ทำบุญ..เรื่องนี้มีคำตอบ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 30 มิถุนายน 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    [SIZE=+2][​IMG][/SIZE]
    [SIZE=+2]

    [​IMG]
    [/SIZE]



    "คนไทยส่วนมากยังอยู่ในชนบท และคนทุกท้องถิ่นมีชุมชนของตนทุกคน ควรถือเป็นสำคัญว่า ไม่ว่าจะทำบุญ อะไรก็ตามที่คิดว่าสำคัญ และก่อนจะไปทำบุญใหญ่โตที่ไหน ขอให้ถามกันว่า พวกเราสามารถทำบุญขั้นพี้นฐานได้สำเร็จหรือไม่ บุญพื้นฐานที่ว่านี้ คือ กิจกรรมที่จะทำชุมชนให้อยู่ดี และทำชีวิตให้งอกงาม เครื่องพิสูจน์ความสามารถในการรื้อฟื้นระบบการทำบุญของพุทธบริษัทคือ
    ๑) หันมาทำบุญที่เกื้อกูลต่อชีวิตชุมชนขึ้นเป็นพื้นฐาน


    ๒) ทำบุญเหล่านั้นให้สำเร็จด้วยความร่วมแรงร่วมใจสามัคคี
    ๓) ทำวัดที่มีอยู่ของชุมชนให้เป็นนาบุญที่แผ่ขยายคุณภาพชีวิตไปทั่วถึงทุกคน ​


    ถ้าทำ ๓ ข้อนี้ได้ บุญที่แท้อันถูกต้องตามความหมายกลับคืนมาอย่างมีชีวิตชีวา พระพุทธศาสนาจะกลับเฟื่องฟูในสังคมไทย และสังคมไทยเองก็จะเข้มแข็งมั่นคง บรรลุประโยชน์สุขแท้จริง"
    พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต)

    [​IMG]


    <CENTER>พิธีกรรมในงานบุญ </CENTER>


    <CENTER>ความเชื่อเรื่องการทำบุญ </CENTER>


    <CENTER>ทำบุญให้ได้บุญ </CENTER>


    <CENTER></CENTER>

    [SIZE=+3]พิธีกรรมในงานบุญ[/SIZE]




