ทำใจเป็นธรรม (พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก)

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย nondanun, 27 กันยายน 2010.

  1. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,612
    <table align="center" width="94%" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td class="postbody" valign="top">[​IMG]

    ทำใจเป็นธรรม
    โดย พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
    เจ้าอาวาสวัดป่าสุนันทวนาราม
    ต.ไทรโยค อ.ไทรโยค (กม. ๙๐) จ.กาญจนบุรี




    1. มานะ 9

    ชีวิตมีทั้งวันวาน วันนี้ และวันพรุ่งนี้
    เมื่อปัจจุบันธรรม เป็นสิ่งสำคัญของชีวิต
    ชีวิตในวันนี้ จึงเป็นเรื่องที่ควรคำนึงมากกว่ากาลใด ๆ
    วันนี้มีไว้สำหรับแก้ไข ไม่ใช่แก้ตัว
    แก้ตัวคือ ไม่ยอมรับความจริงในการทำผิดของตน
    พยายามผลักความผิดไปให้ผู้อื่น หรือสิ่งแวดล้อม
    แก้ไขคือ ยอมรับความจริง หากมีอะไรผิดพลาด
    บกพร่อง ก็ยอมรับผิด แล้วพยายามแก้ไข
    ปรับปรุง พัฒนาตนเอง
    คนดี ชอบหาดูจุดบกพร่องของตน
    มีหิริโอตตัปปะ ละอายแก่ใจ กลัวบาป
    คนชั่วชอบหาดูจุดบกพร่องของคนอื่น
    จับผิดคนอื่นและคิดไปว่า เราดี เขาไม่ดี
    เมื่อเขาดีกว่า ก็คิด อิจฉา ริษยา น้อยใจ
    ถ้าดีกว่าเขา ก็คิด ถือตัวถือตน ดูถูกดูหมิ่นเขา
    เป็นสภาวะที่เกิดอัตตา เกิดตัวตน
    อัตตาตัวตน และทุกข์ เป็นบริษัทเดียวกัน
    อัตตาตัวตน สร้างขึ้นใช้เวลานานแสนนาน
    เป็นเวลาหลายภพหลายชาติ ด้วยอำนาจอวิชชา
    กิเลส ตัณหา อุปาทาน คิดผิด และสำคัญผิด

    สำคัญผิด 9 อย่าง หรือ มานะ 9
    1. เป็นผู้เลิศกว่าเขาสำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขาก็ผิด
    2. เป็นผู้เลิศกว่าเขาสำคัญตัวว่าเสมอเขา ก็ผิด
    3. เป็นผู้เลิศกว่าเขาสำคัญตัวว่าเลวกว่าเขาก็ผิด
    4. เป็นผู้เสมอเขา สำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขาก็ผิด
    5. เป็นผู้เสมอเขา สำคัญตัวว่าเสมอเขา ก็ผิด
    6. เป็นผู้เสมอเขา สำคัญตัวว่าเลวกว่าเขาก็ผิด
    7. เป็นผู้เลวกว่าเขาสำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขาก็ผิด
    8. เป็นผู้เลวกว่าเขาสำคัญตัวว่าเสมอเขา ก็ผิด
    9. เป็นผู้เลวกว่าเขาสำคัญตัวว่าเลวกว่าเขาก็ผิด
    เมื่อใจดี จะไม่มีความคิด เป็นเรา เป็นเขา
    แต่จะเห็นสัตว์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
    ให้ “เห็น” เป็นหลัก เป็นกิริยา
    คนเรานั้นเมื่ออยู่ในสมมติโลก
    เราต้องอยู่ด้วยกันหลายคน มองเห็นเป็นธรรม
    ไม่ให้ตัวตนข้าไปยึด ควบคุมจิตเป็นโอปนยิกธรรม
    น้อมเข้ามาหาตนเสมอ
    พอใจ ไม่พอใจ ศึกษาเป็นธรรม แยกแยะเป็นธรรม
    พิจารณาเป็นธรรม อริยสัจ 4 สติปัฏฐาน 4
    ใครทำให้เสื่อมลาภ หรือ มีลาภ
    ใครทำให้เสื่อมยศ หรือ มียศ
    ใครทำให้ถูกนินทา หรือ มีสรรเสริญ
    ใครทำให้ทุกข์ หรือ สุข
    “ใคร” ก็ไม่สำคัญ ตัดออกจากความคิด
    ไม่มีใคร ไม่มีเขา ไม่มีเรา มีแต่ทุกข์
    และคิดหาทางออกจากทุกข์ให้ได้
    พยายามลดอัตตาตัวตน ลดกิเลส ลดทุกข์
    ใครทำความดี ยินดี อนุโมทนาในการทำความดี
    ใครทำความชั่ว ก็ให้เห็นปัญหาในการทำความชั่ว
    ใคร ไม่สำคัญ เห็น เป็นกิริยา
    เมื่อใครทำความชั่วในสังคมเรา
    รักษาใจเราเป็นกลาง ๆ สุขภาพใจดี ใจดี มีเมตตา
    ยกขึ้นมา ยกการทำชั่วขึ้นมาพิจารณา ใคร ไม่สำคัญ
    หาวิธี แก้ไข ตักเตือน สำรวม ระวัง
    จัดการตามกฎหมาย
    จัดการตามวินัย ที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้
    ให้ลดปัญหาสังคมลง
    ใจเราให้ตั้งมั่นใน เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
    ละมานะ ละอัตตา ให้ได้ตั้งแต่เดี๋ยวนี้ วันนี้


