ถึงเวลา รื้อฟื้นวิชาประวัติศาสตร์แล้ว?

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 8 กันยายน 2007.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949

    วันที่ 08 กันยายน พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10773​

    ถึงเวลา รื้อฟื้นวิชาประวัติศาสตร์แล้ว?


    โดย สายพิน แก้วงามประเสริฐ



    รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ มีแนวคิดที่จะส่งเสริมการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ให้มีความเข้มข้นขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากเห็นว่าเด็กนักเรียนทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาเรียนวิชาประวัติศาสตร์ค่อนข้างน้อย อีกทั้งเด็กทุกคนไม่ได้เรียนวิชาประวัติศาสตร์โดยตรง แต่เป็นเพียงสาระหนึ่งของวิชาสังคมศึกษาเท่านั้น ทำให้จำนวนชั่วโมงเรียนไม่น่าจะเพียงพอสำหรับการนำไปใช้ประโยชน์ได้

    รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการเห็นว่าเด็กไม่ค่อยมีความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์เท่าใดนัก แม้แต่เรื่องบุคคลสำคัญของชาติที่เด็กควรจะรู้จัก แต่เด็กบางส่วนก็ไม่รู้จัก ทำให้เห็นว่าเป็นเพราะเด็กมีชั่วโมงเรียนประวัติศาสตร์น้อยเกินไป หรือโรงเรียนไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการเรียนวิชานี้ ซึ่งจะส่งผลให้เด็กมีความรักชาติ และหวงแหนชาติน้อยตามไปด้วย

    ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า การทำให้เด็กเกิดความรักชาติและหวงแหนชาติบ้านเมือง เป็นภาระหน้าที่ของวิชาประวัติศาสตร์ จริงๆ ? ในเมื่อวิชาประวัติศาสตร์เป็นวิชาที่มุ่งศึกษาเรื่องราวในอดีต ที่สะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมด้านต่างๆ ของมนุษย์ทั้งดีและไม่ดี เพื่อนำบทเรียนในอดีตมาใช้กับปัจจุบัน และเพื่ออนาคตที่ดีงาม ซึ่งหมายความว่ามนุษย์น่าจะเอาบทเรียนในอดีตมาทบทวนปัจจุบันว่าอะไรควรทำอะไรไม่ควรทำ เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดในอนาคต ดังนั้น วิชาประวัติศาสตร์อาจจะกำหนดไม่ได้ว่าเรียนแล้วจะทำให้คนรักชาติมากขึ้นกว่าเดิมได้หรือไม่

    การเรียนประวัติศาสตร์ต้องใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ที่เน้นการรวบรวมข้อมูลหลักฐานต่างๆ อย่างรอบด้าน แล้วนำหลักฐานเหล่านั้นมาวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือ แล้วจึงตีความ หรือพยายามอธิบายว่าหลักฐานเหล่านั้นต้องการสื่อสารอะไรออกมา แล้วจึงอธิบายอย่างเป็นเหตุเป็นผล

    ซึ่งคำอธิบายเรื่องราวใดๆ ในประวัติศาสตร์ อาจจะมีชุดของคำอธิบายเรื่องเดียวกันได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับหลักฐานและการตีความของนักประวัติศาสตร์

    แม้ว่านักประวัติศาสตร์จะถูกอบรมสั่งสอนให้ต้องพยายามวางตัวเป็นกลาง ไม่ใช้อคติ ประสบการณ์ ความเชื่อส่วนตัวมามีอิทธิพลต่อการตีความ และอธิบายเรื่องราวในประวัติศาสตร์ก็ตาม แต่การตีความ หรืออธิบายเรื่องราวใดๆ ย่อมมีทัศนคติส่วนตัวของผู้ตีความปะปนมาบ้างไม่มากก็น้อย

    วิธีการทางประวัติศาสตร์จะทำให้เห็นว่าวิชาประวัติศาสตร์ไม่ได้มีหน้าที่หล่อหลอมกล่อมเกลาให้คนเกิดความรักชาติ หรือเชื่อตามสิ่งที่รัฐบอกว่าดีหรือไม่ดี แต่หากเด็กจะเรียนแล้วเกิดความรักชาติก็ย่อมเกิดจากการคิดวิเคราะห์จนเข้าใจว่า เหตุการณ์ของชาติในอดีตที่ผ่านมา มีเหตุการณ์หรือเกี่ยวเนื่องกับบุคคลที่เป็นตัวอย่างที่แสดงถึงความรักชาติได้จริงๆ จนเกิดความซาบซึ้งในบทบาทและเรื่องราวนั้นๆ และถือเป็นแบบอย่างในความรักชาติก็อาจเป็นได้

