ทานวัตถุ-ฉากหลัง พระรรมเทศนาโดย หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย หลับอยู่, 23 พฤษภาคม 2015.

  1. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    ทานวัตถุ-ฉากหลัง
    วันอังคารที่ ๓ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๙

    กดฟังเสียงของหลวงพ่อได้ตรงลิงค์นี้ [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    <!-- m -->
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    อิทานา ตสฺส ภควโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
    ปรินิพฺพานโต ปัฎฺฐาย เอกูนฺสตุตฺตรจตุสตาธิกานิ
    เทฺวสวจฉรสหสฺสานิ อติกฺกนฺตานิ ปจฺจุปนฺรกาลวเสน
    จิตฺตมาตสฺส ตติยํ ทินฺนํ วารวเสน ปน
    ภุมฺมวาโร โหติ เอวํ ตสฺส ภควโตปรินิพฺพานา
    สาสนายุกาลคณนา สลฺลกฺเขตพฺพา สกฺกจฺจํ ธมฺโม โส ตพฺโพติฯ


    ศุภมัสดุ พระพุทธศาสนายุกาล จำเดิมแต่ปรินิพพาน แห่งองค์พระสมเด็จพระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น บัดนี้ล่วงแล้วได้ ๒๔๙๙ พรรษา ปัจจุบันสมัยเมษายนมาส สุรทินที่ ๓ อังคารกาลของพุทธปรินิพพานอันกำหนดนับ ด้วยประการฉะนี้ เบื้องหน้าแต่นี้จงตั้งสัมมนาหาระจิต ตามคำภาษิต ดังจะแสดงต่อไปนี้เถิดเทอญ




    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส(๓ หน)



    อนฺนํ ปานํ วตฺถํ ยานํ มาลา คนฺธํ วิเลปนํ
    เสยฺยาวสฺถํ ปทีเปยฺยํ ทานวตฺถู อิเม ทส
    อนฺนโท พลโท โหติ วตฺถโท โหติ วณฺณโท
    ยานโท สุขโท โหติ ทีปโท โหติ จักขุโท
    มนาปทายี ลภเต มนาปํ อคฺคสฺส ทาตา ลภเต ปุนคฺคํ
    สรสฺส ทาตา วรลาภิ โหติ เสฏฺฐนฺทโท เสฏฺฐมุเปติ ฐานํ
    อคฺคทายี วรทายี เสฏฺฐทายี จ โย นโร
    ทีฆายุ ยสฺวา โหติ ยตฺถ ยตฺถูปปชฺชตีติ
    เอเตน สจฺจวชฺเชน สุวตฺถิ โหตุ สพฺพทา
    อาโรคิยสุขญฺเจว กุสลญฺจ อนามยํ
    สิทฺธมตฺถุ สิทฺธมตฺถุ สิทฺธมตฺถุ อิทํ ผลํ
    เอตสฺมึ รตนตฺตยสฺมึ สมฺปสาทนเจตโสติ




    ณ บัดนี้อาตมภาพจะได้แสดงธรรมิกถา เป็นจารีตประเพณีสืบมา แต่ไหนแต่ไรไป พระพุทธเจ้าจะอุบัติตรัสขึ้นในโลก ก็มีทานวัตถุการให้ซึ่งกันและกันอยู่ พระพุทธเจ้าจะไม่อุบัติเกิดขึ้นในโลก ทานวัตถุก็มีการให้กันอยู่ แต่ว่าทานบัญญัติไว้เป็นทานวัตถุ วัตถุ ๑๐ ประการ



    ทานการให้จำเป็นทีเดียว ต้องสงเคราะห์อนุเคราะห์ซึ่งกันและกัน โลกซึ่งเป็นอยู่ได้นี้เริ่มต้นทีเดียว ตระกูลต้องให้ทานในกันและกัน ถ้าไม่ให้ทานในกันและกันละก็ ตระกูลอยู่ไม่ได้ แม้แต่พระมหากษัตริย์ปกครองประเทศ ต้องให้ทานในกันและกัน ไม่ให้ทานในกันและกันละก็ ปกครองประเทศอยู่ไม่ได้ ยิ่งให้ต้องให้หนัก พระมหากษัตริย์ต้องให้หนัก ให้ข้าราชบริพารน้อยใหญ่ ต้องให้หนัก เพราะการปกครองใหญ่ กว้าง ต้องให้มากออกไป ผู้ปกครองตระกูลน้อย ตระกูลใหญ่ก็ต้องให้หนักขึ้นไป ตระกูลน้อยก็ต้องให้ไปตามส่วน ถ้าให้มากเท่าไรตระกูลนั้นก็ต้องยิ่งใหญ่ขึ้นไป การให้เป็นข้อสำคัญนัก ไม่ใช่เป็นของพอดีพอร้าย ให้พินิจพิจารณาดูเถิด เราเกิดมาเป็นหญิงเป็นชาย เมื่อเกิดมาจากตระกูลพ่อแม่ เมื่อพ่อแม่ไม่ให้สิ่งหนึ่งสิ่งใดเลย ลูกหญิงลูกชายนั้นจะนับถือกันแค่ไหนถือไกลมากทีเดียว ถือไกลมากทีเดียว

    หรือไม่เช่นนั้น ถ้าว่ามีสมบัติมากๆ ก็จะหาเรื่องใส่เอา พ่อแม่ก็จะนอนตาย แต่ถึงเวลาตายเห็นจะลืมตาตาย ไม่หลับตาตาย สมบัติมากมายอย่างนี้ ว่าต่างๆ นานา เพื่อจะแคะไคล้ หาเรื่องอุบายเสียดสีต่างๆ เพราะไม่ได้สมบัติ เขาไม่ให้ นี่ลูกหญิงลูกชายกับพ่อแม่ถึงขนาดนี้

    คนอื่นล่ะ คนอื่นเมื่อไม่สงเคราะห์ไม่อนุเคราะห์ ก็ไม่อยู่ด้วยทีเดียว หลีกเลี่ยงทีเดียว นี่การให้จำเป็นนะ ไม่ใช่เป็นของไม่จำเป็น จำเป็นทีเดียว

    ท่านถึงวางตำรับตำราไว้ พระพุทธเจ้าได้อุบัติตรัสเกิดขึ้นในโลก เมื่อก่อนท่านอยู่องค์เดียว ท่านก็แสวงหาอาหารบิณฑบาตจำเพาะ ได้บ้างไม่ได้บ้างก็ตามกาล ท่านพอจะอดทนได้

    เมื่อมีผู้เลื่อมใสติดตามท่านไปอีก ตั้งแต่ท่านออกแล้ว ปัญจวัคคีย์ก็ติดตามท่านไปทั้ง ๕ รูปด้วยกัน แต่ว่าท่านเหล่านี้เลี้ยงตัวได้ทั้งนั้น เลี้ยงตัวได้ทั้งนั้นติดท่านไป ดูแลท่าน นั่นตอนนั้นท่านยังไม่สำเร็จ

