ทำไม "แกงอ่อม" ปรากฏในพระไตรปิฎก

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย Pat_DArmy, 6 กุมภาพันธ์ 2012.

  1. Pat_DArmy

    Pat_DArmy สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2011
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +3
    แกงอ่อม อาหารขึ้นชื่อของภาคเหนือและอีสาน ถูกบันทึกไว้ในพระไตรปิฎก ไม่แน่ใจว่าครั้นพุทธกาลมีอาหารประเภทนี้ในอินเดียด้วยหรือ...

    พระผู้มีพระภาค ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติวัตรในโรงฉันแก่ภิกษุทั้งหลาย
    โดยประการที่ภิกษุทั้งหลาย พึงประพฤติเรียบร้อยในโรงฉัน ฯ
    ....
    กระโถนอย่าเลอะเทอะด้วยน้ำ ภิกษุใกล้เคียงอย่าถูกน้ำกระเซ็น ผ้าสังฆาฏิอย่าถูกน้ำกระเซ็น ถ้ากระโถนไม่มี พึงค่อยๆ เทน้ำลงที่พื้นดิน ด้วยคิดว่า ภิกษุใกล้เคียงอย่าถูกน้ำกระเซ็น ผ้าสังฆาฏิอย่าถูกน้ำกระเซ็น เมื่อเขาถวายข้าวสุก พึงใช้มือทั้งสองประคองบาตรรับข้าวสุก พึงเว้นเนื้อที่ไว้สำหรับแกง ถ้ามีเนยใส น้ำมัน หรือ แกงอ่อม พระเถระควรบอกว่า จงจัดถวายภิกษุทั้งหลายเท่าๆ กันทุกรูป พึงรับบิณฑบาตโดยเคารพ พึงมีความสำคัญในบาตรรับบิณฑบาต พึงรับบิณฑบาตพอสมกับแกง ...

    จาก พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗
    จุลวรรค ภาค ๒
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • imagess.jpg
      imagess.jpg
      ขนาดไฟล์:
      4.4 KB
      เปิดดู:
      3,602
  2. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    น่าคิดนะครับ....ผมว่าต้องลองไปถามพระเปรียญว่าพระไตรภาษาบาลี จริงๆท่านหมายความว่าอย่างไร... พระที่ท่านแปลมาเป็นฉบับภาษาไทย ท่านอาจหมายถึงแกงที่ใช้เวลาตุ๋นเป็นเวลานานๆก็ได้...แต่ไม่รู้จะใช้คำใหน เลยใช้คำว่าแกงอ่อมแทน.....
     
  3. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,731
    คำถามนี้ดีมากค่ะ ขออนุโมทนา
    เป็นเหตุให้ได้คิดและวิพากษ์...จะรออ่านข้อคิดเห็นของท่านผู้รู้ค่ะ
     
  4. จันทิพา

    จันทิพา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    114
    ค่าพลัง:
    +460
    น่าคิดเหมือนกันนะคะ

    ก็น่าสงสัยเหมือนกันค่ะ แล้วงานบุญผะเวด เทศน์มหาชาติ ที่มีเป็นประเพณีมานานในภาคอิสาน แล้วภาคอื่นๆ หรือที่อินเดียมีมั๊ยคะ ...
     
  5. pagorn

    pagorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    768
    ค่าพลัง:
    +2,848
  6. hackyz

    hackyz เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2010
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +243
    ครับ น่าติดตามครับ ปูเสื่อรอ.....
     
  7. ศนิวาร

    ศนิวาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    7,337
    ค่าพลัง:
    +17,635
    ชื่ออาหารต้องดูคำเดิมที่เป็นภาษาบาลีครับ

    คาดว่าหากผู้แปลเป็นภูมิภาคใด ใช้ภาษาถิ่นใดเป็นหลัก ท่านก็แปลเพื่อให้คนในท้องถิ่นนั้น ๆ เข้าใจ

    เมื่อพระบาลีกล่าวถึงอาหารที่มีในอินเดีย ชาวบ้านไม่รู้จัก ไม่เข้าใจ ดังนั้นท่านจึงใช้ชื่ออาหาร

    ในท้องถิ่นนั้น ๆ เข้ามาแทนที่เพื่อให้เข้าใจ เพราะฉะนั้นพระไตรปิฎกใบลานของแต่ละภาคจึง

    มีชื่ออาหารไม่เหมือนกัน คาดว่าภาษาบาลีใช้เพียงคำว่า สูปพยัญชนัง (อาหารประเภทมีน้ำและอาหารประเภทแห้งไม่มีน้ำ)

    และคำว่า สูปะ ในภาษาบาลี ภาษาอังกฤษเอาไปใช้คือคำว่า ซุป แต่คนละความหมายกับ ซุป ในภาคอิสานก็แค่พ้องเสียงเท่านั้น
     
  8. โอกระบี่

    โอกระบี่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,477
    ค่าพลัง:
    +1,651
    ขอบคุณสำหรับความรู้ครับทุกท่าน................
     
