ทางสายเอกโดย หลวงพ่อพระราชพรหมยาน ตอน มองให้เห็นทุกข์

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 19 พฤศจิกายน 2015.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    ทางสายเอกโดย หลวงพ่อพระราชพรหมยาน ตอน มองให้เห็นทุกข์


    [​IMG]

    เธอจงเห็นทุกข์ในปัจจุบันที่เรียกว่า นิพัทธทุกข์ เสียก่อน นิพัทธทุกข์ คือทุกข์เนืองนิตย์ที่มีอยู่ทุกวัน มันมีอะไรบ้าง เมื่อบริโภคอาหารเข้าไปแล้วกิจอื่นที่จะตามมาเนื่องด้วยอาหารนั่นคืออะไร น้ำที่บริโภคเข้าไปมาก ร่างกายใช้เหลือความต้องการก็เกรอะทิ้งมา มาเป็นปัสสาวะ แล้วอาหารก็เช่นเดียวกัน ที่ร่างกายไม่ต้องการแล้วเป็นกากที่เราเรียกกันว่าอุจจาระ

    ร่างกายต้องการถ่ายน้ำที่ไม่ต้องการ ระบายอาหารที่ไม่ต้องการ ที่เราเรียกว่าปวดอุจจาระปัสสาวะ มันเป็นความสุขหรือความทุกข์ ตามบันทึกท่านทูลตอบว่า มันเป็นความทุกข์พระเจ้าข้า และเป็นความทุกข์ที่เหลือที่จะทน ไม่ได้ทนได้ยาก เหลือที่จะทน คือทนไม่ไหว ท่านก็ตรัสว่า ถ้าอย่างนั้นจงจำไว้ว่า อาหารนี่ไม่ใช่ปัจจัยของความสุข อาหารนี่เป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์ จะหาสุขจากอาหารจริงๆ นั้นมันไม่มี

    ต่อจากนั้นองค์สมเด็จพระชินสีห์ตรัสว่า เธอจงคิดไว้เสมอว่าชีวิตเลือดเนื้อและร่างกาย ถ้ายังมีอยู่เพียงใด คำว่าหมดทุกข์ไม่มี เราจะต้องประสบกับความทุกข์อย่างนี้ตลอดเวลา ถ้าเราจะสิ้นทุกข์ได้ก็เพราะอาศัยเห็นว่าร่างกายที่เราเกิดมานี่มันเป็นทุกข์ แล้วก็สมบัติที่เราถือว่าเป็นเรา เป็นของเรานี่มันได้มาด้วยความทุกข์ คืออาศัยความเหน็ดเหนื่อยเป็นของสำคัญ ถ้าเราไม่เหน็ดเหนื่อยแล้วเราก็ไม่ได้มา

    เมื่อได้มาแล้ว หามาได้แล้ว แทนที่จะใช้สอยให้มันเป็นการพอดี ให้มันทรงอยู่กับเรา มันก็เปล่า มันก็สิ้นไปเสื่อมไป ทำไมจึงจะมานั่งสนใจด้วยอาหาร ด้วยเรื่องร่างกาย แต่ที่กล่าวอย่างนี้ไม่ใช่ให้ทำลายร่างกาย ไม่ใช่อดอาหาร เพราะว่ามันเกิดมาแล้ว ร่างกายที่เกิดมาเราก็ต้องเลี้ยงมัน มันเป็นของธรรมดา แต่ถ้าหากว่าเราจะพึงปรารถนาในมันนั้น เห็นไม่สมควร จงมีความรู้สึกอยู่เสมอว่า หน้าที่ในการบริหารร่างกาย เราจะพึงทำเมื่อร่างกายต้องการอะไรบ้าง