    แล้วท่านปัญจวัคคีย์มาแยกท่านเสีย ท่านทำทุกกรกรรม จนสำเร็จพระสัมมาสัมโพธิญาณ ภายใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์แต่ลำพังพระองค์เดียว มารมาผจญ มารก็สงบไป ได้บรรลุพระโพธิญาณ ภายใต้ต้นศรีมหาโพธิ์นั้น และต่อจากนั้นท่านได้ออกโปรดสรรพสัตว์ทั้งหลาย ตั้งต้นแต่พระปัญจวัคคีย์ แสวงหาปัญจวัคคีย์ ให้ปัญจวัคคีย์ได้บรรลุมรรคผล อัญญาโกณฑัญญะ ภัททิยะ วัปปะ มหานานะ จนถึงพระอัสสชิทั้ง ๕ ได้บรรลุมรรคผลเหมือนท่านขึ้นแล้ว เพราะท่านเหล่านั้นชำนาญในเรื่อง อดมาแล้ว ท่านไม่ค่อยห่วงใยมากนัก

    ต่อไปท่านก็ประกาศศาสนา และไปโปรดพระยส ๕๕ ได้สำเร็จมรรคผลแล้ว ก็ส่งไปประกาศศาสนาไม่ซ้ำรอยกัน เพื่อให้พุทธศาสนากว้างขวางออกไปและท่านได้เอาใจใส่ ผู้ที่เข้ามาบวชอยู่กับพวกท่าน พระราชกุมาร ๓๐ นั่นก็เป็นราชกุมารที่คงแก่เรียน ผ่านมหาวิทยาลัยมาแล้วทั้งนั้น เลี้ยงตัวกันได้ไม่ต้องห่วงใยนัก

    ไปโปรดพวกชฎิล ๑๐๐๓ รูป ให้ได้สำเร็จมรรคผล แล้วท่านก็ออกเที่ยวไปเรื่อย ในเมืองราชคฤห์พันสามรูปนั้นสืบไป ไปโปรดชาวเมืองราชคฤห์ ๑๒ นหุต ได้สำเร็จมรรคผล ๑๑ นหุต เหลืออีก หนึ่งนหุต ที่ตั้งอยู่ในไตรสรณคมน์

    คราวนี้ท่านก็ต้องอุปการะมากมายจริง ต้องเป็นประมุขนำบิณฑบาต จากพลเมืองทั้งหลายเหล่านั้น เพื่อจะให้ภิกษุบริษัทบวชเข้ามาในตอนหลังๆ จะได้เลี้ยงตัวได้เหมือนท่าน ท่านก็เอาพระทัยใส่อย่างนี้ ไม่ได้ทอดธุระเลย ปุพพัณเหปิณฑปาตัง แสวงหาอาหารบิณฑบาตเลี้ยง ให้เลี้ยงตัวอยู่ได้ศาสนาจะได้ดำรงอยู่คู่กันไป สั่งสอนกันไปทีเดียว

    แต่ว่าถึงสั่งสอนเกิดจากข้อหนึ่งข้อใด ก็ต้องเอาพระทัยใส่ในเรื่อง ทานการให้ ถ้าไม่ให้ทานก็ไม่สำเร็จประโยชน์อีกเหมือนกัน นี้เป็นเงื่อนไขสำคัญ

    เมื่อรู้จักเงื่อนไขสำคัญอันนี้แหละก็ คนมีปัญญาจะเป็นคนชั้นสูงชั้นใหญ่ เพียงเท่าใดก็ได้ ถ้ารู้จักทานการให้

    ถ้ารู้จักทานการให้จะเป็นคนสูงคนใหญ่เพียงเท่าใด ก็เป็นได้ อุตส่าห์ให้ อุตส่าห์บำรุงไป อุตส่าห์หล่อเลี้ยงไป ถ้าว่าคนไม่มีสติปัญญาหล่อเลี้ยงได้ไม่เท่าไรนัก ให้เขาเป็นอยู่ของเขาไป ถ้าคนโง่ ต้องหนักหน่อยหนึ่ง นี้แหละการให้นี่เรียกว่าเป็นประเพณีของคนมีปัญญา ไม่ใช่เป็นประเพณีของคนโง่ คนมีปัญญาอยู่ในสถานที่ใด หญิงก็ดี ชายก็ดี เป็นใหญ่ในที่นั้น เพราะทานการให้ สงเคราะห์ อนุเคราะห์เขาอยู่เสมอไป ใหญ่ในที่นั้นไม่ต้องสงสัยคนมีปัญญา





    ถ้าคนโง่ ไม่มีปัญญาอยู่ในที่ไหนจมมืดอยู่ในที่นั้น ไม่ให้ใคร มีอะไรให้ไม่ได้ กลัวจะหมดกลัวจะสิ้น กลัวจะเปลืองไป ให้เป็นหมดเป็นสิ้นเป็นเปลืองไป ให้ไม่ได้ ให้ไปเล็กไปน้อย กลัวจะหมดจะสิ้นเปลืองไปเสียแล้ว

    หนักเข้าต้องอยู่คนเดียว อยู่คนเดียวเจ็บไข้ได้ป่วย ไม่มีใครเยี่ยมไปเยียนเลย เพราะอะไร? ไม่มีอามิสเครื่องล่อเลย ไม่มีอาหารรางวัลอะไรสักนิ๊ดหนึ่ง เขาไม่เยี่ยม

    นี่คนโง่เป็นอย่างนี้ ฆ่าตัวเองทั้งเป็น



    คนฉลาดเลี้ยงตัวเอง สร้างตัวเองทั้งเป็น ส่งเสริมตัวเองทั้งเป็น นี่คนฉลาด



    เพราะฉะนั้น นักปราชญ์จึงได้วางตำรับตำราไว้
    อนฺนํ ปานํ วตฺถํ ยานํ มาลา คนฺธํ วิเลปนํ
    เสยฺยาวสฺถํ ปทีเปยฺยํ ทานวตฺถู อิเม ทส
    ทานวตฺถู อันว่าทานวัตถุทั้งหลาย อิเมเหล่านี้ ทส ๑๐ ทานวัตถุทั้งหลายเหล่านี้ ๑๐ ประการ
    อันนัง ให้ข้าว
    ปานัง ให้น้ำ
    วัตถัง ให้ผ้าสำหรับนุ่งห่มใช้สอย
    ยานัง ให้เครื่องอุปการะแก่เครื่องไปมา ให้ยานให้ค่าโดยสาร ให้ยาน ให้ค่าโดยสาร ตกรถ ถ้ามีก็ให้ มีก็ให้
    มาลา ให้ระเบียบดอกไม้
    คันธัง ให้ของหอม
    วิเลปนัง ให้เครื่องลูบไล้
    ไสยยาวัสถัง ให้ที่นอน และที่พักอาศัย ที่อยู่เป็นสุขเบิกบานสำราญใจ
    ปทีไปยยัง ตามประทีปในที่มืด เพื่อให้เห็นหนทางสว่าง




    ๑๐ อย่างนี้เรียกว่า ทานวัตถุ คิดดูซิว่า

    เราให้อาหาร เราให้อาหารเขารับประทาน ให้มากก็ได้รับความสุขมาก ให้น้อยคนเขาก็ได้รับสุขน้อย แล้วแต่จะให้ ให้ข้าว ให้ขึ้นที่ไหนเป็นกษัตริย์ในที่นั้น ไม่ใช่น้อย เรียกว่า อันนัง