    หากวิชาประวัติศาสตร์ไม่ได้มีหน้าที่สอนให้เกิดความรักชาติโดยตรงแล้ว วิชาประวัติศาสตร์มีหน้าที่ทำอะไรให้เกิดกับสังคม?

    ประวัติศาสตร์น่าจะเป็นวิชาที่สอนให้เด็กมองอะไรอย่างรอบด้าน หลายมุมมอง โดยใช้หลักฐานและความเป็นเหตุเป็นผลประกอบ มากกว่ามองอะไรเพียงมุมมองเดียว ซึ่งในท่ามกลางสังคมไทยขณะนี้ ที่มีการแบ่งเป็นฝักฝ่าย เกิดการเผชิญหน้ากันไม่มากก็น้อยนั้น วิชาประวัติศาสตร์อาจจะทำหน้าที่ได้ดี ในการอบรมสั่งสอนให้เด็กและเยาวชนของชาติ หรือผู้คนในสังคมรู้จักการใช้เหตุผล คิดวิเคราะห์มองอะไรอย่างหลากหลาย พยายามวางตัวเป็นกลาง (แม้ว่าความเป็นกลางไม่รู้อยู่ตรงไหนก็ตาม) ไม่เชื่อข้อมูลฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอย่างง่ายๆ แล้วคิดใคร่ครวญโดยหลักเหตุผล

    ถ้าเป็นเช่นนี้ได้ วิชาประวัติศาสตร์ก็น่าจะเป็นประโยชน์ที่จะได้ทบทวนบทเรียนในอดีต เพื่อทำปัจจุบันให้ดี ซึ่งจะส่งผลต่ออนาคตที่มั่นคง

    ปัญหาของการเรียนประวัติศาสตร์ อาจไม่ได้เกิดจากการที่มีชั่วโมงเรียนประวัติศาสตร์น้อยเกินไปหรือไม่ หรือการไม่มีชื่อวิชานี้ในสาระพื้นฐานในระดับประถมและมัธยมเท่านั้น แต่ปัญหาของการเรียนประวัติศาสตร์ตั้งแต่อดีต น่าจะเป็นเพราะวิชาประวัติศาสตร์ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง ในการหล่อหลอมกล่อมเกลาความเชื่อบางอย่างของรัฐ

    ทำให้ในอดีตวิธีสอนประวัติศาสตร์จึงเน้นการท่องจำ จดจำเรื่องราวต่างๆ ที่รัฐเห็นความจำเป็นที่จะต้องใช้ประโยชน์ จึงบรรจุเรื่องราวเหล่านั้นไว้ในตำราเรียน และผู้คนก็ถูกสั่งสอนให้เชื่อกันต่อมา ทำให้มีการใช้เหตุผลต่อปรากฏการณ์ใดๆ ทางประวัติศาสตร์ค่อนข้างน้อย

    ดังจะปรากฏให้เห็นอยู่เสมอว่า หากมีนักประวัติศาสตร์คนใดออกมาอธิบายเรื่องราวใดๆ ขัดแย้งกับความเชื่อดั้งเดิมของสังคมแล้ว ย่อมถูกประท้วงต่อต้านอย่างรุนแรง โดยปราศจากการใช้เหตุผลหรือการหาวิธีการต่อสู้กันตามหลักวิชาการในวิถีทางประวัติศาสตร์

    นั่นย่อมแสดงว่าเวลาที่ผ่านมาการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์เกิดความล้มเหลว เพราะเราไม่อาจทำให้ผู้คนในสังคมเข้าถึงวิธีการทางประวัติศาสตร์ได้อย่างแท้จริง

