ทำความเพียรอย่างถึงที่สุด: วิธีหนึ่งที่ครูบาอาจารย์นิยมปฏิบัติกัน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย sss12, 2 ตุลาคม 2010.

  1. sss12

    sss12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2010
    โพสต์:
    288
    ค่าพลัง:
    +1,081
    -- เรื่องที่ 1--


    ผู้เจริญวิปัสสนา เมื่อได้สร้าง อินทรีย์แก่กล้า
    ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา แก่กล้า
    จิตใจฝักใฝ่ในธรรมะ พร้อมที่จะเสียสละชีวิตเพื่อธรรมะ

    พระบรมศาสดาและพระมหาโมคคัลลานะ
    ท่านนั่งกรรมฐาน โดยอธิษฐานจิตว่า

    “แม้หนัง เอ็น กระดูก เท่านั้นจักเหลืออยู่
    เนื้อและเลือดในสรีระนี้จักเหือดแห้งไปก็ตามที
    ข้าพเจ้าจะไม่ลุกขึ้นหรือแม้แต่ไม่ขยับ
    จนกว่าจะรู้แจ้งเห็นจริงในทุกข์”


    แง่คิด

    ข้อปฏิบัติที่สำคัญที่สุด คือ ไม่เปลี่ยนอิริยาบถ ไม่ขยับ
    ไม่เชื่อฟังกิเลสตัณหา พยายามเข้าถึงหรือสัมผัส “เวทนา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน


    เมื่อเกิดสมาธิ ไม่มียินร้ายต่อทุกขเวทนา
    และเมื่อดับตัณหาอุปาทานได้
    จิต กับเวทนาก็แยกออกจากกัน เหมือนน้ำกับน้ำมัน

    รู้เห็นตามความเป็นจริงของเวทนา
    ถึงจุดนี้ทุกข์ก็จะดับไป ตามที่ท่านว่า เห็นทุกข์ไม่มีทุกข์
    นี่เป็นวิธีเอาจริงเอาจังที่เหมาะกับบางคนเท่านั้น

    ธรรมชาติของเวทนา
    ความรู้สึก คือเวทนามันละเอียด เปลี่ยนเร็ว บางครั้งก็มีมาก
    บางครั้งก็มีน้อย ทนยาก หลงง่าย นี่เป็นปัญหาใหญ่อย่างหนึ่ง

    ความรู้สึกนี้กำหนดยาก เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
    โดยมากก็กำหนดยากจริงๆ เพราะเวทนาเป็นนามธรร

    ไม่มีตัวตน ไม่เหมือนกายหรือลมหายใจ
    จะกำหนดเมื่อไรก็มีอยู่ กำหนดได้ทุกเวลา

    การกำหนดเวทนาในอานาปานสติ เราเอาสุขเวทนาทางใจมา
    เป็นตัวกำหนด แต่จะกำหนดทุกขเวทนา หรือสุขเวทนาก็ตาม
    เมื่อเราสามารถควบคุมเวทนาได้ เราก็ควบคุมกิเลสตัณหาได้
    เราก็ไม่เชื่อฟังกิเลสตัณหาอีกต่อไป

    คัดลอกบางส่วนจาก อานาปานสติ : วิถีแห่งความสุข ๒
    อานาปานสติ ขั้นที่ ๑-๘ โดย พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก



    --เรื่องที่ 2--

    สมัยพุทธกาล ยังภิกษุอีกรูปหนึ่ง ชื่อ ปีติมัลลเถระ ตอนที่เป็นคฤหัสถ์ ท่านถือธงมาเกาะลังกาถึง ๓รัชกาล เข้าเฝ้าพระราชาแล้วได้รับพระราชานุเคราะห์ วันหนึ่ง ท่านเดินทางไปที่ประตูศาลาซึ่งมีที่นั่งปูด้วยเสื่อลำแพน ได้ฟังธรรมที่มีผู้แสดงในที่นั้น เป็นถ้อยคำของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปไม่ใช่ของท่าน ท่านจงละรูปนั้นเสีย รูปนั้นท่านละได้แล้ว จักมีเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขตลอดกาลนาน"


    ท่านทรงจำพระบาลีนั้น เกิดแรงบันดาลใจที่จะปฏิบัติธรรม จึงไปยังมหาวิหารเพื่อขอบรรพชาอุปสมบท แล้วท่องมาติกาได้อย่างคล่องแคล่ว ท่านพาภิกษุ ๓๐รูปไปยังลานตำบลควปรปาลี เพื่อบำเพ็ญสมณธรรม ท่านได้เอาชีวิตเป็นเดิมพัน เมื่อเท้าเดินไม่ไหวก็คุกเข่าเดินจงกรมตลอดทั้งคืน

    คืนนั้น มีนายพรานคนหนึ่งเห็นท่าน คิดว่าเป็นเนื้อ พุ่งหอกออกไป หอกได้ปักทะลุอก ครั้นนายพรานเห็นว่าเป็นพระ ก็ตกใจรีบเข้าไปหา พระเถระตั้งสติใจไม่เคลื่อนจากฐานที่ตั้งของใจ ท่านขอให้นายพรานชักหอกออก แล้วเอาเกลียวหญ้าอุดปากแผลไว้ แม้เลือดจะไหลไม่หยุด แต่สภาวะใจของท่านยังคงสงบนิ่งไม่กระเพื่อม ท่านตั้งใจมั่นว่าจะเอาชีวิตเป็นเดิมพัน แม้ตายจะไม่ทิ้งธรรม จึงให้นายพรานจับตัวท่านนั่งบนหลังแผ่นหิน แล้วทำสมาธิเจริญวิปัสสนาจนได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ ณ ที่ตรงนั้น

