"ทิฏฐิ" ที่เป็น "สัมมา" ไม่ใช่ได้มาด้วยความรู้สึกนึกคิด

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 27 กุมภาพันธ์ 2016.

  1. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    [​IMG]

    <font size='4'><font color='#ff0000'><b>คำว่า "ทิฏฐิ" นั้นเป็นคำกลางๆ หมายถึง "ความคิดเห็น" จะถูกหรือผิดนั้น ต้องขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ได้รับ อีกทั้งรายละเอียดที่แวดล้อมอยู่</b></font>

    แต่ "ทิฏฐิ" ที่มีให้เห็นในทุกวันนี้ เป็น "ทิฏฐิ" ที่เกิดจากความรู้สึกนึกคิด จากความเชื่อความศรัทธาในตัวบุคคลเสียมากกว่า เป็นการเชื่อในความนึกคิดที่ยึดติดในความรู้สึกของตน โดยมองข้ามหลักฐานความจริงของข้อมูลรายละเอียดที่มีปรากฏในพระสูตรต่างๆ ที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสไว้ดีแล้ว

    โดยเฉพาะ "ทิฏฐิ" ที่ได้รับจากบุคคลผู้ซึ่งน่าเชื่อถือ มีหน้ามีตามีหน้าที่การงาน อีกทั้งมีฐานะทางสังคมชั้นสูงด้วยแล้ว เมื่อได้สอนอะไรไป ผู้ฟังมักขอเชื่อไว้ก่อนว่าที่สอนมานั้นถูกต้องแล้ว เป็น "สัมมาทิฏฐิ" ทั้งๆ ที่ "ทิฏฐิ" ที่ว่ามานั้น เป็นเพียงความเชื่อ ความศรัทธาที่เกิดขึ้นจากความนึกคิดที่ยึดติดในความรู้สึกของตนเท่านั้น

    <font color='#0000ff'><b>มีพระพุทธพจน์ตรัสเพื่อป้องกันเรื่องเหล่านี้ไว้ ใน "กาลามสูตร" ทรงตรัสถึงความเชื่อ ๑๐ ประการว่า "อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อ" ต้องสมาทานนำมาปฏิบัติเพื่อพิสูจน์ให้ทราบความจริง ซึ่งเป็นผลที่ประจักษ์ได้แล้วค่อยเชื่อก็ยังไม่สาย</b></font>

    แต่ในปัจจุบันคำสอนมักเป็นไปแบบเอาอกเอาใจกันเสียมากกว่า สำหรับบุคคลผู้ที่มีจิตศรัทธา เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา การสอนก็มักเป็นไปในรูปแบบให้กำลังใจ เพื่อให้เกิดความเชื่อ ความศรัทธายิ่งๆ ขึ้น โดยขาดการเน้นย้ำในส่วนสำคัญที่เป็นเรื่องของความจริง ๔ ประการ ที่ปฏิเสธไม่ได้ คือ อริยสัจ ๔ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

    อริยสัจ ๔ ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ เป็นการไม่ให้เชื่อในความนึกคิด ติดในความรู้สึก ต้องปฏิบัติธรรมเพื่อพิสูจน์ความเชื่อ ความศรัทธา "ทิฏฐิ" ความคิดเห็นที่ตนเองคิดว่าถูกนั้น จึงจะเป็น "สัมมาทิฏฐิ" คือเป็นความคิดเห็นที่ชอบแล้ว หมายถึงได้ผ่านการพิสูจน์ทราบทางการปฏิบัติธรรม เพื่อให้รู้เห็นตามความจริงในสิ่งที่เกิดขึ้น ถึงแม้จะเป็น "สัมมาทิฏฐิ" ที่เป็นเพียงสาสวะก็ตาม

    มีพระพุทธพจน์ที่ทรงตรัสไว้ในตอนต้นพระสูตร (มหาจัตตารีสกสูตร) เกี่ยวกับ "สัมมาสมาธิ" ของพระอริยเจ้า อันมีเหตุ มีองค์ประกอบ ที่แวดล้อมไปด้วยอริยมรรคอีก ๗ องค์ บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น "สัมมาทิฏฐิ" เป็นประธาน ได้ทรงกล่าวถึง "สัมมาทิฏฐิ" ที่เป็นประธานอยู่นั้นมี ๒ อย่าง คือ

    <font color='#ff0000'><b>๑.สัมมาทิฏฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์
    ๒.สัมมาทิฏฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค</b></font>

    <font color='#ff0000'><b>๑."สัมมาทิฏฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน?</b></font>
    <font color='#0000ff'><b>คือ ความเห็นดังนี้ว่า
    ทานที่ให้แล้ว มีผล
    ยัญที่บูชาแล้ว มีผล
    สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล
    ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้ว มีอยู่
    โลกนี้ มี
    โลกหน้า มี
    มารดา มี
    บิดา มี
    สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะ มี
    สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ
    ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่
    นี้สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ ฯ"</b></font>

    "สัมมาทิฏฐิ" ที่ยังเป็นสาสวะ ยังต้องมีพื้นฐานสำคัญในเรื่องกำลังสมาธิของจิตมีสติ สงบตั้งมั่น แต่ยังคงมีความหวั่นไหวอยู่บ้างไปกับอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดอันละเอียดที่เข้ามากระทบจิตของตน

    ทำไมต้องมีกำลังของ "สมาธิ" ด้วย? เพราะบุคคลที่จิตมีกำลังสติสงบตั้งมั่นได้นั้น ย่อมเป็นบุคคลที่มีส่วนในทางทำให้เกิดกุศล กุศลทั้งหลายล้วนเป็นเรื่องของบุญ เช่น เคารพพ่อ-แม่ ทำความดี ให้ทาน เชื่อเรื่องวิบากกรรม เชื่อในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มีจิตใจที่สุขสงบร่มเย็น

