ตามรอยเมธี100ปี"พุทธทาส"

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 12 กุมภาพันธ์ 2006.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,173
    [​IMG]เข้าถึงหัวใจศาสนาของตน เข้าใจระหว่างศาสนา และออกจากอำนาจวัตถุนิยม

    ปณิธาน 3 ข้อที่ท่านพุทธทาสภิกขุประกาศไว้ให้อนุชน



    27 พ.ค.49 เป็นวันครบรอบ 100 ปี ชาตกาลของท่าน บุคคลที่ยูเนสโกยกย่องเป็น "บุคคลสำคัญของโลก" ผู้มีแรงบันดาลใจในธรรมะจากจุดเล็กๆ คือตัวเอง แล้วแผ่ขยายสู่ผู้คนหลายชาติ ศาสนา

    เมื่อ 100 ปีก่อน ด.ช.เงื่อม พานิช กำเนิดขึ้นที่ร้านชำในตลาดพุมเรียง จ.สุราษฎร์ธานี นายเซี้ยง และนางเคลื่อน พานิช บิดามารดามีส่วนสำคัญในการบ่มเพาะแนวทางการใช้ชีวิต และสมัยนั้นมักมีภิกษุผู้ทรงความรู้มาคุยธรรมะที่บ้านเสมอ จึงทำให้ด.ช.เงื่อมซึมซับเรื่องศาสนาเรื่อยมา

    เมื่อเด็กได้รับการฝากตัวเป็นเด็กวัดวัดพุมเรียงเพื่อศึกษาแบบเบื้องต้น ก่อนเข้าเรียนประถมที่โรงเรียนโพธาราม เมื่อจบม.3 ออกมาช่วยมารดาค้าขายเพราะบิดาถึงแก่กรรม

    ลุงพจน์ ยังพลขันธ์ ผู้เคยบวชเรียนที่สวนโมกขพลารามสมัยท่านพุทธทาสยังอยู่ เล่าว่า ตามหลักฐานบันทึกของอาจารย์ในสมุดพก แสดงให้เห็นว่าท่านเป็นเด็กเรียนดีและประพฤติดี ช่วงที่ออกมาช่วยแม่ก็เป็นช่วงที่ได้เรียนรู้หลักการใช้ชีวิตหลายอย่าง จนอายุ 20 ปีจึงบวชที่วัดอุบล และจำพรรษาที่วัดพุมเรียง จากนั้นเข้ามาศึกษาธรรมที่กรุงเทพฯ จนจบเปรียญธรรม 3 แล้วกลับไชยามาค้นคว้าเรียนรู้หลักธรรมด้วยตนเองที่วัดร้างตระพังจิก ที่ตั้งของสวนโมกขพลารามแห่งแรก



    ปัจจุบันสภาพของสวนโมกข์เก่ายังคงทิ้งความร่มรื่นของเงาไม้ไว้ให้เห็นภาพของอดีต เหมือนที่ลุงพจน์เล่าว่า สมัยนั้นเป็นป่ารกทึบกว่านี้ เต็มไปด้วยสัตว์ดุร้าย เช่น งู เสือ ช่วงแรกๆ ท่านยังเคยบันทึกเรื่องราวของความกลัวและความเงียบไว้ โดยมีเพียงตะเกียงและกองหนังสือ แต่ภายหลังปรับตัวได้สามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับสัตว์เหล่านั้นได้อย่างธรรมชาติเสมือนเพื่อนเกลอ
    <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=1><TBODY><TR bgColor=#ffe9ff><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ที่นี่จึงถือเป็นมหาวิทยาลัยชีวิตของท่านก็ว่าได้ เพราะเป็นที่ใช้เวลาคร่ำเคร่งอย่างหนักในการศึกษาและปฏิบัติธรรม ช่วงนี้เองที่ท่านเริ่มเขียนหนังสือ "ตามรอยพระหรหันต์"

    ภายหลังมีบุคคลสำคัญมาให้กำลังใจถึงสวนโมกข์ อย่างท่านปัญญานันทภิกขุ พระราชญาณกวี ทั้งสามจึงสัญญาเป็นพี่น้องร่วมกันเผยแผ่ธรรม และท่านก็ประกาศตนเป็นทาสพระพุทธศาสนา แม้แต่พระพุทธโฆษาจารย์ วัดเทพศิรินทราวาส ก็มาให้กำลังใจ

    จากที่ผู้คนพากันเข้าใจว่าท่านเป็นพระที่เสียสติก็ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าไม่ใช่เช่นนั้น ประกอบกับท่านธรรมทาส น้องชาย จัดทำหนังสือพิมพ์รายตรีมาส เพื่อเผยแผ่ธรรมะร่วมด้วย คนจึงรู้จักสวนโมกข์แห่งนี้อย่างแพร่หลายมากขึ้น

    เมื่อมีผู้แวะเวียนมาปฏิบัติธรรมมากเข้าก็ถึงจุดที่ต้องขยับขยาย ท่านตั้งสวนโมกขพลารามแห่งใหม่ขึ้นที่วัดธารน้ำไหล ซึ่งขณะนั้นก็ยังเป็นป่ารกทึบมาก

    ท่านเน้นการใช้ชีวิตเรียบง่ายใกล้ชิดกับธรรมชาติมากที่สุด ท่านกล่าวเสมอว่า พื้นดินเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เพราะพระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานกลางดิน

    อย่างไรก็ตามที่สวนโมกข์แห่งนี้ก็ยังสามารถให้แง่คิดด้านธรรมะแก่คนได้เหมาะกับทุกยุคสมัย เพราะสิ่งที่สร้างขึ้นแต่ละอย่างล้วนเป็นปริศนาธรรมให้คนที่มาได้ขบคิด <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=2><TBODY><TR bgColor=#ffffe8><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    "ตอนแรกมันหวังอยู่กระต็อบเล็กๆ มันไม่มีภาพตึกอะไรแบบนี้ แต่เหตุการณ์บังคับให้ต้องทำ ปรารถนาประโยชน์ของประชาชน" ท่านพุทธทาสเคยบอกไว้

    อย่างโรงหนัง หรือ"โรงมหรสพทางวิญญาณ" ที่รวบรวมภาพจิตรกรรมฝาผนังที่เป็นปริศนาธรรมของนานาชาติไว้มากมาย

    "สระนาฬิเกร์" ที่ขุดเป็นสระน้ำ มีเกาะตรงกลางปลูกต้นมะพร้าวไว้ 1 ต้น ก็เป็นสื่อสอนธรรมะถึงการข้ามพ้นวัฏสงสาร

    "ศาลานางงาม" ที่มีโครงกระดูก 3 โครง เพื่อให้ผู้พบเห็นได้เจริญมรณานุสติติพิจารณาถึง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือสภาพที่ไม่เที่ยง

    "ลานพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร" ที่มีใบหน้าแสดงออกถึง สุทธิ ปัญญา เมตตา ขันตี

    "ธรรมนาวา" สร้างเป็นรูปเรือสัญลักษณ์ที่จะพาสัตว์ข้ามห้วงแห่งทุกข์ แม้แต่ยอดเขาพุทธทองที่เป็นโบสถ์แบบธรรมชาติของวัดก็สื่อให้เห็นความเรียบง่ายแบบสมัยพุทธกาลมากที่สุด

    ลุงพจน์ เล่าด้วยว่า ตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ท่านได้ทำไว้ดังปณิธานที่ตั้งไว้ ไม่เพียงชาวพุทธเท่านั้นที่มักจะมาสนทนาธรรมกับท่าน แม้แต่ชาวต่างชาติ ต่างศาสนา ทั้งคริสต์ อิสลาม ก็เคยมาสนทนาธรรมกับท่านอยู่บ่อยๆ

    ลุงเมตตา พานิช หลานชายท่านพุทธทาส เพิ่มเติมว่า แม้ปัจจุบันก็ยังมีชาวต่างชาติมาปฏิบัติธรรมจำนวนมาก ในช่วงบั้นปลายชีวิตท่านเห็นว่าโลกกำลังวิกฤติ จึงประกาศปณิธาน 3 ข้อนั้นขึ้น และตั้งสวนโมกข์นานาชาติขึ้นอีกแห่ง ส่งเสริมให้คนได้ปฏิบัติจริง ได้เห็นแก่นแท้ของคำสอน

    ท่านมองว่าถ้าทำให้ศาสนิกชนเข้าใจในศาสนาของตัวเองได้ก็จะเป็นบันไดขั้นแรกให้เกิดสันติภาพในโลก



    โครงการอีกอย่างที่น่าสนใจตอนนี้คือ สถานที่ฝึกธรรมของสตรี จากคติที่ว่า "ศีลธรรมของยุวชนคือสันติภาพของโลก" นั้นเอง

    ถือว่าแม่เป็นคนสำคัญที่มีส่วนสอนคุณธรรมแก่ลูก แม่ในที่นี้หมายถึงผู้หญิงทุกคน ท่านเคยบันทึกไว้ว่าตอนมีชีวิตอยู่ท่านมีโอกาสได้ทดแทนบุญคุณแม่น้อย ตอนนั้นยังรู้ธรรมะแบบงูๆ ปลาๆ แต่เมื่อรู้ธรรมะมากขึ้น แม่ก็จากไปเสียก่อน จึงอยากทดแทนบุญคุณแม่โดยการสอนธรรมให้แก่เพศแม่

    แม้ตัวท่านจะจากไปแต่ได้ทิ้งคำสอนไว้มากมาย ไม่ว่าผ่านตัวอักษร เทปบันทึกการเทศน์ ปริศนาธรรมในสวนโมกข์ และอีกมากมายที่ล้วนแสดงให้เห็นว่าความจริงแล้ว "พุทธทาสจักไม่มีตาย"



    นคราวครบ 100 ปีชาตกาลของท่าน จึงเกิด "โครงการตามรอยเมธี 100 ปีพุทธทาส" ขึ้น เพื่อให้คนรุ่นใหม่มีแรงบันดาลใจสนใจธรรมมากขึ้น โดยการร่วมตามรอยชีวิตในอดีตรวมทั้งปณิธานแห่งธรรมของท่านผ่านสถานที่ตั้งแต่เกิด เรียน บวช จนวาระสุดท้ายของชีวิต

    สิ่งสำคัญที่สุดในการเดินตามรอยครั้งนี้ก็คือการเดินตามคำสอนและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง

    ผู้ที่สนใจเข้าร่วมตามรอยเมธี 100 ปีพุทธทาส สอบถามเพิ่มเติมได้ที่สำนักพิมพ์สุขภาพใจ 0-2415-2621, 0-2415-6507
     

แชร์หน้านี้

Loading...