ตำนานพระธาตุดอยสุเทพ

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 5 เมษายน 2007.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    [SIZE=+2]ตำนานพระธาตุดอยสุเทพ[/SIZE]

    <table class="a4" align="center" border="0" cellpadding="2" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top" width="6%"> <table class="a4" align="center" border="0" cellpadding="2" cellspacing="0" width="100"> <tbody><tr> <td width="670">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center" bgcolor="#ffffff" width="670">พระธาตุดอยสุเทพ</td> </tr> </tbody></table> รูปประกอบจาก
    www.doisuthep.com
    www.thai-blogs.com
    ขอขอบพระคุณอย่างสูงมา ณ ที่นี้</td> <td valign="top" width="94%"> ตำนานพระธาตุดอยสุเทพ
    •••••••••••••••••••••••••

    เมื่อพระพุทธศักราช ๑๘๗๔ ปีล้วงเม็ด (มะแม ตรีศก) จุลศักราช ๖๙๓ ในแผ่นดินพระเจ้ากือนามมหาราชเจ้านครเชียงใหม่ ได้มีพระพุทธ
    ศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ เข้ามาตั้งในรามัญประเทศ (มอญ) มีพระมหา
    เถระชาวมอญรูปหนึ่ง ได้ไปอุปสมบทในสิงหลบประเทศ (ประเทศ
    ลังกา) แล้วนำพระพุทธศาสนาแบบลังกา มาประดิษฐานที่เมืองมติมา
    (เมาะตะมะเมืองมะละแหม่งเก่า ประเทศพม่า) พระพุทธศาสนาได้
    เจริญรุ่งเรืองในเมืองนั้น ท้าวพระยาเสนามาตย์และประชาราษฎร
    มีความเลื่อมใสในศีลาธิคุณ ของพระมหาเถรเจ้าองค์นี้อย่างยิ่ง จึง
    พร้อมกันอภิเษกเป็นมหาสวามีมีนามว่า "พระอุทุมพรบุบผามหาสวามี"
    ข่าวศีลาธิคุณของท่านพระมหาเถรองค์นี้ ได้แพร่หลายเลื่องลือ ไปทั่ว
    ทิศานุทิศ ในสมัยนั้น มีภิกษุชาวเมืองสุโขทัย ๒ รูป ชื่อพระอโนมทัสสี และ
    พระสุมนะ
    ได้ไปเรียนพระไตรปิฎกที่กรุงศรีอยุธยา ในสำนักอาจารย์ดีๆ หลาย
    แห่ง แล้วกลับมาอยู่ในสำนักพระมหาเถรสังฎราชบรรพตในเมืองสุโขทัย ต่อมา
    พระภิกษุ ๒ รูปนั้นได้ไปศึกษาเล่าเรียนสำนักพระอุทมพรบุบผามหาสวามี เมือง
    มติมาประเทศมอญ แล้วอุปสมบทแปลง (สวดญัตติใหม่) ในสำนักพระมหา
    สวามีนั้น อยู่ศึกษาและปฏิบัติธรรมวินัย ในสำนักนั้น ๕ พรรษา แล้วจึงนมัสการ
    ลาพระมหาสวามี อาจารย์กลับคืนมายังเมืองสุโขทัย ผู้เป็นอุปัชฌายะ ท่านให้
    นิสัยมุตตกะแก่พระภิกษุ ๒ รูปนั้นแล้ว ภิกษุทั้ง ๒ รูป ก็กลับมายังเมืองสุโขทัย
    พอออกพรรษาได้ถึง ๑๐ ท่านทั้ง ๒ จึงพาอุปสัมปทาเปกข์(ผู้ใคร่จะอุปสมบท)
    ๘ รูป ไปอุปสมบทในสำนักท่านพระอุทุมพรบุบผามหาสวามีในเมืองมติมานั้น
    </td> </tr> </tbody></table> ท่านพระมหาสวามีได้กล่าวกะภิกษุเหล่านั้นว่า พระพุทธศาสนาจะรุ่งเรืองในรามัญประเทศนี้ไม่นาน ต่อไปจะรุ่งเรืองในเมืองไทย ท่านทั้งสองจงนำพระพุทธศาสนาไปเผยแผ่ในเมืองไทยเถิด แล้วท่านพระมหาสวามี ก็ส่งพระเถระทั้งสองกับพระบวชใหม่มายังเมืองไทย บรรดาพระเถระทั้งสองรูปนั้น พระอโนมทัสสีมาอยู่เมืองศรีสัชชนาลัย เดี๋ยวนี้เรียกว่าสวรรคโลก พระสุมนเถรมาอยู่เมืองสุโขทัย พระเถรเจ้าทั้งสองรูป ได้พร้อมกันกระทำวินัยกรรม เป็นต้นว่า อุปสมบทกรรม