    [​IMG]
    • มีหลายคนเข้าใจว่า การทำบุญนั้นต้องมีพิธีกรรมมากมาย การทำบุญจำเป็นหรือไม่ ที่ต้องมีพิธีกรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง
    ไม่จำเป็น เพราะการทำบุญทำได้หลายอย่าง หลายโอกาส การมีพิธีกรรมเป็นส่วนช่วยเสริม ให้การทำบุญเกิดประโยชน์ได้เต็มที่ พิธีกรรมมีส่วนช่วยในการเตรียมใจ ทุกคนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะผู้ที่จะทำบุญ เช่นทำใจให้สงบ และถ้าผู้ทำบุญมีหลายคน พิธีกรรมจะเป็นเสมือน อาณัติสัญญาณ เพื่อช่วยให้ทุกคนพร้อมเพรียงกัน ในการทำบุญ
    การทำบุญในทางพุทธศาสนานั้น มุ่งให้เกิดผลทางจิตใจเป็นเบื้องต้น ไม่ใช่เพียงแค่ทำบุญเพื่อให้เกิดประโยชน์ในทางวัตถุเท่านั้น การถวายทาน อาหารหรือว่าปัจจัย (เงิน) นั้นก่อให้เกิดประโยชน์ทางวัตถุ แต่ว่าทางจิตใจพุทธศาสนาก็ให้ความสำคัญเช่นกัน เพราะฉะนั้นในการทำบุญจึงมีพิธีกรรมเพื่อเตรียมใจ ขณะเดียวกัน ก็ยังเป็นโอกาสให้ผู้ทำบุญมีความพร้อมเต็มที่ ในทางกายและวาจา นี่เป็นเหตุผลว่า ทำไมต้องมีการรับศีลก่อน การรับศีลก็คือเพื่อให้ละชั่ว ละบาป นั่นเอง เป็นการเตรียมกาย วาจา ให้มีความสะอาดเพื่อที่จะสามารถรับบุญได้เต็มที่ เหมือนกับภาชนะก่อนที่จะใส่น้ำ ก็ต้องทำความสะอาดก่อน เมื่อสะอาดแล้วจึงค่อยเติมน้ำลงไป ก็จะได้น้ำที่สะอาดตามไปด้วย อันนี้คือจุดมุ่งหมายประการหนึ่งของพิธีกรรม
    • แสดงว่าพิธีกรรมก็มีความหมายอยู่ในตัวเองด้วยเหมือนกัน
    ถูกต้องแต่เนื่องจากพิธีกรรมเป็นแค่อุบาย หรือเครื่องมือ เพราะฉะนั้นจึงไม่ใช่สิ่งตายตัวเสมอไป หมายความว่าเราสามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดผลตามต้องการ อันได้แก่การเตรียมจิต หรือเตรียมหมู่คณะให้สงบใจและพร้อมเพรียงกัน และยังเป็นการช่วยทำให้ กาย วาจา สะอาดคือมีศีล
    พิธีกรรมหลายอย่างมีวัตถุประสงค์อีกข้อหนึ่งคือเป็นการเสริมความสัมพันธ์ของผู้ที่ทำบุญ ให้มีความกลมเกลียวกัน อาทิ พิธีกรรมในงานศพ หรือพิธีทอดกฐิน ทอดผ้าป่า ตลอดจนประเพณีพิธีต่าง ๆ ของคนรุ่นก่อนหรือในชนบท เราจะเห็นตรงนี้ชัดเจน
    • บางคนตอนทำบุญแล้วจะเคร่งครัดว่า ต้องทำพิธีกรรมให้ครบถ้วน หากขาดตกบกพร่องในบางขั้นตอนแล้วจะรู้สึกไม่สบายใจ ในฐานะชาวพุทธเราควรวางท่าทีต่อพิธีกรรมอย่างไร
    [​IMG]เป็นเพราะเราไปเข้าใจว่า พิธีกรรมเป็นเรื่องศักดิ์สิทธ์ อะไรก็ตามที่นึกว่าเป็นเรื่องศักดิ์สิทธิ์แล้ว เราก็คิดว่า ต้องทำให้ถูกแบบแผนครบถ้วนทุกประการ ถึงจะเกิดผล อันได้แก่อำนาจดลบันดาล ก็เหมือนกับการขับรถ การจะทำให้รถแล่นได้ เราต้องขับรถอย่างทุกต้องทุกขั้นตอน แต่ว่าพิธีกรรมพุทธศาสนาไม่ใช่เช่นนั้น พิธีกรรมทางพุทธศาสนาไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อผลดลบันดาล หรือเพื่ออำนาจศักดิ์สิทธิ์ แต่ว่าเป็นเพียงแค่อุบาย หรือวิธีการที่จะช่วยน้อมจิตเตรียมใจ กับเพื่อรักษากายวาจาให้มีศีล
    ถ้าเข้าใจตรงนี้ เราก็จะเห็นว่า ถึงแม้พยายามทำให้ถูกต้องครบถ้วนตามพิธีกรรม เสร็จแล้วจิตใจกลับหม่นหมอง หงุดหงิด ไม่สบายใจ การทำบุญนั้นก็ได้ประโยชน์น้อย