  9. sornsill

    sornsill เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +515
    ๐ยากถามว่าพระไตรปิฎกใครเป็นคนแปลครับ แล้วเราเชื่๐ในพระธรรม หรื๐พระไตรปิฎกมั๊ยครับ หรื๐เราจะเก่งกว่าผู้แปลคนแรก เมื่๐ว่าคำไหนก็คื๐คำนั้น(สำหรับตัวข้าพเจ้า)

    นี่คื๐ข้๐สังเกตุจากครูบา๐าจารย์หลวงปู่มั่น


    "อันนี้ได้พิจารณาแล้วว่า พระพุทธเจ้าเป็นคนไทย พระอนุพุทธสาวกในยุคพุทธกาล ตลอดถึงยุคปัจจุบัน ล้วนแต่ไทยทั้งนั้น ชนชาติอื่น แม้แต่สรณคมน์และศีล 5 เขาก็ไม่รู้ จะเป็นพระพุทธเจ้าได้อย่างไร ดูไกลความจริงเอามากๆ เราได้เล่าให้เธอฟังแล้วว่า ชนชาติไทย คือ ชาวมคธ รวมรัฐต่างๆ มีรัฐสักกะ เป็นต้น หนีการล้างเผ่าพันธุ์มาในยุคนั้น และชนชาติพม่า คือ ชาวรัฐโกศล เป็นรัฐใหญ่ รวมทั้งรัฐเล็กๆ จะเป็นวัชชี มัลละ เจติ เป็นต้น ก็ทะลักหนีตายจากผู้ยิ่งใหญ่ด้วยโมหะ อวิชชา มาผสมผสานเป็นมอญ (มัลละ) เป็นชนชาติต่างๆ ในพม่าในปัจจุบัน"
    "ส่วนรัฐสักกะใกล้กับรัฐมคธ ก็รวมกันอพยพมาสุวรรณภูมิ ตามสายญาติที่เดินทางมาแสวงโชคล่วงหน้าก่อนแล้ว"
    ผู้เล่าเลยพูดขึ้นว่า "ปัจจุบัน พอจะแยกชนชาติในไทยได้ไหม ขอรับกระผม"
    "ไม่รู้สิ อาจเป็นชาวเชียงใหม่ ชาวเชียงตุงในพม่าก็ได้"
    ขณะนั้นท่านวันขึ้นไปพอดี ตอนท้ายก่อนจบ ท่านเลยสรุปว่า
    "อันนี้ (หมายถึงตัวท่าน) ได้พิจารณาแล้ว ทั้งรู้ทั้งเห็นโดยไม่มีข้อสงสัยใดๆ ทั้งสิ้น"
    ผู้เล่าพูดอีกว่า "แขกอินเดียทุกวันนี้คือพวกไหน ขอรับกระผม"
    ท่านบอก "พวกอิสลามที่มาไล่ฆ่าเราน่ะสิ"
    "ถ้าเช่นนั้นศาสน์พราหมณ์ ฮินดู เจ้าแม่กาลี การลอยบาปแม่น้ำคงคา ทำไมจึงยังมีอยู่ รวมทั้งภาษาสันสกฤตด้วย"
    "อันนั้นเป็นของเก่า เขาเห็นว่าดี บางพวกก็ยอมรับเอาไปสืบต่อๆ กันมาจนปัจจุบัน ส่วนพวกเรา พระพุทธเจ้าสอนให้ละทิ้งหมดแล้ว เราหนีมาอยู่ทางนี้ พระพุทธเจ้าสอนอย่างไรก็ทำตาม"
    ท่านยังพูดคำแรงๆ ว่า "คุณตาบอดตาจาวหรือ เมืองเรา วัดวา ศาสนา พระสงฆ์ สามเณร เต็มบ้านเต็มเมืองไม่เห็นหรือ" (ตาบอดตาจาว เป็นคำที่ท่านจะกล่าวเฉพาะกับผู้เล่า)
    "แขกอินเดียเขามีเหมือนเมืองไทยไหม ไม่มี มีแต่จะทำลาย โชคดีที่อังกฤษมาปกครอง เขาออกกฎหมายห้ามทำลายโบราณวัตถุ โบราณสถาน แต่ก็เหลือน้อยเต็มที ไม่มีร่องรอยให้เราเห็น อย่าว่าแต่พระพุทธเจ้าเลย ตัวเธอเองนั่นแหละ ถ้าได้ไปเห็นสภาพความเป็นอยู่ของชาวอินเดีย จ้างเธอก็ไม่ไปเกิด"
    "ของเหล่านี้นั้น ต้องไปตามวาสตามวงศ์ตระกูล อย่างเช่น วงศ์พระพุทธศาสนาของเรานั้น เป็นอริยวาส อริยวงศ์ อริยตระกูล เป็นวงศ์ที่พระพุทธเจ้าจะมาอุบัติ คุณแปลธรรมบทมาแล้ว คำว่า ปุคฺคลฺโล ปุริสาธญฺโญ ลองแปลดูซิว่า พระพุทธจะเกิดในมัชฌิมประเทศ หรืออะไรที่ไหนก็แล้วแต่ จะเป็นที่อินเดีย หรือที่ไหนก็ตาม ทุกแห่งตกอยู่ในห้วงแห่งสังสารวัฏฏ์ ถึงวันนั้นพวกเราอาจจะไปอยู่อินเดียก็ได้"
    "พระพุทธเจ้าทรงวางพุทธศาสนาไว้ จะเป็นระหว่างพุทธันดรก็ดี สุญญกัปปก็ดี ที่ไม่มีพระพุทธศาสนา แต่ชนชาติที่ได้เป็นอริยวาส อริยวงศ์ อริยประเพณี อริยนิสัย ก็ยังสืบต่อไปอยู่ ถึงจะขาด ก็ขาดแต่ผู้ได้สำเร็จมรรคผลเท่านั้น เพราะว่าจากบรมครู ต้องรอบรมครูมาตรัสรู้ จึงว่ากันใหม่"
    ผู้เล่าได้ฟังมาด้วยประการฉะนี้แล

    เกร็ดประวัติ และ ปกิณกธรรมของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ๕
    จากหนังสือ "รำลึกวันวาน"
    หลวงตาทองคำ จารุวัณโณ
    โพสท์ในลานธรรมเสวนา หมวดบันเทิงธรรม กระทู้ 19153 โดย: ภิเนษกรมณ์ 08 มี.ค. 49
     
  10. tuta868248

    tuta868248 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    563
    ค่าพลัง:
    +1,116
    คนแปลอาจจะใส่เข้าไปเอง เพิ่มเติมเองคะบุญรักษาคะ
     
  11. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    เติมเข้าไปเองนี่เป็นไปไม่ได้ครับ...แต่แปลให้เข้าใจง่ายนี่เป็นไปได้....

