ที่มาของปณิธานในการเลิกทาส(เสด็จพ่อรัชกาลที่ 5)

ในห้อง 'สมเด็จโต พรหมรังสี' ตั้งกระทู้โดย pongio, 25 สิงหาคม 2013.

  1. pongio

    pongio เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +6,850
    การก่อสร้างพระนอนวัดสะตือ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อปีมะเมีย เจ้าประคุณสมเด็จโตฯ ให้พวกทาสในตำบลไก่จ้น และตำบลอื่น ซึ่งเป็นทาสเชลยศึกที่ตกค้างถูกต้อนมาจากเวียงจันทร์ มีนิวาสถานอยู่ในตำบลไก่จ้นและตำบลใกล้เคียงมานาน(ข้อเท็จจริงจากสำเนียงชื่อบ้าน เพราะคำว่า “ไก่จ้น”ไม่ใช่สำเนียงภาษาไทยภาคกลางแต่เป็นสำเนียงภาษาไทยภาคอีสาน ซึ่งมีภาษาพูดสำเนียงคล้ายภาษาลาวเวียงจันทร์ ไก่จ้นมีความหมายตามภาษาไทยภาคกลางว่า “ไก่ใหญ่มีลักษณะอ้วนสมบูรณ์ ”ไทยภาคอีสานเรียกไก่ประเภทนี้เล่น ๆ ติดปากว่า“ไก่บักจ้น”)ช่วยกันสร้าง ก่อเตาเผาอิฐกันเองที่บริเวณลานวัด ใกล้ต้นมะขามใหญ่ ปัจจุบันต้นมะขามใหญ่ยังอยู่ หน้าพระนอน เจ้าประคุณสมเด็จโต ให้พวกทาสใช้แรงงานก่อเตาเผาอิฐ การก่อสร้างใช้ระยะเวลารวดเร็วสร้างอยู่ประมาณ ๒ ปีจึงแล้วเสร็จ

    เมื่อสร้างองค์พระนอนเสร็จแล้ว ลุถึงปีพุทธศักราช ๒๔๑๔ เป็นวันอิสรภาพของบรรดาทาสที่เข้าช่วยมาสร้างองค์พระนอนให้เป็นอิสรภาพ โดยท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้เป็นธุระติดต่อกับทางราชการ ดำเนินการปลดปล่อยพวกทาสให้พ้นจากความเป็นทาส ความปรารถนาของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นผลสำเร็จดังประสงค์ทุกประการ การกระทำครั้งนั้นนับเป็นปรากฏการณ์ใหม่เอี่ยม เหนือแผ่นดินสยาม คงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ที่ควรคู่บันทึกไว้เป็นหลักฐาน เพราะผู้คนยุคนั้นเกือบทั้งโลก นิยมระบบทาสค่อนข้างเหนียวแน่นและกว้างขวาง ลินคอล์น ประธานาธิบดีคนที่ ๑๖ แห่งสหรัฐอเมริกาประกาศเลิกทาสครั้งแรกในโลก เมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๐๖ แต่ก่อนที่สังคมสหรัฐจะยอมรับนโยบายนี้ ได้เกิดสงครามกลางเมืองเกี่ยวกับทาส อย่างดุเดือดรุนแรงเป็นเวลาหลายปี สุดท้ายลินคอล์น ประธานาธิบดีคนที่ ๑๖ ผู้ริเริ่มในการประกาศเลิกทาส ถูกฝ่ายไม่เห็นด้วยลอบยิงถึงแก่ความตายในโรงละครแห่งชาติ

