ทำบุญกับสาธาณะได้อานิสงส์มากกว่า ทำกับวัดจริงหรือ?(ค้นคว้าโดยมรว.เสริมศุขสวัสดิ์ )

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 12 กันยายน 2007.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    [​IMG]
    คำถาม มีคนสงสัยกันมากกว่า ทำบุญกับสาธาณะ ควรจะได้ประโยชน์มากกว่า ทำกับวัด
    คำตอบ เรื่องผลของการทำบุญนี้ ไม่มีเหตุผลที่จะใช้อธิบายกันได้ว่า ทำอย่างนี้ทำไม่ได้ผล อย่างนั้นเป็นเรื่องที่ใช้ปัญญา พิจารณาไม่ได้ เรื่องนี้เป็น อจินไตย ซึ่งท่านกล่าวไว้ในเล่ม 21 หน้า 93 ว่ามี 4 ประการ คือ
    1. พุทธวิสัยของพระพุทธเจ้า
    2. ฌานวิสัยของผู้ได้ฌาน
    3. เรื่องของโลก
    4. วิบากของกรรม
    อจินไตย นั้นท่านบอกว่า เป็นสิ่งที่ไม่ควรคิด เพราะจะตอบให้แน่นอนลงไปไม่ได้ ถ้าใครขืนคิด ท่านว่า "พึงมีส่วนแห่งความบ้า" ผลของการทำบุญว่า ทำบุญอะไร จะได้ผลอย่างไรนั้น เป็นเรื่อง อยู่ในข้อ 4 คือ วิบากของกรรม ในเมื่อเราไม่สามารถจะตรึกตรองให้รู้ได้เอง เราก็ต้องเชื่อท่านผู้ที่รู้ไปก่อน ท่านผู้รู้ ก็คือ พระพุทธเจ้านั่นเอง
    พระพุทธเจ้าทรงเป็นสัพพัญญู คือ ที่ไม่รู้นั้นไม่มี
    เล่ม 25 หน้า 208 "จริงอยู่ พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาค ผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่าได้กลัวต่อบุญเลย คำว่า บุญ นี้เป็นชื่อของความสุข อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่ารัก น่าพอใจ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็เรารู้ได้ด้วย ญาณอันวิเศษยิ่ง ซึ่งวิบาก อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่ารัก น่าพอใจที่ ตนเสวยแล้ว สิ้นกาลนาน แห่งบุญทั้งหลาย ที่ตนทำไว้แล้วสิ้นกาลนาน"
    ความเชื่อตาม กาลสูตร ที่ชอบอ้างกันนั้น นำมาใช้ไม่ได้ในที่นี้ เพราะท่านบ่งว่า เรื่องนี้รู้ได้ด้วยญาณไม่ใช่ มาตรึกตรองเหตุผลกันได้
    คำตอบของปัญหาที่ถาม จะได้จากเล่ม 23 หน้า 361 ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงเล่าว่า สมัยที่พระองค์เกิดเป็น เวลามพราหมณ์ นั้นได้ให้มหาทานดังนี้
    [​IMG] ถาดทองคำเต็มไปด้วยรูปิยะ 84,000 ถาด
    [​IMG] ถาดรูปิยะเต็มไปด้วยทอง 84,000 ถาด
    [​IMG] ถาดสำริดเต็มไปด้วยเงิน 84,000 ถาด
    [​IMG] ช้างประดับเครื่องทอง 84,000 เชือก
    [​IMG] รถประดับเครื่องทอง 84,000 คัน
    [​IMG] แม่โคนม 84,000 ตัว
    [​IMG] หญิงสาวพร้อมเครื่องประดับ 84,000 คน
    [​IMG] บัลลังก์ลาดผ้าโกเชาว์ และขนแกะ 84,000 ที่
    [​IMG] ผ้า 84,000 โกฏิ
