ทวิเหตุ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย รสมน, 2 มกราคม 2010.

  1. รสมน

    รสมน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,451
    ค่าพลัง:
    +2,047
    มนุษย์ที่มีจิตปฎิสนธิเป็นทวิเหตุ เมื่อฟังธรรมแล้ว ย่อมมีโอกาสที่มีปัญญาเจตสิก

    เกิดขึ้นได้ แต่ไม่ถึงระดับโลกุตตระ แม้อเหตุกะสัตว์ ปัญญาเจตสิกก็มีโอกาสเกิด
    ขึ้นได้
    " วันคืนล่วงไป ๆ แล้วจะทำ

    หรือ

    วันคืนล่วงไป ๆ แล้วจะเข้าใจขึ้น ๆ "

    ได้ยินแล้วคิด...

    "จะทำ"... ทำอะไร...

    "จะเข้าใจขึ้น" เข้าใจอะไร...

    ฉันใด ก็ฉันนั้น

    พระพุทธเจ้า มีจริง

    เพราะยังมี
    "โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ"

    เป็นพยาน ปรากฏอยู่.


    ขอถวายพระพร

    ธรรมอันวิเศษ ๓๗ ประการ

    ได้แก่


    สัมมัปปธาน ๔

    .

    อิทธิบาท ๔

    .

    สติปัฏฐาน

    .

    อินทรีย์ ๕

    .

    พละ ๕

    .

    โพชฌงค์ ๗

    .

    มรรค ๘


    ทำให้อนุมานได้ ว่า.....พระพุทธเจ้า มีจริง

    และเป็นผู้ทรงปัญญา อันหาที่เปรียบมิได้.

    ไม่เคยเห็นพระพุทธเจ้า เพราะเกิดไม่ทัน

    แต่ว่าพระพุทธเจ้า มีจริง.


    เหตุที่พึงจะนำมาพิสูจน์ในข้อนี้ได้

    คือ
    "โลกุตตรธรรม"ที่พระองค์ทรงสั่งสอน

    ซึ่งพ้นวิสัย ที่คนสามัญจะพึงคิดเห็นได้เอง

    อบรมปัญญาเป็นผู้ตรง เมื่อสติปัฏฐานเกิด ก็รู้ว่าต่างกับขณะที่

    หลงลืมสติ เมื่อสติปัฏฐานเกิดใน
    ตอนต้นๆ นั้น ยังไม่รู้ชัดในลักษณะของนาม-

    ธรรมและรูปธรรม ความเพียรที่เกิดพร้อมสติปัฏฐานที่ระลึกรู้ สังเกต
    พิจารณา

    ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมที่ปรากฏจึงเป็น
    สัมมัปปธาน ๔ คือ ...
    สังวรปธาน ๑ ปหานปธาน ๑ ภาวนาปธาน ๑ อนุรักขนาปธาน
    สังวรปธาน คือ เพียรเพื่อไม่ให้อกุศลธรรม (ที่ยังไม่เกิด) เกิดขึ้น
    ปหานปธาน คือ เพียรเพื่อละอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
    ภาวนาปธาน คือ เพียรเพื่อให้กุศลธรรม (ที่ยังไม่เกิด) เกิดขึ้น
    อนุรักขนาปธาน คือ เพียรเพื่อความเจริญ มั่นคง บริบูรณ์ของกุศล

    ธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว

    ความเพียรซึ่งเป็น สัมมัปปธาน ๔ นั้น ย่อมเป็นบาทให้สำเร็จผล

    ร่วมกับสัมปยุตตธรรมทั้งหลายที่เกิดร่วมกับสภาพธรรมที่เป็น อิทธิบาท ๔ คือ ..