และสีมาสมมติในเมืองทั้งสองเป็นเนืองนิจ ครั้งนั้น กลางคืนวันหนึ่งพระสุมนเถรจำวัด ใกล้รุ่งเกิดนิมิตฝันอันประหลาดว่า เทวดามาบอกว่า พระบรมธาตุของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระเจ้าธรรมาโศกมหาราชให้เชิญมาบรรจุไว้ ณ พระเจดีย์เมืองปางจานั้น บัดนี้พระเจดีย์นั้นหักพังเสียแล้ว มีแต่กอดอกเข็มกอหนึ่งมีสัณฐานดังรูปม้านั่ง เป็นที่สติของพระบรมธาตุองค์นี้ จัดไปประดิษฐานยังเมืองเชียงใหม่ เป็นที่สักการะบูชาแห่งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายชั่วกาลนาน ขอให้ท่านไปขุดเอาพระบรมธาตุองค์นั้น ไปประดิษฐานในเมืองเชียงใหม่เถิด ครั้งรุ่งขึ้นพระสุมนเถรก็นำความถวายพระพรแก่พระเจ้าธรรมราชา เจ้าเมืองสุโขทัย ไปยังเมืองศรีสัชชนาลัย แล้วถวายพระพรเรื่องความฝันนั้นแก่พระเจ้าฤาไทยให้ทรงทราบ เพื่อขออนุญาตขุดเอาพระบรมธาตุนั้น
    <table class="a4" align="center" border="0" cellpadding="2" cellspacing="0" width="100"> <tbody><tr> <td width="670">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center" bgcolor="#ffffff" width="670">พระธาตุดอยสุเทพ</td> </tr> </tbody></table> พระราชาทรงได้สดับข่าวนั้น ก็ทรงพระปรีดาปราโมทย์ยิ่งนัก จึงพระราชทานหัตถกรรม ให้คนช่วยขุดพระบรมธาตุ พระสุมนเถรเจ้าก็พาคนเหล่านั้นไปยังเมืองปางจา ให้สร้างร้านสูงพอสมควร กระทำสักการะบูชาด้วยบุบผามาลาชาติต่างๆ ครั้นเวลากลางคืนพระเถรเจ้าก็ขึ้นสู่ร้านนั้น กระทำสัตยาธิษฐานอาราธนาพระบรมธาตุ ให้แสดงปาฏิหาริย์ให้ปรากฏ ก็ได้เห็นรัศมีพระบรมธาตุกระทำปาฏิหาริย์รุ่งโรจน์โชตนาการขึ้น ณ กอดอกเข็มนั้น เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก พระเถรเจ้าจึงได้เอาธงปักไว้เป็นสำคัญพระบรมธาตุได้แสดงปาฏิหาริย์ตลอดคืน ในวันรุ่งขึ้น พระเถรเจ้าให้ผู้ที่จะขุด สมาทานศีล ๕ ศีล ๘ ทุกๆคน แล้วจึงได้ขุดลงในที่นั้น ก็ได้พบอิฐและศิลา ครั้งขุดต่อๆ ลงไปอีก ก็ได้ผะอบที่บรรจุพระบรมธาตุ ชั้นนอกเป็นผะอบทองเหลือง ชั้นที่ ๒ เป็นผะอบเงิน ชั้นที่ ๓ เป็นผะอบทองคำชั้นที่ ๔ เป็นที่บรรจุพระบรมธาตุ เป็นผะอบแก้วประพาฬบระบรมธาตุนี้มีขนาดเท่าผลทับทิม (มะก๊อ) จึงเกิดสงสัยกันขึ้นว่า จะใช่พระบรมธาตุหรือ ? (เพราะคงเห็นว่าใหญ่เกินไป) พระสุมนเถรจึงว่าไม่ใช่พระบรมธาตุเป็นผะอบแก้ว แล้วก็กระทำการะบูชา และตั้งสัตยาอธิษฐานจึงได้เห็นที่เปิด พระเถรเจ้าเปิดผะอบแก้ว ก็เห็นพระบรมธาตุโตประมาณเท่าเม็ดถั่วเขียว (ถั่วถิม) มีวรรณะเรืองรองดังทองอุไร คนทั้งหลายจึงพากันโสรจสรงชำระพระบรมธาตุด้วยสุคนโธทก แล้วนำมายังเมืองศรีสัชชนาลัย
    พระเจ้าฤาไทยได้ทรงทราบข่าวสารนั้น จึงโปรดให้กระทำสุวรรณปราสาทหนังหนึ่ง แล้วให้คนไปอาราธนาพระบรมธาตุมา ขณะที่ราชบุรุษไปถึงนั้น พระสุมนเถรเจ้าก็กำลังทำสักการะบูชาพระบรมธาตุ จึงได้เห็นพระบรมธาตุแสดงปาฏิหาริย์ยิ่งนักโดยทั่วกัน พระเถรเจ้าก็นำพระบรมธาตุมายังเมืองศรีสัชชนาลัย พระราชาจึงเชิญขึ้นประดิษฐาน ณ สุวรรณปราสาท แล้วทรงแสดงสักการะบูชาเคารพยำเกรงยิ่งนัก เพราะได้ทอดพระเนตรเห็นพระบรมธาตุแสดงปาฏิหาริย์อย่างน่าอัศจรรย์ จึงทรงส่งข่าวไปถวายพระเจ้าธรรมราชา เจ้าเมืองสุโขทัย พระเจ้าธรรมราชาก็ทรงยินดีอย่างยิ่ง จึงทรงดำริว่า ถ้าพระบรมธาตุแสดงปาฏิหาริย์ให้ปรากฏแก่เราดังคนเล่าลือแล้วไซร้ เราจักสร้างเจดีย์ทองคำองค์หนึ่งในเมืองเรานี้ เป็นที่สักการะบูชาต่อไปชั่วกาลนาน แล้วจึงโปรดให้ราชบุรุษไปอาราธนาพระบรมธาตุ และพระสุมนะไปสู่สุโขทัย แล้วทรงสักการะบูชาด้วยวรามิศเป็นอันมาก แต่พระบรมธาตุก็ไม่แสดงปาฏิหาริย์ให้ทอดพระเนตรทั้งนี้ นัยว่า เพราะเมืองสุโขทัยนี้ ไม่เป็นที่สถาปนาพระบรมธาตุพระพุทธเจ้าองค์ประเสริฐ พระเจ้าธรรมราชาไม่เห็นพระบรมธาตุแสดงปาฏิหาริย์เช่นนั้น ก็ไม่ทรงเชื่อถือจึงนมัสการพระสุมนเถรว่า พระบรมธาตุของพระพุทธเจ้าองค์นี้ขอให้พระคุณเจ้าเอาไปสักการะบูชาเถิด พระบรมธาตุจึงได้ตกอยู่กับพระสุมนเถรเจ้าตั้งแต่บัดนั้นมา พระสุมนเถรเจ้าได้เป็นครูอาจารย์สอนพระปริยัติธรรม ณ เมืองสุโขทัย และเมืองศรีสัชชนาลัยเป็นเวลานาน
    <table class="a4" align="center" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="100"> <tbody><tr bgcolor="#000000"> <td width="670">[​IMG]</td> <td width="670">[​IMG]</td> <td width="670">[​IMG]</td></tr></tbody></table>
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    ในสมัยนั้น จุลศักราชได้ ๗๒๙ (พ.ศ. ๑๙๑๐) พระเจ้ากือนา ราชวงศ์เมงรายที่ ๖ เสวยราชสมบัติในเมืองเชียงใหม่ เป็นใหญ่ในลานนาไทยประเทศ ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม มีพระราชหฤทัยชอบศึกษาในศิลปศาสตร์ต่างๆ เป็นที่เกรงขามของท้าวพระยานานาประเทศ มีเสนามาตย์ผู้กล้าหาญเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านชาวเมืองได้รับความชื่นบานร่มเย็นเป็นสุข ท้าวเธอทรงมีพระราชศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนายิ่งนัก ปรารถนาจะได้ภิกษุผู้ทรงพระไตรปิฏก รู้พระพุทธพจน์ สามารถกระทำสังฆกรรมใหญ่น้อยได้ทุกประการ มาไว้ในนครพิงค์เชียงใหม่ เมื่อได้ทราบสุปฎิปันนตาทิคุณแห่งพระอุทุมพรบุบผามหาสวามีเจ้า ซึ่งอยู่เมืองมติมา จึงให้ราชทูต ไปอาราธนาพระมหาสวามีเจ้า แต่พระมหาสวามีเจ้ารับนิมนต์ไม่ได้ จึงให้ภิกษุซึ่งเป็นศิษย์ ๑๕ รูปมีพระอานนท์เถร เป็นประธาน มาสู่เมืองเชียงใหม่แทน
    ท่านพระเจ้าถือนาก็ให้พระเถรเจ้าทั้งหลาย พำนักอยู่ ณ วัดโลกภายหลังอาราธนาให้กระทำวินัยกรรม มีอุปสมบทกรรมเป็นต้น พระเถรเจ้าทั้งหลายถวายพระพรว่า ท่านอุทุมพรบุบผามหาสวามี ผู้เป็นอุปัชญายะ ได้ให้พวกตนมาฉลองพระราชศรัทธาพระองค์แต่อย่างเดียว หาได้อนุญาตให้กระทำวินัยกรรมด้วยไม่ ที่จริงยังมีพระเถรเจ้าองค์หนึ่ง ชื่อสุมนเถร ท่านก็เป็นศิษย์แห่งพรอุทุมพรบุบผามหาสวามีเจ้าเหมือนกัน พระสุมนเถรนั้นเมื่อจะกลับคืนมาสู่เมืองสุโขทัยท่านมหาสวามีก็ยังได้สะพายบาตรไปส่ง โดยสมมุติว่า ส่งพระศาสนามาตั้งในเมืองไทย บัดนี้ พระสุมนเถรเจ้าก็ยังกระทำการสอนพระปริยัติธรรมอยู่ในเมืองสุโขทัย หากว่ามหาบพิตรไปอาราธนาพระผู้เป็นเจ้าสุมนเถรมาได้ พวกตนจึงกระทำวินัยกรรมพร้อมกับพระสุมนเถรองค์นั้น ท้าวเธอจึงใช้ให้เสนาผู้หนึ่ง ชื่อว่า หมื่นเงินกอง กับ ผ้าขาวยอด และผ้าขาวสาย ไปอาราธนาพระสุมนเถร เมืองสุโขทัยพระสุมนเถรรับนิมนต์แล้ว ก็ให้ศิษย์รูปหนึ่งชื่อว่าอานันทะอยู่แทนที่วัดป่าแก้วในเมืองสุโขทัย แล้วพาสามเณรรูปหนึ่งชื่อว่า กุมารกัสสป อายุย่างเข้า ๒๐ ปี ซึ่งเป็นหลานของตนมาด้วย