    ถ้าเคยศึกษาเรื่องการแปลพระไตรปิฏกจะมีความเข้าใจในเรื่องนี้ดีนะ....เพราะจะมีแผนกแปล แผนกตรวจกับต้นฉบับอีกไม่รู้กี่ภาษา เพื่อให้เป็นแบบแผนเดียวกันทั่วโลก (ถ้าบกพร่องอย่างนั้นพระไตรปิฏกไทยก็จะไม่ได้รับความน่าเชื่อถือจากนานาอารยะประเทศเลยครับ)....เขาทำงานอย่างระมัดระวังมากครับ ....เพราะว่าเป็นพุทธพจน์..... ถ้าผิดคือผิด...ฉะนั้นสามารถศึกษาได้ครับ..พระไตรปิฏกฉบับภาษาไทยนั้นกี่ฉบับไม่แตกต่างกันในเนื้อความ แต่แตกต่างกันตรงภาษาที่ใช้.

    ยกตัวอย่างเช่น ฉบับสยามรัฐ(สมัยเก่าหน่อย) ใช้คำว่าถวายบังคม. แต่ฉบับ มจร (ฉบับภาษาร่วมสมัยเข้าใจง่ายหน่อย). ใช้คำว่าถวายอภิวาท เป็นต้น.

    พูดแล้วก็พูดเรื่องความน่าเชื่อถือของพระไตรปิฏกเลยแล้วกันนะครับ...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กุมภาพันธ์ 2012
  12. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647






    [​IMG]



    พระไตรปิฏกเชื่อถือได้แค่ไหน...



    <O:p</O:p
    บทความทางวิชาการ โดย พระมหาประเสริฐ มนฺตเสวี นธ.เอก. ป.ธ.๘ , พธ.บ.(บาฬีพุทธศาสตร์) , พธ.ม.(วิปัสสนา).<O:p</O:p
    <O:p</O:p