    • สมมุติว่าเราอยากทำบุญ ถวายสังฆทาน หรือรับศีล แต่ท่องคำถวายไม่ได้ เราก็อาจแค่ตั้งจิต หรือใช้วิธีกล่าวตามเจตนาของเราก็ทำได
    ได้ คำพูดเป็นเพียงการช่วยน้อมจิตให้เป็นสมาธิ หรือช่วยให้จิตเกิดกุศล เช่น มีความเมตตาปรารถนาดียิ่งขึ้นต่อผู้รับ
    • พิธีกรรมบางส่วนเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย บางอย่างก็ทำกันมาเป็นประเพณีนิยม เราจะมีหลักในการเลือกอย่างไร ว่าพิธีกรรมใดเหมาะสม
    พิธีกรรมทางพุทธศาสนาต้องเป็นพิธีกรรมที่ช่วยให้เกิด การลด การละ การเลิก เป็นเบื้องต้น จากนั้นก็ทำให้ใจสงบ และเกิดปัญญา ที่เราให้รับศีลเพื่ออะไร ก็เพื่อให้ ลด ละ เลิกความประพฤติที่ไม่ดี ขณะเดียวกันก็ส่งเสริมให้เกิดความสงบใจ ฉะนั้นพิธีกรรมใยที่ไม่เป็นไปเพื่อการลด ละ เลิก หรือว่าไม่ช่วยให้จิตใจสงบ ขณะเดียวกันไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้รับแล้ว ก็ทำให้ได้รับผลหรืออานิสงส์ไม่ครบถ้วน พุทธศาสนาจะเน้นมากในเรื่องสัปปุริสทาน คือการให้แบบสัปปบุรุษ ท่านจะเน้นเรื่องเจตนาหรือสภาวะจิตของผู้ให้ ทั้งก่อน ระหว่างและหลังการให้ ขณะเดียวกันวัตถุที่ให้ก็ต้องมีประโยชน์ หรือเหมาะแก่ผู้รับ และถูกกับกาลเวลาด้วย
    • การทำบุญตักบาตรตามวาระและเทศกาลต่างๆ เช่น ปีใหม่ เข้าพรรษา คือทำแบบเดียวกันมากๆ จะเป็นภาระ หรือเป็นสิ่งเกินจำเป็นหรือเปล่า
    [​IMG]เราต้องเข้าใจก่อนว่าทำบุญนี่ทำได้หลายอย่าง แม้กระทั่งการให้ทานเอง ก็สามารถจะให้ทานแก่คนหลายประเภท ไม่ใช่เฉพาะให้แก่พระ แต่คนไทยนิยมให้แก่พระ เพราะเหตุผลใหญ่ ๆ สองประการ ประการแรก พระท่านเป็นคนของสังคม ของส่วนรวม เมื่อทำประโยชน์ให้กับบุคคลประเภทนี้แล้ว ผลประโยชน์ก็จะกลับไปสู่สังคมส่วนรวม เช่น เมื่อท่านได้รับอาหาร ก็มีกำลังวังชาแนะนำสั่งสอนผู้คนได้ หรือถวายจานชามให้วัด ชาวบ้านก็สามารถยืมไปใช้เวลามีงานในหมู่บ้าน เป็นต้น
    เหตุผลประการที่สองก็คือว่าความเชื่อว่า พระเป็นสื่อกลางที่ดี ระหว่างผู้อยู่ในโลกนี้กับผู้ตาย พูดง่าย ๆ คือเป็นเหมือนบุรุษไปรษณีย์ ที่นำเอาบุญกุศลจากคนในโลกนี้ ไปให้แก่คนในโลกหน้า ความเชื่อนี้ทำให้พระมีสถานะคล้าย ๆ บุคคลสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งอาจจะไม่ถูกต้องเท่าไรนัก
    ปัญหาก็คือว่าพอเราอยากทำบุญ เรามีความเข้าใจว่า จะต้องทำบุญในสำคัญ เช่น วันปีใหม่ และก็ต้องถวายอาหารเลี้ยงพระ หรือใส่บาตรพระเท่านั้น ให้เกิดปัญหาว่า ของที่เราถวายบ่อยครั้ง ก็มากมายจนกระทั่งพระท่านฉันไม่หมด บางทีก็ต้องทิ้งไปหากแจกไม่หมด เราน่าจะมาคิดกันว่า ถ้าจะทำบุญถวายพระ ทำอย่างไรถึงจะแน่ใจว่าของที่เราถวายนี้ก่อประโยชน์เต็มที่ ต้องคิดกันถึงสิ่งที่เราจะถวาย ไม่ใช่ถวายแต่อาหารสด หรือแม้กระทั่งเครื่องกระป๋องก็อาจจะไม่จำเป็นก็ได้ ควรลองคิดหาของถวายอย่างอื่นแทน หรือว่าอาจจะใช้วิธีการทำบุญที่ไม่ใช่การตักบาตร เช่น เอาอาหารไปเลี้ยงเด็กกำพร้าหรือว่าเอาอาหารไปเลี้ยงคนแก่ในบ้านพักคนชรา ก็ได้
    [​IMG]