    แต่ไม่ฟุ้งเฟ้อเกินไป ตั้งใจบริหารมันเข้าไว้ เพื่อว่าเป็นการระงับความทุกข์ส่วนหนึ่ง แต่ทว่ามันไม่ได้เป็นการหายทุกข์ มันเป็นการบรรเทาความทุกข์ และจงคิดว่าความสุขจริงๆ ก็คือ อธิโมกขธรรม ได้แก่ ธรรมเป็นเครื่องพ้นจากการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ได้แก่ พระนิพพาน คนที่จะถึงพระนิพพานได้ ก็ต้องอาศัยไม่ติดอยู่กับปัจจัยที่ทำให้เกิดความทุกข์ คือร่างกาย ไม่ติดอยู่ในรสอาหาร นี่เป็นอันดับแรก

    แล้วต่อไปเธอจงถอยหลังเข้าไป ส่วนใหญ่ของบุคคลที่พึงคิด เขาจะไม่คิดถึงความเป็นจริงของร่างกาย แล้วไม่คิดถึงความเป็นทุกข์ของร่างกาย ในศัพท์ภาษาชาวบ้านเขาเรียกว่าจับปลายรูป นั่นคือมองไม่เห็นความทุกข์ เข้าใจว่าเหตุที่เกิดทุกข์มันเป็นปัจจัยของความสุข คือเลี้ยงร่างกายให้อ้วนพี พยายามทะนุถนอมร่างกายนี้ให้มันไม่ทรุดโทรม ร่างกายต้องการอะไรหาให้ทุกอย่าง

    แต่ว่าเธอเคยเห็นไหมว่าคนที่บำรุงบำเรอร่างกายอยู่เป็นปกติเขามีความสุข เป็นอันว่าเธอจะหาไม่ได้ ไม่มีปัจจัยส่วนใดที่จะเป็นเหตุให้เกิดขึ้นได้ มันก็จะมีแต่ความทุกข์ส่วนเดียว จงจำถ้อยคำนี้ไว้ให้ดีว่า ร่างกายนี้มันเป็นความทุกข์ อาหารที่เราได้มาก็ได้มาจากความทุกข์ ถ้าต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่อย่างนี้เราก็ต้องทำกิจอยู่อย่างนี้ทุกวัน วันละหลายๆ ครั้ง

    ทั้งนี้ก็เพราะว่าเราจะกินข้าวเช้าแต่เวลาเดียวมันก็ไม่อิ่มไปตลอดวัน วันหนึ่งเราบริโภคหลายหน เมื่อบริโภคเข้าไปแล้วแทนที่จะสิ้นทุกข์ มันก็เกิดทุกข์เนื่องจากการขับถ่ายของร่างกาย ร่างกายเป็น โรคนิทธัง มันเป็นรังของโรค มันมีอาการเสียดแทงอยู่เป็นปกติ ทุกข์อื่นใดที่จะทุกข์ยิ่งกว่าร่างกายนั้นไม่มี คือความปรารถนาของร่างกายนี้เป็นเหตุนำมาซึ่งความทุกข์ทุกอย่าง

    เธอจงวางภาระคือขันธ์ห้า ได้แก่ร่างกายเสีย จงจำไว้ว่าคนเราจะเกิดมาทรงตัวอยู่ได้อย่างนี้มันเต็มไปด้วยความทุกข์ตลอดเวลา การทำไร่ไถนาหรือการแสวงหาทรัพย์สินมาเพื่ออาหารการบริโภคในชีวิตนี้เราจะไม่มีโอกาสได้หยุด ต้องทำตลอดชีวิต แล้วการต้องทำตลอดชีวิตอย่างนี้เต็มไปด้วยความทุกข์ นับตั้งแต่นี้ต่อไปเธอจงใช้ปัญญาหาทุกข์ให้พบ ถ้าเธอยังเห็นว่าโลกนี้จุดใดจุดหนึ่งเป็นอาการของความสุข นั่นก็ชื่อว่าเธอไร้ปัญญา