    พระเจ้ากือนารู้ข่าวพระสุมนเถรมา ก็มีพระราชหฤทัยยินดีเป็นอันมาก ท้าวเธอจึงได้ยกรี้พลไปรับพระสุมนเถรถึงตำบลแสนข้าวห่อเชียงเรือ แล้วท้าวเธอก็นำพระเถรเจ้า ผู้ซึ่งมีอายุได้ ๖๐ ปี มาอยู่วัดพระยืน ทิศตะวันออก เมืองลำพูน ปีกัดเล้า จุลศักราช ๗๓๑ (พ.ศ. ๑๙๑๒) และได้อาราธนาให้กระทำสังฆกรรม มีอุปสมบท และมีสีมาสมมติ เป็นต้น พระสุมนเถรก็อุปสมบทกุมารกัสสป สามเณรผู้เป็นหลานให้เป็นภิกษุ ในนทีมาแม่น้ำระมิงค์ หน้าวัดจันทสาโน พร้อมด้วยพระเถรเจ้าทั้งหลาย ๑๐ รูป ที่ท่านอุทุมพรบุบผามหาสวามีส่งมานั้น พระเจ้ากือนาทรงพระปราโมทย์เลื่อมใสในศีลาจารแห่งพระสุมนเถรเจ้านั้น จึงอภิเษกให้เป็นพระมหาสวามี ชื่อว่า "พระสุมนบุบผารัตนมหาสวามี" วันหนึ่ง พระมหาสวามีเจ้า เอาพระบรมธาตุพระพุทธเจ้าองค์ประเสริฐนั้น มาถวายให้ท้าวเธอได้ทอดพระเนตร และถวายพระพรถึงประวัติทั้งมวล ตั้งแต่เทวดามาเข้านิมิตรในฝันนั้นแด่ท้าวเธอทุกประการ ท้าวเธอมีพระราชหฤทัยปราโมทย์เลื่อมใสอย่างยิ่ง จึงให้สรงพระบรมธาตุด้วยสุคนโธทกในไตลคำ (ถาดทองคำ) เมื่อนั้น พระบรมธาตุพระพุทธเจ้าก็กระทำปาฏิหาริย์ต่างๆ ลอยประทักษิณ ไปมาอยู่บนผิวน้ำ ในวันั้นฝนตกชณิกวัสสกาลให้พระเจ้ากือนาทั้งเสนามาตย์ราชบริพารเห็นเป็นอัศจรรย์ พระมหาสวามีเจ้า อยู่วัดพระยืน เมืองลำพูนได้ ๒ พรรษา แล้วถึงปีกดเส็ด จุลศักราช ๗๓๒ (ปีจอ พ.ศ. ๑๙๑๓) พระเจ้ากือนาก็ได้พระราชทานป่าไม้พยอม ซึ่งเป็นสวนดอกไม้หลวงให้เป็นพระอาราม ชื่อวัดบุบผาราม (วัดสวนดอกไม้ปัจจุบัน) ครั้นสร้างเสร็จแล้ว จึงอาราธนาพระมหาสวามีมาเป็นเจ้าอาวาสในปีล้วงไก๊ จุลศักราช ๗๓๓ (ปีกุน พ.ศ. ๑๙๑๔)
    <table class="a4" align="center" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="100"> <tbody><tr bgcolor="#000000"> <td width="670">[​IMG]</td> <td width="670">[​IMG]</td> <td width="670">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ต่อแต่นั้น พระเจ้ากือนาและพระมหาสวามีเจ้าได้พร้อมกันให้ก่อมหาเจดีย์ในวัดบุบผารามนั้น เพื่อสถาปนา พระบรมธาตุพระพุทธเจ้าองค์วิเศษ ครั้นถึงวันที่จะบรรจุพระบรมธาตุ พระเจ้ากือนาและพระมหาสวามีเจ้า ได้สรงพระบรมธาตุด้วยสุคนโธทก บูชาด้วยเครื่องสักการะเป็นอันมากพระบรมธาตุได้กระทำปาฏิหาริย์ ให้ปรากฏแก่ท้าวเธอ พระมหาสวามีเจ้าและเสนามาตย์ประชาราษฎร สมณพรหมณาจารย์ทั้งหลาย เมื่อพระมหาสวามีเจ้าเอาพระบรมธาตุออกจากนั้นในไถลคำ จึงเป็น ๒ องค์ องค์หนึ่งมีขนาดเล็กกว่าปกติอีกองค์หนึ่งยังเป็นปกติเท่าเดิม มีวรรณสัณฐานงามเสมอกันนัยหนึ่งว่า พระเจ้ากือนาและพระมหาสวามีเจ้าพร้อมกันอธิษฐาน ขอให้พระบรมธาตุแยกเป็น ๒ องค์ ด้วยอานุภาพแห่งสันยาอธิษฐานนั้น พระบรมธาตุจึงแยกออกเป็น ๒ องค์ แล้วอารธนาองค์หนึ่งในผะอบแก้วประพาฬ ผะอบทอง ผะอบเงิน ผะอบทองเหลือง โดยลำดับสถาปนาไว้ในวัดบุบผารามสวนดอกไม้หลวง เพื่อเป็นที่ไว้สักการะบูชาแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ตราบเท่าถึงกาลบัดนี้