    ความเชื่อเรื่องการทำบุญ


    [​IMG]
    • อย่างความเชื่อที่ว่า ตักบาตรพระอย่าลืมถวายน้ำด้วย กลัวตายไปแล้วจะไม่มีน้ำดื่ม หรืออยากให้บุญนี้ไปถึงผู้ล่วงลับไปแล้ว จะได้ไม่หิวโหย ท่านมีความเห็นกับเรื่องนี้อย่างไรบ้าง
    มันก็เป็นความเชื่อในระยะ ๑๐ กว่าปีที่ผ่านมา อันนี้ก็เกิดจากเสียงเล่าลือว่า คนที่ตายไปแล้วพบว่าตัวเองไม่มีน้ำกิน เกิดความหิวโหย อันนี้เป็นความเชื่อ แต่ที่จริงแล้วการทำบุญทางพุทธศาสนานี้ม่เหมือนการทำกงเต็ก การทำกงเต็กมีการเผาเงินกระดาษ รถหรือบ้านกระดาษ เพราะเชื่อว่าผู้ตายจะได้รับสิ่งเหล่านั้นในภพหน้าด้วย แต่พุทธศาสนาไม่ได้มีความเข้าใจอย่างนั้น
    [​IMG]การทำบุญของพุทธศาสนานั้น สิ่งสำคัญอยู่ที่การทำบุญด้วยใจที่บริสุทธิ์ และเป็นกุศล ขณะเดียวกัน วัตถุที่เราให้ก็เป็นประโยชน์แก่ผู้รับ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นน้ำ บ่อยครั้ง ปรากฏว่า ญาติโยมที่ถวายน้ำบรรจุขวดใส่บาตรพระ กลับทำให้ท่านลำบาก เพราะต้องหอบหิ้วน้ำหลายขวดกลับวัด บ่อยครั้งสิ่งที่เราถวายพระ กลับมากเกินความต้องการ หรือเกินความจำเป็นของท่าน ในแง่นี้การทำบุญก็มีอานิสงส์ไม่เต็มที่ การทำบุญที่ได้ผลอานิสงส์มาก ต้องเป็นการถวายของที่เป็นประโยชน์แก่ผู้รับ
    • อันนี้อาจจะเป็นรูปธรรมอันหนึ่ง ของความเชื่อที่กลายเป็นพิธีกรรม ที่ทำกันสืบเนื่องกันมา
    นี่ไม่ใช่สิ่งที่พระพุทธเจ้าได้ตรัส แต่เป็นเพียงคำแนะนำ หรือความเชื่อของคนจำนวนหนึ่ง ซึ่งอ้างว่าเคยไปนรกมาก่อน แล้วฟื้นขึ้นมา
    • ความเชื่อเรื่องการถวายสังฆทานเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ เพื่อเป็นการตัดกรรม การไปสร้างพระพุทธรูปถวายวัดเพื่อช่วยให้คนป่วยอาการดีขึ้น ถือเป็นการทำบุญหรือเปล่า
    อันนั้นก็เป็นการทำบุญได้เหมือนกัน เป็นการมุ่งให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ที่เรานับถือซึ่งได้ล่วงลับไป แต่ว่าการทำบุญอย่างนี้เราก็ต้องพิจารณาดูว่า เหมาะกับโอกาสหรือเหมาะกับผู้รับหรือเปล่า แล้วก็จะต้องเข้าใจจุดมุ่งหมายของการทำบุญแต่ละอย่าง เช่น การถวายสังฆทาน สังฆทานก็คือต้องถวายแก่หมู่สงฆ์ วัตถุประสงค์ของการมีสังฆทานก็คือเพื่อประโยชน์แก่หมู่สงฆ์ ไม่ได้มุ่งเพื่อประโยชน์ของผู้ให้ ทั้งไม่ได้มุ่งเพื่อให้เกิดประโยช์แก่ใคร ที่นอกเหนือจากสงฆ์หรือส่วนรวม