    ก่อนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะดับขันธปรินิพพาน พระอานนท์ทูลถามพระองค์ว่า “ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หลังจากพระองค์ปรินิพพานแล้ว พระองค์จะทรงตั้งใครเป็นศาสดาแทนพระเจ้าข้า”<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าตรัสตอบเป็นภาษาบาฬีว่า “โย โว อานนฺท มยา ธมฺโม จ วินโย จ เทสิโต ปญฺญตฺโต โส โว มมจฺจเยน สตฺถา” <O:p</O:p
    แปลว่า. ดูก่อนอานนท์ ธรรมและวินัยใดที่เรา ได้แสดงแล้วและบัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย ธรรมและวินัยนั้นจักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย ในเมื่อเราล่วงลับไป <O:p</O:p
    หมายความว่า พระพุทธเจ้าตรัสสั่งให้คำสั่ง สอนของพระองค์ เป็นศาสดาแทนพระองค์ <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    หลังพระพุทธเจ้าปรินิพพาน ๓ เดือน พระอรหันตสาวก ๕๐๐ รูป นำโดยพระมหากัสสปะเถระได้ร่วมกัน ประชุมทำสังคายนา คือ ดำเนินการรวบรวมพระดำรัสของ พระพุทธเจ้า จัดเป็นหมวดหมู่ คัมภีร์ที่รวบรวมพุทธพจน์ บรรจุพระธรรมวินัยนั้นไว้ เรียกว่า พระไตรปิฎก<O:p</O:p
    คัมภีร์ที่บันทึกหลักธรรมคำสั่งสอนของพุทธศาสนานั้นเรียกว่าพระไตรปิฎก ซึ่งถือว่าเป็นคัมภีร์ที่สำคัญที่สุดของพุทธศาสนา เพราะเป็นคัมภีร์ที่จารึกคำสอนของพระพุทธเจ้าและของพระอรหันตสาวกไว้โดยมีกระบวนการสืบทอดคำสอนของพระพุทธองค์ไว้ในรูปแบบของการสังคายนาอย่างระมัดระวังและรัดกุมที่สุด ตั้งแต่สมัยที่พระพุทธองค์ทรงพระชนม์ชีพอยู่ จนถึงการสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ ๑, , ,, , ๖ มาตามลำดับ<O:p</O:p
    หลักธรรมคำสั่งสอนทางพุทธศาสนาได้มีการสืบทอดกันมาโดยมุขปาฐะ คือ การท่อง จำสืบๆ กันมา (Oral Tradition) การท่องจำนี้ ได้กระทำมาจนถึงสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ ๕ ในลังกาทวีป การจารึกเป็นคัมภีร์ครั้งแรกเมื่อคราวสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ ๕ เมื่อ พ.ศ. ๔๕๐ บางตำราว่า พ.ศ. ๔๓๓ (ถ้านับเฉพาะที่ทำสังคายนาในศรีลังกาก็เป็นครั้งที่ ๒ )ในรัชสมัยของพระเจ้าวัฏฏคามณีอภัย โดยมีพระรักขิตมหาเถระเป็นประธาน ทำที่อาโลกเลณสถาน ณ มตเล ชนบทหรือที่เรียกว่า มลัยชนบท สาเหตุของการจารึกพระพุทธวจนะลงในใบลาน ก็เพราะว่าถ้าจะใช้วิธีท่องจำพระพุทธวจนะต่อไป ก็อาจมีข้อวิปริตผิดพลาดได้ง่าย เพราะปัญญาในการท่องจำของกุลบุตรเสื่อมถอยลง นอกจากนั้นพระสงฆ์ยังได้รับความกระทบกระเทือนจากภัยธรรมชาติและภัยสงครามอยู่เนืองๆทำให้ไม่มีเวลาท่องจำพระพุทธวจนะ จะทำให้ช่วงการสืบต่อขาดลงได้ และในการจารึกครั้งนี้ได้จารึกอรรถกถาลงไว้ด้วย<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    มีผู้สงสัยว่า สมัยพุทธกาลคนไม่รู้จักการเขียนหนังสือหรืออย่างไร? จึงไม่ปรากฏว่ามีตำรับตำราจารึกไว้เป็นหลักฐาน พระมหาเสฐียรพงษ์ ปุณฺณวณฺโณได้ประมวลทัศนะนี้ไว้ในหนังสือภาษาศาสตร์ภาษาบาลี ไว้ว่า<O:p</O:p
    "ความจริงการเขียนหนังสือน่าจะมีมาก่อนพุทธกาลแล้ว ในพระไตรปิฎกเองก็มีข้อ ความเอ่ยถึงการขีดเขียนเป็นครั้งคราว เช่น ตอนหนึ่ง ห้ามภิกษุเล่นเกม "อักขริกา" ได้แก่ การทายอักษรในอากาศหรือบนหลังเพื่อนภิกษุ วิชาเขียนหนังสือ(เลขา) ได้รับยกย่องว่าเป็นศิลปะพิเศษอย่างหนึ่ง สิกขาบทบางข้อห้ามภิกษุณีเรียนศิลปะทางโลก หนึ่งในศิลปะเหล่านี้คือวิชาเขียนหนังสือ ในบทสนทนาภายในครอบครัว พ่อแม่ปรารภว่าจะให้บุตรเรียนวิชาอะไรดี ถ้าจะให้เรียนเขียนหนังสือ บุตรก็อาจยังชีพอยู่ได้อย่างสบาย แต่ก็อาจเจ็บนิ้วมือ ถ้าภิกษุเขียนหนังสือพรรณนาคุณของอัตตวินิบาตกรรม (การฆ่าตัวตายเอง) ปรับทุกกฎทุกตัวอักษร ถ้ามีผู้อ่านพบข้อความนั้นเข้าเห็นดีเห็นงามด้วย แล้วฆ่าตัวตายตามนั้น ปรับอาบัติปาราชิก หลักฐานเหล่านี้แสดงว่าอักษรหรือการเขียนมีมาก่อนสมัยพระพุทธเจ้าแล้ว แต่ที่พระพุทธองค์ไม่นิยมใช้ หันมาใช้วิธีมุขปาฐะแทน น่าจะทรงเห็นประโยชน์อานิสงส์บางสิ่งบางอย่างกระมัง หรือว่าระบบการขีดเขียนยังไม่เป็นที่แพร่หลายเท่าที่ควร ทั้งยังไม่มีอุปกรณ์การขีดการเขียนเพียงพอ ก็ยากที่จะทราบได้ แต่ข้อที่น่าคิดอยู่อย่างคือ วิธีเรียนด้วยมุขปาฐะนี้ นอกจากจะสร้างสัมพันธภาพอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้เรียนและผู้สอนแล้ว ยังเป็นการสร้างสมาธิฝึกจิตของผู้เรียนไปในตัวด้วย นักปราชญ์ยุคก่อนที่มีความคิดเช่นนี้ก็มีไม่น้อย เปลโต้เคยกล่าวไว้ว่า "การคิดอักษรขึ้นใช้ แทนการท่องจำ ทำให้มนุษย์ขาดอานุภาพแห่งความทรงจำ คือแทนที่จะจดจำจากอินทรีย์ภายใน ต้องอาศัยสัญลักษณ์นอกเข้าช่วย"<O:p</O:p
    อ้างอิง..พระมหาเสฐียรพงษ์ ปุณณวณโณ ภาษาศาสตร์ภาษาบาลี, ชุดวรรณไวทยากร, กรุงเทพฯไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๑๔)<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ในตอนต้นครั้งพุทธกาล คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามิได้เรียกว่า “พระไตรปิฎก” แต่เรียกว่าพระธรรมวินัยบ้าง พระสัทธรรมบ้าง ปาพจน์บ้าง สัตถุศาสน์บ้าง พระ บาลีบ้าง สุตตะบ้าง แม้หลังพุทธปรินิพพานก็ยังไม่เรียกว่าพระไตรปิฎก คงเรียก ว่าพระธรรมวินัย เช่น การสังคายนาชำระคำสอน ครั้งที่ ๑-๔ ยังคงเรียกว่าสังคายนา พระธรรมวินัย และได้เรียกว่า “พระไตรปิฎก” เมื่อการสังคายนาครั้งที่ ๕ พ.ศ. ๔๕๐ ณ ประเทศศรีลังกา โดยได้จารึกลงในใบลาน ซึ่งได้แบ่งพระธรรมวินัยเป็น ๓ หมวด จึงได้เรียกว่า “พระไตรปิฎก” ตั้งแต่บัดนั้น