    ๑. ฉันทิทธิบาท ได้แก่ ฉันทเจตสิก ความพอใจที่จะสังเกตพิจารณา รู้ลักษณะ

    ของสภาพนามธรรมและรูปธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง การยัง

    ผลสำเร็จให้เกิดขึ้นโดยอาศัยความพอใจนั้น พึงเห็นเช่นกันกับบุตรอำมาตย์

    ผู้ไม่ประมาทในการบำรุงพระราชา จึงได้ฐานันดรโดยอาศัยการบำรุงนั้น
    ๒. วิริยิทธิบาท ได้แก่ วิริยเจตสิก ความเพียรที่จะสังเกต พิจารณา รู้ลักษณะ

    ของนามธรรม และรูปธรรมที่กำลังปรากฏ การยังผลสำเร็จให้เกิดขึ้นโดย

    อาศัยความเพียรนั้นพึงเห็นเช่นกับบุตรอำมาตย์ ผู้ยังพระราชาให้พอพระทัย

    โดยความเป็นผู้กล้าหาญในการงาน แล้วได้ฐานันดร
    ๓. จิตติทธิบาท ได้แก่ จิต การยังผลสำเร็จให้เกิดขึ้นโดยอาศัยจิตนั้น พึง

    เห็นเช่นกันกับบุตรอำมาตย์ผู้ได้ฐานันดรเพราะความถึงด้วยดีแห่งชาติ
    ๔. วิมังสิทธิบาท ได้แก่ ปัญญาเจตสิกที่ไตร่ตรอง สังเกต พิจารณาลักษณะ

    ของสภาพธรรม การยังผลสำเร็จให้เกิดขึ้นโดยอาศัยปัญญานั้น พึงเห็น

    เช่นกับบุตรอำมาตย์ผู้ได้ฐานันดรเพราะอาศัยความรู้

    บุตรอำมาตย์เหล่านั้นแม้ทั้งหมด ถึงแล้วซึ่งฐานันดรโดยกำลังแห่ง

    ภาวะอันเป็นที่อาศัย (โดยความสามารถ) ของตนๆ​
    สภาพธรรมที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นั้น จำแนกเป็น

    สติปัฏฐาน ๔ เมื่อสติเกิดขึ้นระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมนั้นๆ คือ
    ๑. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ขณะใดที่สติเกิดขึ้น ระลึกรู้ลักษณะของรูปที่

    กาย ขณะนั้นเป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    ๒. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ขณะใดที่สติเกิดขึ้น ระลึกรู้ลักษณะของความ

    รู้สึกที่กำลังปรากฏ ขณะนั้นเป็นเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    ๓. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ขณะใดที่สติเกิดขึ้น ระลึกรู้ลักษณะของจิต

    ประเภทต่างๆ ขณะนั้นเป็นจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    ๔. ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ขณะใดที่สติเกิดขึ้น ระลึกรู้ลักษณะของรูปธรรม

    หรือนามธรรมอื่นๆ ขณะนั้นเป็นธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน​
    การที่อิทธิบาท ๔ เหล่านี้ จะดำเนินไปได้ ก็ต้องอาศัยการสะสม

    เจริญขึ้นของอินทรีย์ ๕ ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่เป็นใหญ่ในการนำไปสู่สัมมามัคค์

    หนทางปฏิบัติที่ถูกต้อง อินทรีย์ ๕ คือ ...
    ๑. สัทธินทรีย์ ได้แก่ สัทธาเจตสิก เป็นใหญ่ในการมีศรัทธาที่จะระลึกรู้ลักษณะ

    ของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ
    ๒. วิริยินทรีย์ ได้แก่ วิริยเจตสิก เป็นใหญ่ ไม่เกียจคร้าน ไม่ท้อถอยที่จะระลึกรู้

    ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ
    ๓. สตินทรีย์ ได้แก่ สติเจตสิก เป็นใหญ่ในการไม่หลงลืม ระลึกรู้ลักษณะของ

    สภาพธรรมที่ปรากฏ
    ๔. สมาธินทรีย์ ได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก เป็นใหญ่ในการตั้งมั่นในอารมณ์ที่

    ปรากฏ
    ๕. ปัญญินทรีย์ ได้แก่ ปัญญาเจตสิก เป็นใหญ่ในการไตร่ตรอง พิจารณา

    สังเกตศึกษาลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ​
    เมื่ออินทรีย์ ๕ เจริญเพิ่มขึ้น เป็นสภาพธรรมที่มีกำลัง ไม่หวั่นไหวใน

