ทานอะไรเมื่อฟื้นไข้

ในห้อง 'เมนูอาหารและวิธีการทำอาหาร' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 21 มีนาคม 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="98%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]ทานอะไรเมื่อฟื้นไข้

    [/FONT]​
    </TD></TR><TR><TD>[FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]มีคำกล่าวที่ติดปากคนไทยมาแต่ไหนแต่ไรว่า "ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ" หรือพูดเป็นภาษาบาลีว่า "อโรคยา ปรมาอาภา" แต่ในชีวิตจริงคงหาคนที่มีลาภอันประเสริฐ ไม่เจ็บไม่ไข้ชั่วนาตาปีได้ยากยิ่ง บางคนถึงกับพูดแบบทีเล่นทีจริงว่า ขอแค่เจ็ดวันดีปีละสี่วันไข้ก็น่าจะเป็นลาภพอประมาณแล้ว
    พูดถึงเรื่องไข้ เชื่อว่าหลายคนคงเคยสังเกตว่า เวลาเป็นไข้เรามักรู้สึกเบื่ออาหารไม่อยากกินอะไร ยิ่งของมันๆ ด้วยแล้ว แค่เห็นก็เกิดอาการผะอืดผะอมขึ้นมาติดหมัดแล้ว
    เจ้าอาการเบื่ออาหารที่ว่านี้ ศาสตร์แห่งสุขภาพบางสายวัฒนธรรมอธิบายว่า เกิดจากการเสียสมดุลของระบบย่อยอาหาร พูดง่ายๆ คือระบบย่อยอาหารชักจะไม่ค่อยยอมทำงานตามปกติที่เคยเป็น
    ถ้าเรียกเป็นไทยๆ หน่อยก็เรียกว่าไฟธาตุพร่องหรือไฟธาตุหย่อน
    ถ้ามองในอีกแง่หนึ่งก็พูดกันว่าเป็นกลไกธรรมชาติของร่างกายที่ต้องการพักผ่อน ซึ่งหมายรวมถึงระบบย่อยอาหารด้วย คือคล้ายๆ กับกระเพาะลำไส้ของเราก็ต้องการพักเหมือนกัน ไม่อยากจะรับอะไรเข้าไปอีก เลยทำให้ไม่รู้สึกอยากกินอะไร
    บางคนอาจคิดว่าเมื่อร่างกายเจ็บไข้ไม่สบายและอ่อนเพลียยิ่งต้องบำรุงกันหน่อย แต่ถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่าการกินข้าวในช่วงที่กำลังมีไข้นั้นจะฝืดคอมาก ลิ้นแทบจะไม่รู้รสอาหารเลย ต่อให้เป็นอาหารจานโปรดสุดๆ ที่เคยกินก็ตามเถอะ
    ถามว่าแล้วควรทำอย่างไร
    คำตอบที่อาจจะฟังดูกำปั้นทุบดินสักหน่อยก็คือ ในเมื่อไม่หิว ในเมื่อไม่รู้สึกอยากกิน ก็ไม่ต้องกินสิ
    การรักษาไข้ตามวิถีธรรมชาติหลายสายมีข้อปฏิบัติตรงกันว่า ควรเริ่มจากการอดอาหารเพื่อให้ระบบย่อยอาหารได้พัก รวมทั้งได้เผาผลาญและดูดซึมสารอาหารที่อยู่ในระบบร่างกาย
    ต่อเมื่อร่างกายเริ่มฟื้นจากไข้แล้ว จึงค่อยเริ่มกินอาหารอีกครั้ง วิธีที่ดีที่สุดคือสังเกตจากปฏิกิริยาของร่างกายว่า ชักจะเริ่มหิวแล้ว
    แต่ก็อีกนั่นแหละ พอรู้สึกหิวแล้วไม่ใช่ว่าจะไปฟาดข้าวขาหมู ข้าวมันไก่ทอด หรือข้าวเหนียวทุเรียนให้สมอยากทันที ถ้าทำอย่างนั้นรับรองว่าไข้กลับแน่
    อาหารมื้อแรกที่เหมาะที่สุดสำหรับคนเพิ่งฟื้นไข้ก็คือน้ำข้าวต้ม เพราะมีคุณค่าจากข้าวซึ่งถือว่าเป็นสุดยอดแห่งอาหารจากผืนแผ่นดิน ที่ทำเป็นข้าวต้มก็เพื่อให้ย่อยง่ายนั่นเอง ประเภทกินปุ๊บ ร่างกายก็ดูดซึมไปเลี้ยง ไปซ่อมแซมร่างกายส่วนที่สึกหรอไป ในช่วงที่มีไข้ได้รวดเร็ว
