"ถึงเวลา..รื้อฟื้นวิชา..ประวัติศาสตร์..แล้วหรือยัง???"

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย yutkanlaya, 11 กันยายน 2007.

  1. yutkanlaya

    yutkanlaya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    865
    ค่าพลัง:
    +4,403
    ผู้จัดการ วันที่ 08 กันยายน พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10773​

    ถึงเวลา รื้อฟื้นวิชาประวัติศาสตร์แล้ว?

    โดย สายพิน แก้วงามประเสริฐ



    รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ มีแนวคิดที่จะส่งเสริมการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ให้มีความเข้มข้นขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากเห็นว่าเด็กนักเรียนทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาเรียนวิชาประวัติศาสตร์ค่อนข้างน้อย อีกทั้งเด็กทุกคนไม่ได้เรียนวิชาประวัติศาสตร์โดยตรง แต่เป็นเพียงสาระหนึ่งของวิชาสังคมศึกษาเท่านั้น ทำให้จำนวนชั่วโมงเรียนไม่น่าจะเพียงพอสำหรับการนำไปใช้ประโยชน์ได้

    รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการเห็นว่าเด็กไม่ค่อยมีความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์เท่าใดนัก แม้แต่เรื่องบุคคลสำคัญของชาติที่เด็กควรจะรู้จัก แต่เด็กบางส่วนก็ไม่รู้จัก ทำให้เห็นว่าเป็นเพราะเด็กมีชั่วโมงเรียนประวัติศาสตร์น้อยเกินไป หรือโรงเรียนไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการเรียนวิชานี้ ซึ่งจะส่งผลให้เด็กมีความรักชาติ และหวงแหนชาติน้อยตามไปด้วย

    ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า การทำให้เด็กเกิดความรักชาติและหวงแหนชาติบ้านเมือง เป็นภาระหน้าที่ของวิชาประวัติศาสตร์ จริงๆ ? ในเมื่อวิชาประวัติศาสตร์เป็นวิชาที่มุ่งศึกษาเรื่องราวในอดีต ที่สะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมด้านต่างๆ ของมนุษย์ทั้งดีและไม่ดี เพื่อนำบทเรียนในอดีตมาใช้กับปัจจุบัน และเพื่ออนาคตที่ดีงาม ซึ่งหมายความว่ามนุษย์น่าจะเอาบทเรียนในอดีตมาทบทวนปัจจุบันว่าอะไรควรทำอะไรไม่ควรทำ เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดในอนาคต ดังนั้น วิชาประวัติศาสตร์อาจจะกำหนดไม่ได้ว่าเรียนแล้วจะทำให้คนรักชาติมากขึ้นกว่าเดิมได้หรือไม่

    การเรียนประวัติศาสตร์ต้องใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ที่เน้นการรวบรวมข้อมูลหลักฐานต่างๆ อย่างรอบด้าน แล้วนำหลักฐานเหล่านั้นมาวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือ แล้วจึงตีความ หรือพยายามอธิบายว่าหลักฐานเหล่านั้นต้องการสื่อสารอะไรออกมา แล้วจึงอธิบายอย่างเป็นเหตุเป็นผล

    ซึ่งคำอธิบายเรื่องราวใดๆ ในประวัติศาสตร์ อาจจะมีชุดของคำอธิบายเรื่องเดียวกันได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับหลักฐานและการตีความของนักประวัติศาสตร์

    แม้ว่านักประวัติศาสตร์จะถูกอบรมสั่งสอนให้ต้องพยายามวางตัวเป็นกลาง ไม่ใช้อคติ ประสบการณ์ ความเชื่อส่วนตัวมามีอิทธิพลต่อการตีความ และอธิบายเรื่องราวในประวัติศาสตร์ก็ตาม แต่การตีความ หรืออธิบายเรื่องราวใดๆ ย่อมมีทัศนคติส่วนตัวของผู้ตีความปะปนมาบ้างไม่มากก็น้อย

    วิธีการทางประวัติศาสตร์จะทำให้เห็นว่าวิชาประวัติศาสตร์ไม่ได้มีหน้าที่หล่อหลอมกล่อมเกลาให้คนเกิดความรักชาติ หรือเชื่อตามสิ่งที่รัฐบอกว่าดีหรือไม่ดี แต่หากเด็กจะเรียนแล้วเกิดความรักชาติก็ย่อมเกิดจากการคิดวิเคราะห์จนเข้าใจว่า เหตุการณ์ของชาติในอดีตที่ผ่านมา มีเหตุการณ์หรือเกี่ยวเนื่องกับบุคคลที่เป็นตัวอย่างที่แสดงถึงความรักชาติได้จริงๆ จนเกิดความซาบซึ้งในบทบาทและเรื่องราวนั้นๆ และถือเป็นแบบอย่างในความรักชาติก็อาจเป็นได้

    หากวิชาประวัติศาสตร์ไม่ได้มีหน้าที่สอนให้เกิดความรักชาติโดยตรงแล้ว วิชาประวัติศาสตร์มีหน้าที่ทำอะไรให้เกิดกับสังคม?

