ถามเรื่องพระอานนท์

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย ggg107, 12 มกราคม 2013.

  1. ggg107

    ggg107 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มกราคม 2013
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +23
    คือผมอยากจะลงเจราะจงเฉพาะท่านพระอานนท์เลยว่า
    พระพุทธเจ้า ท่านเคยพูดกับพระอานนท์ในทำนองว่า อานนท์เธอสามารถติเตียนเราได้<<<ทำนองนี้มีไหมครับ
    ไม่ทราบว่ามีไหมครับ ถ้ามีพระสุตรไหนหรือพระไตรปิฎกเล่มไหนหน้าไหน หรือถ้าไม่มีว่าไว้ในพระอานนท์ เเล้วมีว่าไว้ในอัครสาวกองค์ไหนหรือไม่
     
  2. Stabilo

    Stabilo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    356
    ค่าพลัง:
    +760
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนเหล่าอื่นอาจกล่าวติเตียนเรา ติเตียนพระธรรม หรือติเตียนพระสงฆ์. ท่านทั้งหลายไม่พึงผูกอาฆาต ขุ่นเคือง ไม่พอใจในบุคคลเหล่านั้น. เพราะถ้าท่านทั้งหลายโกรธเคือง หรือไม่พอใจในบุคคลที่กล่าวติเตียนเรา ติเตียนพระธรรม หรือติเตียนพระสงฆ์นั้น, อันตรายเพราะความโกรธเคืองนั้น ก็จะพึงเป็นของท่านทั้งหลายเอง. ถ้าท่านทั้งหลายโกรธเคือง หรือไม่พอใจในบุคคลที่กล่าวติเตียนเรา ติเตียนพระธรรม หรือติเตียนพระสงฆ์ จะรู้ได้ละหรือว่า คำกล่าวของคนเหล่าอื่นนั้น เป็นคำกล่าวที่ดี (สุภาษิต) หรือไม่ดี (ทุพภาษิต) ?

    "ไม่ทราบ พระเจ้าข้า."


    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพึงชี้แจง (คลี่คลาย) เรื่องที่ไม่เป็นจริง ให้เห็นว่าไม่เป็นจริง ในข้อที่คนเหล่าอื่นกล่าวติเตียนเรา ติเตียนพระธรรม หรือติเตียนพระสงฆ์ ให้เขาเห็นว่าข้อนั้นไม่จริง ข้อนั้นไม่แท้ ข้อนั้นไม่มีในพวกเรา ข้อนั้นไม่ปรากฏในพวกเรา ดังนี้."

    พรหมชาลสูตร ๙/๓
     
  3. ggg107

    ggg107 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มกราคม 2013
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +23
    เเล้วมีเเบบที่พระองค์ตรัสกับพระอานนท์โดยตรงเลย พอจะมีไหมครับ
     
  4. Stabilo

    Stabilo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    356
    ค่าพลัง:
    +760
    พระอานนท์ทรงทูลขอไว้

    ธรรมทุกอย่างที่พระพุทธองค์ได้แสดง จะทรงตรัสให้พระอานนท์ได้สดับอีกครั้ง
    หากพระอานนท์ไม่ได้อยู่ในการแสดงธรรมครั้งนั้น

    เพราะฉนั้นไม่ต้องห่วง ทั้ง 84000 พระธรรมขันธ์ได้ทรงตรัสกับพระอานนท์
    ทั้งหมด

    นั่นถึงทำให้พวกสังคายนาในถ้ำต้องรอพระอานนท์ไง
    จริงๆก็มีพวกสังคยานานอกถ้ำซึ่งจำนวนเยอะกว่า 500 อยู่มาก
    นำโดย หนึ่งในปัญจวัคคีย์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มกราคม 2013
  5. LungKO

    LungKO เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    590
    ค่าพลัง:
    +925
    เท่าที่ค้นมา ก็มีอยู่อย่างนี้ และยังจะค้นต่อไปอยู่ครับ

