ตามรอยพระพุทธะ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 29 กันยายน 2008.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%"><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>ตามรอยพระพุทธะ ตอนที่ 2 (ภาค 1 ภาคโลกียชน)</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>19 พฤศจิกายน 2544 13:32 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%"><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=166><TBODY><TR><TD vAlign=top width=166 align=middle>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ตามรอยพระพุทธะ</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD height=5 vAlign=top align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>เกริ่นนำ

    วิถึชีวิตของคนเราย่อมมีแนวทางที่แตกต่างกัน แต่ใครบ้างจะมีแนวทางแห่งชีวิตที่เดินได้อย่างถูกต้อง ตรงแนว แห่งแนวทางที่ควรจะเป็นของแต่ละบุคคล ซึ่งแนวทางแห่งชีวิตที่ถูกต้อง ตรงแนว บริสุทธิ์ สมบูรณ์ได้นั้น ก็ต้องอาศัยสิ่งที่คอยกำกับ ควบคุม ดูแลให้คนเรามีชีวิตที่ถูกต้องนั่นก็คือ ธรรมะ ความหมายแห่งธรรมะ หรือพระธรรมนั้น ฟังดูอาจจะนึกถึง คัมภีร์ อักษร ภาษาทางศาสนาที่ได้ถูกบันทึกเอาไว้ แล้วเป็นเรื่องที่ศึกษาได้เฉพาะในกลุ่มของนักบวช แต่สิ่งที่อยู่รอบกายเราที่มิอาจบรรยายได้นั้น เป็นรสชาติแห่งความสงบ สุข สันติ อันเกิดจากการขัดเกลา กล่อมเกลา ของหลักธรรมะนั้น นับได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ได้จากพระธรรม

    การศึกษาธรรมะ ในอดีตอาจจะศึกษาจากผู้รู้ ซึ่งได้แก่ พระ นักบวช ปราชญ์ อาจารย์ต่างๆ ซึ่งนับเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะคนโบราณจะให้ความเคารพนับถือผู้ที่เป็นครูบาอาจารย์มาก เพราะท่านเหล่านั้น เป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชา ให้ทั้งความรู้ ทำทุกอย่างให้แก่ศิษย์ เป็นผู้ที่มีคุณธรรม เป็นผู้ที่ฉลาด มีจิตใจเต็มเปี่ยมไปด้วยความเมตตา เอื้ออาทร ห่วงใย

    ดังนั้น ความหมายของคำว่าครู หรือศัพท์ทางนิกายมหายานเรียกกันว่า "คุรุ" นั้น จึงมีความสำคัญอย่างมากในกระบวนการของการพัฒนาตัวเอง จากผู้ที่ยังหลับใหล โง่ หลง งมงาย ในกิเลสมารต่างๆ ให้กลับเป็นผู้ที่ฉลาด รู้ ตื่น มีจิตใจกล้าแข็ง เข้มแข็ง มีจิตเมตตาพร้อมที่ช่วยเหลือสรรพสัตว์

    ด้วยเหตุนี้ ผมจึงคิดว่าการที่เราได้เกิดมาชาตินี้ ได้มีโอกาสเกิดมาเป็นมนุษย์แล้วนั้น มันจึงไม่ใช่เป็นเรื่องที่ง่ายนัก กับการที่ผมซึ่งอยู่ต่างที่ต่างถิ่น แล้วจะได้มีโอกาสมาสัมผัส ซึมซาบธรรมะจากครูผู้ใจอารี หรือคุรุผู้ศักดิ์สิทธิ์ ผู้นำทางวิญญาณที่ยิ่งใหญ่ในยุคนี้ ยุคแห่งความมืดบอดทางจิตวิญญาณ คุรุผู้ศักดิ์สิทธิ์ที่บรรรดาลูกศิษย์เรียกท่านว่า "หลวงปู่" ท่านเป็นคุรุที่ยิ่งใหญ่ที่ช่วยนำพา พัฒนาจิตวิญญาณของผมให้ไปสู่ความหมายของชีวิตที่สมบูรณ์ มีเอกภาพในตัวเอง สามารถที่จะคงชีวิตในเอกภพได้อย่างเป็นอิสระ เป็นผู้มีเสรีภาพ เหล่านี้จึงเป็นที่มาแห่งความเปลี่ยนแปลงในชีวิต จิตวิญญาณ และเกิดข้อเขียนประสบการณ์ทางวิญญาณของผม ที่เรียกว่า ตามรอยพระพุทธะ (อิสระ)


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>ปฐมบท

    ช่วงชีวิตที่ผ่านมาจนโตเป็นหนุ่มนั้น ผมได้เสาะแสวงหาความหมายแห่งชีวิต หาสิ่งที่สำคัญของชีวิต ชีวิตเหมือนดั่งข้าวกล้าที่รอคอยน้ำฝน ชะโลมให้ความชุ่มเย็น เจริญงอกงาม เติบโตต่อไป เป็นการรอคอยหาผู้ที่จะชี้แสงสว่างแห่งชีวิต การก้าวเข้ามาสู่แนวทางแห่งพระพุทธะ นั้นเริ่มจากการที่ผมได้มีโอกาสศึกษาหลักวิชาปรัชญาทางตะวันออก เพื่อการพัฒนาตัวเอง โดยเฉพาะวิชามวยภายใน ประเภทมวยไท้เก็ก มวยสิ่งอี้ มวยฝ่ามือแปดทิศ มวยโป๊ยเก๊ก รวมทั้งศึกษาหลักการฝึกพลังปราณทางสายโยคะต่างๆ และทางฝึกปราณ หรือ ชี่ ของทางสายจีน

    จนกระทั่งวันหนึ่ง ผมได้ทราบเรื่องราวเกี่ยวกับพระองค์หนึ่ง ซึ่งมีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจแปลกพิสดารมาก ซึ่งแต่เดิมนั้นผมไม่ค่อยสนใจจะไปหาพระเท่าไร จะมีพระที่ผมนับถือไม่มาก อย่างเช่น หลวงพ่อเกษม เขมโก ที่บ้านผมที่ลำปางเท่านั้น เพราะว่าท่านเป็นพระปฏิบัติจริง ปฏิบัติชอบ

    แล้วผมก็ได้มีโอกาสมาฟังธรรมจากพระองค์นั้น ณ สถานที่แห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ที่ได้นิมนต์ท่านมาแสดงปาฐกถาธรรม และมีการพบปะกันระหว่างคนใน "ชมรมธรรมะอิสระ" ซึ่งผมไม่รู้จักใครเลยในตอนนั้น รู้แต่เพียงว่าจะมาฟังธรรม ความรู้สึกภายในมันเรียกร้องว่า ต้องมาหาสิ่งที่สำคัญในชีวิตให้ได้ เมื่อมานั่งรอในห้อง สักครู่ก็มีพระหนุ่ม ๒ องค์เดินเข้ามา (หลวงปู่กับหลวงพี่มาลัย) พระที่ดูทางจริงจัง ตาดุ บุคลิกน่าเลื่อมใส สง่างาม องอาจ สมกับเป็นชายชาติอาชาไนย มีรัศมี รังสีแห่งผู้ทรงธรรม ผู้มีเมตตาอันเต็มเปี่ยม ขึ้นไปบนธรรมาสน์ แล้วก็เริ่มการแสดงธรรม ซึ่งข้อธรรมะที่ผมฟังแล้วประทับใจมีมากมาย และยังมีอรรถธรรมที่ฟังแล้วรู้สึกโดนใจ ชวนให้ขบคิด ไม่เคยได้ยินพระ หรือนักปราชญ์ที่ไหนพูดเรื่องเหล่านี้ ซึ่งพอสรุปข้อธรรมที่ผมจำฝังใจ หรือข้อธรรมสะกิดใจต่างๆ ที่ฟังจากพระหนุ่มองค์นั้น คือ

    (๑) คุรุ

    "คุรุ" คำนี้ผุดขึ้นในใจครั้งแรก จากการที่ฟังธรรมจากพระที่ใครๆ ก็เรียกท่านว่า "หลวงปู่" ท่านบอกว่า วิถีทางหนึ่งของ คุรุ หรือของครูผู้อารีที่มีต่อศิษย์ ซึ่งคุรุองค์นั้นๆ หรือครูท่านนั้นๆ ก็อาจจะมีความถนัด จัดเจน ในวิธีการนำพาชีวิตเข้าไปสู่เป้าหมายได้ต่างกัน สำหรับ "หลวงปู่" ที่คนทั้งหลายเรียกว่าครู มีความถนัด จัดเจนในวิถีทางที่จะนำไปสู่เป้าหมายด้วยวิธีการ ก็คือ "เป็นที่พึ่งของตัวเองได้ ทำตนให้คนอื่นพึ่งได้" นี่คือวิถีทางที่ท่านทำ หรือรวมแล้วก็คือ ท่านมาสั่งสอน มาชี้นำ มาทำให้ดู มาเป็นครูให้เห็น และเพื่อจะนำพา "จิตวิญญาณ" ของพวกเรา ไปสู่เป้าหมายของการพัฒนาสูงสุด เพื่อเอากายของพวกเรา เข้าไปสู่ศักยภาพสมบูรณ์ของตัวมันเอง ที่มีคุณสมบัติเพียบพร้อมสมบูรณ์แบบ และคงไว้ซึ่งสมดุลของตัวเอง

    พระหนุ่มองค์นั้น ยังบอกอีกว่า ความจริงมันไม่จำเป็นต้องเติมแต้ม สี เสียง แสง ให้ดูเสนาะ คนที่พูดความจริงไม่จำเป็นต้องเป็นคนพูดเพราะ คนพูดเพราะอาจพูดไม่จริงก็ได้ คนที่พูดจริงจะทำให้เรามีจิตวิญญาณอันสว่าง กระจ่างชัด โปร่ง โล่ง ผ่อนคลายทั้งกายและใจได้ คนพูดความจริงจะนำวิถีชีวิตเข้าไปสู่เป้าหมายที่กระจ่างชัด ไม่จำเป็นต้องมีคำเสนาะเพราะหู พระหนุ่มองค์นั้นก็ใช้สรรพนามแทนตัวเองว่า "กู" และท่านเขียน บทโศลกสอนลูกศิษย์ไว้ว่า

    "ลูกรัก... สัจจะและความจริงใจคือเครื่องเสริมสร้างบุคคลิกภาพและความสำเร็จ"

    (๒) สามศักดิ์สิทธิ์

    พระหนุ่มองค์นั้นยังได้พูดถึง "หัวใจสำคัญของวิชาลมเจ็ดฐาน" ซึ่งเป็นวิชาสูงสุดของ " พระโพธิสัตว์" ทั้งหลาย นั่นคือ กายศักดิ์สิทธิ์ ธรรมะศักดิ์สิทธิ์ และจิตศักดิ์สิทธิ์

    ซึ่งผมยังไม่เข้าใจหรอกว่า วิชาลมเจ็ดฐานนั้นคืออะไร? เหมือนกับการฝึกลมปราณ หรือ จักระทั้ง ๗ แบบโยคะหรือเปล่า แต่สิ่งที่ท่านอธิบายในความหมายของคำเหล่านี้ก็คือ คนที่สามารถจะกราบตัวเองได้ด้วยการกระทำ ด้วยคำที่พูด และด้วยสูตรที่คิด นี่เป็นความหมายของ "กายศักดิ์สิทธิ์" เมื่อถึงกายศักดิ์สิทธิ์แล้ว จะรู้เองว่า "ธรรมะศักดิ์สิทธิ์" คืออะไร ธรรมะมีอยู่ทุกที่ หากกายไม่ศักดิ์สิทธิ์ก็จะไม่เห็นธรรมะในทุกที่แม้แต่ในพระไตรปิฎก เมื่อเราเห็นธรรมะศักดิ์สิทธิ์ในทุกที่ "จิตศักดิ์สิทธิ์" ก็จะอุบัติขึ้นเอง

    (๓) ครูผู้หลับใหล(ในตัวเรา)

    ความหมายคำนี้ เป็นความหมายที่ยิ่งใหญ่ที่ผมฟังแล้ว รู้สึกว่าเป็นการปลุกให้ตัวเองมีพลังที่จะพัฒนาตัวเอง พระหนุ่มองค์นั้นได้พูดไว้ว่า การที่ท่านมีวันนี้ได้ กล้าจะพูดได้ว่าชั่วชีวิตไม่เคยมีครูสอน สิ่งที่สอนพวกเราทุกคนในวันนี้ไม่ใช่ได้มาจากครูคนใด ไม่ใช่เรียนรู้มาจากตำราเล่มใด แต่เป็นความรู้ที่ปลุกเอามาจากครูที่วิเศษภายในให้ตื่นขึ้นมาสอนตัวเอง ความหมายของการปลุกครูผู้หลับใหล (ในตัวเรา) ให้ตื่นขึ้นมาได้ ต้องนำพาพฤติกรรมของเราโดยเฉพาะกาย ให้เรากราบตัวเองได้อย่างสนิทใจคือทำ "กายให้ศักดิ์สิทธิ์"

    (๔) ธรรมอิสระ

    คำว่า "ธรรมอิสระ" คำนี้หากใครได้ยินครั้งแรกก็คงคิดว่า เอาอีกแล้วจะมาตั้งลัทธิใหม่อีกแล้ว แต่ภายหลังจากการที่ฟังพระหนุ่มองค์นั้นพูด ถึงเข้าใจว่า ไม่ใช่ประกาศความอิสระโดยไม่ขึ้นตรงต่อกฎหมายบ้านเมือง วิธีการปกครองของใคร หรือรัฐใดๆ แต่หมายถึง การปลดปล่อยตัวเองออกจากความเป็นทาส ของตาเห็นรูป หูได้เสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นรับรส กายถูกต้องสัมผัส ที่จะฉุดกระชากให้เราต้องตกไปตามกระบวนการนั้นๆ เป็นความอาจหาญ ยิ่งใหญ่ มีเสรีภาพ คนที่เข้าถึงธรรมะมีอิสระทุกที่ที่ไป และสุดท้ายท่านยังบอกว่า ชมรมธรรมอิสระที่ตั้งขึ้นมาเพื่อเป้าหมายของชีวิตสูงสุด กิจกรรมต่างๆ เช่น การบวชป่า อนุรักษ์ป่า บวชพระ บวชเณรฯ (ผมยังไม่รู้หรอกว่ามีกิจกรรมอะไรบ้างตอนนั้น) ไม่ใช่หัวข้อสำคัญ หัวใจสำคัญของการตั้งชมรมธรรมอิสระ ก็คือ เพื่อให้คนได้รับการพัฒนาทาง "จิตวิญญาณ"


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>"หลวงปู่" คือใคร

    ภายหลังจากที่ผมได้รับฟังธรรมะจากพระหนุ่มองค์นั้นแล้ว (องค์หลวงปู่) รู้สึกซาบซึ้ง มีความสุข ประทับใจเป็นอย่างมาก พร้อมทั้งมีความรู้สึกบางอย่างเกิดขึ้น เกิดความศรัทธา ความรัก เคารพ อย่างบอกไม่ถูก เพราะการที่ในช่วงชีวิตของคนเราจะพบเจอกับบุคคลที่สำคัญ มีความหมาย เป็นบุคคลที่เรารัก เคารพ ผูกพันด้วย คงไม่ได้มีมากนัก

    เมื่อประมาณต้นปี ๒๕๔๑ ผมและเพื่อนๆ ได้เดินทางไปเสาะแสวงหาธรรม ฝึกสติ ในป่าลึก จ.แม่ฮ่องสอน และได้ยินเพื่อนเล่าให้ฟังว่า หลวงปู่หนุ่มองค์นั้นก็คือ "หลวงปู่เทพโลกอุดร" ที่มาบำเพ็ญบารมีช่วยเหลือสรรพสัตว์

    แต่ผมก็ไม่รู้จักว่า หลวงปู่เทพโลกอุดร คือใคร? เป็นพระสุปฎิปันโนเหมือนกับ หลวงปู่มั่น หรือหลวงปู่แหวน ไหมหนอ ซึ่งจากการค้นคว้า ทำให้ผมทราบว่า ความเกี่ยวข้องของ "หลวงปู่เทพโลกอุดร" กับคณะ "พระธรรมทูต" ที่เข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสุวรรณภูมิ ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕ หลัง พุทธกาล โดยมีพระเถระต่างๆ ดังนี้คือ พระโสณะ พระอุตตระ พระฌานียะ พระภูริยะ พระมูนียะ ซึ่งได้เดินทางเข้ามาเผยแผ่ทางรามัญประเทศ ไปจรดเมืองญวน จากพม่าไปจรดแหลมมลายู โดยได้สร้างสถูปแห่งแรกบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ที่เรียกว่า "พระปฐมเจดีย์" ที่จังหวัดนครปฐม

    มีการกล่าวกันว่า พระอุตตระเถระ ท่านเป็นปฐมกำเนิด พระเทพโลกอุดร ท่านเป็น "พระโพธิสัตว์" ผู้มีญาณเยี่ยงพระอรหันต์ ได้รับพุทธพยากรณ์มีความเที่ยงแท้ในการตรัสรู้เป็นพุทธเจ้าในอนาคต สำเร็จอภิญญาชั้นสูง และปฏิสัมภิทาญาณ มีปฏิภาณโวหาร ทั้งอิทธิฤทธิ์ล้ำเลิศ เป็นผู้พิทักษ์รักษาค้ำจุนพระศาสนาในอยู่รอดปลอดภัย จนกว่าจะสิ้นพุทธันดรครบ ๕,๐๐๐ พรรษา

    ซึ่งท่านได้แบ่งภาคมาจุติ เพื่อโปรดสัตว์คือ "พระอุทุมพรมหาสวามี" เป็นพระสังฆราชแห่งลังกา "พระบรมครูแห่งศรีสัชนาลัย" ในสมัยพระเจ้าลิไท แห่งกรุงสุโขทัย ต่อมาท่านกลับชาติมาเกิดเป็น "พระครูเทพผู้วิเศษ" ในสมัยอยุธยา ราวปี พ.ศ. ๒๑๒๗ ท่านเป็นเจ้าตำรับการสร้างพระโพธิ์ห้ามสมุทรและไม้โพธิ์ ต่อมาท่านได้มาปรากฏในสมัยต้นกรุงรัตนโกสิทนทร์ โดยเกี่ยวข้องกับสมเด็จวังหน้า หรือสมเด็จพระบวรราชเจ้ากรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ซึ่งได้มีการพบกรุพระเครื่อง พระบูชาจำนวนมากที่วัดบวรสถานสุทธาวาส กรุงเทพฯ และในบรรดาพระบูชานั้นที่ฐานพระด้านหน้าขององค์ "พระสังกัจจายนะ" มีการสลักชื่อพระผู้สร้างไว้ว่า "พระเทพโลกอุดร" และก็ยังมีการพบพระบูชารูปเหมือนพระครูเทพโลกอุดร ขนาดหน้าตัก ๕.๕ นิ้ว อีกด้วย

    ถ้าจะถามว่าหลวงปู่เทพโลกอุดรคือใคร ผมก็ยังหาคำตอบที่สมบูรณ์ไม่ได้ แต่ก็มีคำสอนของท่านให้แง่คิดว่า อดีตเป็นเรื่องที่ผ่านพ้นไปแล้ว ไม่ต้องนำมาคิด อนาคตเป็นเรื่องที่ยังมาไม่ถึง ไม่ควรไปสนใจให้เสียเวลา ปัจจุบันเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ให้เร่งศึกษาปฏิบัติ อย่าถามถึงชื่อของท่าน ท่านจะไม่ตอบ อย่ามัวมาเสียเวลากับชื่อ ให้เร่งปฏิบัติ เวลาของชีวิตนี้มีน้อย อย่าเสียเวลากับสิ่ง ที่ไม่ปฏิบัติอยู่เลย ชื่อที่เราๆ เรียกท่านอยู่ทุกวันนี้ เป็นชื่อสมมติที่ สมเด็จฯวังหน้า เป็นผู้เรียกท่าน เพราะคำว่า "เทพโลกอุดร" ก็หมายถึง ผู้อยู่เหนือโลก เป็นเหมือนเทพผู้อยู่เหนือโลก ไปไหนมาไหนเหมือนเทพ มีอายุที่ยืนนานและนอกเหนืออำนาจแห่งพญามัจจุราช

    แต่ก็มีบางท่านบอกว่า พระครูเทพโลกอุดร คือพระมหาโพธิ์ศรีอุดม ซึ่งชื่อนี้พระมหากัสสปะเป็นผู้ตั้งให้ บิดาท่านเป็นชาวเนปาล มารดาท่านเป็นชาว "ธิเบต"

    ส่วนพระเถระองค์อื่นก็มีการกล่าวกันว่ามาบำเพ็ญบารมีต่อ โดยมีข้อสังเกตดังนี้คือ (อย่าเพิ่งเชื่อ โปรดใช้วิจารณญาณ)

    พระฌานียะเถรเจ้า หรือหลวงปู่เดินหน หรือปู่ขรัวโพรงโพธิ์ มีบุคลิกงาม ท่านเชี่ยวชาญในวิชาแปรธาตุ เป็นผู้คงแก่เรียน เจริญในอสุภกรรมฐาน ภาพถ่ายของท่านจะเป็นรูปโครงกระดูก นิสัยเงียบขรึม พูดน้อย ชอบประทับในโพรงโพธิ์
    พระภูริยะเถรเจ้า หรือหลวงปู่ขรัวขี้เถ้า รูปร่างค่อนข้างขี้เหร่ ผิวสองสี ร่างใหญ่ เคยมาสร้างบารมีเพิ่มเติมในรูปของ หลวงพ่อกบ วัดเขาสาริกา บ้านหมี่ จ.ลพบุรี เชี่ยวชาญในวิชาแปรธาตุ มีอะไรเผาให้เป็นขี้เถ้าหมดอันเป็นปริศนาธรรมว่า แม้คนเราจะสูงศักดิ์อัครฐานมากเพียงใด ที่สุดก็ไม่พ้นไปจากขึ้เถ้า หาอะไรติดตัวไปไม่ได้เว้น แต่กรรมดี ชั่ว
    พระมูนิยะเถรเจ้า หรือหลวงปู่ขรัวหน้าปาน ท่านมาสร้างบารมีเพิ่มในรูปของ หลวงพ่อโอภาสี อาศรมบางมด มีนิสัยสมถะ ท่านสำเร็จทางปรอท
    พระอุตตระเถรเจ้า หรือ หลวงปู่พระครูเทพโลกอุดร ลักษณะรูปร่างสันทัด ผิวค่อนข้างดำคล้ำ มีจิตเยี่ยง "พระโพธิสัตว์"สำเร็จอภิญญาสมาบัติ แลปฎิสัมภิทาญาณ การสอนวิชาของท่านเรียกว่า วิทยาศาสตร์ทางใจ เชี่ยวชาญในการแพทย์ เชี่ยวชาญในวิชาแปรธาตุ และสามารถให้ถาวรได้ ท่านมีสภาวะจิตที่เร็วมาก และแผ่พลังออกมาด้วยความเมตตาปรานี ใบหน้ามีรอยยิ้มระรื่น เป็นผู้ที่มี อารมณ์ขัน

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 width=350 background=../pics/banner350.gif align=center height=70><TBODY><TR><TD>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    <TABLE border=0 cellPadding=5 width=290 bgColor=#ffffff align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top><TABLE border=0 cellSpacing=1 width=280 bgColor=#dddddd align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff vAlign=top><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#cccccc align=center height=22><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff vAlign=center background=../pics/_top3.gif>
    บทเพลงแผ่เมตตา
    </TD></TR></TBODY></TABLE><EMBED language=-1 height=69 type=audio/x-ms-wma width=280 src=http://www.dhammathai.org/radio/sound/Illimitable.wma bgcolor="CCCCCC" autoplay="true" cache="true" enablejavascript="true" controller="true" filename="" showcontrols="true" showstatusbar="true" rate="1" balance="0" currentposition="0" playcount="1" currentmarker="0" invokeurls="true" volume="0" mute="0" enabled="true" enablecontextmenu="0" audiostream="true" autosize="0" animationatstart="true" allowscan="true" allowchangedisplaysize="true" autorewind="1" baseurl="" bufferingtime="5" clicktoplay="false" cursortype="0" displaybackcolor="50" displayforecolor="16777215" displaymode="0" displaysize="4" enablepositioncontrols="-1" enablefullscreencontrols="0" enabletracker="-1" selectionstart="-1" selectionend="-1" sendopenstatechangeevents="-1" sendwarningevents="-1" senderrorevents="-1" sendplaystatechangeevents="-1" showaudiocontrols="-1" showpositioncontrols="-1" showtracker="-1" autostart="true" border="0"> </EMBED></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กันยายน 2008
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>ยังมีเรื่องราวของหลวงปู่เทพโลกอุดร (จากการค้นคว้าหาอ่านตามหนังสือ) ซึ่งได้มีการบรรยายลักษณะนิสัยของท่าน ตามที่เล่าไว้โดยครูบาลุ่ม ท่านเล่าว่าสมัยที่ท่านเป็นเณร หลวงพ่อกิมเม้ง อาจารย์ของท่านจะละร่างจึงนำท่านไปฝากไว้กับอาจารย์ของอาจารย์ท่าน ซึ่งก็คือ หลวงปู่เทพโลกอุดร หรือที่รู้จักสั้นๆ ว่า "หลวงปู่ใหญ่" นั่นเอง ถ้อยคำของพระครูบาลุ่มนั้นได้พูดถึงหลวงปู่ใหญ่ไว้ว่า ครั้งแรกสุดที่พบไม่ชอบเอาเสียเลย เพราะพูดจาไม่เพราะ ดุดัน แต่ก็มีเมตตาอย่างสูง บางครั้งจะพูดแทนตัวเองว่า พ่อ เรียกคนที่มาหาว่า ลูก มีนิสัยที่ขี้เล่นสนุกสนาน และที่สำคัญทำงานตลอดเวลาไม่ค่อยอยู่เฉย เห็นว่าการทำงาน คือ การทำสมาธิอย่างหนึ่ง

    เมื่อผมได้ศึกษาเรื่อง หลวงปู่เทพโลกอุดร มาบ้างแล้ว และได้มีโอกาสเดินทางมาวัดอ้อน้อยบ่อยขึ้นกับเพื่อนๆ ครั้งแรกที่มากัน ผมก็นำพวงมาลัยดอกไม้มาถวายเป็นการแสดงความเคารพหลวงปู่ และก็กราบขออนุญาตฝากตัวเป็นศิษย์ แล้วก็มารับฟังธรรมะจากท่านที่ซุ้มดอกไม้ในสวนหย่อม ซึ่งโอวาทที่ท่านพูดไว้เสมอว่า ตราบใดที่เราทำดี ทุกคนเป็นศิษย์หลวงปู่ เป็นศิษย์พระพุทธะผู้ยิ่งใหญ่ เป็นศิษย์พุทธะอิสระ เป็นศิษย์พระครูโลกอุดร เป็นศิษย์หลวงปู่จร และก็เป็นศิษย์พระผี เป็นศิษย์พระที่อยู่ดีๆ ในพระศาสนานี้ทุกองค์ จึงเป็นเครื่องยืนยันได้ว่า หากเราหมั่นที่จะทำดี ไม่ว่าเป็นศิษย์คุรุองค์ใดก็ได้ ย่อมจะนำพาเราไปสู่สิ่งที่ดีได้

    ตอนที่ผมมาวัดช่วงนั้น โบสถ์ยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ เพิ่งจะมีการวางแผนการวาดรูปผนังโบสถ์ด้านบน แต่ก็มีโครงสร้างการก่อสร้างที่เห็นได้ชัดเจนแล้ว ดังนั้นช่วงเวลาที่พอมีโอกาสได้ฟังธรรมจากท่าน จึงเป็นช่วงเวลาที่ท่านฉันเพลเสร็จแล้ว และออกมาพูดคุยด้วย ที่ซุ้มสวนดอกไม้ หน้าหอฉันในปัจจุบัน ซึ่งตอนนั้นผู้คนมาหาหลวงปู่ไม่ค่อยมากเท่าไร เวลาพวกเราสอบถามปัญหาธรรมะจากท่านจึงพอมีเวลาอยู่บ้าง

    เรื่องราวความเชื่อว่า หลวงปู่หนุ่มองค์นี้คือ หลวงปู่เทพโลกอุดรนั้น มีอยู่ในหมู่ศิษย์เป็นอันมาก ซึ่งจะพบได้จากหนังสือ อยู่กับปู่ ที่เขียนโดยลูกศิษย์หลวงปู่คนหนึ่ง และหลายต่อหลายคนที่เคยมาพบหลวงปู่เชื่อว่า เข้าใจว่า จนถึงเชื่ออย่างสนิทใจว่า ท่านคือ หลวงปู่เทพโลกอุดร ซึ่งพี่ๆ ที่อยู่กับหลวงปู่มานานเล่าให้ฟังว่า ท่านเองไม่ได้ยอมรับหรือปฏิเสธในเรื่องนี้ แต่หากมีใครมาถามท่าน หากท่านไม่ด่ากลับไป ท่านก็จะตอบเลี่ยงๆ ไป

    ที่ผมเคยได้รู้มาว่า เคยมีคนเอารูป พระแขก ที่ถ่ายรูปคู่กับหลวงปู่โง่นและครูบาบุญชุ่ม ซึ่งเป็นที่เชื่อกันว่าเป็นรูปแปลงของหลวงปู่เทพโลกอุดร เข้าไปถามหลวงปู่ ว่าเป็นรูปหลวงปู่หรือไม่? ท่านก็ตอบกลับมาว่า "กูจะไปรู้เรอะ มึงถามสองคนนั้นเอาเองสิ" แต่ผมก็ไม่ได้สนใจอะไร ได้แต่รับฟังที่เขาพูดกัน เพราะอย่างไร ก็ไม่มีทางที่เราจะพิสูจน์ได้ ตราบเท่าที่ท่านไม่พูดออกมาเอง ซึ่งแน่นอนว่าท่านไม่พูดเรื่องนี้

    เป็นที่น่าแปลกใจในความตรงกันของหลวงปู่เทพโลกอุดร หรือหลวงปู่ใหญ่ กับบุคลิกของหลวงปู่ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า คงเป็นความตรงกันทางจิตวิญญาณ มากกว่ารูปร่างหน้าตา ครั้งหนึ่งครูบาลุ่ม ท่านเห็นหลวงปู่ใหญ่ ปรากฏร่างออกมาเป็นพระหนุ่มห่มจีวรสีแดง แต่เมื่อท่านมองอีกครั้ง ก็เห็นเป็นหลวงปู่ใหญ่อย่างเดิม เมื่อท่านถามว่า เมื่อตะกี้นั่นใคร หลวงปู่ใหญ่ตอบว่า ไม่เห็นมีใคร มีแต่ท่านนั่งอยู่คนเดียวตั้งนานแล้ว แต่ที่น่าแปลกคือ หลวงปู่ (พุทธะอิสระ) ท่านชอบใช้สีแดง เป็นสีประจำตัวท่านเหมือนกัน

    จริงๆ แล้วหลวงปู่มักจะแสดงหรือพูดอะไร ที่ทำให้เราคิดหรือนำมาปะติดปะต่อเข้ากันได้ เช่น ท่านไม่ยอมอ่านชื่อพระโพธิสัตว์องค์หนึ่ง ในเหรียญเบญจมหาโพธิ ที่ท่านทำขึ้น ท่านบอกว่าอ่านไม่ออก! แต่เมื่อดูที่เหรียญก็ปรากฏว่าชื่อของพระโพธิสัตว์องค์นั้นก็คือ "หลวงปู่เทพอุดรอิสระธรรมมุนีโพธิสัตว์" ซึ่งก็ตีความได้ว่า คือหลวงปู่เทพโลกอุดรนั่นเอง

    ไม่เพียงแต่จะมีคนบอกว่า หลวงปู่ คือ หลวงปู่เทพโลกอุดร เท่านั้น บางคนยังเชื่อว่า ท่านคือหลวงพ่อโอภาสีบ้าง มิราเลปะบ้าง หรือแม้ในช่วงล่าสุด ท่านก็เล่าให้ฟัง ตอนที่อบรมพระ วิปัสสนาจารย์ว่า ตอนที่ท่านธุดงค์ไปแถว จ.นครนายก ลูกศิษย์หลวงพ่อกบ วัดเขาสาริกา ยังคิดว่าหลวงปู่ เป็นหลวงพ่อกบ เพราะก่อนที่หลวงพ่อกบจะมรณภาพได้สั่งลูกศิษย์เอาไว้ว่า ท่านจะมาเกิดอีก โดยมีสัญลักษณ์ บุคลิกอย่างไร

    ซึ่งความเหมือน ความสัมพันธ์ ระหว่างหลวงปู่ กับ หลวงพ่อโอภาสี, หลวงพ่อกบ กับคณะพระธรรมทูต และ หลวงปู่เทพโลกอุดร นี้ ผมคิดว่าคงต้องมีอะไรที่เกี่ยวข้องกันอยู่บ้าง (อย่างเพิ่งเชื่อ เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัว ไม่ขอรับรองว่าเป็นความจริง) ในข้อสังเกตของผมคือ

    ๑. พระที่รู้จักและใช้เครื่องหมาย "สวัสดิกะ" เป็น ในแผ่นดินสยามยุคนี้ ก็มีเพียง หลวงพ่อโอภาสี หลวงพ่อกบ แล้วก็หลวงปู่
    ๒. จากหลักฐานที่กล่าวกันว่า พระธรรมทูต นี้ เป็นพระผู้คอยค้ำชูพระศาสนา มาบำเพ็ญบารมีต่อ คือ หลวงพ่อโอภาสี หลวงพ่อกบ แล้วก็ หลวงปู่เทพโลกอุดร

    ในเรื่องความรู้ของหลวงปู่นั้นมากมายมหาศาล จากการที่ได้มาสัมผัส แล้วสอบถามข้อธรรม และทางโลกนั้น ท่านตอบได้หมดทุกเรื่อง จะว่าท่านศึกษา อ่านมาเยอะก็คงเป็นเหตุผลดูธรรมดาที่ไม่ สมเหตุผลเท่าไร เพราะท่านดูหนุ่ม เรื่องราว ความรู้ที่ท่านพูด บอก เล่า สอนนั้น มันมากมายเกินกว่าที่มนุษย์ ผู้ชายคนหนึ่งจะศึกษามาได้ในชาตินี้ จากช่วงระยะเวลาเพียงไม่กี่ปี ถ้าจะคิดแบบธรรมดาๆ ท่านต้องเป็นอัจฉริยบุคคลที่ยากจะหาใครเหมือน เพราะภูมิความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างคล่องแคล่ว พูดคุยกับผู้คนได้ทุกเรื่องราว ทุกแขนง

    ความเป็นไปได้ที่พวกผมคิดก็คือ อย่างแรก หลวงปู่อ่านใจคนได้ (ซึ่งก็จริงผมได้เห็นท่านทำมาแล้ว) และสามารถดึงนำเอาสรรพความรู้ต่างๆ จากในจักรวาลมาใช้ (มีทฤษฎีที่ศึกษากันทางจิตศาสตร์ ว่าองค์ความรู้ในจักรวาลมันอยู่ทุกแห่ง ตลอดกาลเวลา แล้วแต่ว่าใครจะสามารถเปิดสภาวะแห่งตัว เข้าไปนำความรู้นั้นมาใช้ได้ คล้ายๆ กับโลกของ ไซเบอร์สเปซ (CYBER SPACE) ทาง อินเตอร์เน็ต (INTERNET) ที่มีความรู้มากมายอยู่ที่ว่าเราจะใช้คอมพิวเตอร์ (สภาวะแห่งจิต) เข้าไปหาข้อมูลอันไหน สำคัญอยู่ที่ว่า เราจูน ปรับ สภาวะของเราเพื่อนำสิ่งนั้นมาใช้ได้หรือไม่) อย่างที่สอง ความรู้ที่หลวงปู่บอก สอนเรานั้น หลายอย่างต้องเป็นความรู้เมื่ออดีตชาติของท่าน อย่างแน่นอน เพราะบางอย่างที่ท่านเล่าให้ฟังนั้น ศึกษาค้นคว้าไม่ได้ในปัจจุบัน แต่สิ่งที่พวกเราคิดกันเองนี้ ก็ใช่ว่าจะคิดกันอย่างไร้เหตุผล หากท่านผู้อ่านได้ลองวิเคราะห์ ตั้งข้อสังเกต อย่างนี้บางทีอาจจะหาคำตอบได้