    ในปีล้วงไก๊ จุลศักราช ๗๓๓ นั้น พระเจ้ากือนานมหาราชและพระมหาสวามีเจ้า มีความปรารถนาใคร่จะสถานปนาพระสารีริกธาตุเจ้าทั้ง ๒ องค์ ไว้ในเสฎฐสถาน จึงทรงปรึกษากันว่า เสฎฐสถานอันควรแก่การสถาปนาพระสารีริกธาตุพระพุทธเจ้าองค์วิเศษนี้ ยังไม่ปรากฏแก่เราทั้งหลาย เมื่อจะแสวงหาที่อันควรสร้างสถูปเจดีย์ จึงเชิญผะอบพระสารีริกธาตุ ขึ้นสถิตเหนือเสวรตรคชาธารช้างมงคลอธิษฐานเสี่ยงช้างพระที่นั่งปล่อยไป ส่วนท้าวเธอก็รับสั่งให้ประโคมดุริยดนตรี ไปตามหลังมงคลหัตถีด้วยยศบริวารเป็นอันมาก ช้างมงคลแผดเสียง ๓ ครั้ง แล้วก็บ่ายหน้าไปสู่ประตูหัวเวียง ตรงต่ออุจฉุบรรพต (คือดอยสุเทพ) ได้ไปหยุดอยู่บนยอดเขาลูกหนึ่ง พระเจ้ากือนาและมหาสวามีเข้าพระทัยว่า ช้างมงคลจะหยุดอยู่เพียงนี้ แต่หาได้หยุดอยู่ในที่นั้นไม่ ได้เดินทางต่อขึ้นไปอีก ภูเขาที่ช้างหยุดชั่วครู่หนึ่งนี้เรียกว่า "ดอยช้างนาน" บ้าง "ดอยช้างนูน" บ้าง "ดอยหมากหนุน" บ้างตราบเท่าทุกวันนี้ ช้างมงคลตัวนี้ได้ขึ้นไปถึงยอดดอยอีกแห่งหนึ่ง พระเจ้าถือนาและพระมหาสวามีเจ้า เห็นสนามราบเรียบเป็นอันดี ปรารถนาจะสถาปนาพระบรมธาตุเจ้า ไว้บนภูเขาลูกนั้น จึงทรงปรึกษากันว่าสนามนี้ราบเรียบดีหนอ ขออาราธนาพระบรมธาตุประดิษฐาน ณ ที่สมควรเถิด แล้วจึงเริ่มจะอัญเชิญพระบรมธาตุลงมาจากมงคลหัตถี ทันใดนั้น ช้างมงคลก็ได้เดินต่อไปอีก ที่นั้นจึงเรียกกันว่า "สนามยอดดอยงาม" ภายหนังเรียกกันว่า "ดอยสามยอด" มาตราบเท่าทุกวันนี้ ช้างมงคลตัวนั้นได้เดินทางขึ้นไปโดยลำดับ จนถึงดอยวาสุเทพบรรพต จึงร้องเสียงสะเทือน ๓ ครั้ง กระทำปทักษิณ ๓ รอบ แล้วจึงคุกเข่าทั้ง ๔ ลงเหนือยอดดอยวาสุเทพบรรพตนั้น ขณะนั้น พระเจ้ากือนามีพระราชฤทัยยินดีเป็นอันมาก จึงให้ราชบุรุษทั้งหลายเปล่งเสียงสาธุการโกลาหล แล้วจึงอาราธนาพระบรมธาตุลงจากหลังช้างมงคล พอพระบรมธาตุลงจากหลังช้างเท่านั้นช้างมงคล พอพระบรมธาตุลงจากหลังช้างเท่านั้น ช้างมงคลก็ถึงแก่ความตายในขณะนั้น แต่ตำนานโบราณว่าช้างมงคลนั้นบ่ายหน้าลงไปสู่ยอดดอยด้านตะวันตกดอยสุเทพ แล้วไปล้ม (ตาย) ณ ที่นั้น เวลาที่นี้ยังมีอนุสาวรีย์ปรากฏอยู่ เรียกว่า "กู่ช้างเผือก"
    <table class="a4" align="center" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="100"><tbody><tr bgcolor="#000000"><td width="670">[​IMG]</td> <td width="670">[​IMG]</td> <td width="670">[​IMG]</td></tr></tbody></table>
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    พระเจ้ากือนามมหาราชและพระมหาสวามีรับสั่งให้ขุดยอดดอยนั้นลึก ๘ ศอก กว้าง ๑ วา ๓ ศอก แล้วเอาหินแท่นใหญ่ ๖ ศอก มากระทำเป็นหีบหินใหญ่ใส่ลงในหลุมนั้น แล้วอาราธนาพระบรมธาตุ พร้อมทั้ง ผอบตั้งไว้บนหีบหินใหญ่ใส่ลงในหลุมนั้น แล้วอาราธนาพระบรมธาตุพร้อมทั้งผะอบตั้งไว้บนหีบหิน และถมด้วยหินเป็นอันมาก กระทำให้ราบเรียบเป็นอันดี แล้วจึงก่อเจดีย์หลังหนึ่ง สูง ๕ วา ทับบนพระบรมธาตุนั้น เพื่อเป็นที่สักการะบูชาแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายในปีนั้นเอง บางตำนานว่า พระบรมธาตุพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๒ นี้ พระเจ้ากือนามหาราชได้รับไว้สักการะบูชาก่อนถึง ปี กาบไจ้ จุลศักราช ๗๔๖ (พ.ศ.๑๙๒๗) วันเพ็ญ เดือน วิสาขะมาส ตรงกับวันศุกร์ ฤกษ์ ๑๖ ตัวชื่อวิสาข ในพฤษภราศรี ท้าวเธอจึงได้อาราธนาไปสถาปนาไว้ พระบรมธาตุสุเทพนั้น ปรากฏอยู่เหนือจอมเขาหลังเมืองนครเชียงใหม่สืบมาจนทุกวันนี้
