ตามไหว้พระแก้วขาวที่เมืองเก่าหริภุญไชย

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 16 เมษายน 2007.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    ตามไหว้'พระแก้วขาว'ที่เมืองเก่าหริภุญไชย

    ตามไหว้ "พระแก้วขาว" ที่เมืองเก่าหริภุญไชย

    เกด-ริน...เรื่อง/ภาพ

    [​IMG]

    หากถามถึงพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของไทยในยุคนี้ หลายๆ คนก็คงนึกถึง "พระแก้วมรกต" พระแก้วเขียวโบราณ ซึ่งประดิษฐานอยู่ในพระบรมมหาราชวัง แต่ถ้านั่งไทม์แมชชีนย้อนกลับไปถามคำถามเดียวกันนี้ในอาณาจักรหริภุญไชย ...ชื่อ "พระแก้วขาว" ก็คงแวบขึ้นมาเป็นคำตอบแรก

    พระพุทธรูปโบราณ ผ่านการเดินทางจากยุคสู่ยุค จากเมืองละโว้ สู่หริภุญไชยนคร ก่อนจะมาถึงเวียงกุมกาม รวมกาลเวลาล่วงเลยมาพันกว่าปี ปัจจุบัน "พระแก้วขาว" หรือ "พระเสตังคมณี" ปักหลักประดิษฐานอยู่ที่ วัดเชียงมั่น จ.เชียงใหม่ ซึ่งความน่าสนใจ ไม่ใช่แค่เพียงความเก่าแก่ แต่เรื่องราวที่มาที่ไปรวมทั้งเหตุการณ์การเปลี่ยน แปลงที่เกิดขึ้นในแต่ละยุคสมัย เป็นตัวบ่งบทเรียนทางพุทธประวัติศาสตร์ที่คนไทยไม่น่าพลาด !

    พลันสบโอกาส การเดินทางตามรอยพระพุทธรูปโบราณองค์นี้จึงได้เริ่มต้นขึ้นที่ "วัดจามเทวี" จ.ลำพูน

    แวะสักการะพระอัฐิของพระแม่เมืองหริภุญไชย (ลำพูน) กันก่อน ดร.เพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์ ไกด์กิตติมศักดิ์เล่าตำนานให้ฟังว่า เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 13 พระนางจามเทวี พระธิดาของพระเจ้ากรุงละโว้เสด็จมาครองหริภุญไชยนคร โดยคำอัญเชิญของฤาษีผู้สร้างเมือง ด้วยขณะนั้นทรงพระครรภ์ อีกทั้งพระราชสวามีมิได้เสด็จมาด้วย พระนางจึงเชิญ "พระแก้วขาว" สิ่งศักดิ์สิทธิ์จากละโว้มาเป็นพระคู่บารมี ซึ่งการเดินทางมาของพระนางเป็นการสร้างความรุ่งเรืองให้กับดินแดนทางภาคเหนือเป็นครั้งแรก <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=1><TBODY><TR bgColor=#ffe9ff><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    พระนางทรงอุปถัมภ์การพระศาสนาอย่างเข้มแข็ง มีการสร้างวัดถวายพระภิกษุนับพันแห่ง ปกครองอาณาจักรด้วยความสงบสุข แม้บั้นปลายพระชนม์ชีพหลังสละราชสมบัติให้พระโอรสแล้ว พระนางก็เลือกครองเพศบรรพชิตไม่เกี่ยวข้องกับทางโลก

    ดังจะเห็นได้จากรูปสลักสำริดที่ "อนุสาวรีย์พระนางจามเทวี" ที่แม้มือหนึ่งจะถืออาวุธ แต่อีกมือหนึ่งก็ผายสู่ชาวนคร หมายถึง การปกครองด้วยความเมตตาตามหลักพุทธศาสนา

    เดินทางกันต่อ คราวนี้มุ่งหน้าไปยัง "วัดพระธาตุหริภุญไชย" ไปดู "หอพระ" ที่ประดิษฐานเดิมของพระแก้วขาว