    ประวัติศาสตร์น่าจะเป็นวิชาที่สอนให้เด็กมองอะไรอย่างรอบด้าน หลายมุมมอง โดยใช้หลักฐานและความเป็นเหตุเป็นผลประกอบ มากกว่ามองอะไรเพียงมุมมองเดียว ซึ่งในท่ามกลางสังคมไทยขณะนี้ ที่มีการแบ่งเป็นฝักฝ่าย เกิดการเผชิญหน้ากันไม่มากก็น้อยนั้น วิชาประวัติศาสตร์อาจจะทำหน้าที่ได้ดี ในการอบรมสั่งสอนให้เด็กและเยาวชนของชาติ หรือผู้คนในสังคมรู้จักการใช้เหตุผล คิดวิเคราะห์มองอะไรอย่างหลากหลาย พยายามวางตัวเป็นกลาง (แม้ว่าความเป็นกลางไม่รู้อยู่ตรงไหนก็ตาม) ไม่เชื่อข้อมูลฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอย่างง่ายๆ แล้วคิดใคร่ครวญโดยหลักเหตุผล

    ถ้าเป็นเช่นนี้ได้ วิชาประวัติศาสตร์ก็น่าจะเป็นประโยชน์ที่จะได้ทบทวนบทเรียนในอดีต เพื่อทำปัจจุบันให้ดี ซึ่งจะส่งผลต่ออนาคตที่มั่นคง

    ปัญหาของการเรียนประวัติศาสตร์ อาจไม่ได้เกิดจากการที่มีชั่วโมงเรียนประวัติศาสตร์น้อยเกินไปหรือไม่ หรือการไม่มีชื่อวิชานี้ในสาระพื้นฐานในระดับประถมและมัธยมเท่านั้น แต่ปัญหาของการเรียนประวัติศาสตร์ตั้งแต่อดีต น่าจะเป็นเพราะวิชาประวัติศาสตร์ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง ในการหล่อหลอมกล่อมเกลาความเชื่อบางอย่างของรัฐ

    ทำให้ในอดีตวิธีสอนประวัติศาสตร์จึงเน้นการท่องจำ จดจำเรื่องราวต่างๆ ที่รัฐเห็นความจำเป็นที่จะต้องใช้ประโยชน์ จึงบรรจุเรื่องราวเหล่านั้นไว้ในตำราเรียน และผู้คนก็ถูกสั่งสอนให้เชื่อกันต่อมา ทำให้มีการใช้เหตุผลต่อปรากฏการณ์ใดๆ ทางประวัติศาสตร์ค่อนข้างน้อย

    ดังจะปรากฏให้เห็นอยู่เสมอว่า หากมีนักประวัติศาสตร์คนใดออกมาอธิบายเรื่องราวใดๆ ขัดแย้งกับความเชื่อดั้งเดิมของสังคมแล้ว ย่อมถูกประท้วงต่อต้านอย่างรุนแรง โดยปราศจากการใช้เหตุผลหรือการหาวิธีการต่อสู้กันตามหลักวิชาการในวิถีทางประวัติศาสตร์

    นั่นย่อมแสดงว่าเวลาที่ผ่านมาการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์เกิดความล้มเหลว เพราะเราไม่อาจทำให้ผู้คนในสังคมเข้าถึงวิธีการทางประวัติศาสตร์ได้อย่างแท้จริง

    เมื่อปัญหาของวิชาประวัติศาสตร์อยู่ที่เราไม่อาจทำให้คนที่ผ่านการเรียนประวัติศาสตร์ในโรงเรียนมาแล้ว สามารถนำวิธีการทางประวัติศาสตร์มาใช้ในการดำรงชีวิต หรืออธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ในสังคมที่เกิดขึ้นได้อย่างรอบด้าน โดยใช้เหตุและผล ตลอดจนใจกว้างพอที่จะยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างแล้ว ย่อมแสดงว่าการเรียนประวัติศาสตร์ แม้ว่าจะเข้มข้นกว่าปัจจุบันมาก ก็ยังเป็นปัญหาที่จะต้องแก้ไข ดังนั้น ปัญหาจึงอาจจะไม่ใช่เรื่องการเรียนประวัติศาสตร์มากหรือน้อยเท่านั้น