    ปวารณาสูตรที่ ๗

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับที่พระวิหารบุพพาราม ปราสาทของนางวิสาขาผู้เป็นมารดามิคารเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี กับพระภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ ๕๐๐ รูป ล้วนเป็นอรหันต์ทั้งหมด ฯ
    ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเป็นผู้อันภิกษุสงฆ์แวดล้อม ประทับนั่งในที่แจ้ง เพื่อทรงปวารณาในวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ฯ
    ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงตรวจดูเห็นภิกษุสงฆ์เป็นผู้นิ่งอยู่แล้ว จึงรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราขอปวารณาเธอทั้งหลายเธอทั้งหลายจะไม่ติเตียนกรรมไรๆ ที่เป็นไปทางกายหรือทางวาจาของเราบ้างหรือ ฯ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรลุกขึ้นจากอาสนะ ทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่งแล้ว ประนมอัญชลีเฉพาะพระผู้มีพระภาคแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายติเตียนกรรมไรๆ อันเป็นไปทางพระกายหรือทางพระวาจาของพระผู้มีพระภาคไม่ได้เลย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะว่า พระผู้มีพระภาคทรงยังทางที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ทรงยังทางที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดมี ทรงบอกทางที่ยังไม่มีผู้บอก เป็นผู้ทรงรู้ทาง ทรงรู้แจ้งทาง ทรงฉลาดในทาง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สาวกทั้งหลายในบัดนี้เป็นผู้เดินตามทาง บัดนี้แลขอปวารณาพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคจะไม่ทรงติเตียนกรรมไรๆ อันเป็นไปทางกายหรือทางวาจาของข้าพระองค์บ้างหรือ ฯ
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สารีบุตร เราติเตียนกรรมไรๆ อันเป็นไปทางกายหรือทางวาจาของเธอไม่ได้เลย สารีบุตร เธอเป็นบัณฑิต สารีบุตร เธอเป็นผู้มีปัญญามาก เป็นผู้มีปัญญาแน่นหนา สารีบุตร เธอเป็นผู้มีปัญญาชวนให้ร่าเริง เป็นผู้มีปัญญาว่องไว เป็นผู้มีปัญญาหลักแหลม เป็นผู้มีปัญญาสยายกิเลสได้ สารีบุตร โอรสพระองค์ใหญ่ของพระเจ้าจักรพรรดิ ย่อมยังจักรอันพระราชบิดา ให้เป็นไปแล้ว ให้เป็นไปตามได้โดยชอบ ฉันใด สารีบุตร เธอก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมยังธรรมจักรอันยอดเยี่ยม อันเราให้เป็นไปแล้วให้เป็นไปตามได้โดยชอบแท้จริง ฯ
    ท่านพระสารีบุตรจึงกราบทูลอีกว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หากว่าพระผู้มีพระภาค ไม่ทรงติเตียนกรรมไรๆ อันเป็นไปทางกาย หรือทางวาจาของข้าพระองค์ไซร้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระผู้มีพระภาคจะไม่ทรงติเตียนกรรมไรๆ อันเป็นไปทางกายหรือทางวาจาของภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านี้บ้างหรือ ฯ
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สารีบุตร เราไม่ติเตียนกรรมไรๆ อันเป็นไปทางกายหรือทางวาจา ของภิกษุ ๕๐๐ รูปแม้เหล่านี้ สารีบุตร เพราะบรรดาภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านี้ ภิกษุ ๖๐ รูป เป็นผู้ได้วิชชา ๓ อีก ๖๐ รูป เป็นผู้ได้อภิญญา ๖ อีก ๖๐ รูป เป็นผู้ได้อุภโตภาควิมุติ ส่วนที่ยังเหลือเป็นผู้ได้ปัญญาวิมุติ ฯ
    ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะลุกขึ้นจากอาสนะ ทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่งแล้ว ประนมอัญชลีเฉพาะพระผู้มีพระภาคแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เนื้อความนี้ย่อมแจ่มแจ้งกะข้าพระองค์ ข้าแต่พระสุคต เนื้อความนี้ย่อมแจ่มแจ้งกะข้าพระองค์ ฯ
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า เนื้อความนั้นจงแจ่มแจ้งกะเธอเถิด วังคีสะ ฯ
    ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะ ได้สรรเสริญพระผู้มีพระภาคในที่เฉพาะพระพักตร์ด้วยคาถาทั้งหลายอันสมควรว่า
    วันนี้เป็นวันอุโบสถที่ ๑๕ ภิกษุ ๕๐๐ รูป มาประชุมกันแล้ว
    เพื่อความบริสุทธิ์ ล้วนเป็นผู้ตัดกิเลส เครื่องประกอบและ
    เครื่องผูกได้แล้ว เป็นผู้ไม่มีความคับแค้น เป็นผู้มีภพใหม่สิ้น
    แล้ว เป็นผู้แสวงหาคุณอันประเสริฐ พระเจ้าจักรพรรดิห้อมล้อม
    ด้วยอำมาตย์เสด็จเลียบพระมหาอาณาจักรนี้ ซึ่งมีสมุทร
    สาครเป็นขอบเขตโดยรอบ ฉันใด สาวกทั้งหลายผู้บรรลุ
    ไตรวิชชา ผู้ละมฤตยุราชเสียได้ ย่อมนั่งห้อมล้อมพระผู้มี
    พระภาค ผู้ชำนะสงครามแล้ว เป็นผู้นำพวกอันหาผู้นำอื่น
    ยิ่งกว่าไม่มี ฉันนั้น พระสาวกทั้งหมดเป็นบุตรของพระผู้มี
    พระภาค ผู้ชั่วช้าไม่มีในสมาคมนี้ ข้าพระองค์ขอถวายบังคม
    พระผู้มีพระภาค ผู้หักลูกศร คือตัณหาเสียได้ ผู้เป็นเผ่าพันธุ์
    พระอาทิตย์ ดังนี้ ฯ


