ทานอันบริสุทธิ์-นิพพาน โดย ลป.สิม พุทธาจาโร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย อุทยัพ, 26 เมษายน 2011.

  1. อุทยัพ

    อุทยัพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    3,564
    ค่าพลัง:
    +18,112
    ทานอันบริสุทธิ์-นิพพาน ​

    {คำเทศนาของพระครูสัันติวรญาน(หลวงปู่สิม พุทธาจาโร) คัดลอกจากหนังสือ"บัวสีน้ำเงิน" พิมพ์เพื่อถวายหลวงปู่เพื่อแจกเป็นธรรมทานเนื่องในโอกาสทำบุญครบรอบวันเกิดปีที่ ๘o และการอ่านเพื่อช่วยยกจิตให้บันเทิงในธรรม}
    [​IMG]
    ทานบริสุทธิ์-นิพาาน ​

    ๖ สิงหาคม ๒๕๓๒​


    การนั่งภาวนาเป็นการทวนกระแสน้ำจิตน้ำใจของคนเราในตัวตามธรรมดาจิตใจมนุษย์คนเราและสัตว์โลกทั้งหลายนั้น เป็นจิตใจที่ลอยไปตามกระแสกิเลส กระแสกิเลสนั้นได้แก่ กามภพ รูปภพ อรูปภพ ก็ไ้ด้แก่กิเลสราคะ กิเลสโทสะ กิเลสโมหะนี่เอง กิเลสเหล่านี้พาให้น้ำใจคนเราลอยไปลอยไปหลงไป คือ สำคัญผิดคิดว่าถ้าทำตามกิเลสแล้วจะได้รับความสุข แต่แท้ที่จริงหาเป็นไปเช่นนั้นไม่ ผู้ทำตามอำนาจกิเลส กิเลสมันก็ให้ผลเป็นทุกข์มันรู้จักแต่สร้างความทุกข์ขึ้นมา ใจิตใจคนเราที่ลุ่มหลงติดข้องมัวเมาอยู่ในกิเลสกามวัตถุกาม กามหมายถึงความใคร่ความพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ ธรรมารมณ์ รูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ ธรรมารมย์ นี้มันเป็นอารมณืพอจิตใจลอยไปเลื่อนไปหลงไป สุดท้ายท่านว่าอวิชชาคือความไม่รู้ ความไม่รู้ว่ากิเลสทั้งหลายมันผูกมัดรึงไว้ในใจของมนุษย์และสัตว์โลกทั้งหลาย ให้ข้องอยู่ให้ติดอยู่ในโลกในวัฎฎสงสารมานานแล้ว
    โลกนี้ก็คือว่าได้แก่กิเลส กิเลสนี้มันมีอยู่เต็มกายเต็มใจของคนเรา แต่ว่่าจิตไม่รู้สึกก็เข้าใจว่าเป็นของดิบของดี เหมือนไฟมันเป็นของร้อนไฟนั้นไม่ว่าสมัยใดยุคใดตั้งแต่ก่อนพุทธกาลไฟก็ร้อน ใครพลั้งเผลอลุ่มหลงเมื่อใช้ไฟแล้วไม่ปฎิบัติให้ถูกต้อง ไฟก็ย่อมโทษ มันร้อนตั้งแต่ใดแต่ไรมา น้ำหมายถึงความเย็น ความเย็นนี้ก็มีอยู่ในโลกเหมือนกัน ผู้้ใดรู้จักใช้น้ำให้เกิดประโยชน์น้ำก็ให้ประโยชน์สุขแก่บุคคล ถ้าน้อยไม่พอก็เดือดร้อน ไม่มีน้ำกินไม่มีน้ำใช้ไม่มีน้ำอาบก็เดือดร้อนอีก ถ้ามันมากเกินไปก็เป็นอุปสรรค อาจจะทับถมให้มนุษย์ที่อยู่ใกล้น้ำ ล้มตายไปกับน้ำเวลามันมามากๆ เพราะว่า น้ำมันเป็นธรรมชาติ มันไม่รู้จักบาปบุญคุณโทษประโยชน์และมิใช่ประโยชน์อะไรเลย