ท่านพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ ธรรมฐิติ

ในห้อง 'ทวีป อเมริกา' ตั้งกระทู้โดย Wat Pa Gothenburg, 1 ธันวาคม 2008.

  1. Wat Pa Gothenburg

    Wat Pa Gothenburg เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    920
    ค่าพลัง:
    +260
    <table border="0" cellpadding="7" cellspacing="7" width="500"><tbody><tr><td colspan="3" align="center">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="3" align="center">[SIZE=+2]ท่านพ่อลี ธัมมธโร[/SIZE]</td> </tr> <tr> <td colspan="3" align="center">[SIZE=+1]วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ[/SIZE]</td> </tr> </tbody></table> <center> ธรรมฐิติ </center> ถ้าดวงจิตของเราหยุดนิ่งอยู่กับที่คือร่างกาย ไม่แล่นไปตามอารมณ์ต่างๆ เราก็จะได้รับประโยชน์ ๓ประการ คือ ๑. จิตได้หยุดพักหายเหนื่อย ๒. ได้รับความสุขเย็นสบาย ๓. ได้ทำความคุ้นเคยกับธาตุทั้งสี่ ซึ่งเปรียบเหมือนเจ้าของถิ่น เราก็จะได้รู้เรื่องความเป็นไปของกายและจิตเป็นอย่างดี คือ เมื่อจิตไปหยุดอยู่กับธาตุดิน เราก็จะรู้เรื่องของธาตุดิน ไปหยุดอยู่กับธาตุน้ำ เราก็จะได้รู้เรื่องของธาตุน้ำ หยุดอยู่กับธาตุลม เราก็รู้เรื่องของธาตุลม หยุดอยู่กับธาตุไฟ เราก็รู้เรื่องของธาตุไฟ เกิดเป็นวิชชา ๓ วิชชา ๘ เราก็จะรู้เรื่องความเป็นมาของร่างกายได้ตลอด จนหมดความสงสัย ก็จะเป็นเหตุให้วางกายได้
    ความรู้ตามสัญญา รู้ตามเขาเล่า รู้ตามตัวหนังสือ เป็นความรู้ตัวหลอก ไม่ใช่ความรู้ตัวจริง เปรียบเทียบกับ “เงา” ของตัวรู้ ตัวรู้จริงคือความรู้ที่เกิดขึ้นในตนเอง เป็น ปจฺจตฺตํ รู้เฉพาะตัว เป็นความรู้ที่สอนกันไม่ได้ บอกกันไม่ได้ ต้องทำขึ้นเองในตน จึงจะรู้ว่าสิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นสุข สิ่งใดเป็นของเที่ยง และสิ่งใดเป็นอัตตา ตัวจริงของธรรมะเป็น “ธรรมฐิติ” ตั้งอยู่คงที่ไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนอาการและลักษณะของมันเป็นเพียงตัว “เงา” หรือตัว “หลอก” เท่านั้น การปฏิบัติธรรมคือต้องการ รู้ตัวจริง ถ้าใครทำไม่จริงก็จะพบแต่เงาของธรรมะ ฉะนั้นจึงควรปฏิบัติเพื่อให้เกิดความรู้จริงขึ้นในตนของตนเอง
    ในร่างกายของคนเรานี้ มีทั้งส่วนเที่ยงและไม่เที่ยง มีทั้งสุขและทุกข์ มีทั้งอัตตาและอนัตตา เช่น ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นของเที่ยง เพราะมันไม่เคยเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น ธาตุดินไม่เคยกลายเป็นน้ำ ธาตุน้ำไม่เคยกลายเป็นลม ธาตุลมไม่เคยกลายเป็นไฟ มันเคยเป็นมาอย่างไรตั้งแต่ครั้งสร้างโลกจนโลกแตก มันก็เป็นอยู่อย่างนั้น เช่นน้ำ ถึงใครจะมาทำให้มันเป็นก้อนน้ำแข็ง หรือใส่สีเขียวสีเหลืองสีแดงอย่างไร มันก็คงเป็นน้ำอยู่อย่างนั้น อวัยวะร่างกายของเรา ส่วนที่เป็นของเที่ยงมันก็มีอยู่ เช่น มือไม่เคยกลายเป็นเท้า แขนไม่เคยเปลี่ยนเป็นขา ตาไม่เคยเป็นหู ริมฝีปากล่างไม่เคยกลับขึ้นเป็นริมฝีปากบน เหล่านี้เป็นต้น นี่เป็นส่วนที่เป็นอัตตา ของเที่ยง ส่วนที่ไม่เที่ยงนั้น คือ ลักษณะอาการของมัน ไม่ใช่ตัวจริง
    ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟนี้ เปรียบเหมือนกับคน ๔ คน ถ้าเราทำความคุ้นเคยกับเขาไว้เสมอ นานๆเข้าเขาก็จะกลายเป็นมิตรของเราได้ ตอนแรกๆเขายังไม่รู้จักเราดี ยังไม่ไว้วางใจเรา เขาก็จะลองดีกับเราดูก่อน เช่นพอเราจะนั่งสมาธิ เขาก็เอาไม้มาแหย่ขาแหย่แข้งของเรา ให้เราเจ็บปวดเมื่อยต่างๆ ถ้าเราลงนอนเขาก็แหย่หลัง ตะแคงข้างเขาก็แหย่เอว ลุกขึ้นนั่งอีกเขาก็แกล้งเราอีก บางทีก็มากระซิบให้เลิก ถ้าเรายอมให้เขา พญามารก็อมยิ้มแก้มตุ่ย แต่เราก็จะต้องทำใจดีสู้เสือ อดทนไปจนถึงที่สุด เราจะต้องหมั่นพูดคุยกับธาตุทั้ง ๔ นี้บ่อยๆ ถึงเขาไม่พูดกับเรา เราก็พูดกับเขาไปคนเดียวก่อน นานๆเข้าเขาก็จะต้องตอบเราสักคำหนึ่ง เราก็คุยกับเขาต่อไปอีก แล้วเขาก็จะตอบเรามากขึ้นกว่านั้น จนในที่สุดก็คุ้นเคยสนิทสนม คุยกันเป็นเรื่องเป็นราว ต่อไปนี้เขาก็จะกลายเป็นมิตรของเรา รักใคร่เรา ช่วยเหลือเรา เราก็จะเป็นคนมีเพื่อน ไม่ว้าเหว่ กินก็กินด้วยกันนอนก็นอนด้วยกัน นั่ง ยืน เดิน ก็อยู่ด้วยกัน ไปไหนก็ไปด้วยกัน เราก็มีความอุ่นใจ จะนั่งนานเท่าไร มันก็ไม่เมื่อย จะเดินไปไกลเท่าไร มันก็ไม่เหนื่อย เพราะการเดินมีเพื่อนคุยกันไปเดินกันไป ทำให้เกิดความสนุกเพลิดเพลิน ถึงที่เมื่อไรไม่รู้ตัว
    ท่านจึงสอนให้เจริญสมาธิ ทำสติให้ตั้งมั่นอยู่ในกายตัว วิตกวิจารณ์อยู่ในกรรมฐาน คือ กาย เวทนาจิต ธรรม ไม่ให้ใจไปเพ่นพ่านอยู่ในสัญญาอารมณ์ภายนอก พิจารณากายให้รู้ความเป็นไปของธาตุทั้งสี่ เวทนาสุขทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ จิตที่เคลื่อนไหวไปมาในความรู้ทั้งหลาย ธรรมที่เป็นความสงบตั้งมั่นและเป็นของจริงเหมือนกับเรานั่ง นอน ยืน เดิน อยู่กับเพื่อนของเราตลอดเวลา คือ กายเดิน ใจก็เดินด้วย กายนอน ใจก็นอนด้วย กายนั่ง ใจก็นั่งด้วย กายหยุดตรงไหน ใจก็หยุดตรงนั้น แต่พวกเราก็มักไม่เป็นดังนี้ ขาเดินไป ๒ ก้าว แต่ใจมันเดินไปตั้ง ๔-๕ ก้าว ดังนี้ มันจะไม่เหนื่อยอย่างไร ตัวนอนอยู่ในมุ้ง มีทั้งลูกกรงและกำแพงกั้นตั้ง ๗ ชั้นแต่ใจมันก็ยังวิ่งออกไปนอกบ้านได้ อย่างนี้จะหาความสุขมาแต่ไหน คนที่ไม่อยู่ในบ้านของตัว ก็ต้องไปถูกแดดถูกฝน ถูกลมพายุและอันตรายต่างๆ เพราะไม่มีเครื่องมุงกำบัง ไม่มีเครื่องอยู่ของใจ คือ “วิหารธรรม” ก็ย่อมต้องประสบกับความทุกข์ตลอดเวลา
    ฉะนั้น จึงควรพากันอบรมผึกหัดจิตใจของตนให้ตั้งมั่นอยู่ในสมาธิภาวนา สร้างอำนาจให้สมบูรณ์ในตนเพื่อให้เป็นตนของตนจริงๆ ผู้นั้นก็ย่อมจะต้องถึงความดีและความบริสุทธิ์ได้ดังกล่าว

    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="500"> <tbody><tr> <td align="center">*********</td> </tr> </tbody></table>
     

แชร์หน้านี้

Loading...