ถ้ำแห่งธรรม

ในห้อง 'แจกฟรี' ตั้งกระทู้โดย jaramat109, 27 ตุลาคม 2009.

  1. jaramat109

    jaramat109 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +1
    ถ้ำแห่งธรรม <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    เรียบเรียงโดย พระกฤษฎา กิตติ̣ญาโณ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    นโม ตสส̣ ภควโต อรหโต สมม̣า สมพุ̣ทธ̣สส̣<o:p></o:p>
    นโม ตสส̣ ภควโต อรหโต สมม̣า สมพุ̣ทธ̣สส̣<o:p></o:p>
    นโม ตสส̣ ภควโต อรหโต สมม̣า สมพุ̣ทธ̣สส̣<o:p></o:p>
    ทูรงฺคมํ เอกจรํ อสรีรํ คุหาสยํ<o:p></o:p>
    เย จิตฺตํ สญฺญเมสฺสนฺติ โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา<o:p></o:p>
    ชนเหล่าใด จักสำรวมจิต อันไปในที่ไกล เที่ยวไปดวงเดียว ไม่มีสรีระ<o:p></o:p>
    มีถ้ำเป็นที่อาศัย ชนเหล่านั้น จะพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    การยกอุทาหรณ์ประกอบการบรรยายธรรม เป็นกุศโลบายอย่างหนึ่งที่จะทำให้ความเข้าใจในหลักธรรมแจ่มขึ้น ดังนั้น อุทาหรณ์ที่แต่งขึ้นมาต่อไปนี้ มุ่งหมายให้ได้ประโยชน์จากการเปรียบเทียบระหว่างเรื่องราวนี้ กับชีวิตจริง ที่กำลังดำเนินอยู่ เมื่อใดที่บุคคลได้เห็นคุณค่าแห่งกาลเวลา ความกระตือรือร้นที่จะนำพาชีวิตไปสู่จุดหมายที่ดีที่สุดก็จะมีขึ้น<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เรื่องราวที่แต่งขึ้นนี้ กล่าวถึงถ้ำแห่งหนึ่ง อันเป็นที่ร่ำลือกันว่าเป็นถ้ำที่น่าสะพรึงกลัวที่สุด เพราะผู้ที่เข้าไปแล้ว น้อยคนนักที่จะออกมาได้ มีอะไรอยู่ในนั้น คนเหล่านั้นกำลังผจญกับอะไร เหตุใดจึงออกมาไม่ได้ คำถามเหล่านี้ ผู้ออกมาได้เท่านั้นคือผู้ไขปริศนา<o:p></o:p>
    ความจริงมีอยู่ว่า ภายในถ้ำแห่งนี้ สลับซับซ้อนไปด้วยทางแยกมากมาย ทุกเส้นทางระเกะระกะไปด้วยหินอันแหลมคม หากผู้ที่เข้าไปขาดความระมัดระวัง เมื่อพลาดพลั้งจะถูกหินทั้งหลายทิ่มแทงเชือดเฉือน<o:p></o:p>
    ยังไม่เพียงแต่เท่านั้นในแต่ละเส้นทางอาจกล่าวได้ว่าสุดแสนจะหฤโหดที่ผู้ผจญจะต้องใช้วิธีการต่างๆนานาฝ่าฟันไป เช่น ป่ายปีนไปตามโขดหิน ไต่ไปตามผนังถ้ำ กระโดดข้ามเหวลึก หรือแม้แต่คืบคลานและแทรกตัวไปตามตะเข็บรอยร้าวของหิน<o:p></o:p>
    ทั้งๆที่รู้อยู่ว่าการท่องไปในภายใน เป็นไปอย่างยากลำบาก และมีอันตรายอยู่รอบด้าน แต่ในความนึกคิดของคนส่วนใหญ่ในที่แห่งนี้ ไม่มีอะไรสำคัญเกินไปกว่าเพชรนิลจินดา แก้วมณีที่มีอยู่มากมายมหาศาล ฝังตัวตามผนังถ้ำ กระจัดกระจายไปทั่วทุกหนแห่ง<o:p></o:p>
    ...........เพราะเหตุนั้น ในทุกย่างก้าวของผู้ท่องไป แม้จะประสบกับอันตรายนานัปการก็ตาม ก็กาทำให้เขาเหล่านั้นสะทกสะท้านหวั่นไหวแม้แต่น้อยไม่ กลับพุ่งกระโจนไปข้างหน้าอย่างลุกลี้ลุกลน ราวกับว่าสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิตจะอันตรธานไป<o:p></o:p>
    เพชรนิลจินดาที่ได้มา ถูกเก็บใส่ถุงอย่างร้อนรน จากนั้นก็ก้มหน้าก้มตาค้นหากันต่อไป ครั้นพบแล้ว ก็เก็บใส่ถุงอีก เป็นอย่างนี้ครั้งแล้วครั้งเล่าอย่างไม่รู้จักพอ<o:p></o:p>
    นอกจากอัญมณีนี้แล้ว ไม่มีสิ่งอื่นใดเลยที่จะเบี่ยงเบนความสนใจของเขาเหล่านี้ ไปได้ แม้แต่น้ำมันในตะเกียงอันเป็นต้นกำเนิดแห่งแสงสว่างที่ทำให้สายตาของผู้เป็น เจ้าของตะเกียงมองเห็นสรรพสิ่ง ก็ยังถูกมองข้ามไปโดยไม่เคยเหลียวแลดูเลยว่ายังคงมีน้ำมันเหลืออยู่มากน้อยเพียงใด<o:p></o:p>
    และแล้วเมื่อวันเวลาหมุนเวียนเปลี่ยนผันไป จนกระทั่งถึงเวลาหนึ่ง แสงสว่างจากตะเกียงค่อยๆหรี่ลง การมองเห็นเริ่มมีอุปสรรค สิ่งที่เคยเห็นเด่นชัดกลับมัวหมอง ซึ่งปรากฏการณ์นี้ น่าจะเป็นสัญญาณบ่งบอกให้ผู้เป็นเจ้าของตะเกียงตระหนักถึงความยุ่งยากที่จะติดตามมาในไม่ช้า<o:p></o:p>
    แต่ทว่า ความตระหนักดังกล่าว ถูกความหลงมัวเมาใน อัญมณีบดบังไว้เสียสิ้น ถึงเวลานี้ก็ยังคงกระหยิ่มใจอยู่ว่า ยังมีเวลาเหลืออยู่อีกมากสำหรับการกอบโกย<o:p></o:p>
    แล้ววาระสุดท้ายแห่งแสงสว่างก็มาถึง เมื่อแสงตะเกียงดับ สิ่งต่างๆที่เคยมองเห็นกลับมืดมิดในฉับพลันเวลานี้เองถึงได้ตระหนักว่า ตนเองไม่ต่างอะไรไปจากคนตาบอดที่เคว้งคว้างอยู่ในห้วงแห่งความมืด อิริยาบถใดๆไม่อาจดำเนินต่อไปได้ ต้องหยุดชะงักในทันที ทั้งนี้เพราะการเคลื่อนไหวที่ปราศจากแสงสว่างคืออันตรายอย่างมหันต์<o:p></o:p>
    ความกระหยิ่มยิ้มย่องที่เคยมีกลับมลายหายไปในทันที สิ่งที่เข้ามาแทนที่คือ ความหวาดวิตก ตื่นตระหนก โกลาหล แล้วจะนิ่งเฉยอยู่อย่างนี้โดยไม่ทำอะไรอีกนานแค่ไหน แน่นอน คงไม่นานไปจนกระทั่งชั่วนิจนิรันดรเป็นแน่<o:p></o:p>
    เพราะความทุกข์อันเกิดจากความเมื่อยล้ากำลังทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น จะต้องทำอะไรสักอย่าง เพื่อหนีความทุกข์นี้ไปสู่ความทุกข์ที่น้อยกว่า<o:p></o:p>
    เมื่ออยู่ในสภาพ เปล่าเปลี่ยวเดียวดายอย่างนี้ ที่พึ่งเดียวคือสิ่งของที่ติดตัวมา บางทีอาจช่วยอะไรได้บ้างในยามคับขันเช่นนี้<o:p></o:p>
    อะไรเล่า ที่ตนเคยเสี่ยงชีวิตนับครั้งไม่ถ้วนเพื่อให้ได้มันมา เท่านั้นยังไม่พอ แม้แต่แสงสว่างทั้งหมดก็ทุ่มเทให้กับมันจนไม่มีเหลือ ซึ่งมันที่ว่านี้ ก็คือเพชรนิลจินดาแก้วมณีที่กำลังแบกอยู่นั่นเอง <o:p></o:p>
    ในเมื่อค่าของมันมีมากถึงขนาดนี้ อย่างน้อยที่สุดก็ควรตอบแทนผู้เป็นเจ้าของบ้างให้สมกับที่เขาเคยเทิดทูน ก็อย่างเช่น เวลานี้ ควรจะเป็นประโยชน์ในการนำเขาออกจากถ้ำ<o:p></o:p>