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> น้ำมนต์ชโลมใจ

    เมื่อได้มีโอกาสมาฟังธรรมจากหลวงปู่บ่อยขึ้นในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ทำให้ผมเกิดความรู้สึกศรัทธา เลื่อมใสในองค์หลวงปู่เป็นอันมาก คิดจะทำตัวให้เป็นประโยชน์ ให้ดี ตามแบบอย่างของท่าน ดังนั้นเวลาที่วัดมีงานเช่น บวชเนกขัมมะ ผมจึงมักมาร่วมงาน และช่วยงานเสมอ จนมาถึงงานใหญ่ของวัดคือ งานปิดทองฝังลูกนิมิต ซึ่งกลุ่มของพวกผมก็ได้มาช่วยงานเกี่ยวกับด้านตักบาตรสตางค์

    ในวันสุดท้ายของงาน เมื่องานเสร็จ ก็เก็บข้าวของ ผมเองไปช่วยยกพระพุทธรูป เผอิญวันนั้นกลุ่มของพวกผมมีผู้ชายไม่มาก ประมาณสัก ๖-๗ คน ช่วงแรกๆ ยกพระองค์เล็กๆ ก็ไม่ค่อยเท่าไร พอมายกพระประจำวันเสาร์ คือ พระปางนาคปรก ตอนแรกๆ ก็ค่อยเอนมาทางด้านหลัง ผมกับเพื่อนอีก ๓ คนคิดว่าจะช่วยกันประคองไว้ก่อน แล้วค่อยๆ อุ้มลง ผมจึงเอาตัวเข้าไปอุ้มพระไว้กับเพื่อนอีก โดยคนอื่นช่วยประคอง

    พอเอนพระผ่านจุดศูนย์ถ่วงน้ำหนักมาด้านหลังจากฐานพระที่ยกขึ้นสูงไว้นั้น พอจะเข้าไปรับ องค์พระปางนาคปรกนั้นหล่นลงมาอย่างรวดเร็ว โดยไม่ทันตั้งตัว พวกเราที่ยกพระกันรับน้ำหนักไม่ไหว เพราะหนักมาก เลยปล่อยให้พระหล่นลงมา คนอื่นที่อยู่วงนอก ฉากหลบออกมาทัน แต่ผมกับเพื่อนอีกคนอยู่ด้านล่าง หลบไม่ทัน

    ทุกคนที่เฝ้าดูต่างเห็นว่าพระจะหล่นมาทับตัวผม ซึ่งหล่นมาตรงๆ ตัวพอดี ผมคิดว่า ผมตายแน่แล้วคราวนี้ แต่ไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น เหมือนกับมีอะไรมาดึงผมให้เบี่ยงตัวหลบ หมุนมาด้านข้างนิดหนึ่ง จะว่าสัญชาตญาณของความกลัวตาย หรือความเคยชินจากการฝึกหลบท่ามวยไท้เก๊ก ก็ไม่น่าใช่ เพราะขณะนั้นผม กำลังช็อกอยู่เหมือนกัน แต่เหมือนมันมีแรงอะไรมาดันผมไว้จริงๆ ทำให้ผมรอดตายครั้งนั้น แต่ก็ทำให้ผมเจ็บที่ไหล่ซ้าย เพราะโดนพระครูดที่แขน แล้วมาฟาดที่ข้อมือจนบวมเป็นเดือน

    ในระหว่างที่ทำพระหล่นกันนั้น ก็กลัวว่าจะโดนหลวงปู่ดุ เลยรีบช่วยกันยกพระให้ตั้งขึ้นก่อน แล้วให้พี่ทหารที่ตัวล่ำๆ กว่า ๑๐ คนมาช่วยยกขึ้นรถไป ส่วนผมนั้น เจ็บหนักกกว่าคนอื่น เลือดอาบเต็มแขนไปหมด รู้สึกปวดที่ข้อและที่ไหล่ เพื่อนและพี่ช่วยกันนำน้ำมันหลวงปู่มาทาให้ แต่ไม่ช่วยให้อาการดีขึ้น

    สักพัก หลวงปู่เดินมาจากทางโบสถ์ ถามว่า นั่นใครเป็นอะไร ไหนมาดูหน่อยซิ ผมกับเพื่อนจึงเดินมาหาท่านที่บันได พอดีท่านถือแก้วน้ำอยู่ ท่านเรียกผมกับเพื่อนให้เข้ามาใกล้ๆ แล้วท่านก็อมน้ำแข็งเข้าไป ทำปากขมุบขมิบ เหมือนการท่องบริกรรมคาถา จากนั้นท่านจึงนำน้ำแข็งมาลูบทาแผลที่บริเวณไหล่ผมจนน้ำแข็งละลายหมด สักพักอาการบวมก็ลดลงทันตาเห็น เลือดที่เคยไหล ก็หยุดไหล มันเหมือนมีพลังบางอย่างวิ่งอยู่ที่ไหล่ผมอย่างบอกไม่ถูก รู้สึกสุขใจมากทั้งๆ ที่ตัวเองบาดเจ็บ แต่เกิดความสุข ปีติ ซาบซึ้ง เกิดพลังบางอย่างขึ้นมา เพราะวันนี้ ช่วงเวลานี้ ตั้งแต่กราบเป็นศิษย์ มาฟังธรรม เพิ่งจะมีโอกาสได้อยู่ใกล้ชิดท่าน แบบจิตต่อจิตก็ครั้งนี้เอง มันเหมือนกับพ่อที่คอยยื่นมือให้ลูก เวลาที่ลูกล้ม แล้วบอกว่าลุกขึ้นมาลูก มาต่อสู้ตามแบบพ่อ ตามหนทางในวิถีของพุทธะเถิดลูก (ผมรู้สึกเอาเอง)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ก่อนบวช

    หลังจากงานปิดทองลูกนิมิต ประมาณเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๒ ผมได้ข่าวว่าทางวัดจะจัดให้มีการบวชพระ บวชเณร ภาคฤดูร้อน ตอนแรกผมคิดจะบวชช่วงนี้ เพราะว่าอายุผมก็ เบญจเพศแล้ว และอยากบวชอุทิศบุญกุศลให้พ่อแม่ รวมทั้งอยากหาสาระให้แก่ชีวิตลูกผู้ชายบ้าง แต่ไม่สะดวกเพราะลางานไม่ทัน เลยคิดว่าจะไปบวชช่วงเข้าพรรษาแทน จึงเขียนใบลาอุปสมบท ซึ่งก็ได้รับการอนุมัติจากที่ทำงานเรียบร้อย พอช่วงวันวิสาขบูชาได้ข่าวว่าทางวัดจะจัดให้มีการบวชพระ ๗๓ รูป ในเดือนธันวาคม เพื่ออุทิศเป็นพระราชกุศล ได้ข่าวว่าบวชรุ่นนี้ หลวงปู่จะพาไปธุดงค์ด้วย ผมจึงต้องรีบไปเลื่อน เปลี่ยนวัน ขออนุญาตลาอุปสมบทจากที่ทำงานอีกครั้งหนึ่ง

    จนกระทั่งได้รับการตอบรับจากทางมูลนิธิฯ และทางวัด ว่าคุณสมบัติผ่าน และ ต้องมาทำการฝึกขานนาค ซ้อมขานนาค ซ้อมไหว้ นัดแนะระเบียบ พิธีการต่างๆ อีกมาก รวม ๓ ครั้ง ต้องมาให้ได้ทุกครั้งไม่เช่นนั้นจะถูกคัดชื่อออก ถ้าผ่านแล้วถึงจะได้บวช ผมก็พยายามทำทุกอย่าง เพื่อจะบวชในครั้งนี้ให้ได้

    ดังนั้น ผมต้องรีบเคลียร์เรื่องงาน และเรื่องส่วนตัว ซึ่งกำลังมีงานที่ต้องเร่งทำ และต้องไปอธิบายให้พ่อแม่ที่ต่างจังหวัดได้เข้าใจ เพราะประเพณีทางเหนือบ้านผม เขาจะจัดงานบวชแบบใหญ่โต โชว์หน้าตากันและบวชแค่ ๕ วัน ๑๐ วัน แต่ผมไม่เห็นด้วย เห็นว่ามันสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ และอีกอย่าง หาวัดที่ผมศรัทธาจริงๆ มีน้อย เมื่อผมมีโอกาสเจอคุรุที่ประเสริฐสุดในชาตินี้แล้ว ผมจะไม่ยอมให้เสียโอกาสนี้ไปได้ ผมจึงอธิบายให้ทางบ้านได้รู้ว่าผมกำลังจะทำสิ่งดีๆ ให้แก่ท่านอยู่ ทางบ้านจึงยอมเข้าใจ

    เมื่อเคลียร์ทุกอย่างเสร็จ รวมทั้งซ้อมขานนาคเรียบร้อยแล้ว เมื่อใกล้วันกำหนดบวช คือวันที่ ๔ ธันวาคม ผมได้เดินทางมาอยู่วัด ล่วงหน้าก่อน ๒-๓ วัน กิจกรรมของวัดช่วงนั้นมีมาก เพราะต้องจัดเตรียมสถานที่ต่างๆ ผมจึงไปช่วยเกลี่ยกองหิน ยกของ ขัดพระ รดน้ำต้นไม้ ถางหญ้า แต่งานที่หนักมากคือขนขยะ เศษต้นไม้ เศษหญ้าที่ทับถมอยู่ริมสระ ในเนื้อที่ ๘ ไร่ จนรู้สึกปวดเมื่อยไปหมดในคืนแรกที่ทำงานหนัก กว่าจะชินกับงานหนักก็หลายวัน

    แม้ว่าหลวงปู่จะเป็นใคร ผมก็ยังเคารพ รัก ศรัทธา โดยไม่ได้สนใจว่าท่านจะมาจากไหน เพราะว่าเราไม่มีทางรู้ ไม่มีทางที่จะพิสูจน์ได้ ตราบเท่าที่ท่านไม่พูดออกมาเอง ซึ่งแน่นอนว่าท่านไม่พูดเรื่องนี้ แต่ ณ ปัจจุบันนี้เราได้รับอะไรบ้างจากท่าน เราทำอะไรให้ท่านภูมิใจ เราแก้พฤติกรรม นำเอาธรรมะที่ท่านสอนมาใช้มากน้อยแค่ไหน และเราทำอะไรเพื่อพระศาสนาแล้วหรือยัง ผมจะถามตัวเองอย่างนี้เสมอ และผมก็มีความรู้สึกผูกพัน ศรัทธาใน "หลวงปู่พุทธะอิสระ" องค์นี้มากกว่า

    จบภาคโลกียชน .........
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%"><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>ตามรอยพระพุทธะ ตอนที่ 3 (ภาค 2 ภาคโลกุตระ)</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>19 พฤศจิกายน 2544 13:57 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%"><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=166><TBODY><TR><TD vAlign=top width=166 align=middle>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ตามรอยพระพุทธะ</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD height=5 vAlign=top align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> สู่ร่มกาสาวพัสตร์

    หลังจากที่มาอยู่วัดอ้อน้อยได้ ๓ วัน ในวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒ ได้มีพิธีปลงผม โดยมี หลวงปู่พุทธะอิสระ เป็นผู้ปลงผมให้นาคทั้งหมด ๙๓ คนซึ่งจะบวชที่ศาลาธรรม แล้วจากนั้นพวกเราก็ไปปลงผมต่อกันเอง โดยมีพระพี่เลี้ยงและญาติของแต่ละคน คอยช่วยปลงผมให้อีกที พอถึงตอนเย็นๆ มีพิธีอาบน้ำนาค โดยมีหลวงปู่ เป็นผู้นำอาบน้ำให้นาค และเณรจาก ภปร.ราชวิทยาลัย ที่บวชพร้อมกันอีก ๑๖๐ รูป กว่าจะเสร็จพิธี เล่นเอาหนาวเหมือนกัน เพราะญาติของนาค และลูกหลานหลวงปู่ มากันเยอะ อีกอย่างช่วงนั้นอากาศเริ่มที่จะหนาวแล้ว

    ตกกลางคืน พวกเราไปพักอยู่ที่กลดของแต่ละคน ความที่เป็นนาคเพิ่งปลงผมใหม่ๆ ยังไม่ชินกับการที่ไม่มีผม แล้วต้องมาอยู่กลดมุ้งใส ทีนี้หละ! เวลาจะมุดมุ้งในกลด หรือออกจากกลด หัวจะต้องโดนมุ้งกระชากทุกที และอากาศก็เริ่มเย็นแล้ว ผมพักอยู่ริมทุ่ง ลมโชยดีเหลือเกิน จนรู้สึกหนาว บางครั้งลมแรงดีเกินไป พัดเอามุ้งมาฉุดกระชากหัวเราที่ยังโล้นๆ อยู่ ทำให้ต้องตื่นเป็นระยะๆ\

    พอรุ่งเช้าจึงมีอาการหวัดนิดหน่อย เพราะเมื่อคืนอากาศเย็น บรรยากาศของวันนี้ เป็นเรื่องของพิธีการรับผ้าไตรพระราชทาน และพิธีบายศรีสู่ขวัญ ซึ่งจัดขึ้นในตอนเย็น พิธีการเป็นไปอย่างศักดิ์สิทธิ์ ถูกต้องตามระเบียบแบบแผน แฝงไปด้วยกลิ่นอายของประเพณี วัฒนธรรม มรดก ของบรรพบุรุษเรา ที่ต้องการให้ผู้ที่จะบวช หรือนาค ได้ระลึกรู้ถึงบุญคุณ บิดา มารดา ว่าท่านเลี้ยงดูเรามาด้วยความยากลำบาก วันนี้แล้วหนาพ่อนาคก็จะได้กระทำหนทางหนึ่งในการตอบแทนบุญคุณท่าน ด้วยการมาบวชในพระศาสนา สืบทอดเผ่าพันธุ์แห่งชาวศากยะต่อไป

    อีกทั้งพิธีนี้ยังเป็นการเตรียมการให้นาค ได้มีจิตใจที่พร้อมต่อการเดินเข้าสู่หนทางใหม่ มีสภาวะสถานะใหม่ ชนชั้นใหม่ วิถีอันใหม่ ในทางธรรมที่เรียกว่า "โลกุตระ" (โลกุดร, โลกุตตระ, โลกุตระ- พ้นจากโลก, เหนือโลก, พ้นวิสัยของโลก, ไม่เนื่องในภพทั้งสาม คู่กับ โลกิยะ) เมื่อเสร็จพิธีบายศรีสู่ขวัญแล้ว ก็กลับมาพักผ่อนเตรียมตัวที่จะบวชเป็นภิกษุในวันรุ่งขึ้น

    เช้าวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๒ วันนี้เป็นวันที่ผมรอคอยมานานแล้ว รู้สึกอิ่มเอิบใจ เป็นสุขใจมาก ซึ่งตามกำหนดการต้องตื่นกันตีสี่ เพื่อมาทำวัตรเช้า พอถึงตีสี่ฝนก็เทลงมาพอประมาณ เลยทำให้นาคทุกคนต้องตื่น รีบแต่งตัวสวมชุดนาคอย่างรวดเร็ว เหมือนกับฝนจะรู้ว่านี่เป็นวันสำคัญเลยต้องมาปลุก พอนาคมาพร้อมกันที่ศาลา ฝนก็หยุด จึงเป็นที่น่าประหลาดใจ จากนั้นเป็นพิธีการขอขมาญาติ ตอนสายจึงเริ่มพิธีบวชเป็นเณรก่อน โดยมีเจ้าคณะจังหวัดมาเป็นอุปัชฌาย์บวชให้ที่โบสถ์

    จากนั้นพระทั้งหมด ๙๓ รูป ต้องแบ่งไปทำพิธีบวชที่โบสถ์วัดอื่นอีก ๒ วัดคือ วัดทัพหลวงกับวัดวังตะกู เพราะมีผู้บวชมาก และการบวชชุดละ ๓ รูปนั้น แต่ละชุดใช้เวลาหลายสิบนาทีแล้ว ดังนั้นถ้าทำพิธีที่เดียวคงจะช้า พอดีผมได้บวชที่โบสถ์วัดอ้อน้อย แต่เป็นคนสุดท้ายของชุดสุดท้ายด้วย จึงต้องนั่งรอฟังเขาสวดตั้งแต่เช้าถึงบ่าย กว่าจะได้ทำพิธีเกือบเย็น

    ภายหลังจากทำพิธีบวชเปลี่ยนจากนาคเป็นภิกษุ ผมได้ฉายาทางธรรมว่า "อนาลโย" ความรู้สึกครั้งแรกที่ออกจากโบสถ์มีความสุข ปีติมาก อิ่มเอิบ ซาบซ่าน ไม่มีครั้งใดในชีวิตที่จะมีความรู้สึกที่ยิ่งกว่าความสุขอย่างนี้ เพราะว่ากว่าที่เราจะเกิดเป็นคนก็ยากแล้ว ยิ่งได้เกิดเป็นชายแล้วได้มาบวชอีกยิ่งยากเข้าไปใหญ่ ที่สำคัญบวชแล้วได้มาเจอ คุรุ ผู้นำทางวิญญาณที่ยิ่งใหญ่แห่งยุคนี้ก็ยิ่งยากลำบาก จึงรู้สึกว่าได้เกิดเป็นมนุษย์ชาตินี้ ไม่เสียชาติเกิดแล้ว บุญอันใดหนอที่ชักพาเรามา แล้วจะทำบุญกุศลอย่างไรหนอ จึงจะได้มีโอกาสอย่างนี้ทุกชาติไป

    จากนั้นผมก็อุ้มบาตรออกจากโบสถ์ เห็นโยมพ่อ โยมแม่ และคนอื่นๆ มาคอยใส่บาตร มาถวายข้าวของเงินทองมากมาย ผมจึงนำไปถวายวัดหมด รู้สึกปลื้มใจ พวกเขาคงอยากได้บุญจากพระใหม่ที่มีศีลบริสุทธิ์ซึ่งเพิ่งออกจากโบสถ์ ผมได้แต่อนุโมทนาบุญกับเขาเหล่านั้นด้วย วันรุ่งขึ้นซึ่งเป็นวันที่ ๕ ธันวาคม มีผู้คนมาใส่บาตรข้าวสารอาหารแห้งกันมากมาย และช่วงบ่ายได้มีการหล่อพระโพธิสัตว์ทั้ง ๔ องค์

    หลังจากการบวชเสร็จสิ้น ช่วงแรกที่อยู่วัดก็เรียนธรรมศึกษา หลักสูตรนักธรรมตรี เรียนพระวินัย เรียนศาสนพิธี และเรียนพุทธประวัติ โดยมีพระพี่เลี้ยงในวัดอ้อน้อยคอยชี้แจง อบรมสั่งสอน เพราะช่วงแรกนั้นหลวงปู่ไม่ค่อยว่าง ท่านต้องคอยอบรมเณร จนผ่านไปอาทิตย์กว่าๆ หลังจากที่ท่านสอนเณร พาเณรไปธุดงค์กลับมา และเณรสึกออกไปหมดแล้ว ท่านจึงมาอบรมสั่งสอนพวกเราต่อ

    ปุยเมฆ

    มีอยู่วันหนึ่ง หลวงปู่ให้หนังสือเรื่อง "อุดมการณ์การดำรงพันธุ์" แก่พวกเรา เพื่อมาอ่าน แล้วท่านก็ออกข้อสอบให้พวกเราเขียนคำตอบส่ง โดยเป็นการถามเกี่ยวกับความหมายของภิกษุ นักบวช สมณะ พระ แตกต่างกันอย่างไร เพื่อให้พระใหม่ได้ตระหนัก สำนึกในหน้าที่ ซึ่งความหมายที่หลวงปู่เคยอธิบายไว้คือ

    วิถีชีวิตของ "ภิกษุ" ต้องเป็นผู้สำรวมระวังกิริยาอาการแห่งตน มีการตั้งมั่นของจิต อยู่ผู้เดียว สันโดษ รู้จักพอดีในสิ่งที่มีที่ได้ ทำลายความถือตัวถือตน สกัดความจองหอง อวดดี หลุดจากความโง่ โลภ โกรธ ไม่ข้องแวะต่อเครื่องผูก มีชีวิตประดุจปุยเมฆท่องไปในอากาศ เพราะว่าปุยเมฆนั้นล่องลอยไปยังสถานที่ต่างๆ มิได้เกาะเกี่ยว ยึดเหนี่ยวสิ่งใด อยู่เฉพาะที่ใดๆ และที่สำคัญปุยเมฆยังความร่มเย็น เป็นฝนที่ชุ่มช่ำ ให้แก่สรรพสัตว์ สรรพสิ่ง เปรียบได้ดั่งชีวิตของภิกษุ ที่ต้องเดินทางแสวงหาธรรม ไม่อยู่ยึดติดในที่ใดๆ กับใคร หรือสิ่งไหน และยังประโยชน์ให้แก่สรรพสัตว์

    มีธรรมวิธีที่เรียกว่า "มรรคาวิถี ๘ ประการ" คือ เห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ เพียรชอบ ระลึกชอบ ตั้งจิตชอบ เป็นเครื่องอยู่ ไม่ประมาทในการรักษาศีล ดำรงสติมั่น หวงแหนระวังรักษาพรหมจรรย์ยิ่งกว่าชีวิตของตน เพียรปฏิบัติธรรม บำเพ็ญบุญ ชำระบาป ต้องไม่ยึดติด แม้ในบุญและบาปนั้น

    วิถีชีวิตของนักบวช ก็คือ มีความเพียรเพ่งอยู่ ชำระกาย วาจา ใจ ให้สะอาด ปราศจากอาสวะกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งปวง นั้นจึงชื่อว่า "นักบวช"

    ส่วน "สมณะ" นั้น หลวงปู่ได้เขียนบทโศลกอธิบายไว้ว่า

    "ลูกรัก...ขอเพียงเจ้าบรรเทา ละวาง ความยินดีที่มีในสรรพชีวิต สรรพวัตถุ และของเล่นทั้งหลายได้เด็ดขาด ละเว้นจากการคิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่ว ไม่ปล่อยตนเองให้หลงใหลได้ปลื้มไปกับ ตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นรับรส กายถูกต้องสัมผัส ใจมิได้ปรุงแต่ง ให้เกิดอารมณ์ใดๆ ความสงบระงับทางกาย วาจา ใจ ก็เกิดขึ้น เช่นนี้ต่างหาก จึงเรียกว่า สมณะ"

    สำหรับวิถีชีวิตของ "พระ" ไม่มักมากในทาน ไม่ติดในตระกูล ไม่ให้ความสนิทสนมกับผู้ใดผู้หนึ่งในบ้านหรือนอกบ้าน ไม่ติดในที่อยู่ ไม่ติดในที่อาศัย ไม่ติดทั้งภายในกายและนอกกาย เปรียบดังหยดน้ำ ที่ไม่ติดบนใบบัวฉันนั้น วิถีชีวิตของพระต้องไม่สร้างกรรมอันเป็นเหตุปัจจัย ของภพ ชาติ ชรา มรณะ พยาธิ เป็นผู้สำรอกแล้วซึ่งเหตุปัจจัยนั้นๆ มีปัญญา ทำ พูด คิด ไม่โอ้อวด พ้นแล้วจากเครื่องกังวลทั้งปวง มีความเพียรเพ่งอยู่ในการปฏิบัติธรรม เพื่อวิถีแห่งความดับและเย็น นั่นคือ นิพพาน

    วินัยบัญญัติ

    ในตอนบ่ายวันหนึ่งของอากาศที่หนาวเหน็บในเดือนธันวาคม ใต้ลานโพธ์หน้าหอกรรมฐาน หลวงปู่บอกให้พวกเรามารวมกัน แล้วท่านได้แนะนำสั่งสอน วินัยบัญญัติ เป็นการทบทวนให้พวกเราอีกครั้ง หลังจากที่เรียนจากพระพี่เลี้ยงมาแล้ว เพื่อความเข้าใจที่กระจ่างชัดขึ้นหลังจากที่บวชมาได้หลายอาทิตย์แล้ว หลวงปู่ได้สอนพระธรรมวินัยไว้ พอสรุปได้คือ

    ความหมายของระเบียบวินัย

    ความจำเป็นของระเบียบวินัยมีเอาไว้ให้เราได้อยู่ร่วมกัน มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียว เป็นปึกแผ่นแน่นหนาเดียวกัน อันลงรอยกันได้ มีการกระทำ คำพูด ที่เป็นข้อ วิธี วิถีทางเดียวกัน และไม่ทำให้ต้องแตกแยกกัน ออกจากกันและกัน ในสังคมก็ตาม ในชีวิตประจำวันก็ตาม

    ความหมายของระเบียบวินัยและกติกาที่มีอยู่ในสังคมสิ่งรอบตัว หลวงปู่ได้อธิบายว่าเป็นความหมายของการสร้างดุลยภาพ ดุลถ่วงให้แก่ชีวิตเราและการอยู่ร่วมกัน เพราะถ้าเมื่อใด สังคมใดปฏิเสธระเบียบวินัย ปฏิเสธกฏเกณฑ์ กติกา สังคมนั้นก็ขาดดุลถ่วง ใครพอใจจะทำอะไรก็ทำ ถือว่าสิ่งเหล่านี้ไม่มีระเบียบวินัย แล้วก็เกิดความร้าวฉาน เกิดความรู้สึก อึดอัด ขัดเคือง ต่อกันและกัน ใครพอใจที่จะพูดอย่างไรก็พูด ทำอย่างไรก็ทำ คิดอย่างไรก็คิด แสดงอย่างไรก็แสดง โดยไม่คำนึงว่าการ ทำ พูด คิด แสดงนั้น ทำลาย ก้าวก่าย สิทธิของใคร นี่เป็นความหมายของการขาดระเบียบวินัยในบ้าน ในเมือง

    ส่วนในพระศาสนานั้นหลวงปู่บอกว่า ถ้าผู้คนมาอยู่ร่วมกัน โดยมาจากเผ่าพันธุ์ต่างกัน จากหลายที่ หลายถิ่น หลายสกุลวงศ์ แล้วไม่มีกติกา กฎเกณฑ์ ข้อตกลงกันเป็นพื้นฐานว่าจะทำอะไรเหมือนกัน ปฏิบัติเหมือนกัน มันก็กลายเป็นตัวใครตัวมัน ต่างคนต่างอยู่ แล้วความหมายของความเป็นปึกแผ่นแน่นหนา ความสามัคคี กลมเกลียว ก็จะหายไป ดังนั้นคนที่อยู่ในบ้านเมืองใด ตำบลท้องถิ่นใด สังคมใดๆ ต้องอยู่ด้วยความสมัครใจ

    พระพุทธเจ้าจึงบอกว่า ผู้ที่จะเข้ามาบวช จึงต้องมี "ศรัทธา" มีความเชื่อ เชื่อว่าเราจะปฏิบัติตามกฎ กติกา ของบ้านเมืองนั้นได้ แล้วเราจะเอาตัวเอง น้อมเข้าไปอยู่ด้วย เพื่อไม่ให้เป็นความลำบากใจรู้สึกอึดอัดใจ ยินดีที่จะทำตามกติกาของบ้านเมืองนั้น ท้องถิ่นนั้น เมื่อเราเข้าไปแล้วยอมรับมันได้ ก็จะเป็นเรื่องเป็นราวที่เราจะมีความสุขได้ในการเป็นอยู่ร่วมกัน แต่ถ้าไม่ศรัทธา ไม่เชื่อ และเข้าไปอยู่ แล้วยอมรับไม่ได้ ก็จะสร้างความทุกข์เดือดร้อนขึ้นมา

    การปฏิบัติตามธรรมวินัยหัวใจสำคัญ คือ "ความเชื่อ ความศรัทธา" ถ้าเราไม่เชื่อ ไม่ศรัทธา เราจะปฏิบัติพระธรรมวินัยไม่ดี จะขาด บกพร่องไปหมด กฎเกณฑ์ กติกาของศาสนา นอกจากจะสร้างสัมพันธภาพอันดีระหว่างกันและกันในส่วนตนและส่วนตัวแล้ว ยังต้องมีสัมพันธภาพอันดีต่อสรรพสิ่ง สภาวะแวดล้อม ธรรมชาติ หรือแม้แต่จิตวิญญาณสำนึกของเราเอง ทุกส่วนของเรา เซลล์ต่างๆในร่างกายเรา พลังงาน ปราณ ลมหายใจ และความรู้นึกคิดของเรา รวมทั้งสารอาหารที่ได้จากการสกัดอาหารที่กินเข้าไปแห่งเรา เลือดเนื้อทุกหยาดหยดแห่งเรา กติกา กฎเกณฑ์แห่งพระศาสนายังเอื้ออำนวยสุขให้แก่มัน ให้สรรพสิ่งที่อยู่ในตัวเรา เป็นไปด้วยความพร้อมเพรียง สมัครสมานฉันท์ กลมเกลียวเป็นหนึ่งเดียวกัน และผู้ที่มีกฎเกณฑ์กติกาอย่างนี้เท่านั้น จึงจะเป็นคนที่แกร่งกล้า องอาจ และสง่างาม สามารถที่จะคงทนต่อทุกสภาวะ
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    อานิสงส์

    พระธรรมวินัยนอกจากจะสร้างสัมพันธภาพอันดีระหว่างเรากับคนอื่นๆ แล้ว ยังให้สัมพันธภาพอันดีระหว่างเรากับตัวเราเอง อวัยวะทุกส่วนในร่างกายเรา เซลล์ทุกส่วนในร่างกายเรา ช่วยประคับประคองให้มันอยู่ร่วมกันได้ด้วยความรู้สึกพึงพิง อิงแอบอาศัย ถ้อยทีถ้อยอาศัย และอาทรการุณต่อกันและกัน

    อย่างเช่น พระธรรมวินัยบอกเราว่า การไม่กินอาหารเย็น สามารถจะมีชีวิตอยู่ได้ คนที่ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยจริงๆ จะไม่เป็นโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด จะไม่เป็นโรคเบาหวาน ไม่เป็นโรคความจำเสื่อม ไม่เป็นโรคความดันในกระแสเลือดสูง ไม่เป็นโรคแคลเซียมเกาะกระดูกมาก และไม่เป็นโรคเครียด ไม่เป็นโรคปลายประสาทฟ่อ เพราะโดยปกติอาหารมื้อเย็นไม่ได้เป็นมื้อที่สำคัญต่อร่างกาย เป็นมื้อที่เกินความจำเป็น มื้อที่สำคัญที่สุดคือมื้อเช้า รองลงมาคือมื้อกลางวัน อาจเป็นเพราะว่าเราเคยชินกับการได้กิน ถ้าไม่ได้กิน ทำให้รู้สึกว่า เราขาดอะไรไปสักอย่างหนึ่ง จริงๆ แล้วมันขาดได้ มีชีวิตอยู่ได้อย่างสบายๆ ไม่ต้องสิ้นเปลือง สุขภาพก็จะดีขึ้น

    หลวงปู่ยังบอกอีกว่า หากเราได้ทำการปรับธาตุในร่างกายให้เข้าที่ได้แล้ว ท้องที่ว่างๆ ในตอนเย็นนั้น มันจะทำให้ลำไส้ และกระเพาะอาหารได้พักผ่อน เป็นการผ่อนคลายของกล้ามเนื้อลำไส้ การย่อยอาหารจะดีขึ้น การที่เรากินหลายมื้อตลอดเวลา เรียกว่าเป็น การบั่นทอนสุขภาพ

    เพราะฉะนั้นการปฏิบัติตามพระธรรมวินัยจึงให้ประโยชน์ต่อเราได้ มันทำให้เราสร้างสัมพันธภาพอันดีต่อกายนี้ และมีสัมพันธภาพต่อผู้อื่นด้วย และยังสามารถช่วยเหลือประคับประคอง กาย วาจา ของเราให้สงบ ตั้งมั่น มีขันติธรรม มีความอดทน อดกลั้น ต่อสภาวะแวดล้อมที่บีบคั้นได้ เพราะเรามีขันติธรรม มีพระธรรมวินัย

    ขันติธรรม

    คนที่ปฏิบัติตามตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด จริงจัง จะเกิดขันติธรรมโดยปริยาย คือ ทนต่อความหิวที่บีบคั้นในกายตน ทนต่อการยั่วยวนทางกาย วาจา หรือ ตาดู หูฟัง จมูกได้กลิ่น ลิ้นรับรส ดังนั้นผู้ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยจึงกลายเป็นผู้มีขันติโดยปริยาย

    จริงๆ อานิสงส์ที่บอกไว้ในตำรา คือ ทำให้ผู้ที่ปฏิบัติไม่เกิดวิปฏิสาร คือ ไม่เกิดความเดือดเนื้อร้อนใจ แต่เกิดความรื่นเริงในขณะที่เข้าไปอยู่ในหมู่คณะ มีความตั้งมั่น มีสติตั้งมั่นได้ง่าย มีความแช่มชื่นใจ และทำให้ผู้ที่มาจากนานาๆ สกุล เผ่าพันธุ์ อายุขัย มาอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข และมีระเบียบวินัย

    การปฏิบัติตามธรรมวินัย

    หลวงปู่เปรียบพระธรรมวินัย ดังเข็มกับด้าย ที่ร้อยบุปผาชาตินานาพันธุ์ ต่างสีต่างกลิ่น ให้รวมกัน และกลายเป็นพวงอุบะ อันสวยงามได้ เป็นพวงมาลัยอันสง่างามได้ นี่คือคุณสมบัติของพระธรรมวินัย ในเรื่องของความหมายของการจะปฏิบัติตามพระธรรมวินัยนั้น สำหรับพระนวกะ (พระใหม่) จะต้องได้เรียนจากหนังสือ "นวโกวาท" ซึ่งจะมีอนุศาสน์ ๘ อย่าง โดยแบ่งออกเป็น ๒ หัวข้อใหญ่คืออกรณียกิจ หรือกิจที่ทำไม่ได้ กับ นิสัย ๔

    นิสัย คือสิ่งที่มีอยู่ในจิตวิญญาณของมนุษย์ จิตวิญญาณของนักบวช ซึ่งนักบวชที่บวชเข้ามาแล้วต้องทำจนเป็นนิสัย ใน ๔ ข้อนี้ ไม่ใช่ทำด้วยการจำ แต่ทำจนเป็นนิสัย เรียกว่า ทำมันจนเป็นจิตวิญญาณ และชีวิตของภิกษุ นิสัยทั้ง ๔ ข้อนี้ ก็คือ ๑. นุ่งห่มผ้าบังสุกุล ๒. อยู่โคนไม้ ๓. ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า ๔. บิณฑบาตเป็นวัตร

    นุ่งห่มผ้าบังสุกุล

    สมัยก่อนนั้น ไม่มีผ้าขาย คนที่จะบวชต้องไปดึงเอาผ้าที่เขาหุ้มศพมา เพราะในประเทศอินเดียสมัยก่อน ไม่นิยมที่จะฝัง หรือเผา พอคนตายจะเอาผ้ามาพันศพแล้วปล่อยทิ้งไว้ เมื่อพระที่บวชในพระศาสนาปรารถนาที่จะมีเครื่องนุ่งห่ม เครื่องทรงของนักบวช พระพุทธเจ้าก็ทรงชี้ว่า นั่นผ้าบังสุกุล นั่นผ้าห่อศพ ท่านจงไปเก็บมาย้อม และเย็บ ให้เป็นเครื่องนุ่งห่มของท่าน พระจึงมีหน้าที่ไปเก็บเอาผ้าเหล่านี้ มาซัก มาย้อม และมาเย็บ จนกลายเป็นเครื่องนุ่ง เครื่องห่ม พระเก่าจะนุ่งห่มผ้าที่ไม่บังสุกุลไม่ได้ และผ้าที่เป็นของคฤหัสถ์ก็ไม่ได้ ต้องนุ่งห่มผ้าของนักบวช คือ ผ้าบังสุกุลเท่านั้น ต่อมาก็มีอนุบัญญัติ ให้ภิกษุรับคหบดีจีวรได้ อย่างเช่นที่ภิกษุนุ่งห่มในปัจจุบัน ที่เรียกว่า คหบดีจีวร