    อ้างจาก พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
    สังยุตตนิกาย สคาถวรรค


    จากคุณ : Ritti Janson - [ 5 ต.ค. 49 16:34:52 ]

    ๗. วีมังสกสูตร
    ว่าด้วยการตรวจดูธรรม

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐีเขตพระนครสาวัตถี.
    ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว.
    พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณา เมื่อไม่รู้วาระจิตของผู้อื่น พึงทำการตรวจดูในตถาคตเพื่อทราบว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือไม่.
    ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์มีพระผู้มีพระภาคเป็นต้นเค้า มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พำนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอเนื้อความแห่งพระภาษิตนั้น จงแจ่มแจ้งแก่พระผู้มีพระภาคเถิด ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้.
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น พวกเธอจงฟังจงจำไว้ในใจให้ดีเราจักกล่าว.
    ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคแล้ว.
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตอันภิกษุผู้พิจารณา เมื่อไม่รู้วาระจิตของผู้อื่น พึงตรวจดูในธรรม ๒ ประการ คือ ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและโสตว่าธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและโสตอันเศร้าหมองของตถาคต มีอยู่หรือไม่. เมื่อตรวจดูตถาคตนั้นก็จะรู้ว่า ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและโสตอันเศร้าหมองของตถาคต มิได้มี เมื่อใด ตรวจดู ตถาคตนั้นรู้อย่างนี้ว่า ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและโสตอันเศร้าหมองของตถาคต มิได้มี แต่นั้นก็ตรวจดูตถาคตนั้นต่อไปว่า ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและโสตอันเจือกัน [ดำบ้าง ขาวบ้างคือเป็นอกุศลบ้าง กุศลบ้าง] ของตถาคต มีอยู่หรือไม่. เมื่อตรวจดูตถาคตนั้นก็จะรู้ว่า ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและโสตอันเจือกันของตถาคต มิได้มี เมื่อใด ตรวจดูตถาคตนั้นรู้อย่างนี้ว่าธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและโสตอันเจือกันของตถาคต มิได้มี แต่นั้นก็ตรวจดูตถาคตนั้นต่อไปว่า ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและโสตอันผ่องแผ้วของตถาคต มีอยู่หรือไม่ เมื่อตรวจดู ตถาคตนั้นก็จะรู้ว่า ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและโสตอันผ่องแผ้วของตถาคต มีอยู่ เมื่อใด ตรวจดูตถาคตนั้นรู้อย่างนี้ว่า ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและโสตอัผ่องแผ้วของตถาคตมีอยู่ แต่นั้น ก็ตรวจดู ตถาคตนั้นต่อไปว่า พระศาสดาผู้มีอายุนี้ถึงพร้อมกุศลธรรมนี้ สิ้นกาลนาน หรือว่าพระศาสดาผู้มีอายุนี้ถึงพร้อมสิ้นกาลนิดหน่อย. เมื่อตรวจดูตถาคตนั้นก็จะรู้ว่า พระศาสดาผู้มีอายุนี้ถึงพร้อมกุศลธรรมนี้สิ้นกาลนาน มิใช่ว่า พระศาสดาผู้มีอายุนี้ถึงพร้อมสิ้นกาลนิดหน่อย. เมื่อใด ตรวจดูตถาคตนั้นรู้อย่างนี้ว่า พระศาสดาผู้มีอายุนี้ถึงพร้อมกุศลธรรมนี้สิ้นกาลนาน มิใช่ว่า พระศาสดาผู้มีอายุนี้ถึงพร้อมสิ้นกาลนิดหน่อย แต่นั้นก็ตรวจดูตถาคตต่อไปว่า ภิกษุผู้มีอายุนี้ถึงความปรากฏถึงความมียศแล้ว โทษบางชนิดในโลกนี้ของภิกษุนั้นมีอยู่บ้างหรือไม่. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังไม่มีโทษบางชนิดในโลกนี้ ชั่วเวลาที่ตนไม่ถึงความปรากฏ ถึงความมียศ แต่เมื่อใด ภิกษุถึงความปรากฏ ถึงความมียศแล้ว เมื่อนั้น จึงมีโทษบางชนิดในโลกนี้. ภิกษุผู้พิจารณาเมื่อตรวจดูตถาคตนั้นก็รู้ว่า ภิกษุผู้มีอายุนี้ถึงความปรากฏ ถึงความมียศแล้ว มิได้มีโทษบางชนิดในโลกนี้ เมื่อใด ตรวจดูตถาคตนั้นก็รู้อย่างนี้ว่า ภิกษุผู้มีอายุนี้ถึงความปรากฏ ถึงความมียศแล้ว มิได้มีโทษบางชนิดในโลกนี้ แต่นั้น ก็ตรวจดูตถาคตต่อไปว่า ผู้มีอายุนี้ ไม่ประกอบด้วยภัย ท่านผู้มีอายุนี้ หาประกอบด้วยภัยไม่ เพราะมีราคะไปปราศแล้ว ไม่เสพกามทั้งหลาย เพราะสิ้นราคะ เมื่อตรวจดูตถาคตนั้น ย่อมรู้อย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุนี้ ประกอบด้วยความไม่มีภัย หาเป็นผู้ประกอบด้วยภัยไม่ เพราะมีราคะไปปราศแล้ว ไม่เสพกามทั้งหลาย เพราะสิ้นราคะ ดูกรภิกษุทั้งหลายหากชนเหล่าอื่นพึงถามภิกษุนั้นว่า ก็อาการกิริยาที่ส่อแสดงของท่านผู้มีอายุเป็นอย่างไร ที่เป็นเหตุให้ท่านกล่าวว่า ท่านผู้มีอายุนี้ ไม่ประกอบด้วยภัย ท่านผู้มีอายุนี้ หาประกอบด้วยภัยไม่ เพราะมีราคะไปปราศแล้ว ไม่เสพกามทั้งหลาย เพราะสิ้นราคะ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ก็จริงอย่างนั้น ท่านผู้มีอายุนี้ บางทีก็อยู่ในหมู่ บางทีก็อยู่ผู้เดียวในหมู่นั้น พวกที่ดำเนินดีก็มี พวกที่สั่งสอนคณะก็มี พวกที่ดำเนินชั่วก็มี บางพวกที่ติดอยู่ในอามิสทั้งหลายในโลกนี้ก็มี บางพวกที่ไม่ติดเพราะอามิสในโลกนี้ก็มี ท่านผู้มีอายุนี้ หาดูหมิ่นบุคคลนั้นด้วยเหตุนั้นไม่. เราได้สดับรับข้อนี้มาในที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า เราเป็นผู้ไม่ประกอบด้วยภัย เราหาเป็นผู้ประกอบด้วยภัยไม่ เพราะมีราคะไปปราศแล้ว ไม่เสพกามทั้งหลาย เพราะสิ้นราคะ.