    จะเห็นได้ว่า นักปฏิบัติธรรมต้องมีใจมุ่งมั่นในการบำเพ็ญเพียร แม้ประสบทุกข์ก็ไม่ทิ้งธรรม ยอมเอาชีวิตเป็นเดิมพัน โดยไม่มีข้อแม้ ข้ออ้าง หรือเงื่อนไขใดๆทั้งสิ้น เพราะตระหนักดีว่า ช่วงเวลาที่เกิดมาเป็นมนุษย์นั้นมีค่ามาก ควรใช้เวลาที่เหลือน้อยนิดนี้ ปรารภความเพียร เพื่อให้หลุดพ้นจากกองทุกข์ให้ได้ โดยไม่ไปกังวลกับสิ่งภายนอกตัว นักปฏิบัติธรรมที่แท้จริง ต้องมีหัวใจหนักแน่นเช่นนี้ ดังตัวอย่างที่ได้นำมาเป็นข้อคิด ฉะนั้น ขอให้พวกเราตั้งใจปฏิบัติธรรมกันให้เต็มที่ ทำให้สม่ำเสมอ ให้เข้าถึงพระธรรมกายให้ได้ทุกๆคน



    --เรื่องที่ 3--
    หลวงปุ่สงฆ์ เป็นนามที่ ชาวกรุงเทพมหานคร เรียกชื่อท่าน ด้วยความ เคารพ เลื่อมใส ท่านเป็นพระคณาจารย์ สมถวิปัสสนา ที่ชาวจังหวัดชุมพร และชาวกรุงเทพๆ ภูมิใจเป็น หนักหนา

    หลวงปู่ท่่าน มีความเมตตาปรานีแก่ทุกๆคน ไม่เลือกชั้นวรรณะ ถ้าแม้บุคคล ใดไปขอพรจากท่านแล้ว จะได้รับความสมหวังอย่างมั่นคง ด้วยทุกคนเชื่อว่า ท่านหลวงปุ่สงฆ์ มีวาจาศักดิ์สิทธิ์ ยิ่งนัก

    หลวงปุ่สงฆ์ จนฺทสโร ท่่านมีความชำนาญในเรื่องสมถกรรมฐานและวิปัสสนา กรรมฐานมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สมัยก่อนโน้น ทางภาคใต้ นับตั้งแต่จังหวัดชุมพรลง ไป ครูบาอาจารย์ต่างๆ มักจะสนใจปฎิบัติสมถกรรมฐานแล้ว เดินจิตเล่นฤทธิ์ กันเสีย โดยส่วนมาก

    สำนักเรียนวิชาต่างๆ ภายใน(จิต) สำนักเขาอ้อ มีชื่อเสียงมากในเรื่องนี้ แต่ หลวงปุ่สงฆ์ ก็ดี หลวงปุ่หมุนก็ดี ตามที่มีชื่อเสียงโด่งดังอยุ่ในปัจจุบันนี้ ท่า่นสามารถหันเข้ามาดำเนินจิตสู่วิปัสสนากรรมฐานเสีย เพราะเป็นหนทางออกจากความยึดมั่น ในอำนาจจิต อำนาจฌานได้อย่างสิ้นเชิง เป็นความจริงดังนี้

    ต่อมาหลวงปุ่สงฆ์ ท่านเกิดสติปัญญา มองเห็นภัยในวัฎสงสาร ที่มันเคย แปรปรวน หมุนเวียน ไม่รู้จบ ท่านเกิดเบื่อหน่าย คิดดำเนินชีวิตในป่าดงพงไำพร ทำจิต เร่งบำเพ็ญเพียร เพื่อความพ้นทุกข์

    การเดินธุดงคกรรมฐานของครูบาอาจารย์นั้น มิใช่ว่าจะเดินไปในที่แห่งหนึ่ง แล้วไปในที่แห่งหนึ่ง พึงรีบเดินเืพื่อให้ถึงเร็วๆนั้น หาไม่ แต่การเดินธุดงค์ก็เหือนการ เดินแบบปกติ หรือเดินจงกรมนั่นเอง

    ท่านเดินอย่างมีสติ .... คือ ขณะที่ก้าวเดินไปนั้น ท่านกำหนดคำบริกรรม หรือพิจารณาธรรมไปเรื่อยๆ โดยไม่นับก้าวแต่อย่างใด

    ท่านเดินด้วยสติ แม้อะไรจะเกิดขึ้นมาในช่วงนั้น ท่านก็รู้ชัด ไม่มีอาการของ จิตแส่ส่ายไปมา เพราะสติเป็นกำลังอันสำคัญขณะทำความเพียร เช่นอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน

    หลวงปู่สงฆ์ จนฺทสโร ท่านได้อาศัยชีวิตอยุ่ในป่าดงเป็นเวลาหลายปี อาศัยโคน ไม้ ถ้ำผาต่างๆ เป็นที่พักผ่อน ไม่มีความอาลัยในชีวิตว่าจะสุข หรือทุกข์ ท่่านมุ่งปฎิบัติ ธรรม เพื่อความรู้ธรรม

    ๗ ปี แห่งการทรมานกิเลส ภายในจิตใจของท่่าน ซึ่งไม่เคยออกจากป่าสู่เมือง เลย ทำให้สภาพจิตสดใสแจ่มแจ้งในธรรมะ


    หลวงปุ่สงฆ์ จนฺทสโร ท่่านเป็นพระภิกษุสงฆ์ ที่มีความอดทน ค้นคว้า สัจธรรม ความเป็นจริง ของพระพุทธเจ้า ด้วยชีวิตเป็นเดิมพัน ๑๐ พรรษา ท่ามกลางป่าดง ท่านอาศัยภูเขาลำเนาไพรมาโดยตลอด การบิณฑบาต ท่านโคจรไปในหมุ่บ้านชาวป่า ได้บ้างอดบ้าง ตามอัตภาพ จนมีความ พอดีแก่จิตใจ ปล่อยวางของหนัก ได้หมดสิ้นแล้วอย่างมั่นใจ