    อยู่โคนไม้

    หลวงปู่บอกว่าไม่อยากให้ภิกษุที่บวชน้อยวันแล้วจะละเลยความหมายของพระศาสนา ละเลยความหมายข้อใหญ่ของนิสัย ๔ ที่พระอุปัชฌาย์สอนเอาไว้ อยากให้สัมผัส หรือสำเหนียก พิสูจน์ ทราบถึงวิถีชีวิตของนักบวชโบราณว่า มีชีวิตแบบใดบ้าง แล้วจะได้รู้สึกภาคภูมิ ศรัทธาในวิถีของนักบวชที่พวกเรากำลังเป็นอยู่ เพราะว่าสมัยก่อนไม่ค่อยมีวัด เย็นๆ ก็จะไปอาศัยตามสุมทุมพุ่มไม้ หัวไร่ปลายนา เรือนว่าง ป่าช้า ชะง่อนผา จอมปลวก ถ้ำ คูหา ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นที่อยู่อาศัยของพระ ที่จัดอยู่ในประเภทของการอยู่โคนไม้ตามพระธรรมวินัย

    ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า

    น้ำมูตรเน่าคืออะไร? หลวงปู่ได้อธิบายให้เข้าใจว่ามันคือ น้ำเยี่ยวของโคดำ แต่เดี๋ยวนี้หาน้ำเยี่ยวของโคดำไม่ได้ ซึ่งทางวิชาการแพทย์ เยี่ยวที่ทิ้งออกมาจากร่างกายเรา เมื่อตกตะกอนแล้ว มันจะมีสารที่เป็นยาและมีฮอร์โมน ไขมัน เกลือแร่ มีสิ่งที่ร่างกายสกัดไม่ได้ และเป็นสารตกค้างขับถ่ายออกมา สามารถเอามาประกอบเป็นตัวกษัยยาได้ นี่คือความรู้แพทย์สมัยสองพันกว่าปีก่อน เขาเอามาดองกับรากไม้ ว่านยา ใบไม้ เปลือกไม้ หรือ แก่นไม้บางชนิด จนทำให้เกิดการตกผลึก นอนก้น ผสมผสานกันระหว่างสารที่มีอยู่ใน ยี่ยวกับสารที่มีอยู่ในรากไม้ แก่นไม้ ใบไม้ เหล่านั้น เป็นสูตรสำเร็จทางเคมีที่ประกอบเป็นยารักษาโรคได้ นั่นคือที่มาของ ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า

    บิณฑบาตเป็นวัตร

    บิณฑบาตเป็นวัตร รวมถึงการฉันอาหาร คือต้องไม่เป็นผู้ที่รวนเรในการบิณฑบาต คือไปทางใดก็ไปทางนั้น รับแล้วต้องไปทางนั้น บิณฑบาตเป็นวัตร มันเป็นความหมายของการซื่อตรงของตน ว่าเราจะรับบาตรด้วยความซื่อตรง รับบาตรด้วยความเมตตา อาทร ด้วยคิดจะอนุเคราะห์ รับบาตรด้วยความไม่ละโมบ นี่คือวิถีทางของการรับบาตร

    อกรณียกิจ

    "อกรณียกิจ" คือ กิจที่ภิกษุไม่ควรทำมีอยู่ ๔ อย่างคือ เสพเมถุน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ อวดอุตริมนุสธรรม ซึ่งหลวงปู่ได้อธิบายให้แจ่มชัดลงไปว่า ข้อว่าด้วย "เสพเมถุน" คือการเสพเมถุน กับสัตว์ มนุษย์ ซากศพ และกับบุคคลทั่วไป ข้อว่า "ฆ่าสัตว์" ก็คือห้ามฆ่าสัตว์ทุกชนิด (แต่ในปาราชิก ๔ หมายถึง สัตว์ที่เป็นมนุษย์) เพราะเป็นภิกษุต้องมีเมตตา ข้อ "ลักทรัพย์" คือห้ามลักทรัพย์ทุกชนิดโดยไม่จำเป็นว่ามีราคาเท่าไร ส่วนการพูด "อวดอุตริมนุสธรรม" พูดโดยเจตนาที่อยากอวด ต้องการให้ผู้ฟังเชื่อเราว่าเรามี อวดด้วยความคิดว่า เราเป็นผู้วิเศษในสายตาของผู้ฟัง หรือก็คืออย่าพูดโกหกนั่นเอง เจตนาเหล่านี้ถือว่าเป็นอกรณียกิจ อกรณียกิจเป็นข้อที่ห้ามไว้กว้าง ไม่มีโทษตายตัว เด็ดขาด แต่อย่าทำ

    ไตรสิกขา

    เมื่อรู้อนุศาสน์ ๘ แล้ว ต่อไปคือ สิ่งที่ภิกษุจะต้องศึกษามีอยู่ด้วยกัน ๓ อย่างคือ ศีล สมาธิ ปัญญา

    "ศีล" เมื่อศึกษาแล้วจะ "รักษา" กาย วาจาใจ ให้ตั้งมั่น

    "สมาธิ" ศึกษาแล้ว "ทำให้" ใจตั้งมั่นได้

    "ปัญญา" ศึกษาแล้วทำให้รอบรู้เท่าทันกระบวนการของกองสังขาร กองสังขารที่รวมทั้งร่างกายของเรา ร่างกายของผู้อื่น สัตว์อื่น บุคคลอื่น และสิ่งอื่นๆ รอบๆ ตัวเรา ซึ่งประกอบด้วย ธาตุ ๔ มี ดิน น้ำ ลม ไฟ นี่คือ การศึกษาโดยปัญญา

    อาบัติ

    อาบัติ มี ๗ อย่าง คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฎ และทุพภาสิต

    "อาบัติ" คือ กิริยาที่ล่วงละเมิดพระบัญญัติมาตราหนึ่งๆ และมีโทษเหนือตนอยู่ พระบัญญัติ ก็คือ ข้อห้าม และข้ออนุญาตที่พระศาสดาทรงตั้งขึ้น เมื่อผิดพระบัญญัติถือว่าเป็นอาบัติ
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>ความหมายแห่งนักบวช

    พระธรรมวินัย ศีล สมาธิ ปัญญา ถ้าไม่ศึกษา ไม่จัดว่า เป็นการครบองค์ประกอบของนักบวช ไม่ครบความหมายแห่งนักบวช ไม่ใชสูตรสำเร็จของนักบวช และเมื่อผิดจะมาอ้างว่าไม่รู้ก็ไม่ได้ เหมือนคนที่ทำผิดกฎหมาย จะมาอ้างว่าไม่รู้กฎหมายก็ไม่ได้ ถึงจะรู้หรือไม่รู้ ก็ยังมีความผิด เพราะฉะนั้นกิริยาล่วงละเมิดที่ทำให้เกิดอาบัติ จะมาอ้างไม่รู้ก็ไม่ได้ พระพุทธเจ้าจึงสอนให้พระอุปัชฌาย์ บอกแก่ผู้บวชตั้งแต่วันแรกให้รู้เรื่อง กติกา และนิสัยของนักบวช กติกาหรืออกณียกิจมี ๔ นิสัยมี ๔ เรียกว่า อนุศาสน์ ๘ แล้วก็สอนให้เรียนรู้เรื่อง ศีล สมาธิ ปัญญาตั้งแต่อยู่ในโบสถ์ บวชครั้งแรกสอนให้เรียนรู้เรื่องสัจจะปัญจะกัมมัฏฐาน (คำศัพท์บาลีอาจจะไม่ตรง : ผู้เขียน) คือ เกสา โลมา นขา ทันตา ตะโจ และ พระพุทธเจ้าก็สอนให้เรามีสติ ในการรักษาศีล มีสติในการรักษากาย วาจาให้เรียบร้อย มีสติในการพิจารณาใคร่ครวญ ตรวจสอบ พิสูจน์ทราบในการกระบวนการคิด พูด ทำ จะได้ถูกต้อง ไม่ผิดพลาด หลวงปู่ท่านจึงบอกว่า การอยู่ในพระธรรมวินัยนั้น ต้องรู้ให้ชัด รู้ให้จริง รู้แล้วต้องทำได้ และต้องมีกระบวนการในจิตวิญญาณ

    ความตระหนักสำนึก

    เช้าวันหนึ่งที่อากาศหนาวเหน็บมาก ทำให้พระนวกะหลายรูปไม่ได้มาร่วมทำวัตรเช้า สวดมนต์ ซึ่งปกติจะมีพระนวกะบางรูป บางกลุ่ม ไม่มาร่วมทำสังฆกรรมคือขี้เกียจ เริ่มทำตัวตามใจกิเลสตน แต่วันนี้อากาศหนาวมาก ยิ่งทำให้พระน้อยลงไปอีก ตอนเช้าและตอนสายของวันนั้นหลวงปู่จึงได้สอนว่า ที่หลายท่านไม่มาร่วมทำสังฆกรรมเหมือนกันนั้น เพราะไม่มีความตระหนักสำนึก ไม่มีความสำนึกในหน้าที่ของนักบวช ทำตัวเป็นดักแด้ หลวงปู่บอกว่า วิถีพุทธ ที่พวกเรากำลังดำเนินอยู่นี้ เป็นวิถีทางที่จะต้องฝืนกับกระแสของโลก การที่เราเพียรพยามจะกระทำดีนั้น บางครั้งก็ต้องฝืนกับชีวิตของผู้คนในทางโลก

    เหมือนดั่งพระโพธิสัตว์ ที่พยายามจะว่ายทวนกระแส ไม่ให้ตกอยู่ในวังวนแห่งกระแส สรรพชีวิตทั้งหลายยังรู้จักที่จะเอาตัวรอด รู้จักที่จะพัฒนาตัวเองเพื่อให้อยู่รอด ชีวิตของคนก็เหมือนกัน เป็นวิถีชีวิตที่ประเสริฐ ดังนั้นจึงต้องฝึกหัด ปฏิบัติเรียนรู้ ทำให้คนกลายเป็นมนุษย์ เป็นการทำชีวิตให้ทวนกระแส เหมือนดังปลาว่ายน้ำทวนกระแสเพื่อจะไปวางไข่ ให้เผ่าพันธุ์ของตนได้ดำรงต่อไป น้ำที่อยู่รอบๆ ตัวปลา ก็คืออารมณ์รอบๆ ตัวเรา ซึ่งมีทั้งน้ำแห่งอารมณ์ชอบ ชัง ยอมรับ ปฏิเสธ ลากถูเราไปสู่น้ำที่สกปรก เชี่ยวกราก วกวน รุนแรง ดังนั้นมนุษย์ ถ้าไม่ฝึกหัด ปฏิบัติ เรียนรู้ ก็จะทำให้ไหลลงไปสู่ที่ต่ำ

    แล้วหลวงปู่ก็ได้พูดถึงความหมายของคำว่า "ตบะ" ว่าการสร้างสมบุญ บารมี สะสมปัญญา นำมาซึ่งคำว่าบุญ และการจะเป็นคนแกร่ง คนกล้าได้นั้นต้องได้มาจากคำว่า อดทน อดกลั้น เมื่ออะไรเกิดขึ้นกับใจ จะเกิดโดยชอบธรรมหรือชอบใจก็ตาม ต้องอดทนอดกลั้นได้ และต้องไม่เป็นการเบียดเบียนตน ไม่ทำร้าย ทำลายประโยชน์คนอื่น ทำลายดุลยภาพ ประโยชน์ส่วนรวม

    ดังนั้น ทุกคนจึงต้องมีความตระหนัก ต้องมีความสำนึกถึงสถานภาพว่า ตอนนี้เราเป็นใคร ทำอะไรอยู่ ทำแล้วได้บุญมากน้อยแค่ไหน มีบารมีไปแล้วเท่าไร อย่าปล่อยให้ตกอยู่ในความอยาก ต้องปลดปล่อยเครื่องร้อยรัด พันธนาการต่างๆ ในคุกขังของสมอง การบวชเพื่อสั่งสมเนกขัมมะบารมี ต้องไม่บวชแต่ซาก หากบวชแต่ซากเป็นการซื้อนรก เราต้องมีความเพียร มานะ เราต้องบำเพ็ญบารมีด้วยความอดทน มานะ บากบั่น เพื่อจะได้ไม่เป็นการดูถูกข้าว น้ำของชาวบ้าน เมื่อมาบำเพ็ญบารมี มาสร้างตบะ ต้องไม่ปล่อยให้ตัวเองหลงใหลไปกับอารมณ์แห่งความชอบ ยอมรับ ปฏิเสธ น้ำดีนั้นย่อมที่จะไม่ยุ่งกับน้ำครำ น้ำคลอง เทียนย่อมไม่เปียกน้ำ บุรุษแกร่งจึงย่อมไม่หมักหมมในสิ่งโสโครก ความผิดถูกนั้นมีอยู่กับทุกคน ไม่ต้องคิดที่จะเปลี่ยนคนอื่น ให้เปลี่ยนตัวเองให้เข้าสู่สังคม มนุษย์นั้นเป็นสัตว์สังคม ต้องไม่ปฏิเสธสังคม อย่าไปเปลี่ยนคนอื่นต้องเปลี่ยนตัวเองให้เข้ากับคนอื่น

    จงทำวิถีชีวิตให้เหมือนน้ำ เพราะน้ำสามารถจะอยู่ได้ในทุกที่ ทุกถิ่น แล้วเราจะได้เป็นคนยิ่งใหญ่ในโลก หัดที่จะใช้สิ่งแวดล้อมเป็นครูสอน หลวงปู่ท่านได้พูดไว้ว่าอยากให้ทุกคนเหมือนกันในการเรียนรู้พระธรรม ดังคำโบราณที่ว่าน้ำหยดบนหินทุกวัน หินยังกร่อน สำคัญคือหิน (ตัวเรา) จะยอมให้น้ำ (พระธรรม) หยดหรือเปล่า ขยันที่จะทำดีให้แก่ชีวิตตัวเอง แล้วการบวชจะได้เป็นการบำเพ็ญบารมีที่แท้

    อบรมพระวิปัสสนาจารย์ ณ วัดปลักไม้ลาย

    เมื่อได้อบรมศึกษาธรรมที่วัดอ้อน้อยได้ประมาณครึ่งเดือน ความสงบแห่งชีวิตสมณะก็มาสู่พวกเรามากขึ้น จนวันหนึ่ง หลวงปู่ได้แจ้งให้พวกเราทราบว่า จะพาพวกเราไปร่วมอยู่ธุดงค์กับพระในจังหวัดนครปฐม เพื่ออบรมพระวิปัสสนาจารย์ (รุ่นที่ ๑ ครั้งที่ ๒) ที่วัดปลักไม้ลาย เป็นเวลาทั้งหมด ๗ วัน

    การได้ธุดงค์ครั้งแรกหลังจากบวชนั้น พระนวกะทุกคนตื่นเต้นที่จะได้ใช้ชีวิตของพระที่สมบูรณ์ แต่ก็ไม่รู้ว่าจะเตรียมตัวกันอย่างไร ในเช้าวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๔๒ หลังจากตื่นนอนทุกคนก็เก็บสัมภาระที่เห็นว่าจำเป็น โดยเฉพาะกลดสามฤดูใหม่ที่ทุกคนนำไปด้วย แต่ผมไม่ได้เอาไปเพราะเห็นว่ามันหนัก จึงใช้กลดมุ้งใสธรรมดา พอฉันเช้ากันเสร็จ ทุกคนมารวมตัวที่ศาลา เพื่อแบ่งกลุ่มและทำความเข้าใจว่าเราต้องไปทำอะไร ไปในฐานะอะไร ลูกศิษย์ใคร

    พวกเราเริ่มเดินจากวัดอ้อน้อย ไปวัดปลักไม้ลายซึ่งก็มีระยะทางประมาณ ๕-๖ กม. โดยมีของติดตัวไปไม่มากทั้งผ้าครองสามผืน บาตร กลด ผ้ายาง และของใช้ส่วนตัว ดูพระแต่ละองค์ท่าทางทะมัดทะแมง โดยทยอยกันเดินไปเป็นกลุ่ม การเดินทางในครั้งนี้ให้ความรู้สึกเหมือนกองทัพธรรม ออกไปเผยแผ่ธรรม แสวงบุญ แต่ดูแล้วกองทัพยังขาดระเบียบไปหน่อย ยังเล่นๆ กัน เดินไปคุยไป เมื่อถึงวัดปลักไม้ลายก็ฉันเพลที่นั่น บริเวณรอบวัดดูร่มรื่นดี มีต้นไม้เยอะ แล้วเคยเป็นป่าช้าเก่าด้วย ความเก่าแก่จะเห็นได้จากมีต้นไม้เก่าแก่เช่น ต้นโพยพาย อายุกว่า ๑๐๐ ปี จากนั้นพวกเราก็หาสถานที่ปักกลด โดยผมเลือกที่ใต้ต้นไม้หน้าสุสาน บริเวณรอบๆ วัดเป็นป่า มีเนื้อที่ประมาณ ๑๐๐ ไร่ ส่วนใหญ่เป็นการปลูกต้นไม้ สมุนไพรต่างๆ สภาพป่าก็เป็นป่าจริงๆ ไม่ค่อยได้ดูแลกันมาก ผมเห็นมีการตั้งเตาสำหรับกระทะใบใหญ่ เพื่อต้มยาสมุนไพร ทั้งยาแก้กษัย ยาบำรุงธาตุต่างๆ ซึ่งยาบางชนิดเมื่อฉันแล้วเป็นยาระบายดี

    การได้มาร่วมอบรมครั้งนี้ทำให้เห็นว่า วิถีของการปฏิบัตินั้นมีความสำคัญอย่างไร ดังคำโอวาทของพระเทพคุณาภรณ์ เจ้าคณะจังหวัดที่กล่าวไว้ว่า "...การเรียนธรรมะนั้นต้องฝึกทั้งปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ การได้มาอบรม ฝึกฝนนั้น เป็นการแสดงออกซึ่งความตั้งใจมั่น เพื่อให้เกิดความเข้าใจลึกซึ้งยิ่งขึ้น ดังนั้นจึงต้องตั้งใจ เรียนรู้ปฏิบัติให้เต็มความสามารถ ให้เต็มกำลัง เพื่อทำความเจริญงอกงามแก่ตนและพระศาสนา โดยมีพระธรรมเป็นที่หมาย เพื่อเป็นสัตบุรุษ และจะได้เจริญในธรรมยิ่งๆ เพราะว่าพระภิกษุในจังหวัดนครปฐมนี้มีความเจริญ มีความสามารถทางด้านปริยัติก็มาก เปรียญธรรม ๙ ประโยคก็มาก หรือไม่ก็มีพระเกจิอาจารย์ที่มุ่งเป่า ปลุกเสก เอาวัตถุมาเป็นศรัทธาสร้างวัด เป็นการสร้างความเจริญเฉพาะบุคคลคนหนึ่ง ในสมัยหนึ่ง ไม่ได้ยั่งยืน มิได้ก่อให้เกิดความเจริญแก่พระศาสนาในระยะยาว ดังนั้นเรื่องการปฏิบัติธรรม จึงเป็นของยั่งยืน มั่นคง ไม่มีกาล ไม่มีสมัย ทุกคนสามารถทำได้ สามารถดึงดูดศรัทธาผู้คน ให้เข้ามาปฏิบัติ ตรงกับคำสอนอย่างแท้จริง เราอาจจะเห็นได้จากพระป่า ที่มักจะมีผู้คนนิยม ชื่นชม เพราะท่านอยู่แต่ป่าดง ปฏิบัติ ปล่อยวาง ละเว้น ไม่มีอะไรเป็นเครื่องห่วง ดังนั้นเราต้องส่งเสริมให้ครบสูตรตามหลักธรรมทั้ง ปฏิบัติ ปริยัติ ปฏิเวธ ในเรื่องของการศึกษาปริยัตินั้นเป็นการศึกษาวิชาการใดๆ ในโลก ที่ต้องทำการค้นคว้า ทำการศึกษา ออกไปจากตัว แต่การปฏิบัติเป็นการเรียนเข้ามาหาตัวเอง เรียนตัวเอง พิจารณาให้เกิดปัญญา พิจารณาตัวเองเป็นหลัก..."

    ก่อนที่จะมีการอบรมพระวิปัสสนาจารย์ ก็มีการ สมาทานธุดงค์ (สมาทาน-การถือเอารับเอาเป็นข้อปฏิบัติ, การถือปฏิบัติ เช่น สมาทานศีล คือรับเอาศีลมาปฏิบัติ) โดยมีหลวงปู่เป็นผู้นำ ซึ่งมีรายละเอียดคือ

    ๑. ถือจีวร ผ้า ๓ ผืนเป็นวัตร
    ๒. งดเว้นการเที่ยวโลเล เพื่อบิณฑบาตร เดินเป็นแถว
    ๓. งดเว้นภาชนะที่สอง ฉันแต่ในบาตร
    ๔. งดเว้นเสนาสนะของชาวบ้าน อยู่แต่ในป่า
    ๕. งดเว้นที่มุง ที่บัง อยู่โคนไม้เป็นวัตร

    จากนั้นหลวงปู่ก็พูดเสริมว่า มันเป็นภาระหน้าที่ของชาวสมณะ ตามความหมายแห่งพระอริยวินัย สิ่งที่ต้องเรียนรู้และต้องทำความเข้าใจในเรื่องผลแห่งการกระทำ กฎของกรรม เน้นเรื่องการทำดีได้ดี การจะทำดีนั้นมันต้องค่อยๆ ทำ ทำไปเรื่อยๆ ดังน้ำที่หยดลงตุ่ม สักวันหนึ่งมันก็จะเต็มตุ่มขึ้นมาเอง!

    จากการที่ได้มาอยู่ร่วมฝึกอบรมกับพระวิปัสสนาจารย์หลายวันนั้น พอที่จะสรุปถึงสิ่งที่ผมรับรู้ เข้าใจ สัมผัส ได้ดังนี้

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> ศิลปะในการหายใจ (พื้นฐานวิชาลมเจ็ดฐาน)

    หลวงปู่ได้กล่าวแก่พวกเราระหว่างที่อบรมว่า ต้องพยายามหาโอกาสฝึกปรือสรรพวิชาให้แกร่งกล้า โดยการมีสติที่ตั้งมั่น เมื่อมีสติก็เกิดสมาธิ เมื่อมีสมาธิก็เกิดปัญญา สติที่พูดถึงนี้คือ สติที่ไม่จำกัดเวลา และรู้ตัวทั่วพร้อมทุกขณะจิต เป็นมหาสติคือระลึกรู้ทุกอิริยาบถว่ากายนี้มีความตั้งมั่น ที่สำคัญคือใจ เราต้องเอาชนะด้วยวิถีทางของผู้นำ ผู้กล้า

    เมื่อจะเริ่มต้นเจริญสติทุกครั้งนั้น ท่านจะสอนให้พวกเราสูดลมหายใจเข้าลึกๆ กลั้นลมหายใจไว้สักพัก แล้วปล่อย เราจะกลายเป็นผู้ไม่พ่ายแพ้ ไม่เหลวไหล เราต้องมีวิธีชาญฉลาดที่จะเอาชนะ ถ้าง่วงก็บิดตัว หมุนตัว จากนั้นจึงหลับตา นั่งตัวตั้งตรง โครงสร้างของกระดูกต้องไม่งอ หายใจเข้าลึกๆ ผ่อนลมออกยาวๆ หายใจเข้าทางจมูก ผ่านลำคอ อก ช่องท้อง เมื่อจะหายใจออก ก็ให้ลมนั้นผ่านมาทางกระดูกสันหลัง คือศีรษะ และพ่นออกมาทางปาก เมื่อหายใจได้อย่างนี้จนเป็นปกติแล้วจึงเอาจิตนั้นมาจับที่โครงกระดูก ที่กะโหลกศีรษะ ให้ไล่จากบนลงมาทางหน้าผาก เบ้าตา สันจมูก บริเวณปาก ฟัน คาง แล้วย้อนขึ้นทางด้านข้าง จนถึงช่องใบหูทั้งสองข้างแล้วก็ย้อนกลับมาที่กระหม่อมอีกครั้ง โดยเอามือคลำที่กะโหลกศีรษะ แล้วเอาจิตจับที่การจับกะโหลกนั้นไปด้วย

    หลวงปู่ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า ถ้าเกิดจิตฟุ้งซ่าน ให้กลั้นลมหายใจเอาไว้ การที่เราฝึกอย่างนี้บ่อยๆ พยายามที่จะข่มใจเอาไว้ เมื่อปฏิบัติได้ถึงจุดจุดหนึ่งแล้วจะสามารถสัมผัส รับรู้ รับทราบถึงสิ่งต่างๆที่ปราณีตขึ้น มีการสัมผัสที่ละเอียดอ่อนมากขึ้น จะรู้รสสิ่งอันเลิศ จะมีการสัมผัสอันละเอียด แต่ถ้าไปหลงใหล ไปยึดติดกับมัน จะทำให้หลงได้

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    อานาปานสติ

    อานาปานสติ คือ การพิจารณาลมหายใจเข้า-ออก รู้อารมณ์ขณะหายใจ หายใจเข้าก็รู้ว่าหายใจเข้า หายใจออกก็รู้ว่าหายใจออก ต้องรู้ว่าเราหายใจเข้าสั้นหรือยาว อย่างนี้เป็นการพิจารณาแบบอานาปานสติ การพิจารณาอานาปานสติถือได้ว่า เป็นชีวิต เป็นเครื่องอยู่ เป็นพื้นฐานสำคัญ เป็นลมหายใจ ผู้ที่เจริญอานาปานสติ อย่างสม่ำเสมอ สามารถทำให้กระดูกเป็นผลึกได้ อานาปานสติเป็นการใช้สติ พิจารณาภายในลมหายใจ พิจารณาระลึกอยู่แค่ปลายจมูก ให้รู้ว่าเข้ายาว ออกยาว ให้ "รู้" อยู่แค่นั้นแต่ไม่ได้ให้ตามกองลม (ถ้าฝึกแบบลมเจ็ดฐาน ต้องตามกองลมไปตามจุดต่างๆ) ซึ่งตาม "คัมภีร์วิสุทธิมรรค" ได้บอกไว้ว่า ถ้าตามกองลมนั้น จะทำให้งานมากขึ้น ดังนั้นขอเพียงแค่มีสติ รับรู้กองลมที่เข้า-ออก

    แต่หลวงปู่บอกว่า ชอบที่จะทำงานมากๆ ให้กับจิต เพราะจิตมันว่องไว รวดเร็ว โดยที่เราตามรู้ลมเข้า เข้าไปตามจุดต่างๆ กระทบตรงปลายจมูก รูจมูก หลอดลม คอ หน้าอก ช่องท้อง โดยให้เป็นการหายใจเข้าที่สูดกลิ่นอาย ชีวิต พลัง ความสามารถ สิ่งดีๆ เข้าไป แล้วผ่อนลมออก ก็รู้ว่าลมออกมาไปกระทบโครงสร้างของตน โดยผ่านโครงกระดูกสันหลัง หัวไหล่ ต้นคอ ขึ้นมาถึงจอมประสาท แล้วผ่อนลมออก (เคล็ดการเดินลมแบบตัว "จ") อย่างผ่อนคลาย ยาว สบาย การที่จะกำหนดลมหายใจได้สั้นยาว แค่ไหนนั้น ต้องดูที่ศักยภาพของกายเราด้วย ซึ่งหลวงปู่ท่านก็ได้แนะวิธีการฝึกให้เป็น ๔ ระยะคือ

    ระยะที่ ๑ - รับรู้ เพียงแค่ลมหายใจเข้า-ออก ให้มีแต่เพียงการรับรู้
    ระยะที่ ๒ - หายใจเข้า-ออก แล้วนับเป็นคู่ โดยนับเป็นคู่ๆ ไป
    ระยะที่ ๓ - หายใจเข้ายาว หายใจออกยาว โดยต้องผ่อนคลาย
    ระยะที่ ๔ - อาสติจับอยู่แต่ที่ลมหายใจ

    เมื่อเราฝึกฝนไปถึงขั้นหนึ่งตามแบบอานาปานสติ ก็จะถึงขั้นปฐมฌาน จะทำให้ดูเหมือนว่า ลมหายใจนั้นหายไป แต่จริงๆ แล้วยังหายใจอยู่ แต่เบา สบาย จนไม่ได้รับรู้ความรู้สึกนั้น สิ่งที่สำคัญต้องมีสติ ระลึกอยู่ว่าเรากำลังหายใจอยู่ เมื่อทำได้อย่างนี้ จะเป็นการเอาชนะตัวเอง เอาชนะความง่วงได้ ซึ่งขึ้นอยู่ที่การฝึก และสรรหาวิธีอันชาญฉลาดมาใช้ฝึกตน

    การโยกโคนรับรู้น้ำหนัก (พื้นฐานวิชาเท้านารี)

    ระหว่างที่อยู่วัดปลักไม้ลาย บางครั้งหลวงปู่ได้มาแนะนำวิธีฝึกสติแบบการโยกโคนรับรู้น้ำหนัก โดยมีวิธีการดังนี้คือ ให้ยืนอย่างผ่อนคลาย ตั้งตัวตรง เท้าห่างกันเล็กน้อยประมาณฝ่ามือหนึ่ง ปลายเท้าขนานกัน สายตาทอดลงต่ำ ขั้นแรกให้พยายามจับน้ำหนักสมดุลของร่างกาย โดยน้ำหนักทั้งหมดต้องลงมาที่ฝ่าเท้าทั้งสองข้างเสมอกัน เมื่อรับรู้ว่าเรากำลังยืนอยู่และน้ำหนักที่ฝ่าเท้าสมดุลแล้ว ก็ค่อยๆ ถ่ายเทน้ำหนักไปทางซ้าย โดยค่อยๆ โน้มตัวไปตามน้ำหนัก เท้าขวาลอยยกส้นเท้าขึ้นแต่ปลายเท้ายังแตะพื้น แล้วค่อยๆ ถ่ายเทน้ำหนักมาทางขวา โดยจับที่น้ำหนักของร่างกาย ความสมดุลของน้ำหนักในร่างกาย คล้ายๆ กับการเอียงถุงน้ำ ที่น้ำหนักถ่ายเทไปข้างใดข้างหนึ่ง โดยเอาสติจับที่น้ำหนักทางขวา เท้าซ้ายยกส้นลอย ปลายเท้าแตะพื้น (พื้นฐานวิชาเท้านารี) จากนั้นก็ถ่ายเทน้ำหนักไปมาซ้าย ขวา โดยเอาสติจับที่น้ำหนัก รับรู้ว่าเท้าด้านหนึ่งน้ำหนักมากขึ้น เท้าอีกด้านหนึ่งน้ำหนักค่อยๆ น้อยลง ดูความเป็นไปของน้ำหนัก และความสมดุลของร่างกายไปเรื่อยๆ หากทำไปเรื่อยๆ เราจะรับรู้ถึงไออุ่นบางอย่าง เกิดที่ฝ่าเท้าทั้งสองข้าง โดยไออุ่นชนิดนี้เป็นปราณอย่างหนึ่ง การฝึกอย่างนี้ เป็นการทำให้ลำไส้ ระบบขับถ่ายดี โดยที่หากฝึกประจำ จะทำให้การเดินรวดเร็วขึ้น เบาขึ้น ยาวขึ้น เหนื่อยน้อย เพราะเป็นการเดินตามหลักฟิสิกส์ (PHYSICS) การที่ถ่ายเทน้ำหนักไปมานั้น จะทำให้เกิดความสมดุลในการก้าวเดินได้อย่างดี

    อบรมพระวิปัสสนาจารย์ ณ วัดวังตะกู

    ประสบการณ์อันล้ำค่าที่ได้รับจากหลวงปู่อย่างหนึ่งก็คือการได้มาร่วมอบรมพระวิปัสสนาจารย์ของพระในจังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นการอบรมครั้งที่ ๓ ของพระรุ่นที่ ๑ จากจำนวนทั้งหมด ๗ ครั้ง ใช้เวลาอบรมทั้งหมด ๑๕ วัน หลักสูตรที่ใช้ในการอบรมพระครั้งนี้คือหลักสูตร "มหาสติปัฏฐาน" ซึ่งเรื่องราว ความรู้ วิชาต่างๆ มากมาย หลวงปู่ได้ถ่ายทอด บอกกล่าวเล่าสอนให้พระทั้งหมดได้รับรู้ ซึ่งผมขอเป็นส่วนหนึ่งในการถ่ายทอดสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ในการอบรมครั้งนี้ โดยผมจะพยายามรวบรวมองค์ความรู้ หลักธรรมต่างๆ เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้ประโยชน์สูงสุด เท่าที่จะทำได้

    มูลกำเนิดมหาสติปัฏฐานสูตร

    (จาก พระไตรปิฎก และอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฎราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เล่มที่ ๑๔ ทีฆนิกาย มหาวรรค หน้า ๒๕๘-๒๙๐)

    เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสพระสูตรนี้ว่า

    "...ดูกร ภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นหนทางเดียว ก็เพราะชนชาวแคว้นกุรุสามารถรับเทศนาที่ลึกซึ้งได้..."

