ตามรอย...พระศาสดา

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 31 พฤษภาคม 2007.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://www.matichon.co.th/prachachat...sectionid=0213


    วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 31 ฉบับที่ 3901 (3101)​

    ตามรอย...พระศาสดา


    [​IMG]เข้าใกล้วันวิสาขบูชา นอกจากธรรมบูชาที่ชาวพุทธยึดถือปฏิบัติแล้ว สำหรับใครที่กำลังมองหาการเดินทางเพื่อค้นหาความสุขสงบจากร่องรอยแห่งอดีตกาล ณ สังเวชนียสถานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า การบินไทยมีทริปพิเศษ "เที่ยวบินไทย เที่ยวบินธรรม" บินลัดฟ้าสู่อินเดีย-เนปาล ตามรอยพระศาสดา...

    อิ่มเอิบใจกันตั้งแต่นาทีแรกที่ได้ย่างก้าวเข้าสู่อาณาบริเวณของ "พุทธคยา" สถานที่ตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในรัฐพิหารของอินเดีย หนึ่งในมรดกโลกที่เปิดให้สักการะทุกวัน ตั้งแต่เช้ามืดจนค่ำ (04.00 น.-21.00 น.) สำหรับ นักแสวงบุญที่อยากจะบำเพ็ญภาวนาจิตเจริญสมาธิทั้งคืน ก็กระทำได้ แต่จะต้องแจ้งความจำนงล่วงหน้าและจ่ายเงินทำบุญ 100 รูปี และต้องถอดรองเท้าฝากไว้ เพราะถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อันบริสุทธิ์

    พุทธคยา เรียกได้ว่าเป็นจุดกำเนิดของศาสนาพุทธ เพราะเป็นสถานที่ที่เจ้าชายสิทธัตถะ ได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมา สัมโพธิญาณเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ภายใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ กว่า 2,500 ปีล่วงแล้ว สถานที่แห่งแรกที่จะได้เข้าชมก็คือ "องค์พระมหาเจดีย์พุทธคยา" ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปหินแกรนิตสีดำปางมารวิชัย "พระพุทธเมตตา" ซึ่งด้านหลังของพระวิหาร มี "ต้นพระศรีมหาโพธิ์" ต้นที่ 4 ที่แตกหน่อมาจากต้นเดิมครั้งพุทธกาล

    ณ ที่แห่งนี้ก็จะได้เห็นภาพชนหลายชาติ หลายภาษา ที่แต่ละคนต่างก็เดินทางมาเจริญจิตตภาวนา นั่งสมาธิใต้ ต้นโพธิ์... เสมือนกับได้เข้าเฝ้าพระพุทธองค์ถึงที่ประทับ !

    ออกเดินทางกันต่อ อีก 7 ชั่วโมงจากกรุงพาราณสี บนถนนสายเล็กๆ เป็นหลุมเป็นบ่อบ้าง มีเสียงแตรรถขับกล่อมตลอดเส้นทาง ทั้งสวดมนต์ ฟังธรรม มีหลับ มีตื่นสลับกัน โดยปลายทางมุ่งไปยังสถานที่เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ที่เมืองกุสินารา

    ที่นี่แวะเยือน "สาลวโนทยาน" สถูปที่พระเจ้าอโศกทรงสร้างสำหรับบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ก่อนประทับกราบแทบเบื้องบาทพระศาสดา "พุทธปฎิมากรปางมหาปรินิพพาน" พระพุทธรูปปางเสด็จบรรทมครั้งสุดท้าย จากนั้นจึงไปสักการะ "มกุฎพันธนเจดีย์" สถานที่ถวายพระเพลิงพุทธสรีระ สถูปเนินดินสูงเกือบ 50 ฟุต สถานที่คืนสู่ธรรมชาติแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ปลายทางต่อไปใช้เวลาเดินทางอีก 5 ชั่วโมง กว่าจะถึง "สวนลุมพินีวัน" ซึ่งระยะทางระหว่างนี้ ต้องผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองเพื่อเช็กวีซ่า และเปลี่ยนทะเบียนรถเป็นสีเขียวสำหรับการขับขี่ในเนปาล แม้ว่าจะห่างจากด่านเพียง 23 กิโลเมตร ก็ถึงจุดหมายแต่บนเนื้อที่กว่า 6,000 ไร่ เมื่อเราลงจากรถก็ยังต้องโดยสารสามล้อถีบ เพราะหนทางเดินเท้ายังไกลโข...

    สวนลุมพินีวัน ตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับกรุงเทวทหะ เป็นสถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะมกุฎราชกุมาร ภายในวิหารจะพบทางเดินไม้ทรงกรอบสี่เหลี่ยมล้อมรอบตามรูปทรงอาคาร ก่อนที่นักท่องเที่ยวจะได้สักการะรอยพระพุทธบาท ในขณะที่ด้านนอกเป็นที่ตั้งของเสาหินศิลาจารึกอายุกว่า 2,000 ปี !

    สังเวชนียสถานแห่งสุดท้ายอยู่ที่เมืองพาราณสี ใช้เวลาราว 9 ชั่วโมงกว่าจะถึงเมืองศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ ตัวเมืองอยู่ด้าน ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำคงคา ถนนในเมืองพลุกพล่านไปด้วยรถนานาชนิด ผู้คนเดินกันหนาแน่น นอกจากนี้ยังมีบรรดาสัตว์ โค กระบือ แพะ แกะ ฯลฯ โดยเฉพาะวัวที่จะมีมาก และยังถือสิทธิพิเศษกว่าคนอื่น สามารถเดินทางไปไหนก็ได้ ไม่มีใครกล้าทำร้าย เป็นดั่งเจ้าแห่งท้องถนน เพราะชาวอินเดียมีความเชื่อว่า วัวเป็นพาหะของท้าวมหาเทพ !

    เมืองพาราณสี ยังเป็นศูนย์กลางแห่งการไปบูชาสักการะ ว่ากันว่า ถ้ามาอินเดียแล้วไม่ไปเมืองพาราณสีถือว่ายัง ไปไม่ถึงอินเดีย เพราะพาราณสียังคงเอกลักษณ์ความเป็นอินเดียแท้และดั้งเดิม ไม่ว่าจะเป็นการอาบน้ำล้างบาป การเผาศพ การบูชาสุริยเทพ ฯลฯ ณ ริมฝั่งแม่น้ำคงคา จากนั้นค่อยเดินทางสู่เมือง "สารนาถ" อยู่ห่างจากกรุงพาราณสีอีก 8 กิโลเมตร เพื่อกราบนมัสการ "ธัมเมกขสถูป" สถานที่ที่ทรงแสดงปฐมเทศนาครั้งแรก แก่เหล่าปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ถือเป็นการสิ้นสุดทริปด้วยความอิ่มเอม

    แม้ว่าการไปกราบนมัสการสังเวชนียสถานถึงอินเดีย-เนปาล จะไม่ใช่ข้อบังคับของพุทธศาสนิกชน แต่ก็ถือเป็นโอกาสครั้งหนึ่งในชีวิตชาวพุทธที่จะได้สัมผัสความเชื่อ ความศรัทธาที่เข้มข้นเกินกว่าจะถ่ายทอดผ่านภาพถ่ายหรือคำพูดใดๆ เอาเป็นว่าใครที่สนใจเส้นรอยธรรมทริปพิเศษ "เที่ยวบินไทย เที่ยวบินธรรม" ของการบินไทย

    ตั้งแต่วันนี้-ธันวาคมศกนี้ สอบถามรายละเอียดได้ที่ 0-2278-4022
    <!-- / message --><!-- sig -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...