    และข้าว น้ำ ของบริโภค เครื่องลูบไล้ และที่นอนจำนวนนับไม่ได้ (ถ้าเราคิดเป็นราคาเดี๋ยวนี้น่า กลัวจะถึง ล้านล้านบาท)
    ทานนี้ น่าจะมีผลมหาศาล แต่พระพุทธเจ้า ทรงเล่าต่อไปว่า "ดูกรคฤหบดี ทานที่บุคคลเชื้อเชิญ ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิองค์เดียว บริโภคมากกว่า ทานที่เวลามพราหมณ์ ให้แล้ว" คำว่า "ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิ" นั้น ค้นดูแล้วปรากฏว่า หมายถึงพระโสดาบัน คือ ทานทั้งหมดนั้น คนที่รับทานไม่มีใครเป็นทักขิเญยบุคคลเลย (เป็นคนธรรมดา) สู้เลี้ยงข้าวพระโสดาบันเพียงมื้อเดียวก็ไม่ได้
    ต่อจากนั้นก็เปรียบเทียบไว้ดังนี้
    [​IMG] ทานแก่พระสกิทาคามี 1 องค์ ผลมากกว่าท่านผู้ถึงด้วยทิฐิ 100 องค์
    [​IMG] แก่พระอนาคามี 1 องค์ มากกว่าแก่พระสกิทาคามี 100 องค์
    [​IMG] แก่พระอรหันต์ 1 องค์ มากกว่าแก่พระอนาคามี 100 องค์
    [​IMG] แก่พระปัจเจกพุทธเจ้า 1 องค์ มากกว่าแก่พระอรหันต์ 100 องค์
    [​IMG] แก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า 1 องค์ มากกว่าแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า 100 องค์
    [​IMG] แก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข มีผลมากกว่าแก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า 1 องค์
    [​IMG] การสร้างวิหารทาน ถวายสงฆ์ผู้มาจากจาตุรทิศ มากกว่า ที่ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ที่มีพระพุทธเจ้าเป็น ประมุข
    [​IMG] การที่บุคคล มีจิตเลื่อมใส ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นสรณะ มีผลมากกว่าสร้างวิหาร ทานถวายสงฆ์ผู้มาจากจาตุรทิศ
    [​IMG] การที่บุคคล มีจิตเลื่อมใส สมาทาน สิกขาบท (ศีล 5) มีผล มากกว่า การที่ บุคคล มีจิตเลื่อมใส ถึงพระพุทธเจ้า ฯ
    [​IMG] การที่บุคคล เจริญเมตตา โดยที่สุดแม้เพียง เวลาสูด ของหอม มีผลมากกว่า การที่บุคคล มีจิตเลื่อมใส สมาทานสิกขาบท
    [​IMG] การที่บุคคลเจริญ อนิจจสัญญา แม่เพียง เวลาลัดนิ้วมือ มีผลมากกว่า การที่บุคคล เจริญเมตตาจิตโดย แม้เพียงเวลาสูดของหอม
    ในเล่ม 14 หน้า 389 ให้รายละเอียดเพิ่มเติม ไว้ในเรื่องของ ทักษิณาปาฏิปุคคลิกทาน
    [​IMG] ให้ทานในสัตว์เดียรัจฉาน หวังผลทักษิณาได้ 100 เท่า
    [​IMG] ให้ทานในปุถุชนผู้ทุศีล หวังผลได้ 1,000 เท่า
    [​IMG] ให้ทานในปุถุชนผู้มีศีล หวังผลได้ 100,000 เท่า
    [​IMG] ให้ทานในบุคคลภายนอก ผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม หวังผลได้แสนโกฏิเท่า