    เล่ากันว่า ชาวแคว้นกุรุ ไม่ว่าจะเป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา มีร่างกายและจิตใจสมบูรณ์อยู่เป็นนิจด้วยเสพปัจจัย คือฤดูที่สบาย เพราะแคว้นนั้น สมบูรณ์ด้วยสัปปายะ มีอุตุสัปปายะ เป็นต้น ชาวกุรุนั้น มีกำลังปัญญา อันร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์อุดหนุนแล้ว จึงสามารถรับเทศนาที่ลึกซึ้งนี้ได้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงเห็นความเป็นผู้สามารถรับเทศนาที่ลึกซึ้งอันนี้ จึงทรงยกกัมมัฏฐาน ๒๑ ฐานะ ใส่ลงในพระอรหัต ตรัสมหาสติปัฏฐานสูตร ที่มีอรรถลึกซึ้งนี้ แก่ชาวกุรุเหล่านั้น เปรียบเสมือนบุรุษได้ผอบทองแล้ว พึงบรรจงใส่ดอกไม้นานาชนิดลงในผอบทองนั้น หรือว่าบุรุษได้หีบทองแล้ว พึงใส่รัตนะ ๗ ลงฉันใด แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ฉันนั้น ทรงได้บริษัทชาวกุรุแล้ว จึงทรงวางเทศนาที่ลึกซึ้ง ด้วยเหตุนี้แล ในข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงสูตรอื่นๆ อีก มีอรรถอันลึกซึ้งในคัมภีร์ทีฆนิกายนี้ ก็คือมหานิทานสูตร ในคัมภีร์มัชฌิมนิกาย ก็คือ สติปัฏฐานสูตร รุกโขปมสูตร มาคัณฑิยสูตร อาเนญชสัปปายสูตร

    อนึ่ง บริษัท ๔ ในแคว้นกุรุนั้น ต่างประกอบเนืองๆ ในการเจริญสติปัฏฐานอยู่โดยปกติโดยที่สุด คนรับใช้และคนงานทั้งหลาย ก็พูดกันแต่เรื่องที่เกี่ยวด้วยสติปัฏฐานกันทั้งนั้น แม้แต่ในที่ท่าน้ำ ที่กรอด้าย เป็นต้น ก็ไม่มีการพูดกันถึงเรื่องที่ไร้ประโยชน์เลย ถ้าสตรีบางท่านถูกถามว่า "แม่จ๊ะ แม่ใส่ใจสติปัฏฐานข้อไหน" ถ้านางไม่ตอบว่าอะไร ชาวกุรุจะติเตียนนางว่า "น่าตำหนิชีวิตของเจ้าจริงๆ เจ้าถึงเป็นอยู่ ก็เหมือนตายแล้ว" จากนั้นก็จะสอนว่า อย่าทำอย่างนี้อีกต่อไปนะ แล้วให้เรียนสติปัฏฐานข้อใดข้อหนึ่ง แต่ถ้าสตรีใดพูดว่า "ฉันใส่ใจสติปัฏฐานข้อโน้นเจ้าค่ะ" ชาวกุรุก็จะกล่าวรับรองว่า "สาธุ สาธุ" แก่นาง สรรเสริญด้วยถ้อยคำต่างๆ เป็นต้นว่า ชีวิตของเจ้าเป็นชีวิตดีสมกับที่เจ้าเกิดมาเป็นมนุษย์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอุบัติมาเพื่อประโยชน์แก่เจ้าแท้ๆ ในข้อนี้ มิใช่ชาวกุรุที่เกิดมาเป็นมนุษย์ประกอบด้วยการใส่ใจสติปัฏฐานแต่พวกเดียวเท่านั้น แม้แต่สัตว์เดรัจฉานที่อาศัยชาวกุรุอยู่ ก็ใส่ใจเจริญสติปัฏฐานด้วยเหมือนกัน

    มหาสติปัฏฐานสูตร เป็นสูตรที่ยิ่งใหญ่ เป็นหัวใจสำคัญของการเจริญกัมมัฏฐาน ซึ่งแบ่งออกได้เป็น

    - กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    - เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    - จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    - ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

    ซึ่งจะต้องแยกในการพิจารณาทีละข้อ หัวข้อที่หลวงปู่ได้อบรมครั้งนี้เป็นเรื่องหมวด "กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน" ซึ่งมีหัวข้อย่อยสำหรับการพิจารณา แยกย่อยออกอีก ๖ บรรพ (อ่านว่า บัพพะ , บรรพ-ข้อ, เล่ม, หมวด, ตอน, กัณฑ์) ดังนี้คือ

    - อานาปานบรรพ
    - อิริยาบถบรรพ
    - สัมปชัญญบรรพ
    - ปฏิกูลบรรพ
    - ธาตุบรรพ
    - นวสีวถิกาบรรพ
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>จากพระไตรปิฎก (ฉบับซีดีรอม มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย) เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค ข้อที่ ๒๗๓ หน้าที่ ๒๙๘ ได้บันทึกเกี่ยวกับ มหาสติปัฏฐาน หมวด กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ไว้ว่า

    มหาสติปัฏฐานสูตร (๒๒)

    [๒๗๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในกุรุชนบท มีนิคมของชาวกุรุ ชื่อว่า กัมมาสทัมมะ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า "ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย" ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า "พระพุทธเจ้าข้า" พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อ ความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญ แห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ ๔ ประการ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ ฯ
    จบอุทเทสวารกถา

    [๒๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นภายในกายอยู่อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า เมื่อ หายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเรา หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้า สั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอด กองลมหายใจทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกอง ลมหายใจทั้งปวงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายช่างกลึงหรือลูกมือของนายช่างกลึงผู้ขยัน เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่าเราชักยาว เมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ชัดว่าเราชักสั้น แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลม ทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าเราจักเป็นผู้กำหนดกองลมทั้งปวงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่าเราจักระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าเรา จักระงับกายสังขารหายใจเข้า ดังพรรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายใน กายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้ง ภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็น ธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อม ในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียง สักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัย อยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ
    จบอานาปานบรรพ

    [๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเมื่อเดินก็รู้ชัดว่าเราเดิน เมื่อยืนก็รู้ชัดว่าเรายืน เมื่อนั่งก็รู้ชัดว่าเรานั่ง เมื่อนอนก็รู้ชัดว่าเรานอน หรือ เธอตั้งกายไว้ด้วยอาการอย่างใดๆ ก็รู้ชัดอาการอย่างนั้นๆ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิด ขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่น อยู่ว่า กายมีอยู่ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อัน ตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ฯ
    จบอิริยาบถบรรพ

    [๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุย่อมทำความรู้สึกตัวในการ ก้าว ในการถอย ในการแล ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร ในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ใน การถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัว ในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็น กายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกาย ในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้ง ความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมี อยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิ ไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ
    จบสัมปชัญญบรรพ

    [๒๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้ แหละ แต่พื้นเท้าขึ้นไป แต่ปลายผมลงมา มีหนังเป็นที่สุดรอบ เต็มด้วยของ ไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่า มีอยู่ในกายนี้ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้ทบ อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไถ้มีปาก สองข้าง เต็มด้วยธัญชาติต่างชนิดคือ ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ถั่วเขียว ถั่วเหลือง งา ข้าวสาร บุรุษผู้มีนัยน์ตาดีแก้ไถ้นั้นแล้ว พึงเห็นได้ว่า นี้ข้าวสาลี นี้ข้าว เปลือก นี้ถั่วเขียว นี้ถั่วเหลือง นี้งา นี้ข้าวสาร ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือน กัน ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ แต่พื้นเท้าขึ้นไป แต่ปลายผมลงมา มีหนัง เป็นที่สุดรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่า มีอยู่ในกายนี้ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้ทบ อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ดังพรรรณนามา ฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภาย นอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็น ธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของ เธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ
    จบปฏิกูลมนสิการบรรพ

    [๒๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้ แหละ ซึ่งตั้งอยู่ตามที่ ตั้งอยู่ตามปกติ โดยความเป็นธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม คนฆ่าโคหรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ขยัน ฆ่าโค แล้ว แบ่งออกเป็นส่วน นั่งอยู่ที่หนทางใหญ่สี่แพร่ง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น เหมือนกัน ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ ซึ่งตั้งอยู่ตามที่ ตั้งอยู่ตามปกติ โดย ความเป็นธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตไฟ ธาตุลม ดังพรรณนา มาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง ฯลฯ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ
    จบธาตุมนสิการบรรพ

    [๒๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ตายแล้ววันหนึ่งบ้าง สองวันบ้าง สามวันบ้าง ที่ขึ้นพอง มี สีเขียวน่าเกลียด มีน้ำเหลืองไหลน่าเกลียด เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่าง นี้ไปได้ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง ฯลฯ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ
    [๒๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า อันฝูงกาจิกกินอยู่บ้าง ฝูงนกตะกรุมจิกกินอยู่บ้าง ฝูงแร้งจิก กินอยู่บ้าง หมู่สุนัขกัดกินอยู่บ้าง หมู่สนัขจิ้งจอกกัดกินอยู่บ้าง หมู่สัตว์ตัวเล็กๆ ต่างๆ กัดกินอยู่บ้าง เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่าก็มี อย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังพรรณนามา ฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภาย นอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็น ธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของ เธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหา และทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่าง นี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ
    [๒๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นร่างกระดูก ยังมีเนื้อและเลือด ยังมีเส้นเอ็นผูกรัดอยู่ ฯลฯ
    [๒๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นร่างกระดูก ปราศจากเนื้อ แต่ยังเปื้นเลือด ยังมีเส้นเอ็นผูกรัดอยู่ ฯลฯ
    [๒๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นร่างกระดูก ปราศจากเนื้อและเลือดแล้ว ยังมีเส้นเอ็น ผูกรัดอยู่ ฯลฯ
    [๒๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า คือ เป็นกระดูก ปราศจากเส้นเอ็นผูกรัดแล้ว เรี่ยรายไปใน ทิศใหญ่ทิศน้อย คือ กระดูกมือไปทางหนึ่ง กระดูกเท้าไปทางหนึ่ง กระดูกแข้ง ไปทางหนึ่ง กระดูกขาไปทางหนึ่ง กระดูกสะเอวไปทางหนึ่ง กระดูกหลังไปทาง หนึ่ง กระดูกสันหลังไปทางหนึ่ง กระดูกสีข้างไปทางหนึ่ง กระดูกหน้าอกไปทาง หนึ่ง กระดูกไหล่ไปทางหนึ่ง กระดูกแขนไปทางหนึ่ง กระดูกคอไปทางหนึี่ง กระดูกคางไปทางหนึ่ง กระดูกฟันไปทางหนึ่ง กะโหลกศีรษะไปทางหนึ่ง เธอ ย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คง เป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณา เห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกาย ในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กาย มีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและ ทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ
    [๒๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า คือ เป็นกระดูกมีสีขาว เปรียบด้วยสีสังข์ ฯลฯ
    [๒๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า คือ เป็นกระดูกกองเรียงรายอยู่แล้วเกินปีหนึ่งขึ้นไป ฯลฯ
    [๒๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า คือ เป็นกระดูกผุ เป็นจุณแล้ว เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้ แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความ เป็นอย่างนี้ไปได้ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในภายนอก บ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจาณาเห็นธรรมคือความ เสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็น กายในกายอยู่ ฯ
    จบนวสีวถิกาบรรพ

    .................จบกายานุปัสสนา.......................

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> นำสู่มหาสติปัฏฐาน

    เริ่มต้นอบรมวันแรก หลวงปู่ท่านได้ปฐมนิเทศ โดยเน้นย้ำถึงเรื่องการปฏิบัติธรรมของพระ เพื่อให้ยังศรัทธาแก่ชาวบ้าน ผู้คน มหาชนทั้งหลาย โดยต้องเป็นการศรัทธาที่เกิดจากดุลยภาพของชีวิตนักบวช ไม่ใช่โดยสถานภาพของผู้ห่มผ้าเหลืองเท่านั้น ในเรื่องของหลักมหาสติปัฏฐานนั้น ต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวันทั้งหมด ทุกอิริยาบถที่ทำ พูด คิด ไม่ผิดพลาด โดยเรื่องสำคัญก็คือการฝึกสติ รักษาสติให้คงที่ จัดระเบียบของกายจนเป็นระบบของใจ ต้องสำรวมระวังอินทรีย์ทั้ง ๖ หมั่นฝึกปรือ ฝึกหัดให้เกิดสติ และคงสติไว้กับตัวตลอดเวลา

    มหาสติปัฏฐานจึงเป็นเรื่องของการฝึกหัด ปฏิบัติ ด้วยตัวเอง เพื่อให้ตนมีสติตั้งมั่น โดยยืน เดิน นั่ง นอนจะได้ไม่ผิดพลาด มีความรู้สึกตัวอยู่ภายในกาย ไม่ส่งออกไปข้างนอก ถ้าทำอย่างนี้ได้ก็เรียกว่า สมาธิ คือความตั้งมั่น ในเรื่องของมหาสติปัฏฐาน ซึ่งแบ่งได้เป็น กาย เวทนา จิต ธรรม นั้น พระพุทธเจ้าบอกให้เราพิจารณาทีละข้อ ไม่ใช่พิจารณารวมกัน เฉพาะข้อ "กาย" ก็มีย่อยออกไปอีก ๖ บรรพ โดยทั้งหมดเป็นการพิจารณาอยู่ภายในกายตน ว่ากายนี้มีอะไรบ้างที่น่าศึกษา ดังนั้นการปฏิบัติธรรมจึงเป็นการเรียนรู้เพื่อเข้ามาหาตัวเอง ซึ่งแตกต่างจากวิชาการต่างๆ ทางโลกที่เป็นการเรียนรู้สิ่งข้างนอกตัวเรา

    แม้กระทั่งในระหว่างที่อบรมก็ต้องมีการฝึก จัดความเป็นระเบียบทั้งแถวที่นั่ง การตรงต่อเวลา การถอดรองเท้า การเดินเป็นแถว การบิณฑบาตรเป็นแถว ก่อนจะอบรมต้องมีการ "สมาทานธุดงค์" เพื่อเป็นการปลุกจิตสำนึกให้แก่พระ เป็นการสร้างมหาสติ เป็นธรรมวินัย ที่ใช้ในการปฏิบัติร่วมกัน การสมาทานธุดงค์ครั้งนี้คือ ถือครองผ้าบังสุกุล๑ ถือครองผ้าไตรจีวร๑ บิณฑบาตเป็นวัตร๑ บิณบาตเป็นแถว๑ บิณฑบาตโดยใช้ภาชนะเดียว๑ อยู่โคนต้นไม้เป็นวัตร๑

    หลายท่านอาจจะสงสัยว่าทำไมต้องเรียน "มหาสติปัฏฐานสูตร" ในการเล่าเรียนของพระพุทธศาสนานั้นจะมี ๒ อย่าง คือ คันถธุระ และวิปัสสนาธุระ โดยที่ คันถธุระนั้น คือธุระฝ่ายคัมภีร์ ธุระก็คือการเรียนพระคัมภีร์ หรือเรียกได้ว่าเป็นการศึกษาปริยัติธรรม ส่วนวิปัสสนาธุระ คือธุระฝ่ายวิปัสสนา ธุระด้านการเจริญวิปัสสนา กิจพระศาสนาในด้านการบำเพ็ญกรรมฐาน ซึ่งมีทั้ง สมถะกัมมัฏฐาน (กรรมฐานคือสมถะ, งานฝึกจิตให้สงบ) และ วิปัสสนากัมมัฏฐาน (ความเห็นแจ้ง คือเห็นตรงต่อความเป็นจริงของสภาวธรรม, ปัญญาที่เห็นไตรลักษณ์อันให้ถอนความหลงผิดรู้ผิดในสังขารเสียได้, การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้งรู้ชัด ภาวะของสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็นของมันเอง)

    การอบรมแบบวิปัสสนากัมมัฏฐาน ของ มหาสติปัฏฐานสูตรนี้ ที่ผมพอจะจำได้ในเรื่องหลักการพิจารณาแต่ละบรรพนั้น ก็มีรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกัน ผมจึงขออนุญาตหลวงปู่เรียบเรียงจากที่ท่านสอน บอกกล่าว เล่า ถ่ายทอด วิชาต่างๆ ที่เกี่ยวกับการพิจารณาแต่ละบรรพ พร้อมทั้งเรื่องราวต่างๆ ที่น่าสนใจดังนี้
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    อานาปานบรรพ

    ในหมวดของกายานุปัสสนากัมมัฏฐานนี้ สิ่งสำคัญที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสเป็นลำดับก่อนหลัง โดยสิ่งแรกที่ทรงตรัสไว้ คือเรื่อง อานาปานะ หรืออานาปานสติ การพิจารณากายของอานาปานะ นี้ คือการพิจารณาดูลมหายใจ นั่นเอง โดยจะเห็นได้จาก คำกล่าวในพระไตรปิฎก (บางตอน) ที่ได้กล่าวไว้ว่า

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปแล้วสู่ป่าก็ดี ไปแล้วสู่โคนไม้ก็ดี ไปแล้วสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ (ขัดสมาธิ) ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า เธอย่อมมีสติ หายใจเข้า ย่อมมีสติ หายใจออก

    เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว
    เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น หรือเมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวง หายใจเข้า
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหาายใจทั้งปวง หายใจออก
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขาร (คือลมหายใจเข้าและหายใจออก) หายใจเข้า
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขาร หายใจออก

    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายในบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายนอกบ้าง

    ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือความเสื่อมไปในกายบ้าง
    ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมไปในกายบ้าง

    ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่ากายมีอยู่ แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิ ไม่อาศัยอยู่ด้วย ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลกด้วย

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่อย่างนี้...

    จากข้อความบางตอนที่ได้กล่าวถึงเรื่อง อานาปานะ หรือที่เราคุ้นเคยกันก็คือการฝึกอานาปานสติ เพียงแค่พิจารณาภายในลมหายใจ พิจารณาระลึกอยู่แค่ปลายจมูก ให้รู้ว่าลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ให้ "รู้" อยู่แค่นั้น อานิสงส์ของอานาปานะนั้นมีมากมายสามารถจะทำให้กระดูกเป็นแก้ว เป็นพระธาตุก็ยังได้ ดังที่พระอริยเจ้าหลายรูปที่มีข่าวว่ามรณภาพแล้ว อัฐิกลายเป็นพระธาตุ แก้ว ผลึกใส ขุ่นบ้าง สีบ้าง ซึ่งเป็นผลมาจากการได้เจริญอานาปานะอยู่สม่ำเสมอ ซึ่งเรื่องการเจริญอานาปานะนั้น เป็นเรื่องที่ดูเหมือนจะง่ายๆ เพราะไม่ต้องอาศัยอุปกรณ์ วิธีการ หลักการที่มากมาย เยอะแยะ รู้เพียงแค่ลมหายใจอย่างเดียว ซึ่งฟังดูเป็นเรื่องไม่ยาก

    แต่ในทางปฏิบัตินั้นผมยอมรับว่าค่อนข้างยากสำหรับตัวผม เพราะการที่เราพยายามจะเอาจิตมาจับที่ลมหายใจนั้น แรกๆ ดูสงบดี พอเจริญสติไปได้สักพัก ในธรรมชาติของจิต ไม่รู้ว่าเป็นอย่างไร มักคิดเรื่องโน้นเรื่องนี้ สารพัดที่จิตจะไปจับอยู่ภายนอกกาย ยิ่งเราบังคับจิต มันก็ยิ่งดื้อ ซึ่งเรื่องนี้ผมเคยถามหลวงปู่ว่า เราจะบังคับจิตไม่ให้คิดเวลาทำสมาธิได้อย่างไร ท่านย้อนถามว่า เราบังคับลมที่พัดอยู่ในอากาศได้ไหม ผมตอบว่าไม่ได้ครับ ท่านจึงบอกว่าเช่นเดียวกัน ธรรมชาติของจิตนั้น ไม่มีทางที่เราจะบังคับมัน ตราบใดที่เรายังไม่รู้เท่าทันมัน ยิ่งเราบังคับมันก็ยิ่งกดดัน ทำให้จิตนั้นอยากหนีมากขึ้น ทางที่ดีควรจะผ่อนคลาย หากจิตมันกำลังจะคิดเรื่องไหน ก็ให้มีสติรับรู้ว่ากำลังคิด อย่าไปบังคับว่าไม่ให้คิด ขอให้มีสติรับรู้เพียงว่ามันคิด แล้วก็น้อมจิตมาจับที่ลมหายใจต่อ

    ในหลักของการฝึกอานาปานะนั้น ผมมิอาจมีปัญญาสูงส่งอธิบายได้หมด ท่านผู้อ่านสามารถหาอ่าน และศึกษาได้จากหนังสือ คัมภีร์ต่างๆ มากมาย อีกทั้งดินแดนสยามประเทศเรามีผู้รู้เรื่องนี้อยู่มาก สามารถฝึกหัด ปฏิบัติ เรียนรู้ได้จากผู้รู้ทั้งหลายที่เชี่ยวชาญ ช่ำชอง เกี่ยวกับเรื่องของอานาปานะได้

    ความสำคัญของลมหายใจนี้ก่อนการเจริญสติทุกครั้งหลวงปู่มักจะบอกให้พวกเราผ่อนคลาย สูดลมหายใจเข้าลึกๆ เต็มปอด นับ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ แล้วพ่นลมออกแผ่วเบา นุ่มนวล สุภาพ ทำสัก ๓-๔ ครั้ง จะรู้สึกจิต สงบ ว่าง พอจิตสงบแล้วเรามากำกับดูลมหายใจต่อไป

    บางครั้งหากเกิดอาการง่วงนอนระหว่างที่ฝึกสติ ก็ให้กำหนด "ง่วงหนอๆ" ซึ่งเป็นการเปลี่ยนงานให้แก่สภาวะ คือ เปลี่ยน สภาวธรรมไปเป็นอีกอย่างหนึ่ง เปลี่ยนงานให้แก่สมอง เปลี่ยนงานให้แก่จิต คือเมื่อรู้ว่างานนี้มันเหนื่อย ก็เปลี่ยนงานให้มัน ไปทำอย่างอื่น จะบรรเทาอาการง่วงได้บ้าง ซึ่งการกำหนดง่วงหนอๆ เป็นการกำหนดให้เรารู้สึกตัว มีสติ รับรู้สิ่งที่ปรากฏ การกำหนดง่วงหนอ ยิ่งชัดเท่าไร สติก็ปรากฏชัดเท่านั้น ซึ่งในขณะที่เรามีจิตอึมครึม ง่วง มัวเมาก็จะมีอุปาทานยึดถือมาก เราจึงต้องใช้พลังอย่างแรงกล้า ที่จะเอาชนะมัน โดยการใช้ลมหายใจกำหนด เรียกให้สติกลับมา

    ดังนั้น อานาปานบรรพ จึงสามารถที่จะแก้ง่วงได้ โดยสูดลมเข้าไปลึกๆ กลั้นไว้แล้วนับ ๑- ๒- ๓ -๔ -๕- แล้วค่อยๆ ผ่อนลมออก โดยในท่านั่งสมาธิเพชร (วัชระ)เพราะว่าสามารถนั่งแล้วแก้ง่วงได้ ท่าปางสมาธิเพชรนี้เรียกว่าปางดอกบัว หรือในธิเบตเรียกว่าท่ามุทรา

    อิริยาบถบรรพ

    เป็นการใช้สติสำรวมอยู่ใน อิริยาบถใหญ่ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน ซึ่งในระหว่างอบรมเท่าที่ผมพอจะจำได้นั้น หลวงปู่เคยสอนอิริยาบถของการยืน และการเดินแบบเท้านารี ซึ่งท่านได้กล่าวไว้ว่าการยืน โยกโคน คือเรื่องของการฝึกในอิริยาบถบรรพ คือเป็นการทำให้สติรับรู้การยืน และการโยกโคนแห่งกาย มันเป็นวิทยาศาสตร์ เป็นกระบวนการในอิริยาบถของการถ่ายเทน้ำหนัก ต้องให้น้ำหนักถ่ายเทได้อย่างสะดวก แล้วจะทำให้เดินได้อย่างเป็นธรรมชาติ อย่างรวดเร็ว มีสุขภาพที่ดี เป็นไปตามแรงโน้มถ่วงของโลก รู้จักจัดกระบวนการภายในกายตน เป็นกายบริหาร หรือบริหารใช้งานร่างกาย ซึ่งมีวิธีการคือ

    การยืนโยกโคน

    ยืนท่าตรง ยืดอก โครงสร้างของร่างกายต้องตั้งตรง มือขนานข้างลำตัวอย่างผ่อนคลายสบายๆ ไม่ต้องเกร็ง เท้าทั้งสองข้างห่างกันเล็กน้อย ปลายเท้าชี้ข้างหน้า ให้น้ำหนักของตัวทั้งหมดลงมาอยู่ที่เท้าทั้งสองข้างเสมอกัน

    จากนั้นให้ส่งความรู้สึกทั้งมวล ลึกลงไปในกายตน ต้องไม่มีความคิดแตกแยกที่เป็นสอง รู้จักเพียงกายตน ขณะยืนก็ให้ส่งความรู้สึกตั้งแต่หัวจนถึงปลายเท้า และหยุดลงที่ฝ่าเท้าทั้งสองข้าง หนังเท้ารับน้ำหนักเต็มสมบูรณ์ รับรู้ได้เลยว่าทุกอณูของหนังเท้ามีน้ำหนักแผ่ซ่านไปทั่วเท้าเสมอกัน นั้นคือภาวะที่เรียกว่า "ตึงที่หนึ่ง"

    ต่อมา ให้ยกส้นเท้าขวาขึ้น ปลายเท้ายังจิกพื้นไว้ ค่อยถ่ายเทน้ำหนักมาทางซ้าย เท้าซ้ายตึง น้ำหนักส่วนใหญ่มาอยู่ที่ฝ่าเท้าทั้งหมดด้านซ้าย ด้านขวาเป็นภาวะไร้น้ำหนัก แต่ถ้าฝึกใหม่ให้ใช้ปลายเท้าจิกพื้นไว้ เพื่อประคองร่างกายให้เกิดความสมดุล เหล่านั้นคือภาวะที่เรียกว่า "ตึงที่สอง" จากนั้น ก็ถ่ายเทน้ำหนักมาอยู่ที่ ตึงที่หนึ่ง

    หลังจากนั้น ให้ยกส้นเท้าซ้ายขึ้น ปลายเท้าซ้ายจิกพื้นไว้ ถ่ายเทน้ำหนักมาทางขวา ให้เท้าขวาตึง น้ำหนักส่วนใหญ่มาอยู่ที่ฝ่าเท้าทั้งหมดด้านขวา ด้านซ้ายเป็นภาวะไร้น้ำหนัก เหล่านั้นคือภาวะที่เรียกว่า "ตึงที่สาม"

    ในภาวะตึงที่หนึ่งนั้น ตัวต้องตั้งตรง สายตาทอดลงต่ำ พลังงาน น้ำหนัก ต้องอยู่ที่ศูนย์เท้า น้ำหนักที่เท้าทั้งสองต้องเสมอกัน เท่ากัน รับรู้ได้เหมือนกัน เมื่อเราฝึกไปได้สักระยะ จะรับรู้ถึงพลังบางอย่าง เป็นพลังไออุ่นซึ่งวิ่งอยู่ที่เท้าเรา คล้ายๆ กับกระแสแม่เหล็ก หรือประจุไฟฟ้าอย่างอ่อนที่วิ่งผ่านเท้าเรา พลังชนิดนี้คือ ปราณ หรืออาจจะอธิบายว่าเป็นขบวนการเผาผลาญ ใช้พลังงานของเซลล์ต่างๆ เลยทำให้เกิดความร้อนขึ้นก็ได้

    การเดินแบบเท้านารี

    สายตาทอดลงต่ำ ขาตึงตัวตั้ง เอาความรู้สึก (สติ) ทั้งปวงจับไว้ที่ท่อนขา ฝ่าเท้า คือ ร่างกายช่วงล่าง ก่อนจะทำสูดลมหายใจเข้า (ขั้นของการเตรียมตัว) กักลมทิ้งไว้ แล้วนับ ๑- ๒ ๓ ๔ ๕ ทนได้เท่าไรแล้วผ่อนลมออก แล้วก็สูดเข้าไปให้ลึกๆ แล้วนับ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ จะนับเท่าไรแล้วแต่ ทนได้เท่าไรแล้วพ่นลมออก ทำสัก ๓-๔ ครั้ง ความคิดจะไม่ปรากฏอะไร มีแต่ความว่างๆ โล่ง

    ส่งความรู้สึกทั้งมวลไปอยู่ที่กายท่อนล่าง เริ่มต้นจาก อานาปานะ แล้วต่อท้ายด้วย อิริยาบถบรรพ เมื่อร่างกายรู้สึก (รับรู้) ถึงท่อนล่างแล้ว ก็มาถึงสามตึง ตึงแรกคือศูนย์ตึง (ตึงที่ศูนย์กลาง) สองข้างจะต้องตึง ดุลถ่วงของร่างกายตกลงไปอยู่ที่ศูนย์ คือ เท้าสองข้าง เสร็จแล้ว โยกตัว (หลวงปู่นิยมก้าวเท้าซ้ายก่อนเสมอ) น้ำหนักเทลงมาที่ข้างขวา ยืนเท้าขวาตึง เท้าซ้ายหย่อน เปิดส้นเท้าซ้าย น้ำหนักตัวทิ้งมา เท้าซ้ายลอยแล้วก้าว เหมือน "พระพุทธรูปปางลีลา" เทน้ำหนักลงไปอีกด้าน

    เพียงแค่รับรู้สภาวะความเป็นจริง ไม่ต้องมีการภาวนาใดๆ เมื่อเทน้ำหนักลงไปหมดแล้วจึงก้าว ส่วนจะเอาส้นเท้าลงหรือจิกปลายเท้าลง (เท้าที่เรายกก้าวเดินไปข้างหน้า) หลวงปู่แนะนำว่าถ้าใช้ส้นเท้าลง และตึง ดึงน้ำหนัก มันจะทำให้โยกได้ง่าย และโยกได้อย่างเหมาะสม

    เท้าข้างที่ไม่มีน้ำหนักก็เป็นอิสระ ยืนได้อย่างมั่นคงแล้วเดินต่อไปอย่างช้าๆ อย่าไปเกร็ง แล้วรับรู้สภาวะความเป็นไปของพลัง ที่โยกไปโยกมา แค่นี้สติก็ปรากฏแล้ว การเดินปลายเท้าชี้ไปข้างหน้านั้น (คนที่เดินจงกรมเป็น รองเท้าจะสึกเสมอกัน) ก้าวพอประมาณ หากมีอาการตึงที่เท้าอย่ากังวล เป็นเพียงสภาวธรรม (เวทนา) ในการปฏิบัติธรรม อาการปวดเป็นการทำให้เรารู้ "เวทนา" รู้จักเวทนานุปัสสนา แต่อย่าไปใส่ใจ เพราะเรากำลังพิจารณากาย ไม่ใช่พิจารณาเวทนา

    สัมปชัญญบรรพ

    การกำหนดพิจารณาในสัมปชัญญบรรพนั้น คือการกำหนด สำรวมรู้อยู่ในอิริยาบถ แต่เป็นการกำหนดรู้ในส่วนที่เป็น อิริยาบถย่อย ที่มากกว่าการยืน เดิน นั่ง นอน หรือก็คือ การกำหนดรู้ในทุกอิริยาบถ นั่นเอง

    เรื่องของการกำหนดรู้ในอิริยาบถ การฝึกฝนเจริญสตินั้น หลวงปู่เคยพูดไว้ว่ามันต้องทำควบคู่กับบารมีด้วย คือไม่ใช่ทำดีครั้งเดียวแล้วจบลงไป แล้วไปรอว่าเราจะได้ประโยชน์จากครั้งเดียวนั้น หรือมารอว่าเราตายแล้วจะนึกถึงความดีครั้งนั้น ท่านบอกว่ามันเสียเวลา เพราะว่าเราจะกำหนดเวลาตายไม่ได้ กำหนดอาการตายไม่ได้ กำหนดลักษณะตายไม่ได้ และกำหนดที่ตายไม่ได้ เมื่อกำหนดไม่ได้ เราก็ไม่ทางรู้ว่า จิตเกิดดับ หรือขณะที่ตายลง เราจะไม่มีเวทนากล้า เราอาจจะตายเพราะอุบัติเหตุก็ได้ ถ้าชั่วชีวิตเราทำไม่ดีมาตลอด และทำดีก่อนตายครั้งเดียว แล้วรอที่จะรับผลดีอันนั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่มีประโยชน์

    ดังนั้นพระพุทธองค์ จึงคอยเตือน บอกเรา แม้กระทั่งก่อนที่พระองค์จะทรงดับขันธปรินิพพาน ก็ยังทรงบอกว่า "ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงยังประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านให้ถึงพร้อมเถิด ด้วยความไม่ประมาท" คำว่า ด้วยความไม่ประมาท คือ มันต้องทำทุกขณะจิต เมื่อเราทำอะไรด้วยความไม่ประมาทแล้ว เราก็พร้อมที่จะเผชิญกับความตาย อย่างองอาจ สง่างาม ไม่หวาดหวั่น ไม่พรั่นพรึง ไม่สะดุ้งผวา

    น้ำร้อน

    การที่ไม่ประมาท มีสติ สัมปชัญญะพร้อม มันก็ต้องฝึกฝน หมั่นพิจารณา รู้ทั่วในทุกอิริยาบถ หลวงปู่เคยบอกว่า ในบรรพทั้ง ๖ นั้น ข้อที่พิจารณา "สัมปชัญญบรรพ" นั้นเป็นบรรพที่ยากที่สุด เพราะต้องมีสติ สัมปชัญญะ ในทุกอิริยาบถใหญ่ (ยืน เดิน นั่ง นอน) และอิริยาบถย่อยทั้งหมด ซึ่งครั้งหนึ่งท่านเคยฝึกฝน ทดลองตัวเองเพื่อให้ตามระลึกรู้ รับทราบสัมผัส ในทุกกระบวนการในอิริยาบถย่อยนั้นๆ ถึงขนาดยอมทดลองดื่มน้ำที่ต้มร้อนๆ เทออกมาใส่แก้ว ปล่อยให้ควันขึ้นสักนิด นับหนึ่งถึงสิบ แล้วจับมันกรอกเข้าปาก ค่อยๆ กลืนเข้าไป ท่านบอกว่าเราเคยดื่มน้ำเย็นมาจนชินแล้วตามรับรู้มันไม่ได้หมด เลยต้องทดลองดื่มน้ำร้อนเข้าไป ว่ามันเข้ามาและไปที่ลิ้นชั้นนอก ชั้นกลาง ชั้นใน ผ่านลำคอ กระเดือก ผ่านเข้ามาที่ต่อมน้ำลาย (ลำคอเราจะมีต่อมน้ำลายสำหรับป้องกันของเสียภายในที่จะกำเริบออกมา) ผ่านเข้ามาที่ลำไส้ ผ่านเข้าไปจนกระทั่งถึงกระเพาะ ก็เพื่อจะตามรู้มันในทุกอิริยาบถ (สัมปชัญญบรรพ) การที่สามารถตามระลึกรู้ได้ในทุกอิริยาบถนั้น จึงเป็นเรื่องที่ยากที่สุด

    หรือแม้กระทั่งการถ่ายอุจจาระ ท่านก็เคยบอกไว้ว่าต้องระลึกรู้ถึงกระบวนการว่า เราเตรียมตัวที่จะสร้างกำลังในกระบังลมในทวารหนัก เริ่มทำให้เกิดการบีบคั้นในลำไส้ใหญ่ของเรา ทำให้เกิดการหดตัว ทำให้เกิดการขับถ่าย กว่าที่ขบวนการของอุจจาระจะถ่ายออกมาจากลำไส้ใหญ่ได้ เราต้องรู้สึกได้ถึงความไหลลื่นในกระบวนการทำงานทั้งหมด วิธีที่ว่านี้ท่านต้องยอมกินยอดผักขมอยู่ครึ่งเดือน เพื่อจะสัมผัสมันให้ได้ว่า ระบบขับถ่ายมันไหลลื่นอย่างไร ในสำไส้ใหญ่มันทำงานอย่างไรบ้าง

    แต่โดยเบื้องต้นในการพิจารณาอิริยาบถย่อยนั้น ให้เรารับรู้เพียงว่า เราเหยียด คู้ ยืน เหยียดขา หดแขน หดขา กระดิกนิ้ว ขยับริมฝีปาก หรือไม่ก็กะพริบหนังตา ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นกระบวนการของอิริยาบถ ในสัมปชัญญบรรพทั้งหมด หรือแม้กระทั่ง เรารับรู้ ลมที่มาเข้าหู จากหูซ้ายทะลุหูขวา ปิดจมูกหมด ลมจะออกจากทางไหนได้อีก หากฝึกได้ถึงขั้นที่มันละเอียดเมื่อปิดปาก ปิดหู ปิดจมูก จะรู้ว่ามีอะไรออกจากผิวหนังได้บ้าง
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>กัสสปะมุนี

    เกี่ยวกับการฝึกฝนอย่างถึงขั้นนี้ หลวงปู่เล่าให้ฟังว่ามีพวกโยคีเคยแพ้ลูกศิษย์ของท่านคือ "หลวงพ่อกัสสปะมุนี" ซึ่งท่าน กัสสปะมุนี (อยู่ที่ระยอง) นั้นเคยสมัครเป็นลูกศิษย์หลวงปู่สมัยที่หลวงปู่อยู่ที่เทือกเขาภูพาน ตอนนั้นท่านกัสสปะมุนีเพิ่งบวชใหม่ คือบวชตอนปลดเกษียณ โดยสมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นอุปัชฌาย์ให้ บวชแล้วออกธุดงค์ ไปเจอหลวงปู่ที่เทือกเขาภูพาน จึงมาขอเรียนอิริยาบถ กัมมัฏฐาน มหาสติปัฏฐาน หลวงปู่จึงสอนให้ประมาณเดือนครึ่ง