    แต่ปัญหาคือทำอย่างไรจะให้วิชาประวัติศาสตร์เป็นวิชาที่น่าสนใจ และเด็กสามารถนำวิธีการทางประวัติศาสตร์ไปใช้ในการดำรงชีวิตได้มากกว่า

    เด็กจำนวนไม่น้อยหรือแม้แต่ผู้คนในสังคมเองเมื่อได้ยินชื่อวิชาประวัติศาสตร์แล้ว อาจจะเกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายโดยฉับพลัน และจินตนาการว่าเป็นวิชาที่ต้องจดจำท่องจำเรื่องราวมากมาย ครูผู้สอนหากไม่ได้เรียนทางด้านประวัติศาสตร์โดยตรง ก็อาจจะเกิดความเบื่อหน่ายเช่นกัน พลอยให้วิชานี้ยิ่งน่าเบื่อหน่ายเข้าไปใหญ่

    การรื้อฟื้นให้วิชาประวัติศาสตร์เป็นวิชาที่น่าสนใจ ควรจะเริ่มต้นที่ครูผู้สอนก่อน ต้องกระตุ้นให้ครูเกิดความรู้สึกว่าวิชานี้เป็นวิชาที่สนุกน่าสนใจ ได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ให้มองอะไรอย่างรอบด้าน มีใจคอกว้างขวางมากขึ้น อีกทั้งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง

    ความสนุก น่าสนใจของวิชาประวัติศาสตร์น่าจะเกิดจากความเข้าใจในลักษณะวิชา ซึ่งนอกจากกระทรวงศึกษาธิการจะเห็นความสำคัญของวิชานี้ด้วยการกำหนดให้เด็กมีชั่วโมงเรียนประวัติศาสตร์มากขึ้นกว่าเดิมแล้ว

    สิ่งที่กระทรวงศึกษาธิการต้องทำควบคู่กันไปคือ จัดให้ความรู้แก่ครูผู้สอนวิชาประวัติศาสตร์ ที่อาจจะไม่ได้จบประวัติศาสตร์โดยตรง หรือจบประวัติศาสตร์มาก็ตาม ให้มีความรู้ความเข้าใจในวิธีการทางประวัติศาสตร์ และจัดอบรมสัมมนาวิชาการด้านประวัติศาสตร์อย่างขนานใหญ่ โดยใช้นักประวัติศาสตร์ที่วิเคราะห์เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ได้ดี และมีใจคอกว้างขวางมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับครูผู้สอนประวัติศาสตร์ เพื่อให้เกิดมุมมองใหม่ๆ และกระตุ้นการคิดวิเคราะห์ ตลอดจนทำให้ครูผู้สอนรับรู้ถึงการอธิบายเรื่องราวในประวัติศาสตร์ใหม่ๆ ให้ทันกับความเคลื่อนไหวในวงวิชาการทางประวัติศาสตร์มากกว่าจะจมปลักอยู่กับความเชื่อในอดีตในบางเรื่อง

    การเรียนการสอนประวัติศาสตร์ให้สนุกสนาน เกิดขึ้นไม่ได้หากเรียนโดยให้ท่องจำตามตำราเรียน แต่ควรฝึกให้คิดอะไรให้แตกต่างไปจากเดิม โดยยังคงอยู่บนหลักฐานและเหตุผลที่สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจน การเรียนประวัติศาสตร์ให้สนุกสนาน เด็กกล้าคิดกล้าแสดงเหตุผล การยอมรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างไปจากตนได้ น่าจะเป็นความสำคัญของวิชานี้ มากกว่าเพียงแค่ทำให้เด็กรักชาติมากขึ้นกว่าเดิมเท่านั้น

    เพราะไม่แน่ใจว่าเรียนแล้วจะรู้สึกได้อย่างนั้นจริงๆ หรือไม่ หรือไม่แน่ใจว่าจะเอาอะไรมาวัดความรักชาติ ใช้ข้อสอบวัดความรักชาติ? หรือจะใช้คำพูดว่ารักชาติหรือไม่ ยิ่งไม่ได้ผล เพราะเห็นกันอยู่ว่าในสังคมไทยมีผู้พร่ำพูดคำว่ารักชาติจำนวนมาก แต่การกระทำกลับตรงกันข้ามก็เห็นดาษดื่นไป

    แต่ถ้าทำให้เด็กรู้และเข้าใจเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ของชาติอย่างแท้จริง เพื่อทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว อาจก่อให้เกิดความรักชาติได้อย่างยั่งยืน กว่าการปล่อยให้เชื่อไปตามๆ กัน แล้วเมื่อเวลาผ่านไปค่อยมารู้ทีหลังว่าสิ่งที่เคยเชื่อตามกระแสสังคมนั้น อาจเป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้องเสมอไป