    [​IMG]<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    พระไตรปิฎกมีความสำคัญดังนี้<O:p</O:p
    ๑. เป็นที่รวบรวมพระพุทธพจน์ คือ พระดำรัสของพระพุทธเจ้า<O:p</O:p
    ๒. เป็นที่สถิตของพระศาสดาของพุทธศาสนิกชน เพราะเป็นที่บรรจุพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ให้ เป็นศาสดาแทนพระองค์<O:p</O:p
    ๓. เป็นแหล่งต้นเดิมของคำสั่งสอนในพุทธศาสนา <O:p</O:p
    ๔.เป็นหลักฐานอ้างอิงหรือยืนยันหลักการที่กล่าว ว่า เป็นพระพุทธศาสนา<O:p</O:p
    ๕. เป็นมาตฐานตรวจสอบความเชื่อและข้อปฏิบัติ ในพระพุทธศาสนา จะวินิจฉัยสิ่งใดว่าถูกต้องหรือผิดพลาด เป็นพระพุทธศาสนาหรือไม่ ก็โดยอาศัยพระธรรมวินัยที่มีมาในพระไตรปิฎกเป็นเครื่องตัดสิน <O:p</O:p
    ๖. พระไตรปิฎกเป็นคัมภีร์ที่น่าเชื่อถือที่สุด กว่าหนังสือใดๆ บนพื้นพิภพ ที่ยืนยันให้คนยุคปัจจุบันได้รับรู้ ว่าเมื่อ ๒๕๐๐ปีก่อน พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนอะไรไว้บ้าง <O:p</O:p
    ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ การศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎก จึงเป็นกิจสำคัญยิ่งของชาวพุทธ ถือว่าเป็นการสืบต่ออายุ พระพุทธศาสนาหรือเป็นความดำรงอยู่ของพระพุทธศาสนากล่าวคือ ถ้ายังมีการศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎกเพื่อนำไปปฏิบัติ พระพุทธศาสนาก็จะยังดำรงอยู่ แต่ถ้าไม่มีการศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎก แม้มีการปฏิบัติก็จะไม่เป็น ไปตามหลักการของพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาก็จะ ไม่ดำรงอยู่ คือ จะเสื่อมสูญไปในที่สุด



    [​IMG]<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ถาม... เป็นไปได้หรือไม่ที่พระไตรปิฏกอาจจะถูกสาวกรุ่นหลังๆ แก้ไขเพิ่มเติม <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ตอบ “เป็นไปไม่ได้” ด้วยเหตุผลดังนี้<O:p</O:p
    ๑. พระไตรปิฎกสืบทอดกันมาด้วยภาษาบาลี ที่มีหลักไวยากรณ์เฉพาะ มีกฎตายตัวไว้เฉพาะภาษาบาลี โดยปฏิเสธกฎไวยากรณ์หลายประการของสันสกฤต เพื่อไว้ให้เป็นหลักเกณฑ์ของไวยากรณ์บาลีโดยเฉพาะ เช่น พระบาลีมี ๒วจนะเท่านั้น คือ เอกวจนะ และพหุวจนะ ไม่มีทวิวจนะ <O:p</O:p
    ...อ้างอิง ดูรายละเอียด พระอัครวงศาจารย์ , สทฺทนีติปฺปกรณํ (ปทมาลา) ฉบับภูมิพโลภิกขุ . โรงพิมพ์มูลนิธิภูมิพโลภิกขุ, วัดสระเกศ กรุงเทพฯ:พ.ศ. ๒๕๒๑ .หน้า ๑๕๖<O:p</O:p
    ๒. แม้บางช่วงของประวัติศาสตร์เกิดภัยต่าง ๆ ทำให้คัมภีร์พระไตรปิฎกขาดหายหรือเลอะเลือนไป แต่เมื่อสังคายนาใหม่อีกครั้งก็ได้เปรียบเทียบ ตรวจสอบดูกัพระไตรปิฎกของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก จนหมดข้อสงสัย จึงทำให้เชื่อได้ว่าเป็นพระไตรปิฎกที่มีมาตรฐานเดียวกันทั่วทั้งโลก ตรงกับพระไตรปิฎกที่ได้รับการสังคายนาครั้งก่อน ๆ ทุกประการ<O:p</O:p
    ๓. มีข้อความในคัมภีร์รุ่นหลังกล่าวอ้างถึงข้อความคัมภีร์พระไตรปิฎก แต่เมื่อตรวจสอบในบาลีพระไตรปิฎกแล้วกลับไม่มีข้อความนั้น ทั้งที่เมื่อพิจารณาข้อความนั้นแล้วมีอรรถเข้ากันได้กับพระไตรปิฎก เช่น บาลีสังยุตตนิกาย มหาวรรคว่า “จตฺตารีมานิ ภิกฺขเว อริยสจฺจานิ ฯ กตมานิ จตฺตาริ ฯ ทุกฺข อริยสจฺจ ทุกฺขสมุทโย อริยสจฺจ ทุกฺขนิโรโธ อริยสจฺจ ทุกฺขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสจฺจ ฯ อิมานิ โข ภิกฺขเว จตฺตาริ อริยสจฺจานิ ตถานิ อวิตถานิ อนฺถานิ ตสฺมาอริยสจฺจานีติ วุจฺจนฺติ” ( อ้างอิง.... ส.ม.๑๙/๑๐๙๗/๓๘๐) <O:p</O:p
    แต่คัมภีร์วิสุทธิมรรค นำไปอ้างโดยเพิ่มข้อความว่า “จตฺตารีมานิ ภิกฺขเว อริยสจฺจานิ ฯ กตมานิ จตฺตาริ ฯ ทุกฺข อริยสจฺจ ทุกฺขสมุทโย อริยสจฺจ ทุกฺขนิโรโธ อริยสจฺจ ทุกฺขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสจฺจ ฯ อิมานิ โข ภิกฺขเว จตฺตาริ อริยสจฺจานิ อริยา อิมานิ ปฏิวิชฺฌนฺติ ตสฺมา อริยสจฺจานีติ วุจฺจนฺตีติ ฯ อปิจ อริยสฺส สจฺจานีติปิ อริยสจฺจานิ ฯ ยถาห ฯ สเทวเก โลเก ฯเปฯ มนุสฺสา ตถาคโต อริโย ตสฺมา อริยสจฺจานีติ วุจฺจนฺตีติ ฯ อถวา เอเตส อภิสมฺพุทฺธตฺตา อริยภาวสิทฺธิโตปิ อริยสจฺจานิ ฯ ยถาห ฯ อิเมส โข ภิกฺขเว จตุนฺน อริยสจฺจาน ยถาภูต อภิสมฺพุทฺธตฺตา ตถาคโต อรห สมฺมาสมฺพุทฺโธ อริโยติ วุจฺจตีติ ฯ อปิจ โข ปน อริยานิ สจฺจานีติปิ อริยสจฺจานิ ฯ อริยานีติ ตถานิ อวิตถานิ อวิสวาทกานีติ อตฺโถ ฯ ยถาห ฯ อิมานิ โข ภิกฺขเว จตฺตาริ อริยสจฺจานิ ตถานิ อวิตถานิ อนฺถานิ ตสฺมา อริยสจฺจานีติ วุจฺจนฺตีติ ฯ เอวเมตฺถ นิพฺพจนโต วินิจฺฉโต เวทิตพฺโพ ฯ <O:p</O:p
    ( อ้างอิง... วิสุทฺธิ.๒/๑๔๐-๑๔๑ )(อักษรตัวหนา เป็นข้อความที่คัมภีร์วิสุทธิมรรคเพิ่มเข้ามา โดยอ้างว่านำมาจากพระไตรปิฎก)<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ดังข้อมูลที่เสนอมานี้ก็หมายความว่า พระไตรปิฎกภาษาบาลีไม่ถูกแก้ไขเพิ่มเติมอย่างแน่นอน เพราะทั้งที่ปรากฏข้อความที่ตกหล่นปรากฏอยู่ในคัมภีร์น่าเชื่อถือเป็นที่สุดอย่างเช่น วิสุทธิมรรค ข้อความนั้นก็มิได้ถูกบรรจุไว้ในคัมภีร์พระไตรปิฎก <O:p</O:p
    สรุปว่า คัมภีร์พระไตรปิฎกภาษาบาลีย่อมเป็นไปได้ที่มีการตกหล่นบ้าง คำกล่าวอ้างที่ว่าถูกสาวกรุ่นหลังแก้ไขเพิ่มเติมย่อมเป็นไปไม่ได้เลย <O:p</O:p

