ทำสมาธิพอหลับตาลงก็เห็นแสงเค้าเรียกว่าอะไรค่ะ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ขอคราวะ, 28 ตุลาคม 2012.

  1. ขอคราวะ

    ขอคราวะ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +13
    พอดีรองนั่งสมาธิค่ะ เป็นคนมีความอดทนน้อยมาก ก็เลยลองนอนสมาธิดู
    ครั้งแรกหลับไปค่ะ (บอกตามตรงว่าทำกี่ครั้งจะลงเอ๋ยที่หลับตลอด เหะๆ)

    พอตื่นขึ้นมา เลยพยายามจับลมหายใจที่ปลายจมูกดูในถ้านอนตะแคง
    พอหลับตาลงก็เห็นแสงค่ะ แสงเปลี่ยนสีไปเลื่อยๆ เลยตั้งสติเพ่งไปที่แสง
    ความรู้สึกเหมือนฝัน แบบว่า พอเพ่งตามแสงไปก็เป็นคร้ายอุโมงที่เปลี่ยน
    สีตลอดเวลา คือผนังอุโมงเป็นสีที่เปลี่ยนไปเลื่อยๆค่ะ และปลายอุโมงที่ดู
    ไม่ไกล มีคร้ายๆจะเป็นภาพอ่ะไรอยู่ (ตอนนั้นยังจับความรู้สึกอยู่ที่ปลายจมูก
    ยังรับรู้ว่าตัวเองหายใจเข้าและออกตอนไหน) เ้ลยตั้งใจเดินไปปลายอุโมง
    (ความรู้สึกเหมือนฝันค่ะ แต่คร้ายๆว่าจะเดิน แต่ไม่ได้เดิน งงตัวเอง) เห็นภาพ
    หลายอยางมากค่ะ เหมือนฉายหนังที่ถูกเปลี่ยนฟิลม์ทุกวินาทีจากอีกเรื่อง
    ไปเป็นอีกเรื่อง ในใจก็ถามว่าใครเป็นคนให้เห็น รึเราฝันไป เลยพยายามที่จะมองภาพ(เคลื่อนไหว)ให้ชัึด เหมือนเราบอกตัวเองว่าให้เพ่งดีๆ ว่าภาพนั้นมันคืออะไร รู้ตัวอีกทีก็ขยับตัวไม่ได้ค่ะ

    คิดถึงหลวงปู่หลายท่านแต่ก็
    แต่สามารถลืมตาได้(แค่ข้างเดียว) แต่ขยับส่วนไหนไม่ได้เลย (ความริง จขกท.
    เป็นอาการแบบนี้่บ่อยคือขยับตัวไม่ได้และครึ่งหลับครึ่งตื่น) รู้สึกมีคนจับที่เอวแล้วบีบอยู่หลายครั้ง เลยหลัตาลงซึ่งความรู้สึกที่เรายังรับรู้ลมหายใจเข้าออกตลอดเวลา แต่เหมือนอยู่ห่างกันค่ะ แบบว่า ตัวเราเองกำลังหายใจเข้าออกห่างจากตรงที่รู้สึกตัวว่าเราอยู่ เลยคิดว่า ถูกผีอำอีกแล้วเหรอ ก็เลยแผ่เมตตราค่ะ
    แล้วก็หายขยับตัวได้แต่เหนื่อยมากค่ะ มือสั่น ลุกจากเตียงไม่ึ้เลย

    พอจะมีท่านไดรู้ไหมค่ะ ว่าจขกท.ถูกผีอำหรืออะไรกันแน่
    ยาวไปหน่อยแต่รบกวนด้วยนะค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 28 ตุลาคม 2012
  2. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819

    แสง เป็น .. ไม่ต้องไปตามดูหรอก

    ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีต้น ไม่มีปลาย

    เห็นแสง สี ต่างๆนาๆ ตัดทิ้งให้หมด

    ไม่ต้อง หลง ไปตามดู เส้นแสงสี ต่างๆ

    อุปกิเลส หลอก หลง ตามดูละครับ จขกท.