    2. สามนักปราชญ์

    ประเพณีที่ดีงามในชนบทอีสานอย่างหนึ่งคือ
    เข้าตรู่ของวันพระ 8 ค่ำ 15 ค่ำ
    แม่ออก พ่อออก หรืออุบาสก อุบาสิกา
    จะพากันถืออาหารใส่ปิ่นโต ใส่หม้อไปวัด
    เพื่อจำศีล ภาวนา สักวันหนึ่ง
    พอถึงวัดก็จัดอาหารถวายพระ
    เมื่อพระกำลังฉัน ญาติโยมก็จะรวมกันที่ศาลา
    ทำวัตรเช้า สวดมนต์ แล้วก็รับประทานอาหาร
    เมื่อโยมรับประทานอาหารเสร็จ
    พระภิกษุ สามเณร แม่ชี และญาติโยมทั้งหมด
    จะมารวมกันที่ศาลาอีกครั้ง
    จากนั้นญาติโยมก็จะสมาทานศีล
    ฟังเทศน์สักกัณฑ์หนึ่ง
    กลางวันพักผ่อนบ้าง อ่านหนังสือบ้าง
    เดินจงกรม นั่งสมาธิตามอัธยาศัย
    ตอนเย็นประมาณ 1 ทุ่ม รวมกันทำวัตรเย็น
    นั่งสมาธิ ฟังเทศน์ จนเกือบเที่ยงคืน
    บางคนก็ไปนอนพักผ่อน
    แม่ออกบางคนก็นั่งสมาธิตลอดคืน
    ตี 3 พระก็ตีระฆังให้สัญญาณ ตี 3 ครึ่ง หรือตี 4
    ก็ไปรวมกับพระที่ศาลาเพื่อทำวัตรเช้า
    พออรุณก็แยกย้ายกลับบ้าน
    กลับสู่ทางโลก รับภาระทางโลกต่อไป
    ถึงวันพระก็เข้ามาอยู่วัด
    วันหนึ่ง คืนหนึ่ง เป็นประจำ
    ณ หมู่บ้านแห่งหนึ่ง มีผู้เฒ่า 3 คน
    เมื่อถึงวันพระก็เข้าวัดจำศีลภาวนาเป็นประจำ
    ฟังเทศน์ ฟังธรรม ปฏิบัติธรรม
    ทำเช่นนี้มาเป็นสิบ ๆ ปี
    ชาวบ้านให้ความเคารพ ให้เกียรติผู้เฒ่าทั้งสาม
    เสมือนเป็นปราชญ์ของหมู่บ้าน
    ใคร ๆ มีปัญหา ก็ไปปรึกษา เรื่องธัมมะธัมโม
    ผู้เฒ่าทั้งสาม ก็คุยเก่ง พูดเก่ง สอนเก่ง
    พระบวชใหม่ ๆ ยังสู้ไม่ได้
    เพราะว่านักปราชญ์ทั้ง 3 คน
    ได้ฟังเทศน์มาเป็นสิบ ๆ ปีแล้ว
    วันหนึ่ง แม่ออกจัดอาหารใส่ถาด
    มีอาหารหลาย ๆ อย่างใส่ในถ้วยเล็ก ๆ
    สำหรับนักปราชญ์ทั้งสามชุดหนึ่ง
    สามนักปราชญ์ตั้งวงรับประทานอาหารร่วมกัน
    อาหารก็มีแจ๋วน้ำพริก และมีมะนาวครึ่งซีก
    เพื่อบีบใส่ในแจ่ว...นั่นแหละ
    ผู้เฒ่าคนหนึ่ง...จะบีบมะนาว
    คนหนึ่งห้าม...คงจะไม่ชอบเปรี้ยว
    แต่คนนั้นไม่ฟัง...บีบมะนาวใส่แจ่ว
    เจ็บใจมาก...
    ตั้งแต่วันนั้น...ก็ไม่พูดกันอีกเลย
    สมาคมสามนักปราชญ์...แตก...ล้มละลาย
    ชาวบ้านก็เดือดร้อนไม่มีกลุ่มนักปราชญ์ช่วยคิด
    เหมือนก่อน จริง ๆ แล้ว ถ้าแจ่วเปรี้ยวมากไป
    ก็ไม่ต้องกินก็ได้ อาหารอย่างอื่นก็เยอะแยะไป
    แต่ปัญหาคงจะไม่ได้อยู่ที่รสอาหาร
    แต่อยู่ที่ความรู้สึกมากกว่า...รู้สึกว่าเสียหน้า
    เสียความรู้สึก “เจ็บใจ”
    ลองดูตัวเราเองสิว่าเคยเกิดความคิด
    ความรู้สึกเช่นนั้นบ้างไหม...เราก็เป็นอย่างนั้นทุกคน
    ไม่มากก็น้อย...ใช่ไหม?