    ท่านจึงออกจากป่า สู่วัดร้างแห่งหนึ่ง ท่่านได้จำพรรษาก่อสร้างวัดร้างแห่งนั้น จนเจริญรุ่งเรือง ในปัจจุบัน โดยขนานนามว่า วัดเ้จ้าฟ้าศาลาลอย อ.เมือง จ.ชุมพร

    ข้อมูลจาก: ��ǧ���ʧ�� ��ڷ���



    -- เรื่องที่ 4 --

    การปฏิบัติภาวนาในช่วงที่อยู่วัดเลียบแม้จะก้าวหน้าไปโดยลำดับแต่ หลวงปู่มั่น ตระหนักว่า “ยังไปได้ไม่ไกลเท่าไหร่” ท่านจึงได้ออกธุดงค์เข้าป่าเพียงลำพังองค์เดียวไปทางนครราชสีมาเข้าดงพญาเย็น แสวงวิเวกไปเรื่อยๆ จนถึงบริเวณน้ำตกสาริกา จังหวัดนครนายกเป็นป่าทึบเต็มไปด้วยสิงสาราสัตว์ เป็นสถานที่น่าประหลาดสำหรับพระธุดงค์ หลวงปู่มุ่งหน้าสู่ถ้ำไผ่ขวาง ชาวบ้านได้ทัดทานไว้เนื่องจากมีพระธุดงค์ไปมรณภาพที่ถ้ำแห่งนั้นถึง ๖ องค์แล้ว แต่หลวงปู่ตอบชาวบ้านว่า “ขอให้อาตมาเป็นองค์ที่ ๗ ก็แล้วกัน”

    หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านมีความเด็ดเดี่ยวปฏิบัติธรรมมุ่งมั่นไม่กลัวตาย หากแต่กลัวกิเลสที่ย่ำยีจิตใจให้รุ่มร้อนมากกว่า ถ้ำแห่งนั้นเป็นถ้ำที่ไม่ใหญ่โตนัก มีต้นไม้ขึ้นปกคลุมหนาแน่น บรรยากาศน่าสะพรึงกลัว ยิ่งตอนพลบค่ำยิ่งวังเวง แต่หลวงปู่ท่านเคยชินกับสภาพเช่นนั้นมากแล้ว จึงไม่มีอะไรทำให้จิตใจของท่านหวั่นไหวได้หลังจากจัดแจงสถานที่และเดินดูรอบๆบริเวณแล้ว พอค่ำลงสนิทท่านก็เริ่มบำเพ็ญภาวนาโดยนั่งสมาธิตลอดคืน ปรากฏว่าสว่างไสวไปหมดนับเป็นนิมิตที่ดียิ่ง

    รุ่งขึ้นเช้าหลวงปู่ก็ออกบิณฑบาตที่หมู่บ้านไร่นั้น หลังจากฉันแล้ว ท่านก็พักกลางวันไปสักหนึ่งชั่วโมง พอลุกขึ้นรู้สึกตัวหนักไปหมด หนำซ้ำเกิดท้องร่วงอย่างแรง เมื่อสังเกตดูอุจจาระพบว่าอาหารที่ฉันเข้าไปไม่ย่อยเลย ข้าวสุกยังเป็นเม็ด อาหารที่ทานเข้าไปยังอยู่ในสภาพเดิม ท่านจึงเข้าใจว่าพระองค์ก่อนๆ ที่มรณภาพไปก็คงเป็นเพราะเหตุนี้เองได้รำพึงกับตัวเองว่า “เราก็เห็นจะตายแน่เหมือนพระเหล่านั้น”

    หลวงปู่ได้หาที่น่าหวาดเสียวที่สุด เห็นว่าริมปากเหวเหมาะที่สุดที่จะนั่งบำเพ็ญเพียร ท่านตั้งใจแน่วแน่ว่า “หากจะตายขอตายตรงนี้ ขอให้ร่างกายหล่นลงไปในเหวนี้จะได้ไม่ต้องเป็นที่วุ่นวายเดือดร้อนแก่ใครๆ”

    ตั้งแต่บัดนั้นหลวงปู่ได้ตั้งปฏิธานแน่วแน่ว่า “ถ้าไม่รู้แจ้ง เห็นจริงก็จะไม่ลุกจากที่นั่งนี้เป็นอันขาด” หลวงปู่ได้นั่งสมาธิ ณ จุดนั้นติดต่อกันเป็นเวลา ๓ วัน ๓ คืนโดยไม่ลืมตาเลย ท่านเริ่มกำหนดจิตต่อจากที่เคยดำเนินมาครั้งหลังสุด ได้เกิดการสว่างไสวดุจกลางวัน ความผ่องใสของจิตสามารถเห็นทุกสิ่งทุกอย่างตามต้องการ แม้จะกำหนดดูเม็ดทรายก็เห็นอย่างชัดเจนทุกเม็ด แม้จะพิจารณาทุกอย่างที่ผ่านมาก็แจ้งประจักษ์ขึ้นมาในปัจจุบันหมด

    ในขณะที่จิตของท่านดำเนินไปอย่างได้ผล ก็ปรากฏเห็นเป็นลูกสุนัขกำลังกินนมแม่ ท่านได้พิจารณาไคร่ครวญดูว่าทำไมจึงมีนิมิตมาปน ทั้งๆ ที่จิตของท่านเลยขั้นนิมิตแล้ว เมื่อกำหนดจิตพิจารณาก็เกิดญาณรู้ขึ้นว่า “ลูกสุนัขนั้นก็คือตัวเราเอง เราเคยเกิดเป็นสุนัขอยู่ตรงนี้มานับอัตภาพไม่ถ้วน เวียนเกิดเวียนตายเป็นสุนัขหลายชาติ”