    เห็น แสง เส้น ดีต่างๆ เดี่ยว พอเห็น นิมิต อะไรมา ก็ ไปจับ ตามดูนิมิต นั้นๆ

    จิต ส่งออก ไป จับ สิ่งต่างๆ

    ปฏิบัติ ผิดทาง หลง จิตส่งออกนอก แล้วนะครับ จขกท.


    .

    1.เวลาเห็น แสง ต่างนาๆ บลาๆๆๆๆ อะไรพวกนี้

    ให้ สักแต่ว่า เห็น สักแต่ว่า รู้ แล้วไม่ต้อง ส่งจิต ไป จับ ไปตามดู อาการต่างๆ ของแสง นั้นๆ ครับ

    ไม่ต้องไป ส่งจิตออก พิจารณา แสงนั้นๆ ว่ามันคืออะไร เริ่มต้นที่ไหน สิ้นสุดที่ไหน ใดๆ ทั้งสิ้น

    ถ้ากำลัง สติ มี ให้ ตัดแสงพวกนั้น ทิ้งออกไปให้หมด

    ถ้ากำลัง สติไม่มี มีความลืมต้ว หลง ไปตามดู หรือ หลงไป ยึด สิ่งพวกนี้

    เมื่อ สติ ทันความคิด รู้ตัวว่า ไปตามดู ไปยึดพวกนี้ได้เมื่อไหร่ ให้ ตัด สิ่งพวกนี้ ทิ้งออกไป

    คนฝึกใหม่ๆ กำลัง สติ ยังไม่มี ก็จะตัดทิ้งใด้ยาก จะ ลืมตัว ไปตามดูง่ายๆ บ่อยๆ

    ถ้ารู้สึกตัวทีหลัง มี สติ ทัน ก็ ฝึก ตัดสิ้นออกไป บ่อยๆ

    ทำให้ชำนาญ เวลา เจอแสงพวกนี้ ตัดทิ้งออกไป ได้ทันที ไม่ต้องเจอหลอก


    2.ก็เพราะ มันหลับอยู่ นอนหลับอยู่ ร่างกายหลับอยู่

    แต่หลับ แล้ว กาย หลับอยู่ แต่ จิต ตื่นขึ้นมา ไม่ได้หลับ

    มันเลย ขยับร่างกาย ไม่ได้ เพราะ กำลัง จิต กำลัง สติ ไม่มีมากพอ ครับ

    ถ้ากำลัง สติ มีมากพอ ก็จะ ขยับ ร่างกาย ได้ตามปรกติ นั้นเอง

    เจอบ่อยๆ เดี่ยวก็ชินไปเอง เจอครั้งแรกๆ แบบนี้ ก็แปลกปลาดใจเป็นเรื่องปรกติ

    .

    พักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ครับ เวลานอน ตื่นมาจะได้ สดชื้น ไม่ เหนื่อย

    ส่วนใหญ่ คนขาด สารอาหาร กิน วิตามินไม่ครบ 5 หมู่ พักผ่อนไม่เพียงพอ ให้ร่างกาย พักไม่พอ

    ใช้งานร่างกายหนักๆในประจำวัน ก็ย่อมทรุดโทรม เป็นธรรมดา


    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ตุลาคม 2012
  3. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    อุปกิเลสของวิปัสสนาญาณ ๑๐

