ทำไมต้องเจริญอานาปานสติ เสียงอ่านโดย : กัลชณิกานติ์ ธีรสุชานันท์

ในห้อง 'พระไตรปิฎก เสียงอ่าน' ตั้งกระทู้โดย karnjanikarn, 19 มีนาคม 2008.

  1. karnjanikarn

    karnjanikarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    303
    ค่าพลัง:
    +129
    ทำไมต้องเจริญอานาปานสติ
    เสียงอ่านโดย : รัก. กัลชณิกานติ์ ธีรสุชานันท์

    .................................





    [FONT=&quot]ทำไมต้องเจริญอานาปานสติิ[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]



    [FONT=&quot]<O></O>[/FONT]


    [FONT=&quot]1. เพื่อศึกษาชีวิต[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]เมื่อมีใครถามว่าทำไมต้องปฏิบัติธรรม เราอาจตอบได้ว่า เพื่อศึกษาพระพุทธศาสนา คือศึกษาชีวิตเรา ชีวิตเขา ถ้าลองสังเกตดูตัวเองแล้วจะพบว่า ไม่ว่ากายหรือใจเรา มักมีเรื่องทุกข์กันทั้งนั้น ไม่มีใครสมบูรณ์ในทุกด้าน ชีวิตเรามักขาดไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่งจนเป็นทุกข์กันทุกคน บางคนมีเงินทองพอใช้ไม่เคยเดือดร้อน แต่ขาดความอบอุ่นในครอบครัว บางคนร่ำรวยแต่เป็นทุกข์ เพราะอกหัก ขาดความรัก บางคนร่ำรวยมีครอบครัวอบอุ่น มีบริวารดี การศึกษาดี ดูแล้วพรั่งพร้อมทุกด้าน แต่กลับมีปัญหาสุขภาพ ถูกโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน [/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]หากจะกล่าวว่าทุกคนในโลกมีทุกข์กันทั้งนั้น ไม่มียกเว้นแม้แต่สักคนเดียวก็คงจะไม่ผิด เพราะเราไม่เข้าใจ ตามความเป็นจริงของกายและใจ การเจริญอานาปานสติ ก็เพื่อค้นหาตนเอง เข้าใจตนเองถูกต้องได้มากเท่าไร ก็แก้ปัญหาและบรรเทาทุกข์ได้มากเท่านั้น[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]การเข้าใจตนเองในที่นี้ หมายถึง เราจะค่อยๆ เข้าใจในการกระทำของตัวเอง ว่าเมื่อสร้างเหตุดี คิดดี พูดดี ทำดี ก็ได้ผลดี คือมีความสุข ตรงกันข้ามเมื่อคิดไม่ดี พูดไม่ดี ทำไม่ดี ผลก็ไม่ดี คือมีความทุกข์ เมื่อเราเข้าใจตามความเป็นจริงดังนี้แล้ว เราก็จะค่อยๆ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเรา ไปในทางที่ดีขึ้น เคยฆ่าสัตว์ เบียดเบียนชีวิตสัตว์ก็เลิก เคยมีนิสัยขี้ขโมย เมื่อเห็นโทษก็หยุด เคยประพฤตินอกใจภรรยา สามี เคยเที่ยวกลางคืน ก็ไม่ทำอีก เคยมีนิสัยพูดโกหกก็เลิก เคยดื่มสุราก็เลิก เรียกว่าเลิกนิสัยเก่าๆ ที่ไม่ดี พัฒนาชีวิตใช้ชีวิตเรียบง่าย รักษาศีล[/FONT][FONT=&quot]5 ชีวิตก็ค่อยๆ เปลี่ยนไป ประพฤติดีงาม ทั้งกาย วาจา ใจ จิตใจพัฒนาสูงขึ้น ใช้หลักศีล สมาธิ ปัญญา เป็นแนวทางในการละเหตุให้เกิดทุกข์ ทำให้ชีวิตมีความสบายใจ สุขใจ ผลคือความดับทุกข์หรือทุกข์น้อยลง รู้จักปล่อยวาง จิตใจก็มีความสงบ มีความสบายใจ[/FONT]
    [FONT=&quot]<O></O>[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]2. เพื่อสุขภาพใจ<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]สำหรับฆารวาสที่มีภาระในครอบครัวและสังคมมาก จนทำให้มีอารมณ์ขี้บ่น ขี้ฟุ้งซ่าน ขี้สงสัย ขี้น้อยใจ ขี้อิจฉา ขี้กลัว ขี้โกรธ ขี้เกียจ ซึ่งเป็นลักษณะของสุขภาพใจที่ไม่ดี เป้าหมายของการปฏิบัติธรรม การเจริญอานาปนสติ คือให้มีสติระลึกรู้ ลมหายใจเขา ลมหายใจออกเบาๆ สบายๆ จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน ถึงแม้ว่าตาเห็นอะไร หูได้ยินเสียงอะไร ไม่ให้ยินดียินร้ายกับสิ่งภายนอก หมายความว่า เมื่อกระทบอารมณ์ทุกชนิด ไม่ว่าดีหรือไม่ดี พอใจ ไม่พอใจ น้อยใจ อิจฉา โกรธ ฯลฯ กำหนดรู้เท่าทันได้ มีกำลังสติ สัมปชัญญะ มีสมาธิ ปัญญา อาศัยความอดทนอดกลั้น พอที่จะรักษาจิตเป็นโอปนยิโก คือน้อมเข้ามาหาใจ ดูจิต ดูอารมณ์ของตน ถึงแม้ว่าทุกข์ขนาดไหนก็ทำใจได้ วางใจให้สงบได้ ไม่คิดปรุงแต่ง ฟุ้งซ่านไปตามอารมณ์ยินดี ยินร้าย หรือหากจะคิด ก็คิดดี คิดถูก คิดด้วยสติปัญญา ไม่ใช่คิดปรุงแต่งไปตามกิเลส เราจะไม่หลงอารมณ์ ไม่ยอมให้อารมณ์มีอิทธิพลเหนือพฤติกรรมของเรา เราจะสามารถรักษากาย วาจา ใจ เรียบร้อย มีสติกลับมาระลึกรู้ที่ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ไม่ไปยึดติดกับสิ่งภายนอก แต่มองเห็นอารมณ์ภายใน ควบคุมอารมณ์ ควบคุมความคิดได้ รักษาสุขภาพใจดีได้[/FONT][FONT=&quot]<O>[/FONT]