    ปานัง ให้น้ำ เราไม่มีน้ำใช้ เขาเอาน้ำมาให้ก็ดี หรือเวลาเราต้องการเขาเอามาให้ก็ดี หรือให้น้ำเป็นแท๊งค์ๆ เป็นจักๆ เป็นถังๆ ก็ได้ เขาจะมีอุปการะคุณแก่เราเพียงแค่ไหน เราต้องเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เขาอยู่เหมือนกัน เขาให้น้ำ

    วัตถัง ให้ผ้าสำหรับนุ่งห่มใช้สอยต่างๆ นี่เราจะขอบพระเดชพระคุณท่านเท่าไร ให้ผ้า

    ยานัง เราจะไปในทางเหนือทางใต้เวลานี้เรารู้สึกทีเดียว ให้ค่ารถค่าเรือเป็นข้อสำคัญนัก ต่อเท้าต่อมือให้ทีเดียว ต่อหนทางให้ทีเดียว ใครจะให้อุปการะก็ตาม ไปมารถรา หรือยวดยานพาหนะใดๆ เหล่านี้เรียก ยานัง ทั้งนั้น พอให้ก็เป็นพระเดชพระคุณ

    มาลา ให้ระเบียบดอกไม้ ระเบียบดอกไม้ ดูไม่สุขเท่าไรนัก ให้ระเบียบดอกไม้ หรือจะให้ระเบียบ ดอกไม้ สำหรับหอม หรือไม่หอม มีกลิ่นหรือไม่มีกลิ่น นั่นแหละให้ดอกไม้

    ก็คิดดูซิ ในเวลาเราต้องการดอกไม้ เขาให้ เราจะขอบพระเดชพระคุณเพียงแค่ไหน เวลาเราต้องการ ถ้าไม่ต้องการดูก็อย่างงั้นแหละ เวลาต้องการก็ว่าดี นั่นมาลา

    คันธัง ให้ของหอมนี้แหละเป็นที่ชอบใจล่ะ เข้ามาใกล้ก็ชื่นอกชื่นใจ สบายอกสบายใจขอบพระเดชพระคุณท่านมากทีเดียว เรียกว่าคันธัง

    วิเลปันนัง เครื่องลูบไล้ เครื่องลูบไล้สำหรับร้อน เมื่อลูบเข้าแล้วก็เย็นกายสบายใจ เย็นหมดทั้งร่างกาย เขาเรียกว่าเครื่องลูบไล้ ของน้อยไม่ใช่มากนัก เขาเรียกว่า เครื่องลูบไล้ ให้เกิดชื่นอกชื่นใจ เย็นกาย ให้เกิดเย็นชื่น ให้เกิดเย็นใจ เขาเรียกว่าเครื่องลูบไล้

    เครื่องลูบไล้อย่างจีน เขาเล่นละครจีน เล่นงิ้วเขาเอาสีไปไล้หน้า หรือเครื่องไล้เขามี แต่งให้เป็นรูปขึงขังขึ้น หรือให้เป็นรูปแปลกประหลาดลวงตาขึ้น นั่นก็เป็นเครื่องลูบไล้เหมือนกัน แต่นั่นหนาขึ้นไม่ใช่บางแต่ว่าสิ่งเหล่านี้ เมื่อเขาต้องการใครเอาไปให้ เขาก็ขอบพระเดชพระคุณมากมายทีเดียว

    ไสยยาวัสถัง เสยฺยา ที่นอน วสฺถํ ที่นอนที่อยู่ พักพาอาศัยตลอดทั้งชาติ ชั่วคราวก็ดี หรืออาสนะสำหรับนั่งพักพาอาศัยก็ดี เหล่านี้ใครให้ก็เป็นอันขอบใจมากทีเดียว เสยฺยาวสฺถํ นี้

    ปทีไปยยัง ที่มืดตามประทีปไปให้ เราไปเห็นเช่นนั้น แต่ว่าเขาให้เรา เราก็ต้องรักใคร่เขาทีเดียว เรียกว่านับถือเขาทีเดียว ไม่ใช่เขานับถือเรา

    อย่างนี้ต้องจำเป็นตำรับตำราไว้ อยู่ในโลกต้องประพฤติอย่างนี้
    ถ้าว่าหญิงก็ดี ชายก็ดี ประพฤติอย่างนี้แล้ว
    หญิงคนนั้นชายคนนั้นแหละจะได้ชื่อว่า เป็นที่พึ่งของตน จะได้ชื่อว่าเป็นแม่ของตน

    ถ้าเป็นชายก็เป็นพ่อของตน ผู้ให้นั้นแหละเป็นแม่เป็นพ่อทีเดียว เหมือนกับพ่อแม่ให้ลูก คนอื่นให้ไม่ได้ ให้ได้แต่ลูก ลูกก็เรียกพ่อเรียกแม่ คนอื่นเขาก็ไม่เรียกพ่อเรียกแม่

    ถ้าให้ได้ เหมือนลูกนั้นเหมือนลูกหมดทุกคน คนอื่นก็เรียกพ่อแม่เหมือนลูกทุกๆ คน นั้นแหละการให้สูงอย่างนี้ ให้ถึงกับเป็นพ่อเป็นแม่

    เพราะฉะนั้น การให้เป็นตัวสำคัญ ทั้ง ๑๐ อย่างนี้แหละ จำไว้เป็นตำรับตำรา เราเป็นมนุษย์ยังไม่ถึงชาติที่สุดแล้วต้องให้ ถ้าไม่ให้แล้ว ไปในภายภาคข้างหน้ามันกันดาร ไม่สมบูรณ์ด้วยเครื่องกินเครื่องใช้ มันขาดตกบกพร่อง

    ถ้าว่าให้อยู่เนืองนิตย์อัตราแล้ว ไม่ขาดตกบกพร่อง ไม่ทุกข์ไม่ยาก ในระหว่างนั้นๆ พอใช้พอสอยทีเดียว

    เพราะการให้เป็นตัวสำคัญ ท่านจึงได้วางเป็นตำรับตำราเป็นแบบแผนไว้ว่า
    อนฺนโท พลโท โหติ อนฺนโท พลโท โหติ ข้าวต้มข้าวสวย ผู้ให้ข้าวสวย หรือข้าวต้มก็ช่าง ของอื่นมี

    ผู้ให้ข้าว ได้ชื่อว่าให้กำลัง อนฺนโท พลโท โหติ ผู้ให้ข้าวได้ชื่อว่าให้กำลัง แต่ว่าในที่นี้ท่านบอกให้กำลังอย่างเดียว

    ในที่อื่นให้ข้าวอย่างเดียว ให้โภชนาหารอย่างเดียวได้ชื่อว่า ให้อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณ ทีเดียว

    ให้กำลังด้วย ให้ปัญญา ให้ความสุขด้วย ให้ความสวยความงามด้วย ให้อายุด้วย ๕ อย่าง ให้ข้าวอย่างเดียว