ถ้ามันมามากเหมือนฝนตกมากก็ไหลเทลงมา นอกจากไหลเทลงมาแล้วมันจะแพร่ในดินในภูเขาเมื่อมันแพร่จนดินจนเลนละลายแล้ว มันก็พาให้ภูเขาทั้งลูกละลายลงมาก็ได้ เพราะว่าน้ำมันมามากเกินไป อันกิเลสราคะ โทสะ โมหะ ที่มนุษย์ชอบใจนักหนา ไม่ว่าจะไปจะอยู่ที่ไหนก็หอบหิ้วกิเลส ราคะ โทสะ โมหะ ในจิตในใจไปด้วย เวลามันให้ผลมันก็เป็นทุกข์ ทุกข์เหล่านี้ใจมนุษย์เราถ้าไม่นั่งภาวนา ไม่หลับตานึกพุทโธในใจแล้วมันไม่เห็น เห็นแต่ว่าจะให้ความสุขสะดวกสบาย
    ถ้านั่งสมาธิภาวนาก็ดี มีสิ่งหนึ่งบางคราวบางสมัยในป่าในดงในภูเขา มันจะมีพวกริ้นพวกยุง ถ้าตัวใหญ่ขึ้นมาก็เรียกว่ายุง ถ้าเล็กลงไปเขาก็เรียกว่าริ้นว่าเล็นว่าลอด คำว่า่ลอด นั้นคือว่าตัวเล็กที่สุดจนกระทั่งลอดเข้าไปในเส้นผมได้ ลอดเข้าไปตามร่างกายมนุษย์คนเราได้ ทุกส่วน ภาษาเหนือเขาจึงว่าลอดนี้มุ้งก็สู้ไม่ไ้ด้ มันลอดเข้าไปได้ นั่งภาวนา พุทโธ ก็นั่งไม่ค่อยสงบ มันลอดเข้าไปหา มันเข้าไปมันก็กัดกินเป็นธรรมดาสัตว์เล็กสัตว์น้อย มันก็กินอาหาร น้ำเลือดน้ำเหลืองเป็นอาหารที่ดีที่สุด คนเ่ี่ราจิตมันก็หวง หวงเลือด ไม่ให้ทาน ต้องตั้งใจให้เป็นทานว่า ทานํ เม ปริสุทฺธํ นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ ให้เราตั้งใจทานไว้ว่าเลือดเนื้อเชื้อไขของข้าพเจ้าที่มีอยู่นี้ ยุงก็ดีเหลือบก็ดีลับก็ตาม อยากกินก็เชิญ ข้าพเจ้าทาน(ให้) ยุงก็ทาน ริ้นก็ทาน ลอดก็ทาน เรียกว่า สละ สละให้เป็นทาน
    พระพุทธเจ้าพระองค์ภาวนาอยู่ที่รุกขมูลร่มไม้เรียกว่าสละทานพระพุทธองค์อยู่ในป่าในต้นไม้น่ะ พวกริ้นพวกยุงพวกนี้มันเยอะ ไม่ว่า่ที่ไหน ไม่ว่าสมัยใด แต่พระองค์ทาน เรียกว่า ทานํ เม ปริสุทฺธํ นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ พระองค์ตั้งใจให้เป็นทานไว้ เรียกว่าทานที่บริสุทธิ์ ไม่ต้องไปหาบไปหาม ไม่ต้องไปสะสมที่ไหน เลือดเนื้อเชื้อไขที่ได้มาจากบิดามารดาผู้บังเกิดเกล้ามีอยู่เต็มตัว เราก็สละทาน สัตว์เล็กสัตว์น้อยมันก็ได้อาศัยได้กิน มันก็มีกำลังบินกำลังเล่นไปตามภาษาสัตว์ เราเรียกสละให้มันเสียเรียกว่า ทานํ ปริสุทฺโธ สละให้มัน แกจะกินเท่าไรก็กินไปเถิด เป็นทานของข้าพเจ้า ให้สูเจ้าทั้งหลายจงกินเต็มท้องไส้แล้วก็ตายไปเกิดมาใหม่กินอีก อันนี้เพิ่นเรียกว่าวัฎฎสงสาร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 เมษายน 2011
  2. อุทยัพ

    อุทยัพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    3,564
    ค่าพลัง:
    +18,112
    เราจะว่าเราเป็นผู้มีอำนาจวาสนา อะไรๆมาทำร้ายเราไม่ได้ แต่ภายใร่างกายสังขารของคนเรามันก็มีสัตว์ มีสัตว์มีเชื้อโรคที่เรียกว่า เชื้อโรคต่างๆในร่างกายมนุษย์ มันถ่ายเทไปสู่คนโน่นคนนี้ได้มันเล็กมันละเอียดจนเหลือวิสัย เหลือวิสัยแพทย์โรงพยาบาลจะรักษาให้ได้ ตัวเองต้องรักษาตัวเองเมื่อสิ่งใดมันสุดวิสัยเหลือวิสัยก็ตั้งถวายทานไว้ ประกาศทานไว้ว่า ทานํ เม ปริสุทธํ นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ ทานที่ข้าพเจ้าบริจาคนี้มุ่งต่อพระนิพพาน ขอให้ได้พระนิพพาน ถ้าไม่ถึงพระนิพพานตราบใดก็ยังมาเกิดเป็นมนุษย์ เรื่องมนุษย์มันก็มีอยู่อย่างนี้คือ ดีก็มี ชั่วก็มี สรรเสริญก็มี นินทา่ก็มี ดุด่าว่าร้ายป้ายสีให้แก่กันก็มี ผู้คิดให้ตัวเองประเทศของตัวมีอำนาจวาสนา ก็คิดเครื่องประหัตประหารขึ้นมาป้องกัน อันนี้ก็คือว่า กิเลส ราคะ โทสะ โมหะ อันไม่รู้จักนั้นแหละ มันก็สร้างขึ้นมาทำขึ้นมาเป็นครื่องประหัตประหารให้มนุษย์และสัตว์โลกทั้งหลายตายไปนับไม่ถ้วน
    เมื่อผู้ใดภาวนาทำใจให้สงบตั้งมั่น จะมองเห็นในใจว่าสัตว์โลกทั้งหลาย ไม่รุ้ว่าใครเป็นใครละ มนุษย์ก็กินสัตว์สิ่งเดียรัจฉาน กินลงมาตั้งแต่ช้างตัวใหญ่ที่สุดเขาก็กินัมน ปลาวาฬตัวใหญ่ืที่สุดในน้ำเขาก็เอามากินกัน ตัวเล็กก็กินตัวใหญ่ ตัวใหญ่ก็กินตัวเล็กได้ มันเปลี่ยนกันกินไปตามหน้าที่ ให้ตั้งใจเสียสละไว้ทุกอย่างทุกประการ ขนาดริ้นยุงมันมาขอกินเราก็ไม่ยอมสละให้มัน ถ้าสละเสียว่าข้าพเจ้าได้ตั้งใจไว้เป็นทานแล้วคล้ายกันกับว่่าญาติโยมจะใส่บาตรพระ เขาก็นึ่งหุงข้าวมีอะไรก็ห่อจอกห่อแจกไว้แล้วก็ั้ตั้งใจไว้ เวลาตุ๊เจ้่ามาบิณฑบาตก็ใส่ให้ อันในจิตในใจตัวเราก็ให้สละบ้าง เลือดเนื้อเชื้อไขได้มาด้วยความบริสุทธิ์ที่มีอยู่ในตัวของเรา ริ้นยุงตัวน้อยๆมันมาขอทานขอกินเลือด ขอกินน้ำเลือดน้ำเหลือง แต่ัมันไม่รู้จักขอ เมื่อมันมาเห็นว่าเป็นสัตว์ใหญ่ คือว่า ในร่างกายของสัตว์ใหญ่คือมนุษย์เรา มันเต็มไปด้วยปุพพโพโลหิต มีรสอาหารที่เรียกว่าเยี่ยมยอดมาถึงก็ปรี่เข้าไปดูดกิน เราไม่ตั้งใจเป็นทานไว้ก็เป็นทุกข์เป็นร้อนมากัดหัวข้าทำไม เลยก็เป็นสงครามกับริ้นกับยุง ให้สละ! ทานํ เม ปริสุทฺธํ นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ
    ทานเหล่านี้ข้าพเจ้าขอให้ถึงพระนิพพาน เมื่อถึงพระนิพพานแล้วมันเป็นอย่างใด ก็คือว่ามันหมด หมดความห่วงหน้าห่วงหลัง วิตกวิจารณ์ ไม่ต้องทำอะไร ก็คือว่ามันครบในนิพพาน ภาษาท่านว่า แจ้งนิพพาน เมื่อแจ้งนิพพานแล้วก็หมดเรื่อง ถ้าตราบใดยังไม่แจ้งนิพพานมันก็มาเกิดในโลกในวัฎฎสงสาร เมื่อมาเกิดแล้วก็ เรากินเขา เขากินเรา อยู่อย่างนี้แหละ
    เมื่อตั้งใจไว้เป็นทาน จิตใจมันก็ปล่อยวา่งได้ ไม่ยึดถือมั่นว่าเป็นตัวกูของกู ตัวเราของเรา ตัวข้าของข้า ไม่มีของใคร เป็นของสัตว์โลกทั้งหลาย เกิดมาก็เป็นอย่างนี้ แก่มาก็เป็นอย่างนี้ เวลาเจ็บไข้ได้ป่วยก็เป็นอย่างนี้ เวลาจะตายก็ืุทุรนทุราย บางคนเวลาจะตายเขาจะเรียกลูกเรียกหลานมาล้อม เข้าใจว่าลูกหลานสามีภรรยาพ่อแม่ปู่้ย่าตาทวดจะช่วยได้ มาล้อมข้างล้อมแนว แต่แท้ที่จริงมันช่่วยไม่ได้ เมื่อเจ็บหนักเข้าเลยมันจะมายึดถือแค่ลูกแค่หลาน ไม่ได้! ตัวเองต้องต้องไปมาเองด้วยตนเองมาเกิดอย่างไรเมื่อตายไปเราก็ไปอย่างนั้น ถ้าเราไม่ภาวนาละกิเลสในใจขงเราให้หมดสิ้น ความทุกข์ความเดือดร้อนเหล่านี้ก็จะบังเกิดมีขึ้นในจิตในใจ​