    3. ฉันนะ...พระดื้อ

    เรื่องมีอยู่ว่า
    เมื่อพระพุทธเจ้าจวนจะปรินิพพาน
    พระอานนท์ทูลถามพระองค์ว่า
    จะทำอย่างไรกับพระฉันนะ
    พระฉันนะเป็นพระดื้อ กระด้าง ไม่ยอมเชื่อฟังใคร
    ถือตัวถือตนว่ารู้จักพระพุทธเจ้ามาตั้งแต่ทรงพระเยาว์
    นายฉันนะเป็นผู้ดูแลม้าที่รักของเจ้าชายสิทธัตถะ
    วันที่เจ้าชายสิทธัตถะออกผนวช
    นายฉันนะก็ได้ตามเสด็จไปด้วย
    เมื่อพระองค์เสด็จถึงริมฝั่งแม่น้ำอโนมา
    ก็ทรงเปลื้องเครื่องทรงให้นายฉันนะ
    นำกลับพระราชวังพร้อมกับม้ากัณฐกะ
    ส่วนเจ้าชายสิทธัตถะทรงอธิษฐานเพศเป็นนักบวช
    ทรงแสวงหาครูบาอาจารย์ ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา
    เมื่อทรงเห็นว่ามิใช่ทางจึงทรงเลิก
    ทรงหันมาบำเพ็ญเพียรทางจิต
    จนสามารถบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
    ทรงประกาศพระสัทธรรม
    จนมีสาวกรู้ตามเป็นจำนวนมาก
    ต่อมานายฉันนะได้ออกบวชเป็นพระภิกษุ
    แต่ถือตัวถือตน ไม่ยอมทำตามผู้ใด
    แม้แต่พระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ
    ผู้เป็นอัครสาวกฝ่ายขวาและฝ่ายซ้าย
    ตลอดถึงพระพุทธองค์เอง
    พระฉันนะไม่ยอมประพฤติตาม
    ทำให้หมู่สงฆ์หนักใจ
    พระอานนท์จึงทูลถามว่า
    จะทำอย่างไรกับพระฉันนะ
    เมื่อพระองค์เสด็จปรินิพพานแล้ว
    พระองค์ตรัสว่า ให้สงฆ์ลงพรหมทัณฑ์ต่อพระฉันนะ
    คือห้ามภิกษุทกรูปคบหาสมาคม
    ห้ามบอก ห้ามสอนสิ่งใด
    พระฉันนะต้องการทำสิ่งใด ก็ให้ทำสิ่งนั้น
    ครั้นพระพุทธ องค์เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว
    สงฆ์ก็ลงพรหมทัณฑ์พระฉันนะ
    ภายหลังพระฉันนะรู้สึกตัว
    เห็นข้อบกพร่อง ผิดพลาดของตน
    แล้วค่อย ๆ ละทิฎฐิมานะ
    จนในที่สุดก็สำเร็จเป็นพระอริยบุคคล
    </td> </tr> <tr> <td> </td> </tr> <tr> <td class="postdetails" valign="bottom" height="40">ที่มา::
     
  2. จิตปรุง

    จิตปรุง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +802
    อนุโมทนากับคุณเจ้าของกระทู้ค่ะ
    ที่นำคำสอนดีๆๆแบบนี้มาเผยแพร่
    อ่านไปดูตัวเองไป หาข้อบกพร่องของตนเอง ก็สบายใจดีค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...