    นอกจากนี้ความล้มเหลวที่ทำให้เด็กรู้เรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์น้อย ต้องยอมรับว่าส่วนหนึ่งเป็นเพราะหลักสูตรที่ใช้อยู่ในขณะนี้ ที่เรียกกันโก้ๆ ว่า "หลักสูตรสถานศึกษา" โดยเฉพาะวิชาสังคมศึกษา ที่บูรณาการด้วยการนำเอาวิชาภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ หน้าที่พลเมืองและพระพุทธศาสนา รวมไว้เป็นวิชาเดียวกัน แล้วให้แต่ละโรงเรียนกำหนดจำนวนชั่วโมงเรียนเองว่าจะใช้เวลาเรียนต่อสัปดาห์กี่ชั่วโมง ซึ่งจะอยู่ในราว 3-5 ชั่วโมง ในแต่ละโรงเรียน จำนวนชั่วโมงก็อาจเป็นปัญหาถ้ามากเกินไป จำนวนครูอาจไม่พอ หากน้อยเกินไปก็สอนไม่ทัน เพราะเนื้อหาแต่ละระดับมีมาก แม้ว่าจะเปลี่ยนการเรียนจากเทอมเป็นปีการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นก็ตาม

    อีกทั้งหลักสูตรบูรณาการแบบนี้ ทำให้ครูผู้สอนซึ่งมีความเชี่ยวชาญต่างกัน เช่น บางคนเชี่ยวชาญวิชาภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ พระพุทธศาสนา หรืออื่นๆ อย่างใดอยางหนึ่ง ต้องมาสอนครบทุกสาระ ซึ่งต้องยอมรับว่าความเชี่ยวชาญของครูที่แตกต่างกัน มีผลต่อการรับรู้ของเด็ก

    ดังนั้น หากกระทรวงศึกษาธิการมีเป้าหมายจะส่งเสริมให้เด็กได้เรียนวิชาประวัติศาสตร์อย่างเข้มข้นขึ้น คงไม่ใช่แค่กำหนดว่าเด็กทุกคนต้องเรียนประวัติศาสตร์อีก 1 วิชา ในขณะที่สาระประวัติศาสตร์ก็ยังถูกรวบอยู่ในวิชาสังคมศึกษา เพราะถ้าไม่ดึงสาระประวัติศาสตร์ออกมา จะยิ่งทำให้เกิดความซ้ำซ้อนในสาระสำคัญและเนื้อหา และทำให้ต้องเพิ่มครูที่สอนโดยใช่เหตุ

    ตลอดจนไม่เป็นการแก้ปัญหาการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ เพราะครูที่ไม่เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ ก็ยังต้องสอนอยู่เช่นเดิม ในขณะที่ครูส่วนหนึ่งถูกดึงมาสอนประวัติศาสตร์โดยเฉพาะ หรือครูผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ยังต้องไปสอนวิชาอื่น ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาทั้งครูไม่เพียงพอ และการใช้คนไม่เหมาะกับงาน

    ดังนั้น สิ่งแรกที่กระทรวงศึกษาธิการควรจะทำ อาจจะไม่ใช่การหาสาเหตุว่าใครไม่ให้ความสำคัญกับวิชานี้ หรือเป็นเพราะใครที่ทำให้เด็กบางส่วนไม่รู้จักสมเด็จพระนเรศวร

    แต่สิ่งที่ต้องทำเป็นลำดับต้นๆ คือ ต้องส่งเสริมให้ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการทางประวัติศาสตร์มากขึ้น

    รวมทั้งปรับปรุงหลักสูตรเพื่อให้ครูได้สอนในสิ่งที่ตนเองเชี่ยวชาญที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้

    เพราะหลักสูตรตอนนี้โดยเฉพาะวิชาสังคมศึกษานั้น ทำให้ครูเหมือนเป็ด คือ ทั้งว่ายน้ำได้และบินได้ แต่ทำได้ไม่ดีสักอย่าง