    ในขั้นวิปัสสนาญาณ เป็นกฎการปฏิบัติเพื่อบรรลุมรรคผล ท่านก็ต้องมีการเตรียมเครื่อง
    อุปกรณ์การปฏิบัติให้ครบถ้วนอย่างปฏิบัติขั้นฌานเหมือนกัน เมื่อท่านตระเตรียมในขั้นบารมี ๑๐ ชื่อว่า
    เป็นการเตรียมปูพื้นให้เรียบเพื่อเป็นพื้นฐานขั้นต้น เช่นเดียวกับการปรับปรุงศีลให้บริสุทธิ์ขั้นปฏิบัติฌาน
    เมื่อท่านปรับปรุงบารมี ๑๐ เพื่อเป็นพื้นฐานแล้ว สิ่งที่ต้องระวังการพลั้งพลาดในการเจริญวิปัสสนา
    อารมณ์จิตอาจจะข้องหรือหลงใหลในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง จนทำให้เสียผลในการกำจัดกิเลส เช่นเดียว
    กับจิตข้องในนิวรณ์ทำให้เสียกำลังสมาธิ ไม่ได้ฌานเช่นกัน อารมณ์กิเลสที่คอยกีดกันอารมณ์วิปัสสนา
    ก็คืออารมณ์สมถะที่มีอารมณ์ละเอียดคล้ายคลึงวิปัสสนาญาณ ท่านเรียกว่าว่า อุปกิเลสของวิปัสสนา ๑๐
    อย่าง คือ
    ๑. โอภาส โอภาส แปลว่า แสงสว่าง ขณะพิจารณาวิปัสสนาญาณนั้น จิตที่กำลังพิจารณาอยู่
    จิตย่อมทรงอยู่ในระดับอุปจารสมาธิ สมาธิระดับนี้ เป็นสมาธิเพื่อสร้างทิพยจักษุญาณ ย่อมเกิดแสงสว่าง
    ขึ้น คล้ายใครเอาประทีปมาตั้งไว้ใกล้ ๆ เมื่อปรากฏแสงสว่าง จงอย่าทำความพอใจว่าเราได้มรรคผล
    เพราะเป็นอำนาจของอุปจารสมาธิอันเป็นผลของสมถะ ที่เป็นกำลังสนับสนุนวิปัสสนาเท่านั้น ไม่ใช่ผล
    ในวิปัสสนาญาณ
    ๒. ปีติ ปีติ แปลว่า ความอิ่มใจ ความปลาบปลื้มเบิกบาน อาจมีขนพองสยองเกล้า น้ำตาไหล
    กายโยกโคลง กายลอยขึ้นบนอากาศ กายโปร่งสบาย กายเบา บางคราวคล้ายมีกายสูงใหญ่กว่าธรรมดา
    มีอารมณ์ไม่อิ่มไม่เบื่อในการปฏิบัติอารมณ์ สมาธิแนบแน่นดีมาก อารมณ์สงบสงัดง่าย อาการอย่างนี้
    ไม่ใช่ผลของวิปัสสนา เป็นผลของสมถะ อย่าเข้าใจว่าบรรลุมรรคผล
    ๓. ปัสสัทธิ ปัสสัทธิ แปลว่า ความสงบระงับด้วยอำนาจฌาน มีอารมณ์สงัดเงียบ คล้าย
    จิตไม่มีอารมณ์อื่น มีความว่างสงัดสบาย ความรู้สึกทางอารมณ์ โลกียวิสัยดูคล้ายจะสิ้นไปเพราะความรัก
    ความโลภ ความโกรธ ความข้องใจในทรัพย์สินไม่ปรากฏ อาการอย่างนี้เป็นอารมณ์ของอุเบกขาใน
    จตุตถฌาน เป็นอาการของสมถะ ผู้เข้าถึงใหม่ๆ ส่วนมากหลงเข้าใจผิดว่าบรรลุมรรคผล เพราะความ
    สงัดเงียบอย่างนี้ตนไม่เคยประสบมาก่อน ต้องยับยั้งชั่งใจไว้ก่อน อย่าด่วนตัดสินใจว่าได้มรรคผล
    เพราะมรรคผลมีฌานเป็นเครื่องรู้มีอยู่ ถ้าญาณเป็นเครื่องรู้ยังไม่แจ้งผลเพียงใด ก็อย่าเพ่อตัดสินใจ
    ว่าได้บรรลุมรรคผล
    ๔. อธิโมกข์ อธิโมกข์แปลว่า อารมณ์ที่น้อมใจเชื่อโดยปราศจากเหตุผล
    ด้วยพอได้ฟังว่าเราได้มรรคได้ผล ยังมิได้พิจารณาให้ถ่องแท้ก็เชื่อแน่เสียแล้ว ว่าเราได้มรรคได้ผล
    โดยไม่ใช้ดุลพินิจเป็นเครื่องพิจารณา อาการอย่างนี้ เป็นอาการของศรัทธาตามปกติ ไม่ใช่มรรคผล
    ที่ตนบรรลุ
    ๕. ปัคคหะ ปัคคหะแปลว่า มีความเพียรกล้า คนที่มีความเพียรบากบั่นไม่ท้อถอย