    การกระทำเหล่านี้ จึงเป็นบุญที่ให้ผลแก่ขันธ์ เช่น เวทนาขันธ์ ก็ได้รับแต่สุขเวทนา สัญญาขันธ์ จดจำแต่สิ่งที่เป็นบุญกุศล สังขารขันธ์ ปรุงแต่งในสิ่งดีๆ มีประโยชน์ วิญญาณขันธ์ แจ้งแต่ในอารมณ์อันละเอียดเป็นสุขสงบร่มเย็น

    <font color='#ff0000'><b>๒."สัมมาทิฏฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน?</b></font>
    <font color='#0000ff'><b>ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
    ความเห็นชอบ องค์แห่งมรรค ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้
    พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่
    นี้แล สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ

    ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาทิฐิ เพื่อบรรลุสัมมาทิฐิ
    ความพยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ ฯ

    ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาทิฐิได้ มีสติบรรลุสัมมาทิฐิอยู่
    สติของเธอนั้น เป็นสัมมาสติ ฯ

    ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ
    สัมมาสติ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาทิฐิของภิกษุนั้น ฯ"</b></font>

    จากพระสูตรดังกล่าว แต่ละบรรพะขององค์มรรค ที่ต้องการละจาก "มิจฉาทิฏฐิ" มาสู่ "สัมมาทิฏฐิ" นั้น ล้วนต้องมีองค์ประกอบของ "สัมมาวายามะ" และ "สัมมาสติ" ในทุกๆ บรรพะ ทั้ง ๑๐ บรรพะ (สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ)

    "สัมมาวายามะ" และ "สัมมาสติ" ทั้ง ๒ องค์แห่งอริยมรรคเป็นส่วนประกอบของหมวด "สมาธิ" สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ จิตรวมลงเป็น "สมาธิ" สงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหว <font color='#ff0000'><b>คำว่า "สัมมาสมาธิ" ได้ถูกละไว้ในฐานที่เข้าใจ</b></font>

    การละ "มิจฉาทิฏฐิ" เพื่อบรรลุ "สัมมาทิฏฐิ" นั้น ต้องเข้าถึงอริยสัจ ๔ คือการรู้เห็นตามความเป็นจริงอันประเสริฐ ไมใช่อาศัยเพียงความรู้สึกนึกคิดที่ตกผลึกแล้ว นั่นเป็นเพียง "ทิฏฐิ" ความเชื่อ ความศรัทธาที่คิดเองว่าถูก ยังขาดการปฏิบัติธรรมเพื่อพิสูจน์ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ จึงจะเป็น "สัมมา"

    มีพระพุทธพจน์รับรองไว้ดังนี้
    <font color='#0000ff'><b>ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จงยังสมาธิให้เกิดขึ้นเถิด
    ผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง</b></font>
    <font color='#ff0000'><b>ย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง ซึ่งอะไรเล่า?</b></font>
    <font color='#0000ff'><b>รู้เห็นตามความเป็นจริงซึ่งความจริงอันประเสริฐว่า
    นี้เป็นทุกข์
    นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์
    นี้เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
    นี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์</b></font>

    เปรียบเหมือนบุคคลที่ต้องการ <b>"กำหนดรู้"</b> อะไรสักอย่าง จำเป็นต้องลงพื้นที่จริงหรืออยู่ในสภาวธรรมตามความเป็นจริง จึงจะ "กำหนดรู้" ได้ถูกต้อง เช่น ทุกข์ ควรกำหนดรู้ สมุทัย ควรละเสีย ฯลฯ จะอาศัยเพียงแค่ "สัญญา" ที่เข้าใจว่าเป็น "ปัญญา" มากำหนดรู้ แล้วละได้นั้น เป็นเพียงความรู้สึกที่นึกคิดเอาเองว่า "ใช่"

    ส่วนบุคคลผู้ซึ่งลงมือปฏิบัติธรรมกรรมฐานหรือเดินจงกรม เพื่อให้รู้เห็นตามความจริง (สัมมาทิฏฐิ) เปรียบเหมือนการลงพื้นที่ หรืออยู่ในสภาวธรรมที่เป็นจริง เช่นเมื่อกำลังปฏิบัติธรรมกรรมฐาน หรือเดินจงกรมอยู่นั้น ทำไมจึงยังไม่สามารถประคองสติให้จิตสงบตั้งมั่นได้ ก็ควรกำหนดรู้ลงไปว่า ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ฯลฯ ล้วนเป็นทุกข์

    เรื่องอะไรที่ทำให้ไม่สามารถประคองสติ เพื่อให้จิตสงบตั้งมั่นได้ เมื่อกำหนดรู้แล้ว ควรละเหตุแห่งทุกข์เหล่านั้นเสีย ทุกข์ดับไปได้ชั่วคราวในขณะนั้น เพราะมีสติกำกับอยู่ ต้องหมั่นฝึกฝนอบรมจิตของตนบ่อยๆ เนืองๆ จนสิ้นการปรุงแต่ง ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่น เป็นทางเดินไปสู่ความเป็นโลกุตตระ เป็นองค์มรรค เป็นสัมมาทิฏฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ ดังนี้ ... สาธุ</font>

    <font color='#0000ff' size='4'><b>เจริญในธรรมทุกๆ ท่าน
    ธรรมภูต</b></font>​
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กุมภาพันธ์ 2016

แชร์หน้านี้

Loading...