ที่ตั้งของสติ

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย สันโดษ, 7 ธันวาคม 2008.

  1. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870


    ที่ตั้งของสติ การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นตามความเป็นจริง คือ ตามที่สิ่งนั้นๆ มันเป็นของมัน ประกอบด้วย

    ๑. การตั้งสติกำหนดพิจาราณากาย (กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน)

    เป็นการตั้งสติกำหนดพิจารณากาย ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงกาย ไม่ใช้สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา
    ท่านจำแนกวิธีปฏิบัติไว้หลายอย่าง คือ
    - กำหนดลมหายใจ (อานาปานสติ)
    - กำหนดรู้ทันอิริยาบถ (อิริยาบถ)
    - สร้างสัมปชัญญะในการกระทำความเคลื่อนไหวทุกอย่าง (สัมปชัญญะ)
    - พิจารณาส่วนประกอบอันไม่สะอาดทั้งหลายที่ประชุมเข้าเป็นร่างกายนี้ (ปฏิกูลมนสิการ)
    - พิจารณาเห็นร่างกายของตนโดยสักว่าเป็นธาตุแต่ละอย่างๆ (ธาตุมนสิการ)
    - พิจารณาซากศพในสภาพต่างๆอันแปลกกันไปใน ๙ ระยะเวลา ให้เห็นคติธรรมของร่างกายของผู้อื่น เช่นใด ของตนจักเป็นเช่นนั้น (นวสีวถิกา)

    ๒. การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา (เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน)

    เป็นการตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงเวทนา ไม่ใช้สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา
    คือ มีสติอยู่พร้อมด้วยความรู้ชัดเวทนาอันเป็นสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี เฉยๆก็ดี ทั้งที่เป็นสามิส และเป็นนิรามิสที่เป็นไปอยู่ในขณะนั้นๆ

    ๓. การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต (จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน)

    เป็นการตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงจิต ไม่ใช้สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา
    คือ มีสติอยู่พร้อมด้วยความรู้ชัดจิตของตนที่มีราคะ ไม่มีราคะ มีโทสะ ไม่มีโทสะ มีโมหะ ไม่มีโมหะ เศร้าหมอง หรือผ่องแผ้ว ฟุ้งซ่าน หรือ เป็นสมาธิ ฯลฯ อย่างไรๆ ตามที่เป็นไปอยู่ในขณะนั้นๆ

    ๔. การตั้งสติกำหนดพิจาณาธรรม (ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน)

    เป็นการตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงธรรม ไม่ใช้สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา
    คือ มีสติอยู่พร้อมด้วยความรู้ชัดธรรมทั้งหลายได้แก่ นิวรณ์ ๕ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ โพชฌงค์ ๗ อริยสัจจ์ ๔ ว่าคืออะไร เป็นอย่างไร มีในตนหรือไม่ เกิดขึ้น เจริญบริบูรณ์ และดับไปได้อย่างไร ตามที่เป็นจริงของมันอย่างนั้นๆ

    ที่มา : พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๖, หน้า ๑๔๑.
     
  2. chanin

    chanin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 เมษายน 2005
    โพสต์:
    675
    ค่าพลัง:
    +1,332
    ใครอยากลองปฏิบัติ มหาสติปัฏฐาน ๔
    ขอแนะนำให้ไปฝึกที่หลวงพ่อจรัลก็ดีนะครับ
    " แนว ยุบหนอ พองหนอ " เป็นทั้งสมาธิและวิปัสสนา
     
  3. SaveMax

    SaveMax เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    172
    ค่าพลัง:
    +578
    สำนักใดก็ได้ถ้าไม่บิดเบือนธรรมของพระพุทธเจ้า มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา พร้อมชาตินี้บรรลุมรรคผลแน่นอน Confirm
     

แชร์หน้านี้

Loading...