    เมื่อปัญหาของวิชาประวัติศาสตร์อยู่ที่เราไม่อาจทำให้คนที่ผ่านการเรียนประวัติศาสตร์ในโรงเรียนมาแล้ว สามารถนำวิธีการทางประวัติศาสตร์มาใช้ในการดำรงชีวิต หรืออธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ในสังคมที่เกิดขึ้นได้อย่างรอบด้าน โดยใช้เหตุและผล ตลอดจนใจกว้างพอที่จะยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างแล้ว ย่อมแสดงว่าการเรียนประวัติศาสตร์ แม้ว่าจะเข้มข้นกว่าปัจจุบันมาก ก็ยังเป็นปัญหาที่จะต้องแก้ไข ดังนั้น ปัญหาจึงอาจจะไม่ใช่เรื่องการเรียนประวัติศาสตร์มากหรือน้อยเท่านั้น

    แต่ปัญหาคือทำอย่างไรจะให้วิชาประวัติศาสตร์เป็นวิชาที่น่าสนใจ และเด็กสามารถนำวิธีการทางประวัติศาสตร์ไปใช้ในการดำรงชีวิตได้มากกว่า

    เด็กจำนวนไม่น้อยหรือแม้แต่ผู้คนในสังคมเองเมื่อได้ยินชื่อวิชาประวัติศาสตร์แล้ว อาจจะเกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายโดยฉับพลัน และจินตนาการว่าเป็นวิชาที่ต้องจดจำท่องจำเรื่องราวมากมาย ครูผู้สอนหากไม่ได้เรียนทางด้านประวัติศาสตร์โดยตรง ก็อาจจะเกิดความเบื่อหน่ายเช่นกัน พลอยให้วิชานี้ยิ่งน่าเบื่อหน่ายเข้าไปใหญ่

    การรื้อฟื้นให้วิชาประวัติศาสตร์เป็นวิชาที่น่าสนใจ ควรจะเริ่มต้นที่ครูผู้สอนก่อน ต้องกระตุ้นให้ครูเกิดความรู้สึกว่าวิชานี้เป็นวิชาที่สนุกน่าสนใจ ได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ให้มองอะไรอย่างรอบด้าน มีใจคอกว้างขวางมากขึ้น อีกทั้งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง

    ความสนุก น่าสนใจของวิชาประวัติศาสตร์น่าจะเกิดจากความเข้าใจในลักษณะวิชา ซึ่งนอกจากกระทรวงศึกษาธิการจะเห็นความสำคัญของวิชานี้ด้วยการกำหนดให้เด็กมีชั่วโมงเรียนประวัติศาสตร์มากขึ้นกว่าเดิมแล้ว

    สิ่งที่กระทรวงศึกษาธิการต้องทำควบคู่กันไปคือ จัดให้ความรู้แก่ครูผู้สอนวิชาประวัติศาสตร์ ที่อาจจะไม่ได้จบประวัติศาสตร์โดยตรง หรือจบประวัติศาสตร์มาก็ตาม ให้มีความรู้ความเข้าใจในวิธีการทางประวัติศาสตร์ และจัดอบรมสัมมนาวิชาการด้านประวัติศาสตร์อย่างขนานใหญ่ โดยใช้นักประวัติศาสตร์ที่วิเคราะห์เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ได้ดี และมีใจคอกว้างขวางมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับครูผู้สอนประวัติศาสตร์ เพื่อให้เกิดมุมมองใหม่ๆ และกระตุ้นการคิดวิเคราะห์ ตลอดจนทำให้ครูผู้สอนรับรู้ถึงการอธิบายเรื่องราวในประวัติศาสตร์ใหม่ๆ ให้ทันกับความเคลื่อนไหวในวงวิชาการทางประวัติศาสตร์มากกว่าจะจมปลักอยู่กับความเชื่อในอดีตในบางเรื่อง

    การเรียนการสอนประวัติศาสตร์ให้สนุกสนาน เกิดขึ้นไม่ได้หากเรียนโดยให้ท่องจำตามตำราเรียน แต่ควรฝึกให้คิดอะไรให้แตกต่างไปจากเดิม โดยยังคงอยู่บนหลักฐานและเหตุผลที่สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจน การเรียนประวัติศาสตร์ให้สนุกสนาน เด็กกล้าคิดกล้าแสดงเหตุผล การยอมรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างไปจากตนได้ น่าจะเป็นความสำคัญของวิชานี้ มากกว่าเพียงแค่ทำให้เด็กรักชาติมากขึ้นกว่าเดิมเท่านั้น