    นอกจากนี้หากเห็นว่าวิชาประวัติศาสตร์มีความสำคัญ ก็ควรส่งเสริมให้ครูผู้สอนได้เข้าไปรับรู้ความเคลื่อนไหวในแวดวงประวัติศาสตร์ ว่าเกิดความตื่นตัวในการอธิบายเรื่องราวต่างๆ และสามารถสอนให้เด็กรู้จักการนำวิธีการทางประวัติศาสตร์ไปใช้อธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประวัติจำวันและอยู่กับปัจจุบันได้อย่างมีความสุข เพื่ออนาคตที่มั่นคงได้ น่าจะเป็นเป้าหมายของการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ มากกว่าการอบรมสั่งสอนให้เด็กเชื่อตามการหล่อหลอมกล่อมเกลาของรัฐเท่านั้น เพราะจะทำให้วิชาประวัติศาสตร์ กลายเป็นวิชาที่รับใช้การเมืองมากกว่ารับใช้สังคม

    เมื่อเป็นเช่นนี้จะทำให้เกิดคำถามว่า "ถึงเวลารื้อฟื้นวิชาประวัติศาสตร์แล้ว?"
    <!-- / message --><!-- sig -->(smile) (smile) (smile)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 กันยายน 2007
  2. Jubb

    Jubb เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,267
    ค่าพลัง:
    +2,134
    การเรียนประวัติศาสตร์ก็เหมือนกับการเรียนรู้ประสบการณ์ของบุคคลสมัยก่อน ซึ่งบางครั้งก็มีทั้งที่ถูกและที่ผิด ไม่จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้เพื่อให้เกิดความรักชาติอย่างเดียว แต่เรียนรู้เพื่อให้รู้ว่าปัจจุบันเราควรจะทำอะไรและทำเพื่ออะไร...ความรักชาติไม่จำเป็นต้องสอน...
     
  3. Jubb

    Jubb เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,267
    ค่าพลัง:
    +2,134
    แล้วถ้าเขียนประวัติศาสตร์แบบมีอคติก็ไม่ควรเรียกว่าประวัติศาสตร์
     
  4. yuui

    yuui เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +435
    ผมเรียนในด้านประวัติศาสตร์ทั้งตรีและโท เรื่องเหล่านี้ที่ว่าจะให้ความสำคัญกับวิชานี้ก็มีพูดมาตลอด มีความพยายามหลากหลายที่เดียวครับที่จะดันวิชานี้ให้สำคัญขึ้นมา แต่พิจารณาปัจจัยเงื่อนไขต่างๆดูแล้ว ก็หัวเราะกันสนุกที่เดียวครับ

    ประการแรก เรียนไปทำอะไร ? คำถามเดียว ดับดิ้นได้เลยครับ เมื่อเรียบจบสาขานี้โดยตรง อัตราการตกงานสูงมาก(ผมเองก็ใช่) เนื้อหาวิชาที่เรียนไม่ได้สอดรับกับความต้องการด้านตลาดแรงงานในปัจจุบัน ทั้งในภาครัฐภาคธุรกิจต่างๆ ไม่ได้ต้องการคนที่มีความสามารถในการประมวลความรู้สร้างความรู้จากเอกสาร,เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น คือไม่มีใครมองย้อนหลัง มีแต่มองไปข้างหน้า อีกมองไปได้ไกลยิ่งดี (หมอดูจึงมีงานมีเงินมากกว่านักประวัติศาสตร์เป็นไหนๆ)

    ประการที่สอง วิชานี้ขาดการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ๆ เพราะเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้ขาดการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ คือความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนต่อวิชานี้ ประวัติศาสตร์เป็นศาสตร์บริสุทธิ์มิใช่ศาสตร์ประยุกต์ การคาดหวังต่างๆนานากับวิชานี้อย่างที่เป็นอยู่ การหวังผลต่อวิชานี้ โดยเฉพาะการหวังผลในเรื่อง รักชาติ ศีลธรรม จริยธรรม ในอารมณ์แบบวันเก่าที่ดีกว่า ต่างๆเหล่านี้ยิ่งทำให้วิชานี้ ถอยหลังไปจนไม่มีทางที่จะเจริญได้อีก
     
  5. yuui

    yuui เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +435
    การรักชาติถือเป็นอคติอย่างหนึ่งครับ เมื่อตั้งต้นที่เรียนประวัติศาสตร์เพื่อสำนึกรักชาติ ก็เท่ากับตกม้าตายแต่แรกเริ่มแล้ว

    และเมื่อกล่าวถึงอุดมการณ์ชาตินิยม(รักชาติทั้งหลายทั้งปวง) ที่มีเกิดขึ้นมาในอดีตไม่ว่าจะชาติไหนๆ ไม่เคยที่จะนำพาความสงบสุขอย่างแท้จริงมาให้แม้แต่ครั้งเดียว และที่รักชาติกันจนไม่ลืมหูลืมตานั้น "ชาติ" คืออะไร นิยามกันอย่างไร ยังไม่เคยเห็นใครให้นิยามได้ชัดเจนทุกที ส่วนใหญ่มักจะว่า "ของมันรู้อยู่แล้วอย่ามาถาม" ผมก็เลยเห็นแต่ความกลวงเปล่า ดีไม่ดี ถามต้อนไปต้อนมา "ชาติ" ของแต่ละคนไม่ตรงกันเลย งงครับ
     