    [FONT=&quot]</O>[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]3. เพื่อสร้างกำลังใจ<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]ใจเป็นประธาน ใจเป็นหัวหน้า เมื่อใจดี คิดดี พูดดี ทำดี ก็เป็นสุข เมื่อมีกำลังใจดี ถึงแม้จะเสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ ก็ทำใจได้ แต่ถ้ากำลังใจไม่ดี คิดไม่ดี พูดไม่ดี ทำไม่ดี ก็เป็นทุกข์ แม้ว่าจะมีลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ก็ยังเป็นทุกข์ การเจริญอานาปานสติเป็นการสร้างกำลังใจ อันได้แก่ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]ศรัทธา หมายถึง เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ เป็นความเชื่อที่ประกอบด้วยปัญญา เช่นบุญคุณพ่อแม่มีจริง ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เชื่อในหลักอริยสัจ[/FONT][FONT=&quot]4 เชื่อมั่นว่า เราสามารถปฏิบัติธรรมเพื่อความพ้นทุกข์ได้<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]วิริยะ หมายถึง ความขยันหมั่นเพียรในการละความชั่ว ทำความดี และทำจิตใจให้บริสุทธ์[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]สติ หมายถึง ความระลึกรู้ ระลึกถึงความเป็นมนุษย์ ว่าคือผู้มีใจสูง รู้ว่าสิ่งใดเป็นประโยชน์ และมิใช่ประโยชน์ รู้จักผิดชอบชั่วดี มีสติปัญญา เลือกทำในสิ่งที่ถูกที่ควร รักษาศีล[/FONT][FONT=&quot]5 รักษาระเบียบวินัย มีสติระลึกถึงหน้าที่ที่เรามีต่อครอบครัว สังคม ประเทศชาติ และทำหน้าที่นั้น ๆ ให้สมบูรณ์ ฐานของสติที่แท้คือ สติปัฏฐาน4 หรือการระลึกรู้ในกาย เวทนา จิต และธรรม ว่าเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เป็นสักแต่ว่ากาย สักแต่ว่าเวทนา สักแต่ว่าจิต สักแต่ว่าธรรม จิตใจก็จะเป็นอิสระ สงบสุข ไม่มีความเห็นแก่ตัว ไม่มีทุกข์<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]สมาธิ คือความสงบของจิตที่ตั้งมั่น เป็นจิตที่คล่องแคล่วควรแก่การงาน ไม่ว่าจะทำการงานทางโลกหรือทางธรรมก็ทำได้ดี[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]ปัญญา คือความฉลาดรอบรู้ตามความเป็นจริง ที่สุดของปัญญา คือรู้ตามอริยสัจ[/FONT][FONT=&quot]4 นั่นเอง<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]หากพวกเรามีกำลังใจตามที่กล่าวนี้แล้ว เราจะมีความสุขได้ในทุกสถานการณ์ ไม่ว่าจะมีปัญหา มีทุกข์มากขนาดไหน ก็จะผ่านพ้นอุปสรรคเหล่านั้นไปได้ด้วยดี ที่สุดของกำลังใจดีก็คือ ถึงแม้ว่ากำลังจะตาย ก็ไม่หวั่นไหว ปล่อยวาง ยอมรับความตายด้วยความสงบ สบายใจ[/FONT]
    [FONT=&quot]<O></O>[/FONT][FONT=&quot]<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]4. เพื่อไม่ประมาท<O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]ในช่วงระยะเวลา [/FONT][FONT=&quot]45 พรรษา หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้ พระองค์ทรงประกาศพระธรรมวินัย ถึง 84,000 พระธรรมขันธ์ ในวาระสุดท้ายก่อนที่จะเสด็จปรินิพพาน พระองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนากัณฑ์สุดท้าย ซึ่งเป็นสาระแห่งธรรม ที่สรุปรวบยอดไว้ว่า <O></O>[/FONT]
    [FONT=&quot]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 เมษายน 2008
  2. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130
    อ นุ โ ม ท น า ส า ธุ...ดีแล้ว ชอบแล้ว
     