    [​IMG] ให้ทานแก่ท่านผู้ปฏิบัติ เพื่อทำโสดาปฏิผลให้แจ้ง หวังผลนับไม่ได้
    พระพุทธเจ้า ท่านตรัสไว้อย่างนี้ เราก็ควรจะเชื่อท่าน แต่ในเรื่องความเชื่อนี้ มักจะมีผู้นำคำสอน ของพระพุทธเจ้าในกาลามสูตร หรือเกสปุตตสูตร ตามเล่ม 20 หน้า 213 ที่ตรัสว่า
    "มาเถิดท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่าได้ยึดถือ
    [​IMG] ตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา
    [​IMG] ตามถ้อยคำสืบ ๆ กันมา
    [​IMG] โดยตื่นข่าว
    [​IMG] โดยอ้างตำรา
    [​IMG] โดยเดาเอาเอง
    [​IMG] โดยคาดคะเน
    [​IMG] โดยความตรึกตามอาการ
    [​IMG] โดยชอบใจว่าต้องกันกับทิฐิของตัว
    [​IMG] โดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรจะเชื่อได้
    [​IMG] โดยความนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา"
    เสร็จแล้วก็ลงท้ายว่า ในการที่เราจะเชื่อถืออะไรได้นั้น เราต้องตรึกตรอง ให้เห็นจริงเสียก่อน จึงควรเชื่อ ผู้เขียนบางคน ถึงกับอ้างว่า แม้พระพุทธเจ้าสอนก็อย่าเพิ่งเชื่อ ต้องตรองให้เห็นจริงจึงจะเชื่อได้
    ความเข้าใจเช่นนี้น่าจะเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูก เพราะทุกเรื่องไม่ใช่ว่าจะหาเหตุผลได้เสมอไป เช่น พระพุทธเจ้าท่านกล่าวว่าใครเป็นพระโสดาบันแล้ว เรียกว่า เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นพระอรหันต์ ได้ในไม่เกิน 7 ชาติ เช่นนี้ ท่านผู้ใดจะหาเหตุผลได้ว่า ทำไมต้อง 7 ชาติ และเป็นเช่นนั้นจริงหรือ เปล่า ? เมื่อไม่สามารถหาเหตุผลได้ ท่านจะไม่เชื่อหรือ ? ท่านก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะมาเถียงอีกน่ะ แหละว่า เป็นพระอรหันต์ใน 7 ชาติไม่ได้
    โดยที่แท้แล้ว สิ่งที่ยังไม่รู้ ไม่เห็น ไม่แจ้งด้วยปัญญา แล้วท่านกลับสั่ง ให้เชื่อผู้อื่นที่รู้ไปก่อนด้วยซ้ำ เช่น เล่ม 19 หน้า 276 " ดีละ ๆ สารีบุตร ด้วยอมตะนั้น ชนเหล่าใดยังไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่กระทำให้แจ้ง ไม่พิจารณาเห็นแล้วด้วยปัญญา ชนเหล่านั้นพึงถึงความเชื่อต่อชนเหล่าอื่น ในอมตะนั้น ว่า...."
    อย่างไรก็ดี การที่ต้องเชื่อผู้อื่นไปก่อนนั้น แสดงว่า ตนเองยังไม่มีปัญญาที่จะพิจารณาเห็นได้ ดังนั้น พระพุทธเจ้า จึงมักจะซ้อมผู้อื่น อยู่เสมอว่า เดี๋ยวนี้ยัง "ต้องเชื่อ" ท่านอยู่หรือเปล่า ผู้ที่จัดว่า ใช้ได้แล้ว คือประเภท "ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า" แล้ว