    ถ้าขณะใดเธอพิจารณาในมุมโลกทั้งหมด คนทุกขนาด ทุกประเภท ทุกชั้น ทุกวรรณะ ทุกชั้นทุกวัย ไม่ว่าคนประเภทใด เห็นอาการเขามีความทุกข์ แล้วก็จิตใจของเธอมีอาการไม่มีเยื่อใยกับอาการของความทุกข์ทั้งหลายเหล่านั้น แล้วก็มีความปรารถนาทำลายให้มันสิ้นไป ชื่อว่าเธอมีปัญญาสามารถจะเข้าเป็นพระอริยเจ้าได้งค์สมเด็จพระประทีปแล้วทรงสั่งสอนเราว่า โลกนี้เป็น

    อนิจจัง หาความเที่ยงไม่ได้ ทุกขัง มีแต่ความทุกข์ อนัตตา ทุกสิ่งทุกอย่างมีการสลายตัวไปในที่สุด
    การเกิดเป็นมนุษย์ เกิดเป็นเทวดา เกิดเป็นพรหม เกิดเป็นสัตว์ก็ตาม ย่อมเต็มไปด้วยความทุกข์ เราต้องบริหารประกอบกิจการงานเพื่อความเป็นอยู่ของตน และงานทุกประเภทนี้ไม่มีที่สิ้นสุด ทำแล้วมันก็ต้องทำอีกอย่างนี้ตลอดเวลา ทำไปจนจะตายเราก็ยังไม่ว่าง ตายแล้วถ้าหากว่ายังไม่หมดกิเลสเพียงใด เราก็ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ ก้าวลงไปเป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน

    เราก็ชื่อว่าเราขาดทุน ถ้าหากว่าเราวนมาแค่มนุษย์ เราก็ชื่อว่าขาดทุนเหมือนกัน เพราะว่าถ้าเราเป็นมนุษย์แล้ว เรากลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก ก็ชื่อว่าเราไม่มีอะไรดีขึ้น เรายังเป็นทาสกิเลส ตัณหา อุปาทาน และอกุศลกรรมอยู่ เราก็จะขอยึดถือคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระบรมครู อย่างเลวที่สุด เมื่อตายแล้วชาตินี้เราก็จะเป็นเทวดา หรือว่าเราจะทำความดีอย่างกลาง เราก็จะเกิดเป็นพรหม

    หรือมิฉะนั้น สิ่งที่เราต้องการที่สุดนั่นก็คือ พระนิพพาน นี่เพราะพระนิพพานเป็นที่แห่งเดียวเท่านั้น เป็นที่เสร็จกิจ กิจที่ต้องทำไม่มีอีกแล้ว องค์สมเด็จพระประทีปแก้วทรงเทศน์ไว้ในธรรมจักกัปปวัตนสูตรก็ดี อาทิตตปริยายสูตรก็ดี อนัตตลักขณสูตรก็ดี ลงท้ายองค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเทศน์แบบนี้ว่า สิ่งที่เราจะต้องทำ เราทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่เราจะต้องทำไม่มี นี่หมายความว่าเราเป็นพระอรหันต์

    ถ้ายังไม่ถึงพระอรหันต์เพียงใด เราก็ยังคงต้องทำต่อไป กิจประเภทนั้นก็คือกิจที่จะต้องทำต้องปฏิบัติบริหารเพื่อตัวเอง เพื่อครอบครัว เพื่อเพื่อนฝูง เพื่อหมู่คณะ หรือเพื่อประเทศชาติ เป็นต้น ซึ่งมันก็เป็นกิจเหน็ดเหนื่อย การเบื่อกิจที่ทำแล้วทำอีกอย่างนี้มีตัวอย่างในพระธรรมบทขุททกนิกาย สมัยเมื่อองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นแล้วประมาณ ๑๐ ปี ในระยะนี้ไม่เกิน ๑๐ ปี
    ที่มา [URL="http://palungjit.org/posts/9842884[/URL]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 22 พฤศจิกายน 2015

แชร์หน้านี้

Loading...