    ต่ออุปสรรค เป็นเหตุที่จะให้บรรลุมรรคผล แต่ถ้ามาเข้าใจว่าตนได้บรรลุเสียตอนที่มีความเพียร
    ก็เป็นการที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง ความพากเพียรด้วยความมุมานะนี้ เป็นการหลงผิดว่าได้บรรลุ
    มรรคผลได้เหมือนกัน
    ๖. สุข สุขแปลว่า ความสบายกายสบายใจ เป็นอารมณ์ของสมถะที่เข้าถึงอุปจารฌาน
    ระดับสูง มีความสุขทางกายและจิตอย่างประณีต ไม่เคยปรากฏมาก่อนในชีวิต อารมณ์สงัดเงียบ
    เอิบอิ่มผ่องใส สมาธิก็ตั้งมั่น จะเข้าสมาธิเมื่อใดก็ได้ อารมณ์อย่างนี้เป็นผลของสมถภาวนา จงอย่า
    หลงผิดว่าได้มรรคผลนิพพาน
    ๗. ญาณ ญาณแปลว่า ความรู้อันเกิดขึ้นด้วยอำนาจที่จิตมีสมาธิ จากผลของ
    สมถภาวนา เช่น ทิพยจักษุฌาน เป็นต้น สามารถเห็นนรก สวรรค์ พรหมโลกได้ และรู้อดีต อนาคต
    ปัจจุบันได้ตามสมควร เป็นผลของสมถะแท้ไม่ใช่ผลของวิปัสสนา เมื่อได้ เมื่อถึงแล้วอาจจะหลงผิด
    ว่าได้บรรลุผลนิพพาน เลยเลิกไม่ทำต่อไป พอใจในผลเพียงนั้น ก็เป็นที่น่าเสียดาย เพราะญาณที่กล่าว
    มาแล้วนั้นเป็นญาณในสมถะ ไม่ใช่อารมณ์วิปัสสนาญาณ ถ้าพอใจเพียงนั้นก็ยังต้องเป็นโลกียชน
    ต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะต่อไป
    ๘. อุเบกขา อุเบกขา แปลว่า ความวางเฉย เป็นอารมณ์ในสมถะ คือ ฌาน ๔
    ถ้ามาเข้าใจว่าความวางเฉยนี้เป็นมรรคผล ก็เป็นเรื่องที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง ความจริงก็อาจคิดไปได้
    เพราะคนใหม่ยังเข้าใจอารมณ์ไม่พอ ท่านจึงบอกไว้ให้คอยระวัง
    ๙. อุปปัฏฐาน อุปปัฏฐาน แปลว่า เข้าไปตั้งมั่น หมายถึงอารมณ์ที่เป็นสมาธิ มีอารมณ์
    สงัดเยือกเย็น ดังเช่นที่ท่านเข้าฌาน ๔ มีอารมณ์สงบสงัด แม้แต่เสียงก็กำจัดตัดขาดไม่มีปรากฏ
    อารมณ์ใดๆ ไม่มี เป็นอารมณ์ที่แยกกันระหว่างกายกับจิตอย่างเด็ดขาด เป็นปัจจัยให้นักปฏิบัติ
    เข้าใจพลาดว่าบรรลุมรรคผลก็เป็นได้ ความจริงแล้วเป็นฌาน ๔ ในสมถะแท้ๆ
    ๑๐. นิกกันติ นิกกันติแปลว่า ความใคร่ เป็นความใคร่น้อยๆ ที่เป็นอารมณ์ละเอียด
    ไม่ฟูมาก ถ้าไม่กำหนดรู้อาจไม่มีความรู้สึก เพราะเป็นอารมณ์ของตัณหาสงบ ไม่ใช่ขาดเด็ด
    เป็นเพียงสงบ พักรบชั่วคราวด้วยอำนาจฌาน มีปฐมฌานเป็นต้น เข้าระงับ อารมณ์ตัณหาที่อ่อน
    ระรวยอย่างนี้ ทำให้นักปฏิบัติเผลอเข้าใจว่าบรรลุมรรคผลนิพพานมีไม่น้อย แต่พอนานหน่อย
    ฌานอ่อนกำลังลง พ่อกิเลสตัณหาก็กระโดดโลดเต้นตามเดิม อาการอย่างนี้ นักปฏิบัติก็ต้อง
    ระมัดระวัง
    วิปัสสนาญาณที่พิจารณาต้องมีสังโยชน์เป็นเครื่องวัด และพิจารณาไปตามแนวของ
    สังโยชน์เพื่อการละ ละเป็นขั้น เป็นระดับไป ค่อยละค่อยตัดไปทีละขั้น อย่าทำเพื่อรวบรัดเกินไป
    แล้วคอยระมัดระวังใจ อย่าให้หลงใหลในอารมณ์อุปกิเลส ๑๐ ประการ ท่านค่อยทำค่อยพิจารณา
    อย่างนี้ ก็มีหวังที่จะเข้าถึงความสุข ที่เป็นเอกันตบรมสุข สมความมุ่งหมาย


