ทาน ศีล ภาวนา --เสบียงสําคัญ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย nondanun, 17 ธันวาคม 2006.

  1. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,612
    <CENTER>[​IMG]
    </CENTER>
    <!--images--> ทาน คือ เครื่องแสดงน้ำใจของมนุษย์ผู้มีจิตใจสูง มีเมตตาจิตต่อเพื่อนมนุษย์และสัตว์ด้วยการให้ การเสียสละแบ่งปัน มากน้อยตามกำลังของวัตถุเครื่องสงเคราะห์ที่มีอยู่ จะเป็นวัตถุทาน ธรรมทาน หรือวิทยาทาน เพื่อสงเคราะห์ผู้อื่นโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ นอกจากกุศล คือ ความดีที่ได้จากทานนั้น เป็นสิ่งตอบแทนที่เจ้าของทานได้รับอยู่โดยดีเท่านั้น อภัยทานควรให้แก่กัน เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งผิดพลาดหรือล่วงเกิน
    คนที่มีทานย่อมเป็นผู้สง่างาม และเด่นในปวงชน เป็นที่รักและเคารพในหมู่ชน จะตกอยู่ทิศทางใดไม่อดอยากขาดแคลน จะมีสิ่งหรือผู้อุปถัมภ์จนได้ ไม่อับจนทนทุกข์ ผู้มีทานประดับตนย่อมไม่เป็นคนล้าสมัย บุคคลทุกชั้นไม่รังเกียจ
    ผู้ที่มีทานย่อมเป็นผู้อบอุ่น หนุนโลกให้ชุ่มเย็น การเสียสละจึงเป็นเครื่องค้ำจุนโลก การสงเคราะห์กันทำให้โลกมีความหมายตลอดไป ไม่เป็นโลกที่ไร้ชาติขาดกระเจิง เหลือแต่ซาก แผ่นดินไม่แห้งแล้งแข่งกับทุกข์ตลอดไป


    ศีล คือ รั้วกั้นความเบียดเบียนและการทำลายสมบัติร่างกายและจิตของกันและกัน ศีล คือ พืชแห่งความดีอันยอดเยี่ยมที่ควรมีประจำชาติมนุษย์ ไม่ปล่อยให้สูญหายไป เพราะมนุษย์ที่ไม่มีศีลเป็นรั้วกั้น เป็นเครื่องประดับตัว จะไม่มีที่ให้ซุกหัวนอนหลับสนิทได้โดยปลอดภัย แม้โลกเจริญด้วยวัตถุจนกองสูงกว่าพระอาทิตย์ แต่ความเร่าร้อนแผดเผาจะทวียิ่งกว่าพระอาทิตย์ ถ้ามัวแต่คิดว่าวัตถุมีค่ามากกว่าศีลธรรม ศีลธรรมเป็นเพียงสมบัติของมนุษย์ พระพุทธเจ้าทรงค้นพบและนำมาประดับโลก ที่กำลังมืดมิดให้สว่างไสว ร่มเย็นด้วนอำนาจศีลธรรมเป็นเครื่องปัดเป่า
    ความคิดของมนุษย์ผู้มีกิเลสผลิตอะไรออกมาทำให้โลกร้อนจะบรรลัยอยู่แล้ว ยิ่งปล่อยให้ความคิดไปตามอำนาจโดยไม่มีศีลธรรมช่วยเป็นยาชะโลมไว้บ้าง จะผลิตยักษ์ใหญ่ทรงพิษขึ้นมากว้านกินมนุษย์ จนไม่มีอะไรเหลืออยู่ ความคิดของคนสิ้นกิเลสที่ทรงคุณอย่างสูง คือพระพุทธเจ้า มีผลให้โลกได้รับความร่มเย็บซาบซึ้ง กับความคิดที่เป็นกิเลสมีผลให้ตนเองและผู้อื่นได้รับความเดือดร้อนจนคาดไม่ถึง ผิดกันอยู่มาก ควรหาทางแก้ไข ผ่อนหนักให้เป็นเบาลงบ้าง ก่อนจะหมดทางแก้ไข ศีลจึงเป็นเหมือนยาปราบโรค ทั้งโรคระบาดและเรื้อรัง