    ตามตัวอย่างเล่ม 19 หน้า 276 ข้างบนนี้ พระพุทธเจ้าท่านถามท่านสารีบุตรว่าเชื่อท่านหรือไม่ว่า.... พระสารีบุตรตอบว่า ไม่ต้องเชื่อต่อพระพุทธเจ้า (เพราะรู้แจ้งด้วยปัญญว่า เป็นจริงตามที่สอนแล้ว)
    ในเล่ม 22 หน้า 37 พระพุทธเจ้าตรัสถาม สีหเสนาบดีว่า เชื่อในผลทาน 5 ข้อที่พระพุทธเจ้าสอนหรือไม่ สีหเสนาบดีก็ตอบว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเอง 4 ข้อเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสบอกแล้ว ข้าพระองค์ย่อมเชื่อต่อพระผู้มีพระภาคในผลแห่งทาน 4 ข้อนี้ ก็หามิได้ แม้ข้าพระองค์ ก็ ทราบดีคือ ข้าพระองค์เป็นทายกเป็นทานบดี ย่อมเป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของปวงชนเป็นอีนมาก ฯลฯ ส่วน ผลทานที่จะพึงเห็นเอง ที่พระผู้มีพระภาคตรัสบอกข้าพระองค์ว่า ทายกผู้เป็นทานบดี เมื่อตายไปแล้วย่อม เข้าถึง สุคติโลกสวรรค์ ข้าพระองค์ย่อมไม่ทราบ ก็แต่ว่า ข้าพระองค์ย่อมเชื่อต่อพระผู้มีพระภาคในข้อนี้" พระผู้มีพระภาคตรัสย้ำว่า " อย่างนั้นท่านสีหเสนาบดี ๆ คือ ทายกผู้เป็นทานบดี เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์"
    ข้อถกเถียงอาจปรากฏขึ้นในตอนนี้ว่า ถ้าเช่นนั้นที่พระพุทธเจ้าสอนก็แย้งกันเองคราวหนึ่งว่า ไม่ให้เชื่ออีก คราวหนึ่งว่าให้เชื่อ แล้วจะถืออย่างไหนเป็นถูก
    เมื่อมีปัญหาเช่นนี้ ก็ต้องย้ำหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าว่า ท่านตรัสคำไหนเป็นคำนั้น ไม่เป็น อย่างอื่นฉะนั้น โดยหลักแล้วจะแย้งกันไม่ได้ ความขัดแย้งนี้เกิดจากตัวผู้อ่านไม่ทำความเข้าใจ ให้ดีต่างหาก
    เช่นในกาลามสูตร ปัญหาเดิมมีอยู่ว่า ชาวบ้านทูลมาถามว่า มีอาจารย์หลายคนมาสอน คำสอนขัดแย้งกัน ทำอย่างไรจะรู้ว่าใครถูก พระพุทธเจ้าก็บอกว่า ถ้าอย่างนั้นอย่ายึดถือ ตาม 10 ข้อนั้น ซี แล้วก็ประทาน คำตอบว่า ให้พิจารณาว่า อะไรเป็นกุศลก็ให้ปฏิบัติ อะไรเป็นอกุศล ก็ให้ทิ้งไปเสีย
    ความเชื่อ กับความยึดถือ ว่าเป็นจริงอย่างนั้น ย่อมเป็นของคนละอย่างกัน ในกาลามสูตรท่านพูดถึง ความยึดถือ ไม่ได้พูดถึง ความเชื่อไปก่อน อะไรที่ไม่รู้ ท่านก็ให้เชื่อผู้รู้ไปก่อน เมื่อรู้ได้เอง คือ เห็นจริงด้วยตนเองแล้ว คราวนี้ก็ไม่ต้องหลับเชื่อตามคนอื่นบอกต่อไปละ
    คราวนี้พูดกันถึงว่า "รู้ได้เอง" นั้นคืออย่างไร คำถามนี้ตอบได้ด้วยการเปรียบเทียบ เช่น เราได้ฟังจากพระ พุทธเจ้าว่า อริยสัจ 4 ทำให้นิพพาน เป็นต้น อริยสัจ 4 มีทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เราก็รู้ เท่าๆ กับพระพุทธเจ้าแล้ว แต่ทำไมเราจึงไม่เป็นพระอรหันต์ ? นี่ก็เพราะว่า ที่ว่า "รู้" นั้นความจริงไม่รู้ เราเพียงเชื่อต่อพระพุทธเจ้าเท่านั้นเอง ต่อเมื่อปฏิบัติตัว จนเป็นพระอรหันต์ แล้วนั่นแหละ จึงร้องอ้อ เป็นอย่างนี้ แล้วก็ไม่ต้องเชื่อต่อพระพุทธเจ้าอีกต่อไปเพราะ "รู้เสียเอง" แล้ว