    การสอบถาม
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในพวกภิกษุผู้พิจารณานั้น ภิกษุผู้พิจารณารูปหนึ่งควรสอบถามตถาคตต่อไปว่า ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและโสตอันเศร้าหมองของตถาคต มีอยู่หรือไม่. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเมื่อจะพยากรณ์ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและโสตอันเศร้าหมองของตถาคต มิได้มี.
    ภ. ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและโสตอันเจือกัน ของพระตถาคต มีอยู่หรือไม่.
    พ. ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและโสตอันเจือกันของตถาคต มิได้มี.
    ภ. ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและโสตที่ผ่องแผ้วของตถาคต มีอยู่หรือไม่.
    พ. ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและโสตที่ผ่องแผ้วของตถาคต มีอยู่ เราเป็นผู้มีธรรมที่ผ่องแผ้วนั้นเป็นทาง มีธรรมที่ผ่องแผ้วนั้นเป็นโคจร เพราะเหตุนั้นเราจึงไม่ใช่เป็นผู้มีตัณหา.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สาวกควรจะเข้าหาศาสดาผู้มีวาทะอย่างนี้ เพื่อฟังธรรม ศาสดาย่อมแสดงธรรมอันยิ่งๆ อันประณีตๆ อันเปรียบด้วยส่วนดำ ส่วนขาว แก่สาวกนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลายศาสดาย่อมแสดงธรรมอันยิ่งๆ อันประณีตๆ อันเปรียบด้วยส่วนดำส่วนขาวแก่ภิกษุ ด้วยประการใดๆ ภิกษุนั้น รู้ยิ่งธรรมบางอย่างในธรรมนั้นด้วยประการนั้นๆ ย่อมถึงความตกลงใจในธรรมทั้งหลาย ย่อมเลื่อมใสในศาสดาว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากชนพวกอื่นพึงถามภิกษุนั้นอีกอย่างนี้ว่า ก็อาการกิริยาที่ส่อแสดงของท่านผู้มีอายุเป็นอย่างไร ที่เป็นเหตุให้ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว. ภิกษุนั้นเมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่าดูกรท่านผู้มีอายุ เราเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเพื่อจะฟังธรรม พระผู้มีพระภาค ย่อมทรงแสดงธรรมอันยิ่งๆ อันประณีตๆ อันเปรียบด้วยส่วนดำส่วนขาวแก่เรานั้น ดูกรท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาค ย่อมทรงแสดงธรรมอันยิ่งๆ อันประณีตๆ อันเปรียบด้วยส่วนดำส่วนขาวแก่เราด้วยประการใดๆ เรารู้ยิ่งธรรมบางอย่างในธรรมนั้นด้วยประการนั้นๆ ถึงแล้วซึ่งความตกลงใจในธรรมทั้งหลาย เลื่อมใสแล้วในพระศาสดาว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว.