    หลังจากนั้นท่านกัสสปะมุนีก็หายไป ๓ ปี มีข่าวอีกที ก็โด่งดัง ไปอยู่วัด ที่เมืองเดลลี ประเทศอินเดีย แล้วมีข่าวลงในหน้าหนังสือพิมพ์ฝรั่งว่า พระไทยชนะโยคีของอินเดีย โดยเรื่องมีอยู่ว่า ท่านเคยเป็นอดีตรองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ดังนั้นเวลาที่ท่านบวชแล้วไปอยู่เมืองนอก พวกลูกน้องที่อยู่กระทรวงการต่างประเทศ รวมทั้งคนต่างประเทศ ซึ่งรู้จักท่าน ก็พากันมาถวายอาหารคาว หวาน ปัจจัยลาภ แก่ท่านมากมาย เลยทำให้พวกโยคีเกิดความอิจฉา เนื่องด้วยเป็นเจ้าลัทธิเก่าอยู่ก่อนแล้ว จึงหาวิธีกลั่นแกล้งโดย เมื่อพระองค์นี้เดินมาก็จะทำให้พื้นเป็นไฟ ดังนั้นขณะที่ท่านกัสสปะมุนีเดินบิณบาตมา อยู่ดีๆก็มีไฟลุกขึ้นมากลางถนน แต่ท่านก็เดินผ่านเปลวไฟโดยไม่รู้สึกสะทกสะท้าน และไฟนั้นก็วิ่งย้อนเข้าหาโยคี ทำให้โยคียอมรับในกฤษดาภินิหารของท่านกัสสปะมุนี ยอมย้ายสำนักของตัวเองออกไปจากที่ใกล้ๆวัด ซึ่งท่านกัสสปะมุนีพำนักอยู่

    นี่เป็นตัวอย่างลักษณะของการใช้ "มหาสติปัฏฐาน" ในข้ออิริยาบถ (ทั้งอิริยาบถบรรพ และสัมปชัญญบรรพ) เพราะหลวงปู่ได้สอนอิริยาบถ (เข้าใจว่าทั้งอิริยาบถใหญ่ และอิริยาบถย่อย : ผู้เขียน) แก่ท่านกัสสปะมุนี โดยหลวงปู่ให้ท่านกัสสปะกลืนก้อนน้ำแข็ง แล้วฝึกตามรับรู้อย่างที่หลวงปู่ตามรับรู้น้ำร้อน ซึ่งเมื่อฝึกฝนใหม่ๆ อาจจะกำหนดรู้ไม่ได้ การกลืนก้อนน้ำแข็งทั้งก้อน ทำให้รู้ตามว่าก้อนน้ำแข็งมันตกอยู่ทีไหนในกายตน เพื่อให้กำหนดรู้ตามช่วง ตามลักษณะ รู้ตามจุดมุ่งหมาย รู้ตามความเหมาะสม รู้ที่มันผ่านไปแล้วก็โคจร แล้วก็รู้ชัดตามความเป็นจริง ฝึกจนกระทั่งท่านกัสสปะมุนีเป็นปอดชื้น ถึงแม้มันยาก แต่ไม่ลำบากจนไปนักที่เราจะฝึกมัน

    ดังนั้นคนที่จะเรียนรู้อิริยาบถย่อยได้ดีนั้น หลวงปู่บอกเคล็ดไว้ว่าอย่างน้อยต้อง ผ่านการฝึกกสิณ ต้องมีสมถะอย่างน้อยต้องฝึกจนได้องค์ฌาน หรือไม่ก็ผ่านอานาปานบรรพ ต้องผ่านอสุภกัมมัฏฐาน หรือไม่ก็ผ่านนวสี (พิจารณาศพป่าช้าทั้ง ๙ ) แล้วถึงมาเข้าใจในอิริยาบถ หรือสัมปชัญญบรรพ และจับมันจนกระทั่งละเอียดรอบคอบถึงขนาดที่ต้องรู้ว่าหัวใจเต้นกี่ครั้งต่อนาที ต้องรู้ว่าเลือดลมที่สูบฉีดไปในกายไปติดขัดตรงไหนบ้าง นั่นคือมีสติ พิจารณากายในกายและกายนอกกาย นี่คือที่มาของกำหนดรู้ในอิริยาบถของสัมปชัญญบรรพ สัมปชัญญะที่จะรู้ กำหนดอิริยาบถย่อย ที่ค่อนข้างต้องใช้สติที่ละเอียดลึก

    ปฏิกูลบรรพ

    การกำหนดพิจารณาในปฏิกูลบรรพนั้น คือการกำหนดพิจารณาอาการ ๓๒ ในร่างกาย (ดังบทสวดใน วิธีเจริญกายคตานุสติกัมมัฏฐาน) เพื่อแยกสัตว์ ตัวตน ตัวเขา ตัวเรา ออกจากอาการ ๓๒ ให้ได้ ส่วนหลักในการพิจารณานั้น คือพิจารณาโดยสถานที่เกิด เปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้ง โดยสี โดยกลิ่น โดยการรวมกัน โดยการแตกสลาย ถ้าพิจารณาได้อย่างนี้ ถือว่าเป็นการพิจารณาในปฏิกูลบรรพ ซึ่งต้องพิจารณาให้ได้ว่า ความปฏิกูลโดยที่เกิด ความปฏิกูลโดยที่ตั้ง ความปฏิกูลโดยสี ความปฏิกูลโดยกลิ่น ความปฏิกูลโดยภาพรวม และความปฏิกูลโดยย่อยสลาย ซึ่งเราจะพิจารณาสิ่งปฏิกูลอะไรก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นร่างกาย จะเป็นวัตถุธาตุใดๆ ก็ได้ หากเข้าหลักวิธีนี้ถือว่าเป็นการพิจารณาโดยปฏิกูลบรรพ การพิจารณาได้อย่างนี้จะทำให้เราสลดสังเวช ทำให้เราปล่อยวาง และคลายกำหนัดลงไป ปฏิกูลจึงพิจารณาสิ่งที่สกปรก ตรงกันข้ามกับความสวยงาม

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> อุดมการณ์แห่งวิถีพุทธะ

    คนที่ฝึกมหาสติปัฏฐานนั้น จะต้องมีอาการหรือความรู้ ๔ อย่าง คือ รู้รอบ รู้ละเอียด รู้แจ้ง รู้ลึก และต้องรับรู้ถึงความถูก ความผิด ยอมรับและปฏิเสธ ต้องรับได้ทุกสภาวะ และต้องตั้งมั่นได้อย่างไม่หวั่นหวาด ไม่สะดุ้งผวา ดังตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในระหว่างการอบรมพระวิปัสสนาจารย์นั้น หลวงปู่ได้รับแรงกดดันต่างๆ รอบด้าน แต่ด้วยอุดมการณ์ของท่านที่คิดจะนำพาศาสนาไปสู่จุดหมายแห่งความเจริญ วันที่มีพระออกมายอมรับ ท่านได้ร้องออกมาอย่างโล่งอก และน้ำตาไหลซึมว่า "ชิตังเม" ซึ่งแปลว่า "ข้าชนะแล้ว"

    เพราะว่าที่ผ่านมานั้นในจังหวัดนครปฐม ไม่เคยมีการปฏิบัติธรรมแบบนี้มาก่อนเลย หลวงปู่บอกว่าเมื่อศาสนาเข้ามาสู่ดินแดนนครปฐมนี้ มีแต่ความเจริญทางด้านการก่อสร้างเท่านั้น ส่วนคุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรม มีอยู่แต่เฉพาะในตำรา และห้องเรียน ไม่เคยออกมาอยู่ชนบท ออกมาสู่สังคมหมู่บ้าน ในเมือง หรือแม้แต่สังคมของวัดด้วยกันเลย สิ่งที่ท่านหวังอยากได้รับมีเพียงคำว่าบุญ อยากให้พระศาสนาเจริญ ให้สังฆมณฑลในประเทศนี้รุ่งเรือง และเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของสังคมได้ ผู้ที่รักหลวงปู่จะตอบแทนท่านได้ก็ต้องซื่อสัตย์ ยุติธรรม ตรงแนว ถูกต้องและบริสุทธิ์ กับอุดมการณ์ของพระพุทธะพระองค์นั้น ท่านจึงทำหน้าที่เป็นครู เป็นผู้นำ คอยทำหน้าที่ชี้ถูกชี้ผิด ท่านบอกว่ารักทุกคนเหมือนดังอวัยวะของท่านเอง (คำพูดนี้ซาบซึ้งใจมาก ใครจะรู้บ้าง : ผู้เขียน)

    หลวงปู่ได้เล่าวิถีชีวิตของท่านสมัยที่บวชใหม่ๆ ว่าวัดที่ท่านอยู่เป็นวัดในกรุงเทพ (ท่านมักพูดเสมอว่ามีแต่นักบวชที่กินๆ นอนๆ เช้าเอน เพลนอน บ่ายพักผ่อน กลางคืนจำวัด ดึกๆ ดูโทรทัศน์ ค่ำลงซัดมาม่า) พระบางรูปนุ่งกางเกง ออกเที่ยวกลางคืน เป็นเจ้ามือแชร์ หวย มีแต่ท่านที่ทำอะไรไม่ค่อยเหมือนใคร เพราะท่านถือว่าพระเหล่านั้นคือครูของท่าน ที่ทำให้ท่านเห็นข้อแตกต่างระหว่างพระธรรมวินัย

    ท่านมักเข้าไปสอนนักเรียนในสลัม ในคลองเตย (ท่านทำมาก่อนมูลนิธิดวงประทีป) สตังค์ที่ท่านบิณฑบาตมาได้ จากชาวบ้านที่ใส่มาในบาตร ท่านก็เก็บเอาไว้ พอสิ้นเดือนก็ไปซื้อถังสังฆทานมาถวายพระ แล้วปล่อยปลา ปล่อยนก พอถึงวันเด็กท่านจะไปซื้อขนมปังกระป๋อง ที่เป็นตัวการ์ตูนทีละหลายสิบปี๊บ เอามานั่งกรอกใส่ถุงเป็นพันๆ ถุง ตั้งแต่หกโมงเย็น ยันสว่าง เสร็จแล้วท่านจึงห่อด้วยจีวร แบกไปแจกให้เด็กนักเรียน ท่านบอกว่าทำสิ่งเหล่านี้เพื่อให้เด็กเขาเห็นว่า พระศาสนายังมีสังคมดีๆ อยู่ พระศาสนายังมีคนที่คิดจะให้ ยังเป็นที่พึ่งของสังคมได้ เพราะว่าสังคมในยุคนั้นเป็นสังคมที่เละเทะ

    แต่การที่ท่านไปสอนมันยังไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ดังนั้นท่านจึงคิดจะสอนที่ต้นเหตุ คือ มาอบรมสอน ผู้ที่ทำหน้าที่ถ่ายทอด ศีลธรรม จริยธรรม ซึ่งก็คือพระ คือนักบวชในศาสนา ให้มีจิตสำนึก ที่ประกอบไปด้วยสติ และความรับผิดชอบ ต่อสถานภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ท่านจึงคิดว่าต้องสอนพระ ให้พระในพระพุทธศาสนามีจิตสำนึก ว่าจะรับผิดชอบสังคมได้อย่างไร

    ต่อมาท่านจึงเพียรพยายาม ขวนขวาย ปฏิบัติธรรม ทดลอง ทดสอบ ฝึกฝนตัวเอง ท่านยอมแม้กระทั่งลงไปแช่ในหลุมขี้ พอขึ้นมาจากหลุมขี้ อีกหนึ่งเดือนต่อมาลงไปนอนกับศพที่ขึ้นอืด หลังจากนั้นก็ไปขังตัวเองในถ้ำที่มีงูพิษ พอออกจากถ้ำท่านบอกว่าได้มาโผล่ที่หลี่ผี ประเทศลาว และได้เข้าไปอยู่ในถ้ำพระโพธิสัตว์

    ในถ้ำพระโพธิสัตว์ที่หลวงปู่ไปอยู่นั้น ท่านเล่าว่าข้างนอกจะมืด แต่พอเข้าไปข้างในแล้ว จะโปร่ง โล่ง สบาย มันเหมือนเมืองอีกเมืองหนึ่ง มีพระ (พระโพธิสัตว์) ออกมาแสดงความรู้ความสามารถ ปุจฉา วิสัชนา ท่านได้นั่งดูเหมือนดูหนัง ดูละคร ท่านบอกว่าไม่รู้ว่าอยู่ในถ้ำนานแค่ไหน แต่รู้ว่าเมื่อออกจากถ้ำ มะม่วงได้ออกลูกแล้ว!! เพราะมะม่วงต้นนั้นท่านปลูกมันด้วยเม็ด! (หลวงปู่บอกว่าอย่าเพิ่งเชื่อ แล้วท่านก็หัวเราะ...) นี่มันเป็นความพิสดารของหลวงปู่ เป็นประสบการณ์ทางวิญญาณที่ผู้ปฏิบัติจริงจะเห็นได้

    หลังจากท่านออกมาจากถ้ำ จึงเดินธุดงค์ต่อไป เมื่อมาถึงสถานที่แห่งหนึ่งก็เจอคนฉายหนังเร่ (การแสดงคล้ายการชักหุ่นละครโรงเล็ก) การฉายหนังเร่นี้ตามชนบทเขาจะมีวิธีการจ่ายค่าดูหนังที่ไม่เหมือนใครคือ คนที่มาดูหนังเร่เอาข้าวเปลือกมาเป็นค่าดู หรือใช้อาหารพวก ปลาร้า ปลาเค็ม ก็ได้ แล้วพ่อค้าหนังเร่จะเอาของเหล่านี้ไปขาย

    พอฉายหนังเสร็จ คนฉายหนังเร่เดินมาหาหลวงปู่ บอกว่า "หลวงพ่อครับ ...เมื่อคืนมีคนมาติดต่อผมให้มาฉายหนังเร่ ผมได้มาฉายให้ดูแล้ว ผู้คนเยอะแยะดี แต่ทีนี้ผมลืมหุ่น (หุ่นกระบอกสำหรับชักในการแสดง) ตัวละครไว้ตัวหนึ่งผมจะกลับมาเอา แต่คนในหมู่บ้านนี้หายไปหมดเลยครับ"

    หลวงปู่เลยถามว่า "ตอนเรามา...ขึ้นกี่ค่ำ"

    "ผมไม่ทราบครับ รู้แต่ว่าพระจันทร์มันมืด" คนฉายหนังเร่ตอบ "แต่ที่ผมเข้าไปมันสว่างนะครับ"

    หลวงปู่จึงบอกว่า "งั้นรอไปอีก วันแรม ๑๔ ค่ำ ค่อยมาใหม่"

    คนฉายหนังเร่จึงกลับไปแล้วก็กลับมาใหม่ในวันแรม ๑๔ ค่ำ เขาถึงได้เจอหมู่บ้านนั้น แล้วเข้าไปเอาตัวหุ่นกระบอก เจ้าของหมู่บ้านหรือหัวหน้าหมู่บ้าน บอกเขาว่า "ผ ม เ ก็ บ...ไ ว้ ใ ห้... "

    เมื่อคนฉายหนังเร่ได้หุ่นกระบอกคืนมาแล้ว เขาจึงเดินออกมาจากหมู่บ้าน แต่เมื่อเขาหันหลังกลับไปดูอีกครั้ง ปรากฏว่าหมู่บ้านนั้นหายไป ไม่เห็นบ้านเรือน หรือผู้คนเลย คนฉายหนังเร่ก็มาบรรยายให้หลวงปู่ฟังว่า บ้านแต่ละหลังในหมู่บ้านนั้นไม่มีประตู เงินทองก็วางอยู่ตามกะได (บันได) ตามข้างทาง แต่ไม่มีใครเก็บ ไม่มีใครขโมย!!

    ครูที่เฝ้าดูศิษย์

    หลวงปู่จึงบอกว่า ถ้าพระหรือนักบวชในศาสนา มีประสบการณ์อะไรแปลกๆ บ้าง บางครั้งอาจทำให้เขาศรัทธาต่อการปฏิบัติงาน ปฏิบัติธรรม แล้วท่านก็เริ่มที่จะสอนพระ เริ่มที่จะถ่ายทอดความรู้จากประสบการณ์ทางวิญญาณของท่านที่ไม่เกี่ยวกับตำรามากนัก ท่านจะไม่สอนด้วยภาษาทางตำราเลย มีแต่จิต ที่พูดภาษาใจกับใจเท่านั้น แต่ว่าพระจะสอนยาก เพราะว่าทิฐิพระ มานะครู หรือทิฐิพระ มานะกษัตริย์ นั้นมีมาก ท่านจึงต้องหากระบวนการว่า ทำอย่างไรที่จะให้พระสอนกันเอง จึงเป็นที่มาของกระบวนการในการอบรมพระในหลักสูตรมหาสติปัฏฐานนี้ และด้วยความที่พระเป็นบุคคลที่สอนยาก หลวงปู่จึงริเริ่มให้มีการเขียนคำตำหนิคำสอน ว่ากล่าวกันเองได้ ซึ่งเราจะพบว่าไม่มีสำนักปฏิบัติธรรมที่ไหนในโลกที่ ครูโดนศิษย์ตำหนิ ที่อื่นเราเข้าไปต้องกราบ เพราะเขาถือว่าธรรมะเป็นของสูง ผู้บอกธรรมะคือ คุรุผู้เจริญ สำนักปฏิบัติธรรมทั้งหลายเป็นอย่างนี้

    แต่หลวงปู่คิดว่า การที่ท่านให้ทรัพย์ หรือการที่ครูทั้งหลายมาให้ทรัพย์ ทรัพย์นั้นมันจะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อพระศาสนา ไม่ใช่เฉพาะส่วนตัวใคร ไม่ได้คิดว่าพระได้ประโยชน์ แต่คิดว่าพระศาสนาได้ประโยชน์ ท่านจึงบอกว่าท่านทำโดยสำนึกว่า ต้องทำหน้าที่ เป็นศากยบุตร เป็นพุทธะชิโนรส ลูกหลานของพระพุทธเจ้า ทำอย่างไร จึงจะให้พระพุทธะพระองค์นั้น ทรงชื่นชม โสมนัส ต่อกิจการ การงานของลูกหลานของพระองค์ การที่ครูบอกธรรมะแล้วเดินหนีนั้นยังไม่พอ ครูต้องเฝ้าดูศิษย์อย่างที่หลวงปู่ทำ คือ ต้องควบคุม ทำให้ธรรมะนั้น มันเจริญและเติบโตขึ้นอย่างไม่ตาย จิตวิญญาณของพระพุทธะต้องโตขึ้น

    เพราะฉะนั้นถ้าไม่มีกำลังใจ ไม่มีศรัทธา เชื่อพระพุทธเจ้า เชื่อพระธรรมที่ (หลวงปู่) ปฏิบัติได้แล้ว เชื่อสิ่งที่พระพุทธะสอน ถ้าไม่มีศรัทธา ไม่มีกำลังใจ ก็ไม่มีใครมาให้เรา นอกจากเราให้ตัวเราเอง หลวงปู่บอกเสมอว่าไม่มีใครให้กำลังใจท่าน ท่านสร้างกำลังใจด้วยตัวเอง ตั้งแต่บวชมายี่สิบกว่าพรรษา ท่านไม่เคยเหยียบเข้าบ้าน ไม่เคยเยี่ยมญาติ ท่านจะบอกกับลูกศิษย์เสมอว่า เราเป็นผู้ออกจากเรือน ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนแล้ว เราต้องซื่อสัตย์ กับสกุลศากยะ ไม่ทำตัวเป็นคฤหัสถ์บ้าง ศากยะบ้าง จึงไม่ต้องขวนขวาย หาเงิน หาลาภใดๆ

    ดังนั้นครูที่ดี จึงต้องไม่เบื่อที่จะบอก และจ้ำจี้จ้ำไชต่อการสอน หัวใจของครูที่ดีต้องไม่มองว่าศิษย์ดีหรือเลว หัวใจของครูที่ดีมีแต่คำว่าโง่กับฉลาด หน้าที่ของภิกษุ นักบวช พระในศาสนา ก็คือปลดจากความเป็นทาสของประชาชาติและสัตว์โลก

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ธาตุบรรพ

    ตอนเช้าของวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๔๓ หลวงปู่ได้สอนวิธีการพิจารณาจตุธาตุวัฏฐาน ๔ ดังนี้

    วิธีการพิจารณาจตุธาติวัฏฐาน ๔

    ยืดอกขึ้น นั่งตัวตรง ดำรงสติให้มั่น ผ่อนคลาย สูดลมหายใจเข้าลึกๆ เต็มปอด นับ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ แล้วพ่นลมออก แผ่วเบา นุ่มนวล สุภาพ (ตอนหลวงปู่หายใจออก เท่าที่จับเวลาดู หายใจเข้า ๒๕ วินาที หายใจเข้าและออกเกือบ ๕๐ วินาที ต่อครั้งหนึ่ง) การผ่อนลมออกต้องค่อยๆ เป่าลมออก ทางปาก เหมือนกับการปล่อยลมออกจากลูกโป่ง แล้วก็สูดลมเข้าไปในลูกโป่ง เมื่อสูดเข้าเต็มที่ ก็หยุดนิ่งไว้นิดหนึ่ง แล้วค่อยๆ ปล่อยออก ทำสัก ๓-๔ ครั้ง จะรู้สึกจิต สงบ ว่าง

    พอจิตสงบแล้วเรามากำกับดูลมหายใจก็ได้(อานาปานบรรพ) ดูโครงสร้างกระดูกภายในกายก็ได้ หรือจะมาพิจารณา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง พิจารณาอาการ ๓๒ ของร่างกายก็ได้

    เมื่อสูดเข้าไปเต็มปอด ให้หยุดกลั้นไว้นิดหนึ่ง ปิดลมไม่ให้ออก ให้มันเข้าไปพลุ่งพล่านอยู่ภายใน มันจะไปกระตุ้นเตือน ต่อมหมวกไตทั้งหลายให้ตื่นตัว จะเกิดร้อนที่หน้าอก จากนั้นก็พ่นเอาความร้อน (ของเสีย) ภายในร่างกายออกมา เมื่อเราทำสัก ๓-๔ ครั้ง จะมีสติปรากฏ ใช้สตินั้นพิจารณาสภาวธรรมที่เป็นจริงภายในร่างกายเราว่า

    "โอ้หนอ...ร่างกายเราประกอบไปด้วยธาตุทั้งสี่ มีธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ธาตุทั้งสี่ต้องมีกรรมเป็นผู้ควบคุม เราตาย เราเกิด สัตว์ตาย สัตว์เกิด เพราะมีอวิชชา ที่มีอวิชชา เพราะเราทำกรรม เพราะมีความโง่ เราจึงทำผิดทำถูก ปัจจุบันนี้เราจะมาทำให้เกิดความฉลาด เราจะได้ไม่โง่ จะได้ไม่เกิดกรรม ที่เป็นเรื่องเป็นเหตุ ของการเกิด แก่ เจ็บ ตาย... "

    ร่างกายขันธ์ ๕ สังขารเรานี้ ประกอบไปด้วย ดิน น้ำ ลมไฟ มีผู้ควบคุม คือวิญญาณ มีจิตวิญญาณเป็นผู้ควบคุมธาตุลม คนหรือสัตว์ที่ตายไปแล้ว ลมไม่มีในกาย เพราะไม่มีผู้ควบคุม เมื่อลมในร่างกายไม่มี ปกติมีลมจึงมีไฟ ไฟคือสิ่งที่ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ช่วยย่อยอาหาร เมื่อไฟดับ น้ำที่มีในร่างกายก็จะเอิบอาบ ซึมซาบ และทำการละลายดิน คนที่ตายหลายๆ วันจึงมีน้ำเหลืองไหลออกมา มีกลิ่นเหม็น ตาปลิ้นออกมาจากเบ้าตา ลิ้นจุกปาก ผมหลุดร่วง เนื้อตัวสีเขียวคล้ำ ส่งกลิ่นเหม็นเน่า...

    การพิจารณาอย่างนี้เป็นการพิจารณา ให้เห็นเป็นปฏิกูลภายในกายเรา

    อนัตตลักษณะ

    ธาตุนี้ประกอบด้วยธาตุทั้งสี่คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ หลักการพิจารณาในธาตุก็คือ ต้องอยู่ในลักษณะสามัญ ลักษณะ คือไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป คือ การรับรู้ตามความเป็นจริงของกายนี้ ว่ากายนี้ประกอบด้วยธาตุอะไรบ้าง

    ธาตุ "น้ำ" คืออิ่มเอิบ ซึมซาบ ไปทั่วสรรพางค์กาย
    ธาตุ "ลม" คือลมที่กระทบรับรู้ รู้สึกได้ โยกโคนไปมา ลมที่ทำให้ร่างกายไหวติง
    ธาตุ "ไฟ" คือมีทั้งความเย็นแล้วก็ความร้อน ไฟมีทั้งไฟเย็น และไฟร้อน มีอานุภาพ อุณภูมิสูงกว่าไฟที่ร้อน
    ธาตุ "ดิน"ลักษณะอาการ คือ แข็ง แล้วก็ยืดหยุ่นได้

    ในธาตุดินก็ตาม น้ำก็ตาม ลมก็ตาม ไฟก็ตาม ก็ยังประกอบไปด้วยธาตุทั้งสี่อีก พระพุทธเจ้าจึงบอกว่าให้เราพิจารณากายในกาย แค่รับรู้ว่าดิน น้ำ ลม ไฟ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ตามหลักของอนัตตลักษณะสูตร (อนัตตลักษณะ - ลักษณะที่เป็นอนัตตา, ลักษณะที่ให้เห็นว่าเป็นของมิใช่ตัวตน ได้แก่ ๑. เป็นของสูญ คือ เป็นเพียงการประชุมเข้าขององค์ประกอบที่เป็นส่วนย่อยๆ ทั้งหลาย ว่างเปล่าจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา หรือการสมมติเป็นต่างๆ ๒. เป็นสภาพหาเจ้าของมิได้ ไม่เป็นของใครจริง ๓. ไม่อยู่ในอำนาจ ไม่เป็นไปตามความปรารถนา ไม่ขึ้นต่อการบังคับบัญชาของใครๆ ๔. เป็นสภาวธรรมอันเป็นไปตามเหตุปัจจัย ขึ้นต่อเหตุปัจจัย ไม่มีอยู่โดยลำพังตัว แต่เป็นไปโดยสัมพันธ์ อิงอาศัยกันอยู่กับสิ่งอื่นๆ ๕. โดยสภาวะของมันเองก็แย้งหรือค้านต่อความเป็นอัตตา มีแต่ภาวะที่ตรงข้ามกับความเป็นอัตตา)

    หรือหลักการสุญญตา คือยังไม่ถือว่าเป็นดินแท้ ยังไม่ถือว่าดินนั้นเป็นดินแท้ เหตุผลก็เพราะว่า ดินนั้นยังประกอบไปด้วยธาตุทั้งสี่อีก คือดินยังมีความชื้น (ธาตุน้ำ) มีความอุ่น(ธาตุไฟ)อยู่ แล้วยังมีฟองอากาศ(ธาตุลม)อยู่ในดินนั้น ในดินหนึ่งก้อนก็ยังมีดิน น้ำ ลม ไฟ อยู่ แต่ว่าในดินนั้นมีธาตุดินที่มากกว่าธาตุน้ำ มากกว่าธาตุลม ธาตุไฟ เขาก็เลยเรียกว่าดิน

    ในน้ำมีอุณหภูมิ ก็ยังมีความอุ่น (ธาตุไฟ) ในน้ำยังมีดินตะกอน (ธาตุดิน) ในน้ำมีอากาศ (ธาตุลม) เมื่อน้ำมีดิน ลม ไฟ แต่ในน้ำนั้นมีธาตุน้ำมากกว่า ธาตุลม ธาตุไฟ ธาตุดิน เขาจึงเรียกว่า ธาตุน้ำ

    ในกระบวนการของดิน น้ำ ลม ไฟ ก็ไม่มีตัวตน นี่คือลักษณะการพิจารณา "ธาตุ" พิจารณาให้เห็นถึงความไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ไม่ได้พิจารณาว่า ดินเป็นดิน น้ำเป็นน้ำ ไฟเป็นไฟ ลมเป็นลม ถ้าพิจารณาอย่างนี้ก็เป็นลักษณะมองให้เห็นว่าเป็นของเที่ยง มองให้เห็นว่ามีตัวตน ซึ่งผิดหลักของวิปัสสนา และผิดหลักการของมหาสติปัฏฐาน แล้วผิดตามหลักของคำสอน มันก็จะกลายเป็นคำสอนของศาสนาฮินดู พราหมณ์ ที่เป็นปรมัน อาตมัน เป็นเรื่องมีตัวตน มีสัญลักษณ์ ที่จับต้องลูบคลำได้

    แต่หลักการพิจารณาในจตุธาตุวัฏฐาน ในธาตุบรรพ ต้องพิจารณาให้เห็นถึงความไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ถ้าพิจารณาถึงหลักลักษณะนี้ได้ ก็จะสามารถเข้าใจ และซึมซาบถึงหัวใจของการพิจารณาจตุธาตุวัฏฐาน ๔

    พระพุทธเจ้าบอกว่า เราต้องมีสติ รู้ตัวทั่วพร้อม พิจารณากายในกาย ทั้งภายในและภายนอก ว่าประกอบไปด้วยธาตุทั้งสี่ "จิต"เป็นผู้ควบคุมธาตุทั้งสี่ "อวิชชา"ทำให้คนเรามาเกิด อวิชชามีกรรม (เรามีกรรมเป็นแดนเกิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย มีกรรมเป็นที่มาที่ไป) "กรรม" เป็นผู้ควบคุมจิต (กรรมนำจิตมาจุติ ก่อนที่จะปฏิสนธิ) "จิต" เป็นผู้ควบคุมธาตุลม (ไฟจะไม่ลุก ไม่ติดในที่เป็นสุญญากาศ) เมื่อลมหายไฟก็ดับ (คนตายแล้วจึงตัวเย็น) "ไฟ" ควบคุมธาตุน้ำ เมื่อน้ำในคนที่ตายไม่มีผู้ควบคุม คนตายจึงมีลักษณะอืด เขียว พอง เพราะน้ำไม่มีที่จะออก เพราะน้ำไม่ได้ถูกไฟเผาผลาญให้ออกมาทาง น้ำเหงื่อ น้ำเหลือง น้ำหนอง น้ำมูตร น้ำคูถ น้ำเยี่ยว มันก็จะอืด เมื่อน้ำไม่หาย ไม่ถูกไฟเผาผลาญ ก็จะทำการละลายดิน คนที่ตายแล้ว ๗ วัน ๑๐ วัน ๑๕ วัน ผิวหนัง เส้นเอ็น ผม ขน เล็บ ในร่างกาย ส่วนที่บางก็จะถูกน้ำทะลุทะลวงออกมา คนที่ตาย น้ำเหลืองจึงทะลุออกมา ธาตุดินก็ปฏิเสธน้ำไม่ได้ เพราะถ้าปฏิเสธน้ำ ก็จะกลายเป็นหินและทราย ส่วนธาตุดินจริงๆ นั้น ก็ควบคุมธาตุน้ำอีกที

    การพิจารณาอย่างนี้ทำให้เห็นตามความเป็นจริงอย่างนี้ จึงเป็นลักษณะ สมมติบัญญัติ ซึ่งหลักการพิจารณาธาตุทั้งสี่ มีหลักการพิจารณาอยู่ ๒ หลักการ คือ สมมติบัญญัติ กับ ปรมัตถ์บัญญัติ การพิจารณาในหลักของสมมติบัญญัติ คือ เห็นในรูปตา

    อวิชชา ทำให้เกิด จุติ ปฏิสนธิ แล้วก็ต้องทำกรรม กรรมทำหน้าที่ ควบคุมจิต ที่ปฏิสนธินั้น จิตควบคุมธาตุลม ลมควบคุมธาตุไฟ ไฟควบคุมธาตุน้ำ น้ำควบคุมดิน ดินควบคุมน้ำ นี่เป็นสมมติสัจจะ

    ในร่างกายเรา (ในอาการ ๓๒) ว่าส่วนที่เป็นดิน คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็นน้อยใหญ่ อาหารใหม่ อาหารเก่า ลำไส้ ตับไต ม้าม หัวใจ ฯ ส่วนธาตุน้ำ คือ น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง น้ำดี น้ำลาย น้ำมูตร น้ำคูถ น้ำเหงื่อ ฯ ธาตุไฟ คือ ไฟธาตุที่ใช้ย่อยอาหาร ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ไฟที่ช่วยระบบขับถ่าย แล้วก็ไฟที่กำเริบขึ้นบน ลงล่าง เช่น อาการไข้ ธาตุลม คือ ลมที่พัดพาอยู่รอบๆ ตัวเรา ลมในลำไส้ ลมในกระเพาะในไขกระดูก ในสมอง ฯ และลมนอกกายที่ทำให้โยกโคน อ่อนไหว

    ทั้งหมดนี้เป็นสมมติสัจจะ ที่ใช้เป็นหลักในการพิจารณาเบื้องต้น

    ปรมัตถ์สัจจะ

    ส่วนการพิจารณาในหลักของ "ปรมัตถ์บัญญัติ" ก็ต้องพิจารณาในกระบวนการของน้ำ ว่ามีอะไรบ้างเป็นองค์ประกอบ ดินนั้นมีธาตุอะไรบ้าง (วิทยาศาสตร์) แล้วก็เป็นสิ่งที่เราพิสูจน์ได้

    ในหลักปรมัตถ์สัจจะ ตามความหมายของ ดูกายในกาย ให้ดูว่าดินนั้นมันมีอะไรด้วย ให้ดูละเอียดเป็นปรมาณู เป็นโปรตอน นิวตรอน อิเล็กตรอน ให้มันละเอียด ลึกเข้าไป พิจารณาจนไม่มีอะไร สุดท้ายมันก็เกิดความว่าง แล้วก็สุญญตา การพิจารณาอย่างนี้เรียกว่าเป็น ปรมัตถ์สัจจะ เพื่อให้เข้าถึง สามัญลักษณะ ด้วยปัญญา อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา (ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน เป็นทุกข์ แล้วก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป) การพิจารณาเพื่อความหลุดพ้น เพื่อความสลัดหลุดจากอุปกิเลสทั้งปวง ต้องพิจารณาให้เป็นลักษณะ ปรมัตถ์สัจจะ นี่คือความหมายของ กายในกาย

    อย่างที่นิกายเซนพูดว่า "หลายสิ่งรวมเป็นหนึ่งสิ่ง หนึ่งสิ่งแตกออกเป็นหลายสิ่ง หลายสิ่งไม่มีสักสรรพสิ่ง" หลายสิ่งก็คือดิน น้ำ ลม ไฟ เมื่อพิจารณาเข้าไปทีละชั้น ก็จะรู้ว่า ดิน น้ำ ลม ไฟ ไม่มีตัวตน เพราะประกอบด้วยธาตุมากมายมหาศาลในธาตุเหล่านั้น ธาตุแต่ละอย่างก็มีองค์ประกอบเป็นอณู แยกออกไปอีก

    วิชาแพทย์

    ประโยชน์ของการศึกษา จตุธาตุวัฏฐาน ทำให้เรารู้และใช้ประโยชน์จากเรื่องของ "การคุมธาตุ" ซึ่งสมัยโบราณเขามีวิชาแพทย์วิชาหนึ่งที่เรียกว่า วิชาคำนวณธาตุกับคุมธาตุ ซึ่งหลวงปู่มีความรู้ ศึกษาในเรื่องนี้มามาก ในเรื่องการตรวจธาตุ อย่างเช่น โบราณคนจีน เวลาป่วย ถ้าไปหาซินแส ที่เรียกว่า หมอแมะ เขาจะใช้วิธีการตรวจรักษาโดยการ "แมะ" คือจับชีพจร

    และประโยชน์อีกอย่างคือ ทำให้เรารอบรู้ถึงกระบวนการธาตุทั้งสี่ ภายในของวัตถุ โลหะ พืชพันธุ์ธัญญาชาติ รวมทั้งยารักษาโรค หมอโบราณเขาเชื่อว่าการที่เราป่วย มนุษย์ป่วย สัตว์ป่วย เพราะธาตุทั้งสี่ไม่สมดุล เพราะฉะนั้น เขาต้องจะตรวจดูว่า ป่วยเพราะขาดธาตุลม หรือขาดธาตุไฟ