    ถ้่าเราเป็นผู้มีจาคะจิตสละให้แก่สัตว์ทั้งหลาย สัตว์ตัวไหนจะกินก็กินเข้าไปข้าพเจ้่าไม่ว่า ภาวนาพุทโธทุกลมหายใจเข้าออก ข้าพเจ้าภาวนาตายอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก คิดถึงเวลาคนตาย เลือดเนื้อเชื้อไขที่จิตมาห่วงอาลัยอยู่นี้ เวลาตายแล้วไม่ใช่ว่าจะเอาไป ไม่มีใครเอาไปไหนนอกจากมันเหม็นเน่าเขาก็เอาไปเผาไฟทิ้ง ฝังดินทิ้งก็มี แล้วก็จมอยู่ในแผ่นดินนั้นแหละ มันก็แค่นั้น เราต้องสละทานให้แก่สัตว์ทั้งหลายว่า "จงอยู่เป็นสุขเป็นสุขเถิด"เบื้่องบนแต่ภวัคคพรหมลงมา เบื้องต่ำแต่อเวจีมหานรกเทวทัตตกลงไปขึ้นมา ลงกลมหมื่นจักรวาลแสนโกฎิจักรวาลอนันาจักรวาลสัตว์ทั้งหลายที่ิอยู่ในสถานที่กล่าวมาีนี้ จงพากันอยู่เป็นสุขเป็นสุข อย่าได้มีความทุกข์ร้อนประการใดเลย ข้าพเจ้าหรือว่าเราทุกคนไม่ได้ต้องการเบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายให้เป็นทุกข์เป็นร้อน ขอให้สัตว์ทั้งหลายจงพากันอยู่เย็นเป็นสุข อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกัน อย่าได้ประหัตประหารซึ่งกันและกันเลย
     
  3. อุทยัพ

    อุทยัพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    3,564
    ค่าพลัง:
    +18,112
    [​IMG]