    <table class="a4" align="center" border="0" cellpadding="3" cellspacing="5" width="100"> <tbody><tr bgcolor="#ffffff"> <td align="center" width="670">[​IMG]
    ครูบาศรีวิชัย
    ผู้นำการสร้างถนนขึ้นดอยสุเทพ </td> <td align="center" valign="top" width="670">[​IMG]
    พระราชสิทธาจารย์
    เจ้าอาวาสวัดพระธาตุฯ
    รูปปัจจุบัน </td> </tr> </tbody></table> นับตั้งแต่ พระยาเมงรายมหาราชสร้างเมืองเชียงใหม่ ในปีวอก ไทยว่า รวายสัน จุลศักราช ๖๕๘ (พ.ศ. ๑๘๓๙) ตราบเท่าถึงพระเจ้ากือนามมหาราช และพระสุมนบุบผารัตนมหาสวามีเจ้า มาสถาปนาพระบรมธาตุพระพุทธเจ้าบนวาสุเทพบรรพตนี้ ในปีล้วงไก๊ จุลศักราช ๗๓๓ นับได้ ๘๕ ปี ๕ ชั่วกษัตริย์ ปฐมราชวงศ์คือพระยาเมงราย (หรือมังราย) เสวยรามสมบัติได้ ๒๕ ปี ถัดนั้น พระราชโอรสพระยาเมงราย มีพระนามว่า พระยามังคราม เสวยราชสมบัติได้ ๑๕ ปี ถัดนั้น พระราชโอรสพระยาเมงราย มีพระนามว่า พระยามังคราม เสวยรามสมบัติได้ ๑๕ ปี ถัดนั้น พระราชโอรสพระยามังคราม พระนามว่า พระยาแสนพู เสวยรามสมบัติได้ ๘ ปี ถัดนั้น พระราชโอรสพระยาแสนฟู พระนามว่า พระยาคำฟู เสวยราชสมบัติได้ ๑๒ ปี ถัดนั้น พระราชโอรสพระยาคำฟู พระนามว่า พระยาผายู เสวยสมบัติได้๒๔ ปี ถัดนั้น พระราชโอรสพระยาผายูพระนามว่า พระยากือนา ได้เสวยราชสมบัติ ในปีมะแมไทยว่า ปีเมืองเม็ด จุลศักราช ๗๒๙ ถึงปีกุน ไทยว่า ปีล้วงไก๊ จุลศักราช ๗๓๓ (พ.ศ. ๑๙๑๔) จึงได้สถาปนาพระบรมธาตุพระพุทธเจ้า ณ บนวาสุเทพบรรพตนี้ ถึงปีเมืองเป้าจุลศักราช ๗๕๙ (พ.ศ. ๑๙๔๐) ก็สวรรคต ถัดนั้น พระราชโอรสพระยากือนา พระนามว่า พระยาแสนเมืองมา เสวยราชสมบัติได้ ๑๖ ปี ถัดนั้น พระราชโอรสของพระยาแสนเมืองมาพระนามว่า พระยาสามฝั่งแกน เสวยราชสมบัติได้ ๔๐ ปี ถัดนั้น พระราชโอรสของพระยาแสนเมืองมาพระนามว่า พระยาสามฝั่งแกนเสวยรามสมบัติได้ ๔๐ ปี ถัดนั้น พระราชโอรสพระยาฝั่งแกน พระนามว่า พระยาติโลกราช เสวยราชสมบัติได้ ๒๔ ปี ถัดนั้น พระราชภาคิไนยของพระยาติโลกราช พระนามว่า พระยอดเชียงราย เสวยราชสมบัติได้ ๙ ปี ถัดนั้น พระราชโอรสพระยายอดเชียงรายพระนามว่า พระยาเมืองแก้ว เสวยราชสมบัติได้ ๑๓ ปี
    ท้าวพระยามหากษัตริย์ผู้เสวยราชสมบัติในนพบุรีศรีมหานครพิงค์เชียงใหม่ ทุกๆ พระองค์ ล้วนมีพระราชศรัทธาเลื่อมใสในพระบรมธาตุสุเทพ ได้เคารพสักการะบูชาตามประเพณีสืบมาเป็นลำดับ ถัดนั้น พระราชโอรสพระเมืองแก้ว พระนามว่า ท้าวอ้าย คือ พระเมืองเกษเกล้า เสวยราชสมบัติ ในปีกัดเล้าจุลศักราชได้ ๘๘๗ (พ.ศ. ๒๐๖๘) มีพระราชศรัทธาเลื่อมใสในพระบรมธาตุสุเทพเป็นอันมาก จึงอาราธนาพระมหาญาณมงคลโพธิ ซึ่งอยู่ในวัดอโสการาม (วัดกู่ละมัก) เมืองหริภุญชัย มาฉลองพระราชศรัทธาให้เสริมพระมหาเจดีย์ใหญ่กว่าเดิม คือองค์ที่อยู่ ณ บัดนี้ ในปีเปิกเส็ดจุลศักราชได้ ๙๐๐ (พ.