    http://www.palungjit.org/smati/k40/rule.htm#อุปกิเลสของวิปัสสนาญาณ%20๑๐


    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ตุลาคม 2012
  4. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    นอนสมาธิ นี่ จะหลุดตกภวังค์ ง่ายสุด

    ทำ สมาธิ ท่านอน ถ้าผ่านตรงนี้ไปได้

    จิตไม่ตก ภวังค์ ข้ามตรงนี้ไปได้ จิตจะเข้า สมาธิ

    จิต เป็น สมาธิ ครับ


    แนะนำว่า ให้มี คำ ภาวนา จะได้ไม่หลุด ขาด สติ ตกภวังค์ หลับไป


    เพราะ ขาด สติ ตอน นอนสมาธิ เลยหลับไปนั้นเอง ครับ


    สติ สำคัญมาก

    นอนสมาธิอยู่ ถ้า สติแข็ง สติ มีกำลังมาก นั้น

    พอ ร่างกายหลับ มันจะ ตัด กาย กับ จิต ออกจากกัน

    จิตที่ มี สติ อยู่ ก็จะรับรู้ อยู่ ว่ากายหลับไป แต่ จิต ไม่ตกภวังค์ ไปด้วย เพราะ มี สติ อยู่นั้นเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ตุลาคม 2012
  5. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,606
    ค่าพลัง:
    +1,817

    นอนสมาธิ แล้วหลับไป ดีที่สุดเลยขอรับ แสดงว่าจิตใจและสมองของคุณสงบมีสมาธิดีจึงหลับไปไม่คิดสิ่งใด แล้วคุณจะเอาอะไรอีก การนอนหลับ แล้วไม่คิดสิ่งใด ไม่ฝันเรื่องต่างๆ นั่นแสดงว่า ร่างกายของคุณได้รับการพักผ่อนอย่างดีที่สุด ร่างกายหลั่ง "โกรทฮอร์โมน" ทำให้สุขภาพดี

    ส่วนแสงที่คุณเห็น มันเป็นเพียงความคิดความต้องการของคุณเท่านั้น ถ้าคุณเริ่มเห็นแสง แล้วไม่สนใจมันนั่นแหละ สมาธิ แต่ถ้าคุณเห็นแสง แล้วปรุงแต่งให้เป็นไปอย่างที่คุณเล่า นั่นเขาเรียกว่า วิตก วิจาร ถ้าจะเรียกตามภาษาทั่วๆไป เรียกว่า เพ้อเจ้อ ฟุ้งซ่าน

    ส่วนที่คุณเล่ามาว่า คุณขยับร่างกายไม่ได้ ลืมตาได้ข้างเดียว มันก็เป็นเรื่องปกติ ของภวังคจิต คือ ระบบการทำงานของร่างกายขอรับ เพราะถ้าสมองส่วนก้านสมอง ไม่ส่งคลื่นไปยังสมองส่วนอื่นๆ สมองส่วนอื่นที่มีการสั่งการในการเคลื่อนไหว ของร่างกาย ก็จะไม่ทำงาน ทั้งนี้ จะเกี่ยวโยงสัมพันธ์กับการทำงานของคลื่นไฟฟ้าที่หัวใจด้วย เพราะถ้าคลื่นไฟฟ้าที่หัวใจทำงานไม่เต็มพิกัด ก็ไม่สามารถส่งคลื่นไปยังสมองส่วนกลาง สมองส่วนกลางก็ไม่สามารถส่งคลื่นไปยังสมองส่วนสั่งการต่างๆได้
     