    เมื่อพิจารณาโดยละเอียดได้ความว่า ภพ คือความยินดีในอัตภาพของตน สุนัขก็ยินดีในอัตภาพของมัน จึงต้องวนเวียนอยู่ในภพของมันตลอดไป
    เมื่อหลวงปู่ทราบความเป็นไปในอดีตชาติของท่านก็เกิดความสลดจิตเป็นอย่างมาก ความสว่างไสวในจิตของท่านยังคงเจิดจ้าอยู่ แต่ทำไมยังมีการห่วงหน้าพะวงหลังอยู่ ไม่สามารถพิจารณาธรรมให้ยิ่งขึ้นไปได้เมื่อตรวจสอบดูก็พบความจริงที่ท่านไม่เคยทราบมาก่อน นั่นคือ “การปรารถนาพระสัมมาสัมโพธิญาณ” ของท่าน ซึ่งมีในสมัยพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันนี้เอง แล้วเมื่อไรจะได้ถึงคิวเป็นพระพุทธเจ้าตามความปรารถนา”...

    หลวงปู่ได้พิจารณาถึงภพชาติในอดีต ปรากฏว่า ท่านเคยมีตำแหน่งเสนาบดีเมืองกุรุรัฐ (กรุงเดลฮีในปัจจุบัน) พระพุทธเจ้าได้ไปแสดงธรรมโปรดชาวกุรุรัฐ พระองค์ทรงแสดงมหาสติปัฏฐานสูตร หลวงปู่ซึ่งเป็นเสนาบดีในชาตินั้นก็ได้เจริญสติปัฏฐาน แล้วยกจิตขึ้นอธิษฐานว่า “ขอให้ข้าพเจ้าได้เป็นพระพุทธเจ้า เช่นพระองค์เถิด” ได้ความว่าหลวงปู่ได้ปรารภโพธิญาณมาตั้งแต่บัดนั้น ซึ่งเป็นเหตุให้ท่านต้องชะงักในการพิจารณาอริยสัจเพื่อทำจิตให้หลุดพ้นได้ ต้องสร้างบารมีเป็นพระโพธิสัตว์ไปอีกชั่วกัปชั่วกัลป์ ถ้าไม่ปล่อยวางความปรารถนานั้น

    หลังจากได้ใคร่ครวญสิ่งต่างๆ แล้ว หลวงปู่รู้สึกสลดใจที่เคยเกิดเป็นสุนัขนับอัตภาพไม่ถ้วน และยังต้องเวียนว่ายตายเกิดเพื่อสร้างบารมีไปอีกนานแสนนาน ท่านจึงได้หยุดการปรารถนาพระโพธิญาณ แล้วตั้งใจเพื่อการบรรลุธรรมในชาติปัจจุบัน


    และในปี พ.ศ. ๒๔๘๑ หลวงปู่ได้นิมิตว่า “ได้เดินไปตามทางซึ่งโล่งเตียน สะอาด มีพระภิกษุสามเณรเดินตามไปเป็นจำนวนมาก ดูเป็นแถวยาวเหยียด เมื่อเดินไป เดินไปปรากฏว่าพระภิกษุ สามเณรเหล่านั้น ทั้งพระเถระผู้ใหญ่และผู้น้อย ต่างก็เดินไปคนละทาง บ้างก็แยกไปทางซ้าย บ้างก็แยกไปทางขวา บ้างก็ล้ำหน้าเดินไปอย่างไม่เกรงใจ ดูพลุกพล่านไป”

    หลวงปู่ได้อธิบายนิมิตของท่านว่า “ในการต่อไปข้างหน้า จะมีผู้นิยมทำกรรมฐานภาวนากันมากขึ้น กับจะมีการตั้งตนเป็นอาจารย์สอนกรรมฐานภาวนากันมากจะมีทั้งมีคุณภาพและไม่มีคุณภาพ คือต่างก็จะสอนไปตามความเข้าใจของตน จนถึงกับนำเอาการตั้งตนเป็นอาจารย์สอนกรรมฐานภาวนามาบังหน้า แล้วก็ดำเนินการไม่บริสุทธิ์ด้วยประการต่างๆ ผลที่เกิดขึ้นจึงไม่ดีเท่าที่ควร” “แต่บางพวกก็ดี เพราะยังเดินตามเราอยู่ นี่มิได้หมายความว่าเราเป็นผู้วิเศษ แต่การดำเนินการของเรานั้น ได้ทำไปโดยความบริสุทธิ์ใจมุ่งเพื่อความพ้นทุกข์ โดยปฏิทานี้ ก็ทำให้ได้ผลทั้งตนเองและศิษยานุศิษย์ตลอดมา การที่ต่างคนต่างตั้งตนเป็นอาจารย์นั้น ย่อมทำให้เสียผลเพราะทำให้เกิดความลังเลแก่ผู้จะเข้ามาเรียนกรรมฐานภาวนาว่าจะถือเอาอาจารย์ไหนจึงจะถูก”


    คัดลอกบางส่วนจาก: หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต - วิกิพีเดีย[/FONT]
     
  2. sss12

    sss12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2010
    โพสต์:
    288
    ค่าพลัง:
    +1,081
    -- เรื่องที่ 5 --

    หลวงปู่สิม เรื่อง ความเพียร

    พระธรรมเทศนา กัณฑ์ที่ 5 3 มิถุนายน 2526


    ... ทำ ทำจนตลอดรอดฝั่งคือว่า เอาจริงเอาจังในใจ แม้พุทโธคำเดียวก็ได้สำเร็จมรรคผลเห็นแจ้งพระนิพพาน เพราะอะไรเพราะองค์นั้น ผู้นั้นทำจริง ๆ ปฏิบัติจริง ๆ ภาวนาจริง ๆ ตั้งจิตตั้งใจจริง ๆ ตั้งเนื้อตัวจริงๆ เอาจริงเอาจังทุกอย่าง เมื่อทำจริง ๆ ปฏิบัติจริง ๆ ของจริงมันก็ปรากฏการณ์ขึ้นมา ในที่ความจริงนั่นแหละ ไม่ได้อยู่ในที่อื่น มันอยู่ที่จิต ที่ใจของแต่ละบุคคล ไม่ต้องไปมัวสงสัยวิตกวิจารอย่างนั้นอย่างนี้ ขอให้ทำจริงปฏิบัติจริง มันไม่จริงอย่าไปถอยความเพียร