ศ. ๒๐๘๑) เดือน ๑๘ ขึ้น ๑๓ ค่ำ วัน พฤหัสบดี ยามกองงาย ๒ ลูกนาทีปลายบาตร์น้ำ ฤกษ์ ๑๒ ตัว ชื่ออุตตราคุณ มหาเจดีย์เจ้าองค์นี้ กว้างได้ ๖ วา สูงได้ ๑๑ วา มี ๔ มุม มีรูปไหดอกตั้งอยู่ ๔ มุม แท่นหลวงบรเพ็ด ๔ เหลี่ยม ท้องงู ๒ ชั้น แต่หนาแท่นหลวงถึงปากแท่นแก้วมีกระดูกงูชั้นเดียว แต่คอลอกถึงยอดโกสกวมลูกสะระนัยมี ๑๑ ลูก พระเมืองเกษเกล้าได้พระราชทานกาญจนทองคำ ให้สุววรณการกช่างทองคำเป็นดอกบัวทองคำ ขจิตด้วย แก้วแล้วให้ยกขึ้น ใส่บนยอดพระมหาธาตุเจดีย์ ในวันศุภฤกษ์ดิถีงามบริสุทธิ์ยิ่ง จึงเป็นที่เลื่องลือแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายว่า พระบรมธาตุวาสุเทพมาตราบเท่าทุกวันนี้

    [​IMG] ถัดนั้น พระราชโอรสพระเมืองเกษาเกล้าพระนามว่า ท้าวชายคำ ได้เสวยสมบัติในปีเปิกเส็ดจุลศักราช ๙๐๐ (พ.ศ. ๒๐๘๑) ทรงมีพระราชศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า จึงพระราชทานทองคำหนัก ๑๗๐๐ บาท ตีให้เป็นทองจังโก ติดพระบรมธาตุกับเงิน ๖๐๐๐ ให้เป็นค่าไม้สร้างวิหาร ถึงปีก่าเหม่า จุลศักราชได้ ๙๐๗ ปี (พ.ศ. ๒๐๘๘) พระมหาญาณมงคลโพธิ ได้สร้างวิหารด้านหน้าและวิหารด้านหลัง ระเบียงรอบพระธาตุถึง ๔ ด้านฝาผนังวิจิตรกรรม ลายเขียนทั้งหมด ฉลองพระศรัทธาถึงปีเมืองใส้ จุลศักราชได้ ๙๑๙ (พ.ศ. ๒๑๐๐) พระมหาญาณมงคลโพธิ เป็นประธานภายใน สร้างบันไดหลวงก่อรูปนาคลงทั้งซ้ายขวา ต่อมาได้ซ่อมแซมปฏิสังขรณ์ ดังปรากฏอยู่ทุกวันนี้
    <table class="a4" align="center" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="100"> <tbody><tr bgcolor="#000000"> <td width="670">[​IMG]</td> <td width="670">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> พระเจดีย์ที่บรรจุพระบรรมธาตุ มีเนื้อที่ด้านละ ๖ วา ๔ ด้าน รวม ๒๔ วา ลำเลียงเหล็ก (รั้วเหล็ก) ด้านละ ๗ วา ๖ ศอก ๔ ด้าน รวม ๓๐ วา เหล็กลำเลียงด้านตะวันออกมี ๑๒๐ เล่ม ด้านตะวันตก ๑๒๐ เล่ม ด้านใต้มี ๑๓๒ เล่น ด้านเหนือมี ๑๓๒ เล่ม ๕ ด้านรวม ๕๐๔ เล่ม มีปราสาททั้ง ๔ มุม ราวเทียนด้านละ ๙ วา ๔ ด้าน รวม ๓๖ วา ด้านตะวันออกมีประทีปทองเหลือง ๒๘ ดวง ด้านตะวันตก ๒๗ ดวง ด้านใต้ ๒๗ ด้านเหนือ ๒๗ ดวง มุมทั้ง ๔ ก็มี ๔ ดวง รวมทั้งหมดมี ๑๑๓ ดวง ดั่งสำหรับวางประทีป ๔ มุม รวม ๔ ตัว พระวิหารด้านหน้าและด้านหลัง มี ๗ แป ๒ ชาย ซด (มุข ) หลัง ซดหน้ามีซดละห้อง ซดหลัง ๒ ห้อง รวม ทั้งหมดเป็น ๔ ห้อง ๒ หลัง เป็น ๘ ห้อง ระเบียงตะวันออกทั้ง ๒ ข้าง มี ๗ ห้อง ตะวันตกทั้ง ๒ ข้าง มี ๗ ห้อง ด้านใต้ ๑๒ ห้อง ด้านเหนือ ๑๒ ห้อง ๔ ด้านมี ๓๘ ห้อง นับทั้งวิหารมี ๔๖ ห้อง บริเวณภายในฝาแต่ด้านเหนือถึงด้านใต้มี ๑๙ วา ๒ ศอก แต่ด้านตะวันออกถึงด้านตะวันตกมี ๒๒ วา แต่ประตูบริเวณถึงเทวดา ๒ องค์ (บัดนี้ย้ายไปไว้นอกประตูบริเวณแล้ว) มี ๙ วา นาคยาว ๖๐ วา บันไดมี ๑๗๓ ชั้น (เวลานี้มี ๓๐๑ ชั้น) ลำเลียงไม้ชั้นล่างไปทางตะวันตกและตะวันออก ๕๐ วา