    แต่ในที่นี้ท่านวางหลักไว้ว่า ผู้ให้ข้าวได้ชื่อว่าให้กำลัง อนฺนโท พลโท โหติ
    วตฺถโท โหติ วณฺณโท ผู้ให้ผ้าสำหรับนุ่งห่มใช้สอยเหล่านั้น ได้ชื่อว่าให้ความสวยงาม ได้ชื่อว่าให้ความสวยงาม ให้ผ้าสำหรับนุ่งห่มใช้สอยต่างๆ นั้นน่ะ ได้ชื่อว่าให้ความสวยงาม เกิดชาติใดภพใด ไอ้ความสวยงามจะต้องติดตัวไปในชาติหน้า เพราะตัวสร้างความสวยงามของตัวไว้

    ผู้ให้ข้าวได้ชื่อว่าให้กำลัง เราเอาอาหารให้แล้ว เกิดชาติใดภพใดตัวจะต้องมีกำลังไม่ขาดตกบกพร่องตลอดชาติ ทุกชาติไป นับชาติไม่ไหว เพราะตัวได้สร้างกำลังของตัวไว้แล้ว จะต้องสร้างไว้อย่างนี้

    ยานโท สุขโท โหติ ผู้ให้ยานเครื่องอุปการะแก่การไปมา หรือค่าอุปกรณ์ค่ารถ ค่าเรือ ให้สำเร็จแก่การไปมาได้ ผู้นั้นได้ชื่อว่าให้ความสุขแท้ๆ ยานโท สุขโท โหติ ผู้ให้ยาน ได้ชื่อว่า ให้ความสุขให้เขาไปรถไปเรือได้ เราก็ได้รับความสุขเท่านั้น เมื่อตัวสร้างความสุขของตัวไว้เช่นนี้แล้ว ภพชาติต่อๆ ไปความสุขต้องอยู่กับตัว ในเรื่องยาน ตัวไม่ขาดตกบกพร่องแล้ว ชาติต่อๆ ไปต้องมีใช้ทุกขณะทุกเมื่อไป เพราะตัวได้สะสมอบรมในเรื่องยานของตัวไว้ นี้ได้ชื่อว่า ยานโท สุขโท โหติ

    ทีปโท โหติ จักขุโท ทีปโท โหติ จักขุโท ผู้ให้ประทีป ให้ประทีป คือให้ไฟนั้นเอง ผู้ให้ประทีปได้ชื่อว่าให้นัยน์ตา ให้ความเห็น

    ก็จริงล่ะ ในเมื่อมืดๆ เขาจุดประทีปตามไปให้ ก็เดินเห็นทางได้สะดวก ได้ชื่อว่าให้ดวงตา

    ถ้ามืดอยู่เช่นนั้นละก็ไม่เห็นอะไร มีนัยน์ตาก็เหมือนไม่มีนัยน์ตา เมื่อสว่างขึ้นเช่นนั้น ก็ได้ชื่อว่ามีนัยน์ตาขึ้น ทีนี้ได้ชื่อว่าให้นัยน์ตา ผู้ให้ประทีปได้ชื่อว่าให้นัยน์ตา ทีปโท โหติ จักขุโท เป็นผู้ให้ประทีป ได้ชื่อว่าให้ความเห็น หรือให้นัยน์ตา

    นี่เป็นหลักสำคัญ เกิดชาติใดภพใด นัยน์ตาของตัวมันไม่ต้องรักษาโรคหรอก ทุกชาติ ทุกภพไป เพราะตัวให้นัยน์ตา สร้างนัยน์ตาของตัวไว้ซะแล้ว สมบูรณ์บริบูรณ์นับชาตินับภพนับชาติไม่ถ้วน

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    เพราะสร้างนัยน์ตาของตัวเป็นอันดีไว้แล้ว นี่ในบาทพระคาถานี้แก้ไขในเรื่องการให้ แก้ไขเรื่องการให้ แก้ไขเรื่องการให้ ก็ไม่ใช่เท่านั้น ยังแก้ไขอีก บาทพระคาถาต่อไปว่า

    มนาปทายี ลภเต มนาปํ มนาปทายี ลภเต มนาปํ
    ผู้ให้ของดี ผู้ให้ของชอบใจ ย่อมได้ของชอบใจ
    มนาปทายี ผู้ให้ของชอบใจ
    ลภเต มนาปํ ย่อมได้ของชอบใจ สิ่งใดมาถึงตัวแล้วชอบใจทั้งสิ้น เพราะตัวได้สั่งสมของชอบใจของตัวไว้
    ถ้าให้ของที่ไม่ชอบใจ ก็ตรงกันข้ามได้ของที่ไม่ชอบใจ
    ให้ของที่ชอบใจ ได้ของที่ชอบใจ

    ตรงข้ามอย่างนี้ ให้อุตส่าห์พยายามที่จะให้สิ่งหนึ่งสิ่งใดต้องเป็นที่ชอบใจของตัว ได้ชื่อว่าให้ความสมหวังของตัวทุกภพทุกชาติ นับชาติไม่ถ้วนไว้ ต่อไปภาคหน้าเป็นของตัวแท้ๆ ที่ตัวให้นั้นชื่อว่า มนาปทายี ลภเต มนาปํ

    อคฺคสฺส ทาตา ลภเต ปุนคฺคํ ผู้ให้ของเลิศ อคฺคสฺส ทาตา ลภเต ปุนคฺคํ ให้ของเลิศ ย่อมได้ของเลิศ เลิศเพียงแค่ไหน ก็แล้วแต่วัตถุนั้นๆ แล้วกาละนั้นๆ แล้วแต่ประเทศนั้นๆ ที่เขานิยมวัตถุกัน

    วรสฺส ทาตา วรลาภิ โหติ ให้ของชอบใจ ย่อมได้ของชอบใจ สิ่งใดที่ชอบใจ ถ้าอยากจะได้ของที่ชอบใจอยู่แล้วละก็ ให้ทำของที่ชอบใจนั้นไว้ ให้สร้างของที่ชอบใจของตัวไว้

    บริจาคทานแก่ สมณพราหมณ์ วณิพก คนยาจก ขอทาน และคนอนาถา ให้ของที่ชอบใจย่อมได้ของที่ชอบใจอยู่เนืองนิตย์อัตรา

    จงอุตส่าห์พยายามสั่งสมของตัวไว้เสีย เมื่อตัวมาประสบพบพุทธศาสนาแล้ว ต่อไปในภายหน้า เมื่อรู้ข้อทั้งหลายเหล่านี้แล้ว ต้องสั่งสมของตัวเสีย ย่อมเป็นของตัวแท้ๆ ใครทำได้ของคนนั้น คนอื่นจะแย่งชิงอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ได้

    เสฏฺฐนฺทโท เสฏฺมุเปติ ฐานํ ให้ของดีได้ของดี เสฏฺฐนฺทโท เสฏฐมฺเปติ ฐานํ ให้ฐานะอันเลิศย่อมเข้าถึงซึ่งฐานะอันเลิศ ให้ฐานะอันเลิศ ย่อมถึงซึ่งฐานะอันเลิศ