    หลวงปู่บอกว่า ถ้าคนป่วยขาดธาตุลม (ต้องวิเคราะห์ธาตุให้ได้ก่อน) ต้องหาพืชพันธุ์ธัญญาชาติที่ทำให้เกิดลม เช่น ลูกตำลึง อ่อน รากตำลึงอ่อน ใบตำลึง เถาตำลึงมาทาน ลูกตำลึง รากตำลึง หรือใบตำลึงต้มน้ำ นำมาดื่มแก้วเดียว จะมีอาการเรอขึ้นมาทันที ลมจะมากไปจนบางครั้งอาจจะทำให้คนแก่ไม่ชอบ เพราะฉะนั้นคนแก่ที่อายุตั้งแต่ ๔๐ ขึ้นไปจะชอบธาตุไฟนำหน้า ถ้าอายุต่ำกว่า ๔๐ ลงมาก็จะชอบธาตุน้ำกับธาตุลม ถ้าเกินกว่า ๖๐ ขึ้นไปจะชอบธาตุดินนำหน้า ดังนั้นขบวนการรักษาโรคทั้งหลาย ที่หมอโบราณเขาใช้ก็มาจากจตุธาตุวัฏฐาน ๔

    ตัวย่างในการวิเคราะห์โรค เช่น มองสีหน้า มองแววตา มองสีผม แล้วก็ดมกลิ่นตัว เป็นเครื่องบอกให้เรารู้ว่าใครเป็นโรคอะไรและขาดธาตุอะไร และในธาตุทั้งสี่ไม่ได้มีเฉพาะในกายเรา ในพืชบางชนิดกินแล้วจะร้อนใน พืชบางชนิดกินเข้าไปแล้วจะรู้สึกเจ็บหน้าอก เพราะมีธาตุลมหรือธาตุน้ำมาก พืชบางชนิดกินเข้าไปแล้วรู้สึกอิ่มแน่น แล้วขับถ่ายไม่ออก นั่นแสดงว่ามีธาตุดินมาก เพราะฉะนั้นขบวนการวิเคราะห์าจตุธาตุวัฏฐาน ๔ เป็นพื้นฐานของแพทย์

    หรือแม้แต่หมอชีวกโกมารภัจจ์ (หมอประจำพระองค์พระศาสดา) ถ้าไปศึกษาประวัติของท่าน จะพบว่า กัมมัฏฐานที่ท่านชอบเจริญมากที่สุดคือ จตุธาตุวัฏฐาน ๔ เป็นพื้นฐานของแพทย์

    (ในจตุธาตุวัฏฐาน ๔ สามารถพิจารณาให้เป็นอสุภกัมมัฏฐานได้ พิจารณาให้เป็นปฏิกูลก็ได้ เป็นจตุธาตุวัฏฐาน ๔ ก็ได้ เป็นนวสีกถาบรรพก็ได้ ขึ้นอยู่ว่าเราเข้าใจ เชี่ยวชาญจะนำเอากัมมัฏฐานกองใดกองหนึ่งสืบยอด ต่อยอดไปให้ถึงกัมมัฏฐานทั้งหมดได้ไหม อยู่ที่เทคนิค กระบวนการ ความช่ำชอง เชี่ยวชาญ)

    นวสีวถิกาบรรพ

    การกำหนดพิจารณาในนวสีวถิกาบรรพนั้น ก็คือการกำหนดพิจารณาดูจากซากศพที่ตายแล้ว เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพ สภาวะที่สามารถแบ่งออกได้เป็น ๙ สภาวะ หรือที่เรียกว่า ๙ ป่าช้าก็คือ

    ๑. ศพที่ตายแล้วหนึ่งวัน สองวัน สามวัน ที่ขึ้นพอง มีสีเขียวน่าเกลียด มีน้ำเหลืองหไหลน่าเกลียด
    ๒. ศพที่ทิ้งไว้ในป่าช้าที่ฝูงกา งู นก ฝูงแร้งจิกกิน สุนัขกัดกิน หมู่สัตว์ตัวเล็กๆ ต่างๆ กัดกิน
    ๓. เป็นร่างกระดูก ยังมีเนื้อและเลือด ยังมีเส้นเอ็นผูกรัดอยู่
    ๔. เป็นร่างกระดูก ปราศจากเนื้อ แต่ยังเปื้อนเลือด ยังมีเส้นเอ็นผูกรัดอยู่
    ๕. เป็นร่างกระดูก ปราศจากเนื้อและเลือดแล้ว ยังมีเส้นเอ้นผูกรัดอยู่
    ๖. เป็นกระดูก ปราศจากเส้นเอ็นผูกรัดแล้ว แล้วเรี่ยราด กระจัดกระจายไปในทิศต่างๆ
    ๗. เป็นกระดูกมีสีขาว ดังสีสังข์
    ๘. เป็นกระดูกกองเรียงรายอยู่แล้วเกินปีหนึ่งขึ้นไป
    ๙. เป็นกระดูกผุ เป็นจุณแล้ว

    ซึ่งการพิจารณาในนวสีวถิกานี้ สามารถที่จะแยกการพิจารณาในซากศพแต่ละป่าช้าได้ โดยจะมีการพิจารณาอสุภที่พิจารณาสิ่งที่มีสภาพ สภาวะของสิ่งที่ไม่มีวิญญาณ ตายไปแล้ว มีการแปรเปลี่ยนไปตามลักษณะ นวสีวถิกาบรรพ ที่เรียกว่า อสุภกัมมัฏฐาน (อสุภ, อสุภะ-สภาพที่ไม่งาม, พิจารณาร่างกาายของตนและผู้อื่นให้เห็นสภาพที่ไม่งาม; ในความหมายเฉพาะ หมายถึง ซากศพในสภาพต่างๆ ซึ่งใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน รวม ๑๐ อย่าง คือ ๑. อุทธุมาตกะ ซากศพที่เน่าพอง ๒. วินีลกะ ซากศพที่มีสีเขียวคล้ำ ๓. วิปุพพกะ ซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลออกอยู่ ๔. วิจฉิททกะ ซากศพที่ขาดกลางตัว ๕. วิกขายิตกะ ซากศพที่สัตว์กัดกินแล้ว ๖. วิกขิตตกะ ซากศพที่มีมือ เท้า ศีรษะขาด ๗. หตวิกขิตตกะ ซากศพที่คนมีเวรเป็นข้าศึกกัน สับฟันเป็นท่อนๆ ๘. โลหิตกะ ซากศพที่ถูกประหารด้วยศัสตรามีโลหิตไหลอาบอยู่ ๙. ปุฬุวกะ ซากศพที่มีตัวหนอนคลาคล่ำไปอยู่ ๑๐. อัฏฐิกะ ซากศพที่ยังเหลืออยู่แต่ร่างกระดูก)
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>ว่าด้วยวิชากระดูก

    การพิจารณาในนวสีวถิกาบรรพนี้ หลวงปู่ได้สอนหลักวิชาต่างๆ ที่เกี่ยวกับกระดูกเอาไว้ ซึ่งผมพอที่จะจดจำ นำมาบอกกล่าวได้บ้าง โดยเริ่มจาก วิชาคลำกะโหลก ซึ่งหลวงปู่ได้สอนไว้เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๔๓ แต่ก่อนจะถึงวิชาคลำกะโหลก หลวงปู่ได้เล่าเรื่องนกแขกเต้าให้ฟังว่า

    ในสมัยพุทธกาล ที่เมืองกุรุ มีพระภิกษุณีเลี้ยงนกแขกเต้าเอาไว้ แล้วสอนนกเแขกเต้าว่า เจ้ามีวาสนามาอยู่ในพระศาสนา ก็ควรจะมีปัญญาเห็นรู้ตามความเป็นจริง แล้วก็สอนคาถาให้นกแขกเต้า โดยให้ท่องว่า "อัฏฐิมิชชัง" อยู่มาวันหนึ่ง มีเหยี่ยวใหญ่กำลังบินอยู่ พอเห็นนกแขกเต้า เหยี่ยวใหญ่ก็บินโฉบลงมานำนกแขกเต้าขึ้นไปในอากาศ นกแขกเต้ากำลังภาวนาอยู่จึงร้อง อัฏฐิมิชชัง!! ขึ้นดังๆ จนไปถึงหูนางภิกษุณี นางภิกษุณีจึงโบกผ้าไล่นกเหยี่ยว ทำให้นกแขกเต้ารอดพ้นจากกรงเล็บเหยี่ยว นางภิกษุณีจึงนำผ้ามารองรับนกแขกเต้า พร้อมกับถามว่า "เดรัจฉาน...ขณะเหยี่ยวใหญ่โฉบลงมา เจ้าคิดอะไรอยู่" นกแขกเต้าจึงบอกว่า "เกล้าหม่อมฉันพิจารณาว่า กระดูกกลุ่มใหญ่ร่อนลงมาโฉบเอากระดูกกลุ่มเล็กขึ้นไปบนอากาศ" นางภิกษุณีจึงถามต่อว่า "แล้วในขณะที่เหยี่ยวปล่อยเจ้าคิดอะไร" นกแขกเต้าจึงบอกว่า "กระดูกกลุ่มใหญ่ปล่อยกระดูกกลุ่มเล็กให้หลุดลงมาจากอากาศ"

    นางภิกษุณีจึงสรรเสริญนกแขกเต้าว่า เจ้าเป็นสัตว์ประเสริฐ รู้จักที่เจริญ อัฏฐิสัญญา ซึ่งหลวงปู่บอกว่าอัฏฐิสัญญานี้อยู่ในข้อของ นวสีวถิกาบรรพ ยังไม่เรียกว่า อสุภะ เพราะอสุภะต้องอธิบายในลักษณะมีของสดติดอยู่ ถ้าดูโครงกระดูกไม่จัดว่าเป็น อสุภะ จัดได้เป็นเพียงการพิจารณา ๙ ป่าช้า เรียกว่า พิจารณาป่าช้าทั้ง ๙ อยู่ในลักษณะป่าช้าที่ ๓ ที่เนื้อหนังหมดแล้ว เหลือแต่โครงกระดูกมีเส้นเอ็นร้อยรัดมองเห็นอยู่

    วิชาคลำกะโหลก

    สิ่งที่ต้องทำคือ ผ่อนคลาย มองที่รูปโครงกระดูก (รูปโครงกระดูก ปกหลังหนังสือ"วิถีแห่งพุทธะ" ที่หลวงปู่เป็นผู้เขียน)มองมันให้ติดตา มองด้วยความว่างๆ ถ้ายังไม่ติดตาและมีอารมณ์ปรากฏ ก็สูดหายใจเข้า ยกอกขึ้น ผ่อนลมยาวๆ แล้วก็สูดเข้าไปใหม่ แล้วก็ผ่อนลมออกมาด้วยความนุ่นวล สุภาพ ขณะที่สูดลมหายใจเข้าก็หลับตา ผ่อนลมหายใจออกมา เมื่อมีสติตั้งมั่นแล้ว ไม่ต้องคิดเรื่องอื่นมองที่โครงกระดูกครูนี้ มองแล้วค่อยจดจำไว้ เสร็จแล้วหลับตา น้อมเอากระดูกนี้เข้ามาอยู่ในร่างกายเรา

    เริ่มต้นจากหัวกะโหลก หลับตาคิดว่าที่หัวกะโหลกมีสภาพเช่นไร ถ้านึกไม่ออกก็ลืมตาขึ้นมาดูใหม่ ถ้าลืมตาและจำได้แล้วก็หลับตา น้อมเอากะโหลกนั้นเข้ามาในกะโหลกเรา ดึงเนื้อดึงหนังให้เหลือแต่กะโหลกของเรา ดูเบ้าตา โหนกคิ้ว โหนกแก้ม ดูทีละจุด ดูให้ชัด เห็นให้ชัด มองให้ชัด ไม่ต้องใส่ใจอะไรทั้งนั้น ไม่ว่าจะลมหายใจ หรือพิจารณาอะไร เอาแค่จับให้ชัดในโครงสร้างของกะโหลกศีรษะ มองให้ชัดเห็นจนกระทั่งติดใจ

    หลับตาเอามือคลำกะโหลก หรือไม่ก็เอาจิตสัมผัส ถ้าคลำแล้วไม่รู้สึกอะไรคือไม่รู้ว่ามันรูปร่างอย่างไร ก็ลืมตามาดูแล้วคลำไปด้วย อย่าไปคลำเนื้อ หนัง เอานิ้วกดลงไปที่กะโหลก เหมือนกับคนนวดศีรษะ คลำให้หนัก บอกตัวเองว่า กะโหลกเราเป็นอย่างนี้นะ ลืมตามาดูให้มันชัด แล้วหลับตาไป การที่มีโอกาสได้ลูบและนวดไปบนกะโหลก จะทำให้เราคลายเครียด คนเป็นโรคไมเกรน ปวดหัว เลือดไม่ไปเลี้ยงสมอง จะหายสนิท ถ้าไม่ชัดก็มาที่หน้าผาก ให้ใช้แทนตาเรา เอาสติจับไว้ที่นิ้ว นิ้วเป็นตา (ใน) แล้วก็คลำมาที่โหนกคิ้ว เอาแค่ความรู้สึกว่าเป็นรูปร่างอย่างไร ลงมาที่เบ้าตา(ไม่ใช่กดที่ตา) คลำที่กระบังตาด้านในด้านล่าง กระบอกตาด้านล่าง ลงไปถึงโหนกแก้ม จมูก ดูให้ชัด ไม่ต้องทำอะไร ไม่ต้องภาวนาอะไร อย่านั่งหลังงอ จะทำให้โครงสร้างผิดรูปแบบ

    น้อมเข้ามาอยู่ในตัวเรา กะโหลกหน้า เบ้าตาของเรา ฟันเรา คางเรา นี่คือแกนกลางของกาย ที่เรารัก ทะนุถนอม เรายื้อแย่ง เราฆ่ากัน เพื่อให้ได้มาซึ่งแค่นี้ เราเอารัดเอาเปรียบ อิจฉาริษยากัน เห็นแก่ตัว สุดท้ายก็เหลือแค่นี้ มองให้ชัด มันอยู่ในตัวเรา เราก็อยู่ในตัวมัน วันนี้เราไม่เห็นมัน (กระดูก) ก็เพราะมีหนังหุ้มอยู่ มีเนื้อ หนัง ปิดอยู่ เส้นเอ็นใหญ่น้อย ร้อยรัดอยู่ มีเลือดหล่อเลี้ยงอยู่ ไม่เห็นความเศร้าหมองของมัน ไม่เห็นข้อเท็จจริงในกายนี้แห่งมัน

    แต่ถ้าเราดึงหนังออก ถลกหนังทิ้ง ล้างเลือดออก ดึงเอ็นหลุด เราก็เห็นสภาพความเป็นจริง ตามความเป็นจริงที่ปรากฏอยู่เฉพาะหน้าเรา ถ้ายังไม่เห็นด้วยตาใน ก็ให้ลืมตา (นอก) มาพิจารณามองมันอีก แล้วน้อมเข้ามาสู่กะโหลกศีรษะเรา เอาเฉพาะหัวก่อนอย่าไปดูที่อื่น ให้ชัดเป็นจุดๆ มองให้ดี มองจนกระทั่งเกิดความรู้สึกว่า (เกิดความรู้สึกเอง) สลด สังเวช เกิดนิพพิทาญาณ (ความรู้ที่ทำให้เบื่อหน่ายในกองทุกข์, ปรีชาหยั่งเห็นสังขารด้วยความหน่าย) คือความเบื่อหน่าย คลายความกำหนัด คลายความทะยานอยาก เราจะรู้สึกว่า

    โอ้หนอ...กายนี้มีสภาพความเป็นจริงปรากฏอยู่เฉพาะหน้า ด้วยมหาสติ ที่รู้เท่าทันมัน เป็นจริง ดั่งที่เห็นด้วยตาเนื้อ ตาใน อย่างนี้ กายนี้ไม่มีอะไรเป็นแก่นสารสาระ ร่างนี้มีสภาพเป็นปฏิกูล พึงรังเกียจ เป็นกระดูกที่ขาวโพลน มีเนื้อ และหนัง ห่อหุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบอยู่เท่านั้น ข้างในยังประกอบไปด้วยอะไรเยอะแยะ มากมาย หมักหมม

    แต่ไม่ต้องคิดยาวไปอย่างนั้นก็ได้ เอาแค่กะโหลกขาวๆ ในกายเราให้ช่ำชอง จับภาพไปที่กะโหลกศีรษะ ถ้าไม่รู้จะทำอย่างไรก็นำจิตทั้งหมดมาจับภาพที่กะโหลก ถ้าส่งจิตมาแล้วไม่วอกแวกไปไหน ถือว่าเป็นสมถะ จัดได้ว่าเป็นกสิณสีขาวได้เหมือนกัน ถ้าพิจารณาให้เป็นวิปัสสนา

    ดูแล้วให้เกิดความสงบ รักษาความสงบไว้ให้นาน ไม่ให้กระเพื่อม เหมือนน้ำที่อยู่ในแก้วไม่ทำให้กระฉอก ไม่ทำให้หก ความสงบปรากฏ ก็คือสติตั้งมั่น รักษาสติให้เจริญอยู่อย่างนั้น จิตทุกดวงที่เกิดดับ ก็จะเกิดแต่กุศลแห่งจิต หรือสติที่เป็นกุศล มันจะไม่เป็นมลภาวะเป็นสภาวะแห่งจิต เป็นสภาวะธรรมชาติแห่งความเป็นจริง เป็นส่วนกุศลมูลจิต ที่ควรจะทำให้เจริญขึ้นในปัจจุบันนี้...

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> การพิจารณาโครงกระดูก

    นั่งดูโครงกระดูก เมื่อดูแล้ว จะติดในสัญญา สัญญาจะทำหน้าที่เก็บมันเอาไว้ สงบด้วย ไม่ต้องมีความคิดใดปรากฏ ว่างๆ เงียบๆ

    นั่งแล้วจัดโครงสร้างให้ตรง สูดลมหายใจเข้าลึกๆ ผ่อนลมออกยาวๆ ตามสภาพของตัวเอง ทิ้งไว้นิดแล้วสูดเข้าไปใหม่ แล้วก็พ่นลมออกอย่างนิ่มนวล สุภาพ ทิ้งไว้นิดหนึ่ง แล้วสูดเข้าไปใหม่ แล้วพ่นลมออก ทีนี้มองไปที่ภาพโครงกระดูก หัว คอ หน้าอก ซี่โครง แขน ท่อนล่าง ท่อนบน กระดูกมือ นิ้ว หลวงปู่กำลังแนะนำญาณ (ปัญญา) ไม่ได้แนะนำแบบสมถะ คือให้มองเฉยๆ (ไม่มีภาวนา) ให้รู้ว่านี่คือสภาพความเป็นจริงในกายตน กายเขา หรือกายใครๆ แล้วก็หลับตามาค้นหาความเป็นจริงในตัวเรา โดยไล่ไปทีละจุด

    (รายละเอียดการไล่ไปตามจุดต่างๆ มีในเทปที่ทางมูลนิธิธรรมอิสระจัดทำขึ้น)

    เมื่อไล่ท่อนต่างๆ เสร็จ ก็ให้กลับมาพิจารณาให้รู้เห็นตามความเป็นจริง ทำให้เป็นวิปัสสนาได้ คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แปรปรวน แล้วก็แตกสลาย

    ไม่ต้องดึงเข้ามาในตัวเรา ให้ค้นหาภายในตัวเราให้ชัด ดูเพียงแค่รู้ความเป็นเช่นไร แล้วมาค้นหาความเป็นจริงที่อยู่ข้างในตัวเรานี้ (หลวงปู่สอนตามหลักวิปัสสนาใช้ปัญญาให้รู้เห็นตามความเป็นจริง) ใช้ตาในค้นหาตัวเรา (อย่าจ้องจนเป็นนิมิต เป็นอุคหนิมิต ถ้าคุมอารมณ์ไม่ได้ จะหวาดกลัว จิตจะวิกลจริต)

    แต่ถ้าอยากให้เป็นสมถะ ให้เป็นฌาน สมาธิ ก็คือ ดูจนจำได้ เพ่งมัน แล้วหลับตา แล้วเพ่งมันอยู่อย่างนั้น จนปรากฏชัด แล้วใช้จิตดูจนให้สามารถพลิกหน้า พลิกหลัง หันซ้าย ขวาได้ จนโครงกระดูกเปลี่ยนจากสีขาวเข้ม เป็นสีขาวงาช้าง ใสขึ้น จนกลายเป็นแก้วผลึก แล้วกระจายออกเป็นท่อน (สมัยก่อนหลวงปู่ทำแล้วเป็นอย่างนี้) เมื่อกระจายออกเป็นท่อนก็จะยุ่ยออกเป็นผุยผง

    ในระหว่างที่หลวงปู่นำพิจารณาโครงกระดูกนั้น ท่านได้กล่าวหลักการที่มีคุณค่าว่า

    ...กระดูกท่อนหนึ่งยืนอยู่ กระดูกกองหนึ่งนั่งอยู่ เมื่อเป็นกระดูกแล้วฟุ้งซ่านได้อย่างไร เมื่อเป็นกระดูกแล้วหงุดหงิดรำคาญได้อย่างไร เมื่อเป็นกระดูกแล้วเจ็บปวดได้อย่างไร เมื่อเป็นกระดูกแล้วชอบใจ ไม่ชอบใจได้อย่างไร เมื่อเป็นกระดูกแล้วตัวเราอยู่ที่ไหน ที่ฟุ้งซ่าน ชอบใจ ไม่ชอบใจ กลัดกลุ้ม หงุดหงิด รำคาญ สุขและทุกข์ เพราะคิดว่า เราไม่มีกระดูก

    กระดูกไม่มีง่วง กระดูกไม่มีเมื่อย กระดูกไม่มีเครียด กระดูกไม่มีฟุ้งซ่าน...

    ครูกัมมัฏฐาน

    เวลาเรียนรู้ดูโครงกระดูกแล้ว หลวงปู่จะนำพวกเราแผ่เมตตา ให้แก่เจ้าของโครงกระดูกเป็นการจ่าย "ค่าครู" โดยมีที่มาจากการที่ท่านไปธุดงค์ ท่านเล่าให้ฟังว่า สมัยที่ท่านไปธุดงค์อยู่แถวย่างกุ้ง พม่า ในหมู่บ้านกุโสดอ มีเรื่องเล่าว่า มีพระเถระรูปหนึ่ง นำเอากระดูกของชายคนหนึ่ง ซึ่งไม่รู้ว่ามาจากไหน แต่เก็บได้จากป่าช้า แล้วมาล้างทำความสะอาด นำมาเพ่งพิจารณาอสุภกัมมัฏฐาน จนพระเถระรูปนั้นได้ปัญญาหยั่งรู้ บรรลุอริยมรรค เข้าถึงความหมายของคำว่า อริยผล เป็นพระอริยบุคคล

    ต่อมาบุรุษ (เจ้าของโครงกระดูก) ได้ไปเกิดเป็นลูกของยาจก ยากจน ส่วนพระอริยเจ้ารูปนั้น เมื่อได้สภาวะความเป็นไปของสรรพสัตว์ ในการเกิด แก่ เจ็บ ตาย แค่เพียงมีดวงตาที่เรียนรู้พระธรรม สามารถรับรู้ถึงอารมณ์วิปัสสนาญาณได้แล้วก็ตาย ตายแล้วจึงไปเกิดเป็นลูกเศรษฐี ส่วนเจ้าของกระดูกไปเกิดเป็นลูกของคนขอทาน อนาถา ยากจน ด้วยผลกรรมที่ทำร่วมกันมา เด็กยากจนที่เป็นเจ้าของโครงกระดูกนั้นได้รับการเลี้ยงดูอย่างไม่ดีนัก สุดท้ายกลายเป็นโจรป่า ซ่องสุมผู้คนได้ร่วมห้าร้อยกว่าคน ออกปล้นสดมภ์ไปทั่วทุกทิศ และสุดท้ายก็มาปล้นบ้านของเศรษฐี ซึ่งพระเถระรูปนั้นมาเกิดเป็นลูกเศรษฐี เมื่อโจรป่ามาเจอเด็กน้อยซึ่งเป็นลูกของเศรษฐี ก็รู้สึกเหมือนว่ามีความสนิทสนม เกิดความปฏิพัทธ์รักใคร่เด็กน้อย ฝ่ายเด็กน้อยที่เป็นลูกเศรษฐี ก็มีความรู้สึกเคารพศรัทธา โจรป่าห้าร้อยเป็นอาจารย์ เพราะจิตผูกพันกันตั้งแต่ที่เอากระดูกนั้นมาเป็นครู

    โจรป่าห้าร้อยจึงพูดกับลูกเศรษฐีว่าเราจะไม่ฆ่าญาติของเจ้า จะไม่ทำร้าย ทำลายเจ้า เรามาขอปันทรัพย์จากเจ้า ลูกเศรษฐีก็บอกว่า ท่านผู้เจริญ ข้าคิดว่าท่านเป็นผู้เจริญและประเสริฐแห่งข้า ทรัพย์ในส่วนของข้าที่บิดามารดาแบ่งให้ ท่านจงนำเอากลับไป แต่เรื่องไม่ได้มีอยู่แค่นั้น ความรู้สึกที่ว่าตัวเองติดหนี้ พระเถระที่เกิดเป็นลูกเศรษฐีจึงขอบวช เมื่อได้บวชในพระศาสนา เจริญธรรมจนบรรลุมรรคผล มี อาสวักขยญาณ ( ความรู้เป็นเหตุสิ้นอาสวะ ญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย) คือมีดวงตาเห็นธรรม รู้จัก อดีต ปัจจุบัน อนาคต จึงได้รู้ว่า โจรผู้นี้เคยเป็นครูของเรา ดังนั้น ทุกครั้งที่โจรป่าจะโดนชาวบ้านฆ่าตาย หรือโดนทหารจะจับ พระอริยเจ้าก็ต้องอุบัติขึ้นเฉพาะหน้า ช่วยโจรป่านั้นจนกระทั่งเห็นว่าหมดอายุขัย แล้วจึงปล่อยให้ตายโดยหมดอายุขัย ที่ทำเช่นนี้เพราะว่าติดหนี้กันมาแต่เก่าก่อน

    เหตุเพราะพระอริยเจ้านำกระดูกมากราบเป็นครู และบอกว่าขอครูผู้ประเสริฐจงให้คำสั่ง และคำสอนอันประเสริฐแก่ข้า โทษทัณฑ์อันใดที่ข้าได้ทำต่อครู ข้าขอชดใช้ทั้งหมด คุณอันดีที่ครูมี ข้าจะขอตอบแทนไปทุกภพทุกชาติ นั่นแหละจึงเป็นที่มา ดังนั้นหลวงปู่จึงไม่อยากให้พวกเราไปตามใช้หนี้เจ้าของกระดูก โดยท่านได้แนะวิธีที่เลิศ และเป็นการแผ่ความดี ความเมตตาปราณี ให้แก่สรรพสัตว์ ท่านเลยให้พวกเราจ่ายค่าครู โดยการสวดสาธยายพุทธมนต์ และบังสุกุลให้แก่เขา

    สำนึกในหน้าที่

    ครูที่ดีต้องไม่เบื่อที่จะบอก และจ้ำจี้จ้ำไชต่อการสอน หัวใจของครูที่ดีต้องไม่มองว่าศิษย์ดีหรือเลว หัวใจของครูที่ดีมีแต่คำว่าโง่กับฉลาด เพราะในโลกนี้ไม่มีคนชั่ว แล้วก็ไม่มีคนดี มีแต่คน ๒ ประเภทเท่านั้น คือ โง่กับฉลาด คนที่เป็นคนดีคือ คนที่เป็นคนฉลาด ฉลาดที่จะนำสิ่งดีออกอวด นี่คือสิ่งที่หลวงปู่ท่านได้สอนไว้ว่าหัวใจของการเป็นครูนั้นเป็นอย่างไร และท่านได้พูดถึงสำนึกและหน้าที่ของภิกษุ สมณะ นักบวช พระในศาสนา ว่าให้ปลดจากความเป็นทาสของประชาชาติและสัตว์โลก เพียงแค่เราสำนึกและรู้สึกและสัมผัสมันได้ ธรรมะก็จะปรากฏอยู่กับเรา

    สิ่งที่หลวงปู่หวังในการอบรมพระ คือ เห็นพระมีสำนึกในหน้าที่ของตน ในสถานภาพของตนที่นุ่งห่มธงชัยของพระอรหันต์ ท่านบอกว่าแม้ตอนนี้พระเหล่านี้จะยังไม่ยอมรับท่าน แต่วันหน้า ปีหน้า ชาติหน้า ก็ต้องยอมรับ เพราะอย่างน้อยได้มาร่วมฟังธรรม เรียนรู้ธรรมจากท่าน ท่านรอคอย (พระเหล่านี้)ได้- จะกี่วัน กี่ปี กี่ชาติ ท่านรอได้เสมอ ท่านจะมีความรู้สึกที่ไวต่อความรู้สึกของผู้คนมาก แต่ก็เฉยต่อความรู้สึกนั้น

    หลวงปู่แสดงความห่วงใยต่อพระศาสนาว่า เมื่อสองพันกว่าปีที่แล้วมีพระอรหันต์เกลื่อนกลาด สองพันปีต่อมาก็มีผู้บรรลุธรรม เข้าใจธรรมเยอะแยะ มีผู้เจริญในมหาสติปัฏฐานมากมาย หลังจาก ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว เหมือนกับว่าขาดสูญหายไป เหมือนว่าอะไรๆ มันไม่ปรากฏ พระศาสนาก็มาเจริญในประเทศไทย และเจริญถึงขีดสุดในสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ต่อมาพระศาสนาได้เสื่อมโทรมถึงขีดสุด จนต้องรื้อฟื้นกันใหม่ แต่สิ่งที่รื้อฟื้นกลับกลายเป็นวัตถุ ไม่ใช่พระธรรม

    กรุงศรีอยุธยาประกอบด้วยวัตถุและพระธรรม มีนักบวชมาปุจฉา - วิสัชนา นักบวชต่างหัวเมืองจากลังกา ก็มาสอบถามปัญหาธรรมะ ถึงขนาดว่า "หลวงปู่ทวด" ต้องเดินทางมาอาสาตอบปัญหาธรรมะ เพื่อแก้ต่างกับนักบวชชาวลังกา เพราะกลัวเสียท่าเสียชื่อ ว่าเมือง "สยาม" ไม่มีคนดี คนรู้ธรรมะ

    เพราะฉะนั้น สมัยที่ผู้คนประมาณสามแสนถึงห้าแสนกว่าในสมัยอยุธยา ศาสนาเต็มไปทุกตำบล หมู่บ้าน ต่อมาเสื่อมทรามลงเพราะความมักมากในกามคุณ ในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส สุดท้ายพระสงฆ์ในศาสนาก็เปลี่ยนสภาพจากนักบวชเป็นนักรบ เป็นผู้กู้บ้าน กู้เมือง เป็นนักเศรษฐกิจ เป็นแพทย์ เป็นผู้บรรเทาความทุกข์เดือดร้อน จากภัยสงคราม ตรงนี้เป็นจุดเสื่อมของพระศาสนา สัจธรรมพื้นฐานหายไป เหลือแต่สัจธรรมปฏิรูป พระศาสนาก็ล่มจม อับเฉา เรื่อยมาในทางปฏิบัติ แต่ในทางวัตถุเจริญรุ่งเรืองมาตลอด

    สิ่งเหล่านี้ทำให้หลวงปู่เกิดจิตสำนึกว่าจะทำอะไรให้แก่พระศาสนาบ้าง หน้าที่ลึกๆ ของพระที่จะต้องทำอะไรดีๆให้สังคม ก็คือ หน้าที่เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของผู้คน

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    วิถีชีวิตการปฏิบัติของหลวงปู่ (๑)

    หลวงปู่บอกพวกเราเสมอว่า ท่านก็คน เราก็คน ท่านก็กระดูก เราก็กระดูก ท่านมนุษย์ เราก็มนุษย์ ท่านรู้ได้ ผมต้องรู้ได้ ดังนั้นวิถีการปฏิบัติของท่านจึงมีแนวทางที่ทำทุกอย่างเพื่อพระศาสนา ท่านจึงอบรมพวกเราว่า การได้มีชีวิตมาบวชในพระศาสนานั้น มิใช่ว่าใครๆก็มาบวชได้ง่ายๆ คนบวชไม่ง่าย คนตายง่าย พระสึกก็ง่าย เมื่อมาอยู่ในที่ทำได้ยากแล้ว จงทำในที่ที่มายาก ได้มายาก ให้เป็นผล สาระ อย่างน้อยได้สติสักนิดก็ยังดี เวลาสึกออกไปจะได้ทำสิ่งดีๆ ให้แก่สังคม บ้านเมือง ครอบครัว ตัวเอง และประเทศชาติ ทุกครั้งที่สวดมนต์ ท่านจะเอารูปโครงกระดูกในหนังสือวิถีแห่งพุทธะมาดู ท่านบอกว่านึกในใจว่าทำอย่างไรจะได้โครงกระดูกมาเพื่อให้พระได้เรียนรู้ ต่อมาไม่นานก็มีคนนำโครงกระดูกมาถวาย แค่หลวงปู่ท่านคิด ก็จะมีคนมาช่วย ท่านจึงบอกว่า ธรรมะนี้มีผล หมั่นทำอย่างจริงๆจังๆ ทำให้เป็นเรื่องเป็นราว แล้วจะรู้ว่า สรรพสิ่งในโลกอยู่ใต้อุ้งมือเรา อย่าละโมบ อย่าตะกละ สมัยที่ท่านบวชและยังอาศัยวัดอื่นอยู่ พอมีคนมาถวายสังฆทาน ท่านจะเอาไปไว้คลังสงฆ์ แล้วเขียนหนังสือตัวโตๆประกาศ ว่า "ผมรับสังฆทานมา ขอพระคุณเจ้าโปรดพิจารณาตามอัธยาศัย" ส่วนปัจจัยจะนำไปใส่ตู้สำหรับเป็นค่าน้ำ ค่าไฟ ถือว่านั้นก็เป็นสังฆทาน ส่วนเงินที่ใส่บาตรโดยเฉพาะกับตัวท่านเองก็จะเก็บไว้ พอมีจำนวนมาก ท่านจะไปซื้อโลงให้กับคนอนาถาบ้าง ซื้ออุปกรณ์การเรียนให้แก่เด็กบ้าง นี่คือวิถีชีวิตของหลวงปู่

    ท่านบอกว่า เมื่อเราไม่ต้องการ สิ่งที่จะได้มันมากมายกว่าสิ่งที่ต้องการ แต่ถ้าเราต้องการ มันจะเหลือเนื้อที่ให้เราน้อยที่สุด แล้วสิ่งที่ได้ก็จะจนที่สุด อย่าอยากก็คือการปฏิเสธ เมื่อไม่อยากทุกอย่างจะมาหาเรา

    ถ้าเราถือตัวเรา หรือคิดว่าตัวเรา มีอยู่ในตัวเรา หรือตัวเราปฏิบัติ เราก็จะเป็นผู้ทำลายกติกาในการปฏิบัติ ในหลักมหาสติ ปัฏฐาน วิปลาส ๔ อย่างคือ ความเห็นว่างาม ความเห็นว่าสุข ความเห็นว่าเที่ยง ความเห็นว่ามีตัวตน นี่เป็นวิปลาสของบุคคลผู้ปฏิบัติธรรม และเมื่อใดเราถือว่ามีตัวเราปฏิบัติธรรม เมื่อนั้นเราทำลายการปฏิบัติธรรม นั่นจึงเป็นที่มาของนักปริยัติ ทำไมต้องตีกับนักปฏิบัติ เพราะว่าต่างฝ่ายต่างเอาอัตตาขึ้นมาตีกัน มาชนกัน โดยไม่คำนึงถึงความเสียหาย และวิปลาสที่เกิดขึ้น

    มหาสติปัฏฐานที่ไร้รูปแบบคือ มหาสติปัฏฐานที่ไม่มีการท่องจำ ทำได้ทุกขณะ เวลา เช่น คราใดเมื่อสภาวธรรมปรากฏขึ้น เรามีสติรับรู้สภาวธรรมนั้น ไม่ปรุงสภาวธรรมนั้นให้เป็นอารมณ์ ไม่ทำอารมณ์ให้เป็นอาลัย แล้วเราจะได้ไม่มีอะไรในอารมณ์นั้นๆ หลวงปู่เขียนบทโศลกบทนี้เมื่อท่านฝึกมหาสติปัฏฐานใหม่ๆ แล้วท่านรู้จักหน้าตาแท้ๆ ของมหาสติปัฏฐานแล้ว ท่านจึงเขียนบทโศลกว่า