    ด็อกเตอร์สาวคนเดิมเล่าเพิ่มเติมว่า หลังสิ้นราชวงศ์จามเทวีในอีก 600 ปีต่อมา พญาเม็งรายแห่งแคว้นโยนกได้ยกทัพมาตีเมืองหริภุญไชย พระองค์สั่งเผาทำลายวัดวากว่าพันแห่งรวมทั้ง "หอแก้ว" (บริเวณหอระฆัง วัดพระธาตุหริภุญไชย) ซึ่งสมัยนั้นเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วขาว ในระหว่างที่เผาหอแก้วนั้นเอง ได้เกิดอัศนีบาต 3 ครั้ง 3 ครา ซึ่งปรากฏว่า ไฟไหม้ไม่สามารถเผาทำลายพระแก้วขาวได้ ในเวลาต่อมาพญาเมงรายจึงได้อัญเชิญพระแก้วขาวมาเป็นพระคู่บารมีของพระองค์

    หลักฐานทางประวัติศาสตร์ค่อนข้างกระท่อนกระแท่น แต่พอจะจับความได้จากเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า หลังจากนั้นพระแก้วขาวได้ย้ายมาอยู่ที่ "เวียงกุมกาม"

    ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่เพียง 5 กิโลเมตร เวียงกุมกาม หรือตามฉายานครใต้พิภพนั้น พบว่าวัดโบราณสถานกว่า 40 วัดที่ถูกขุดค้นนั้น ล้วนแล้วแต่ปรากฏกลิ่นอายของศิลปะหริภุญไชยอยู่ตามรูปทรง แม้ว่าส่วนรายละเอียดจะโน้มเอียงไปทางพม่าก็ตาม

    สำหรับพื้นที่ท่องเที่ยวในเวียงกุมกาม มีบริการนั่งรถม้าและรถรางเข้าชม (ถ้าต้องเดินล่ะแย่แน่ๆ เพราะแม้อาณาเขตจะไม่ชัด แต่ก็กินบริเวณไม่ต่ำกว่า 3 ตารางกิโลเมตรเลยเชียวล่ะ) หลักๆ ไกด์ท้องถิ่นจะพาไปผ่าน 9 วัด ตั้งแต่ วัดช้างค้ำ วัดอีค่าง วัดหนานช้าง วัดกู่เปี้ย วัดธาตุขาว วัดพญามังราย วัดพระธาตุขาว วัดเจดีย์เหลี่ยมหรือ กู่คำหลวง ก่อนจะสิ้นสุดวัดสุดท้ายที่วัดกู่ป้าด้อม ซึ่งว่ากันว่า ขุดค้นพบกู่ (เจดีย์) ในพื้นที่หลังบ้านของป้าด้อม

    จากเวียงกุมกาม วกกลับมาเรื่องพระแก้วขาวกันต่อ ไม่รู้เพราะเหตุบังเอิญหรือกงกรรมตามทันที่สั่งเผาพระศักดิ์สิทธิ์โบราณ เพราะจากบันทึกประวัติศาสตร์ระบุไว้ว่า พญาเมงรายสิ้นพระชนม์ชีพด้วยอัศนีบาต !

    เรื่องราวที่ผ่านพบในแต่ละยุคยืนยันว่า ความรุ่งเรืองมั่งคั่งไม่เคยอยู่กับใครแน่นอน ซึ่งสิ่งที่แน่นอนก็คือความไม่แน่นอน นั่นคือสัจธรรมที่ไม่แบ่งแยกยุคสมัย เอาเป็นว่า ใครศรัทธาพระพุทธรูปโบราณองค์นี้ เดินทางต่อไปสักการะได้ที่ "วัดเชียงมั่น" จ.เชียงใหม่ ซึ่งล่าสุดมีองค์จำลองให้พุทธศาสนิกชนเช่าเอาไปแขวนติดตัวด้วย โดย รายได้นำไปช่วยเหลือพระ บูรณะโบสถ์ ถึงตรงนี้บางคนฟังแล้วอาจจะแย้งว่า แหม ! พระอยู่ในใจ เข้าถึงพระธรรมได้ ไม่เห็นจำเป็นต้องเช่าพระมาแขวนเลย

    ใครจะคิดยังไงไม่ว่ากัน ถ้าจิตใจผ่องใสอย่างคำสอนพระพุทธองค์ ว่าแต่ว่า...ถ้าพระอยู่ในใจ แล้วใครอยู่ในวัด ?!

    ---------------------
    ที่มา:ประชาชาติธุรกิจ
    http://www.matichon.co.th/prachacha...g=02lif06160450&day=2007/04/16&sectionid=0213
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...