    ฐานะอันเลิศนั้นเป็นไฉน? ที่เขาได้กันในบัดนี้ ฐานะอันเลิศเป็นชั้นๆ ขึ้นไป ในทางราชการเราก็เห็น มียศถาบรรดาศักดิ์เป็นชั้นๆ ขึ้นไป นั้นเกิดจากผู้ให้ทั้งนั้น นั่นเกิดจากผู้ให้ทั้งนั้น
    ถ้าไม่ให้ ก็ไม่ได้ เป็นหญิงก็ดี ชายก็ดี เราใช้อยู่ก็ต้องให้ฐานะมัน ให้ฐานะเป็นใหญ่ในหน้าที่การงานนั้นๆ ให้มันเป็นหัวหน้าการงานขึ้น ให้มันมีตำแหน่งหน้าที่การงานบ้างซิ ก็ได้ชื่อว่าให้ฐานะอันเลิศเหมือนกันตลอดไป ก็ย่อมได้ประสบฐานะอันเลิศเหมือนกัน ไปตามกาล ตามส่วน

    ถ้าแม้นว่าเป็นกษัตริย์ ฐานะอันเลิศเหล่านี้ท่านประทานได้ ตามความชอบจิตชอบใจของท่าน

    หรือเป็นนายกก็ให้ฐานะอันเลิศอย่างนี้ได้ เมื่อให้ฐานะอันเลิศก็ย่อมประสบกับฐานะอันเลิศ

    อคฺคทายี วรทายี เสฏฐทายี จโย นโร อคฺคทายี วรทายี เสฏฐทายี จ โย นโร คนใดให้ของเลิศ ให้ของเป็นที่ชอบใจ ให้ของประเสริฐ จะไปเกิดในที่เช่นใด จะไปเกิดในที่เช่นใด
    ทีฆายุ ยสวา โหติ ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน มียศในที่นั้นๆ ไปเกิด
    ยตฺถ ยตฺถูปปชฺชตีติ จะไปเกิดในที่ใดๆ
    ทีฆายุ ยสฺวา โหติ ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน มียศในที่นั้นๆ นี้ส่วนเหล่านี้มีที่เกิดอย่างนี้
    เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยสัจวาจาภาษิตนี้ เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยสัจวาจาภาษิตนี้
    สุวตฺถิโหตุ สพฺพทา ขอความสวัสดีจงมี และสุขอันเกิดจากความไม่มีโรค และอนามัยเป็นอันดี จงมีแก่ท่านทั้งหลายในกาลทุกเมื่อ ด้วยสัจจวาจาภาษิตนี้ ขอความสวัสดีจงมี
    สิทฺธมตฺถุ สิทฺธมตฺถุ สิทฺธมตฺถุ อิทํ ผลํ
    เอตสฺมึ รตนตฺตยสฺมึ สมฺปสาทนเจตโส
    ขอจิตอันเลื่อมใสในพระรัตนตรัยนี้ ขอผลแห่งจิตอันเลื่อมใสในพระรัตนตรัยนี้ จงเป็นผลสำเร็จ จงเป็นผลสำเร็จ จงเป็นผลสำเร็จทุกประการ ดังรัปประทานวิสัชนามา ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา นี้เนื้อความของพระบาลีแท้ๆ ออกจากกระแสวาระพระบาลีไม่คลาดเคลื่อน ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบายขยายความเป็นลำดับไปว่า
    อนฺนํ ปานํ วตฺถํ ยานํ มาลา คนฺธํ วิเลปนํ เสญฺยาวสถํ ปทีเปยฺยํ ทานวตฺถู อิเม ทส


    ทานวัตถุ ๑๐ ประการนี้ วัตถุเป็นเครื่องให้ทานเรียกว่า ทานวัตถุ วัตถุเป็นเครื่องให้ทาน ๑๐ ประการเหล่านี้ เราก็ใช้อยู่เสมอ




    นี่แล้วแต่ฉากหลังที่หล่อเลี้ยงประเทศนั้นๆ
    ถ้าวิชาหยาบไม่ละเอียด ก็ได้อาหารทรามเกิดในประเทศของตัว
    ถ้าแม้ว่าฉากหลังมีกายละเอียดรักษาวิชาไว้ได้ดี ก็ได้ของประณีตหล่อเลี้ยงประเทศของตัว ที่ตัวรักษาฉากหลังนั้น เป็นตัวสำคัญ
    ฉากหลังนี้เราต้องนับถือนะ ไม่ใช่เราไม่นับถือเมื่อไร

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    ฉากหลังนี้คือใคร?


    อยากจะรู้ฉากหลัง นี่ติดตัวนี่ ให้เราเป็นอยู่นี่แหละ เราเป็นอยู่ก็ได้ ไม่เป็นอยู่ตายไปเสียก็ได้ฉากหลังนี่
    ถ้าไม่มีล่ะก็ มันก็เป็นอยู่ได้ซี่ มันจะตายได้ยังไง มีมีฉากหลัง