    ลูกรัก...จงอย่าทำอารมณ์ให้เป็นอาลัย แล้วเราจักได้ไม่มีอะไรในอารมณ์นั้นๆ

    ซึ่งมันตรงกับสภาวธรรมของพระที่เข้ารับการอบรม เพราะวันหนึ่งในตอนกลางวัน ขณะที่พระกำลังฉันอาหารที่ศาลา มีผู้หญิงสาว ๒ คนเดินอยู่ในบริเวณนั้น พระหนุ่มแอบเหลียวมองไปตามๆ กัน หลวงปู่จึงแซวว่ามีกระดูก ๒ กองเดินมา กระดูกหลายกองกำลังมองกระดูก ๒ กองเดินผ่านไป ท่านบอกว่าไม่ใช่พูดเพื่อสนุก เพราะท่านเอาชนะความง่วง เอาชนะความเจ็บปวด และมาทำงานได้ก็เพราะท่านคิดว่า กระดูก ๑ กองกำลังพูดให้กระดูกหลายกองฟัง สภาพของกระดูกมันไม่มีอะไร ไม่มีสภาวะ มีแต่แกนเฉยๆ เอาความรู้สึกของเราเข้าไปถึงแกนอันนั้น เท่ากับว่าเราไม่ปรากฏสภาวธรรมใดๆ สงบ สันติ มันเป็นอุเบกขารมณ์ เมื่อเกิดอุเบกขารมณ์ขึ้นไม่ว่าจะมีสภาพใดมาฉุดกระชากลากถูเราไป มันก็จะไม่ใส่ใจ เราจะตั้งมั่นได้อย่างขุนเขา ที่ตั้งตระหง่าน ต้านทานแรงลมและพายุร้ายได้

    ความหมายของการได้รู้ว่า นี่คือ กระดูก คลำกระดูก และดูแลกระดูกของตน ชัดเจนในกระดูก

    มันเป็นความหมายที่ป้องกันภัยอันตรายรอบด้านได้มหาศาล การพิจารณาเห็นกระดูกภายในกายตนอยู่เป็นนิจศีล เหมือนอย่างพระรูปหนึ่ง ก่อนที่จะไปฉันข้าวในตอนเช้าวันหนึ่งได้มานั่งมองกระดูก แล้วขณะฉันข้าวก็คงคิดว่าเมื่อมันเป็นกระดูก แล้วนำอาหารใส่ไปในกระดูก มันจะขังอยู่กับอะไร ท่านจึงอาเจียนออกมา หลวงปู่บอกว่านั่นคือลักษณะของผู้ที่เข้าถึงภูมิธรรมชั้นหนึ่งเท่านั้น คือมองข้ามเนื้อ หนัง ลึกเข้าไปถึงแกนของกายคือกระดูก เพราะฉะนั้น พระองค์นั้นเวลาฉันอะไรก็จะอ้วกออกมา เพราะตอนนั้นเป็นอารมณ์ของวิปัสสนาญาณ

    กระดูกทำให้เราตั้งมั่น อยู่ได้อย่างไม่โยกโคน ไม่ง่อนแง่น ให้กระทบอารมณ์ต่างๆ อย่างไม่พ่ายแพ้ ทำให้มีชัยชนะต่อสภาวธรรมทั้งปวง กระดูกทำให้เป็นหนึ่งเดียวกับสภาวะแห่งจิตที่เป็นส่วนกุศล กระดูกทำให้เราเกิดสติตั้งมั่นและมีปัญญาญาณ หยั่งรู้สภาวธรรมตามความเป็นจริง อานิสงส์ของการมองกระดูกที่หลวงปู่ถ่ายทอด คือ เห็นกระดูกขณะเดิน เห็นกระดูกขณะยืน เห็นกระดูกขณะกิน เห็นกระดูกขณะพูด เห็นกระดูกขณะถ่าย นั่นคือมี สติ ควบคุมได้หมด รับรู้สัมผัสได้หมด ทำให้ "กายกับใจ รวมผนึกเป็นหนึ่งเดียว" ดังที่หลวงปู่เรียกว่า ปฏิกิริยาลูกโซ่ ที่ต้องไม่มีห่วงโซ่ (สติขณะใดขณะหนึ่ง) ขาดหายไป พระธรรม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ คือขบวนการร้อยรวมกันซึ่งกัมมัฏฐานทั้งปวง สามารถตรวจสอบโดยใช้หลักโพชฌงค์ ๗ ในการตรวสอบกัมมัฏฐาน หรือธรรมะนั้นในการปฏิบัตินั้นได้

    หลักโพชฌงค์ คือ ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้หรือองค์ของผู้ตรัสรู้มี ๗ อย่างคือ ๑.สติ ๒.ธัมมวิจยะ (การสอดส่องเลือกเฟ้นธรรม) ๓. วิริยะ ๔. ปีติ ๕. ปัสสัทธิ ๖. สมาธิ ๗. อุเบกขา ) เมื่อเรามีสติ เลือกเฟ้นภูมิธรรม ปฏิบัติธรรมนั้นด้วยความเพียร ก็เห็นผลในความเพียรนั้น นั่นคือ ปีติ เมื่อเห็นผลแล้วก็ปล่อยวาง สภาวธรรมที่เป็นมลภาวะทั้งปวง หรือสภาวธรรมที่ปรุงให้เป็นอารมณ์ เมื่อปล่อยวางได้แล้ว สติก็ตั้งมั่น เรียกว่า สัมมาสมาธิ แล้วก็ อุเบกขา ความว่างเฉย ทั้ง ๗ ประการนี้ คือการตรวจสอบธรรม ถ้าเข้ากันได้ ธรรมนั้นเป็นธรรมของพระพุทธเจ้า ถ้าเข้าอย่างนี้ไม่ได้ คือไม่เริ่มต้นด้วยสติ มันก็ไม่ใช่

    เพราะว่า สมาธิ นั้น ฝ่ายมารก็มี พวกฤาษี ชฎิล นักบวชนอกศาสนา หรือแม้กระทั่งพวกพ่อมด หมอผี ก็มีสมาธิ เรียกว่า สมาธิฝ่ายมาร เช่น พวกคุณไสย เสน่ห์ยาแฝดต่างๆ

    ธรรมะของพระพุทธเจ้า มีไว้เพื่อลดอัตตา ตัดตัณหา มานะ ทิฐิ ความทรนง เย่อหยิ่ง จองหอง พระธรรมคือเครื่องฟอกจิต คนที่บรรลุพระอรหันต์ ท่านไม่ได้รอบรู้สรรพสิ่ง แต่รอบรู้ตัวเอง รู้จักตัวเอง ส่วนคำว่า

    สัพพัญญู คือคุณสมบัติพิเศษของพระพุทธเจ้า ไม่เอาคำว่าสัพพัญญู ไปเรียกพระอรหันต์

    พระธรรมจึงเป็นเครื่องฟอกจิต ถ้าเรารับรู้ สัมผัส พิสูจน์ได้ ในกลิ่นอายแห่งพระธรรมนั้น เราย่อมจะรู้สึกฉลาด สะอาด สงบขึ้น สว่างขึ้น ผู้มีธรรมะทำให้เราชนะโลก อยู่บนโลกอย่างผู้ชนะ พระธรรมทำให้ตั้งมั่นได้อย่างไม่หวั่นหวาด ไม่สะดุ้งผวา ไม่โยกโคน ไม่สั่นคลอน ผู้มีธรรมย่อมอาจหาญ และสง่างาม ย่อมทำให้เรากล้าที่จะเผชิญต่อทุกสถานการณ์ ทุกกาล ทุกสมัย ผู้ปฎิบัติธรรม เจริญธรรม และมีธรรมในหัวใจ ย่อมไม่โดนใครกระทำ พระธรรมย่อมทำให้เราเป็นสุขเสมอ พระธรรมคือกระบวนการขัดเกลาจิตวิญญาณ และกายเรา ให้กลมเกลียวเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ พระธรรมบอกสิ่งที่ดีๆ แก่เรา ในขณะที่คนอื่นโง่เขลา แลไร้ปัญญา พระธรรมให้ทุกอย่างที่เราต้องการได้
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    วิถีชีวิตการปฏิบัติของหลวงปู่ (๒)

    เรื่องราวการปฏิบัติธรรมแล้วมีประสบการณ์แปลกๆที่เกี่ยวเนื่องและเป็นผลจากการปฏิบัติ สำหรับหลวงปู่นั้นท่านมีมากมาย ซึ่งผมพอจะยกบางตอนที่ท่านได้เล่าให้ฟังว่า ตอนที่ท่านไปพม่ามีพระองค์หนึ่งชื่อ หลวงปู่สี จะเก่งเรื่องการจับโครงกระดูกวิชากระดูก เมื่อจับกระดูกแล้วจะรู้ว่ากระดูกท่อนนี้เป็นของผู้หญิงหรือผู้ชาย อายุเท่าไร ตายด้วยโรคอะไร มีลูกกี่คน (สำหรับผู้หญิง) ท่านเคยทำนายแข่งกับหลวงปู่ ในตอนกลางคืนจะนำเอากระดูก กะโหลกมาเรียงในป่าช้า (ป่าช้าพม่าเขาจะฝัง) แล้วถามกันว่าผู้หญิง ผู้ชาย แก่ เด็ก หนุ่ม ทายกัน แล้วดูว่าใครจะได้ไปบิณฑบาตร เพราะต้องมีพระเฝ้าบริขาร ไม่อย่างนั้นจะมีขโมยมาลักของเอาไป เลยต้องทายแข่งกัน ซึ่งเขาเรียกวิชานี้ว่า "วิชานรลักษณ์"

    ซึ่งในบทมหาสติปัฏฐาน พระศาสดาทรงสอนเราว่า... ภิกษุทั้งหลาย เธอจงไปอยู่ในเรือนว่าง ป่าช้า ป่าชัฎ อยู่ในที่ห่างไกลผู้คน นั่งคู้บัลลังค์ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติให้มั่น มีสติรู้ตัวทั่วพร้อม เฉพาะหน้า ระลึกอยู่ว่า เธอกำลังนั่งอยู่ ยืนอยู่ นอนอยู่ กำลังเดินอยู่ เรียกว่า อิริยาบถบรรพ การรู้สภาวธรรมอย่างนี้ ไม่จำเป็นต้องท่องจำใดๆ แค่มีสติรู้อิริยาบถอย่างนั้น ตอนนั้น

    พื้นฐานของการรับรู้ ต้องมาจากสติตั้งมั่น หากสติตั้งมั่น การรู้ก็จะเด่นชัดมากขึ้น ซึ่งแต่ละคนก็อยู่ที่พื้นฐานการฝึก การศึกษา และสภาพการเรียนรู้ การที่เราเรียนรู้ หากยังมีความสงสัยว่า จะถูกต้องตามหลักหรือไม่ ขอเพียงเรามีการเรียนรู้ตัวเอง ธรรมะหรือธรรมวินัยนี้ มีไว้สำหรับสอนให้เรารู้จักตัวเอง แจ่มแจ้งในตัวเอง และถ่องแท้ในชีวิต จิตวิญญาณของตัวเอง ขอเพียงรู้จักตัวเอง โดยรู้จริง ไม่รู้จำ เป็นประโยชน์แก่ตัว ก็เป็นวิถีทางของพุทธะตรงตามคำสอนของพระศาสดา

    คนเรานั้นมีธรรมชาติที่ต้องเรียนรู้อยู่ ๒ ชนิดคือ ธรรมชาติภายนอกกาย (สัปปายะ) กับธรรมชาติภายในกายหรือจริต ๖ มีอยู่ในตัวทุกคน แต่ใครจะมีจริตใดมากกว่า กัมมัฏฐานทุกกองจึงมีเอาไว้กำราบทุกจริต กัมมัฏฐาน ลมหายใจ กับกระดูก เป็นกัมมัฏฐานกลางๆ ที่หลวงปู่ท่านสอนเอาไว้ ที่สามารถกำราบจริตได้ทุกจริต ซึ่งในระหว่างการอบรมหลวงปู่ท่านจะบอกว่า อย่าปล่อยให้ตัวเองเสียเวลากับการพูดคุยสังสรรค์ ไม่เจริญสติ ถ้าปล่อยไปอย่างนี้จะไม่เจริญ

    การไหว้ตัวเองได้ บูชาตัวเองสนิท (กายศักดิ์สิทธิ์) เป็นที่พึ่งของตัวเองได้ และเป็นที่พึ่งของคนอื่นได้ นั่นคือสุดยอดของการปฏิบัติธรรมที่หลวงปู่ท่านสอน โดยท่านเล่าให้ฟังว่าพระอุปัชฌาย์ของท่านสอนไว้ว่า "จำไว้นะ เป็นราชสีห์ในป่า ดีกว่าเป็นหมาอยู่ในเมือง" ดังนั้นเราจึงเห็นหลวงปู่เป็นแบบอย่างในการปฏิบัติซึ่งเราจะหาครูที่ไหนมาสอนเราได้อย่างนี้ ท่านบอกว่า (จงคิดว่า) "งาน" คือการสร้างสมรรถนะ งานคือการเปิดประตูวิญญาณ (รับรู้) ให้กว้างขวาง งานคือเครื่องทำให้สถานะชีวิตมั่นคง งานเป็นเครื่องทำให้เราเรียนรู้สรรพวิทยา งานคือการแสดงคุณค่าของการมีชีวิต

    การปฏิบัติซึ่งเป็นอุบายการกำราบนิวรณ์ อุบายชำระใจ ท่านจะมีวิธีพิจารณาที่ผสมผสาน ลักษณะว่า กายนี้ ประกอบด้วย ธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ เมื่อสติรู้อยู่เฉพาะหน้า ร่างกายนี้มีธาตุทั้งสี่เป็นเครื่องอยู่อาศัย เป็นเครื่องควบคุม สร้างสัมพันธภาพ เพื่อให้สมดุล เมื่อใดที่มนุษย์ตาย สัตว์ตาย มันจะขาดผู้ควบคุมธาตุทั้งสี่ คนตาย ลมหายใจก็จะหาย ลมทำหน้าที่ควบคุมธาตุไฟ เมื่อลมหายไฟก็ดับ ปกติไฟควบคุมธาตุน้ำ ธาตุน้ำก็จะทำการละลายธาตุดิน เวลาคนตายหลายวันจึงมีน้ำเหลืองไหลออกมา ตาปลิ้น ลิ้นจุกปาก อาการเหล่านี้เป็นการพิจารณาอสุภะ โดยเริ่มต้นจากธาตุ แล้วต่อมาด้วยอสุภะ

    ถ้าจะต่อไปถึงปฏิกูลบรรพ ก็พิจารณาโดยสัณฐาน โดยที่เกิด โดยความสกปรก โดยความไม่สวยไม่งาม พิจารณาโดยความน่าขยะแขยง ไม่เป็นที่รักใคร่ ชอบใจ ส่วนนวสีวถิกาบรรพ เมื่อธาตุนั้นแยกสลาย อสุภะนั้นมันแตกกระจาย สภาวะที่มันปรากฏขึ้นมันเหลือแต่โครงสร้างของกาย

    ส่วนหลักการพิจารณา ธาตุกัมมัฏฐาน อสุภกัมมัฏฐาน นวสีวถิกากัมมัฏฐาน และปฏิกูลกัมมัฏฐาน ซึ่งจะอยู่ในหมวดเดียวกัน มีลักษณะที่คล้ายๆกัน สามารถที่จะพิจารณารวมๆ กันได้ ครั้งแรกให้พิจารณารวมๆ กัน ต่อมาก็แยกพิจารณาเป็นอย่างๆได้ เพื่อให้จิตมันละเอียดขึ้น สติมันละเอียดขึ้น ขบวนการรับรู้ละเอียดมากขึ้น หลักการพิจารณาให้มองว่า เรามีจริตอย่างไร จะใช้กัมมัฏฐานใดเข้ากำราบ ให้ตรงและถูกต้อง

    แม้แต่การเจริญกสิณของหลวงปู่นั้น ท่านก็บอกวิธีไว้ว่าทำทุกอย่าง แม้แต่ดูกระดูกของตัวเอง โดยใช้การเพ่งพิจารณาโครงกระดูกจนปรากฏเป็นนิมิต หลับตา ลืมตาเห็นได้เป็นปกติ แล้วทำให้มันใหญ่ มันเล็กได้ ตามกาลที่เราต้องการ ทำให้เกิดวิปัสสนาญาณปรากฏ "กสิณ" ในการทำก็คือ หาเครื่องผูกใจ โดยไม่มีข้อจำกัดว่าต้องเป็นอย่างนี้ แต่เพราะสมัยก่อนเขานิยมทำในรูปแบบอย่างที่เรารู้จักกันก็คือ กสิณ ๑๐ (วัตถุอันจูงใจ คือ จูงใจให้เข้าไปผูกอยู่ เป็นชื่อของกัมมัฏฐานที่ใช้วัตถุสำหรับเพ่งเพื่อจูงจิตให้เป็นสมาธิมี ๑๐ อย่าง) คือ

    ภูตกสิณ ๔ : ๑) ปฐวี - ดิน ๒) อาโป - น้ำ ๓) เตโช - ไฟ ๔) วาโย - ลม
    วรรณกสิณ ๔ : ๕) นีลํ - สีเขียว ๖) ปีตํ - สีเหลือง ๗) โลหิตํ - สีแดง ๘) โอทาตํ - สีขาว
    และ ๙) อาโลโก - แสงสว่าง ๑๐) อากาโส - ที่ว่าง

    วิถีชีวิตการปฏิบัติของหลวงปู่ (๓)

    หลวงปู่ได้เล่าถึงตอนที่ท่านโดนงูกัด แล้วไม่ตาย โดยคิดว่า มีโครงกระดูกกองหนึ่ง โดนกระดูกท่อนหนึ่งมากัด เมื่อสติฝึกและกำหนดถึงขั้นหนึ่งแล้ว จะสามารถบังคับการโคจรของเลือดลมได้ ดังนั้นท่านจึงใช้วิธีนี้เพื่อทำให้เลือดไม่สูบฉีดเร็วนัก ท่านจึงบอกว่าคนมีสตินั้น การหมุนเวียนของเลือดจะปกติ สมดุลของมันจะคงที่ หัวใจจะไม่เต้นเร็ว เลือดจะไม่สูบฉีดเร็วเกินไป จะรักษาความสมดุลไว้ ถ้าถึงขีดหนึ่งจะสามารถบังคับได้ แต่ถ้าคนไม่มีสติหัวใจจะเต้นแรง เลือดจะสูบฉีดเร็ว สมองจะพองโต กล้ามเนื้อจะขยาย ม่านตาเปิดกว้าง อวัยวะทั้งหลายจะตื่นตัว สมัยที่ท่านไปธุดงค์แถว อ.ฝาง จ. เชียงใหม่ ท่านเล่าว่าต้องเดินธุดงค์ ๑๒ ก.ม ไปกลับ สมัยนั้นมีพระชื่อดังชื่อ ตุ๊เจ้าเสือขาว เขาลือว่าเป็นพระอรหันต์ ซึ่งอยู่ใกล้กับ วัดของหลวงปู่สิม (พุทธจาโร) ตอนนั้นหลวงปู่ได้ไปเยี่ยมหลวงปู่สิม เพราะรู้จักกันดี ตอนที่หลวงปู่ไปหา พอดีหลวงปู่สิมไม่อยู่ และเป็นวันพระ เป็นงานประเพณีเดือนสิบสอง ของทางเหนือ เขาจัดแถวนั่งกัน โดยให้หลวงปู่ไปนั่งต่อท้ายเณร ท่านก็ไปนั่งตรงที่ที่เขาจัดให้ สักพักเมื่อหลวงปู่สิมกลับมา พอเห็นหลวงปู่เข้าก็เรียกเณรมาตำหนิ แล้วให้หลวงปู่นั่งในที่อันสมควร ในชั้นเดียวกับหลวงปู่สิม หลวงปู่ก็เดินบิณฑบาตร จากถ้ำเชียงดาว ที่นั่นมีพระองค์หนึ่ง ไม่ยอมเดินดินมา ๑๐ ปีแล้ว เท้าไม่ยอมแตะพื้น อยู่แต่ที่กระต๊อบบนต้นไม้ ถึงเวลาก็มีโยมที่ศรัทธานำเอาอาหารมาถวาย ใส่ตะกร้าขึ้นไป หรือเวลาพระองค์นั้นต้องการอะไร ก็จดรายการส่งลงมา เขาลือกันว่า พระองค์นั้นเป็นอรหันต์ หลวงปู่อยากรู้ว่าพระองค์นั้นเป็นอย่างไร จึงคิดอยากทดสอบ อยากรู้ว่าอรหันต์เป็นอย่างไร พอดีพระองค์นั้นต้องการน้ำ หลวงปู่เลยกรอกน้ำเยี่ยวใส่กระบอกส่งขึ้นไปแทน สักพักก็มีเสียงพระองค์นั้นตะโกนด่าลั่นมาว่า "ใครเยี่ยวใส่กระบอกน้ำกูวะ" แล้วจากพระที่ไม่เคยลงเหยียบพื้นดิน ก็รีบลงมาอย่างรวดเร็ว ซึ่งเรื่องที่หลวงปู่นี้เล่าต้องการบอกให้พวกเรารู้ว่าอย่าเชื่ออะไรง่ายๆ ตามที่เขาเล่าลือ ต้องเชื่อจากการทดสอบ ลงมือพิสูจน์ทราบเสียก่อน

    ในช่วงการอบรมพระวิปัสสนาจารย์บางครั้ง วิทยากรที่มาอบรมใช้ศัพท์ทางอภิธรรมมากไป ฟังแล้วมึน เข้าใจยากหรืออาจทำให้ไขว้เขวได้ หรือบางครั้งทำให้พระบางรูป เกิดความคิดว่า การอบรม ทนลำบากในครั้งนี้ ไม่เห็นจะได้อะไร ได้เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น การเรียน (ปริยัติ) นั้นถือว่าสำคัญกว่า หลวงปู่จึงสอนพวกเราว่า ให้รู้จักที่จะเลือกเอาสิ่งดี จากสิ่งที่เขาสอนนั้น เพราะการศึกษาธรรมะ ต้องศึกษาได้จากทุกที่ ทุกถิ่น ทุกเวลา ขณะจิต เป็น "อกาลิโก" หรือ ธรรมที่ไม่จำกัดกาล ขอเพียงมีศรัทธา ตั้งมั่นในพระธรรม ใครจะพูดอะไร ให้เราหวั่นไหว หรือใครจะเอาคัมภีร์มาทั้งตู้ ก็ยังเชื่อไม่ได้ เราต้องลองดู ทดสอบ ทดลองดูก่อน สำคัญคือ ต้องมีสัมมาทิฐิ ศาสนานี้มีไว้เพื่อศึกษาให้ปลดปล่อยทุกข์ รู้เท่าทันทุกข์ หลุดพ้นจากกองทุกข์ทั้งปวง ต้องไม่มีตัวกู ของกู ไปศึกษาเรียนรู้ ท่องจำ
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปิดฉากโรงละครอิงประวัติศาสตร์ธรรมะ

    วันสุดท้ายของการอบรมพระวิปัสสนาจารย์ หลวงปู่ได้พูดไว้ว่า วิธีการเหล่านี้เป็นการดัดกาย วาจาใจ ให้เป็นผู้ที่ซื่อตรง บริสุทธิ์ เป็นวิถีทางอันประเสริฐ ตามอุดมการณ์ของพระพุทธะผู้ประเสริฐและยิ่งยง ได้ดำเนินรอยตามวิถีธรรมอันประเสริฐของพระองค์ ได้ตระหนัก และสำนึก ถึงธุระ แล้วหน้าที่อันนี้ ที่พระศาสดาทรงให้แก่ มหาชน คนทั้งหลาย เราในฐานะผู้สืบทอดอุดมการณ์อันศักดิ์สิทธิ์ เจริญรุ่งเรือง และประเสริฐสูงสุด ของพระพุทธะพระองค์นั้น เราก็เพียรพยายาม ทำหน้าที่ให้ซื่อตรง บริสุทธิ์ ถูกต้อง และยุติธรรม ตามอุดมการณ์ แนวทางที่พระองค์ทรงวางรากฐานเอาไว้ เราตระหนัก สำนึกถึงสกุลศากยะ ว่าความหมายแห่งศากยะ ไม่ใช่ได้มาจากการที่เราอยู่ใกล้ ต้องได้มาจากการที่เราลงไม้ลงมือกระทำ จนเป็นผู้อาจ ผู้กล้า ผู้สามารถ

    ด้วยความตระหนัก สำนึก คณะทำงานได้เสียสละเวลาอันมีค่า ความสุขส่วนตัว ความดีงามที่มี มาเผื่อแผ่ให้ไพศาลและไพบูลย์ ต่อจิตวิญญาณต่อพระวิปัสสนาจารย์รุ่นน้อง ด้วยความหวังเป็นอย่างยิ่งว่า สิ่งทั้งหลายทั้งปวง จะยังประโยชน์สุขให้แก่สังคม แก่โลก จักรวาล ต่อผู้คน ชนทั้งหลาย สิ่งต่างๆ ทุกคนทำด้วยความบริสุทธิ์ ด้วยความมั่นใจ ในศรัทธาที่มีต่อพระศาสนา และทำด้วยความจริง ไม่ได้มีสิ่งใด หวาดระแวง เคลือบแคลง สงสัย การทำงานอาจจะมีถูกบ้าง ผิดบ้าง คณะทำงานยินดีรับคำชี้แนะ ติ ผ่องถ่าย ความรู้สึก ปรับปรุง พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขเสมอ

    หากทำแล้วทำให้เมล็ดพืชแห่งพุทธะ และโพธิจิต เจริญในจิตวิญญาณ และสันดานของสรรพสัตว์ ทุกคนก็จะพยายามทำดีกันทั้งนั้น แต่บางครั้งความดีอันนั้น อาจจะไม่ถูกใจ ไม่ตรงใจ ของทุกท่าน ขอจงมีความเมตตาต่อคณะดำเนินการ หวังว่าวิถีชีวิตอย่างนี้ วิถีคิดแบบนี้ วิถีงานที่นี้ เป็นวิถีพุทธ ตรง ถูกต้อง บริสุทธิ์ และชอบธรรม ตามครรลองของพระธรรมวินัย และพระศาสนา ที่พระศาสดาจารย์เจ้าทรงวางรากฐานไว้ดีแล้ว...

    "โรงละครโรงนี้กำลังจะปิดฉากลงแล้ว หลวงปู่ได้ทำกระบวนการทั้งหลายให้เกิดขึ้น ให้ได้ประโยชน์ สาระ ปราศจากโทษภัย ต่อผู้ฟัง โรงละครอิงประวัติศาสตร์ธรรมะโรงนี้ ปิดฉากด้วยความความสันติสุข และร่มเย็น ด้วยความมีไมตรี และเมตตาของเหล่าภิกษุ (พุทธบุตร) พระศาสนายังจะคงบริสุทธิ์ บริบูรณ์ได้ ปัญญาญาณหยั่งรู้ในสรรพชีวิต สรรพชีวิต ก็จะอุบัติขึ้นได้ สิ่งที่ต้องการ เพื่อจะให้พระเป็นศากยบุตรที่ดี ทำเรื่องดีๆ ให้แก่พระศาสนา เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของประชาชาติและสัตว์โลก ตามอุดมการณ์ของพระศาสดาให้แผ่ไพศาลไปสู่สังคม และมหาชนคนทั้งหลาย ทำให้พระศาสดาจารย์เจ้าเป็นผู้ยิ่งใหญ่ และยิ่งยง ในหัวใจของสรรพสัตว์ ทำให้ผู้คนทั้งหลายยืนหยัดด้วยลำแข้ง และพึ่งพาตัวเองได้ และเป็นที่พึ่งแก่คนอื่นได้ ทั้งหมดเหล่านี้เป็นหน้าที่ที่หลวงปู่ ต้องทำในฐานะเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของประชาชาติและสัตว์โลก"

    สิ่งที่หลวงปู่ยังไม่ได้บอกว่า ท่านทำงานทั้งหลายทั้งปวงเพื่อพระศาสนานั้น ท่านต้องการอะไร ผมขอให้ทุกท่านพนมมือและกล่าวสาธุเมื่อหลวงปู่กล่าวเสร็จ ท่านเอ่ยขึ้นด้วยน้ำเสียงอันหนักแน่นว่า

    "ข้าแต่เทพเจ้าทั้งหลาย พระอริยสงฆ์ทั้งหลาย และเทพดาฟ้าดินที่สิงสถิตย์อยู่ในสากลโลก และสามโลก ประชาชนผู้คน มหาสัตว์ และสรรพสัตว์ทั้งปวง ข้าขอตั้งสัจจะอธิษฐาน ด้วยบุญกุศลและอำนาจบารมีที่ข้าบำเพ็ญครั้งนี้ จงเป็นเดชะ พลวปัจจัย ดลบันดาลให้ข้าได้เข้าถึงภูมิของพระพุทธะผู้ยิ่งใหญ่ ในอนาคตกาล สำเร็จสู่พระโพธิญาณ ตามมุ่งหวังด้วยเทอญ"

    "สา...ธุ" พระภิกษุทั้งหมดพร้อมใจกันเปล่งเสียงสาธุ ด้วยความศักดิ์สิทธิ์ มีพลัง ดังกระหึ่ม กึกก้อง บริสุทธิ์ แนบแน่นไปด้วยความอิ่มเอิบ ซาบซ่าน ปีติสุข สงบ เยือกเย็นสันติ

    "ครับ ขอบพระคุณครับ นิมนต์ให้พรครับ" สิ้นเสียงดังกังวาน แจ่มใส ของหลวงปู่ เสียงพระทุกรูปจึงพร้อมกันเปล่งคำให้พรที่สวดด้วยหัวใจ แก่ทุกคนที่มาในงานนี้ เป็นอันว่าโรงละครโรงนี้ได้ปิดฉากลงแล้วด้วยความอิ่มเอม และปีติสุขที่เกิดขึ้นในหัวใจของทุกคน

    จบภาค โลกุตระ ......
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%"><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>ตามรอยพระพุทธะ ตอนที่ 4 (ภาค 3 ภาคธุดงค์)</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>19 พฤศจิกายน 2544 14:19 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%"><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=166><TBODY><TR><TD vAlign=top width=166 align=middle>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ตามรอยพระพุทธะ</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD height=5 vAlign=top align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> สู่ธุดงคสถาน

    วิถีชีวิตของพระภิกษุเรื่องที่สำคัญคือการปฏิบัติธรรม และหนึ่งในหนทางการปฏิบัติที่ถูกต้อง ตรงแนว คือการได้ออกเดินธุดงค์ เพราะพระที่ถือสมาทานธุดงค์ จุดประสงค์ก็เพื่อฝึกฝนตน กำจัดกิเลส ปฏิบัติตามข้อวัตรต่างๆ ที่สมัครใจจะสมาทานประพฤติปฏิบัติ และเป็นหนทาง อุบาย แนวทางที่จะขัดเกลากิเลสให้ลดน้อย ถดถอยลงไป ทั้งยังเป็นการส่งเสริมความมักน้อย ความสันโดษ ปลูกฝังความสมถะ และเป็นการเผยแผ่ธรรมไปด้วย นับเป็นการประกาศศาสนาอีกอย่าง

    ดังนั้นการที่พวกผมได้มีโอกาสมาบวชอยู่กับครูบาอาจารย์ คือหลวงปู่พุทธะอิสระ แล้วท่านเมตตาจะนำพวกเราไปธุดงค์เพื่อหาประสบการณ์ทางวิญญาณใหม่ๆ ทั้งยังให้มีโอกาส ฝึกฝนขัดเกลากิเลสตน ให้รีบนำเอาหลักของมหาสติปัฏฐานต่างๆ ที่ได้ร่ำเรียนมา นำมาใช้ มาฝึก มาปฏิบัติ กับการใช้ชีวิตในป่า จึงถือได้ว่าเป็นโอกาส เป็นประสบการณ์อันล้ำค่าวิเศษสุด เป็นวาสนาอันสูงสุด สำหรับชีวิตในชาตินี้ที่ได้รับจากหลวงปู่

    เริ่มต้นการธุดงค์ โดยเดินทางออกจากวัดอ้อน้อย จุดมุ่งหมายเพื่อไปพักที่ป่าธุดงคสถาน ลำอีซู จ.กาญจนบุรี ซึ่งในระหว่างที่นั่งรถนั้น เห็นสภาพป่าแล้วใจหาย ดูโล่ง เตียน แห้งแล้ง ทั้งๆ ที่อยู่ในหน้าหนาว ป่าที่สูญสิ้น ถูกบุกรุก จนทำให้สภาพอากาศแปรปรวน และก่อนเดินทางก็ได้ทราบมาแล้วว่าเมืองกาญจนบุรีนั้น มีสภาพป่าที่ไม่เหมือนใคร เป็นป่าร้อนชื้น ไข้ป่าชุกชุม สภาพอากาศแปรปรวน ถ้าฝนตกก็ตกมากจนน้ำท่วม ถ้าแห้งแล้งก็แล้งจนถึงที่สุด เป็นเหมือนป่าที่มีหลายมิติ หลากหลายพันธุ์ ไม่ค่อยเหมือนป่าทางภาคเหนือ หรือ ป่าดงดิบทั่วไปๆ อาจเป็นเพราะสภาพป่าแถวนี้อยู่ในแนวเส้นเขตศูนย์สูตร และอยู่ในร่องทางแผ่นดิน ที่มักจะมีข่าวแผ่นดินไหวเกิดบริเวณนี้มาก รวมทั้งเป็นแนวป่าเทือกเขาตะนาวศรีที่พาดผ่านชายแดนประเทศพม่า ขึ้นไปทางเหนือจนจรดแนวเทือกเขาหิมาลัย

    เมื่อเดินทางถึงธุดงคสถาน กลิ่นอายแรกที่รับสัมผัสได้ คือความร่มเย็น สันติ จิตใจดูสงบขึ้น เพราะบริเวณป่าแถบนี้มีต้นไม้มาก ดูร่มรื่น เย็นสบายดี ทุกคนแยกย้ายกันหาทำเลที่ตั้งเพื่อปักกลด โดยแยกกันเป็นกลุ่มๆ แต่ละกลดอยู่ห่างกันพอสมควร พอตอนเย็นหลังจากทำวัตรเย็นเสร็จ หลวงปู่ได้ออกมาพูดคุย ดูแล สอบถามพวกเราด้วยความเป็นห่วงว่าเป็นไงกันบ้าง มีที่นอนที่พักกันไหม ท่านบอกว่ามาอยู่ในอ้อมกอดของขุนเขา และแมกไม้ทั้งหลาย ก็ต้องเปลี่ยนรสชาติ เปลี่ยนประสบการณ์ทางวิญญาณที่จะเรียนรู้ในโอกาสต่อๆ ไป

    ที่ธุดงคสถานนี้ หลวงปู่บอกว่าจะทำให้เป็นที่ธุดงคสถานของพระผู้สัญจรไปมา เพื่อเป็นที่สำหรับพัก สำหรับคนที่มีจิตใจอยากจะสงบสันติ เป็นสมณะผู้รักสงบ และสำหรับสามเณรที่บวชภาคฤดูร้อน แล้วท่านก็ได้เล่าถึงที่มาที่ไปของธุดงคสถานแห่งนี้ว่า มีเนื้อที่อยู่ประมาณเกือบสามร้อยไร่ ซึ่งซื้อต่อจากชาวบ้าน โดยที่ไม่ได้ตั้งใจซื้อ สาเหตุเนื่องจากเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว ท่านมาธุดงค์แถวนี้ ชาวบ้านที่ใส่บาตรหลวงปู่ประจำนั้นวันหนึ่งเขาเกิดปัญหาได้ไปขอความเมตตาจากท่านที่วัด ขอร้องให้ท่านช่วย โดยจะขอยืมเงิน แต่สุดท้ายเขาไม่มีเงินใช้ เลยยกที่แห่งนี้ให้ ตอนแรกที่หลวงปู่มาดูใหม่ๆ ก็ไม่อยากจะรับ ไม่อยากจะได้อะไร แต่พอท่านเห็นเก้งมันซุกอยู่ตามกอไผ่ แล้ววิ่งหนีคน ท่านเลยรับเอาไว้