    <table class="a4" align="center" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="100"> <tbody><tr> <td bgcolor="#000000" width="670">[​IMG]</td> <td bgcolor="#000000" width="670">[​IMG]</td> </tr> <tr align="center"> <td colspan="2">นมัสการกราบไหว้ ครูบาศรีวิชัย สมเด็จโต</td> </tr> </tbody></table> ในสมัยนั้น มีอุบาสกคนหนึ่งชื่อว่า มงคลศิลา มีศรัทธาสร้างโรงอุโบสถาคารหลังหนึ่ง อารธนาพระสังฆราชวัดบุบผารามสวนดอกไม้หลวง เป็นประธาน มาผูกสีมา ณ โรงอุโบสถหลังนี้ อีกประการหนึ่ง เมื่อพระเมืองเกษเกล้าเสวยราชสมบัติ ได้ส่งพระภิกษุไปเรียนพระปริยัติธรรมที่เมืองอังวะ จึงแต่งราชทูตไปกับพระภิกษุผู้ไปเรียนธรรมนั้นราชทูตเข้าเฝ้ากษัตริย์กรุงอังวะ ตรัสถามว่าพวกเจ้าได้ไหว้พระธาตุเจ้าดอยสุเทพหรือเปล่า เมื่อราชทูตว่าไม่ได้ไปไหว้ท้าวเธอตรัสว่า พวกเจ้ามีบุญน้อยนัก ด้วยเหตุว่าพระบรมธาตุเจ้าของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ซึ่งบรรจุไว้ในที่ใดๆ ก็ดีมีเทวดาไม่รักษา ก็จักไปรวมกันอยู่ในมหาเจดีย์ดอยสุเทพก่อน ครั้ง ๕๐๐ พระวัสสาล่วงแล้ว จึงจะไปรวมกันที่ไม้มหาโพธิ อีกประการหนึ่ง มีพระสังฆราชองค์หนึ่งอยู่เมืองหงสาวดี เมื่อภิกษุชาวเมืองหงสาวดีมาเชียงใหม่ แล้วกลับไปเฝ้าท่าน ท่านย่อมถามว่าเธอทั้งหลายได้ไปไหว้พระบรมธาตุบ้างหรือเปล่า ภิกษุใดได้ไปไหว้ก็กราบเรียนว่า ข้าพเจ้าได้ไปไหว้แล้ว พระสังฆราชาองค์นั้นยินดียิ่งนัก มีผ้าสังฆาฎิก็ดี ผ้าจีวรอื่นก็ดีย่อมให้แก่ภิกษุรูปนั้นทุกๆ รูป และกล่าวว่า บัดนี้ พระบรมธาตุพระพุทธเจ้าจะไปรวมกันที่มหาเจดีย์องค์นั้น เหตุนั้น เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ได้ไปไหว้พระบรมธาตุดอยสุเทพ และกระทำสักการะบูชา ก็เป็นประดุจได้ไหว้และบูชาพระพุทธเจ้าเมื่อยังพระชนม์อยู่ ครั้งนั้น มีชายผู้หนึ่งชื่อว่า หมื่นลา ไมได้มาไหว้พระบรมธาตุดอยสุเทพได้ยินพระดำรัสของพระสังฆราชาเมืองหงสาวดี แต่สำนักเมืองหงสาวดีนั้น ได้ปิติโสมมัสยินดี จึงถอดกำไลมือทองคำออกให้นายช่างทองตีเป็นทองจังโก มาติดพระบรมธาตุดอยสุเทพ
    เหตุนั้น สาธุชนผู้ใดได้ไปไหว้สักการะด้วยอามิสบูชา เป็นต้นว่า ข้าวตอกดอกไม้ สุคนธชาติของหอมก็ดีด้วยข้าวน้ำโภชนาหารก็ดี ด้วยเงินทอง แก้ว แหวน เสื้อผ้าก็ดี ชั้นที่สุดเพียงไหว้ด้วยมือสิบนิ้วก็ดี จงระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้าด้วยพุทธคุณว่า อิติปิโส ภควา อรหํ สมมา สมพุทโธ เป็นต้น บ่อยๆ ย่อมชื่อว่า ได้เจริญพุทธานุสสติ กัมมัฎฐาน อาจสำเร็จมโนปณิธานความปราถนาทุปประการ
    ตำนานพระธาตุดอยสุเทพ ยุติลงเพียงเท่านี้
    <table class="a4" align="center" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="620"> <tbody><tr bgcolor="#000000"> <td width="206">[​IMG]</td> <td width="206">[​IMG]</td> <td width="206">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table class="a4" align="center" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="414"> <tbody><tr bgcolor="#000000"> <td width="206">[​IMG]</td> <td width="206">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>

    •••••••••••••••••••••••••
    www.soonphra.com
     

แชร์หน้านี้

Loading...