    เพราะไม่แน่ใจว่าเรียนแล้วจะรู้สึกได้อย่างนั้นจริงๆ หรือไม่ หรือไม่แน่ใจว่าจะเอาอะไรมาวัดความรักชาติ ใช้ข้อสอบวัดความรักชาติ? หรือจะใช้คำพูดว่ารักชาติหรือไม่ ยิ่งไม่ได้ผล เพราะเห็นกันอยู่ว่าในสังคมไทยมีผู้พร่ำพูดคำว่ารักชาติจำนวนมาก แต่การกระทำกลับตรงกันข้ามก็เห็นดาษดื่นไป

    แต่ถ้าทำให้เด็กรู้และเข้าใจเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ของชาติอย่างแท้จริง เพื่อทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว อาจก่อให้เกิดความรักชาติได้อย่างยั่งยืน กว่าการปล่อยให้เชื่อไปตามๆ กัน แล้วเมื่อเวลาผ่านไปค่อยมารู้ทีหลังว่าสิ่งที่เคยเชื่อตามกระแสสังคมนั้น อาจเป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้องเสมอไป

    นอกจากนี้ความล้มเหลวที่ทำให้เด็กรู้เรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์น้อย ต้องยอมรับว่าส่วนหนึ่งเป็นเพราะหลักสูตรที่ใช้อยู่ในขณะนี้ ที่เรียกกันโก้ๆ ว่า "หลักสูตรสถานศึกษา" โดยเฉพาะวิชาสังคมศึกษา ที่บูรณาการด้วยการนำเอาวิชาภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ หน้าที่พลเมืองและพระพุทธศาสนา รวมไว้เป็นวิชาเดียวกัน แล้วให้แต่ละโรงเรียนกำหนดจำนวนชั่วโมงเรียนเองว่าจะใช้เวลาเรียนต่อสัปดาห์กี่ชั่วโมง ซึ่งจะอยู่ในราว 3-5 ชั่วโมง ในแต่ละโรงเรียน จำนวนชั่วโมงก็อาจเป็นปัญหาถ้ามากเกินไป จำนวนครูอาจไม่พอ หากน้อยเกินไปก็สอนไม่ทัน เพราะเนื้อหาแต่ละระดับมีมาก แม้ว่าจะเปลี่ยนการเรียนจากเทอมเป็นปีการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นก็ตาม

    อีกทั้งหลักสูตรบูรณาการแบบนี้ ทำให้ครูผู้สอนซึ่งมีความเชี่ยวชาญต่างกัน เช่น บางคนเชี่ยวชาญวิชาภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ พระพุทธศาสนา หรืออื่นๆ อย่างใดอยางหนึ่ง ต้องมาสอนครบทุกสาระ ซึ่งต้องยอมรับว่าความเชี่ยวชาญของครูที่แตกต่างกัน มีผลต่อการรับรู้ของเด็ก

    ดังนั้น หากกระทรวงศึกษาธิการมีเป้าหมายจะส่งเสริมให้เด็กได้เรียนวิชาประวัติศาสตร์อย่างเข้มข้นขึ้น คงไม่ใช่แค่กำหนดว่าเด็กทุกคนต้องเรียนประวัติศาสตร์อีก 1 วิชา ในขณะที่สาระประวัติศาสตร์ก็ยังถูกรวบอยู่ในวิชาสังคมศึกษา เพราะถ้าไม่ดึงสาระประวัติศาสตร์ออกมา จะยิ่งทำให้เกิดความซ้ำซ้อนในสาระสำคัญและเนื้อหา และทำให้ต้องเพิ่มครูที่สอนโดยใช่เหตุ

    ตลอดจนไม่เป็นการแก้ปัญหาการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ เพราะครูที่ไม่เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ ก็ยังต้องสอนอยู่เช่นเดิม ในขณะที่ครูส่วนหนึ่งถูกดึงมาสอนประวัติศาสตร์โดยเฉพาะ หรือครูผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ยังต้องไปสอนวิชาอื่น ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาทั้งครูไม่เพียงพอ และการใช้คนไม่เหมาะกับงาน