    แต่ก็มีบางเรื่อง ที่เรารู้ไม่ได้ด้วยการปฏิบัติ เช่น วิบากกรรมที่กล่าวมาแล้ว เป็นต้น วิบากนั้นมีนับ ไม่ถ้วน เพราะ กรรมมีนับไม่ถ้วน ไม่มีทางที่จะทำกรรมเหล่านั้นทุกอย่างเพื่อจะรู้ผลทุกอย่างไปได้ ในเรื่องเช่นนี้ ก็จะต้องเชื่อต่อพระพุทธเจ้าผู้ทรงมีสัพพัญญุตญาณ (คือไม่รู้นั้นไม่มี)
    ธรรมบางอย่างใช้ความคิดตามธรรมดาไม่ได้ ต้องมีญาณจึงจะรู้ได้ ดูได้จาก
    เล่ม 27 หน้า 92 "บุคคลเหล่าใด ยังไม่รู้ธรรมทั้งหลาย ด้วยญาณ ทั้งปวง บุคคลเหล่านั้นแล ย่อมสงสัยใน ธรรมทั้งหลาย"
    เล่ม 29 หน้า 284 "บุคคลผู้มีความสงสัย พึงศึกษาเพื่อทางแห่งญาณ"
    เล่ม 16 หน้า 17 "พระอริยสาวกมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้โดยไม่ต้องเชื่อต่อผู้อื่นเลย"
    เล่ม 16 หน้า 127 "เว้นจากความเชื่อ ความพอใจ การฟังตามเขามา ความตรึกตามอาการ และจากการทนต่อความเพ่งด้วยทิฐิ ท่านมุสิละมีญาณ เฉพาะตัว ท่านว่า เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมี ชรา และ มรณะ ดังนี้หรือ"
    อันนี้เป็นคำตอบ สำหรับผู้ที่สงสัยในกาลามสูตรว่า ถ้าจะไม่ให้ยึดมั่นตามนั้นแล้วจะยึดมั่นได้ด้วยอะไร คือตอบว่า "ด้วยญาณ"
    คราวนี้ก็ต้องย้อมกลับมาหานักปราชย์สมัยนี้ ที่ชอบมาบอกว่า ไม่ให้เชื่อ นรก สวรรค์ เทวดาเพราะเป็นของ เหลวไหล (ตามความคิดของเรา) นั้นน่ะ ตัวเขามีญาณอะไรหรือ จึงรู้ว่า เหลวไหล จะเป็นความเชื่อของตัว เอง การตรึกตามอาการ ฯลฯ เสียมากกว่ากระมัง ?
    เมื่อได้อธิบายมาถึงแค่นี้แล้ว ก็ควรจะย้อนกลับไปสรุป เรื่องผลของการทำบุญทำทานได้ว่า ความจริงเป็น อย่างไรนั้นเป็นอจินไตย เอาเหตุผล มาเถียงกันไม่ได้ เพราะฉะนั้น เราก็ต้องเชื่อต่อ พระสัพพัญญุตญาณของพระพุทธเจ้า ที่ท่านทรงนำมากล่าวไว้นั่นแหละ จนกว่าเราจะมีญาณเท่ากับพระองค์ท่าน
    กลับมาถึงปัญหา ทำทานที่เป็นสาธารณะ จะเห็นว่า ทำไปตั้งล้านบาท สู้ถวายอาหารพระโสดาบันมื้อเดียว ก็ไม่ได้ ตัวอย่างอีกตัวอย่างหนึ่งที่เป็นเครื่องยืนยัน ดูได้จากเรื่องของ อังกูรพานิชกับอินทกมานพ ในเล่ม 26 หน้า 184 ขอสรุปโดยย่อว่า
    อังกูรพานิชทำทาน คือ ให้อาหารแก่หมู่ชนวันละ 60,000 เล่ม เกวียนเป็นนิตย์ ใช้พ่อครัว 3,000 คน มานพ 60,0000 คน ผ่าฟืน หญิง 60,000 คน บดเครื่องเทศ อีก 16,000 คน ถือทัพพีคอยรับใช้ ทำดังนี้หลายปี ตายไปแล้วไปเป็นเทวดาอยู่ในดาวดึงส์ ส่วนอินทกมานพถวายอาหาร 1 ทัพพีแก่ท่านพระอนุรุทธ (ซึ่งเป็นพระอรหันต์) ตายไปแล้วก็เกิดในดาวดึงส์เหมือนกัน แถมรุ่งเรืองกว่า ด้วยประการทั้งปวง เสียอีกด้วย
