ทำไมเราไม่ชนะกิเลสกันเสียที

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย สาสนี, 17 ธันวาคม 2015.

  1. สาสนี

    สาสนี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +210
    กิเลสมีอำนาจอิทธิพลเหนือชีวิตเราอย่างไร
    และมีอะไรที่สามารถต่อกรกับกิเลสได้
    สติ สมาธิ ปัญญา สำคัญอย่างไร
    เราปฏิบัติธรรมไปเพื่ออะไร

    ได้รวบรวมคำสอนที่อ่านแล้วต้องสะกิดใจ เป็นแง่คิดที่น่าสนใจไว้ให้อ่าน

    **********

    เครื่องมือในการทำกรรมฐาน มี 3 อย่าง คือ
    ความเพียร สัมปชัญญะ และ สติ
     
  2. สาสนี

    สาสนี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +210
    กรรมฐานนั้นเริ่มจากการมีสติ ถ้ายังไม่มีสติ ต้องฝึกให้มีสติก่อน
    แล้วพัฒนามันให้มีสติต่อเนื่อง จะไม่มีนิวรณ์ ไม่ถูกความคิด
    ความนึก และกิเลสต่าง ๆ เข้ามาครอบงำ จิตจะพ้นจากนิวรณ์ชั่วขณะ ๆ ไป
    จิตที่พ้นจากนิวรณ์ เรียกว่า จิตมีสมาธิ ตั้งมั่น

    การปฏิบัติกรรมฐาน เพื่อให้จิตตั้งมั่น ไม่มีนิวรณ์เป็นสมาธิ
    การจะทำให้มีสมาธิต้องอาศัยสติ สัมปชัญญะ ไม่ลืมตัว
    ไม่มัวเพลิดเพลินไปกับโลก ไม่มัวคิด มัวนึกไป

    ถ้ามัวหลงเพลิดเพลินอยู่กับความคิด นิวรณ์จะเข้ามา
    ใจไม่ตั้งมั่น เกิดความยินดี ยินร้าย
     
  3. สาสนี

    สาสนี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +210
    ปกติแล้วการเจริญกรรมฐานทุกอย่าง ก็ใช้สติเป็นตัวนำทั้งนั้น
    บางคนมาปฏิบัติธรรม เริ่มต้นโดยการนั่งหลับตา ทำจิตให้สงบ
    เป็นสมาธิ นิ่งเข้าไว้ อันนี้ยังเข้าใจเรื่องกรรมฐานผิดพลาดอยู่บ้าง

    กรรมฐานทุกอย่าง เริ่มต้นจากการมีสติ มีความรู้ตัว ไม่ลืมตัว
    ไม่ประมาท ไม่มัวเมาไปกับโลก แต่..มีสติรู้แล้วในอารมณ์กรรมฐาน
    ที่แตกต่างกัน

    เช่น.....

    รู้ในกาย(รู้กายนอกกายใน) เรียกว่า กายคตาสติ

    มรณสติ ก็อาศัยระลึกความตายเป็นอารมณ์

    และ...

    สมาธิไม่ใช่การนั่ง ไม่ใช่การยืน ไม่ใช่การเดิน และไม่ใช่การนอน
    แต่หากการนั่ง ยืน เดิน นอน เป็นการเปลี่ยนอิริยาบถ
    สมาธิเป็นกริยาของจิต..
    เมื่อท่านผู้ใดกำหนดจิต ทำจิตให้มีอารมณ์สิ่งรู้
    ทำสติให้มีสิ่งที่ระลึก ไม่ว่าที่ใด เวลาใด ไม่เลือกการณ์ ไม่เลือกสถานที่
    แม้แต่เวลาทำงาน หรือ ใช้ความคิดต่าง ๆ ด้วยสติสัมปชัญญะ
    ก็ได้ชื่อว่าฝึกสมาธิ
     
  4. สาสนี

    สาสนี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +210
    รู้ใจ..คลายทุกข์

    ต่อไปนี้ จะนำคำสอนของท่าน พระไพศาล วิสาโล
    นำมาลงให้อ่านกัน นำเอามาเฉพาะประโยคเด็ด ๆ นะ
    หากจะอ่านครบเครื่อง ก็ต้องซื้อหนังสือมาอ่านเองน๊ะ

    เพราะประโยคเด็ดบางข้อความก็ให้ข้อคิดได้เหมือนกัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 ธันวาคม 2015
  5. สาสนี

    สาสนี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +210
    ยอดปราถนาของมนุษย์ คือ การได้คนรู้ใจมาอยู่ใกล้ตัว
    ทั้งนี้เพราะเชื่อว่าคนเหล่านี้จะทำให้ชีวิตมีความสุขได้
    แต่คนเหล่านี้ใช่ว่าจะหามาได้ง่าย ๆ