    สำหรับการทำบุญเพื่อตัดกรรม หรือการสะเดาะเคราะห์ ก็เกิดจากความเชื่อว่า ได้เคยทำไม่ดีกับผู้อื่นที่เป็นเจ้ากรรมนายเวร ความเชื่อนี้มีอิทธิพลมาก ถ้าเราต้องการที่จะลดทอนผลแห่งกรรมที่เราได้ทำไว้ เราก็สร้างความดี ความดีที่เราทำมันก็ทำได้หลายอย่าง ไม่จำเป็นต้องทำสังฆทานเสมอไป อย่างสมัยก่อนก็นิยมปล่อยนกปล่อยปลา การบวช หรือการเข้าวัดปฏิบัติธรรมก็เป็นตัวอย่างที่มีอานิสงส์ด้วยเช่นกัน
    • การทำบุญโดยเริ่มจากความคิดอยากได้ประโยชน์จากบุญที่กระทำลงไป หรือเลือกทำบุญที่จะได้ผลดีกับตัวเองมากๆ ท่านคิดเห็นกับเรื่องนี้อย่างไรบ้าง
    การทำบุญแบบนี้ก็มีประโยชน์อยู่ แต่พุทธศาสนาถือว่าการทำบุญอย่างนี้เป็นการยึดติด ยังมีความเห็นแก่ตัวอยู่ แท้ที่จริงมีการทำบุญที่ประเสริฐหรือมีอานิสงส์มากกว่านี้ นั่นคือการทำบุญที่ไม่หวังผลตอบแทนแก่ตัว ไม่ได้ทำบุญเพื่อหวังรวย ไม่ได้ทำบุญเพื่อให้เกิดความสุขสบายในชาติหน้า เป็นการทำบุญเพื่อละตัวตน เพื่อลดละกิเลส ทำไมเราถึงต้องให้ทาน ก็เพราะคนเรามักจะยึดติดในวัตถุ การที่พุทธศาสนาเน้นเรื่องการให้ทาน ก็เพื่อที่ได้ละการยึดติดในวัตถุ เพื่อจะได้มีอิสรภาพ อย่างพระเวสสันดร ที่ท่านเน้นเรื่องทานก็เพราะว่า ช่วยให้พระองค์ได้ละวางในสิ่งที่คนเรายึดถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ โดยท่านมุ่งประโยชน์สูงสุดก็คือ การเข้าถึงวิมุตติ คืออิสรภาพ
    • แสดงว่าถ้าเรานึกถึงแต่ประโยชน์ของเรา ก็ได้บุญในด้านการทำประโยชน์ทางวัตถุ แต่ในแง่การยกระดับจิตใจยังไม่ได้รับ
    [​IMG]พุทธศาสนาถือว่าอานิสงส์ของบุญมี ๓ ขั้น ขั้นแรกเรียกว่าทิฏฐธัมมิกัตถะ หรือประโยชน์เบื้องต้น เช่นการมีปัจจัยสี่เลี้ยงชีพ ไม่ยากไร้ เวลาเราใส่บาตร ประโยชน์ส่วนนี้เกิดขึ้นกับพระ คือท่านมีอาหารฉัน เวลาเราถวายข้าวสารอาหารแห้ง หรือถวายอุปกรณ์เครื่องใช้แก่พระ ก็เกิดประโยชน์ส่วนนี้ขึ้นมา
    ขั้นที่สองคือเกิดประโยชน์ที่เรียกว่าสัมปรายิกัตถะ หมายถึงการมีจิตใจผ่องใสสบาย ปราศจากความเศร้าหมองขุ่นมัว คนเป็นอันมากมุ่งอานิสงส์ข้อนี้ โดยเชื่อว่าบุญที่สะสมในชาตินี้จะอำนวยอมยผืลให้มีความสุขในภพหน้า
    ประโยชน์ขั้นที่ ๓ ก็คือปรมัตถะ หมายถึงนิพพานหรือความอิสระอย่างสมบูรณ์ อันเกิดจากการละวางความยึดถือในตัวตน ถ้าเราทำบุญโดยหวังแค่ตัดกรรมหรือหวังรวย ประโยชน์ที่เกิดขึ้นมีเพียง ๒ ประการ คือ ทิฏฐธรรมมิกัตถะ กับสัมปรายิกัตถะ แต่ว่ายังไปไม่ถึงที่สุดที่ควรจะได้ก็คือ ปรมัตถะ
    [​IMG]