    แต่แล้วก็ต้องพบกับความผิดหวังอย่างรุนแรง นอกจากไม่ช่วยอะไรแล้ว ยังเป็นตัวถ่วงที่หนักหน่วงให้ต้องแบกขนไปกับตัว ลำพังตัวเองก็เอาไม่รอด ยังจะรักษาสิ่งที่ไม่มีประโยชน์นี้ไปทำไมกัน นี่นะหรือคือ สิ่งที่ใครๆชื่นชมกัน สิ่งที่ ใครๆยื้อแย่งกัน คิดๆ แล้วน่าเจ็บใจตัวเองนัก ที่มัวหลงงมงายเข้าใจผิดคิดว่ามันมีค่ายิ่งกว่าอะไรทั้งปวง จริงอยู่ผู้ที่ครอบครองมัน อาจได้รับการยอมรับจากสังคมที่หลงคลั่งไคล้มันเหมือนกัน แต่บัดนี้ได้เห็นความจริงแล้วจึงรู้ว่า มันไม่ต่างอะไรจากเศษสวะที่ต้องโยนทิ้งไปอย่างไม่เหลือเยื่อใย<o:p></o:p>
    ครั้นจะเรียกทุกสิ่งทุกอย่างกลับคืนมาเพื่อจะเริ่มต้นใหม่มันก็สายเกินไปเสียแล้ว ณ เวลานี้ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือแสงสว่าง แม้กระพริบเพียงครั้งเดียวก็ให้คุณค่าอย่างมหาศาลแล้ว เพราะย่างก้าวต่อไป นั่นหมายถึงความตายทีเดียว <o:p></o:p>
    และแล้ว ก้าวย่างที่ปราศจากแสงสว่าง คือก้าวสุดท้ายที่เหยียบเอาความว่างเปล่า แต่มารู้ว่าความว่างเปล่านั้นคือเหว ก็ในตอนที่ตกลงไปแล้ว <o:p></o:p>
    นี่คือบทเรียนราคาแพงบทหนึ่งของคนในถ้ำที่ตกอยู่ในอำนาจแห่งความหลงใหล คนแล้วคนเล่าต้องพบจุดจบอันน่าเศร้านี้ไปตามๆกัน<o:p></o:p>
    ความคิดที่ว่า ยังมีเวลาอีกมากสำหรับการกอบโกยนี่แหละ เรียกว่า ความประมาท ย่อมนำมาความหายนะในที่สุด <o:p></o:p>
    ตามที่กล่าวมาแล้วในตอนต้น การยกอุทาหรณ์มีความหมายที่จะเปรียบเทียบระหว่างคนในถ้ำกับชีวิตจริงของคนทั่วไปที่กำลังกำลังดำเนินอยู่ในโลกนี้ ว่า เป็นไปในทำนองเดียวกันหรือไม่ เป็นการสะท้อนจากมุมมองย่อยสู่มุมมองจริง เสมือนแผนที่ที่ย่อส่วนพื้นที่จริง เพื่อบอกนักเดินทางให้รู้ว่า ขณะนี้กำลังหลงทางอยู่หรือไม่ หากผู้คนในตอนนี้หลงใหลใน สิ่งยั่วยวน บั้นปลายชีวิตก็ต้องพบกับจุดจบอันน่าเศร้าเช่นกัน.<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    ในแผนที่มีเครื่องหมายเป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งต่างในพื้นที่จริง เช่นแม่น้ำ ภูเขา ถนน อาคารสิ่งปลูกสร้าง เป็นต้น ในอุทาหรณ์นี้ก็เช่นกัน เปรียบถ้ำ คือภพภูมิที่สรรพสัตว์เวียนว่ายตายเกิดอยู่ ในหมู่มนุษย์ส่วนใหญ่สาวะวนอยู่กับการแสวงหา ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข หลีกหนีและกำจัดความเสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ ซึ่งรวมเรียกว่า โลกธรรม.<o:p></o:p>
    นอกจากนี้ยังหลงใหลในโลกามิส คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์ ดุจเดียวกับคนในถ้ำที่แสวงหาเพชรนิลจินดา ฉะนั้น เหล่าสรรพสัตว์ทั้งหลายในเวลานี้ก็กำลังหลงอยู่ในภพภูมิต่างๆ เที่ยวแสวงหา เพลิดเพลินอยู่.<o:p></o:p>
    เมื่อจิตใจของมนุษย์อ่อนไหวไปในโลกธรรมหรือโลกามิสเช่นนี้ จึงทำให้บางคน บางพวก อาศัยจุดอ่อนนี้ อุปโลกน์โลกธรรมขึ้น พัฒนาโลกามิสขึ้น จนมนุษย์ผู้หลงใหล เกิดความปรารถนา ยอมกระทำทุกอย่างดั่งทาสรับใช้ เพื่อให้ได้มันมา เช่น ในการบริหารธุรกิจขนาดใหญ่ จำเป็นต้องมีตำแหน่งต่างๆ เพื่อให้ธุรกิจดำเนินไปอย่างคล่องตัว แต่มีบางนายจ้างต้องการให้ลูกจ้างทำงานอย่างทุ่มเท จึงสมมุติ ตำแหน่งต่างๆขึ้น ไม่ว่าจะเป็น หัวหน้า ผู้จัดการ ผู้อำนวยการ เป็นต้น แล้วอุปโลกน์ตำแหน่งนั้นๆให้ผู้ดำรงรู้สึกมีเกียรติ ได้รับการยกย่องสรรเสริญ พร้อมทั้งได้ค่าตอบแทนสูง และมีความสุขจากการที่ไม่ต้องทำงานหนัก ในที่สุดอุบายที่วางไว้ก็ประสบความสำเร็จ ลูกจ้างนอกจากทำงานอย่างหัวปักหัวปั่นแล้ว ยังประจบสอพลอ หักหลัง หรือกระทำในสิ่งที่ไร้คุณธรรมได้ทุกอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งสมมุตินั้นๆ สิ่งดีๆ ในชีวิตถูกปฏิเสธอย่างไม่ใยดี เช่น การบรรพชา อุปสมบท โดยมีหน้าที่การงานเป็นข้ออ้าง <o:p></o:p>
    ในหลายๆ วงการจะใช้อุบายทำนองนี้หลอกใช้ผู้คน แม้กระทั่งสิ่งที่เป็นที่พึ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ ก็ยังอุปโลกน์ขึ้นมาให้คนยึดถือ จากสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง ยังถูกปั้นแต่งด้วยคำพูดที่น่าชวนเชื่อว่ามีอยู่จริง มีตัวตน แล้วตั้งสมญานามว่า ผู้สร้างโลกมีอำนาจเหนือสรรพสิ่ง สามารถดลบันดาลสิ่งที่ปรารถนาแก่คนผู้ยอมรับใช้ ยอมปฏิบัติตามคำบอกกล่าวของผู้ปั้นเรื่อง ซึ่งเรียกตัวเองว่า ผู้ถ่ายทอดคำบัญชา หากผู้ใดไม่ยอมรับใช้หรือปฏิบัติตาม จะถูกบันดาลให้ได้รับความทุกข์ยาก ความเดือดร้อนอย่างแสนสาหัส<o:p></o:p>
    มนุษย์ผู้ไม่รู้เท่าทันเล่ห์เหลี่ยม เกิดมีความศรัทธาอย่างแรงกล้า แม้ชีวิตก็ยอมสละได้เพื่อแลกกับความสุขที่ผู้สร้างโลกประทานให้หลังความตาย ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา หมู่มวลมนุษยชาติได้ล้มตายกันเป็นจำนวนมากจากการเข่นฆ่าทำลายล้าง เนื่องจากผู้ต้องการเป็นใหญ่ในแผ่นดินใช้อุบายนี้หลอกลวงให้ผู้หลงงมงายพลีตนเป็นนักรบในสงคราม ซึ่งลูกไม้เก่าๆ นี้ยังใช้กันอยู่ตราบเท่าถึงปัจจุบัน<o:p></o:p>
    ต้นกำเนิดแนวความคิดนี้เท่าที่สืบค้นจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ก็คือ ศาสนาพราหมณ์ แม้ศาสนานี้จะสูญหายไปจากโลกแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีผู้นำแนวความคิดนี้มาใช้กันอยู่ อย่างเช่นในสงครามมหาเอเชียบูรพา ผู้นำญี่ปุ่นในสมัยนั้นปลูกฝังแนวความคิดทหารให้เชื่อว่า เป็นลูกพระอาทิตย์ หากตายไปจะกลับมาเกิดเป็นชาวญี่ปุ่นอีกภายใน 7 วัน อย่างนี้ เป็นต้น<o:p></o:p>
    ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อเครื่องมือเหล่านี้เปรียบไปแล้วไม่ต่างอะไรไปจากผลไม้ดองที่เขาจะหยิบขึ้นมาชิมเวลาไหนก็ได้ ในยามที่บ้านเมืองสงบให้บูชาผู้สร้างโลกไปตามประสา แต่ในยามสงครามจะอ้างคำบัญชาให้มาเป็นลิ่วล้อ<o:p></o:p>
    การยกย่องสรรเสริญ มีส่วนในการกระตุ้นให้คนเรามุ่งมั่นที่จะกระทำตามคำยกย่องนั้นให้สำเร็จ และคนๆ นั้นอาจ เป็นคนดีได้หากเป็นการยกย่องต่อการกระทำที่ประเสริฐ เช่น ยกย่องผู้มีศีล สมาธิ ปัญญา เป็นต้น แต่หากการยกย่องนั้นมุ่งที่จะให้คนทำความชั่ว ก็มีแต่คนชั่วเท่านั้นที่พยายามกัน เช่นยกย่องคนที่เที่ยวเบียดเบียนรังแกชาวบ้านเรียกค่าคุ้มครองว่า เจ้าพ่อ เรียกคนที่เที่ยวปล้นฆ่าว่า เสือ เรียกคนที่ประพฤติผิดในลูกเมียผู้อื่นว่า เสือผู้หญิง เป็นต้น บางครั้งถึงขนาดเชิดชูความเลวด้วยสมญานามที่เลิศเลอว่า วีรบุรุษบ้าง เทพเจ้าบ้าง เทพบุตรบ้าง หรือในกลุ่มคนบางประเภทที่มีความอ่อนแอทางจิต ได้แก่ คนที่ไม่สามารถยกจิตของตนเองให้พ้นจากความมัวเมาในอบายมุขได้ ก็มีคำยกย่องต่อคนที่หมกมุ่นในอบายมุขนั้นๆ ยิ่งกว่าใครๆด้วยเช่นกัน เรียกคนที่ดื่มสุราจัดว่า คอทองแดง เรียกคนที่มีความชำนาญในการพนันว่า เซียน เป็นต้น<o:p></o:p>
    คำยกย่องทั้งหลายเหล่านี้ทำให้บรรดาสมาชิกในกลุ่มหรือสังคมนั้นเกิดความกระตือรือร้นที่จะปรับปรุงความประพฤติของตนไปสู่ความเสื่อมทรามอันเป็นที่น่ารังเกียจยิ่งกว่าเดิม เพื่อให้เป็นที่เลื่องลือ กล่าวขานในหมู่คนกลุ่มเดียวกัน เมื่อก่อเรื่องอะไรมา ก็นำเรื่องนั้นมาเล่าให้คนในกลุ่มฟัง เพื่อให้คนเหล่านั้นยกย่องในความเก่งกาจสามารถของตน พร้อมกับหัวเราะเยาะตลกขบขันในความเคราะห์ร้ายของเหยื่อ<o:p></o:p>
    เหยื่อ คือ ผู้เคราะห์ร้าย ย่อมได้รับความทุกข์ทรมานจากผู้กระทำคือ ผู้ล่า ส่วนผู้ล่าเอง บางคนก็ได้รับผลเลวร้ายจากการกระทำของตน บางคนก็ไม่ได้รับผลเลยในตลอดชีวิต ความพยายามในการหาเหตุผลเพื่ออธิบายกฎแห่งกรรม บางครั้งก็จนปัญญาที่จะบอกได้ เช่น ใครจะรู้ได้ว่าทารกแรกเกิดไปทำอะไรมาจึงได้เกิดมาในตระกูลสูง หรือต่ำ มั่งมี หรือ ยากจน สมบูรณ์ หรือพิการ เช่นเดียวกัน ในการหาผลที่ได้รับจากการกระทำ บางครั้งผู้กระทำก็ไม่ได้รับผลในช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่ เพราะผู้กระทำได้ตายเสียก่อน<o:p></o:p>
    เนื่องจากการอธิบายที่คลุมเครือ ไม่อาจทำให้เกิดความกระจ่าง อันแสดงให้เห็นถึงกรรมและผลของกรรมได้ก่อให้เกิดแนวความคิดมากมาย มาอธิบายความเป็นไปต่างๆ แล้วสั่งสอนผู้คนให้ดำเนินชีวิตไปในแนวของตน เช่น เห็นว่าสัตว์ทั้งหลายตายแล้วสูญไม่มีการเกิดอีก <o:p></o:p>
    สัตว์ทั้งหลายที่กำลังได้รับความลำบาก หรือสบายก็ตาม ไม่ได้อาศัยอะไรเป็นเหตุให้เกิดขึ้นเลย เป็นไปเองทั้งนั้น และเห็นว่า สัตว์ทั้งหลายที่ทำดีก็ตาม ทำชั่วก็ตาม ไม่เป็นบาปและบุญ ทำก็สักว่าทำเท่านั้น ความเห็นเหล่านี้เรียกว่า มิจฉาทิฏฐิ หรือ ความเห็นผิด<o:p></o:p>
    คนที่มีความเห็นผิดเหล่านี้ มีทัศนคติที่เห็นผู้อื่นเป็นเหยื่อ คอยหาโอกาสเอารัดเอาเปรียบผู้อื่น เมื่อใดที่ผลกรรมตามสนอง กลับไม่คิดว่านั่นคือผลกรรม แต่ไปคิดว่านั่นคือความบกพร่องของตนที่วางแผนไม่รอบคอบ หรือการใช้อำนาจอิทธิพล ไม่เพียงพอต่อการเลี่ยงความผิด<o:p></o:p>
    ในบางโอกาสที่ผลกรรมนั้น มาในรูปแบบของโรคภัยไข้เจ็บ อุบัติเหตุ หรือภยันตรายต่างๆ พวกมิจฉาทิฏฐิเหล่านี้จะโยนผลกรรมนี้ไปให้ความบังเอิญ หรือมิฉะนั้นก็โทษชะตาฟ้าลิขิต ได้แต่คุกเข่าอ้อนวอน ขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วย <o:p></o:p>
    ในเมื่อกฎแห่งกรรมมีคำอธิบายที่คลุมเครือ มิจฉาทิฏฐิที่นำไปปฏิบัติ แล้วมีโทษติดตามมาในภายหลัง คำถามจึงมีว่า แล้วอะไรคือความจริง การกระทำอะไรที่ปราศจากโทษ<o:p></o:p>
    อย่าเพิ่งหมดหวังกับการค้นหาคำอธิบายและแนวปฏิบัติที่ถูกต้อง เพราะได้มีเรื่องราวหนึ่งปรากฏเป็นคำบอกเล่า พร้อมทั้งคำอธิบายและแนวปฏิบัติที่สมบูรณ์ สามารถได้ถึงผลกรรมที่สนองแม้ผู้กระทำตายไปแล้วก็ตาม คำบอกเล่านั้นมีดังนี้<o:p></o:p>
    ในอดีตกาล เมื่อมนุษย์มีอายุ 20,000 ปี พระพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสปะ อุบัติขึ้นในโลก เสด็จเที่ยวจาริกไปกับพระขีณาสพ 20,000 รูป ชาวกรุงพาราณสี 2 คนบ้าง 3 คนบ้าง มากกว่านั้นบ้าง รวมกันเป็นพวกเดียวกันพากันถวายทาน<o:p></o:p>
    ในกรุงพาราณสีได้มีเศรษฐีบุตร 4 คน มีสมบัติ 40 โกฎิ เป็นสหายกัน เศรษฐีบุตรเหล่านั้น ปรึกษากันว่า ในเรือนของพวกเรามีทรัพย์มาก,พวกเราจะกระทำอะไรด้วยทรัพย์นั้น ”<o:p></o:p>
    เมื่อพระพุทธเจ้าเห็นปานนั้น เสด็จเที่ยวจาริกไปอยู่ บรรดาเศรษฐีบุตรเหล่านั้น มิได้กล่าวว่า พวกเราจักถวายทาน, จักกระทำบูชา ,จักรักษาศีล” <o:p></o:p>
    คนหนึ่งกล่าวอย่างนี้ก่อนว่า พวกเราดื่มสุราที่เข้ม เคี้ยวกินเนื้อที่มีรสอร่อย จักเที่ยวไป,ชีวิตนี้ของเราจักมีผล”<o:p></o:p>
    อีกคนหนึ่ง กล่าวอย่างนี้ว่าพวกเราจักบริโภคภัตแห่งข้าวสารแห่งข้าวสาลีมีกลิ่นหอมที่เก็บค้างไว้ 3 ปี ด้วยรสเลิศต่างๆเที่ยวไป”<o:p></o:p>