    สัตว์โลกทั้งหลายมันไม่เฉพาะแต่ว่าในถ้ำผาปล่อง สัตว์โลกทั้งหลายมันแน่นอยู่ทั้งโลกนั่นแหละ ทั้งที่มีวิญญานครอง ไม่มีวิญญานครอง เป็นธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม อยู่ก็ตาม มันก็มีความเกิดขึ้นตั้งอยู่แล้วก็ดับไป เป็นธรรมดาของธาตุสี่ดิน น้ำ ไฟ ลม ส่วนวิญญานสัตว์ทั้งหลายมาอาศัยในรูปขันธ์ร่างกายตัวตนคนเรานี้ ก็เข้าใจว่ามันมีความสุข จะมาเอาความสุขแล้วความทุกข์มันก็เข้ามา ก็เป็นทุกข์เป็นร้อน ฉะนั้นต้องสละ จาโค - เสียสละ ปฎินิสฺสคฺโค - ปล่อยมันออกไป มุตฺติ - เอามันจนจิตใจหลุดพ้นจากทุกขเวทนาเหล่านี้ สิ่งใดที่เราเลิกได้สละได้ปล่อยวางได้แล้วก็ให้คอยระวัง ระวังอะไร ระวังมันจะยึดเอาถือเอาอีกไม่จบสิ้น พระองค์ตรัสว่า จาโค - เสียสละ จาคะออกไป ปล่อยวางออกไป ปฎินิสฺสคฺโค - ปล่อยมันออกไป ละมันออกไป ถอนมันออกไป หน้าตาชื่อเสียงยศลาภอะไรทุกอย่าง เอาจนมันวิมุติ - หลุดพ้น คำว่าวิมุติ - หลุดพ้น คือว่าจิตปล่อยวางไม่ไปยึดไปถือ แล้วมันก็อย่าไปอาลัยเสียดาย สละออกไปให้พ้นออกไปเมื่อจิตมันหลุดพ้นออกไปได้ จิตมันก็สบายไม่หงุดหงิด ไม่หวั่นไหวสั่นสะเทือน คือ จิตใจมันเลิกได้ละได้ ถ้าที่ไหนมันเลิกไม่ได้ละไม่ได้เป็นทุกข์เป็นร้อน เมื่อสิ่งที่ไม่สมหวัง ไม่สมปรานาเกิดขึ้นมันก็ทุกข์ละทุกข์ก็ทำอย่างใด เพราะตัวเองเกิดมามีรูปมีนามแล้ว มายึดถือรูปนามอันเป็นก้อนทุกข์กองทุกข์นี้ว่าเป็นตัวเราของเรา เป็นตัวข้าของข้า จนกระทั่งยึดออกไปภายนอก ก็ยึดว่าแผ่นดินตอนนี้เป็นของเรา เรือกสวนไร่นาที่ตัวได้มาตามธรรมชาติก็ว่าเป็นของตัว แท้ที่จริงในดินตอนไหนก็ตามมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายมันก็ตายจมอยู่ในกองแผ่นดินนี้แหละ ผืนแผ่นดินทั้งแผ่นเป็นที่เกิดของสัตว์เป็นที่ตายของสัตว์อย่างนี้ตลอดเวลา แล้วก็จะพากันมาเกิดตายในอนาคตกาลนับไม่ถ้วนอีกเหมือนกัน
    เมื่อพระพุทธเจ้าท่านภาวนาแล้ว ท่านจึงได้ปล่อยวาง "เออ สัตว์โลกทั้งหลายเวลามันมีความหลง มันก็หลงไปตามภาษาของสัตว์มันไม่รู้จักอะไรละ "เป็นตายมันไม่ได้คำนึง ก็พากันเกิดตายไปตามภาษาสัตว์ เพิ่นยังว่าสัตว์โลกทั้งหลาย มันเกิด แก่ เจ็บ ตายวุ่นวายอยู่ในกามภพ รูปภพ แล อรูปภพ วุ่นวายไม่ที่สิ้นทีุ่สุดเรียกว่าเป็นทุกข์ เป็นอยู่ก็มีแต่ความทุกข์ นั่งอยู่ก็มีความทุกข์ ยืนอยู่เดินไปมาก็มีความทุกข์ พอมันทุกข์ในจิตในใจที่ยึดถือ ถ้าใจของผู้ใดรู้เท่าทันว่าไม่ต้องยึดถือ บึดถือมันก็เท่านั้นแหละ เราจะยึดถือมันขนาดไหนก็ตาม มันก็ไม่มีอะไรเป็นผลดีขึ้นมาได้ ถ้าปล่อยวางได้ ไม่ไปยึดถือ อย่างเขาดุด่าว่าร้ายป้ายสีให้ ถ้าคิดดูดีๆแล้วเพียงคำพูดมันไม่มีอะไรเสียหาย เขาจึงว่าลมแดงมันไม่แรงเท่าลมปาก ลมปากมนุษย์นี้ถ้าหากว่าจิตใจของผู้ใดไม่ภาวนาให้ดี ไม่ปล่อยวาง มันก็เป็นทุกข์เป็นร้อน ก่อกรรมทำเข็ญไม่มีที่จบสิ้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 เมษายน 2011
  4. อุทยัพ

    อุทยัพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    3,564
    ค่าพลัง:
    +18,112
    วันนี้เอามาให้อ่านเพียงเท่านี้ก่อนนะขอรับ ทุกๆท่าน เดี่ยววันหน้าผมจะเอามาลงเพิ่มขอรับ:cool:
     
  5. อุทยัพ

    อุทยัพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    3,564
    ค่าพลัง:
    +18,112
    เช้าวันนี้กระผมขอนำมาต่ออีกสักหน่อยละกันนะขอรับ แล้วเดี่ยววันพรุ่งนี้จะมาต่อให้จบขอรับ:cool:

    [​IMG]


    พระพุทธเจ้าท่านจึงให้ปล่อยวางอย่าไปยึดถือ ตัวกูของกู ตัวเราของเรา มันเป็นเพียงสมมติให้เป็นตัวเราของเราเท่านั้นแหละ ธาตุแท้มันไม่ได้เป็นของใคร เมื่อมีเหตุปัจจัยเกิดขึ้นมันก็เกิดขึ้นอย่างนี้ เมื่อหมดเหตุปัจจัยมันไปไหน ก็ละลายลงไปสู่พื้นแผ่นดิน ธาตุดินก็ไปสู่ธาตุดิน ธาตุน้ำก็ไหลไปสู่ธาตุน้ำไหลไปในอากาศ ธาตุลมก็ไปกับลม ธาตุไฟความร้อนความอบอุ่นมันก็ไปตามธาตุไฟ ธาตเหล่านี้เมื่อไหลเข้าาไปในสภาพของเขา เขาก็ไม่มีความทุกข์ความเดือดร้อนอย่างไร เพราะธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นธรรมชาติประจำโลกประจำวัฎฎสงารอันนี้มานับไม่ถ้วนแล้ว มาถึงพวกเราภาวนาจะต้องให้รู้ให้เข้าใจ จิตมายึดมาถือความทุกข์ความเวทนานี้เป็นความหลง สบายก็หลงอยู่ในที่สบาย ไม่สบายเจ็บปวดทุกขเวทนาก็เรียกว่่ามีความทุกข์ในใจอย่างนี้แหละ จงรู้จงเห็นจงเข้าใจภายในจริงๆจึงจะเลิกได้ละได้วางลง ถ้าไม่เห็นในจิตในใจมันก็จะมัวจะมาแก้ไขไม่ให้มีอย่างนั้น สิ่งที่ไม่ดีป้องกันไว้ เมื่อป้องกันไม่ได้ละก็เป็นทุกข์ล่ะฉะนั้นจงวางเฉย เป็นอุเบกขาจิต
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 เมษายน 2011
  6. อุทยัพ

    อุทยัพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    3,564
    ค่าพลัง:
    +18,112
    มาต่อให้แล้วนะขอรับ เผื่อมีหลายๆท่านติดตามอ่านอยู่(หรือเปล่า???)
    :