    ทำบุญให้ได้บุญ


    [​IMG]
    • เวลามีงานบุญ เจ้าภาพหวังจะให้งานออกมาดี เรียบร้อยถูกต้องที่สุด แต่ก็มักจะมีภาระให้ต้องจัดการหลายเรื่อง เป็นเหตุให้เกิดความขุ่นข้อง ขัดเคืองใจได้ง่าย คนจัดงานบุญควรวางใจอย่างไร เพื่อให้ได้บุญตามเจตนา
    อันนี้เป็นตัวอย่างให้เห็นว่าพิธีกรรมมีความจำเป็น เพราะว่าขณะที่เตรียมของถวายพระ หรือจัดการงานต่างๆ จิตใจเราจะขุ่นมัวแต่ว่า อย่างน้อยเราควรจะมีความสงบใจในช่วงที่เราถวายทาน การมีพิธีกรรมส่วนหนึ่งก็เพื่อทำให้คนที่กำลังวุ่นวายพอมารับศีล มาบูชาพระรัตนตรัย กล่าวนะโม อรหัง สัมมา ความวุ่นวายที่เกิดจากการทำงานเตรียมงานก็จะค่อยๆ สงบ จิตก็จะเป็นสมาธิ ดีกว่าออกจากครัวแล้วก็มาถวายของให้พระเลย จิตก็ยังวุ่ยวายอยู่ เพราะฉะนั้น นี่คือความจำเป็นที่คนโบราณ ต้องมีพิธีกรรมเพื่อให้คนที่กำลังวุ่นวายจากการเตรียมงาน ได้มีโอกาสน้อมจิตให้สงบ ซึ่งก็ทำให้ได้รับอานิสงส์ ของบุญเพิ่มขึ้น
    แต่ถ้าจะให้ดีกว่านั้น เราควรเตรียมจิตเตรียมใจสำหรับงานบุญโดยตระหนักอยู่เสมอว่า การที่เรามีสติในระหว่างที่เราทำงาน การที่เรามีสมาธิในระหว่างที่เราทำงานก็เป็นบุญ เป็นบุญมากด้วย ขณะเดียวกัน การระงับความหงุดหงิดขุ่นข้องหมองใจก็เป็นการปฏิบัติธรรมอย่างหนึ่งเหมือนกัน และมีความสำคัญมากด้วย ดังนั้นจึงควรเอางานบุญเป็นโอกาสที่จะได้ฝึกฝนตนเองทางจิตใจ
    คนส่วนใหญ่มักจะมีความเครียดจากการเตรียมงาน ก็เพราะว่ากลัวว่าจะทำได้ไม่ดีหรือว่าเงินได้น้อยไป นั่นเป็นเพราะเราไปให้ความสำคัญกับเงินมากกว่าเรื่องของจิตใจ ถ้าเราทำโดยตระหนักว่าเจตนาและคุณภาพจิตเป็นสิ่งสำคัญกว่าเงิน แม้เงินจะได้น้อย แต่เราทำด้วยเจตนาดี มีความภาคภูมิใจที่ได้ทำ ก็เท่ากับได้บุญแล้ว นอกจากนั้นการวางจิตวางใจเช่นนี้ยังช่วยให้เราได้ฝึกการปล่อยวางด้วย ถ้าเราปล่อยวางเป็นก็จะได้รับได้อานิสงส์แห่งบุญมากขึ้น ดังนั้นจึงพึงระลึกว่า ระหว่างเตรียมงานก็เป็นการทำบุญด้วยอย่างหนึ่ง
    • กรณีที่เราเป็นเจ้าภาพ จะต้องบอกบุญอย่างไรถึงจะไม่เป็นภาระกับผู้อื่น
    [​IMG]การบอกบุญคล้าย ๆ กับเป็นการเปิดโอกาสให้คนได้ทำดี อันนี้ก็เรียกว่าเป็นบุญอย่างหนึ่ง เรียกว่าปัตติทานมัย คราวนี้เราต้องตั้งจิตว่านี้เป็นการเปิดช่องให้คนได้ทำดีนะ เราอย่าไปยึดที่จำนวนเงินที่เราจะได้รับหรืออย่าไปตั้งเป้าที่ตัวเงิน ถ้าเราไปให้ความสำคัญที่เป็นตัวเงินนี่เราจะทุกข์ ถ้าเกิดว่าเขาให้น้อยหรือบอกบุญแล้วเขาเฉย ไม่ได้ร่วมทำบุญ ก็อาจจะรู้สึกโมโห อันนี้ก็ไม่ได้บุญแล้ว เพราะบุญนี่มันต้องทำด้วยจิตที่เมตตา จิตที่เบิกบาน ทำแล้วจิตกลับหดหู่เศร้าหมอง มันก็ไม้ได้บุญ เรียกว่าทำบุญกลับได้บาป ต้องถือว่าเราเพียงแค่การเปิดโอกาสให้คนทำดีก็เป็นบุญแล้ว