    ภาวนา คือ การอบรมใจให้ฉลาดเที่ยงตรงต่อเหตุผลอรรถธรรม รู้จักวิธีปฎิบัติต่อตนเองและสิ่งทั้งหลาย ยึดการภาวนาเป็นรั้วกั้นความคิดฟุ้งซ่านของใจ ให้อยู่ในเหตุผลอันเป็นทางแห่งความสงบสุข ใจที่ยังไม่ได้รับการอบรมจากภาวนา จึงเปรียบเหมือนสัตว์ ที่ยังมิได้รับการฝึกหัด จึงยังมิได้รับประโยชน์จากมันเท่าที่ควร
    ใจจึงควรได้รับการอบรมให้รู้เรื่องของตัว จะเป็นผู้ควรแก่งานทั้งหลาย ทั้งส่วนเล็กและส่วนใหญ่ ทั้งภายนอกและภายใน ผู้ที่มีภาวนาเป็นหลักใจ จะทำอะไรชอบใช้ความคิดก่อนเสมอ ไม่เสี่ยงและไม่เกิดความเสียหายแก่ตนและผู้เกี่ยวข้อง
    การภาวนาจึงเป็นงานเพื่อผลในปัจจุบันและอนาคต การงานทุกชนิดที่ทำด้วยใจของผู้ที่มีภาวนา จะสำเร็จด้วยความเรียบร้อย ทำด้วยความใคร่ครวญ เล็งถึงผลประโยชน์ที่ได้รับ เป็นผู้มีหลักมีเหตุมีผล ถือหลักความถูกต้องเป็นเข็มทิศทางเดินของกาย วาจา ใจ ไม่เปิดช่องให้ความอยากอันไม่มีขอบเขตเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะความอยากดั้งเดิมเป็นไปตามอำนาจของกิเลสตัญหา ซึ่งไม่เคยสนใจต่อความผิด ถูกชั่วดี จะเอาโทษมันก็ไม่ได้ ยอมให้เสียไปอย่างน่าเสียดาย ถ้าไม่มีสติรำลึกบ้างเลยแล้ว ของเก่าก็เสียไป ของใหม่ก็จมไปด้วย ไม่มีวันฟื้นตัว การภาวนาจึงเป็นเครื่องหักล้างความไม่มีเหตุผลของตนได้ดี วิธีภาวนานั้นลำบากอยู่บ้าง เพราะเป็นวิธีบังคับใจ โดยวิธีสังเกตตัวเอง สังเกตจิตที่อยู่ไม่เป็นสุข ด้วยความมีสติ รู้ถึงความเคลือนไหวของจิต โดยมีธรรมบทใดบทหนึ่งเป็นคำบริกรรม เพื่อเป็นยารักษาจิตให้ทรงตัวอยู่ได้ด้วยความสงบสุขในขณะภาวนา

    โดยหลวงทวด มั่น ภูริทัตตเถระ



    <!--detail-->[​IMG] พระธรรมเทศนา
    หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
    ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓
    ณ ศาลากาญจนาภิเษก
    ***************

    สมัยพุทธกาล พระพุทธองค์ทรงรับนิมนต์ไม่เว้นแต่ละวัน หลังจากฉันเสร็จ
    จากนั้นก็จะทรงแสดงธรรมเพื่อโปรดญาติโยม พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย

    ทาน-ศีล-ภาวนา มีผลจริงแก่ผู้กระทำ


    ทาน
    ทานนั้นมีผลแน่ เพราะมีประโยชน์ อย่างเช่นการมาใส่บาตรก็ทำให้พระสงฆ์
    ที่ได้ฉันได้มีชีวิตอยู่ไปอีกวันหนึ่ง เพราะหากขาดอาหารหลายวันก็จะยิ่งเพลีย
    การใส่บาตรนี้จึงเป็นการให้ชีวิตเป็นทานแก่พระสงฆ์ซึ่งไม่ได้ทำงาน ไม่ได้
    หุงหาอาหาร เพราะว่าพระพุทธองค์ทรงบัญญัติห้าม โดยทรงให้พระสงฆ์
    ทำเฉพาะแต่การเจริญสมถะและวิปัสสนาภาวนา เพียรเผากิเลส
    เพราะ จุดมุ่งหมายของผู้บวช คือ ฆ่ากิเลส ไม่ใช่เพื่อลาภสักการะ
    อติเรกลาภ แต่เพื่อปฏิบัติธรรม ชำระจิตให้ผ่องใสสะอาดปราศจากกิเลส
    ถ้าเราจิตใจผ่องใสเบิกบานก็จะมีความสุข และตรงกันข้าม ถ้าหากใจ
    ขุ่นมัว ก็จะไม่มีความสุข แต่กลับจะเป็นทุกข์เดือดร้อน เพราะว่า
    จิตมัวหมอง ตกเป็นทาสของอกุศล แถมยังมักไม่ค่อยรู้ตัวว่าเป็น
    เพราะอะไรจิตใจจึงมัวหมอง จึงคลางแคลงสงสัยอยู่เสมอ


    ศีล
    ดังนั้น การมาฝึกฝนอบรมใจ ปฏิบัติด้วย ทาน-ศีล-ภาวนาและไหว้พระ
    จิตก็ผ่องใส คัดเลือกบาปออกไป ให้เพียรพยายามให้ทาน รักษาศีลให้
    บริสุทธิ์ เพื่อกันขโมย (คือ กิเลส อกุศล) ไม่ให้เข้าบ้านได้ เมื่อสมาทาน
    ศีลแล้วก็ต้อง รักษาศีล ด้วย อย่าสมาทานเสร็จแล้วก็วางคืน
    ไว้ที่พระหรือที่วัด ต้องสมาทานด้วยจิตยินดี และตั้งใจรักษา ไม่ควรให้
    สูญหายไป พากันรักษากาย-วาจา-ใจ ให้บริสุทธิ์ อย่างเช่น ไม่สร้างเวร
    ให้กับตัวเองด้วยการฆ่าหรือทำทุกข์ให้แก่สัตว์ตัวเล็กเท่าที่มองเห็นด้วย
    ตาไปจนถึงตัวใหญ่ที่สุดคือช้าง โดยเจตนา เป็นต้น