    เมื่อพระพุทธเจ้า เสด็จขึ้นไป อินทกเทพบุตร ได้นั่งเฝ้าใกล้ ๆ ส่วน อังกูรเทพบุตร ต้องถอยไป 12 โยชน์ (หลีกทางให้เทวดาอื่นที่ รุ่งเรืองกว่า) พระพุทธเจ้าทรงตรัสถาม สาเหตุอังกูรเทพบุตรก็ทูลตอบว่า"จะทรงประสงค์อะไร ด้วยทานของข้าพระองค์นั้น อันว่างเปล่าจาก ทักขิเณยบุคคล อินทกเทพบุตรนี้ ให้ทานนิดหน่อย รุ่งเรืองกว่าข้าพระองค์ ดุจพระจันทร์ในหมู่ดาวฉะนั้น ฯ"
    ในสมัยปัจจุบัน มีนักปราชญ์ ที่หลักแหลม แต่เป็นนักค้านตัวยงอยู่มาก นักปราชญ์ เช่นนั้นอาจจะค้านว่า ไหนว่า พระพุทธเจ้าทรงมีพระสัพพัญญุตญาณ รู้ทุกอย่างไงล่ะ เมื่อรู้แล้ว ทำไมต้องถามด้วย ? ก็แสดงว่า ไม่รู้จริง เก๊ทั้งเพนะซี
    คำตอบมีอยู่ว่า พระพุทธเจ้าทรงทราบทุกอย่าง ทราบแล้ว ตรัสถามก็มี ถ้าตรัสถาม ก็จะถามในกาลที่เห็นสมควร และ เพื่อประโยชน์ 2 อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ เพื่อบัญญัติ (ห้าม) หรือเพื่อแสดงธรรม (อาศัย เรื่องนั้นเป็นเหตุ) คำตอบนี้นักปราชญ์คนไหนอยากทราบว่า อยู่ตรงไหนในพระไตรปิฎก ก็ต้องลงโทษ ให้ไปค้นเองเสียบ้าง
    บางท่านอาจจะกล่าวร้ายว่า พวกพระต้องการ ให้ทำบุญกับวัด จึงโมเมใส่เข้ามา ว่าเป็นอย่างนี้ ถ้าเช่นนั้น ก็จะต้องชี้ว่า การทำทานด้วยอามิสทานนั้น มีวิหารทาน (สร้างวัดหรือส่วนของวัด) เป็นสูงสุด
    แต่ที่สูงไปกว่าวิหารทาน กลับไม่ต้องใช้อามิส คือ ไม่ต้องใช้สตางค์เลยสักเก๊เดียว
    ปรากฏว่า ยายแก่คร่ำครึที่ไปรักษาศีลที่วัด แกกลับได้บุญมากกว่าเศรษฐีสร้างโรงพยาบาลตั้ง 10 ล้านเสีย อีก (เลยไม่รู้ว่า ใครคร่ำครึ กันแน่) ข้อนี้ ตรงกับที่พระพุทธเจ้า ท่านตรัสไว้ว่า ธรรมทาน ดีกว่า อามิสทาน อย่างที่เราพูดกันในภาษาธรรมดาว่า ปฏิบัติธรรม ดีกว่าเอาอะไรต่ออะไร ไปถวายพระตั้งเยอะนั่นเอง
    อย่างไรก็ดี การปฏิบัติธรรม เช่น การรักษาศีล เป็นต้น ควรจะเป็นของง่าย แต่กลับเป็นของยากยิ่ง สำหรับปุถุชนทุกชั้น จึงมักจะเลือเอาทางที่ถูกกว่า คือ อามิสทานเพราะทำง่ายกว่า และในทางจิตวิทยา มักจะคิด ว่าทำมาก ๆ แล้วได้บุญเยอะ นั่นก็เป็นเรื่องของแต่ละบุคคล
    ความจริงแล้ว การทำบุญในด้านจิตใจ เป็นการฝึกให้มีความเสียสละ ตัดความโลภ ความเสียดาย ใครจะทำบุญอะไรที่ไหนก็ทำเข้าไป โดยไม่ต้องห่วงว่า ได้มากได้น้อย แต่ถ้าจะเอาคำตอบกันจริงๆ แล้วก็คัดได้ มาอย่างที่แสดงไว้นี่แหละ
    ที่มา http://www.firstbuddha.com/Real/oiy7.html
     

แชร์หน้านี้

Loading...