    • บางครั้งเราได้รับการบอกบุญ เช่น ซองผ้าป่า ซองกฐิน โดยเฉพาะช่วงเทศกาล เราร่วมทำบุญบริจาคด้วยความรู้สึกตัดรำคาญหรือเกรงใจเจ้าภาพ ถือว่าเราได้บุญหรือเปล่า
    มันก็เป็นการทำบุญ แต่เป็นการทำบุญในแง่ที่ว่าก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้รับ การให้ทานแก่ใครก็ตาม แม้กระทั่งมิจฉาชีพหรือสัตว์เดรัจฉาน ก็มีอานิสงส์ด้วยเช่นกัน แต่ว่าอานิสงส์แห่งบุญแบบนี้ จะบังเกิดน้อยลงหากเราทำบุญโดยไม่ได้มีความแช่มชื่นเบิกบานใจเลย เพราะบุญนั้นคือชื่อแห่งความสุข ถ้าทำแล้วไม่มีความสุข ก็แสดงว่าไม่เกิดบุญในใจเรา ดังนั้นเราจึงควรทำด้วยความเต็มใจ ด้วยความปรารถนาดี ไม่ได้ไปทำเพราะเกรงใจ และไม่ฬด่งให้ความสำคัญกับจำนวนเงิน แต่ขอให้ทำด้วยเจตนาดี
    • บางคนตัวเองทำบุญด้วยความเต็มใจ แต่วิธีการอาจจะเบียดเบียนตัวเองหรือครอบครัว เช่น ไปกู้เงินมาทำบุญหรือว่าเอาทรัพย์ซึ่งเป็นของครอบครัวไปทำบุญ โดยที่ญาติอาจจะไม่ได้เห็นดีด้วย อย่างนี้ถือเป็นการหลงบุญได้ไหม
    นี่เป็นเพราะเราไปเข้าใจว่าบุญ หมายถึงการให้ทานเท่านั้น ฉะนั้นถ้าอยากจะทำบุญก็คิดว่า จะต้องให้ทานอย่างเดียว โดยไม่ได้คิดว่าทำความดีอย่างอื่นก็เป็นบุญเช่นกัน แม้จะไม่ได้ให้ทาน เมื่อเราคิดว่าต้องทำบุญด้วยวัตถุแล้ว ดังนั้นเมื่อไม่มีก็ต้องไปหามาให้ได้ จนกระทั่งไปกู้มา นี้เป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องในการทำบุญ
    อีกเหตุผลหนึ่งคือความเข้าใจว่าบุญ จะได้มากก็ต่อเมือ่ให้มาก บุญขึ้นอยู่กับปริมาณของเงินที่ให้ ซึ่งไม่ใช่ แม้ให้เพียงเล็กน้อยแต่ให้ด้วยจิตที่ปรารถนาดี ให้ถูกต้องตามหลักสัปปุริสทานก็ได้บุญแล้ว ปัญหาอยู่ที่ผู้คนยังเข้าใจเรื่องบุญไม่ถูกต้อง ทำแล้วจึงเกิดความไม่สบายใจและทำให้คนอื่นพลอยเดือดร้อนไปด้วย
    เราทุกคนควรระลึกอยู่เสมอว่าในฐานะที่เป็นคนในครอบครัวเราก็มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบ การทำหน้าที่ให้ถูกต้องในฐานะที่เป็นพ่อแม่ ก็เป็นการทำบุญ เป็นการปฏิบัติธรรมเหมือนกัน ทีนี้ถ้าเราไม่ได้ทำหน้าที่ถูกต้องเพราะเราไปสร้างหนี้สิน ก่อความเดือดเนื้อร้อนใจแก่ผู้อื่น แม้จะเป็นการกระทำในนามของการทำบุญก็ตาม ก็ไม่ถือว่าเป็นการปฏิบัติธรรมที่ถูกต้อง
    • อย่างกรณีที่เราทำบุญ ซึ่งอาจจะไปสนับสนุนการเอารัดเอาเปรียบผู้อื่น เช่นเราปล่อยนกปล่อยปลา ก็ไปสนับสนุนให้มีคนไปจับสัตว์มาขาย หรือเวลาเราตักบาตรซึ่งเป็นร้านค้าที่เขาเอาอาหารมาเวียนขาย กรณีแบบนี้เราควรจะมีท่าทีต่อการทำบุญด้วยวิธีเหล่านี้อย่างไร
    [​IMG]การทำบุญดังกล่าว ความจริงก็ได้บุญอยู่แล้ว เพราะเราไม่มีเจตนาร้าย เราต้องการให้นกให้ปลาได้อิสรภาพที่เป็นจริง เราถวายอาหารให้แก่พระ เราก็ทำด้วยเจตนาดี แต่ส่วนใหญ่ทำไปโดยไม่รู้ หรือแม้กระทั่งไม่ใส่ใจว่า จะเกิดผลอย่างไรกับนกกับปลาที่ปล่อย อะไรจะเกิดขึ้นกับอาหารที่ถวายพระ ตรงนี้เองที่ทำให้เรื่องการทำบุญ ต้องมีสิ่งหนึ่งเข้ามาประกอบด้วย ก็คือ การมีปัญญา และการมีสติ