  6. yutkanlaya

    yutkanlaya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    865
    ค่าพลัง:
    +4,403
    บันทึก ของ
    เสด็จใน กรมหลวงชุมพร เขตต์อุดมศักดิ์
    เจอ บันทึกนี้ ให้เอาคำต่อไปนี้ ของกู ไปประกาศให้ คน รู้ว่า
    "กู กรมหลวงชุมพร เขตต์อุดมศักดิ์"
    ผู้เป็นโอรสของ พระปิยมหาราช ขอประกาศให้ พวกมึง รับรู้ไว้ว่า
    แผ่นดิน สยาม นี้ บรรพบุรุษ ได้เอา เลือด เอา เนื้อ เอา ชีวิต เข้าแลก ไว้
    ไอ้ อี มันผู้ใด คิดบังอาจ ทำลายแผ่นดิน ทำลายชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
    ฤา กระทำการ ทุจริต ก่อให้เกิด ความเดือดร้อน ต่อ ส่วนรวม
    จงหยุด การกระทำนั้น เสียโดยเร็ว
    ก่อนที่กูจะสั่งทหาร ผลาญสิ้นทั้งโคตร ให้หมด เสนียดจัญไร ของแผ่นดิน สยาม อันเป็นที่รัก ของกู
    ตราบใดที่คำว่า "อาภากร" ยังยืนหยัดอยู่ในโลก
    กูจะรักษา ผืนแผ่นดิน ของกู
    ลูกหลานทั้งหลาย แผ่นดินใด ให้เรากำเนิดมา
    แผ่นดินใด ให้ที่ซุกหัวนอน ให้ความร่มเย็น เป็นสุข มิให้ อนาทรร้อนใจ
    จงซื่อสัตย์ ต่อ แผ่นดิน นั้น
    (evil2) (evil2) (evil2)
    (smile) (smile) (smile) (smile) (smile)
    [b-wai]
    คงถึง กาล แห่ง วันพิพากษา แล้ว ซิน่ะ

    <!-- / message --><!-- edit note -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กันยายน 2007
  7. yutkanlaya

    yutkanlaya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    865
    ค่าพลัง:
    +4,403
    เห็นด้วยอย่างยิ่งยวด

    เพื่อ ชาติ ศาสน์ กษัตริย์
    เพื่อ รวมใจไทย ให้เป็นหนึ่ง
    ควรอย่างยิ่ง เพื่อ
    ลูกหลานไทย ใจคุณธรรม
    ลูกหลานไทย ชาวสยามอารยะ

    เห็นคุณค่า

    เหล่าดวงวิญญาณพระบูรพกษัตริยาธิราชเจ้า เหล่าบรรพบุรุษไทย
    ที่ได้สละเลือด สละเนื้อ แม้ชีวิต หาเสียดายไม่ เพื่อรักษาไว้ซึ่ง
    แผ่นดินสยาม ขนบประเพณี ให้ลูกหลานไทย ได้อาศัย เกิด แก่ ตาย ทำมาหากิน ตราบชั่วฟ้าดินสลาย
    นี่คือ คุณค่า อันประเมินค่า เป็นเงินมิได้
    Add Value ชาติ

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    เพื่อความมั่นคง ของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
    เพื่อเรียกศักดิ์ศรี ของความเป็นคนไทย
    เพื่อเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว ที่สูงค่ายิ่ง
    (good) (good) (good) (good) (good) (good)
    <!-- / message -->
     
  8. NiNe

    NiNe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,780
    ค่าพลัง:
    +7,482
    เรื่องเดียวกัน เหตุการณ์เดียวกัน และ เกิดที่เดียวกัน
    ผู้ชนะสงครามกับผู้แพ้สงคราม จะแต่งไม่เหมือนกัน

    เราเห็นว่าไม่ควรไปรื้อฟื้น รังแต่จะทะเลาะกันเปล่าๆ
     
  9. yutkanlaya

    yutkanlaya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    865
    ค่าพลัง:
    +4,403
    ขอเชิญชวน ลูกหลานไทย ใจสยาม อารยชน คนรุ่นนี้และรุ่นหลัง
    ร่วมแสดงความ กตัญญู กตเวทิตา จิต ต่อ แผ่นดิน
    แผ่นดินไทย ผู้ให้ อาศัย เกิด ทำมาหากินกัน

