ถ้าคุณพบพระพุทธเจ้ากลางทาง

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 29 เมษายน 2006.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,174
    [​IMG]


    -----------------------พบพระพุทธเจ้าจงฆ่าเสีย------------------------
    คำว่าเซ็น หมายถึง พุทธศาสนานิกายหนึ่ง ซึ่งเป็นสาขาของมหายาน
    มีเอกลักษณ์พิเศษคือไม่เน้นตำรา แต่เน้นการถ่ายทอดสัจธรรมจากจิตถึงจิต
    เราได้รับการบอกเล่าถึงวิธีการถ่ายทอดของอาจารย์เซ็นโดยการถามปัญหา
    (โกอาน) แปลก ๆ การตอบคำถามแบบ "ไปไหนมาสามวาสองศอก"
    และนิทานชวนขันชวนคิดท้าทายปัญญา
    ในขณะที่สังฆปริณายกองค์ที่ ๕ กำลังเผยแผ่ศาสนาอยู่...
    มีเด็กหนุ่มกำพร้าคนหนึ่งชื่อ "เว่ยหล่าง" มีอาชีพตัดฟืนขายเลี้ยงมารดาผู้ชรา
    ที่ตำบลชุนเชา มณฑลกวางตุ้ง ภาคใต้ของจีน.. เว่ยหล่างได้ยินอุบาสกคนหนึ่ง
    สวดวัชรปรารมิตาสูตร หรือที่ภาษาจีนเรียกว่า "กิมปังปัวเยียปอล่อมิกเก็ง"
    พอได้ยินเท่านั้น ก็เกิดขนลุกชูชัน เกิดศรัทธาอยากจะศึกษาธรรมะเหลือเกิน
    แต่ติดขัดที่ไม่มีใครดูแลมารดา จึงรออยู่พักหนึ่ง จนในที่สุดมีผู้ให้เงิน ๑๐ ตำลึง
    เพื่อมอบให้มารดาใช้สอยขณะเขาไม่อยู่ เว่ยหล่างจึงเดินทางไปเมืองวองมุย
    ใช้เวลาเดินทางถึง ๑ เดือน พอไปถึงก็เข้าไปนมัสการพระสังฆปริณายก
    ขอเรียนธรรมะด้วย
    "เธอมาจากไหน" ท่านอาจารย์ถาม
    "มาจากปักษ์ใต้ครับ"
    "คนทางใต้เป็นคนป่าคนดง จะหวังเป็นพุทธะได้อย่างไร"
    "คนอาจจะมาจากภาคเหนือภาคใต้ แต่พุทธภาวะไม่มีเหนือ
    ไม่มีใต้ มิใช่หรือครับ" เด็กหนุ่มย้อน
    ท่านสังฆปริณายกรู้ทันทีว่าเด็กหนุ่มบ้านอกคนนี้ ได้รู้สัจธรรม
    ระดับหนึ่งแล้ว แต่เพื่อมิให้เป็นภัยแก่เขา จึงแสร้งดุให้เขาเงียบเสียง
    แล้วให้ไปช่วยทำงานในครัว
    วันหนึ่งท่านอาจารย์เรียกประชุมศิษย์ทั้งหมด ให้แต่ละคนเขียนโศลก
    บรรยายธรรมคนละบท เพื่อทดสอบภูมิธรรม ชินเชา (ชินชิ่ว) หัวหน้าศิษย์
    เป็นผู้ที่ใคร ๆ ยกย่องว่าเป็นผู้เข้าใจธรรมะอย่างลึกซึ้งกว่าคนอื่น และมีหวัง
    จะได้รับมอบบาตรและจีวรจากท่านอาจารย์แน่ ๆ ได้แต่โศลกบทหนึ่ง
    เขียนไว้ที่ผนังว่า
    "กาย คือต้นโพธิ์
    ใจ คือกระจกเงาใส
    จงหมั่นเช็ดถูเป็นนิตย์
    อย่าปล่อยให้ฝุ่นละอองจับ"
    ท่านอาจารย์อ่านโศลกของชินเชาแล้ว ชมเชยต่อหน้าศิษย์ทั้งหลาย
    ว่าเป็นผู้เข้าใจธรรมอย่างลึกซึ่ง (แต่ตอนกลางคืนเรียกเธอเข้าไปพบตามลำพัง