    ดู พระสาวกในครั้งพุทธกาลท่านทำจริง ท่านเดินจงกรมอย่างเดียว เอา

    จนได้สำเร็จมรรคผล เห็นแจ้งพระนิพพาน ท่านทำอย่างไร คำว่าจริง ทีนี้

    ท่านนั่งภาวนามันก็ง่วงเหงาหาวนอนเหมือนเราท่านทั้งหลายนี่แหละ

    ท่านก็ไม่ยอมนั่ง ถ้านั่งมันสัปหงก ท่านไม่นั่ง ท่านเดิน

    จงกรม คำว่าเดินจงกรมก็คือว่าเดินก้าวไปก้าวมา ในทางในเส้นทางจงกรมที่

    ท่านปัดกวาดไว้นั้น ไม่ยอดหยุดไม่ยอมนั่ง ถ้านั่งมันคอยหลับตา

    หลับตาก็ยิ่งร้ายใหญ่ เดินเอาอย่างเดียว เดินจนไม่รู้ว่ามันนานเท่าไรล่ะ

    เดินจนหนังเท้าแตกเลือดไหล เดินไม่ได้ แล้วเราท่านทั้งหลายผู้นั่งภาวนาอยู่

    นี่เดินจงเท้าแตกเลือดไหลเดินไม่ได้ มีหรือไม่เห็นมี ไปทางไหนก็สวมรองเท้า

    กลัวตีนแตก เจ็บนิด ๆ หน่อย ๆก็เอาไม่ไหวแล้ว ตายแล้วทำไมไม่ตายตั้งแต่

    ยังไม่เกิดล่ะ นั่นแหละคือว่าใจท้อถอย ใจเกียจคร้าน ไม่ได้ ดูพระแต่ก่อนท่าน

    เดินจนกระทั่งหนังเท้าแตกเดินไม่ได้ เมื่อเดินไม่ได้ท่านก็ยังไม่ถอยความเพียร

    ถ้าเราสมัยนี้ถ้าถึงขนาด นั้นละก็ นอนแผ่เท่านั้นแหละ ไม่เดินอีกต่อไป ไม่

    ภาวนาอีกต่อไป แต่ท่านไม่ยอม เมื่อเดินไม่ได้เข่ายันมี มือยังมี คลานเอา

    ท่านว่าอย่างนั้น ทีนี้ก็คลานเดินจงกรมไป


    ความเพียร ไม่ใช่เพียงคำพูดวาจาที่เปล่งออกมา มันเป็นการกระทำทั้งหมดนั่นแหละ ดูที่ท่านทำจนกระทั่งถึงขั้นนอนจงกรมจนได้สำเร็จเป็นพระโสดา เป็นพระสกิทาคา เป็นพระอนาคา เป็นถึงพระอรหันตา ในทางจงกรมนั่นแหละในจิตที่ไม่หวั่นไหวพรั่นพรึง ไม่กลัวทุกข์ไม่กลัวตายไม่กลัวเจ็บ มันจะเจ็บก็เป็นเรื่องของธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ร่างกาย สังขารเจ็บ จิตท่านมีความเพียร จิตท่านมีความขยันหมั่นเพียร ไม่กลัวอะไรทั้งหมดละ มันจะไม่สำเร็จนั้นไม่มี

    พุทโธในใจ หลงใหลทำไม ไม่ต้องหลง ไม่ต้องลืม นั่งก็พุทโธในใจ นอนก็

    พุทโธในใจยืนก็พุทโธในใจ เดินไปไหนมาไหนก็พุทโธในใจ


    กิเลสโลเลละให้หมด โลเลทางตา โลเลทางหู โลเลทางจมูก

    ทางกลิ่น โลเลในอาหารการกิน เลิกละมันให้หมด กายวาจาจิต ให้มันเต็มไปด้วยความหมั่นความ

    ขยันขันแข็ง ความสามารถอาจหาญ ไม่ท้อแท้อ่อนแอในหัวใจ เรียกว่าเป็นคนใจดีใจงาม ใจเฉลียว ฉลาดสามารถอาจหาญ ไม่เป็นคนใจเน่า คนใจเน่าใจเหม็นไปอยู่ที่ไหนก็เน่าที่นั่นเหม็นที่นั่น

    ศีลสมาธิปัญญาวิชาวิมุติไม่ทำให้มันเกิดมีขึ้น มีแต่เรื่องเน่าเหม็นเรื่องโมโหโทโสฟุ้งซ่านรำคาญ ไม่ เลิกไม่ละความโกรธ ไม่เลิกไม่ละความโลภ โลภจิตเท่าแผ่นดินไม่เห็น เลิกละให้หมดนั่นแหละ จึงให้ ชื่อว่า "เพียร" เพียรละกิเลสมีมากน้อยเท่าไรกิเลสหยาบก็เพียรละให้หมด กิเลสอย่างกลางก็เพียรละให้หมด กิเลสอย่างละเอียดก็เพียรละให้มันหมด ไม่หมดอย่าไปถอยความเพียร ตั้งใจเพียรลงไปอย่างนั้น อยู่ตลอดเวลา