    การพิจารณาอารมณ์ใดๆ ที่ปรากฏ ก็เป็นสภาพธรรมที่เป็น พละ ๕ คือ ...
    ๑. สัทธาพละ ไม่หวั่นไหวไปด้วยความไม่ศรัทธา
    ๒. วิริยพละ ไม่หวั่นไหวไปด้วยความท้อถอย
    ๓. สติพละ ไม่หวั่นไหวในการระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมใดๆ ที่ปรากฏ
    ๔. สมาธิพละ ไม่หวั่นไหวไปด้วยความฟุ้งซ่านไม่มั่นคง
    ๕. ปัญญาพละ ไม่หวั่นไหวไปด้วยความไม่รู้
    การที่สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ จะเป็นสภาพธรรมที่มีกำลังได้ ก็เมื่อ

    ปัญญาเป็นพละ
    เพราะรู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมทั่วขึ้น จึงไม่หวั่นไหว

    ที่จะระลึกรู้ได้ว่า ขณะที่กำลังเห็นเป็นนามธรรมและรูปธรรมอย่างไร ขณะที่กำลัง

    ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้โผฏฐัพพะ ก็โดยนัยเดียวกัน​
    เมื่อปัญญาที่เกิดพร้อมสติ ซึ่งระลึกรู้ลักษณะของนามธรรมและรูป-

    ธรรมสมบูรณ์เป็นวิปัสสนาญาณแต่ละขั้นแล้ว ก็ประกอบด้วยโพชฌงค์ ๗ คือ

    องค์ธรรมของการตรัสรู้อริยสัจจธรรม โพชฌงค์ ๗ คือ ...
    ๑. สติสัมโพชฌงค์ องค์ของการตรัสรู้ คือ สติเจตสิก
    ๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ องค์ของการตรัสรู้ คือ ปัญญาเจตสิก
    ๓. วิริยสัมโพชฌงค์ องค์ของการตรัสรู้ คือ วิริยเจตสิก
    ๔. ปีติสัมโพชฌงค์ องค์ของการตรัสรู้ คือ ปีติเจตสิก
    ๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ องค์ของการตรัสรู้ คือ กายปัสสัทธิเจตสิกและจิต-

    ตปัสสัทธิเจตสิก
    ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์ องค์ของการตรัสรู้ คือ เอกัคคตาเจตสิก
    ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ องค์ของการตรัสรู้ คือตัตตรมัชฌัตตตาเจตสิก
    ในอัฏฐสาลินี อรรถกถาธัมมสังคณีปกรณ์ จิตตุปปาทกัณฑ์ อธิบาย

    จูฟันตรทุกะ มีข้อความว่า ...
    ชื่อว่า “โลกียธรรม” เพราะประกอบในโลก โดยเหตุที่นับเนื่องอยู่

    ในโลกนั้น

    ชื่อว่า“อุตตรธรรม” คือ ธรรมอันยิ่งเพราะข้ามพ้นขึ้นจากโลกนั้น

    ชื่อว่า “โลกุตตรธรรม” เพราะข้ามขึ้นจากโลกนั้นโดยเหตุที่ไม่นับเนื่องอยู่ใน

    โลก

    จิต เจตสิก รูป เป็นสังขารธรรม เป็นสภาพธรรมที่เกิดดับ แม้โลกุต-

    ตรจิตและเจตสิกที่มีนิพพานเป็นอารมณ์นั้นก็เกิดดับ แต่ที่จำแนกจิตเป็นโลกีย-

    จิตและโลกุตตรจิตนั้น ก็เพราะโลกุตตรจิตมีนิพพานเป็นอารมณ์โดยดับกิเลส

    (มัคคจิต) และโดยกิเลสดับแล้ว (ผลจิต)

    เรื่องต่อมาคือเรื่องของศีล

    ถ้าศีล ๘ แต่ไม่เข้าใจ ขาดปัญญา ผลก็น้อยกว่า

    แต่สภาพจิตที่ประณีตกว่า ผลย่อมประณีตกว่าตามเหตุ

    ต้องเป็นผู้ที่อบรมเจริญปัญญาจนแก่กล้า เท่านั้น

    จึงจะเป็นผู้รู้เห็น
    "โลกุตตรธรรม"

    ซึ่งเป็น ธรรมอันประณีต เหล่านี้.

    พระเจ้ามิลินท์ ตรัสถามว่า


    ดูก่อน พระนาคเสน

    "ธรรมอันเป็นเหตุให้ตรัสรู้อริยสัจจธรรม"

    มีเท่าไร.?


    .