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศรัทธาของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ตั้งมั่นแล้วในพระตถาคตมีมูล มีที่อาศัย ด้วยอาการเหล่านี้ ด้วยบทเหล่านี้ ด้วยพยัญชนะเหล่านี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศรัทธานี้ เรากล่าวว่า มีเหตุ มีทัสสนะ [โสดาปัตติมรรค] เป็นมูลมั่นคง อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหมหรือใครๆ ในโลกไม่พึงให้กวัดแกว่งได้.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย การตรวจดูธรรมในตถาคต ย่อมมีอย่างนี้แล ก็แหละตถาคตอันภิกษุผู้พิจารณา ตรวจดูดีแล้วโดยธรรมเป็นอย่างนี้ ก็แหละตถาคตอันภิกษุผู้พิจารณาตรวจดูดีแล้วโดยธรรมเป็นอย่างนี้.

    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล.


    อ้างจาก พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 14 มกราคม 2013
  6. ddman

    ddman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    2,046
    ค่าพลัง:
    +11,941
    สาธุ อนุโมทนาท่านลุงโกศลครับ ขอลบความเห็น ที่ผิดพลาดออกไปครับ
     
  7. view2004

    view2004 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    233
    ค่าพลัง:
    +1,107
    ท่านเจ้าของกระทู้รู้จัก พระพุทธเจ้า ดีหรือยัง
     
  8. ggg107

    ggg107 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มกราคม 2013
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +23
    ก็ยังไม่ดีพอหรอกครับ ก็ค่อยๆเรียนรู้ไปครับ
     
  9. view2004

    view2004 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    233
    ค่าพลัง:
    +1,107
    ครับผม พระพุทธเจ้าเป็นพุทธศาสดา เป็นครูของเทวดา มนุษย์ และสรรพสิ่งทั้งหลาย ซึ่งพระพุทธเจ้าพิจารณาด้วยความถูกต้องแล้ว ยังหาผู้ใดเสมอเหมือนพระพุทธเจ้า หรือจะให้พระพุทธเจ้ายกมือไหว้ใคร ไม่สามารถทำได้เลย เพราะ พระองค์เป็นพระสัพพัญญู เป็นผู้รู้ทุกอย่าง

    ดังนั้นสิ่งที่ทำให้เกิดความผิด เห็นผิด หรือกิเลสต่างๆ พระพุทธเจ้าได้ทรงค้นพบ หรือเรียกว่า การตรัสรู้นั่นเอง พระพุทธเจ้าจึงดับเสียซึ่งสิ่งเหล่านี้ไปจนหมดสิ้นแล้ว เลยไม่มีสิ่งใดจะเกินไปยิ่งกว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ที่ประเทศเยอรมัน มีองค์กรที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อหาความผิดของพระพุทธเจ้า ได้ค้นหาความผิดของพระองค์แล้ว แต่ก็ไม่พบเลย

    ดังนั้นเราไม่ควรสงสัย พระพุทธเจ้า เพราะพระองค์เป็นผู้ก้าวข้ามความสุข ทุกข์ไปแล้ว ทรงมีปัญญา ที่พระองค์บำเพ็ญมาอย่างช้านาน
     

แชร์หน้านี้

Loading...