    บอกว่าชินเชา "ยังไม่ถึง" ให้พยายามต่อไป)
    เว่ยหล่างได้ฟังโศลกของหัวหน้าศิษย์แล้ว มีความรู้สึกเป็นส่วนตัวว่า
    ผู้แต่โศลกยังเข้าใจไม่ลึกซึ้ง จึงแต่โศลกแก้ เสร็จแล้ววานให้เพื่อนช่วยเขียนให้
    เพราะเว่ยหล่างอ่านหนังสือไม่ออกเขียนไม่ได้ โศลกบทนั้นมีความว่า
    "เดิมที ไม่มีต้นโพธิ์
    ไม่มีกระจกเงาใส
    เมื่อทุกอย่างว่างเปล่าตั้งแต่ต้น
    ฝุ่นละอองจะลงจับอะไร"
    ท่านอาจารย์รู้ทันทีว่า ผู้เขียนโศลกเป็นผู้เข้าถึงสัจธรรมสูงสุดแล้ว
    จึงถามใครเป็นคนแต่ง พอทราบว่าเว่ยหล่างเด็กบ้านนอกแต่ง จึงสั่งให้ลบทิ้ง
    พร้อมดุด่าต่อหน้าศิษย์อื่น ๆ ว่า หนังสือยังอ่านไม่ออกสะเออะจะมาเขียนโศลก
    แต่พอคล้อยหลังศิษย์อื่น ท่านอาจารย์เรียกเว่ยหล่างเข้าพบมอบ
    บาตรและจีวรให้ (มอบตำแหน่ง) แล้วสั่งให้รีบหนีไปกลางดึก ศิษย์ในสำนัก
    รู้ข่าว พากันออกตามล่าเอาบาตรและจีวรคืน เดชะบุญหนีรอดไปได้
    เว่ยหล่างหลบซ่อนอยู่ในป่าเป็นเวลา ๑๕ ปี ได้อุปสมบทเป็นภิกษุ
    เมื่ออายุ ๓๕ ปี แล้วออกเผยแผ่ศาสนาจนกระทั่งอายุ ๗๖ ปี ก็มรณภาพ
    ท่านเว่ยหล่างไม่รู้หนังสือ แต่สามารถเข้าถึงธรรมะได้เร็วกว่า
    คนที่เรียนแตกฉาน จากประสบการณ์นี้เอง ท่านจึงเชื่อมั่นว่า การศึกษา
    ธรรมะกับการบรรลุธรรมเป็นคนละเรื่องกัน นักศึกษาที่ "พลิกตำรา"
    ทีละหน้าๆ ไม่นานอาจถูกตำรามัน "พลิก" เอาได้
    เทคนิกการสอนเซ็นของท่านเว่ยหล่างจึงไม่เน้นตำรา ไม่ติดตำรา
    แม้ระบบการถ่ายทอดเซ็นโดยการมอบบาตรและจีวร ที่สืบทอดกันมาแต่
    โบราณกาล พอถึงยุคท่านเว่ยหล่าง ท่านยกเลิกหมด ท่านเห็นว่าการมอบ
    วัตถุให้แก่กัน ทำให้คนเบาปัญญา ไม่บรรลุธรรม คิดโลภอยากได้แล้วแย่งกัน
    ดังที่ท่านเคยประสบมาด้วยตัวเอง การถ่ายทอดควรใช้วิธี "จากจิตสู่จิต"
    มากกว่า ใครได้บรรลุธรรม ก็นับว่าเป็นสังฆปริณายกสืบต่อศาสนาทุกคน
    มีภาพที่รู้จักดีในหมู่ชาวพุทธเซ็นภาพหนึ่ง เป็นภาพท่านเว่ยหล่าง
    ฉีกคัมภีร์ทิ้งกระจุยกระจาย แเสดงว่าการจะเข้าถึงสัจธรรม ต้องทำลาย
    ความยึดติดคัมภีร์เสียก่อน นับเป็นภาพที่ท้าทายเอาการทีเดียว
    ศิษย์ของท่านคนหนึ่งชื่อ ลินซิ (รินไซ) ไปไกลยิ่งกว่านั้น
    คำพูดของท่าน ถ้าชาวพุทธไทยผู้เคร่งครัดได้ฟัง อาจสะดุ้งแปดกลับ
    หาว่าคนพูดเช่นนนั้นไม่บ้าก็เมา
    ท่านพูดว่าไงนะหรือครับ
    "ถ้าคุณพบพระพุทธเจ้ากลางทาง จงฆ่าเสีย"

    จาก พุทธศาสนาทัศนะและวิจารณ์
    ของ ร.ศ.เสฐียรพงษ์ วรรณปก
     

แชร์หน้านี้

Loading...