัน บางคนทำทานแต่ใจก็ยังโลภอยู่ เช่นคนที่ทำทานเพราะปรารถนาอยากร่ำรวยเป็นเศรษฐี ทำบาทเดียวจะขอแลกเอาตั้งหมื่นตั้งแสนก็มี บางคนรักษาศีล แต่ใจก็ยังโกรธเกลียดพยาบาท อิจฉาริษยาคนนั้นคนนี้อยู่ บางคนนั่งสมาธิภาวนา เพราะอยากไปเกิดเป็นคนรูปสวยรูปงามก็มี บางคนก็อยากไปเกิดเป็นเทวดานางฟ้าอยู่บนสวรรค์ บางคนก็อยากจะเป็นนั่น เป็นนี่ ล้วนแต่ต้องการสิ่งตอบแทนทั้งนั้น บุญกุศลอย่างนี้ก็ยังใช้ไม่ได้
    ทานนั้นท่านให้ทำเพื่อกำจัดความโลภ ศีลก็รักษาเพื่อกำจัดความโกรธ ภาวนาก็เพื่อกำจัดความหลงไม่ใช่ทำเพื่อพอกพูนกิเลสเหล่านี้ บางคนมานั่งสมาธิภาวนา กายกิริยาภายนอกเงียบสงบ หลับตานิ่ง ตัวตรงไม่ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหว มารยาทภายนอกเป็นไปด้วยดีและเรียบร้อยทุกอย่าง แต่ดวงใจเตลิดเปิดเปิงไปนอกบ้านนอกช่อง ไปอยู่ตามสวนบ้าง ตามนาบ้าง บางคนใจแล่นไปถึงเมืองนอกเมืองนา ไปหาเพื่อนหาฝูง หาลูกหาหลาน และคิดอะไรต่ออะไรไปต่างๆก็มี ใจไม่ได้นั่งอยู่กับตัวเลย อย่างนี้เรียกว่ากายกับใจไม่ตรงกัน เหมือนข้าวหลามที่ภายนอกมันสุกดี แต่ข้างในมันยังดิบอยู่
    ถ้าพวกเรามีความระมัดระวังให้กุศล ตัวจริง มีอยู่ในใจแล้ว จะทำบุญทำกุศลสิ่งใดก็จงทำไปเถิด อย่าให้มาวัดตามทรากของกุศลที่มันตายไปแล้ว คือเจตนาเดิมที่คิดว่าวันนี้เราจะมาวัด มาทำบุญ มารักษาศีล และภาวนา แต่พอถูกใครเขาว่าก็ใจเสีย แล้วฝืนใจมา ทำบุญเช่นนี้ บุญย่อมช่วยอะไรไม่ได้เลย
    การที่เราต้องพากันมาฝึกหัดอบรมจิตใจให้มั่นคงกล้าแข็งอยู่ในธรรม เช่นนี้ ก็เพราะโดยมากนั้น คนเราจะต้องผจญกับภัยของโลกอยู่ ๓ อย่าง คือ ๑. ความทุกข์ เจ็บไข้ ยากจนข้นแค้น ๒. ความตาย ๓. เพื่อนหรือคนพาลที่เป็นศัตรู เหตุนั้น เราจึงต้องเตรียมตัวไว้เพื่อเหตุการณ์เหล่านี้ผ่านเข้ามาเมื่อใด เราจะได้มีใจเข้มแข็งต่อสู้กับสิ่งเหล่านี้ได้ด้วยความองอาจกล้าหาญ ไม่ต้องหวั่นกลัว ถึงมันจะมาท่าไหน เราก็มีวิธีที่จะต่อสู้กับมันได้ทุกอย่าง เหตุนั้นพระท่านจึงให้ศีลให้พรว่า “อิจฺฉิตํ ปตฺถิตํ ตุมฺหํ ขิปฺปเมว สมิชฺฌตุ ฯลฯ” แปลว่า“เมื่อท่านปรารถนาสิ่งใด ก็จงสำเร็จโดยฉับพลัน” คือ เมื่อใจของเรามีอำนาจกล้าแข็งแล้ว จะคิดนึกสิ่งใดก็ย่อมสำเร็จหมด

    *********
     

แชร์หน้านี้

Loading...