    ิอุเบกขาจิต ถือว่าเป็นธรรมชั้นยอด ในบารมี ๑o บารมี ๓o ทัศน์ อุเบกขาบารมีมีพระองค์ก็เอาไปไว้สุดท้าย ว่าผลที่สุดก็คือว่า ทำใจให้เฉยอย่าไปกังวลกับใึคร เขาว่าดีก็เป็นเพียงความเห็นของเขาว่าดี เขาว่าไม่ดีติเตียนให้ดุด่าว่าร้ายให้ ก็เป็นเรื่องของเขา หน้าที่ของเราก็ภาวนาเห็นแจ้งในหลักอนิจจัง โลกนี้มันไม่เที่ยงอย่างนี้ๆ โลกนี้มันเป็นทุกข์อย่างนี้แหละ เกิดมาเป็นทุกข์ มันมีทุกข์นอกทุกข์ใน ทุกข์กายทุกจิตมีทุกข์อยู่ ทนทุกขเวทนาอยู่ตลอดกาล มันไม่หมดไม่สิ้น จะไปหมดสิ้นที่ไหน ก็ไปหมดสิ้นที่ภาวนาละกิเลสได้ในใจ เมื่อละกิเลสได้ในใจมันก็พ้นที่ตรงนั้นแหละ ตรงที่ัมันรู้จักรู้แจ้งรู้จริงในจิตในใจของตัวเอง ไม่หลงไหลอกไปภายนอก ไม่ใช่ว่าจะไปเพ่งให้ริ้นใหุ้ยุงมันตายหมดทั้งโลก แล้วเราจะอยู่คนเดียว มันไม่ได้ สัตว์โลกทั้งหลายใครก็อยากเกิดมา ครั้นเกิดมาแล้วก็มีความทุกข์ ทุกข์แ้ล้วก็สุข จะไปว่าให้ใคร ก็ว่าให้เราเป็นคนโง่ เป็นคนหลง เป็นคนโง่เง่าเต่าตุ่นโง่เขลาเบาปัญญา ไม่พิจารณาให้เห็นแจ้งในธรรมะปฎิบัติก็เลยเป็นทุกข์เป็นร้อน ร้อนในกาย ร้อนในวาจา ร้อนในจิต ทุกคนมันมีเครื่องร้อนอยู่ตลอดกาล ถ้าหากว่าใจไม่หยั่งลงสู่ ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมะบารมี แล้ว ก็มีแต่ความเร่าร้อนทั้งกลางวันกลางคืนยืนเดินนั่งนอนทุกอิริยาบถ เหตุนั้นพระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า เกิดมาเป็นความทุกข์ไม่มีมความสุข ที่เราคิดว่าจะได้รับความสุขอย่างโน้นอย่างนี้น่ะมันเป็นเพียงขั้นความคิด ธาตุแท้น่ะมันได้แต่ทุกข์ พระองค์ว่า "สุขแท้นั้นไม่มี สุขในโลกไม่มี มีอยู่ทีเดียวก็เรียกว่าสุขในพระนิพพาน"ผู้ใดละกิเลสราคะ โทสะ โมหะ ทั้งอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียดได้หมดสิ้นแล้วผู้นั้นก็รู้แจ้งด้วยตนเอง ไม่ต้องไปถามใครว่าที่ไหนเป็นนิพพาน นิพพานอยู่อย่างไร เป็นรูปสีสัณฐานอย่างไร ไม่ต้องไปถามละ ถ้ามันแจ้งแล้วมันก็รู้เอง เหมือนเราเปิดไฟฟ้าให้มันแจ้งสว่างในเวลามืดแล้ว ไม่เปิดไฟมันก็ไม่สว่างก็มองไม่เห็น ไปไหนมาไหนก็ลูบไปคลำไป ถ้าแจ้งสว่างมันก็รู้จักอะไรต่อมิอะไรอยู่ที่ไหน ที่ไหนจะิเกิดภัยอันตรายแก่ร่างกายสังขารของเรา เราก็รู้

    เมื่อไม่ภาวนาจิตมันก็มืดมันก็ดำ เรียกว่าดำในจิต จิตดำก็คือ ไม่รู้แจ้งไม่เห็นจริง ไม่ได้มาคิดอ่านพิจารณาให้มันเห็ฯ เมื่อไม่เห็นท่านจึงว่า ให้ตั้งใจว่าทุกสิ่งทุกอย่างในร่างกายของเรานี้ เราตั้งใตจเป็นทานไว้เรียกว่า ทานํ เม ปริสฺสุทฺธํ ปรมํ สุขํ ทานที่บริสุทธิ์ที่ข้าพเจ้าตั้งไว้ในใจ มุ่งหวังเพื่อถึงนิพพาน ให้เป็นนิสัยปัจจัยต่อเนื่องถึงนิพพานเถิด ตั้งใจำว้ว่าให้เป็นทานเพื่อนเอาพระนิพพาน พระนิพพานอยู่ืี่ไหน ก็อยู่ที่จิตใจไม่โกรธใคร ไม่โลภอยากได้ของใคร ไม่หลงไปตามกิเลสกามวัตถุกามเพราะว่าในโลกนี้เรื่องยุ่งยากมันอยู่ที่กิเลสต่างๆ ที่มันหลงอยู่กับ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ จะเอาแน่นอนกับสื่งเหล่านี้ไม่ได้ เพราะว่าเกิดมาแล้วมันก็เจริญขึ้น เมื่อเจริญขึ้นหมดขีดแล้วมันก็ชำรุดทรุดโทรมไป เกิดแล้วก็ต้องดับไป ชีวิตคนเราเหมือนฟองน้ำ ฝนที่ตกลงมาจากฟ้ามากระทบน้ำข้างล่าง เกิดเป็นฟองน้ำขึ้นมาเหมือนไข่ ประเดี๋ยวเดียวก็แตกดับไป แล้วฝนเม็ดใหม่ตกลงมามันก็เป็นฟองขึ้น เป็นตัวเป็นตนประเดี๋ยวก็แตกดับไป จิตใจที่มาุลุ่มหลงมัวเมาอยู่ในกิเลสกามวัตถุกามนี้ก็เหมือนฟองน้ำ ประเดี๋ยวเดียวก็แตกไปดับไป เราจะมาเอาอะไรกับฟองน้ำ จะมาเอาอะไรกับความสุขของรูป รูปมันก็มีควา่มทุกข์อย่างนี้ นามก็มีความทุกข์อยู่อย่างนี้ จงให้รู้แจ้งด้วยปัญญาอันชอบ พระองค์ให้รู้แจ้งด้วยปัญญาอันชอบ
     