    แต่ว่าผู้ปฏิบัติศาสนาทั้งภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ไม่ควรจะทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ตัวของตัวเสีย ควรจะรู้ชี้ตัวของตัว
    รู้ชี้อย่างไรว่าตัวของตัวมีฉากหลัง
    ให้ตัวเป็นอยู่ได้
    ให้ตัวสูงก็ได้
    ให้ตัวต่ำก็ได้
    ให้ตัวอดก็ได้
    ให้ตัวจนก็ได้
    ให้ตัวมีก็ได้
    อันนี้ฉากหลังมีนะ
    แต่ว่าใครล่ะเป็นฉากหลังนั่น
    นี่ฉากหลังเป็นตัวสำคัญ ให้มนุษย์เป็นอยู่ หญิงก็ดีชายก็ดี ให้เป็นคนชั้นสูงก็ได้
    ให้เป็นคนประณีตก็ได้
    ให้เป็นคนที่ไหว้ที่เคารพที่บูชาที่สักการะเขาทั้งหมดก็ได้
    ให้เขาติเตียนว่ากล่าวนินทาๆ ด่าแช่งก็ได้
    ฉากหลังนี้ล่ะเป็นตัวสำคัญนัก
    ถ้ารู้จักฉากหลังล่ะก็ ไปให้ถึง ไปเป็นกันเองกับฉากหลังเสีย
    ถ้าว่าทำได้อย่างนี้ ตัวเองจะเบาใจเพียงแค่ไหน
    เป็นมนุษย์คนหนึ่งๆ ถ้าไม่รู้จักฉากหลัง เข้าไม่ถึงฉากหลังแล้วล่ะก็ ตัวเองจะหนักใจแค่ไหน จะไม่สะดวกในใจแค่ไหน
    เพราะความเป็นอยู่ก็ไม่ใช่ของตัว
    ความดีความชั่วที่ตัวกระทำ กระทำเหล่านี้ไม่ใช่ของตัวทั้งนั้น
    ทำชั่วเขาจะให้ความดีก็ได้
    ทำดีเขาจะให้ความชั่วก็ได้ เพราะฉากหลังไม่เป็นของตัวนี่
    วางใจไม่ได้ เมื่อวางใจไม่ได้ ก็ต้องลำบากใจอยู่ในขณะนี้
    เมื่อเป็นเช่นนี้ ต้องเรียนให้รู้จักฉากหลัง รู้จักเป็นชั้นไปนะ
    ฉากหลังนี่เป็นตัวสำคัญ มนุษย์นี้เป็นตัวฉากหน้าล่ะ
    มนุษย์หญิงชายที่มานั่งมาฟังเทศน์อยู่นี่ ฉากหลังมี ฉากหลังกระซิบอยู่ข้างในนั้นแหละ ให้เทศน์เรื่องนั้นเรื่องนี้ ให้พูดอย่างนั้นอย่างนี้ ผู้ฟังก็อยู่ข้างในเหมือนกัน
    กายมนุษย์ก็นั่งไป ไอ้ฉากหลังก็กระซิบไป ให้จำเท่านั้น จำเท่านี้ จำเท่าโน้น นักวิชาพวกนี้นี่อีกชุดหนึ่ง
    ฉากหลังเข้าไป ก็กายที่ฝันออกไป ไอ้กายที่ฝันนั่นเป็นฉากหลังล่ะนะ
    แล้วไอ้กายที่ฝันนั่นแหละมีฉากหลังอีก มีกายทิพย์เป็นฉากหลังของกายมนุษย์ละเอียดเข้าไปอีก
    ไอ้กายมนุษย์ละเอียดนั่นแหละ กายทิพย์นั่นแหละเป็นฉากหลังของกายมนุษย์ละเอียด
    นั่นแหละมีฉากหลังอีก เขาเรียกว่ากายทิพย์ละเอียด
    ไอ้กายทิพย์ละเอียดนั้นแหละ มีฉากหลังอีกเขาเรียกว่ากายรูปพรหม
    ในกายรูปพรหมมีฉากหลังอีก เรียกว่ากายรูปพรหมละเอียด
    ในกายรูปพรหมละเอียด มีฉากหลังอีกเรียกว่ากายอรูปพรหม
    ในกายอรูปพรหม มีฉากหลังอีกเรียกว่ากายอรูปพรหมละเอียด
    ในกายอรูปพรหมละเอียด มีฉากหลังเรียกว่า กายธรรม
    ในกายธรรมนั่นแหละ มีฉากหลังอีกเรียกว่ากายธรรมละเอียด
    ในกายธรรมละเอียด มีฉากหลังอีกเรียกว่ากายธรรมพระโสดา
    ในกายธรรมพระโสดา มีฉากหลังอีก เรียกว่ากายธรรมพระโสดาละเอียด
    ในกายธรรมพระโสดาละเอียด มีฉากหลังอีก เรียกว่ากายธรรมพระสกทาคา
    ในกายธรรมพระสกทาคา มีฉากหลังอีก เรียกว่ากายธรรมพระสกทาคาละเอียด
    กายธรรมพระสกทาคาละเอียด มีฉากหลังอีก เรียกว่ากายธรรมพระอนาคา
    กายธรรมพระอนาคา ยังมีฉากหลังอีก เรียกว่ากายธรรมพระอนาคาละเอียด
    กายธรรมพระอนาคาละเอียด ยังมีฉากหลังอีก เรียกว่ากายธรรมพระอรหัต
    กายธรรมพระอรหัต ยังมีฉากหลังอีก เรียกว่ากายธรรมพระอรหัตละเอียด
    กายธรรมพระอรหัต กายธรรมพระอรหัตละเอียดนี่แหละ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 01-1.jpg
      01-1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      98.1 KB
      เปิดดู:
      60
  5. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    ผู้เทศน์นี่ตรวจเข้าไปฉากหลังนี่แหละ ๒๕ ปียังไม่เต็มดี
    ในการตรวจฉากหลังนั้น ยังไม่เต็มเดือนเต็มวันดี ยังไม่หมดฉากหลังนี้ ยังไม่สุดฉากหลัง
    นี่ยังไม่สุดภาคหล่อเลี้ยงเหล่านี้ ยังไม่สุดฉากหลัง ยังไม่สุด ยังไม่สุด
    ผู้เทศน์ก็ยังเป็นบ่าวเขาอยู่ ยังเป็นบ่าวเป็นทาสเขาอยู่ ยังเอาตัวรอดไม่ได้
    เพราะอะไร ไปยังไม่สุดฉากหลัง เขายังปกครองเราอยู่ นี้ไปต้องไปให้สุด
    เมื่อไปสุดแล้ว เราจะเห็นฉากหลังในฉากหลังเข้าไปอีก
    เมื่อไปสุดแล้ว เราจะพบฉากหลังในฉากหลังเข้าไปอีก ฉากหลังในฉากหลังนี้จะมีอีกเท่าไรยังไม่รู้ได้ มีเห็นมีหาย ภิกษุ สามเณร ควรจะรู้ ถ้าไม่รู้ก็เสียคนทีเดียว เป็นบ่าวเป็นทาสเขาไปทั้งชาติ เอาตัวรอดไม่ได้ เรียกว่า ตัณหา ทาโส อทานิสิ ไม่ผิดล่ะ ไม่คลาดเคลื่อนเลยทีเดียว เพราะอะไร
    เพราะไม่รู้ฉากหลัง ก็เป็นบ่าวเป็นทาสเขาตาย
    ถ้ารู้ฉากหลัง บังคับฉากหลังได้ล่ะก็ ก็เลิกเป็นบ่าวเป็นทาสเขา มันก็เป็นเจ้าเป็นนายเขาบ้าง
    นี่เป็นชั้นๆ นะ ให้เข้าใจทีเดียว ให้เข้าใจให้แน่ทีเดียว เมื่อเข้าใจแน่ล่ะก็เราจะต้องเริ่มต้นในชาตินี้ทีเดียว
    เรารอไว้ไม่ได้ ถ้าว่าชาตินี้ยังไม่รู้ฉากหลัง ยังไม่พบฉากหลังเราจะต้องยอมตาย ต้องเข้าถึงฉากหลังให้ได้ เราจะต้องยอมตาย ต้องเข้าถึงฉากหลังให้ได้


    ไอ้ผู้ปกครองเราลับๆ ใช้เราลับๆ อยู่ เราไม่รู้เลยพระสมณโคดมบรมครูเอง พอไปเห็นกายมนุษย์ละเอียดเข้าเท่านั้น ทรงรับสั่งแล้ว อเนกชาติสํสารํ สนฺธาวิสํ อนิพฺพิสํ คหการํ คเวสนฺโต ทุกฺขา ชาติ นั่นทรงรับสั่งแล้ว เรานี่เวียนว่ายตายเกิดไม่รู้จักจบนี้ เพราะท่านนี่เอง พาให้เราเวียนว่ายตายเกิด ไม่รู้จักจบ
    เมื่อไปพบชั้นหนึ่ง และไปพบจนกระทั่งถึงตัวสร้างบ้านสร้างเรือน
    กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหาสร้างบ้านสร้างเรือน สร้างกายท่านไม่มีจบ