    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย สมัยดำรงพระยศ เป็นพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร องค์รัชทายาท ทรงเป็นศิษย์หัวแก้วหัวแหวนของท่านประคุณสมเด็จฯ ได้เรียนอักขรสมัย ในสำนักของเจ้าประคุณสมเด็จฯ ศิษย์กับอาจารย์ ๒ ท่านนี้สนิทสนมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เมื่อพระองค์ได้รับการราชาภิเษกเป็นพระเจ้าแผ่นดินแล้ว พระองค์ในฐานะเป็นศิษย์เอกในสมเด็จท่านเจ้าประคุณฯ ก่อนทรงปฏิบัติงานใหญ่ระดับประเทศ คือการประกาศเลิกทาสคงต้องปรึกษาหารือทางหนีทีไล่ ตลอดทั้งขอความคิดเห็นและแนะนำเพื่อศึกษาลู่ทางจนเกิดความมั่นพระทัย เพื่อเป็นการหยั่งปฏิกิริยาของชาวบ้าน ครั้นปฏิบัติการทดลองได้ผล ไม่มีเหตุการณ์อะไรรุนแรงเป็นที่วิตก พระองค์จึงดำเนินการทันที
    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกาศเลิกทาสเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๑๗ หลังท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯผู้เป็นอาจารย์สร้างพระนอนเสร็จ ๒ ปี (พระนอนสร้างแล้วเสร็จแล้ว ปี พ.ศ. ๒๔๑๔ เป็นวันที่บรรดาทาสที่ก่อสร้างพระนอนไดรับการปลดปล่อยอิสรภาพ) ประธานาธิบดีคนที่ ๑๖ แห่งสหรัฐอเมริกาประกาศเลิกทาสครั้งแรกในโลก เมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๐๖

    การประกาศเลิกทาสในเมืองไทย เบื้องแรกเป็นไปอย่างขลุกขลัก เพราะเจ้าของทาสส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกว่าจะยินยอมกันได้ ก็เสนอข้อต่อรองมากมายหลายประการ สงครามกลางเมืองทำท่าว่าจะเกิดขึ้น แต่เพราะพระพุทธเจ้าหลวงทรงมีวิจารณญาณรอบคอบ ดำเนินพระบรมราโชบายอย่างสุขุมและประนีประนอม แบบผ่อนสั้นผ่อนยาว เหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งทำท่าว่าไม่ค่อยดีแต่แรกจึงสงบราบคาบเป็นปกติ กว่าจะยอมรับกันได้กินเวลานานถึง ๓๖ ปี คือการประกาศเลิกทาสได้เด็ดขาดสิ้นเชิง เมื่อวันที่ ๑๑ มกรคม พ.ศ. ๒๔๕๔ อันเป็นรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และข้อสังเกตว่า ทั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งสองพระองค์ ได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินเยือน ณ วัดสะตือ ซึ่งเป็นสถานที่ปลดปล่อยทาสครั้งแรกมาแล้วนั้น

    การปลดปล่อยทาส ๒ ตำบลให้เป็นอิสรภาพ โดยท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ในปีพุทธศักราช ๒๕๑๔ ณ วัดสะตือ ตำบลไก่จ้น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แม้จะไม่เป็นทางการ แต่ก็เป็นผลดีทางอ้อม คือเป็นแรงกระตุ้นเตือนให้มีการปลดปล่อยทาสทั่วประเทศในกาลต่อมา อนึ่งการกระทำของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ครั้งกระนั้น ยึดหลักอหิงสา มีเมตตาธรรมเป็นเบื้องหน้า ดำเนินกุสโลบายสุขุมลุ่มลึก ประกอบด้วยเหตุผลตามขั้นตอน จึงปราศจากอุปสรรคขัดขวางเป็นปวิมุต เพราะท่านมีสิ่งที่คนอื่นไม่มี ท่านสามารทำในสิ่งที่คนอื่นทำไม่ได้ ท่านเป็นพระที่มีบุญบารมีมากล้นยากจะหาผู้อื่นใดทัดเทียม (คัดลอกจากหนังสือตำนานพระเครื่องสมเด็จและปฐมอัครกรรม รวบรวมโดยพระศรีวิสุทธิโสภณ (เที่ยง อคคธมโม ป.ธ. ๙ ) วัดระฆังโฆสิตาราม)

    วัดสะตือ วัดพระนอน ถิ่นกำเนิดหลวงพ่อโต
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 สิงหาคม 2013

แชร์หน้านี้

Loading...