    อีกคนหนึ่ง กล่าวอย่างนี้ว่าพวกเราจักให้เขาทอดของควรเคี้ยวแปลกๆมีประการต่างๆเคี้ยวกินเที่ยวไป”<o:p></o:p>
    อีกคนหนึ่ง กล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะเพื่อน พวกเราจักไม่กระทำกิจอะไรๆ แม้อย่างอื่น,หญิงทั้งหลาย เมื่อเรากล่าวว่า,จักให้ทรัพย์,ชื่อว่าไม่ปรารถนาย่อมไม่มี,เพราะเหตุนั้นพวกเรารวบรวมทรัพย์ไว้แล้วจักประเล้าประโลม(หญิง)ทำปรทาริกกรรม(การประพฤติผิดในภรรยาของผู้อื่น)”<o:p></o:p>
    เศรษฐีบุตรทั้งหมด รับคำว่า ดีละๆได้ตั้งอยู่ในถ้อยคำของคนที่4นั้น.<o:p></o:p>
    จำเดิมแต่นั้นมาเศรษฐีบุตรเหล่านั้นส่งทรัพย์ไปเพื่อ(บำเรอ)หญิงที่มีรูปงามกระทำปรทาริกกรรมตลอด2หมื่นปีกระทำกาละ(ตาย)แล้วบังเกิดในอเวจีมหานรก. <o:p></o:p>
    เศรษฐีบุตรเหล่านั้น ไหม้แล้วในนรกสิ้นพุทธันดรหนึ่ง กระทำกาละในนรกนั้น ด้วยเศษกรรม ก็เกิดในโลหกุมภีนรก(อันลึก) 60 โยชน์(จมลง)ถึงพื้นภายใต้3หมื่นปี(ลอยขึ้นมา)ถึงปากหม้อโดย 3 หมื่นปีอีก เมื่อบุรุษ 4 คนถูกไฟนรกไหม้กลิ้งไปมาอยู่ ดุจข้าวสารในหม้อที่กำลังเดือดพล่าน(จมลงไป)ถึงภายใต้พื้น 3 หมื่นปีแล้ว(ลอยขึ้นมา)ถึงที่ขอบปากอีกใช้เวลาถึง 3หมื่นปี สัตว์นรกเหล่านั้นยกศีรษะขึ้นแลดูกันและกันแล้ว ปรารถนาเพื่อจะกล่าวคาถาตนละคาถา (แต่) ไม่อาจจะกล่าวได้จึง กล่าวอักษรตนละอักษรแล้ว ก็หมุนกลับไปสู่หม้ออย่างเดิมอีก,<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เสียงของสัตว์นรกตนแรกกล่าวว่า ทุ เป็นคำกล่าวที่กล่าวไม่เต็ม ที่เต็มคือ<o:p></o:p>
    เราทั้งหลายเหล่าใด เมื่อโภคะทั้งหลาย<o:p></o:p>
    มีอยู่ ไม่ได้ถวายทาน, ไม่ได้ทำที่พึ่งแก่ตน<o:p></o:p>
    พวกเราเหล่านั้น จัดว่ามีชีวิตอยู่ชั่วช้าแล้ว”<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เสียงที่ 2 คือ สะ เสียงที่ 3 คือ นะ เสียงที่ 4 คือ โส คำทั้งหมดที่จะกล่าวคือ<o:p></o:p>
    เมื่อเราทั้งหลาย ถูกไฟไหม้อยู่ในนรก ครบ 6<o:p></o:p>
    หมื่นปี โดยประการทั้งปวง, เมื่อไร ที่สุดจัก<o:p></o:p>
    ปรากฏ ? ผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ที่สุดย่อมไม่มี ,<o:p></o:p>
    ที่สุดจักมีแต่ที่ไหน? ที่สุดจะไม่ปรากฎเพราะ<o:p></o:p>
    ว่า กรรมชั่ว อันเราและท่านได้กระทำไว้แล้ว<o:p></o:p>
    ในกาลนั้น. เรานั้นไปจากที่นี้แล้ว ได้กำเนิด<o:p></o:p>
    เป็นมนุษย์ จักเป็นผู้รู้ถ้อยคำที่ยาจกกล่าว ถึง<o:p></o:p>
    พร้อมด้วยศีล ทำกุศลให้มากแน่.”<o:p></o:p>
    ชนทั้ง4นั้น ปรารถนาจะกล่าวคาถาตนละคาถา เมื่อไม่อาจจะกล่าวได้ จึงกล่าวตนละอักษรเท่านั้น แล้วหมุนกลับเข้าโลหะกุมภีนั้นอีก<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เรื่องราวนี้ แสดงให้เห็นถึงชีวิตที่ไม่มีวันจบสิ้น ซึ่งสวนทางกับความเห็นของคนส่วนใหญ่ที่เชื่อว่าตายแล้วสูญแท้จริงแล้ว เมื่อตายไป อัตภาพใหม่ก็เกิดขึ้นอีก จะตายไปกี่ครั้งก็จะเกิดขึ้นใหม่ทุกครั้งไป ส่วนสถานที่อยู่และรูปร่างของสรรพสัตว์ผู้เกิดใหม่แต่ละครั้ง จะดีหรือเลว ขึ้นอยู่กับการกระทำหรือกรรมที่ได้ก่อไว้ก่อนการเกิดใหม่ ในเมื่อประพฤติผิดในภรรยาชายอื่น ตายไป ก็ต้องมาทุกข์ทรมานในนรกอย่างนี้ ชีวิตที่ดำเนินไปตามกระแสแห่งโลกธรรมและโลกามิส ผู้ที่ได้มันมา อาจมีความสุขที่ได้ชื่นชม แต่มันไม่อาจติดตามไปช่วยอะไรได้ในโลกหน้า เหมือนเพชรนิลจินดาที่ไม่อาจช่วยอะไรผู้เป็นเจ้าของที่กำลังตก อยู่ในห้วงแห่งความมืดได้<o:p></o:p>
    การนำเรื่องราวนี่มาอธิบายกฎแห่งกรรม อาจไม่เป็นที่ยอมรับจากคนทั่วไปสักเท่าไรนัก นั่นอาจเป็นเพราะ เรื่องราวนี้มีจุดอันชวนน่าสงสัยอยู่หลายประการที่ทำให้เชื่อว่าเป็นเรื่องที่ปั้นแต่งขึ้นโดยไม่มีมูลความจริง ประการแรกเรื่องราวนี้มีความชัดเจนแจ่มแจ้ง ราวกับว่าผู้เล่าอยู่ในเหตุการณ์ทุกเหตุการณ์ ติดตามเศรษฐีบุตร ไปทุกย่างก้าว แม้กระทั่งเขาเหล่านั้นตายไปแล้ว ก็ยังติดตามไปรับรู้เรื่องราวในนรกขุมต่างๆ อย่างไม่น่าเป็นไปได้ ซึ่งมันไม่ใช่วิสัยของคนธรรมดาทั่วไปจะทำได้ ประการที่น่าเหลือเชื่อยิ่งกว่านั้นก็คือ ผู้บอกเล่ารู้แม้กระทั่งความในใจของคนเหล่านั้นที่อยากเปล่งออกมาเป็นคำพูด แต่เปล่งออกมาได้เพียงอักษรตัวแรกเท่านั้น ถ้าเรื่องนี้เป็นเรื่องจริง ผู้บอกเล่าคนนั้นต้องเป็นผู้วิเศษอย่างแน่นอน ที่ล่วงรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้งอดีต ปัจจุบันและอนาคตอย่างไม่มีขอบเขต แต่ถ้าผู้นั้นเป็นคนธรรมดาสามัญ เรื่องราวนี้ก็คือ นวนิยายดีๆ นี่เอง แล้วผู้บอกเล่านั้นเป็นใครกันแน่<o:p></o:p>
    ก่อนที่จะเปิดเผยผู้บอกเล่าเรื่องราวอันน่าพิศวงนี้ คำจำกัดความของคำว่า เก่ง คืออะไร คำว่า คนเก่ง ที่ได้ยินกันบ่อยๆ เขามีอะไรแตกต่างจากคนไม่เก่งอย่างไร ก็ความตั้งใจมั่นที่เรียกว่า สมาธิ และความรอบรู้ที่เรียกว่า ปัญญา นั่นแหละที่สร้างความแตกต่างให้กับคน ไม่ว่าจะทำหรือคิด ใครมีสมาธิปัญญามากกว่า คนนั้นนั่นแหละ คือคนเก่ง ปุถุชนคนธรรมดาอาจมีสมาธิปัญญาอยู่ในระดับหนึ่ง เพราะฉะนั้นจึงทำให้คนทั้งหลายเข้าใจว่า คงไม่มีใครเก่งกว่านี้ แต่ว่าสมาธิปัญญานั้น สามารถฝึกให้มีระดับที่สูงกว่าปุถุชนได้ ความมหัศจรรย์ของจิตที่เป็นผลพวงจากสมาธิปัญญาขั้นสูงนั้นเป็นอย่างไร คนผู้นั้นแหละย่อมรู้อยู่แก่ใจ คนธรรมดาจะรู้เหมือนอย่างนั้นได้ต้องฝึกฝนสมาธิปัญญาถึงระดับนั้นเสียก่อนจึงจะรู้เองเห็นเอง<o:p></o:p>
    อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ คือ ความสามารถของผู้มีสมาธิปัญญาขั้นสูงแสดงออกมาให้เห็นเป็นรูปธรรม เมื่อคนธรรมดาได้ประจักษ์แล้ว ก็จะละทิ้งทิฏฐิของตน ยอมเชื่อถือคำบอกเล่าในทุกๆเรื่อง และพร้อมที่จะปฏิบัติตามคำสั่งสอนของผู้ที่มีอิทธิฤทธิ์นั้น<o:p></o:p>
    สมัยหนึ่งนานมาแล้ว มีมหาบุรุษผู้หนึ่งมีพระนามว่า องค์สมเด็จพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เสด็จไปในดินแดนที่ชื่อ อุรุเวลาเสนานิคม เพื่อประกาศธรรมจักร ที่นั่นเป็นที่อยู่ของชฎิล (นักบวชนองพระพุทธศาสนา) ชื่อ อุรุเวลกัสสปะ เป็นหัวหน้าชฎิล 500 คน เป็นผู้มีทิฏฐิ ที่คิดว่าตนเป็นพระอรหันต์คนอื่นไม่ใช่ พระพุทธองค์จึงทรงแสดง ปาฏิหาริย์ถึง 1,500 ประการ เช่น การผ่าฟืนของชฎิล ฟืนไม่แตกด้วยอิทธานุภาพ เมื่อตรัสว่า จงผ่าฟืนเถิด แล้วก็ผ่าแตกออกถึง 500 ดุ้นในการผ่าครั้งเดียว เดินจงกรมโดยน้ำที่ท่วมสูงไม่อาจท่วมบริเวณที่จงกรม เป็นต้น <o:p></o:p>
    แต่ อุรุเวลกัสสปะ ยังไม่ละทิฏฐิ พระองค์จึงตรัสเพื่อให้เกิดความสลดใจว่า นี่แนะกัสสปะ เธอไม่ใช่พระอรหันต์ ทั้งไม่ใช่ผู้เดินตามพระอรหันต์ เธอจักได้ชื่อว่า พระอรหันต์ หรือเดินตามทางพระอรหันต์ด้วยปฏิปทาอันใด(ปฏิปทา คือ ความปฏิบัติของภิกษุผู้ได้บรรลุธรรมพิเศษ คือ มรรค ผล นิพพาน ) ในเมื่อปฏิปทาอันนั้นไม่มีแก่เธอ อุรุเวลกัสสปะจึงได้หมอบลงแทบพระบาทของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ขอให้ข้าพเจ้าได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด”<o:p></o:p>
    เรื่องราวของเศรษฐีบุตร เป็นเรื่องราวหนึ่งที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกอันเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ในเมื่อพระพุทธองค์ทรงตรัสบอกเรื่องนี้ จึงอยู่ที่ผู้สดับทั้งหลายจะน้อมเข้ามาใส่ตัวหรือไม่ ความประสงค์ที่จะเห็นปาฏิหาริย์ของผู้บอกเล่าก่อนปักใจเชื่อนั้น เป็นเรื่องที่สายเกินไปในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม แม้พระพุทธองค์จะปรินิพพานมานานแล้ว แต่ทว่า ปาฏิหาริย์ก็ยังไม่หมดสิ้นไปจากศาสนานี้ และเป็นปาฏิหาริย์ที่เลิศที่สุดกว่าปาฏิหาริย์ใดๆ นั้นก็คือ อนุสาสนีปาฏิหาริย์ เป็นพระธรรมคำสั่งสอนที่ทำให้ผู้สดับบรรลุธรรมตรัสรู้ตามพระสุคตได้ ซึ่งปาฏิหาริย์อะไรจะเลิศไปกว่านี้<o:p></o:p>
    คงไม่มีคำอธิบายสำหรับกระบวนการในการหยั่งรู้ความเป็นไปตามกรรมของสรรพสัตว์ว่าทำได้อย่างไร เพราะนั่นเป็น พุทธวิสัย อันเป็นอจินไตยหรือสิ่งที่บุคคลไม่ควรคิด เหมือนกับคนที่ไม่มีความรู้ไต่ถามถึงความสลับซับซ้อนของ คอมพิวเตอร์ ในรายละเอียดถึงวงจรภายใน ซึ่งคงไม่อาจอธิบายให้เข้าใจได้ในระยะเวลาอันสั้น อาจต้องใช้เวลาในการเรียนรู้นับสิบๆ ปี ฉันใดก็ฉันนั้น บุคคลที่จะอุบัติมาเป็นพระพุทธเจ้า จะต้องผ่านการอบรมสั่งสมบารมีอย่างน้อยที่สุดเป็นเวลาถึง 4 อสงไขย 1 แสนกัป เพราะฉะนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ที่บุคคลอื่นใดจะไปรู้ไปเข้าใจพุทธวิสัยนั้นได้ แม้แต่พระสาวกอย่างพระมหากัสสปะผู้มีทิพยจักษุ เมื่อ พระศาสดาทรงทราบว่าท่านกำลังตรวจดูการจุติ(ตาย)และการเกิดของสัตว์ทั้งหลายอยู่ จึงตรัสว่า ชื่อว่าการจุติและการเกิดแห่งสัตว์ทั้งหลาย แม้อันพุทธญาณไม่ทรงกำหนด ใครๆ ไม่สามารถจะทำการกำหนดสัตว์ทั้งหลาย ผู้ถือปฏิสนธิในท้องของมารดา ไม่ทันให้มารดาและบิดารู้และจุติได้ การรู้สัตว์เหล่านั้น ไม่ใช่วิสัยของเธอ เพราะวิสัยของเธอมีประมาณน้อย ส่วนการรู้เห็นสัตว์ทั้งหลาย ผู้จุติและเกิดอยู่โดยประการทั้งปวง เป็นวิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้น”<o:p></o:p>
    เราทั้งหลายย่อมทราบดีว่าการศึกษาที่ผ่านมา ไม่ว่าระดับมัธยม หรืออุดมศึกษา กว่าจะสำเร็จมาได้ก็ต้องใช้ความเพียรพยายามอย่างมาก ในโลกนี้มีวิชาการต่างๆมากมาย หากจะให้เราศึกษาเล่าเรียนอะไรสักอย่างในตอนนี้ ข้อที่เราจะใช้ในการตัดสินใจว่าจะเรียนหรือไม่ก็คือเวลา และความเหนื่อยยาก ถ้าพินิจพิเคราะห์ดูแล้วเห็นว่าต้องใช้มาก เราก็คงปฏิเสธการเรียนนั้น เพราะฉะนั้นความรู้ในวิชาการที่เราไม่ได้ศึกษา เราเองจะไปคัดค้านโต้แย้งโดยใช้สามัญสำนึกของตนคงไม่ได้ ฉันใดก็ฉันนั้นในเมื่อเราไม่ได้ใช้ความเพียรพยายามอะไรเพื่อความเป็นพระพุทธเจ้า และไม่ได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ ก็ไม่มีทางรู้ได้เลยว่าเรื่องราวที่พระองค์ทรงแสดงนั้นรู้แจ้งเห็นจริงได้อย่างไร จึงไม่มีคำที่มีเหตุผลใดจะไปทักท้วงได้ว่าไม่จริง พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสว่า <o:p></o:p>
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตประกอบด้วยเวสารัชชญาณเหล่าใด ย่อมปฏิญาณฐานะแห่งความเป็นผู้นำ บันลือสีหนาทในบริษัท(หมู่)ประกาศพรหมจักร เวสารัชชญาณของตถาคตมี <o:p></o:p>
    4 ประการนี้ 4ประการเป็นไฉน<o:p></o:p>