    ความทุกข์ส่วนใหญ่เกิดขึ้นเพราะเราไม่รู้ใจตัวเองต่างหาก
    มิใช่เพราะคนรอบข้างไม่รู้ใจเรา

    ถึงแม้จะหาคนรู้ใจไม่ได้เลย แต่หากเรารู้ใจตัวเองอย่างลึกซึ้งชีวิตย่อมเป็นสุข
    เรารู้ใจตัวเองได้...เพราะมีสติ ทำให้รู้ทันความรู้สึกนึกคิดต่าง ๆ
    ไม่ตกอยู่ในการครอบงำของอารมณ์ต่าง ๆ
    จึงสามารถทรงใจให้เป็นปกติได้ ไม่หวั่นไหวขึ้นลง
    ไปตามแรงกระทบกระแทกของสิ่งรอบตัว

    สติช่วยให้ระลึกรู้กายใจ จึงเกิดความรู้สึกอย่างฉับไว
    เห็นสิ่งต่าง ๆ อย่างที่มันเป็น เห็นไปถึงธรรมชาติ หรือ
    ลักษณะที่แท้จริงของมัน ทำให้เกิดปัญญา และ
    ไถ่ถอนความยึดมั่นในตัวตน จิตอิสระจากความทุกข์ได้
     
  6. สาสนี

    สาสนี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +210
    ทำไมต้องปฏิบัติธรรม?

    เชื่อว่า ยังมีบางคนสงสัยว่าเราเรียนรู้ธรรมะไปทำไม

    ถ้าใครคิดว่า... ฉันจะไม่มีวันทุกข์ จะไม่มีวันพลัดพราก
    จะไม่มีวันสูญเสีย จะไม่เจ็บป่วย ไม่พลัดพราก ไม่ผิดหวัง
    และจะไม่ตาย จะอยู่ไปนิรันดร

    ก็ไม่จำเป็นต้องมาเรียนรู้ศึกษาธรรมะ

    แต่ถ้าเราไม่แน่ใจว่าวันข้างหน้า....

    เราต้องประสบกับความพลัดพราก ผิดหวัง อาจจะต้องเจ็บป่วย
    และในที่สุดก็จะต้องละจากโลกนี้ไป ถ้าไม่แน่ใจในชีวิตข้างหน้าว่า
    อาจจะต้องผันผวนปรวนแปร

    ธรรมะเป็นสิ่งที่เราต้องศึกษา ทำความเข้าไป นำไปปฏิบัติ

    คนที่เพลินกับความสุข ความเจ็บป่วย หรือความตายยังอยู่อีกไกล
    การใช้ชีวิตอย่างประมาท เพราะเพลินหรือหลงไหลในความสุข
    หลงไหลในความสำเร็จ จนลืมไปว่า..ความพลัดพรากสูญเสีย
    รวมถึงความตาย จะมาถึงเราเมื่อไรก็ได้ เป็นเรื่องธรรมดาของชีวิต
    ที่เกิดได้กับทุกคน โดยไม่เลือกเวลาและสถานที่

    พระพุทธองค์ตรัสว่า สิ่งที่บอกไม่ได้ ทำนายไม่ได้ เกี่ยวกับความตาย
    ก็คือ 1.ไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไร 2.ไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นที่ไหน
    3.ไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นด้วยสาเหตุใด 4.ไม่รู้ว่าเราจะอายุนานแค่ไหน
    5.เมื่อตายแล้วไม่รู้ว่าจะไปไหน

    ถ้าเป็นอย่างนี้แล้ว จำเป็นต้องเข้าใจธรรมะ ศึกษาธรรมะให้ซึ้งแก่ใจ
    โดยเฉพาะกฎไตรลักษณ์อันเป็นธรรมดาของชีวิตและโลก
     
  7. สาสนี

    สาสนี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +210
    สมาชิกท่านใดที่อ่านกระทู้นี้แล้ว ลองเข้าไปที่ห้องอภิญญาสมาธินะคะ ได้ลงกระทู้ใหม่เกี่ยวกับเรื่องการหักวงล้อวัฏฏสงสารด้วยอาการอย่างนี้ ถ้าเราเริ่มต้นอย่างถูกทางก็เป็นสิ่งที่ดีค่ะ ท่านพระพุทธทาสกล่าวไว้ดีมากค่ะ เพื่อที่กัลยาณชนที่สนใจคำสอนที่แท้ของพระพุทธเจ้า ได้ทราบวิธีปฏิบัติธรรมเพื่อลดความทุกข์ทางใจลงนั้น ยังไม่ค่อยจะมีผู้่ใดแนะนำให้แจ่มแจ้งกระทัดรัด ถ้าสนใจจริง ๆ จะทยอยพิมพ์ลงให้อ่านกันค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...