    เมื่อมีความเพียรเต็มที่ได้เมื่อใดเวลาใด มันก็รู้แจ้งรู้จริงขึ้นมาในหัวใจที่มีความเพียรนั่นแหละ ไม่ใช่มือเท้าร่างกายมันมีความเพียร จิตนั่นมันมีความเพียร จิตมันมีความสามารถอาจหาญ จิตมันไม่ท้อแท้ อ่อนแอ จิตมันมีสติสัมปชัญญะ มีสติในที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่อ เมื่อจิตมันมีสติ มีสมาธิ
    มีปัญญา มีญาณอันวิเศษเกิดขึ้นในจิตใจของผู้มีความเพียร มันก็รู้ได้เข้าใจ มันจะไปรู้ที่ไหน ก็รู้ที่กายวาจาจิต รู้ความขี้เกียจขี้คร้าน แล้วก็ละทิ้งให้มันหมดไม่ต้องมายึดหน้าถือตา ตัวกูของกู ตัวข้าของข้า ข้าเป็นอะไร ข้าเป็นนั้นข้าเป็นนี้ เป็นอะไรมันก็เป็นไปสู่ความแก่ความชรา เป็นไปสู่ความเจ็บ
    ข้ได้ป่วย เป็นไปสู่ความตายเหมือนกัน ตายแล้วมันมีวิเศษวิโสอะไร ยังไม่ตายมันวิเศษวิโสอะไร

    ฉะนั้น พุทธภาษิตที่พระองค์ทรงตรัสไว้ว่า วิริเยน ทุกฺข มจฺเจติ บุคคลจะล่วงทุกข์ไปได้? เพราะความเพียร พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าก็เพราะความเพียร พระอริยสงฆ์ สาวกเจ้าทั้งหลาย ท่านได้บรรลุมรรคผลเห็นแจ้งพระนิพพาน ท่านก็มีความเพียร ความขี้เกียจขี้คร้านมักง่าย ท่านละทิ้งปล่อยทิ้งตัดทิ้ง เอามันเด็ดขาดลงไปความเพียรมันก็เกิดขึ้น เต็มที่ ไม่ว่ากิจกรรมการงานใด ๆ ภายนอกภายใน เมื่อมีความเพียรก็ทำได้ปฏิบัติได้ ทุกอย่างไป
    ...

    คัดลอกบางส่วนจาก:หลวงปู่สิม เรื่อง ความเพียร ต่อ
     
  3. sss12

    sss12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2010
    โพสต์:
    288
    ค่าพลัง:
    +1,081
    -- เรื่องที่ 6 --

    พ้นทุกข์ด้วยความเพียรชอบ
    โดยพระโพธิธรรมาจารย์เถร (หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ)
    วัดป่าเขาน้อย อ. เมือง จ. บุรีรัมย์

    ...เราทั้งหลาย ควรให้ความสำคัญ ในการภาวนา อบรมตัวของเราเองว่า เป็นกิจที่เราควรจะเอาใจใส่ อย่ามองดูดาย สักแต่ว่าทำ เมื่อเราทำเล่นๆ ความรู้ปรากฏออกมาก็เป็นของไม่แน่นอน ไม่จริงจัง ถ้าเราทำอย่างจริงจัง ตั้งใจเพื่อให้รู้ในสิ่งที่ยังไม่รู้ เพื่อให้เห็นในธรรมที่เรายังไม่เห็น เพื่อให้ถึงในธรรมที่เรายังไม่ถึง ถ้าเราไม่ลดละความเพียรพยายาม ย่อมมีผลปรากฏตอบแทนในตัวเรา ได้แจ้งประจักษ์ สัมผัสในธรรมนั้นๆ ให้ปรากฏขึ้นในตัวของเรา ไม่ต้องสงสัย ไม่มีใครตั้งแต่เกิดมาแล้ว ก็ได้รู้ธรรม เห็นธรรม แล้วจึงปฏิบัติ ทุกๆ คน ล้วนแต่มาจากความไม่รู้ทั้งนั้น เกิดมาล้วนแต่มีความไม่รู้ทุกคน ที่มีความรู้ ความฉลาด ล้วนแต่เรามาฝึกมาอบรม ได้สัมผัสจากสิ่งที่มีอยู่ในโลก มีประการต่างๆ ถ้าใครมีความเพียรพยายาม อบรมฝึกฝน เอาใจใส่ สำเหนียกศึกษาในทางใดมาก ผู้นั้นก็ชำนิชำนาญ ได้รับการฝึกฝนจากสิ่งนั้นๆ แล้วมาใช้การในสิ่งเหล่านั้น สำเร็จประโยชน์ ให้เกิดความสุขจากการฝึกฝน แน่นอน ทำให้บุคคลนั้น มีความเจริญในชีวิตจิตใจ

    เพราะเหตุนั้น เราทั้งหลาย เรานั้นเองแหละเป็นผู้รู้ เรานั้นเองแหละเป็นผู้อบรมตัวของเรา เพราะฉะนั้นเราควรเอาใจใส่ เราจะพ้นจากทุกข์ภัยได้ เพราะการอบรมจิตของเราเอง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพียงแต่ชี้บอกทางเท่านั้น ส่วนการเดินให้ถึงนั้น เราจะต้องใช้แรงกำลังของเราดำเนินไปให้ถึง ด้วยความเพียรของเราเอง

    เพราะฉะนั้น การที่เราจะพ้นจากทุกข์ได้ ด้วยความพยายามของเราเท่านั้น ม่มีใครจะแทนเราได้ ขอให้เราทั้งหลายพยายามปฏิบัติ ไม่เป็นสิ่งที่เหลือวิสัย เพราะการปฏิบัติธรรม การรู้ธรรม เห็นธรรมนั้น ไม่ใช่เป็นสิ่งที่เหลือวิสัยสำหรับพวกเราเลย ไม่ว่าผู้หญิงหรือผู้ชาย มีธรรมเสมอกันหมด

    เพราะฉะนั้น เราทั้งหลายควรพยายาม วิริเยนะ ทุกฺขมจฺเจติ คนจะล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียรเท่านั้น ไม่มีใครขี้เกียจ ขี้คร้าน ไม่เอาใจใส่ เลินเล่อเผลอตัวมัวเมา ให้จิตเลื่อนลอยไปตามกระแสของโลก ตามคลื่นของโลกแล้วพ้นจากทุกข์ เป็นอรหัตอรหันต์ ไม่มีในอดีตที่ผ่านมา ไม่ทราบกี่หมื่น กี่พันปี แม้พระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ทรงสั่งสอน ก็ล้วนแต่ว่า บุคคลที่จะพ้นทุกข์ได้เพราะความเพียร

    เพราะฉะนั้น เราทั้งหลายควรมีสติ ให้ระลึกชอบ ให้มีความเพียรชอบ แล้วตั้งใจปฏิบัติอย่างนี้อยู่เสมอ วันหนึ่งข้างหน้าของเราจะถึงฝั่ง อันพ้นจากทุกข์แน่นอน...

