ทางมีอยู่แต่ไปไม่ถึงเพราะไม่ได้เดิน โดย เจ้าคุณโชดก

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย นาคเสน55, 19 มกราคม 2011.

  1. นาคเสน55

    นาคเสน55 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    311
    ค่าพลัง:
    +682
    ทางมีอยู่แต่ไปไม่ถึงเพราะไม่ได้เดิน

    โดย เจ้าคุณโชดก




    การเห็นพระไตรลักษณ์นั้นคือการเห็นขันธ์ ๕ คือ ตัวของคนทุกคน กายกับใจนี่แหละเป็นพระไตรลักษณ์ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มีอยู่แล้วแต่เราไม่เห็น ท่านกล่าวไว้ในธรรมนิยามสูตรว่า พระพุทธเจ้าจะเกิดก็ตาม ไม่เกิดก็ตาม ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของรูปและนาม เขาก็มีอยุ่ของเขา มีอยู่ในโลก แล้วก็มีอยุ่ในตัวของคนทุกคนด้วย


    ถ้ามีอยู่ในตัวเราแล้วทำไมเราจึงไม่เป็นผู้ประเสริฐตามพระไตรลักษณ์นี้เล่า นี่เป็นเพราะเราไม่ได้เห็น หรือเราไม่เอามาใช้ให้เห็น

    มันก็เหมือนสติปัฏฐาน๔ ซึ่งเป็นทางเดินของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ได้แก่ กาย เวทนา จิต ธรรมะ กายก็คือตัวของคนทุกคน เวทนาก็คือความสบาย ไม่สบาย เฉยๆ จิตก็คือใจ ธรรมะก็คือขันธ์ ๕ มันมีอยู่ในตัวเราอยู่แล้ว แต่ที่เราไม่ได้เป้นพระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ ก็เพราะเราไม่ได้เอามาใช้<O:p</O:p

    เหมือนทองคำมีอยู่ในดิน แต่ถ้าเราไม่มีปัญญาก็หาไม่ได้ น้ำมันมีอยู่ใต้ดิน เราไม่มีปัญญาขุดมันก็ไม่ได้ นี่ก็เหมือนกัน ของจริงก็อยู่นี่ ในร่างกายของเราอันยาววาหนาคืบ อริยสัจ ๔ อยู่ตรงนี้ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรคก็อยู่ตรงนี้ หาเอาที่ตรงนี้ แต่เราทำไมไม่เห็น <O:p</O:p

    ที่ไม่เห็นก็เพราะเขาขาดปัญญาอย่างหนึ่ง เพราะเราไม่ประพฤติปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้อย่างหนึ่ง คือไม่ได้มีปัญญา เหตุที่ไม่มีก็เพราะไม่ได้เจริญวิปัสสนา










    สภาวะของรูปนาม


    (คำว่า) โดยสภาวะแปลว่า มีอยู่ เป็นอยู่ตามความเป็นจริง เช่น พองกับยุบนี้ มีอยู่พร้อมกับการเกิดของคน คลอดจากท้องแม่มาเมื่อไร พอง-ยุบก็มีอยู่เมื่อนั้น ความมีอยู่ เป็นอยู่ของรูปนาม อย่างนี้ เรียกว่าสภาวะ ตลอดถึงความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ของรูป-นาม ก็เรียกว่า สภาวะ

    ส่วนอาการของรูป นาม นั้นก็มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของรูป-นาม นั่นเอง เช่น ขณะตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายถูกเย็น ร้อน อ่อน แข็ง รูป-นาม ก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ตามสภาวะอย่างนี้เสมอมา
    <O:p</O:p
    ใครจะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม รูป-นาม ก็ย่อมเป็นไปตามความจริงอยู่อย่างนั้น ไม่มีเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นได้ พระพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้นมาตรัสรู้ในโลกก็ตาม ไม่อุบัติขึ้นมาตรัสรู้ก็ตาม ความเกิด-ดับ ของรูป-นาม ก็มีอยู่อย่างนั้น ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ของรูป-นาม ก็เป็นอยู่อย่างนั้น
    <O:p</O:p
    ผู้ต้องการมรรค ผล นิพพาน ต้องเอาปรมัตถ์ คือ รูป นาม มาเป็นอารมณ์ คือ ใช้สติกำหนดรู้รูป นาม ให้ทันปัจจุบัน เมื่อกำหนดติดต่อกันจริงๆแล้วจะเกิดปัญญา รู้จักหน้าตาของรูป-นาม ได้ชัดเจนแจ่มแจ้ง หมดความข้องใจสงสัยในคำว่าหนวดเต่า เขากระต่าย ฉะนั้น
    <O:p</O:p
    เมื่อได้ปัจจุบันดีเป็นประการที่ ๑ และรู้รูป-นามเป็นประการที่ ๒ พระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาซึ่งเป็นประการที่ ๓ จึงปรากฎได้
    <O:p</O:p
    รูป-นาม เปรียบเหมือนตัวเสือ พระไตรลักษณ์เปรียบเหมือนตัวเสือ ถ้าคนไม่เห็นตัวเสือจะเห็นลายของเสือไม่ได้เป็นอันขาด เพราะตัวเสือกับลายเสืออยู่ด้วยกันแต่ไม่ใช่อันเดี่ยวกัน ข้อนี้ฉันใด ถ้าคนไม่เห็นรูปนามแล้วจะเห็นพระไตรลักษณ์ไม่ได้เด็ดขาด เพราะพระไตรลักดษณ์เป็นลวดลายของรูป-นาม ติดอยู่กับรูป-นาม แต่ไม่ใช่อันเดียวกัน ฉันนั้นเหมือนกัน<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p

    <O:p


    <O:p</O:p
    <O:p

    พระอาจารย์ พูดเรื่องสภาวธรรมให้ฟัง :z2
    Dhammaonline..free......cd..ธรรมะ: พระอาจารย์ พูดเรื่องสภาวะให้ฟัง








    <O:pผลการปฏิบัติธรรม………………..ของโยคี 2 กรกฎา 53
    Dhammaonline..free......cd..ธรรมะ: ผลปฏิบัติธรรม..ของโยคี 2 กรกฎาคม 53





    <O:pผลการปฏิบัติธรรม………………..ของโยคี 8 กรกฎา 53
    http://dhamma-free.blogspot.com/2010/07/blog-post.html





    ผลการปฏิบัติธรรม………………..ของโยคี 30 พฤศจิกายน53 ใหม่ล่าสุด:z6
    http://luangpunenkham.blogspot.com/2011/01/blog-post_12.html





    พองหนอ-ยุบหนอ สมถะหรือวิปัสสนา
    Dhammaonline..free......cd..ธรรมะ: พองหนอ – ยุบหนอ สมถะหรือวิปัสสนา





    <O:p<O:p</O:p</O:p
    </O:p
    </O:p
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มกราคม 2011
  2. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,302
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    อนุโมทนาสาธุ ขอบคุณในธรรมทานค่ะ มีประวัติท่านเจ้าคุณโชดกใหมคะ?(ได้แล้วจากลิงค์ข้างบน ขอบคุณค่ะ)
    สัพพทานัง ธรรมะทานัง ชินาติ


    (f)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มกราคม 2011

แชร์หน้านี้

Loading...