    ดังนั้น สิ่งแรกที่กระทรวงศึกษาธิการควรจะทำ อาจจะไม่ใช่การหาสาเหตุว่าใครไม่ให้ความสำคัญกับวิชานี้ หรือเป็นเพราะใครที่ทำให้เด็กบางส่วนไม่รู้จักสมเด็จพระนเรศวร

    แต่สิ่งที่ต้องทำเป็นลำดับต้นๆ คือ ต้องส่งเสริมให้ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการทางประวัติศาสตร์มากขึ้น

    รวมทั้งปรับปรุงหลักสูตรเพื่อให้ครูได้สอนในสิ่งที่ตนเองเชี่ยวชาญที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้

    เพราะหลักสูตรตอนนี้โดยเฉพาะวิชาสังคมศึกษานั้น ทำให้ครูเหมือนเป็ด คือ ทั้งว่ายน้ำได้และบินได้ แต่ทำได้ไม่ดีสักอย่าง

    นอกจากนี้หากเห็นว่าวิชาประวัติศาสตร์มีความสำคัญ ก็ควรส่งเสริมให้ครูผู้สอนได้เข้าไปรับรู้ความเคลื่อนไหวในแวดวงประวัติศาสตร์ ว่าเกิดความตื่นตัวในการอธิบายเรื่องราวต่างๆ และสามารถสอนให้เด็กรู้จักการนำวิธีการทางประวัติศาสตร์ไปใช้อธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประวัติจำวันและอยู่กับปัจจุบันได้อย่างมีความสุข เพื่ออนาคตที่มั่นคงได้ น่าจะเป็นเป้าหมายของการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ มากกว่าการอบรมสั่งสอนให้เด็กเชื่อตามการหล่อหลอมกล่อมเกลาของรัฐเท่านั้น เพราะจะทำให้วิชาประวัติศาสตร์ กลายเป็นวิชาที่รับใช้การเมืองมากกว่ารับใช้สังคม

    เมื่อเป็นเช่นนี้จะทำให้เกิดคำถามว่า "ถึงเวลารื้อฟื้นวิชาประวัติศาสตร์แล้ว?"
     
  2. ไอ้ใบ้

    ไอ้ใบ้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 เมษายน 2005
    โพสต์:
    2,252
    ค่าพลัง:
    +7,241
    ผู้เขียนประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ ไม่ได้เขียนจากธรรมชาติหรือความเป็นจริงเขียนตามวัตถุประสงค์เพื่อความต้องการอะไรบางอย่าง อันไหนไม่ดี ส่วนใหญ่จะไม่เขียนค่ะ อันไหนวิเศษเขียนบรรยาย

    ยกตัวอย่างเช่น ข้าราชการสมัยก่อนมีเมียมาก มีบริวารมาก เขาถือว่าเป็นคนมีเสน่ห์ มีบารมี เจ้าขุนมูลนายเอาลูกเมียชาวบ้านมาขัดดอกเบี้ย ยังแต่งตำราสรรเสริยเยินยอ เจ้านายเสด็จไปที่ไหนขีดเขียนที่นั้น เออดี เคยมาเยือนที่นี่แล้ว ถือว่าเป็นบุญ ถ้าจิกโก๋ไปเขียนบ้างละจ๊ะ คำตอบก็น่าจะรู้แล้วนะ เจ๊พูดตรงไปไหม เพราะฉะนั้น ตำราเนื้อหา ขึ้นอยู่กับคนเขียนค่ะ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความถูกต้องซะทีเดียว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 8 กันยายน 2007
  3. บุษบากาญจ์

    บุษบากาญจ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    9,476
    ค่าพลัง:
    +20,271
    เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ
    (good) (good) (good)
     