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นนิมิตนี้ว่า สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก จักทักท้วงเราโดยคำมีเหตุผลในธรรมเหล่านี้ว่า ท่านปฏิญาณว่าเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ ธรรมเหล่านี้ท่านยังไม่ตรัสรู้ ในเมื่อเราไม่เห็นนิมิตแม้นี้ ย่อมเป็นผู้ถึงความเกษม ถึงความไม่มีภัย ถึงความแกล้วกล้าอยู่<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นนิมิตนี้ว่า สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก จักทักท้วงเราโดยคำมีเหตุผลในธรรมเหล่านี้ว่า ท่านปฏิญาณว่าเป็นพระขีณาสพ(พระอรหันต์) อาสวะ(เครื่องเศร้าหมอง) เหล่านี้ของท่านยังไม่สิ้น ในเมื่อเราไม่เห็นนิมิตแม้นี้ ย่อมเป็นผู้ถึงความเกษม ถึงความไม่มีภัย ถึงความแกล้วกล้าอยู่<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นนิมิตนี้ว่า สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก จักทักท้วงเราโดยคำมีเหตุผลในธรรมเหล่านี้ว่า ท่านกล่าวธรรมเหล่าใดว่าทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่อาจทำอันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริง ในเมื่อเราไม่เห็นนิมิตแม้นี้ ย่อมเป็นผู้ถึงความเกษม ถึงความไม่มีภัย ถึงความแกล้วกล้าอยู่<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นนิมิตนี้ว่า สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก จักทักท้วงเราโดยคำมีเหตุผลในธรรมเหล่านี้ว่า ท่านแสดงธรรมเพื่อผลประโยชน์อย่างใด ประโยชน์อย่างนั้นไม่เป็นทางสิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้ทำตาม ในเมื่อเราไม่เห็นนิมิตแม้นี้ ย่อมเป็นผู้ถึงความเกษม ถึงความไม่มีภัย ถึงความแกล้วกล้าอยู่<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตประกอบด้วยเวสารัชญาณเหล่าใด ย่อมปฏิญาณฐานะแห่งความเป็นผู้นำบันลือสีหนาทในบริษัท(หมู่)ประกาศพรหมจักร เวสารัชชญาณของตถาคตมี 4 ประการนี้แล<o:p></o:p>
    วาทะเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ที่เขาตระเตรียมไว้มาก และสมณะพรามหณ์ทั้งหลายอาศัยวาทะใด วาทะเหล่านั้นมาถึงพระตถาคตผู้แกล้วกล้า ผู้ล่วงวาทะเสียได้ ย่อมหายไป ผู้ใดครอบงำธรรมจักร อันเป็นโลกุตตระ (ธรรมอันพ้นวิสัยโลก)ประกาศแล้ว มีปรกติอนุเคราะห์สัตว์ทั่วหน้า สัตว์ทั้งหลายย่อมนมัสการผู้เช่นนั้น ผู้ประเสริฐกว่าเทวดา และมนุษย์ ผู้ถึงฝั่งแห่งภพ”<o:p></o:p>
    เมื่อความลังเลสงสัยในพระพุทธเจ้าจางคลายไป ความศรัทธาเลื่อมใสก็เข้ามาแทนที่ จิตใจค่อยๆเปิดกว้างขึ้น เพื่อให้หลักธรรมคำสั่งสอนรินหลั่งเข้ามา ทำให้รู้ว่าแท้จริงแล้วสัตว์ทั้งหลายเมื่อตายไปจากอัตภาพนี้ แล้วยังเกิดอัตภาพใหม่ สานต่อชีวิตนั้นๆให้ดำเนินอย่างต่อเนื่อง คล้ายกับว่าชีวิตถูกตราตรึงให้ติดอยู่กับภพ ที่สำคัญ ความทุกข์ที่มีอยู่ในทุกขณะทั้งทางกายและทางใจ ก็ยังคงหมกอยู่ในชีวิตของสรรพสัตว์อยู่อย่างนั้นไม่มีวันเสื่อมคลาย<o:p></o:p>
    การหลุดพ้นไปจากภพ ไม่อาจทำได้ด้วยการเดินทางเจาะทะลุทะลวงไปด้วยอัตภาพใดๆ หลักธรรมคำสั่งสอนในศาสนานี้ ได้จำแนกสิ่งหนึ่งที่มองไม่เห็น ที่ไม่มีใครทั้งได้ยิน ทั้งได้กลิ่น ทั้งลิ้มรส ทั้งสัมผัส แต่รู้ได้ด้วยใจ สิ่งนั้นก็คือ จิต แน่นอนทีเดียว จิต เป็นสภาวะนามธรรม การที่จะเข้าไปรู้ต้องใช้จิตที่ผ่านการฝึกฝนอย่างยิ่งยวดเท่านั้น ในเมื่อการเคลื่อนไปสู่อีกภพหนึ่งเกิดขึ้นในทันทีที่ตาย เพราะฉะนั้นในช่วงระหว่างการตายและการเกิดใหม่นี่แหละคือ จุดพลิกผันทีสำคัญที่ผู้แสวงหาทางหลุดพ้น จะต้องพิจารณาค้นหาหนทางว่าปัจจัยอะไรที่เป็นต้นเหตุแห่งการเกิดใหม่ เมื่อทำลายปัจจัยอันนั้นได้ นั่นแหละคือการหลุดพ้น<o:p></o:p>
    จิตอยู่ในร่างกายมาโดยตลอด แม้ร่างอันนี้เมื่อหมดสภาพที่จะใช้งาน ร่างกายใหม่ก็จะมาทดแทนที่ในทันที เพื่อให้จิตนั้นอยู่อาศัย ถ้าจะว่าไปแล้ว ร่างกายก็เปรียบเสมือนถ้ำของจิตที่ไม่รู้เมื่อไหร่จะได้ออกไป และร่างกายนี้ก็ยังถูกขังอยู่ในถ้ำอีกถ้ำหนึ่งที่ชื่อว่า โลก <o:p></o:p>
    เพราะฉะนั้น ก็เท่ากับว่า จิตนี้ถูกขังถึงสองถ้ำซ้อนกัน<o:p></o:p>
    จิตนี้หลุดพ้นไม่ได้ เพราะมีสิ่งรึงรัดให้ติดอยู่กับภพ จึงเป็นเสมือนดังว่าวที่มีสายป่านผูกติด หากจะปลดปล่อยจิตก็ต้องตัดเครื่องรึงรัดให้ขาด หมดเครื่องรึงรัดเมื่อไหร่ เวลาที่เหลืออยู่ก็ได้แต่รอเท่านั้น รอให้ร่างกายแตกดับ เมื่อถึงเวลานั้นจะไม่มีร่างกายใหม่คอยรอท่าเหมือนดังที่ผ่านมา เพราะปัจจัยที่ทำให้เกิดร่างกายใหม่นั้นถูกทำลายไปตั้งแต่เครื่องรึงรัดถูกตัดขาดแล้ว เมื่อร่างกายแตกดับจิตก็ไม่มีที่อาศัยจึงแตกดับไปด้วย สมดังพุทธศาสนาสุภาษิต ว่า “ยัตถะ นามัญจะ รูปัญจะ อะเสสัง อุปะรุชฌะติ วิญญาณัสสะ <o:p></o:p>
    นิโรเธนะ เอตเถตัง อุปะรุชฌะติ นามและรูปย่อมดับไม่เหลือในที่ใด นามและรูปนี้ย่อมดับในที่นั้น เพราะวิญญาณดับ”.<o:p></o:p>
    เครื่องรึงรัดสัตว์ให้ติดอยู่กับภพ เรียกว่า สังโยชน์ มี 10 ประการ<o:p></o:p>
    ๑. สักกายทิฏฐิ<o:p></o:p>
    ๒. วิจิกิจฉา<o:p></o:p>
    ๓. สีลัพพตปรามาส<o:p></o:p>
    ๔. กามราคะ<o:p></o:p>
    ๕. ปฏิฆะ<o:p></o:p>
    ๖. รูปราคะ<o:p></o:p>
    ๗. อรูปราคะ<o:p></o:p>
    ๘. มานะ<o:p></o:p>
    ๙. อุทธัจจะ<o:p></o:p>
    ๑๐. อวิชชา<o:p></o:p>
    สังโยชน์เหล่านี้ เป็นธรรมอันละเอียดที่ฝังลึกอยู่ในใจตน ผู้ปฏิบัติจะเห็นแจ่มชัดขึ้นเมื่อปัญญาอันรอบรู้ในกองสังขาร เจริญรุดหน้า และเมื่อเห็นความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ชัดเจนแล้ว ก็จะทำลายมันได้ในที่สุด สำหรับวิญญูชนทั่วไปไม่อาจแยกแยะออกได้ แต่จะรู้จักมัน ในรูปแบบผสมผสาน กลายเป็นความเพลิดเพลินต่างๆ อุปมาเหมือนสีที่มีอยู่หลากหลายเป็นพันเป็นหมื่นสี แต่ต้นกำเนิดสีเหล่านั้นมีเพียงแม่สี 3 สีเท่านั้นที่มาผสมกันในอัตราส่วนต่างๆ<o:p></o:p>