    ไม่ต้องให้เปลืองไฟธาตุที่ต้องใช้ในการย่อย ซึ่งช่วงฟื้นไข้ไฟธาตุก็ยังไม่คืนสภาพปกติอยู่แล้ว
    หลังจากมื้อแรกแล้ว ไฟธาตุจะค่อยๆ เข้าที่ ทีนี้เขาแนะนำให้ตามด้วยข้าวต้ม โดยเริ่มจากข้าวต้มมีน้ำมากกว่าเมล็ดข้าว พอมื้อต่อๆ ไปก็ค่อยเพิ่มปริมาณข้าวลงไป แล้วค่อยเป็นข้าวสวยในที่สุดเมื่อระบบย่อยอาหารทำงานเป็นปกติดีแล้ว
    การค่อยๆ กินข้าวโดยเริ่มจากน้ำข้าวล้วนๆ แล้วค่อยเพิ่มปริมาณเมล็ดข้าวเข้าไป เท่ากับเป็นการกินอาหารตามสภาพของร่างกายที่ค่อยๆ เริ่มฟื้นตัว เรียกว่าเป็นการกินให้เป็นหนึ่งเดียวกับตัวเรา
    ขณะเดียวกันก็เป็นการช่วยให้ระบบย่อยอาหารค่อยๆ ปรับตัวไปด้วย
    ระหว่างที่อยู่ในช่วงฟื้นไข้ร่างกายยังไม่หายเป็นปกติดีจะกินน้ำต้มผัก น้ำต้มกระดูกด้วยก็ได้
    อาหารบำรุงหลังฟื้นไข้ที่ดีมากอีกอย่างหนึ่งก็คือ ถั่วเขียวต้มให้เละๆ จะเรียกว่าซุปถั่วเขียวก็คงใกล้เคียงอยู่ คือเอาถั่วเขียวมาแช่น้ำสักสิบห้านาที แล้วล้างให้สะอาดอีกสักเที่ยวสองเที่ยว จากนั้นใส่น้ำให้มากๆ ต้มเคี่ยวนานๆ ด้วยไฟอ่อนๆ จนถั่วเขียวเปื่อยยุ่ย
    ประมาณว่าไม่เหลือสภาพของความเป็นเมล็ดถั่วเขียวเลยยิ่งดี เพราะจะยิ่งย่อยง่ายขึ้น
    ถ้าจะเติมน้ำตาลทรายแดงให้พอหวาน เอ้า! แถมขิงไปอีกหน่อย ทีนี้คุณก็จะได้ซุปถั่วเขียวหวานอร่อยเจือด้วยรสเผ็ดร้อนของขิง ทั้งเรียกเหงื่อ ทั้งบำรุงร่างกาย และที่สำคัญบำรุงไฟธาตุด้วย
    พอเริ่มหายจากไข้ดีแล้ว และรู้สึกว่าร่างกายต้องการอาหาร อยากจะแนะนำอีกตำรับหนึ่งที่ทั้งบำรุงร่างกายและรสชาติอร่อย แม้ไม่ถึงกับขนาดขึ้นเหลา แต่ก็เด็กกินได้ ผู้ใหญ่กินดี
    เอาข้าวกล้องไปปั่นให้หยาบๆ ๑ ส่วน เติมน้ำ ๑๖ ส่วน แล้วใส่นมอีก ๔ ส่วน ต้มด้วยไฟอ่อนถึงปานกลาง จนข้าวสุกดี(จะเละเหมือนโจ๊ก) แล้วเอาเมล็ดกระวานมาตำให้แหลกใส่ลงไปพอประมาณ เติมลูกเกดสีดำหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วต้มให้เดือดอีกสักพัก และเติมน้ำตาลพอหวาน
    สูตรนี้เป็นสูตรของอินเดีย แต่ตอนนี้ผ่านการชิมโดยสมาชิกมูลนิธิสุขภาพไทยหลายปากเมื่อครั้งที่เสวนาเรื่องข้าวกล้อง ถือว่าสอบผ่านได้หลายคนบอกว่าจะเอาไปทำกินที่บ้านบ้าง
    ใครจะไปดัดแปลงสูตรให้พลิกแพลงได้มากกว่านี้ก็ไม่ว่ากัน เพราะช่วงนี้เป็นช่วงที่กระเพาะเริ่มเรียกร้องอยากทำงานแล้ว ขืนปรุงอาหารไม่ถูกใจ เดี๋ยวร่างกายประท้วงหยุดงานกันอีก พาให้ไข้กลับมาอีกจะยุ่งกันใหญ่
    [/FONT]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ที่มา : horapa.com
     

แชร์หน้านี้

Loading...