  7. อุทยัพ

    อุทยัพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    3,564
    ค่าพลัง:
    +18,112
    รูปนามกายใจธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ อายตนะทั้งหลายต้องรู้แจ้งด้วยปัญญา เมื่อรู้แจ้งด้วยปัญญาแล้วก็ปล่อยวาง เมื่อปล่อยวางได้จิตมันก็หลุดออก หลุดออกแล้วมันก็พ้นไป พ้นไปก็พ้นไประยะหนึ่ง แต่ว่ารูปนามกายใจ ยังสัมพันธ์กันอยู่ มันก็รู้สึกสบาย ไม่สบายเจ็บปวดทุกขเวมนา ช่างมันเถิด ถ้าเรากำหนดได้ในใจนี้ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างมันไม่เที่ยงเป็นอยู่อย่างนี้ ทุกสิ่งทุกอย่างมันไม่ใช่ของมั่นคงถาวร อนิจจํ ทุกฺขํ อนตฺตา เต็มโลก จิตอย่าได้มาลุ่มหลงมัวเมาอยู่ในสิ่งเหล่านี้ จงเพียรพยายามทำใจให้ผ่องใสสะอาด รู้จักรู้ รู้ละ รู้ถอน รู้ปล่อย รู้วาง อย่ามารูเพียงแค่ยึดมั่นถือมั่น ในหน้าในตาในชื่อเสียงในเกียรติยศต่างๆ ไม่ต้องมายึดถือ ให้รู้จักว่าสิ่งใดมันเกิดได้ สิ่งนั้นมันก็เปลี่ยนแปลงแตกดับไปได้เหมือนกัน เราจะมาให้สิ่งเหล่านั้นคงที่ตามใจหวังไม่มี พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า โลกนี้เป็นโลกอนิจจังคือความไม่เที่ยง เป็นโลกทุกขังคือความเป็นทุกข์ เป็นโลกอนัตตา คือไม่ใ่ช่ตัวตนของเราของเขา ไม่ใช่ของใครทั้งนั้น เขาเป็นอยู่มีอยู่อย่างนี้ในโลกนี้ ใครมาลุ่มหลงมัวเมาก็ติดอยู่ข้องอยู่อย่างนี้แหละ ผู้ใดรู้จักปล่อยวางในจิตในใจของตน ผู้นั้นก็ย่อมอยู่ดีสบายไม่ทุกข์ไม่ร้อน ละกิเลสราคะ อยู่ทุกเวลา ละกิเลสโทสะ อยู่ืทุกวันเวลา ละกิเลสโมหะอวิชชาตัณหาอยู่ทุกขณะจิตทุกขณะใจ เมื่อผู้ใดทำอยู่ปฎิบัิติอยู่อย่างนี้ ผู้ันั้นก็ชื่อว่า่ ภาวนามัย - บุญสำเร็จด้วยการภาวนา

    ดังแสดงมาก็สมควรด้วยกาลเวลา เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 เมษายน 2011

แชร์หน้านี้

Loading...