    คัดลอกบางส่วนจาก: หนังสือ "ธรรมลังการ" ซึ่งพิมพ์เนื่องในโอกาสที่หลวงปู่เจริญอายุครบ ๘๑ ปี เมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๔๓
    �鹷ء����¤������êͺ ��ǧ������Ѩ�� ����




    -- เรื่องที่ 7 --

    หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์
    บ้านโคกมน อ.วังสะพุง จังหวัดเลย


    ในยุคแห่งสมถกรรมฐานกำลังเจริญรุ่งเรือง ดุจประทีปธรรมของพระพุทธองค์ ถูกจุดสว่างไสวขึ้น ณ. แดนดงอันวิเวก ห่างไกลความเจริญนั้น หลวงปู่ชอบ ฐานสโม เป็นพระสานุศิษย์องค์หนึ่งของแม่ทัพธรรมสายอรัญวาสี ซึ่งมีจิตที่มุ่งปฏิบัติธรรม เพื่อเป็นไปตามแนวทางของการหลุดพ้นตามวิถีครูบาอาจารย์ผู้มีความชำนาญในสายวิปัสสนากรรมฐาน นั่นคือ หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริตโต ดุจกันกับผู้แสวงธรรมอีกหลายองค์ ท่านมีใจรักและเลื่อมใสในการปฏิบัติธรรมมาก่อน ตั้งแต่สมัยท่านยังเป็นฆราวาส โดยน้อมนำกาย วาจา ใจ นุ่งขาวห่มขาว

    หลังจากนั้น ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดมหาชัย อ.หนองบัวลำภู จ.อุดรธานี โดยมี ท่านพระอาจารย์สนั่น เป็นพระบรรพชาจารย์ สามเณรชอบ แก้วสุวรรณ ได้ครองผ้าเหลืองอย่างสมใจ อยู่จำพรรษากับพระอาจารย์ ๑ พรรษา ออกพรรษาแล้วได้เดินทางมาที่อำเภอยโสธร ได้อุปสมบทเมื่ออายุ ๒๓ ปี ณ วัดสว่างโศก (ปัจจุบันวัดศรีธรรมาราม) อ.ยโสธร เมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ ๒๔๖๗ มี พระครูวิจิตรวิโสธนาจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์แดง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ได้รับฉายาว่า "ฐานสโม" อยู่จำพรรษาที่วัดป่านาคำใหญ่ ที่อำเภอมุกดาหาร และ วัดป่าหนองบัวบาน จ.อุดรธานี

    ก่อนออกเดินธุดงค์ ชนิดบุกเดี่ยวฝากชีวิตไว้กับพระรัตนตรัย เอาความเป็นตายเข้าแลก เพื่อดำรงค์ธรรมของพระพุทธเจ้า หลวงปู่ชอบมีคติธรรมอยู่ว่า "อวิชชามันพาให้เกิด เมื่อถึงจะต้องตายก็ขอปลดอวิชชาไว้ข้างหลังไว้เข้าป่าเข้าดงไป เราไม่ต้องการอีกต่อไป" ขณะเดินธุดงค์มาถึงจังหวัดเพชรบูรย์ ก็ได้รับข่าวว่า"หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เที่ยวจาริกโปรดสัตว์ อยู่ทางจังหวัดเชียงใหม่"

    จึงบุกป่าฝ่าดงเสือโคร่งที่คอยดักหน้าดักหลังสองตัวในกลางดงเป็นมารทดสอบจิตใจ อาศัยธรรมเท่าที่มีอยู่ กับสติและจิตใจเด็ดเดี่ยวบุกไปจนพ้นนาที่ปฏิหาริย์ได้ การเดิมพันด้วยชีวิตนี้ เมื่อได้รับประโยชน์นั้นมา หลวงปู่ท่านได้นำออกจำหน่ายจ่ายแจกชี้ช่องทางแนะนำทางให้พ้นพวกเราทั้งหลายเดินสู่จุดหมายคือดวงประทีปแก้วรัตนตรัย

    ท่านได้ ธุดงคกรรมฐานบุกเดี่ยวชนิดเสี่ยงกับความตายมาหลายครั้งเคยเดินเข้าไปถึงเมืองเวียงยอ ย่างกุ้ง มันดะเลย์ ประเทศพม่า อันเป็นยุคสมัยสงครามซึ่งอังกฤษใช้อำนาจข่มขู่เจ้าของประเทศ ในยามทุกข์ยามลำบากทั้งกายทั้งใจนี่เอง หลวงปู่ช่วยอยู่ช่วยโปรดพม่าชาวบ้านป่า ให้เกิดความหวังที่ตัวเองได้สูญเสียไป พร้อมทั้งให้ธรรมะรักษาศีล บำเพ็ญภาวนา จนเป็นเหตุให้ชาวพม่ามีความรัก มีความเคารพเทิดทูนอย่างยิ่ง เป็นที่ยกย่องกันว่าหลวงปู่เป็นศิษย์ที่สำคัญที่สุดองค์หนึ่งของหลวงปู่มั่นที่เด็ดเดี่ยวกล้าหาญทางความเพียร มีนิสัยมักน้อย ถือสันโดษชอบแสวงหาความสงัดวิเวกอยู่ตามป่าตามเขามาตลอด ข้อปฏิบัติและธรรมภายในของท่านเป็นที่สรรเสิญ