    <O:p</O:p













    <HR align=left width="33%" SIZE=1>

    [1][1] บางแห่งว่า พ.ศ.๔๓๓<O:p</O:p
    [1][2] พระมหาเสฐียรพงษ์ ปุณณวณโณ ภาษาศาสตร์ภาษาบาลี, ชุดวรรณไวทยากร, กรุงเทพฯไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๑๔<O:p</O:p
    [1][3] ดูรายละเอียด พระอัครวงศาจารย์ , สทฺทนีติปฺปกรณํ (ปทมาลา) ฉบับภูมิพโลภิกขุ . โรงพิมพ์มูลนิธิภูมิพโลภิกขุ, วัดสระเกศ กรุงเทพฯ:พ.ศ. ๒๕๒๑ .หน้า ๑๕๖<O:p</O:p
    [1][4] ส.ม.(บาลี) ๑๙/๑๐๙๗/๓๘๐<O:p</O:p
    [2][5] วิสุทฺธิ.(บาลี)๒/๑๔๐-๑๔๑

    http://www.tlcthai.com/club/view_top...&post_id=11639
    <O:p</O:p<!-- google_ad_section_end -->
     
  13. totccccc

    totccccc สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มกราคม 2011
    โพสต์:
    116
    ค่าพลัง:
    +24
    แบบนี้ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ครับ ต้องเปลี่ยนเป็น คนแปลแปลดีแล้วแต่เราจะเข้าใจแบบคนแปลหรือเปล่า(ไม่ได้ว่านะครับเจตนาเป็นกุศลครับ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 8 กุมภาพันธ์ 2012
  14. พระไตรภพ

    พระไตรภพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,067
    ค่าพลัง:
    +7,521
    เป็นธรรมดา อาหารเอเชียไม่ค่อยจะต่างกันนักเลย อ่อมหมายถึงใส่น้ำน้อยๆ ส่วนแกงคือใส่น้ำมากหน่อย มันต่างกันเพียงปริมาณของน้ำ ถ้าแห้งเลยก็คือขั้ว ไม่แปลกเลย
     
  15. tonnuch

    tonnuch เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    108
    ค่าพลัง:
    +114
    <TABLE class=tborder id=post5677287 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD class=alt1 id=td_post_5677287 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid">๐ยากถามว่าพระไตรปิฎกใครเป็นคนแปลครับ แล้วเราเชื่๐ในพระธรรม หรื๐พระไตรปิฎกมั๊ยครับ หรื๐เราจะเก่งกว่าผู้แปลคนแรก เมื่๐ว่าคำไหนก็คื๐คำนั้น(สำหรับตัวข้าพเจ้า)