    พระนาคเสน ทูลตอบว่า


    ขอถวายพระพร

    มี ๗ องค์คุณ ได้แก่

    สติ ธัมมวิจัย วิริยะ ปิติ

    ปัสสัทธิ

    สมาธิ และ อุเบกขา (ตัตตรมัชฌัชตตาเจตสิก)



    ม.


    พระพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้ ด้วยองค์คุณทั้ง ๗ นั้น

    หรือว่า เฉพาะแต่องค์ใดองค์หนึ่ง.?



    น.


    ถ้าว่าเฉพาะ "องค์ที่สำคัญ" ก็เพียงองค์เดียว

    คือ ธัมมวิจัย (ปัญญาเจตสิก)



    ม.


    ถ้าเป็นเช่นนั้น

    ไฉนทีแรก พระคุณเจ้าจึงว่ามีถึง ๗ เล่า.?



    น.


    ขอถวายพระพร

    อุปมา ดาบที่ยังไม่ได้ถอดออกจากฝัก
    ...จะฟันไม้ได้ขาดหรือไม่.?



    ม.


    ฟันไม่ขาด.



    น.


    ฉันใด ก็ฉันนั้น

    ธัมมวิจัย ก็เปรียบเหมือนตัวดาบ

    องค์คุณอีก ๖ นั้น เปรียบเหมือนฝักดาบ.


    การที่จะตรัสรู้ ต้องอาศัย ธัมมวิจัย

    เป็นเครื่องตัดทอนกิเลสที่ขวางอยู่ระหว่างทางให้ขาดออกเป็นชั้น ๆ

    ส่วนองค์คุณอีก ๖ นั้น
    ...หาได้มีไว้สำหรับตัดกิเลสโดยตรงไม่

    หากแต่เป็นธรรมที่คอยส่งเสริม ธัมมวิจัย (ปัญญา) ให้คมยิ่งขึ้น

    เท่านั้น.


    ขอถวายพระพร

    เพราะเหตุนี้ โพชฌงค์ (องค์แห่งการตรัสรู้) จึงมีองค์ ๗.



    ม.


    เข้าใจล่ะ
    ...พระคุณเจ้า.


    (สัตตโพชฌงค์ปัญหา)



    เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทานชุดใหญ่กับแม่
    ได้เจริญวิปัสสนา ตื่นแต่เช้าเดินจงกรม
    อุทิศบุญให้แก่สรรพสัตว์ กำหนดอิริยาบทย่อย
    รักษาศีล และตั้งใจว่าจะสวดมนต์ เดินจงกรม นั่งสมาธิ
    กำหนดอิริยาบทย่อย และเจริญอนุสติหลายอย่าง
    ฟังธรรม และศึกษาธรรม ทำความสะอาดวัด
    และสถานที่สาธารณะ สนทนาธรรม
    และตั้งใจว่าจะทำบุญกิริยาวัตถุครบทั้ง 10 อย่าง
    และเมื่อวานนี้ได้ให้อภัยทาน วันนี้ได้อนุโมทนากับผู้ใส่บาตรตอนเช้าตามถนนหนทางหลายสายและทุกวันได้ให้ธรรมะเป็นทาน
    ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


    ข่าวงานบุญเนื่องด้วยวัดป่าบ้านนาท่อน บ้านนาท่อน ต.นาพึง อ.นาแห้ว จ.เลย 42170 จัดงานวันเด็กทุกปี ซึ่งมีเด็กและผู้ปกครองมารวมกันหลายหมู่บ้านประมาณ1000 คนมีการเลี้ยงอาหาร และมีกิจกรรม และจับสลากของขวัญถ้าท่านใดต้องการบริจาคของขวัญสำหรับเด็กอะไรก็ได้ เช่นปืนฉีดน้ำ ตุ๊กตา เป็นต้นหรือเป็นของที่หลือใช้ เพราะว่าวัดนี้เป็นวัดที่ใกล้กับประเทศลาว ขอส่งไปได้เลยโดยตรงที่วัดตามที่อยู่ข้างบนจนถึงวันเด็ก หรือสอบถามพระอาจารย์อ้วน 0810504836และพระอาจารย์ต้น0863781029 ขอบพระคุณล่วงหน้า


     

แชร์หน้านี้

Loading...