    คัดลอกบางส่วน จากหนังสือ ๘๐ พระวิปัสสนา
    ชาวพุทธตัวอย่างของจังหวัดเลย :) การเกด พาคำและกลุ่มยุวพุทธบุตร - บุคคลสำคัญในพุทธศาสนาจั�

     
  4. ผู้มีสติ1

    ผู้มีสติ1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    750
    ค่าพลัง:
    +3,637
    อนุโมทนากับธรรมะดีๆ ที่นำมาฝาก นำมาเล่าไห้ฟังครับ

    สาธุๆๆครับ
     
  5. sss12

    sss12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2010
    โพสต์:
    288
    ค่าพลัง:
    +1,081
    --เรื่องที่ 8--

    กิเลสเท่ามหาสมุทร ความเพียรเท่าฝ่ามือ
    หลวงปู่ขาว อนาลโย


    หลวงปู่มั่น พระอาจารย์ใหญ่ เทศน์สอนหลวงปู่ขาว ต่อไปว่า

    ผมแม้ในสมัยเป็นคนทำเล่นๆ ลวงๆ ตัวเองก็ไม่เห็นด้วยกับคำพูดดูถูกศาสนา และดูถูกตัวเองดังที่ท่านว่ามานั้น ถ้าท่านยังเห็นว่าตัวยังพอมีสารคุณอยู่บ้าง ท่านลองทำตามแบบที่พระพุทธเจ้า ทรงสอนไว้โดยถูกต้องดูซิ อย่าทำตามแบบที่กิเลสพาฉุดลากไป ทุกวี่ทุกวันทุกเวลา แม้ขณะกำลังเข้าใจว่าตนกำลังทำความเพียรอยู่

    มรรค ผล นิพพาน ที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้เป็นสมบัติกลางจะเป็น
    สมบัติอันพึงใจท่านในวันหนึ่งแน่นอน โดยไม่มีคำว่ายากลำบากและสำเร็จได้ช้า มาเป็นอุปสรรคได้เลย

    ขนาดที่พวกเราทำความเพียรแบบกระดูก จะหลุดออกจากกัน
    เพราะความขี้เกียจอ่อนแออยู่เวลานี้
    ผมเข้าใจว่าเหมือนคนที่แสนโง่
    และแสนขี้เกียจ เอาสิ่งอันเล็กๆ น้อยๆ เท่านิ้วมือไปเจาะภูเขาทั้งลูก
    แต่หวังให้ภูเขานั้นทะลุในวันเวลาเดียว ซึ่งเป็นที่น่าหัวเราะของท่านผู้ฉลาด
    ปราดเปรื่องด้วยปัญญา และมีความเพียรกล้าเป็นไหนๆ พวกเราลอง

    คิดดู เทียบกับประโยคแห่งความเพียร ของท่านผู้เป็นศากยบุตรพุทธ
    สาวกในครั้งพุทธกาลท่านแล้ว น่าสมเพชเวทนาเหลือประมาณ เราหวังพระนิพพานด้วยความเพียรเท่าฝ่ามือ ลองคิดดู กิเลสเท่ามหาสมุทร
    แต่ความเพียรเท่าฝ่ามือ มันห่างไกลกันขนาดไหน


    คนสมัยนี้ เพียงใช้ฝ่ามือแตะมหาสมุทร ทำความเพียรเพียงเล็กน้อย
    แต่หมายมั่นปั้นมือว่าจะข้ามโลกสงสาร
    เมื่อไม่ได้ตามใจหวังก็หา เรื่องตำหนิศาสนาและกาลสถานที่ ตลอดคนสมัยนั้นสมัยนี้ไม่ละอาย...

    คัดลอกจาก: โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม ๔ หลวงปู่ขาว อนาลโย
    �������������ط� ����������ҽ����� - ��ǧ����� ͹����



    -- เรื่องที่ 9--

    อุบายวิธีทำความเพียร:หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ

    ครั้งหนึ่งที่ได้สนทนาปัญหาธรรมกับหลวงปู่ ท่านเล่าให้ผู้เขียนฟังว่า เขามาถามปัญหาข้า ข้าก็ตองไม่ได้อยู่ปัญหาหนึ่ง

    ผู้เขียนเรียนถามท่านว่า “ปัญหาอะไรครับ”
    ท่านเล่าว่า “เขาถามว่า ขี้เกียจ (ปฏิบัติ) จะทำอย่างไรดี

    หลวงปู่หัวเราะ ก่อนที่จะตอบต่อไปว่า
    “บ๊ะ ขี้เกียจก็หมดกัน ก็ไม่ต้องทำซิ”

    สักครู่ท่านจึงเมตตาสอนว่า
    “หมั่นทำเข้าไว้... ถ้าขี้เกียจให้นึกถึงข้า ข้าทำมา ๕๐ ปี อุปัชฌาย์ข้าเคยสอนไว้ว่า ถ้าวันไหนยังกินข้าวอยู่ ก็ต้องทำ วันไหนเลิกกินข้าวนั่นแหละถึงไม่ต้องทำ"

    ที่มา:หนังสือ "ตามรอยธรรม ย้ำรอยครู หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ"
    ๒๕ อุบายวิธีทำความเพียร :: i-dhamma
     
  6. รู้รู้ไป

    รู้รู้ไป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    951
    ค่าพลัง:
    +3,166
    อนุโมทนาครับ
    ใจเด็ดใจดี ใจเป็นประธาน ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยใจ
    สาธุครับ สาระดีๆ
     

แชร์หน้านี้

Loading...