    นี่คื๐ข้๐สังเกตุจากครูบา๐าจารย์หลวงปู่มั่น


    "อันนี้ได้พิจารณาแล้วว่า พระพุทธเจ้าเป็นคนไทย พระอนุพุทธสาวกในยุคพุทธกาล ตลอดถึงยุคปัจจุบัน ล้วนแต่ไทยทั้งนั้น ชนชาติอื่น แม้แต่สรณคมน์และศีล 5 เขาก็ไม่รู้ จะเป็นพระพุทธเจ้าได้อย่างไร ดูไกลความจริงเอามากๆ เราได้เล่าให้เธอฟังแล้วว่า ชนชาติไทย คือ ชาวมคธ รวมรัฐต่างๆ มีรัฐสักกะ เป็นต้น หนีการล้างเผ่าพันธุ์มาในยุคนั้น และชนชาติพม่า คือ ชาวรัฐโกศล เป็นรัฐใหญ่ รวมทั้งรัฐเล็กๆ จะเป็นวัชชี มัลละ เจติ เป็นต้น ก็ทะลักหนีตายจากผู้ยิ่งใหญ่ด้วยโมหะ อวิชชา มาผสมผสานเป็นมอญ (มัลละ) เป็นชนชาติต่างๆ ในพม่าในปัจจุบัน"
    "ส่วนรัฐสักกะใกล้กับรัฐมคธ ก็รวมกันอพยพมาสุวรรณภูมิ ตามสายญาติที่เดินทางมาแสวงโชคล่วงหน้าก่อนแล้ว"
    ผู้เล่าเลยพูดขึ้นว่า"ปัจจุบัน พอจะแยกชนชาติในไทยได้ไหม ขอรับกระผม"
    "ไม่รู้สิ อาจเป็นชาวเชียงใหม่ ชาวเชียงตุงในพม่าก็ได้"
    ขณะนั้นท่านวันขึ้นไปพอดี ตอนท้ายก่อนจบ ท่านเลยสรุปว่า
    "อันนี้ (หมายถึงตัวท่าน) ได้พิจารณาแล้ว ทั้งรู้ทั้งเห็นโดยไม่มีข้อสงสัยใดๆ ทั้งสิ้น"
    ผู้เล่าพูดอีกว่า"แขกอินเดียทุกวันนี้คือพวกไหน ขอรับกระผม"
    ท่านบอก"พวกอิสลามที่มาไล่ฆ่าเราน่ะสิ"
    "ถ้าเช่นนั้นศาสน์พราหมณ์ ฮินดู เจ้าแม่กาลี การลอยบาปแม่น้ำคงคา ทำไมจึงยังมีอยู่ รวมทั้งภาษาสันสกฤตด้วย"
    "อันนั้นเป็นของเก่า เขาเห็นว่าดี บางพวกก็ยอมรับเอาไปสืบต่อๆ กันมาจนปัจจุบัน ส่วนพวกเรา พระพุทธเจ้าสอนให้ละทิ้งหมดแล้ว เราหนีมาอยู่ทางนี้ พระพุทธเจ้าสอนอย่างไรก็ทำตาม"
    ท่านยังพูดคำแรงๆ ว่า "คุณตาบอดตาจาวหรือ เมืองเรา วัดวา ศาสนา พระสงฆ์ สามเณร เต็มบ้านเต็มเมืองไม่เห็นหรือ" (ตาบอดตาจาว เป็นคำที่ท่านจะกล่าวเฉพาะกับผู้เล่า)
    "แขกอินเดียเขามีเหมือนเมืองไทยไหม ไม่มี มีแต่จะทำลาย โชคดีที่อังกฤษมาปกครอง เขาออกกฎหมายห้ามทำลายโบราณวัตถุ โบราณสถาน แต่ก็เหลือน้อยเต็มที ไม่มีร่องรอยให้เราเห็น อย่าว่าแต่พระพุทธเจ้าเลย ตัวเธอเองนั่นแหละ ถ้าได้ไปเห็นสภาพความเป็นอยู่ของชาวอินเดีย จ้างเธอก็ไม่ไปเกิด"
    "ของเหล่านี้นั้น ต้องไปตามวาสตามวงศ์ตระกูล อย่างเช่น วงศ์พระพุทธศาสนาของเรานั้น เป็นอริยวาส อริยวงศ์ อริยตระกูล เป็นวงศ์ที่พระพุทธเจ้าจะมาอุบัติ คุณแปลธรรมบทมาแล้ว คำว่า ปุคฺคลฺโล ปุริสาธญฺโญ ลองแปลดูซิว่า พระพุทธจะเกิดในมัชฌิมประเทศ หรืออะไรที่ไหนก็แล้วแต่ จะเป็นที่อินเดีย หรือที่ไหนก็ตาม ทุกแห่งตกอยู่ในห้วงแห่งสังสารวัฏฏ์ ถึงวันนั้นพวกเราอาจจะไปอยู่อินเดียก็ได้"
    "พระพุทธเจ้าทรงวางพุทธศาสนาไว้ จะเป็นระหว่างพุทธันดรก็ดี สุญญกัปปก็ดี ที่ไม่มีพระพุทธศาสนา แต่ชนชาติที่ได้เป็นอริยวาส อริยวงศ์ อริยประเพณี อริยนิสัย ก็ยังสืบต่อไปอยู่ ถึงจะขาด ก็ขาดแต่ผู้ได้สำเร็จมรรคผลเท่านั้น เพราะว่าจากบรมครู ต้องรอบรมครูมาตรัสรู้ จึงว่ากันใหม่"
    ผู้เล่าได้ฟังมาด้วยประการฉะนี้แล

    เกร็ดประวัติ และ ปกิณกธรรมของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ๕
    จากหนังสือ "รำลึกวันวาน"
    หลวงตาทองคำ จารุวัณโณ
    โพสท์ในลานธรรมเสวนา หมวดบันเทิงธรรม กระทู้ 19153 โดย: ภิเนษกรมณ์ 08 มี.ค. 49
    <!-- google_ad_section_end -->
    </TD></TR><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid">[​IMG] [​IMG]<SCRIPT type=text/javascript> vbrep_register("5677287")</SCRIPT> [​IMG] แต่ก่อน พระพุทธเจ้า อยู่ที่อินเดีย แล้วตอนหลัง ชนชาติต่างๆๆ สมัยพุทธกาลหนีมา จากอินเดีย เข้ามาที่พม่า และประเทศใทยใช่หรือเปล่าครับ ที่ผมเข้าใจแบบนี้ถูกหรือเปล่า</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  16. sornsill

    sornsill เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +515



    ผมก็ไม่ทราบครับอดีตยากมากที่เราจะสืบหาความจริงทั้งหมดได้ ที่เราพอทราบๆอาจจะเป็นเพียงแค่เศษเสี้ยวของประวิติศาสตร์ที่ได้มีจารึกไว้ สำหรับข้อสังเกตุที่ให้ไว้เป็นคำบอกเล่าระหว่างลูกศิษย์กับอาจารย์ ซึ่งท่านก็ไม่ได้กล่าวไว้ในที่สาธารณะ และท่านก็บอกกับลูกศิษย์เท่านั้น เพียงแต่ผมยอมรับนับถือในองค์หลวงปู่มั่น เคารพศัทธาในญาณทัศนของท่าน เมื่อท่านกล่าวอย่างนั้นก็อาจจะเป็นไปได้ สุดแท้แต่ใครจะเชื่อ
     