    นั่นไปพบเรื่องนั้นก็ยิ่งคำนึงยกใหญ่ทีเดียว จึงได้ทำลายล้าง กาม ตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหาเสีย ออกจากไตรภพไป หลบออกจากไตรภพไป
    ไอ้ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ทำอะไรท่านไม่ได้ แต่ว่าทำไม่ได้ ทำไม่ได้ขั้นหยาบหยาบ ขั้นละเอียดนั้นอยู่ในความปกครองเขา ฉากหลัง ฉากหลังใหญ่โตโน้น ยังบังคับพระสมณโคดมอยู่ เราจะไปให้พ้น ให้เลยฉากหลังที่บังคับพระสมณโคดมอยู่ พระอรหันต์อยู่ พระพุทธเจ้าอยู่ มากน้อยเท่าไร จะไปให้เลยหมดทีเดียว ไม่ให้มีฉากหลังต่อไป นั่นแน่ะ เราจะเอาตัวรอดได้แล้ว เอาตัวรอดได้แล้ว
    ถ้าไปไม่ถึงขนาดนั้น เรามาพบพระพุทธศาสนาคราวนี้ ก็เสียคราวเหมือนกัน เอาตัวรอดไม่ได้ ทำไมเอาตัวรอดไม่ได้ล่ะ ก็ไปไม่ตลอดฉากหลัง จะเอาตัวรอดได้อย่างไร? มันก็ยังเป็นบ่าวเป็นทาสเขาอยู่อย่างนั้นเมื่อเป็นเช่นนั้น เราจะต้องคาดคั้นทีเดียว จะต้องคาดคั้นทีเดียว ต้องไต่เข้าไปทีเดียว เป็นกายๆเข้าไป อย่าเข้าใจว่า ไอ้ที่เขาใช้ให้ทำชั่วด้วยกาย วาจา ใจ เขากระซิบให้ทำอย่างนั้น เขากระซิบให้ทำอย่างนี้น่ะ ไอ้นั่นก็เป็นบ่าวเป็นทาสเขานะซี เขาถึงใช้ได้ตามชอบใจ ให้ไปทำผิดวินัยซะป่นปี้ เหลวไหลป่นปี้ ให้กายเป็นเลว เป็นเปลวไป

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    นี่เพราะอะไรล่ะ?
    ก็เพราะไอ้ฉากหลังมันบังคับ เขาไม่ได้แกล้ง ฉากหลังมันบังคับ ไม่รู้เท่าทันฉากหลัง ฉากหลังบังคับเสียหายป่นปี้ นี้แหละให้ระวังฉากหลังเป็นตัวสำคัญ

    จะทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดในสากลโลกทั้งสิ้น
    จะทำงานใหญ่งานโตงานย่อยเท่าหนึ่งเท่าใด
    ให้ระวังให้รอบตัวทีเดียว ระวังให้รอบตัว
    ฉากหน้าฉากหลังให้ระวังให้รอบตัวทีเดียว
    ทว่าทำฉากหลัง ฉากหลังได้อย่างนี้แล้วล่ะก็ การงานอย่างนั้นจะสำเร็จทุกสิ่งทุกประการ
    แต่ว่าทำฉากหน้าฉากหลังให้ดีนะ
    ถ้าทำไม่ดีแล้วล่ะก็ประเดี๋ยวก็ไปนอนหลับในที่ใดที่หนึ่ง เพราะไม่ทันเขา
    จะไปโทษเขาไม่ได้ เพราะเราไม่เข้าข้างใคร
    เหตุนี้นี่แหละเราอุตส่าห์เริ่มต้นให้ทาน เริ่มต้นให้ทาน ให้บริสุทธิ์ในใจให้เบิกบานทีเดียว จะได้เกิดปัญญาและเฉลียวฉลาดขึ้น
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Image-05x.jpg
      Image-05x.jpg
      ขนาดไฟล์:
      276 KB
      เปิดดู:
      52
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤษภาคม 2015
  7. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    ขั้นที่สองประคองใจของเรา เจตนาของเรา ให้อยู่ในศีล ศีลแล้วด้วยเจตนา เจตนาหํ ภิกฺขเว สีลํ
    เจตนาบริสุทธิ์ในองค์ทั้ง ๕ ทั้ง ๘ ทั้ง ๑๐

    เจตนาบริสุทธิ์ในปาณาติบาต อทินนา กาเมสุมิจฉาจาร มุสา สุรา เหล่านี้ หรือเจตนาบริสุทธิ์ใน ๘ หรือเจตนาบริสุทธิ์ใน ๑๐ ก็แล้วแต่จะบริสุทธิ์ได้แค่ไหน รักษาความบริสุทธิ์ของ กาย วาจา ใจ ให้มั่น แล้วอย่าให้คลาดเคลื่อน แล้วแก้ไขใจให้ใส แก้ไขใจให้ใส เราจะได้เห็นฉากหลังชัดหนักขึ้นทุกทีไป แก้ไขใจให้ใส เราจะได้เห็นฉากหลังชัดหนักขึ้นทุกทีไป (หลวงพ่อพูดซ้ำๆ กัน ไม่ได้พิมพ์ผิด ซึ่งมีอยู่หลายที่)เมื่อให้ทาน ประพฤติความบริสุทธิ์เป็นศีล รักษาใจให้ใสเป็นปัญญา เพียรนึกอัตตาทั้งวันทั้งคืน เว้นไว้แต่หลับเสีย ตื่นขึ้นมาก็เป็นอย่างนั้นอยู่เสมอไป จะเป็นอะไรก็เป็นไป แล้วก็มุ่งหมายจะไปที่สุดฉากหลังให้ได้ ถ้าว่าไม่สุดแล้วก็ตายเถอะ ชาติหนึ่งไม่ยอมกันเด็ดขาดเชียว ไม่ยอมกันล่ะที่จะเลิกไป เป็นไม่เอา ใครจะชวน ใครจะชวนให้เลี้ยวลดซะ ให้เที่ยวเสียเวลา เที่ยวนอน เที่ยวคุยซะ ทำผิดทางทำผิดลู่ผิดทาง ผิดทางฉากหลังซะเช่นนี้ล่ะก็ ตัดหัวไม่ยอม ไม่เชื่อ ไม่เชื่อเด็ดขาดเชียว เจ้าไอ้นี่คนบ่าวคนทาสเขานี้ มันจะชวนให้เราเป็นบ่าวเป็นทาสอีกละ เราจะไปเห็นอะไรด้วยละ เราไม่ยอมเด็ดขาดทีเดียว เราจะไปให้ตลอด ให้เลยฉากหลังอันนี้ให้ได้ ให้ถึงที่สุดฉากหลังให้ได้ ใครจะทำเป็นมั่ง ก็ไต่สวนเลยทีเดียว นี้วิชาของวัดปากน้ำ มีอยู่แล้วในเวลานี้ วิชาตรวจฉากหลังเรานี่ คือธรรมกายปรากฏอยู่แล้ว เขากำลังตรวจอยู่แล้ว เขากำลังทำกันอยู่แล้ว นี่แหละของจริง