    ภาวนา
    พยายามเพ่งใจให้สงบ บริสุทธิ์จากนิวรณ์ ๕ ภาวนามีอานิสงส์มากกว่า
    ทานและศีลเพราะว่ากิเลสบาปธรรมนั้นอยู่ภายใน เมื่อใครสามารถเข้าถึง
    ก็จะเกิดการละ อกุศลก็จะอยู่ไม่ได้ เพราะเหตุว่าการภาวนานั้นจะโน้ม
    สติและสัมปชัญญะเข้าไปสู่จิต ถ้าไม่ภาวนา สติและสัมปชัญญะก็จะ
    ไม่มี จิตก็จะคอยแต่ส่งออกนอกไปสู่นอกเช่นการงานและกิเลสต่างๆ
    บุญกุศลก็ไม่เกิด เกิดไม่ได้ จิตไม่น้อมต่อบุญกุศล


    กิเลส
    กิเลสนั้น นำไปเกิดในที่ทุกข์ยากลำบาก กิเลสบาปอธรรมก็อยู่ที่จิตใจ
    ไม่ใช่ที่อื่น ถ้าเราเพียรเพ่งบริกรรม กิเลสก็มาครอบงำจิตไม่ได้ ก็จะ
    ห่างออกไป บุญกุศลก็จะเข้ามาใกล้ ใจก็อิ่ม เป็นสุข

    เราทุกคนมีบาปกันทั้งนั้นไม่มากก็น้อย จงสะดุ้ง หวาดกลัวต่อบาป
    ต่อกรรม ต่อเวร และระมัดระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในใจ เช่น ระวัง
    ไม่ให้เกิดความโลภ ยินดีเท่าที่มีอยู่ เท่าที่หาได้ ไม่ผูกโกรธ เพราะ
    ความโกรธเป็นไฟ เผาจิตใจให้ร้อนทั้งวันและคืน ให้อโหสิกรรมเสีย
    ยกโทษ โทษก็จะหมดไปเพราะว่าไม่ถือมั่นในความโกรธ ความ
    พยาบาท ตรงกันข้าม เมื่อจิตถือมั่น บาปก็ติดตามไป เมื่อได้โอกาส
    เมื่อไหร่ก็ให้ผลเมื่อนั้น

    ให้เพียรดูจิตใจ ถ้าบาปครอบงำก็รู้ ถ้าจิตผ่องใสก็รู้ ถ้าใจจะ
    เผลอ สติก็รู้ก็ระลึกได้ จะโกรธจะว่าใคร สติก็จะคอยเตือนคอยห้าม
    และไม่ยึด อโหสิกรรมให้เค้าไป

    บาปกิเลสก็จะเบาบางไป

    ดังนั้น อย่าชอบใจกับคำว่าใจเศร้าหมอง
    ขุ่นมัว ก็คือทุกข์ คือบาป
    ใจผ่องใสเบิกบาน ก็คือบุญ

    พากันมีสติสัมปชัญญะเสมอ ระลึกเข้ามารู้ตัวทั่วพร้อมไม่ว่าจะ
    ยืน-เดิน-นั่ง-นอน ทำการงานหรืออะไรก็ตาม

    เมื่อรู้ว่าจิตเป็นกุศลก็จะเกิดปิติในใจ การสร้างจิตใจให้เป็นกุศล
    เสมอ จิตใจก็จะสุข สงบ ทั้งกลางวันกลางคืน เมื่อใครมาว่ามา
    ทำอะไร จิตใจก็ไม่หวั่นไหว ดังนั้นจึงไม่ควรประมาท
    แต่มีสติเสมอ

    มีสติรู้ว่ากายนี้ไม่เที่ยง-เป็นทุกข์-ไม่เป็นไปตามบังคับของใคร
    เมื่อรู้ก็เบื่อ เมื่อเบื่อก็คลายความยึดความถือ อาจยังยึดกาย
    แต่ไม่ยึดความโกรธ

    ขอให้พากันฝึกฝนอบรมตนไปเรื่อยๆ กิเลสก็จะเบาบางไป
    จนหมดไปได้ และนี่เอง คือจุดหมายปลายทาง
    ของพระพุทธศาสนา
     
  2. thejirayu

    thejirayu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2006
    โพสต์:
    455
    ค่าพลัง:
    +2,088
    อนุโมทนาสาธุครับสำหรับความรู้ ของให้เจริญด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...