  4. yutkanlaya

    yutkanlaya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    865
    ค่าพลัง:
    +4,403
    เพื่อ ชาติ ศาสน์ กษัตริย์
    เพื่อ รวมใจไทย ให้เป็นหนึ่ง
    ควรอย่างยิ่ง เพื่อ
    ลูกหลานไทย ใจคุณธรรม
    ลูกหลานไทย ชาวสยามอารยะ
    เห็นคุณค่า
    เหล่าดวงวิญญาณพระบูรพกษัตริยาธิราชเจ้า เหล่าบรรพบุรุษไทย
    ที่ได้สละเลือด สละเนื้อ แม้ชีวิต หาเสียดายไม่ เพื่อรักษาไว้ซึ่ง
    แผ่นดินสยาม ขนบประเพณี ให้ลูกหลานไทย ได้อาศัย เกิด แก่ ตาย ทำมาหากิน ตราบชั่วฟ้าดินสลาย
    นี่คือ คุณค่า อันประเมินค่า เป็นเงินมิได้
    Add Value ชาติ
    ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    เพื่อความมั่นคง ของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
    เพื่อเรียกศักดิ์ศรี ของความเป็นคนไทย
    เพื่อเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว ที่สูงค่ายิ่ง
    (good) (good) (good) (good) (good) (good)
     
  5. NiNe

    NiNe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,780
    ค่าพลัง:
    +7,482
    เรียนเพื่อให้รู้เรื่องราวในประวัติศาสตร์ที่สำคัญๆ ก็พอ เพียงเพื่อนำมาประยุกต์ใช้เป็นบทเรียนแห่งชีวิตบ้าง แต่ไม่ควรให้ความสำคัญมากนักเพราะมันเป็นอดีตที่แก้ไขแล้วไม่ได้ทั้งสิ้น ส่วนเรื่องของอนาคตมันยังไม่เกิด แต่พอจะคาดเดาจากอดีตได้พอประมาณ แต่มันก็บ่แน่ดอกนาย เพราะใดๆมันไม่เที่ยงนะนาย ทุกสิ่งทุกอย่างมันก็บ่แน่ดอกนาย ดังนั้นอย่าไปสนใจมันมากเลยนะนายจ๋า อันนี่ฉานพูดอะไรออกไป สงสัยว่าสมองฉานจะเออร์เร่ออีกแล้วนะนาย เดี๋ยวฉานจะไปซ่อมเมมโมรีก่อนนะนาย ช่วงนี้มันเออร์เร่อบ่อยจังวุ๊ย ... ฮิๆๆ
     
  6. กองทัพเทพ

    กองทัพเทพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    468
    ค่าพลัง:
    +2,629
    ก็ต้องช่วยกัน
    จริงๆ ประวัติศาสตร์ มันทำให้อนาคต ดีขึ้น
    ก็เหมือนเรื่อง กรรม อดีต ทำดี ปัจจุบัน ก็ต้องดี

    ให้ ท่านมุ้ย ทำหนัง สุริโยทัย มา
    ทำ นเรศวร มา
    ก็เท่านั้น
    ให้ขนมาตั้งแต่ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เลย
    ยังไม่แน่ว่าจะมีใครรู้เรื่อง

    เผอิญโดยความชอบส่วนตัว และครูบาอาจารย์ดี เลยมีความรู้อยู่บ้าง
    ครูสอนประวัติศาสตร์ ก็เหมือนอนุสาวรีย์ เอาไว้กราบไว้ไหว้ เฉยๆ

    ผมยังท่องศิลาจารึกได้อยู่เลย

    "พ่อ กู ชื่อ ศรีอินทราทิตย์ แม่กูชื่อนางเสือง พี่กูชื่อบานเมือง
    ตู พี่น้อง ท้องเดียว ห้า คน ผู้ชาย สาม ผู้หญิง โสง
    พี่ เผือ ผู้อ้าย ตาย จาย เผือ เตียม แต่ยังเล็ก เมื่อกูขึ้นใหญ่ได้สิบเก้าเข้า
    ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด มาท่เมืองตาก พ่อกูไปรบขุนสามชนหัวซ้าย ขุนสามชนขับมาหัวขวา ขุนสามชนเกลื่อนเข้า ไพร่ฟ้าหน้าใส พ่อกู หนีญญ่ายพ่ายจะแจ้ กูบ่หนี กูขี่ช้างเบกพล กูขับเข้าก่อนพ่อกู กูต่อช้างด้วยขุนสามชน ตนกูพุ่งช้างขุนสามชนตัวชื่อมาสเมืองแพ้ ขุนสามชนพ่ายหนี พ่อกูจึงขึ้นชื่อกู
    ชื่อพระรามคำแหง เพื่อกูพุ่งช้างขุนสามชน..."