    การมีปัญญาและการมีสติ คือการทำด้วยความตระหนักรู้ ในทางพุทธศาสนา ในหลักคำสอนเรื่องสัปปุริสทาน คือการให้ทานแบบสัปบุรุษ พระพุทธองค์ท่านให้ความสำคัญแก่ปัญญาด้วย คือพึงให้โดยรู้ว่า ของที่ให้มีประโยชน์แก่ผู้รับหรือไม่เพียงใด ถ้าทำโดยไม่รู้เรื่องเลยว่า ของที่ให้นั้นมีประโยชน์แก่ผู้รับหรือไม่ ก็ได้บุญน้อย เช่น ถวายเหล้า บุหรี่ ยาชุดยาซองหรือสิ่งที่ไม่เหมาะสมแก่พระ
    เพราะฉะนั้นเราต้องมี ความตระหนักรู้ มีสติ มีปัญญา ควบคู่ไปกับการทำบุญ ต้องพิจารณาด้วยว่าสิ่งที่เราให้ มีประโยชน์แค่ไหน ดังมีพุทธพจน์บอกว่า การให้อย่างเลือกเฟ้นหรือวิไจยทานเป็นกรรมที่พึงสรรเสริญ ดังนั้นแทนที่จะหลับหูหลับตาให้ เราควรให้ด้วยการพิจารณาไตร่ตรอง ใคร่ครวญว่าของที่เราให้นั้นมีประโยชน์แก่ผู้รับไหม ก่อผลกระทบอย่างไรบ้าง (สมัยนี้ควรต้องพิจารณารวมไปถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย) เช่นเราจะปล่อยนกปล่อยปลา เราก็ต้องพิจารณาว่า นกปลาที่เราปล่อยนั้น ได้รับอิสรภาพจริงอย่างที่เราต้องการหรือเปล่า
    • มีบางคน ไม่ค่อยได้ดูแลพ่อแม่ในระหว่างมีชีวิตอยู่ หลังจากพ่อแม่เสียไปแล้วก็รู้สึกเสียใจอยากที่จะทดแทนบุญคุณ ควรจะทำบุญแบบไหนถึงจะเรียกว่าเป็นการทดแทนบุญคุณพ่อแม่ได้
    การทำบุญทดแทนพ่อแม่ที่ดีก็คือขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ เพราะว่าเป็นหลักประกันแน่นอนว่า ท่านจะได้รับประโยชน์เต็มที่ แต่ถ้าเราหวังไปทำบุญหลังจากที่ท่านจากไปแล้ว เราก็ไม่แน่ใจว่าท่านได้รับประโยชน์อย่างที่เราต้องการหรือเปล่า ชาติหน้ามีจริงหรือเปล่าเราก็พูดด้วยความมั่นใจไม่ได้
    ในกรณีที่ท่านล่วงลับไปแล้วการทำบุญตามประเพณีก็ได้อยู่ ขึ้นชื่อว่าบุญแล้วทำได้หลายอย่าง การทำประโยชและการให้ทานแก่ผู้เดือดร้อน ก็เป็นการทำบุญให้แก่ผู้ตายได้ โดยอุทิศส่วนกุศลไปให้ท่าน
    • เมื่อมีคนมาบอกบุญ เราควรวางจิตใจอย่างไร จึงถือเป็นการอนุโมทนาบุญที่ได้ประโยชน์จริงๆ
    เราชื่นชมยินดีในการกระทำ การริเริ่มของคนผู้นั้น และเราก็ทำด้วยเจตนาดี ไม่ได้ระแวงสงสัยว่าเขาทำไปเพื่อประโยชน์ส่วนตัวอะไร เรามีความศรัทธาชื่นชมยินดีในสิ่งที่เขาทำ ไม่ได้หงุดหงิดรำคาญใจหรือนินทาลับหลัง อันนี้คือความหมายของอนุโมทนา ถ้าเรามีจิตใจอย่างนี้ จิตใจเราก็เป็นสุข เป็นกุศลเกิดขึ้นในใจ ถึงแม้ว่าเราไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมเต็มที่ เรียกว่า ปัตตานุโมทนา ก็เป็นบุญได้เหมือนกัน

    ที่มา :
    http://www.khonnaruk.com/html/phra/boon/boon-3.html
     

แชร์หน้านี้

Loading...