    ในเบื้องต้นสำหรับการปฏิบัติ ถ้าจะให้พิจารณาสังโยชน์โดยทันใด อาจเกินความสามารถของนักปฏิบัติ จึงต้องหาเครื่องผูกในระดับที่รู้จักกันดี นั่นคือ ตัณหา อันได้แก่ ความทะยานอยาก แยกออกเป็น 3 ประการ คือ<o:p></o:p>
    ๑. กามตัณหา ได้แก่ ความหลงใหลใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และ ธรรมารมณ์ (คำว่า กาม เป็นภาษาบาลี มีความหมายกว้าง รวมไปในทุกสิ่งทุกอย่างที่หลงใหล เช่น หลงใหลในเครื่องประดับ เสื้อผ้าอาภรณ์ เป็นต้น ไม่ได้มีความหมายแคบจำเพาะเจาะจงในเรื่องเพศอย่างภาษาไทยที่ยืมคำนี้มาใช้แต่อย่างใด)<o:p></o:p>
    ๒. ภวตัณหา ได้แก่ ความอยากมี อยากเป็น<o:p></o:p>
    ๓. วิภวตัณหา ได้แก่ ความไม่อยากมี ความไม่อยากเป็น<o:p></o:p>
    ตัณหา เป็นความคิดที่สวนทางกับความเป็นจริง เห็นสิ่งที่เป็นของไม่เที่ยงว่าเป็นของเที่ยง เห็นสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข เห็นสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนว่าเป็นตัวตน บุคคลจึงต้องใช้ความคิดที่เรียกว่า ปัญญา สกัดกั้นด้วยการเข้าไปรู้เท่าทันตัณหา มองสภาวธรรมทุกอย่างตามความเป็นจริง เมื่อสติเข้าไปพิจารณาอยู่อย่างนี้เรียกว่า การพิจารณาธรรมในธรรม ตัณหาชนิดหยาบค่อยๆถูกกำจัดออกไป มาปรากฏในแบบที่ละเอียดเป็นอนุสัยที่นอนเนื่องอยู่ในขันธสันดาน ได้แก่ สังโยชน์ ๑๐ ประการนั่นเอง<o:p></o:p>
    ส่วนจิตเป็นตัวรับรู้อารมณ์ เมื่อความหลงใหลใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์ เกิดขึ้นก็แสดงอารมณ์เป็น โมหะ หากมีปัญญาเข้าสกัดกั้น ในความหลงใหลนั้น จิตก็จะแสดงอารมณ์เป็น อโมหะ ในทำนองเดียวกัน ความอยากมี ความอยากเป็น มีอารมณ์เป็น โลภะ ปัญญาที่เข้าสกัดกั้นนี้มีอารมณ์เป็น อโลภะ ความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น มีอารมณ์เป็น โทสะ ปัญญาที่สกัดกั้นนี้มีอารมณ์เป็น อโทสะ สติที่เข้าไปพิจารณาจิตอยู่อย่างนี้ เรียกว่า การพิจารณาจิตในจิต<o:p></o:p>
    เวทนา เป็นตัวแปรอารมณ์ที่เกิดขึ้นในจิต ออกมาเป็นความรู้สึก สุข ทุกข์ เฉยๆ<o:p></o:p>
    กาย เป็นที่อาศัยของจิต ประกอบขึ้นเป็นรูปร่างต่างๆ ด้วยการที่มหาภูตรูป ๔ อันได้แก่ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ มาประชุมกัน ในอัตราส่วนต่างๆ เป็น ผม ขน เล็บ ฟัน เป็นต้น<o:p></o:p>
    สติที่เข้าไปพิจารณา กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม ตามความเป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวตน อยู่อย่างนี้ว่า สติปัฏฐาน ๔ ซึ่งเป็น ๑ ใน ๗ แห่งหนทางอันนำไปสู่การตรัสรู้<o:p></o:p>
    ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นการนำคำสั่งสอนของพระพุทธองค์มาเรียงร้อยไปตามลำดับ พระพุทธองค์ทรงชี้ให้เห็นทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ และหนทางสู่ความดับทุกข์ ที่ถูกถ้วน บริบูรณ์ สามารถนำไปปฏิบัติได้ และให้ผลได้โดยไม่จำกัดกาล เพื่อความก้าวล่วงทุกข์ทั้งปวงของสัตว์ทั้งหลาย<o:p></o:p>
    สมัยหนึ่งมีภิกษุเกิดความท้อถอยต่อการปฏิบัติ พระพุทธองค์ทรงให้โอวาทว่า<o:p></o:p>
    “มาเถิด ภิกษุ เธออย่าคิดไปเลย ธรรมดาจิตนี้มีหน้าที่รับอารมณ์ แม้มีอยู่ในที่ไกล ควรที่ภิกษุจักพยายามเพื่อประโยชน์แก่การพ้นจากเครื่องผูก คือ ราคะ โทสะ โมหะ” แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า<o:p></o:p>
    “ชนเหล่าใด จักสำรวมจิต อันไปในที่ไกล เที่ยวไปดวงเดียว ไม่มีสรีระ มีถ้ำเป็นที่อาศัย ชนเหล่านั้นจักพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร”<o:p></o:p>
    ขยายความพระคาถานี้ว่า การไปการมาของจิตไม่มีทิศทางเพราะความที่จิตนี้เป็นนามธรรม ทำหน้าที่เป็น เครื่องรับอารมณ์ เมื่อตามองรูป จิตรับอารมณ์คือเห็น หูฟังเสียง จิตรับอารมณ์คือได้ยิน จมูก ดมกลิ่น จิตรับอารมณ์คือได้กลิ่น ลิ้นรับรส จิตรับอารมณ์คือรู้รส กายสัมผัส จิตรับอารมณ์ คือรู้สัมผัส และสังขาร คือ ความคิดเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธรรมารมณ์ จิตรับรู้อารมณ์เป็นอะไร ก็แล้วแต่ว่าความคิดนั้นประกอบด้วยอะไร ถ้าประกอบด้วยตัณหา ก็แสดงออกเป็น โลภะ โทสะ โมหะ ถ้าประกอบด้วยปัญญา ก็แสดงออกเป็น อโลภะ อโทสะ อโมหะ ซึ่งจิตนั้นย่อมรับอารมณ์ได้แม้อยู่ในที่ไกล<o:p></o:p>
    อนึ่ง จิตนั้นมีดวงเดียว แต่ไม่ได้หมายความว่าจิตดวงเดียวนี้จะยั่งยืนตลอดกาลนาน แท้จริงแล้ว จิตดวงหนึ่งเมื่อเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ก็ดับไป อย่างรวดเร็ว แล้วจะมีจิตดวงใหม่เกิดขึ้นแทนที่ แล้วดับไปอีก เป็นอย่างนี้ทีละดวงๆอย่าง ต่อเนื่อง และรวดเร็ว เพราะความที่ไม่เห็นการเกิดดับจึงดูคล้ายกับว่าจิตนี้เป็นของเที่ยง ยั่งยืน และเพราะความที่จิตเป็นนามธรรม จึงเป็นธรรมชาติที่ไม่มีรูปร่างสัณฐานและสีสันแต่ประการใด มีถ้ำอันเป็นที่อาศัยคือ หทัยรูป ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย แล้วทำการควบคุมร่างกายให้แสดงอาการต่างๆ ทั้งทางกายและวาจา เมื่อมีเจตนาก็มีกรรม กรรมที่ยังไม่แสดงออกมาทางกายหรือวาจา เรียกว่า มโนกรรม<o:p></o:p>
    ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่ว่าจะเป็นบุรุษ หรือสตรี เป็น คฤหัสถ์ หรือ บรรพชิต เมื่อไม่ให้กิเลสที่ยังไม่เกิดขึ้น ให้เกิดขึ้น และละกิเลสที่เกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่าเป็นผู้สำรวมจิต คือ ทำให้จิตสงบ ไม่ให้ฟุ้งซ่าน ชนเหล่านั้นทั้งหมดก็จะพ้นจากวัฏฏะ คือ การเวียนว่ายตายเกิดในภูมิ ๓ ได้แก่ กามาวจรภูมิ อันเป็นที่อยู่ของเทวดา มนุษย์ สัตว์เดรัจฉาน เปรต อสูรกาย สัตว์นรก รูปาวจรภูมิ อันเป็นที่อยู่ของพรหม และ <o:p></o:p>
    อรูปาวจรภูมิ อันเป็นที่อยู่ของอรูปพรหม เมื่อพ้นจากวัฏฏะ ก็นับได้ว่า พ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร หมายความว่า ไม่มีเครื่องผูกคือ กิเลส นั่นเอง<o:p></o:p>
    เรื่องราวภายในถ้ำ ถูกตีแผ่ออกมาจากคำบอกกล่าวของผู้ที่ออกมานอกถ้ำได้ ฉันใดก็ฉันนั้น ในโลกแห่งความเป็นจริง ความจริงอันเป็นวิสัยของโลก(โลกียธรรม) กับทั้งความจริงอันพ้นวิสัยโลก(โลกุตรธรรม) ถูกเปิดเผยจากมหาบุรุษที่เลิศที่สุด ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด และที่ประเสริฐที่สุด คือ องค์สมเด็จพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้สุคตศาสดาของเราทั้งหลายนั่นเอง พระองค์ทรงตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า<o:p></o:p>
    “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะพระตถาคตอุบัติขึ้นมาก็ตาม ไม่อุบัติก็ตาม ธาตุนั้น คือ ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดา ก็คงตั้งอยู่อย่างนั้นเอง ตถาคตตรัสรู้ บรรลุธาตุนั้นว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ครั้นแล้วจึงบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้เข้าใจง่ายว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง <o:p></o:p>
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะพระตถาคตอุบัติขึ้นมาก็ตาม ไม่อุบัติก็ตาม ธาตุนั้น คือ ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดา ก็คงตั้งอยู่อย่างนั้นเอง ตถาคตตรัสรู้ บรรลุธาตุนั้นว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ครั้นแล้วจึงบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้เข้าใจง่ายว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์<o:p></o:p>
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะพระตถาคตอุบัติขึ้นมาก็ตาม ไม่อุบัติก็ตาม ธาตุนั้น คือ ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดา ก็คงตั้งอยู่อย่างนั้นเอง ตถาคตตรัสรู้ บรรลุธาตุนั้นว่าธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ครั้นแล้วจึงบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้เข้าใจง่ายว่าธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ”<o:p></o:p>
    ความจริงนี้พระพุทธองค์ทรงประกาศเพื่อให้เวไนยสัตว์(สัตว์ที่สั่งสอนได้)ปฏิบัติตามคำสั่งสอนเพื่อความหลุดพ้น จากถ้ำ คือ วัฏฏะ และความทุกข์ทั้งปวง เราทั้งหลายเมื่อรู้อย่างนี้แล้วจะยังคงอาลัยอาวรณ์กับธรรมอันเป็นวิสัยโลกอีกหรือ มันเป็นความทุกข์ที่ฉาบทาด้วยลักษณะอาการว่าเป็นสุข เหมือนเพชรนิลจินดาที่คนในถ้ำเข้าใจว่าเป็นของมีค่าฉะนั้น<o:p></o:p>
    เพราะฉะนั้น หากเรายังเฉยเมย ไม่นำหลักธรรมคำสั่งสอนมาประพฤติปฏิบัติตามสมควรแก่ธรรม ประกอบกับความคิดที่ว่ายังมีเวลาอยู่อีกมากสำหรับความเพลิดเพลิน เราก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้ประมาท<o:p></o:p>
    เพื่อให้เราทั้งหลายได้ตระหนักถึงความไม่ประมาท จึงขออัญเชิญพระดำรัสของพระพุทธองค์ที่มีในครั้งสุดท้ายมาเตือนสติดังนี้ว่า<o:p></o:p>
    “หันทะทานิ ภิกขะเว อามันตะยามิ โว วะยะธัมมา สังขารา อัปปะมาเทนะ สัมปาเทถะ อะยัง ตะถาคะตัสสะ ปัจฉิมา วาจา ”<o:p></o:p>
    แปลว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราขอเตือนเธอทั้งหลายว่า สังขารทั้งปวงมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงกระทำความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด นี่เป็นพระวาจาที่มีในครั้งสุดท้ายของพระตถาคตเจ้า”.<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    จบบริบูรณ์<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ............................................................................................................................<o:p></o:p>
    อาตมภาพ พระกฤษฎา กิตติ̣ญาโณ แห่ง วัดสุวรรณบรรพต อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้เรียบเรียงธรรมบรรยายขึ้น โดยอาศัยความรู้ที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมา ประกอบกับการนำข้อความจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง ฉบับ ลูก ส.ธรรมภักดี และข้อความจากหนังสือธรรมะของมหามกุฎราช-วิทยาลัย มาใช้อ้างอิง หากท่านผู้ใดเห็นว่ามีประโยชน์ ประสงค์จะตีพิมพ์เป็นเล่ม ก็ทำได้ตามอัธยาศัย ธรรมบรรยายนี้ไม่มีลิขสิทธิ์แต่ประการใด<o:p></o:p>
    .............................................................................................................<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
     

แชร์หน้านี้

Loading...