  17. merumas

    merumas เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2007
    โพสต์:
    94
    ค่าพลัง:
    +222
    ลองอ่านกระทู้นี้ดูนะคะ :cool:

    พระพุทธเจ้า เป็นคนไทย (หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง)
    http://palungjit.org/threads/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2-%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A4%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B5-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%8B%E0%B8%B8%E0%B8%87.156008/
     
  18. naron

    naron เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2009
    โพสต์:
    2,515
    ค่าพลัง:
    +3,574
    ผมตอบมั่ง อิอิอิ อย่าเอามาคิดว่าจะเหมือนนะครับ คนแปลเน้นให้เข้าใจว่า เป็นแกงเฉยๆครับ ประมาณว่า แกงที่มีน้ำน้อย หรือ อาจหมายถึงแกงที่ใส่หลายอย่าง เลยแปลให้เข้าใจง่ายๆว่า แกงอ่อม เข้าใจไหมครับ

    อย่าไจริงจังว่า มันจะเหมือนกันนะครับ ยิ่งทางอินเดีย ไม่เหมือนเมืองไทยเลยครับ
    ปัจจุบัน ก็จะมีแกงดาลครับ เละๆ ใส่ผัก น้ำน้อยๆ

    แกงอ่อมมีเฉพาะในภาษาไทย จะมาทึกทักเอาว่า มีในพระไตรปิฏกผมว่า มันหนักเกินไป
    อ่านพระไรปิฏกอยากให้เห็นถึงเจตนาที่ท่านแปลมากกว่าครับ

    ไม่ใช่มองว่า ท่านแปลผิดหรือ อะไรหรอกครับ ท่านเพียงแต่แปลให้คนไทยอ่านครับ ท่านก็เลยพิจารณาแล้วว่า น่าจะคล้ายๆแกงอ่อมก็ เลยแปลว่า แกงอ่อม ครับ

    ห้ามโกรธผมนะครับ อิอิอิอิอิออิ
     
  19. naron

    naron เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2009
    โพสต์:
    2,515
    ค่าพลัง:
    +3,574
    ผมตอบมั่ง อิอิอิ อย่าเอามาคิดว่าจะเหมือนนะครับ คนแปลเน้นให้เข้าใจว่า เป็นแกงเฉยๆครับ ประมาณว่า แกงที่มีน้ำน้อย หรือ อาจหมายถึงแกงที่ใส่หลายอย่าง เลยแปลให้เข้าใจง่ายๆว่า แกงอ่อม เข้าใจไหมครับ

    อย่าไจริงจังว่า มันจะเหมือนกันนะครับ ยิ่งทางอินเดีย ไม่เหมือนเมืองไทยเลยครับ
    ปัจจุบัน ก็จะมี แกงดาล ครับ เละๆ ใส่ผัก น้ำน้อยๆ

    แกงอ่อมมีเฉพาะในภาษาไทย จะมาทึกทักเอาว่า มีในพระไตรปิฏกผมว่า มันหนักเกินไป
    อ่านพระไตรปิฏกอยากให้เห็นถึงเจตนาที่ท่านแปลมากกว่าครับ

    ไม่ใช่มองว่า ท่านแปลผิดหรือ อะไรหรอกครับ ท่านเพียงแต่แปลให้คนไทยอ่านครับ ท่านก็เลยพิจารณาแล้วว่า น่าจะคล้ายๆแกงอ่อมก็ เลยแปลว่า แกงอ่อม ครับ

    ห้ามโกรธผมนะครับ อิอิอิอิอิออิ
     
  20. naron

    naron เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2009
    โพสต์:
    2,515
    ค่าพลัง:
    +3,574
    ผมตอบมั่ง อิอิอิ อย่าเอามาคิดว่าจะเหมือนนะครับ คนแปลเน้นให้เข้าใจว่า เป็นแกงเฉยๆครับ ประมาณว่า แกงที่มีน้ำน้อย หรือ อาจหมายถึงแกงที่ใส่หลายอย่าง เลยแปลให้เข้าใจง่ายๆว่า แกงอ่อม เข้าใจไหมครับ

    อย่าไจริงจังว่า มันจะเหมือนกันนะครับ ยิ่งทางอินเดีย ไม่เหมือนเมืองไทยเลยครับ
    ปัจจุบัน ก็จะมีแกงดาลครับ เละๆ ใส่ผัก น้ำน้อยๆ

    แกงอ่อมมีเฉพาะในภาษาไทย จะมาทึกทักเอาว่า มีในพระไตรปิฏกผมว่า มันหนักเกินไป
    อ่านพระไรปิฏกอยากให้เห็นถึงเจตนาที่ท่านแปลมากกว่าครับ

    ไม่ใช่มองว่า ท่านแปลผิดหรือ อะไรหรอกครับ ท่านเพียงแต่แปลให้คนไทยอ่านครับ ท่านก็เลยพิจารณาแล้วว่า น่าจะคล้ายๆแกงอ่อมก็ เลยแปลว่า แกงอ่อม ครับ

    ห้ามโกรธผมนะครับ อิอิอิอิอิออิ
     

แชร์หน้านี้

Loading...