  3. karnjanikarn

    karnjanikarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    303
    ค่าพลัง:
    +129
    สาธุ

    ขอบพระคุณสำหรับทุกๆถ้อยคำติชมนะคะ มีสิ่งใดให้ต้องปรับปรุงหรือพัฒนาเพื่อให้การใช้เสียงในการอ่านนั้นดียิ่งขึ้น ก็ยินดีน้อมรับไว้ด้วยใจค่ะ
    ขอให้ทุกท่านมีความสุขความเจริญ คุณพระคุ้มครอง และขอโมทนาในทุกๆบุญกับทุกท่านด้วยค่ะ

    กัลชณิกานติ์ ธีรสุชานันท์
    รัก.
     
  4. คุณ วัชรพงษ์

    คุณ วัชรพงษ์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    486
    ค่าพลัง:
    +30
    ดีครับ ได้มีเวลาฟังตอนไม่ว่าง (ทำงาน)
     
  5. อกนิษฐกา

    อกนิษฐกา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    219
    ค่าพลัง:
    +117
    เสียงที่เป็นกุศลให้ผลเป็นสุข มีความชุ่มชื่นในจิตใจ คลายทุกข์คลายร้อนในจิตใจได้ แม้รอบกายเต็มไปด้วยความทุกข์ความเร่าร้อนในทุกๆด้านอย่างขณะนี้ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ นิพพานะปัจโยโหตุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...