  6. พูน

    พูน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    595
    ค่าพลัง:
    +2,479
    รีบไป อย่าไปติดแสงสี เป็นนิมิตที่จะเกิดขึ้นของ อานาปาฯ ทำสมาธิจับที่ลมหายใจต่อไป เดี๋ยวมีดีกว่านี้ เอาให้ได้สามฐาน จมูก หน้าอก และศูนย์เหนือสะดือ เดี๋ยวมีมันส์กว่านี้ สู้ๆครับ ลองหาดูในกระทู้เก่าๆ เรื่องสมาธิ มีเยอะครับ อาการหลายแบบ
     
  7. อินทรี

    อินทรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    418
    ค่าพลัง:
    +562
    คนที่ทำได้ 3 ฐานจิตจะสงบดีมาก และจิตจะรวมค่อนข้างเร็ว แต่บางตำราจะบอกว่า
    สามฐานนั้นมี จมูก หัวใจ และสะดือ แต่ก้คือตำแหน่งใกล้เคียงกันคับ แต่คนส่วนใหญ่มัก
    ยึดฐานกายแค่ฐานเดียวพอ เพื่อสะดวกและง่ายต่อการกำหนด
     
  8. nunoiyja

    nunoiyja เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2010
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +1,733
    คำถามนี้ไม่ตอบแต่เข้ามาเพราะอยากจะบอกว่า
    "ชอบคำตอบของคุณ Saber"
    ตามที่ผมสังเกตดูนะครับคุณ Saber ตอบได้ตรงจุดมาก อันไหนควรละก็ให้ละ อันไหนควรทำให้แจ้งคุณก็บอกได้ละเอียดดีจัง อ่านแล้วเข้าใจง่าย นั้นแสดงว่าคุณ Saber ก็ต้องเป็นคนที่ปฏิบัติมาแล้วเพราะเท่าที่ผมเห็นนะคำถามส่วนมากจะเป็นผู้ที่ปฏิบัติถามแล้วคุณก็จะตอบ ซึ่งของพูดอีกครั้งว่า เป็นคำตอบที่เข้าใจง่ายนำไปทำตามได้ ก็ขออนุโมทนาด้วยนะครับ
     
  9. คุณตุ๊ก

    คุณตุ๊ก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    127
    ค่าพลัง:
    +131
    แรกๆผมทำแบบนี้นะครับ

    ดูลมหายใจเข้าออก พุทธ โธ แต่ละหว่างนี้ ผมจับผมหายใจเป็นควันครับ คล้ายกับควันบุหรี่นั้นล่ะ พุทธโธไปด้วย

    เพราะอะไรผมถึงทำแบบนี้ ???
    คำตอบคือ ผมจะได้ไม่ไปมองแสง หรือ อะไรก็แล้วแต่ที่มีเข้ามาครับ จะไปมองควันที่เข้าออก (ลมหายใจนั้นล่ะ) แทน

    ทีนี้ เราก็มีอะไรดู แทนที่จะไปดูอย่างอื่นแล้ว (เคยจะเอานิมิต พระพุทธรูป ลูกแก้ว ทำยากกลายเป็นมานั้งพะวงแทน)

    ทำไปนานๆ จิตเขา ก็เริ่มคล่อง ก็จะไม่ไปดูควันล่ะ (ควันไม่มีละ) เขาจะมาจับที่ปลายจมูกแทน ที่นี้เราก็แค่รับรู้ลมเข้าออก (พุทธโธ) เป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ครับ

    ทั้งหมดคือการหัดทำสมาธิ "ของผม" ส่วนตัวผมรู้สึกว่า ช้วยไม่ให้เราไปสนใจนิมิตอื่น ในเบื่องต้น ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...