    ร่วมถวายความจงรักภักดี ต่อ พระบรมราชจักรีวงศ์
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช มหาราช
    พระราชินีและพระบรมวงศานุวงศ์

    ร่วมจิต ร่วมใจ สร้างความมั่นคง แห่งสยามประเทศ
    ร่วมสมโภชน์ เสาชิงช้าใหม่ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

    วันนี้ เวลา 17.00 นาฬิกา
    ณ หน้าที่ว่าการ กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์
    [b-wai] [b-wai] [b-wai] (smile) (ping-love
    ร่วมด้วย ช่วยกัน.....สร้างชาติ ธำรงศาสน์ เทิดราชบัลลังก์
     
  10. yuui

    yuui เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +435
    ขอโทษจริงๆครับ ที่เมื่อกล่าวถึงสถาบันหลักของไทยแล้ว ผมไม่เคยมีอาการแห่งการอาศิรวาทสดุดี เฉกเช่นบุคคลอื่นๆ

    จริงๆแล้วเรื่องของการให้ความสำคัญกับประวัติศาสตร์ ในความเข้าใจของคนที่เรียนกับคนโดยทั่วไป มันต่างกันมากครับ อยู่กันคนละประตูเลยทีเดียวครับ จริงๆแล้วนักประวัติศาสตร์เนี้ย โง่นะครับ เพราะประวัติศาสตร์ไม่เคยทำให้ใครฉลาดครับ มีแต่ wise เท่านั้น ประวัติศาสตร์เปรียบเหมือนหนังสือที่หน้าแรกและหน้าสุดท้ายหายไป ... ไม่ได้คำนำก็มั่วตั้งแต่ต้นแล้ว ไม่มีสรุปตบท้ายอีก บรรลัยจริงๆเลย(แหะ แหะ)

    และในแวดวงของคนที่เรียนประวัติศาสตร์ด้วยแล้ว มีไม่น้อยครับที่เห็นว่า ถ้าจะส่งเสริมวิชานี้ ก็อย่ามายุ่งอะไรให้มันมากความ ยิ่งคนที่ไม่เข้าใจในระเบียบวิธีทางประวัติศาสตร์ด้วยแล้ว ยิ่งไม่อยากให้ยุ่งครับ ถ้าจะยุ่งก็ต้องเข้าใจอะไรที่เป็นพื้นฐานซะก่อน ซักกะติ๊ดก็ยังดี เพราะพินิจจากความเข้าใจความรู้สึกโดยทั่วไปของหลายๆท่านที่ต้องการผลักดันให้ความสำคัญกับวิชาแล้ว ผมว่าไม่ต้องมาเหนื่อยแรงอะไรให้มากความหรอกครับ แค่สนับสนุนทำภาพยนตร์ในแนว "สุริโยไท" "พระนเรศ" เท่านี้ก็เพียงพอแล้วครับ ตอบคำถามที่เหล่าผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองนี้ตั้งขึ้นได้ครบอยู่แล้ว
     
  11. NiNe

    NiNe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,780
    ค่าพลัง:
    +7,482
    เราว่าไม่ควรจะไปรื้อฟื้น และไม่ควรให้ความสำคัญกับประวัติศาสตร์มากนัก เอาเป็นว่าแค่พอรู้เรื่องราวต่างๆในอดีตก็พอ แล้วนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันให้พอเหมาะแก่กาลเวลา หากจะพิจารณาดูจริงๆแล้ว ประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่คือบันทึกของการทำสงครามแทบทั้งนั้น ซึ่งอาจจะมีทั้งได้ชัยชนะ และการปราชัย ไม่ว่าจะแพ้หรือชนะมันก็ย่อมมีแต่ความสูญเสียด้วยกันทั้งนั้นแหล่ะ

    แต่อย่างไรก็ตาม สงครามมันไม่เคยมีความปราณีใดๆอยู่แล้ว จริงหรือไม่?
     
  12. yutkanlaya

    yutkanlaya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    865
    ค่าพลัง:
    +4,403
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กันยายน 2007
  13. yuui

    yuui เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +435
    ที่คุณอ่อนกล่าวมาก็มีส่วนถูกครับ ที่ประวัติศาสตร์เป็นเรื่องของสงครามกันแทบทั้งสิ้น และถ้าลองคิดๆดูนะครับ "สงคราม" ก็ยังคงดำเนินอยู่เรื่อยมา แต่จะแตกต่างในลักษณะ องค์ประกอบ