    พระเณรไม่รู้จักของจริงล่ะก็ อย่าโกงตัวเอง อย่าดูถูกตัวเอง ให้อุตส่าห์พยายามตรวจฉากหลังของตัวให้สุดให้ได้ ถ้าไม่สุดตัวล่ะก็ ไม่สุดฉากหลังของตัวเองล่ะก็ ตัวก็เป็นบ่าวทาสเขาอยู่นั่น ไม่ต้องไปสงสัย เมื่อรู้เมื่อเข้าใจดังนี้แล้ว ตัวก็จะได้บรรลุผลที่ยิ่งใหญ่ไพศาล หาประมาณมิได้ พระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งไปพบท่านเข้า...ถ้าเราไปได้สุด
    ท่านก็จะยิ้มในพระทัยว่า เออ..อ้ายนี่ มันลูกผู้ชายจริง เออ..ไอ้นี่เป็นคนมีปัญญา เป็นผู้หญิงมีปัญญาจริง เป็นผู้ชายก็ฉลาดจริง ไม่ใช่คนโง่

    นอกจากนั้น ถ้าไม่พยายามให้สุดฉากหลังเช่นนี้ล่ะก็ เป็นบ่าวทาสเขา ไม่ใช่คนฉลาด จะเอาเป็นเกณฑ์ไม่ได้ ให้แน่นอนอย่างนี้นะ แน่นอนอย่างนี้แล้วจะเอาตัวรอดได้ แต่เข้าใจนะว่าเขาใช้เราเท่านั้น ใช้เราเท่านี้เป็นบ่าวเป็นทาสเขาน่ะ เพราะเราไม่ทันฉากหลังเหล่านี้ เขาก็ใช้เราตามชอบใจ ใช้เป็นบ่าวเป็นทาสป่นปี้ถึงจะมีปัญญาแค่ไหนก็ช่าง ใช้เป็นบ่าวเป็นทาสป่นปี้ เหตุนี้ต้องแก้ไขทีเดียว ต้องไปให้สุด สุดฉากหลังให้ได้ เริ่มต้นดังกล่าวแล้ว ต้องบริจาคทานตามใจนึก ใจเบิกบานสำราญใจ ทำใจให้ใส เบิกบานสำราญใจ ทำใจให้บริสุทธิ์ เจตนาให้ดี บริสุทธิ์ทางกาย ทางวาจา ทางใจ ให้สะอาด ทำใจให้ใส ให้ใส ดีล่ะก็ดูฉากหลังใหญ่ ประพฤติทีเดียว ทั้งวันทั้งคืนเว้นไว้แต่หลับเสีย ตื่นแล้วก็ไม่ได้รอท่าล่ะ ทำให้สุดให้ได้ ไม่สุดไม่ยอมเป็นเด็ดขาด
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 01-1.jpg
      01-1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      98.1 KB
      เปิดดู:
      46
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤษภาคม 2015
  8. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    ถ้าเราไม่ไป เราก็ตาย
    เราไปเราก็ตาย
    ไปหรือไม่ไปล่ะ?
    ถ้าไม่ไปก็ตาย ไม่กี่เดือนกี่ปีก็ตาย มนุษย์หมดทุกคน
    จะไปหรือไม่ไปล่ะ? ไม่ไปก็ตาย ไปดีกว่าไม่ไป
    ไอ้นั่นมันตายเปล่าหาหลักฐานไม่ได้ หากว่าไปได้ถึงแค่ไหนก็แล้วแต่ ชาติต่อๆ ไปอีก ไม่ถอยหลังกลับกัน นี่แหละนับว่าเป็นคนมีปัญญา
    ดำเนินแนวทางพระพุทธศาสนา ต้องดำเนินอย่างนี้ เป็นทางสูงสุดในพระพุทธศาสนาที่ได้ชี้แจงแสดงมานี้ ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบายพอสมควรแก่เวลา



    วรญฺญํ สรณํ นตฺถิ สิ่งอื่นไม่ใช่ที่พึ่งที่ประเสริฐของเราท่านทั้งหลาย
    สรณํ เม รตนตฺยํ รัตนตรัยเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของเราท่านทั้งหลาย
    เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้
    สทา โสตถี ภวนฺตุเต ขอความสุขสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิตบรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมา ตามสมควรแก่เวลา สมมติขอยุติธรรมิกถาโดยอรรถนิยมความไว้เพียงเท่านี้

    เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    อกุศลสูตร


    [​IMG] ว่าด้วยเหตุให้ตกนรกและขึ้นสวรรค์ [​IMG]




    ๕๘๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ
    ย่อมอุบัติในนรก เหมือนถูกนำตัวไปเก็บไปฉะนั้น ธรรม ๓ ประการ คือ
    อะไรบ้าง ? คือ กายกรรมเป็นอกุศล วจีกรรมเป็นอกุศล มโนกรรมเป็น
    อกุศล บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการเหล่านี้แล ภิกษุทั้งหลายย่อม
    อุบัติในนรก เหมือนถูกนำไปเก็บไว้ฉะนั้น

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ย่อมอุบัติ
    ในสวรรค์ เหมือนเขาเชิญตัวไปเก็บไว้ฉะนั้น ธรรม ๓ ประการคืออะไรบ้าง ?
    คือ กายกรรมเป็นกุศล วจีกรรมเป็นกุศล มโนกรรมเป็นกุศล บุคคลประกอบ
    ด้วยธรรม ๓ อย่างเหล่านี้แล
    ภิกษุทั้งหลาย ย่อมอุบัติในสวรรค์ เหมือนเขาเชิญตัวไปเก็บไว้ฉะนั้น.


    จบอกุศลสูตรที่ ๑
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤษภาคม 2015
  10. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    .....ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องพละของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติและปัญญาวิมุติ อันหา
    อาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง ในทิฐธรรมเทียว
    เข้าถึงอยู่
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นอธิบายในเรื่องพละของภิกษุ ฯ



    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นแม้กำลังสักอย่างหนึ่งอื่น อันข่มได้แสนยาก เหมือนกำลังของมารนี้เลย


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุญนี้จะเจริญขึ้นได้
    อย่างนี้ เพราะเหตุถือมั่นกุศลธรรมทั้งหลาย ฯ


    พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นยินดีชื่นชม
    พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วดังนี้แล ฯ


    จบ จักกวัตติสูตร ที่ ๓
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤษภาคม 2015
  11. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
    ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" vspace="0" hspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>



    <CENTER></CENTER><CENTER>คาถาธรรมบท ชราวรรคที่ ๑๑</CENTER>


    </PRE>



    เราแสวงหานาย
    ช่างเรือนอยู่ เมื่อยังไม่ประสบ แล่นไปแล้วสู่สงสารมีชาติ
    ไม่น้อย ความเกิดเป็นทุกข์ร่ำไป แน่ะนายช่างเรือน บัดนี้
    เราพบท่านแล้ว ท่านจักไม่ต้องสร้างเรือนอีก ซี่โครงของ
    ท่านทั้งหมดเราหักแล้ว ยอดเรือนเราขจัดเสียแล้ว จิตของ
    เราถึงแล้วซึ่งนิพพานอันปราศจากสังขาร เราบรรลุความสิ้น
    แห่งตัณหาแล้ว




    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๖๖๒ - ๖๙๑. หน้าที่ ๒๙ - ๓๐.
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=662&Z=691&pagebreak=0
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1-49.jpg
      1-49.jpg
      ขนาดไฟล์:
      75.2 KB
      เปิดดู:
      49
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤษภาคม 2015

แชร์หน้านี้

Loading...