    นี่คือ เผ่าพันธุ์ไท นี่คือ กำพืด ของเรา​
     
  7. yutkanlaya

    yutkanlaya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    865
    ค่าพลัง:
    +4,403
    เศรษฐกิจ จะดีขึ้นจาก ประวัติศาสตร์

    เพราะ
    คนไทยมีศักดิ์ศรี มากขึ้น
    มีอุดมการณืเพื่อชาติ ส่วนรวม มากขึ้น
    การแก่งแย่ง แข่งขัน เอาเปรียบ เห็นแก่ตัว ลดลง

    เมื่อรวมใจ ไทย เป็นหนึ่ง แล้วคือ จุดแข็งสุดในโลก
    จิตวิญญาณ แห่งความเป็นไทย คือ จิตใจอ่อนโยน เอื้ออาทร
    แขกไป ฝรั่งมา ยินดี ต้อนรับ ขับสู่ ดูแล อย่างจริงใจ นี่ไงที่ใครๆก็อยากมา


    ดังนั้น
    ในทางธุรกิจ จิตใจเช่นนี้เรียกว่า จิตวิญญาณแห่งการบริการ Service Mind นั่นเอง "สยามเมืองยิ้ม"
    เหมาะกับ ธุรกิจบริการ ที่ คนทั่วโลกกำลังโหยหาคือ "ความสุข" พร้อมจ่ายอย่างไม่อั้น ได้แก่
    การท่องเที่ยว เชิงอนุรักษ์ อารยธรรม ธรรมชาติ
    สุขภาพ นวดไทย สปา แพทย์แผนไทย แพทย์องค์รวมฯลฯ
    อาหาร ไทยๆ สมุนไพร
    การแสดง บ่งอารยธรรม ความเป็นไทยดั้งเดิม
    ฯลฯ
    และเป็นสิ่งที่มี ในคนไทย ใจอารยะ ทุกๆคนอยู่แล้ว
    (good) (good) (good) (good) (good) (good) :) :) :)
    ไม่นาน เมืองไทย จะกลายเป็น แหล่งรวมอารยธรรมโลก ใครๆต้องมา อย่ากระพริบตา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 กันยายน 2007
  8. yutkanlaya

    yutkanlaya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    865
    ค่าพลัง:
    +4,403
    น่าจะย้าย กระทู้ ไปที่หน้า วิทยาศาสตร์ น่ะ
    กำลังนิยม กระทู้ ประวัติศาสตร์ ที่ขาดหายไป
     
  9. NiNe

    NiNe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,780
    ค่าพลัง:
    +7,482
    เคยไปเที่ยวที่เวียงจันทร์มา ไกด์เขาพาไปดูที่เคยประดิษฐานของพระแก้วมรกต

    เขาพูดว่า "อย่าถามเรื่องประวัติศาสตร์เลย เพราะมันไม่เหมือนกัน ทั้งๆที่เป็นเรื่องเดียวกัน" เราก็ถามว่าเพราะอะไรหรือ? เขาก็ตอบสั้นๆว่า คนที่ชนะสงครามมักจะเขียนอีกแบบ คนที่แพ้สงครามก็จะเขียนอีกแบบ ไม่อยากจะพูดเรื่องนี้ เพราะพูดไปก็จะทะเลาะกันเปล่าๆ ...

    ท่าจะจริงแฮะ !
     
  10. กองทัพเทพ

    กองทัพเทพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    468
    ค่าพลัง:
    +2,629
    ข้าคือฅนไทย


    ศิลปิน เจิน เจิน บุญสูงเนิน​

    เงียบขรึม ...ใช่ว่าฉันจะโง่งม
    อดกลั้น ...ใช่ว่าฉันจะเฉื่อยชา
    หนึ่งในคำสอนเหล่าบรรพชนสืบมา
    นำพาพวกเราก้าวไป

    แผ่นดินแม่ผู้มีแต่ให้เรา
    พระคุณใหญ่ยิ่ง ยิ่งกว่าสิ่งใด
    แทบไม่ต้องถามประเทศชาติให้อะไร
    เป็นไทย คนไทยต้องตอบแทน

    ข้าคือฅนไทย ไม่เคยลืมชาติพันธุ์
    จะอยู่ที่ใด จะตายที่ใด
    วิญญาณ ....ก็เป็นคนไทย



     

แชร์หน้านี้

Loading...