    ผมสรุปของผมเองว่า "สงคราม" คือการยึดพื้นที่ สงครามไม่ใช่เรื่องของการฆ่าฟันต้มยำทำแกงอะไรหรอกครับ มันคือการยึดพื้นที่เท่านั่นเอง ส่วนเรื่องความรุนแรงมันเป็นแค่ทางผ่านสายหนึ่งเท่านั้น จะผ่านก็ได้ไม่ผ่านก็ได้(แต่ส่วนใหญ่จะเลือกนี้กันนะ) ถ้าพิจารณาในบางเงื่อนไข ก็อาจจะบอกได้ว่าโลกเราก้าวเดินไปได้ด้วยสงคราม ก็ไม่ผิดอะไรนัก

    ปัจจุบันนี้เรื่องของปืนผาหน้าไม้เป็นอะไรที่เชยไปแล้ว อำนาจทางกายภาพเช่นนั้นถึงจะยังเด็ดขาดอยู่แต่ศักยภาพในการยึดครองกลับต่ำมาก เดี๋ยวนี้เป็นเรื่องของสงครามความคิด การปลูกฝังความเชื่อต่างๆ การทำให้คนเชื่อ เชื่อจนถึงที่สุด จนยอมทุกอย่างเพื่อความเชื่อนั้นได้ แม้แต่การฆ่าตัวตาย ไม่เฉพาะในเรื่องของสามสถาบันหลักของไทยเรานะครับ เรื่องทุนนิยมเรื่องบริโภคนิยมก็ด้วยครับ ปลูกฝังกันมาไม่รู้กี่รุ่นต่อกี่รุ่นแล้ว ... ประวัติศาสตร์มันก็อันตรายนะครับ ถ้าลองคนได้เชื่อแล้ว มันเป็นอาวุธแห่งการยึดครองอย่างหนึ่งเลยครับ
     
  14. NiNe

    NiNe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,780
    ค่าพลัง:
    +7,482
    ไอน์สไตน์ นักวิทยาศาสตร์ผู้เอกอุ แต่รักสันติมาก เคยกล่าวไว้ว่า

    สงครามโลกครั้งที่สามไม่รู้ว่าจะเป็นอย่างไร?

    แต่สงครามโลกครั้งที่สี่นั้น มนุษย์ใช้ก้อนหินใช้ไม้ขว้างกัน !!!!

    ชนวนของเหตุการณ์นั้นก็คือ เขาตะลึงนะจังงังมากที่เจ้า ลิตเติลบอย (เด็กน้อยซุกชน) และเจ้าแฟ็ตแมน (เจ้าตัวอ้วนพุงใหญ่) นั้นมีพลังเกินคาดหวัง ทำให้มีคนเสียชีวิตนับได้เป็นแสนๆคน พิการอีกเป็นแสน ทุพลภาพทางจิตอีกเป็นล้านคน นี่คือความผิดพลาดใช่หรือไม่? นี่คือสงครามใช่หรือไม่? ประวัติศาสตร์ต้องจารึกชื่อเจ้าเด็กน้อย กับเจ้าพุงอ้วนใหญ่นี้ไว้ ในสงครามโลกครั้งที่สอง ส่วนสงครามโลกครั้งที่สามที่จะเกิดขึ้นในอีกสองพันห้าร้อยปีข้างหน้า นั่นคือการล้างเผ่าพันธุ์แห่งดาวมรณะนี้...

    นักทฤษฎีมักจะไม่ใช่นักทดลองเสมอไป
    นักทดลองมักจะไม่ใช่นักการเมืองเสมอไป

    โยคีผู้มองเห็น ใช่ว่าจะแก้ไขได้เสมอไป
    รู้แต่ทำอะไรไม่ได้ อึดอัดมากใช่มั๊ย???
     
  15. yutkanlaya

    yutkanlaya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    865
    ค่าพลัง:
    +4,403
    กุศโลบาย กรรม คือ
    การกระทำ แฝงไว้ด้วย อุบาย มุ่งหมาย กุศล

    กลยุทธ "ลับ ลวง พราง"
    ยุทธวิธี "ล่อ เสือ ออกจากถ้ำ"
    เสือ ก็คือ มาร
    จะนำมาร ออกมาได้อย่างไร
    ถ้าไม่ทำตัว ให้เหมือนมาร

    คน จะเป็นมาร ได้อย่างไร? ถ้าไม่มีกิเลส อารมณ์
    จะฆ่ามารได้อย่างไร ถ้าไม่ใช้ กุศโลบายธรรม
    (b-smile) (b-smile) (b-smile)
    ศีล สมาธิ ปัญญา จิต นั่นแหละ พิชิตมาร
    [b-hi] [b-hi] [b-hi] (one-eye)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 กันยายน 2007

แชร์หน้านี้

Loading...