    สภาพป่าพื้นที่เดิมนั้นแห้งแล้ง เป็นป่าหัวโล้น ต้นไม้ไม่ค่อยมี หลวงปู่เลยหาคนมาช่วยทำงาน โดยท่านเป็นผู้คอยดูแล เอาใจใส่ ต้นไม้ นำคนงานไปขุดต้นไม้มาปลูก ซึ่งส่วนใหญ่จะมีแต่ต้นไผ่ และบริเวณนี้ก็เป็นด่านที่สัตว์ลงมากินน้ำ ท่านจึงได้สร้างเขื่อนกักเก็บน้ำ (ฝายน้ำล้น) ซึ่งยังประโยชน์ให้กับสัตว์ที่ลงมากินน้ำ และชาวบ้านแถวนี้ แต่มักจะมีชาวบ้านมาคอยดักยิงสัตว์กันเป็นประจำ เพราะว่าแถวนี้ยังมีสัตว์ป่าชุกชุม มีทั้ง หมาจิ้งจอก เก้ง เลียงผา กระจง กระต่ายป่า หมูป่าฯ

    ดังนั้นระบบนิเวศน์ของธุดงคสถานแห่งนี้จึงมีหลากหลาย ทั้งเรื่องของพืชพันธุ์ไม้ ว่านยา ต้นยา ถึงแม้ว่าทางเข้าจะไม่ค่อยดีนัก ค่อนข้างทุรกันดาร แต่เงียบสงัด วิธีปลูกต้นไม้ของหลวงปู่นั้น ท่านจะสั่งคนงานว่า อย่าไปทำร้ายต้นไม้เก่า พยายามรักษาระบบธรรมชาติเดิมของมันให้ดีที่สุด เพียงแค่ริดกิ่งบ้าง ตัดบางต้นที่มันบังไม่ให้แดดส่องถึงต้นไม้ใหม่ที่ปลูก ท่านได้นำวิธีระบบน้ำหยด โดยได้ก่อสร้างบ่อน้ำ แท้งค์น้ำขนาดใหญ่ไว้บนเขา เอาน้ำขึ้นไปใส่ ไปเติมแล้วปล่อยให้มันหยดตามต้นไม้ที่กำลังปลูก เนื่องจากพื้นดินแถวนี้เป็นดินลูกรัง เวลาฝนตก น้ำจะไหลผ่านไปอย่างรวดเร็ว แรง แล้วจะไหลลงตีนเขาหมด นอกจากนี้ท่านยังให้ไปขุดบ่อน้ำ กักน้ำไว้ที่ตีนเขาอีกด้วย

    จิตที่ฟุ้ง

    หลวงปู่ได้พูดเตือนภิกษุที่ยังรักสนุก ชอบพูดคุย เล่น ซึ่งนักปฏิบัติกรรมฐานที่ดีต้องไม่มีสิ่งเหล่านี้ เพราะมันอาจจะเป็นมารที่คอยเข้ามาผจญ ซึ่งเราต้องเอาชนะมันให้ได้ เหมือนอย่างวิถีชีวิตของท่าน สมัยบวชใหม่ๆ ที่อาศัยวัดเขาอยู่ ท่านจะไม่ยอมไปคุยกับใคร เมื่อทำกิจกรรมสังฆกรรมเสร็จ จะเข้ากุฏิ ปิดประตู สวดมนต์ภาวนาอ่านหนังสือ จะออกมาก็ตอนทำงานข้างนอกเท่านั้น คือกวาดลานวัด ขนขยะ ล้างโบสถ์ แสดงธรรมให้แก่ชาวบ้าน แสดงธรรมเสร็จ ก็เข้ากุฏิ ปัจจัยที่ได้จะนำไปใส่ตู้ของวัดเอาไว้ เพื่อเป็นค่าน้ำค่าไฟ

    เหมือนเช่นตอนอบรมพระวิปัสสนาจารย์ หลวงปู่มานำสวดมนต์เป็นประจำไม่เคยขาด คอยกระตุ้นให้พวกเราฝึกฝนตัวเอง ถ้าคุยก็คุยเรื่องงาน มีเวลาพักท่านก็ไม่ไปคุยกับใคร จะมานั่งสมาธิเงียบๆที่กลด หรือเดินจงกรม ที่ทางเดินหน้ากลด

    เพราะว่าการคุยกันนั้น มันทำให้คนจิตฟุ้ง ทำให้เราฟู นักปฏิบัติต้องไม่พูดมาก การพูดมากคือการทำร้ายทำลายพลังของเรา ดังนั้นท่านจึงบอกว่า พยายามสงบปากสงบคำ สงบเสงี่ยมเจียมตัว ใช้ระบบของพระพุทธเจ้าที่เรียกว่า สังวรระวัง สำรวมระวังในอินทรีย์ทั้ง ๖ คือ สำรวมระวังตาเห็นรูป สำรวมระวังหูฟังเสียง สำรวมระวังจมูกดมกลิ่น สำรวมระวังลิ้นรับรส สำรวมระวังกายสัมผัส อย่าทำให้อารมณ์ใดๆ ปรากฏขึ้นในขณะตาเห็นรูป จมูกได้กลิ่น ลิ้นรับรส กายถูกต้องสัมผัส

    การที่มีโอกาสเข้ามาบวชในพระศาสนา นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ในครั้งหนึ่งของชีวิต หลวงปู่บอกว่าให้ทำดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ในขณะที่มาอยู่ป่า เพราะถ้าทำได้ถือว่าเป็นบารมีของตัวเอง เป็นบุญกุศลอันยิ่งใหญ่ที่ตัวเองคิดจะมีชีวิตแล้วได้ประโยชน์ ท่านเตือนสติไว้ว่า "คนที่เขาทำได้ก็กินข้าว เราก็คนกินข้าวเหมือนกับเขา ทำไมจึงทำไม่ได้ ต้องถามตัวเอง" ซึ่งการที่ภิกษุบางรูปยังไม่ศรัทธา ไม่เอาใจใส่ในการประพฤติปฏิบัติธรรม ไม่สังวรระวัง ไม่สำรวมระวัง ก็ไม่เป็นไร ขอเพียงมีความพยายาม สักวันหนึ่งต้องสำเร็จ ขอเพียงมีความหมั่นเพียร สักวันหนึ่งความศรัทธานั้นจะเต็มเปี่ยมขึ้นมาได้ เราก็สามารถจะปฏิบัติธรรมจนเห็นผลได้ วันนี้ไม่ศรัทธาไม่เป็นไร พยายามทำต่อไป พรุ่งนี้ก็ต้องศรัทธา พรุ่งนี้ไม่ศรัทธา มะรืนนี้ก็ต้องศรัทธา

    คำว่า "ศรัทธา" นี้ท่านบอกว่า ไม่ได้ให้มาศรัทธาในตัวท่าน แต่ให้ศรัทธาใน "วิถีแห่งนักปฏิบัติ" ศรัทธาที่จะสร้างสติให้เกิดขึ้นในการรู้ตัวทั่วพร้อม แล้วคบกับมหามิตร เอกบุรุษแห่งสติ ไม่ไปพูดคุยกับผู้คนที่อยู่รอบข้างเรา พยายามพบปะพูดคุยกับสติของตัวเองให้มาก ไม่ควรเสียเวลาไปพบปะพูดคุยกับคนรอบข้าง หลวงปู่บอกว่า ระยะเวลาที่พวกเราไปอบรมพระวิปัสสนาจารย์มานั้นก็มีสติดี ได้รู้จักหน้าตาของสติ และคบกับมหามิตรที่ชื่อว่าสตินี้มาแล้ว จงอย่าได้ละเลย เพิกเฉยระยะเวลาที่อยู่ในป่านี้ ซึ่งในธุดงคสถานนี้ยังไม่ใช่ป่าจริง ป่าจริงยังรออยู่อีกไกล จึงต้องมาซ้อม เรียนรู้กติกาในการจะอยู่ป่าในอนาคต ดังนั้นจึงต้องพยายามเปิดประตูทางวิญญาณเข้าไปรู้จักหน้าตาแท้ๆ ของมหามิตร นั่นคือสติ และรบกับเขาให้ได้ตลอดเวลา ทุกย่างก้าวลมหายใจเข้าออก

    วิสัยแห่งสมณะ

    เหตุที่เป็นอย่างนี้ หลวงปู่บอกว่า เพราะพวกเรายังไม่มีวิสัยแห่งสมณะที่สมบูรณ์ วิสัยแห่งสมณะ นั้นคือ ผู้สงบ ผู้รักสงบ พยายามฝึกตนเอง เพราะที่ธุดงค์นี้มี "ไอ้ดำดง" ??? ซึ่งมักทำให้คนที่อยู่แถวนี้ ไม่กล้าเข้ามาบริเวณนี้คนเดียว เพราะว่ามันอาจจะเดินสวนคนนั้นบ้างคนนี้บ้าง บางทีเดินสวนเราอยู่ หันไปดูอีกที หายไปแล้ว ท่านบอกว่าจะฝากให้ไอ้ดำดงช่วยดูๆ พวกเรา เผื่อพวกเราจะได้ไม่ประมาท แล้วท่านย้ำกับพวกเราว่าอย่าลืมสวดมนต์ทุกครั้งทุกวันที่อยู่ในป่าตามบทที่ท่านเคยนำสวด

    หลวงปู่พูดถึงอำนาจและพลังของป่าว่า ป่ามีอำนาจและพลังตรงที่ "ความเงียบ และความมืด" ถ้าไม่หวาดกลัวต่อป่า ไม่อยากจะหวาดกลัวหรือสะดุ้งผวาต่ออำนาจและพลังของป่า เราต้องเงียบยิ่งกว่าป่าที่เงียบแล้ว ถ้าไม่อยากกลัวและเกรงความมืดของป่า เราต้องสว่าง มีความสว่างกระจ่างใสให้อยู่ในใจของเราตลอดเวลา ถ้าทำได้จะสามารถเดินป่าได้อย่างไม่หวั่นหวาด ไม่สะดุ้งผวา ไม่ต้องอาศัยไฟฉาย อยู่ได้อย่างองอาจสง่างามอย่างผู้กล้า เพราะฉะนั้นหัดฝึกความเงียบและความสว่างในใจให้เกิดขึ้นเสมอ แล้วเราจะรู้ว่า ป่านี้เป็นสวรรค์ของบุคคลที่เป็นสมณะ มีเพื่อนที่คิดอยากจะมาสนิทใกล้ชิดกับเราอยู่ในป่าเยอะแยะ มีมหามิตรอันยิ่งใหญ่อยู่ทั่วไปรอบๆ ตัวเรา ที่อยากจะพูดคุยกับเรา สำหรับสมณะผู้เจริญ ถ้าเราทำตัวเองให้เป็นผู้เข้าถึงอำนาจและพลังของป่าจริงๆ เราก็จะพบพาเจอะเจอ คำเตือนจากหลวงปู่นี้จึงเป็นการบอกกล่าวด้วยความอาทรสุดชีวิตจิตวิญญาณของท่าน เพราะชีวิตของคนเรานั้นการที่จะไปบังคับใครๆ คงทำไม่ได้ เพราะกรรมของแต่ละคนไม่เท่ากัน ถ้าทิฐิสามัญญตา ศีลสามัญญตา คือมีความเป็นอันตรงเหมือนกัน มีข้อปฏิบัติอันตรงเหมือนกัน จึงเรียกว่า วาสนาเท่ากัน กรรมเหมือนกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่ฝึกฝน ปฏิบัติ หัดทำ ไปพร้อมๆ กันได้
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ความมืด ความเงียบ

    เกี่ยวกับการฝึกฝนตนเอาชนะความมืดนี้ ผมเคยศึกษาค้นคว้าพบว่า ที่ธิเบต มีวิธีการฝึกที่น่าสนใจมาก เพราะโดยทั่วไป การศึกษาของพระลามะ (คำว่า "ลามะ" นั้น เรามักเข้าใจว่าเป็นคำเรียกพระธิเบตทุกๆ รูป แต่ความจริง พระธิเบตไม่มีฐานะเป็นลามะทุกรูป ต้องมีอาวุโส หรือได้รับความนิยมนับถือ ว่าสามารถทำอย่างนั้นอย่างนี้ได้พอสมควร จึงมีฐานะเป็น ลามะ ได้) ในธิเบตนั้นมีพวกหนึ่งที่ปฏิบัติ (ตามหลักพระวินัย) เพื่อความสุขทางจิตใจ เพื่อหวังผลเลิศในกาลข้างหน้า พวกนี้ไม่สนใจในการศึกษาให้ลึกซึ้ง เป็นแต่ปฏิบัติตามคำสั่งของครูบาอาจารย์ และอีกพวกหนึ่งศึกษาทางด้านปริยัติคล้ายกับทางบ้านเรา ที่เรียนหลักธรรม (ตามแบบมหายาน) อักษรศาสตร์ เรียนเพื่อเป็นปราชญ์ แต่ยังมีลามะอีกกลุ่มหนึ่งที่ต้องการศึกษาทางวิปัสสนาอย่างแท้จริง โดยจะอยู่โดดเดี่ยว และเรียนวัตรปฏิบัติทางจิตใจอย่างเคร่งครัด

    พวกนี้จะมีวิธีการที่เคร่งครัดรุนแรงมาก เริ่มตั้งแต่การที่ไม่พบหน้าใครเลย นอกจากศิษย์หรือคนที่คอยรับใช้ ไม่พูดอะไร ถ้ามีความจำเป็นต้องการสิ่งใดก็เขียนหนังสือส่งให้แก่ศิษย์ ปิดบัง ขังตัวเองไม่ให้เห็นภูมิทัศน์ หรือสิ่งแวดล้อมภายนอก นอกจากท้องฟ้า ห้องที่อยู่มีเครื่องกำบังสูงพอที่จะไม่เห็นภาพแม้แต่ภูเขาในระยะไกล ให้มองเห็นแต่ท้องฟ้าเท่านั้น ต่อมาแม้แต่ท้องฟ้าก็ไม่ให้เห็น คงมีเพียงแสงสว่างลอดเข้ามาในห้องช่วงเวลากลางวันเท่านั้น

    ในระยะหลังๆลามะจะไม่พบใครเลยแม้แต่ศิษย์ที่ปฏิบัติ โดยศิษย์จะนำอาหารและสิ่งที่ต้องการ มาส่งลอดเข้าทางช่องข้างฝาที่ทำไว้เป็นพิเศษเพื่อการนี้ รับประทานอาหารแล้วสอดภาชนะออกไปวางข้างนอก หรือมีอะไรที่ต้องการให้เอาไปเทไปทิ้ง ก็ส่งลอดออกไปตามช่องนี้

    จากนี้ไปจึงตกอยู่ในความมืดอย่างแท้จริง โดยปิดบังแสงสว่างทั้งหมด คงมีแต่อากาศสำหรับหายใจซึ่งมาจากปล่องที่ทำไว้ด้วยกรรมวิธีพิเศษที่เข้าใจคิด เข้าใจทำ คือทำปล่องให้คดเคี้ยวเพื่อให้อากาศเข้าได้เพียงพอ แต่ไม่ให้แสงสว่างเข้าได้เลย ไม่จุดโคมไฟ เทียน หรือแม้แต่ธูป มืดจนไม่รู้ความแตกต่างระหว่างกลางคืน และกลางวัน เป็นการเก็บตัวอยู่แต่ในความมืด

    การที่เราอยู่ในความมืดเป็นเวลานานๆ อย่างนี้ ทำให้เรารู้จักและเข้าใจแน่ชัดในความหมายของคำว่า การที่ไม่มีอะไรจะสิ้นสุด (Eternity) ทำให้เชื่อแน่ในความมีอยู่ของดวงวิญญาณ ให้เข้าใจว่าการที่ดวงวิญญาณลอยล่องท่องเที่ยวอยู่ในจักรวาลนั้นมีสภาพอย่างไร ทำให้เชื่อว่าดวงวิญญาณคงจะลอยอยู่ในความมืด ในจักรวาลอันไม่มีที่สิ้นสุด ทำให้เรารู้สึกว่าตัวเราเองก็เป็นเพียงดวงวิญญาณดวงหนึ่ง เมื่อยู่ในความมืดก็ได้แต่สวดมนต์ภาวนา ทำให้จิตมีสมาธิ ไม่วอกแวก ฟุ้งซ่าน หงุดหงิดรำคาญ การทำอย่างนี้ทำให้กำลัง พลังของจิตมีความแข็งแกร่งมากขึ้น ในทันทีที่ทำให้ดวงจิตตั้งมั่นแน่วแน่ได้นั้น จะรู้สึกตัวเองได้ว่า ลอยคว้างอยู่ในความมืด อยู่ในความไม่มีที่สิ้นสุดของจักรวาล ทำให้เชื่อมั่นว่า การใช้พลังทางจิตทำสิ่งใดนั้น ไม่เป็นเรื่องพ้นวิสัยที่จะทำ

    การฝึกฝนอยู่ในความมืดของลามะธิเบตนั้น ต้องอยู่มากกว่า ๓๖๕ วัน และการจะออกจากความมืด ก็ทำอย่างแนบเนียน คือให้เห็นแสงสว่างทีละน้อยด้วยการเจาะรูที่หน้าต่าง ให้เป็นรูเล็กๆ เพื่อให้แสงสว่างลอดเข้ามาเพียงนิดเดียว ต่อมาวันหลังจึงเจาะรูเพิ่มขึ้น หรือทำให้รูใหญ่ขึ้นๆ จนกระทั่งเปิดหน้าต่างได้ เรียกว่าเป็นวิธีการที่รอบคอบ เพราะถ้าได้รับแสงสว่างอย่างเต็มที่ในทันทีทันใด อาจทำให้นัยน์ตาบอดได้!!

    เมื่อออกจากความมืดแล้ว ผู้ฝึกฝนจะรู้สึกเหมือนกับว่าตัวเองได้เกิดใหม่ ชีวิตในความมืดซึ่งทำให้เห็นสติตนเองเป็นดวงวิญญาณล่องลอย อยู่ในความไม่สิ้นสุดแห่งจักรวาลนั้น เมื่อออกจากความมืดมาแล้ว ก็รู้สึกเหมือนว่าดวงวิญญาณกลับเข้าสู่ร่างเป็นคนใหม่ บางทีเกิดความรู้สึกเหมือนว่าเวลาหนึ่งปีในที่มืดนั้น เป็นเวลาที่นอนหลับตลอดปี และเพิ่งตื่นขึ้น เป็นความรู้สึกสดชื่น เหมือนหนึ่งได้สะสมพลังไว้หนึ่งปีเต็ม ความรู้สึกเหมือนเกิดใหม่นี้ มีผลทางจิตใจเป็นอันมาก ทำให้รู้สึกว่าความมืดอันนั้นได้ช่วยล้าง ขัดเกลา กล่อมเกลา ความผิดบาปชั่วดีทั้งหลายให้หายมลายล้างออกไปจากหัวใจ เมื่อออกมาสู่แสงสว่างใหม่ ให้ความรู้สึกเหมือนกับว่าเกิดใหม่ จึงมีความตั้งใจแน่วแน่ว่าจะมุ่งทำแต่ความดี (วิธีนี้ดูคล้ายกับการดัดนิสัยสันดานของอาชญากรบ้านเราที่เอามาขังคุกมืด ซึ่งไม่ค่อยจะได้ผลเท่าไร กลับเป็นการกดดันทางด้านจิตใจมากกว่า เพราะสักแต่ว่าขัง โดยไม่มีจุดหมาย หากแต่ได้ทำโดยขบวนการ วิธีการตามหลักวิชาของลามะธิเบตแล้ว เชื่อแน่ว่าจากคนร้าย จิตใจโหดเหี้ยม ยังไงซะต้องมีความรู้สึกที่ดีขึ้นด้วยจิตใต้สำนึก จากน้ำใสใจจริงแท้ของตน)

    ระหว่างที่อยู่ในธุดงคสถานนี้ ภิกษุบางรูปเกิดป่วยเพราะยังปรับตัวกับอากาศที่นี่ไม่ได้ เนื่องจากกลางวันจะร้อนและแดดจัดมาก พอตอนเย็น พระอาทิตย์ตก อากาศจะเริ่มเย็นทันทีอย่างเห็นได้ชัด พอดึกๆ อากาศจะเริ่มหนาวมากขึ้น จวนใกล้สว่างยิ่งหนาวจัด จนถึงมีไอหมอก ไอความเย็นออกจากปาก จึงทำให้ภิกษุบางรูปป่วย หลวงปู่จึงแนะวิธีไว้ว่าให้พยายามเดินลม ทำ "ลมเจ็ดฐาน" แล้วจะค่อยยังชั่วขึ้น โดยให้ลมเดินไปตามจุดต่างๆ ของกาย อย่างมีสติรับรู้มัน จะทำให้ดีขึ้น สามารถอยู่ในสถานการณ์ที่บีบคั้นได้ และท่านยังแนะอีกว่า เช้าๆ ให้มาเดินจงกรมที่โบสถ์ (โบสถ์ที่ธุดงคสถานจะเป็นลานกว้างใต้ต้นไม้ มีหินกรวด ก้อนเล็กๆ กลมๆ อยู่ที่พื้น) จะช่วยระบบขับถ่ายได้ดี เพราะกรวดเหล่านี้จะช่วยจี้ไปตามจุดต่างๆ ในกาย โดยเฉพาะฝ่าเท้าทั้งสองข้าง ซึ่งมีทั้งหมดตั้ง ๑๘๐ จุด แต่ละจุดจะเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร ระบบหมุนเวียนโลหิต การเหยียบกรวดจะทำให้สุขภาพดี และเป็นการออกกำลังกายไปในตัวด้วย

    ปฏิบัติธรรม (๑)

    คืนแรกที่มาอยู่ธุดงคสถาน หลวงปู่ได้นำพวกเราปฏิบัติธรรมดังนี้

    "...ผ่อนคลาย ลุกขึ้นยืน แล้วก็ผ่อนคลาย ผมอยากแนะนำว่าอย่าพยายามดูคนอื่น จงดูตัวเอง จัดระเบียบของตัวเอง สูดลมหายใจเข้าลึกๆ เวลายืนอย่าพยายามยืนให้เท้าชิดกันมากนัก เพราะถ้าเมื่อใดที่เราหลับตา มันจะเซ แล้วก็ผ่อนลมออกยาวๆ ทางลมหายใจสัก ๔-๕ ครั้ง เพื่อเรียกสติหรือมิตรอันประเสริฐกลับมาก่อน เมื่อรู้สึกตัวทั่วพร้อม เราคิดว่าความรู้สึกมันอยู่ในกายนี้แล้วก็ลองถ่ายเทน้ำหนักดู ถ่ายเทน้ำหนักโดยการยกส้นเท้าขวา ค่อยๆ ยก และให้น้ำหนักมันเทเข้ามาอยู่เท้าซ้าย ยกส้นเท้าขวาโดยปลายเท้ายังแตะพื้นอยู่ ให้ทำความรู้สึกว่าน้ำหนักตัวทั้งหมดนั้น ยืนหยัดได้ด้วยเท้าซ้ายรับน้ำหนักทั้งหมด เท้าขวาเบา เสร็จแล้วค่อยๆ ถ่ายน้ำหนักจากเท้าซ้ายเข้าไปอยู่เท้าขวา โดยยกส้นเท้าซ้ายขึ้นแล้วลดเท้าขวาลง ทำไปอย่างนี้สักสิบนาที

    ถ้าหากรู้สึก สติ ความคิด จิตวิญญาณ มันล่องลอยออกไปนอกกายนี้ อย่าไปยืนโยกอยู่ ให้หยุดอยู่กับที่ แล้วสูดลมเข้าไปใหม่ รู้ว่าพลาดหรือผิด ต้องเปลี่ยนต้องแก้ไข ไม่ใช่ทำมันไปทั้งๆ ที่รู้ว่ามันผิด ฝึกให้เป็นคนจริงจัง ทำอะไรอย่างตั้งใจ..."

    จากนั้นท่านจึงนำพวกเราแผ่เมตตา ไหว้พระกรรมฐานหนึ่งที แล้วนั่งลง ท่านบอกว่า การที่เราจะเอาชนะความฟุ้งซ่าน หงุดหงิดรำคาญ เหนื่อย เมื่อย เบื่อ เซ็ง หรืออารมณ์ฟุ้งฟูทั้งหลายนั้น บางครั้งมันก็ยาก แต่ถ้าเราไม่ยอมแพ้ ไม่หยุด ทำด้วยความเพียรมานะ ทำบ่อยๆ สักวันหนึ่งเราต้องชนะมันจนได้ อย่าเพิ่งไปท้อแท้ อย่าเพิ่งไปหวาดกลัว เบื่อหน่ายที่จะไปทำ วันนี้เวลานี้ไม่ได้ อีกชั่วโมงหน้า นาทีหน้า เวลาหน้าอาจจะได้ เดือนหน้าอาจจะได้ แต่อย่าไปผลัด ต้องทำมันทุกเวลาถ้ามีโอกาส แล้วชัยชนะก็จะปรากฏขึ้น

    ความเพียร

    บุคคลล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร หลวงปู่ได้บอกพวกเราไว้หลังจากการปฏิบัติธรรมว่า บุคคลมีความสำเร็จได้ เพราะความเพียร ซึ่งคุณเครื่องยังให้ประสบความสำเร็จนี้พระพุทธเจ้าสอนเอาไว้ มีทั้งหมด ๔ อย่าง

    อันดับแรกคือ "ฉันทะ" ต้องสร้างความรักก่อน พอใจรักที่จะทำ หรือก็คือ ศรัทธา ทำให้เกิดศรัทธา เชื่อมั่น พร้อมที่จะทำมัน และทำมันบ่อยๆ อันดับที่สอง "วิริยะ" ทำด้วยความเพียร เพียรที่จะทำประจำ ทำเรื่อยๆ ทำอย่าปล่อยวาง แล้วต้องมี "จิตตะ" ที่หลวงปู่มักบอกไว้ว่า ตือ จดจ่อ จริงจัง จับจ้อง และตั้งใจ เมื่อมีใจที่จดจ่อกับมันแล้วจึงใช้ "วิมังสา" คือ ใช้ปัญญาใคร่ครวญ พิจารณา

    ดังนั้น ท่านจึงเน้นย้ำว่า อย่ามาเสียเวลากับการคบหาสมาคมในสิ่งที่ทำให้เราฟูฟุ้ง เอาเวลามาทำให้เกิดสาระเกิดประโยชน์ อย่าไปยืนอยู่กับคมมีดที่มันดูขาว วาววับแต่จริงๆ แล้วมันบาดตัวเรา บางครั้งอยู่บนแผ่นดินดำๆ สกปรก มันยังทำให้ตัวเราตั้งมั่นอยู่ได้ คนดีนะบางครั้งดูไม่ออกหรอก ถ้าเราไม่จับไม่ต้องไม่สัมผัส ไม่เรียนรู้ไม่ศึกษา คนดีจริงๆ เขาไม่มาอวดดี พระธุดงค์ นักปฏิบัติธรรมจะต้องคิดยาว คิดไกล คิดละเอียด เพราะพระปฏิบัติธรรมต้องรู้จักประหยัดเวลา รู้จักประโยชน์ในการมีชีวิต แล้วทำให้มันมีประโยชน์ทุกขณะจิตที่ลมหายใจเข้าออก พยายามขยัน คือ ขยันคิด คิดมากๆ ขยันที่จะทำ อย่าหยุดมัน และก็มีความเพียรมากๆ

    สัญชาตญาณในป่า

    ก่อนที่จะเดินทางสู่ป่าใหญ่ข้างหน้า หลวงปู่ให้พวกเราพักอยู่ที่ธุดงคสถานอีกหนึ่งคืน โดยท่านบอกว่ามีเหตุที่บอกไม่ได้ การมาอยู่ป่าต้องรู้จักสังเกต แม้แต่เรื่องไฟป่า ที่ท่านมักบอกว่า ไม้ขีดก้านเดียวก็สามารถจะมองเห็นได้ในระยะ ๕ กิโลเมตรเมื่อจุดในที่มืด เสียงก็สามารถได้ยินไกลไปถึงสิบๆ กิโลเมตร พระที่อยู่ป่าจึงต้องรู้จักพัฒนาจิตวิญญาณ ให้ตนเป็นคนที่มีประสาทสัมผัสละเอียด และต้องไม่ไปกวาดใบไม้ เศษไม้ กิ่งไม้ รอบๆ กลด ออกไปหมด เพราะสิ่งเหล่านี้จะเป็นเครื่องป้องกันภัย เป็นปราการด่านแรก เวลาที่งูหรือสัตว์อื่นมันมากลางคืนเราจะได้ยินเสียงใบไม้ดังกรอบๆ แกรบๆ

    เรื่องสัญชาตญาณการอยู่ป่านี้ ท่านได้เล่าให้ฟังว่าเมื่อ ๒๐ กว่าปีที่แล้ว มีนักศึกษาแพทย์ ๒ คน อยู่สงขลาคนหนึ่ง อยู่สุรินทร์คนหนึ่งตามท่านไปเดินธุดงค์ เพื่อขอเรียนวิชาจากท่าน เวลาไปธุดงค์ก็นำเสบียงอาหาร พวกปลากระป๋อง มาม่าไปกินตอนปักกลด ด้วยความที่เป็นคนเมืองไม่รู้จักสัญชาตญาณของป่า พอกินมาม่า กินปลากระป๋องอิ่มแล้ว เกิดความขี้เกียจ จึงโยนเศษอาหารไว้ข้างๆ กลด เวลาประมาณสัก ๓-๔ ทุ่ม จึงเข้านอน สักพักมีเสียงร้องลั่นขึ้นว่า

    "หลวงปู่ช่วยด้วยครับ!! หลวงปู่ช่วยด้วย!!"

    หลวงปู่เล่าว่า ทั้งสองคนนอนอยู่ในกลด มดป่าเป็นล้านๆ ตัว จะเข้ามารุมกินสองคนนั้น แล้วอีกอย่างไปปักกลดบนรูมดเข้าด้วย ซึ่งเป็นมดงานป่า มดใต้ดิน เขาถามว่าจะทำอย่างไรดี ท่านบอกว่าอย่างนี้แผ่เมตตาก็ไม่มีหวังแล้ว ดังนั้นตัวใครตัวมัน วิ่งลงน้ำกันเอาเอง นี่แหละพระธุดงค์เขาจึงห้ามเก็บของกิน เพราะเก็บไว้แล้วมันจะเป็นภัยตามมา พอมดมา คางคกก็มา กบมา อึ่งมา เพื่อมากินมด กินแมลง พอกบมาอึ่งมากินมด "งู" ก็มากินกบกินอึ่ง แล้วจะเป็นเรื่องตามๆ กันมาอย่างนี้ ดังนั้นอยู่ป่าจึงต้องใช้สัญชาตญาณของธรรมชาติสอนเรา
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ความสุขแห่งชีวิต

    ธรรมชาติเป็นเหมือนบิดามารดาเกิดของเรา เป็นอาหาร เป็นที่อยู่อาศัย เป็นยารักษาโรค เป็นเครื่องนุ่งห่ม เป็นทุกอย่างที่เราต้องการให้มันเป็น แต่เราก็ทำร้ายทำลายมันโดยไม่ค่อยใส่ใจต่อมัน ถ้าเราสังเกตให้ดีจะเห็นว่าหลวงปู่เป็นคนที่รักต้นไม้มาก ถึงแม้จะปลูกไว้ แต่ก็ไม่ได้ปลูกเพื่อตัวเอง ปลูกเพื่อให้คนอื่นได้ประโยชน์จากมัน ซึ่งท่านบอกว่ารู้สึกเป็นสุขใจ ภูมิใจ ท่านปลูกต้นไม้และพืชพันธุ์ต่างๆ ที่ธุดงคสถานนี้มาก แม้แต่ทุเรียนที่ท่านแพ้กลิ่น ก็ยังปลูก ท่านให้เหตุผลว่าถ้าพืชชนิดไหน เจริญงอกงามดี ชาวบ้านในละแวกนั้นจะได้นำไปเป็นแบบอย่าง และเป็นการสอนให้ชาวบ้านอยู่อย่างพึ่งตนเองแบบพอมี พอกิน พอเพียง ถ้าเหลือแล้วก็นำออกขายเป็นรายได้ เก็บเล็กผสมน้อย แค่นี้ชีวิตก็เป็นสุขได้ ซึ่งอาจจะตรงข้ามกับหลักเศรษฐศาสตร์ หลักอุตสาหกรรมเกษตรทั้งหลาย ที่ท่านบอกว่าเป็นการทำร้ายต้นทุนเดิมของสังคม ที่มักจะไถทำไร่ ปลูกอย่างเดียว ขายแล้วได้เป็นกอบเป็นกำ ซึ่งเป็นการฝากความหวังไว้กับสิ่งๆ เดียว การเป็นอยู่แต่ละวัน ไม่ได้คำนึงถึง แล้วสุดท้ายก็กลายเป็นปัญหาสังคม เพราะพึ่งตัวเองไม่ได้ ต่างคนต่างต้องไปพึ่งอย่างอื่น ซึ่งในอดีตกาลโบราณ บรรพบุรุษเรา สมัยก่อนๆ เขาทำกันมาพึ่งตัวเองมาตลอด มีบ่อปลา มีที่นา มีพืชผักสวนครัว มีไม้ผลกินประจำปี กินครึ่งปี กินกลางปี เหลือก็ออกไปขายข้างนอก ขายได้มาก็เก็บหอมรอมริบเอาไว้ใช้จ่ายในยามจำเป็น ครอบครัวจึงร่มเย็นเป็นสุขอยู่กันอย่างสงบสันติ ชีวิตไทยๆ ดำเนินมาอย่างนี้ เป็นชีวิตวิญญาณของความสุข สงบ

    ท่านจึงสอนพวกเราไว้ว่า ความสุขของชีวิตมันอยู่ที่ความพอใจ พอมี ถ้ารู้จักทำให้พอดี พอมี มันเป็นสุขได้ทั้งนั้น แต่ถ้าไม่รู้จักพอ แม้แต่นอนอยู่บนกองทอง ดิ้นแล้วดิ้นอีก ทองทับตัวเองตายก็ยังไม่รู้สึกเป็นสุข

    อนาคาริก

    วันนี้หลวงปู่ได้ตำหนิ โวยวาย (สอน) ภิกษุรูปหนึ่ง ที่เข้ามาอยู่ในป่าแล้วยังมีสีกามาเยี่ยม ตามมาพูดคุย เหตุเพราะชีวิตของพระภิกษุนั้นเป็นผู้ออกจากเรือนไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนแล้ว (อนาคาริก) สิ่งที่ต้องทำคือ ดำรงความเป็นสมณะให้สงบสันติ ท่านจึงบอกว่าอย่าไปทำให้วิถีของพระธุดงค์หรือพระป่าเขาเสียหาย ควรจะเอาแบบอย่าง ดังเช่น "พระมหากัสสปะ" ท่านเป็นสุดยอดของนักธุดงค์ในโลก ขนาดเทวดาแปลงกายมา นางฟ้าแปลงกายมา ทำความสะอาดกุฏิให้ ตักน้ำไว้ให้ จัดหาอาหารมาถวายให้ พระมหากัสสปะยังตวาดขับไล่ไป เพราะว่าจะผิดจารีต เดี๋ยวคนรุ่นหลังๆ จะอ้างได้ว่า ขนาดพระมหากัสสปะยังทำได้ ถือธุดงค์แล้วยังมีคนมาดูแลเอาใจใส่ แถมยังเป็นผู้หญิงอีก

    แล้ววันนี้หลวงปู่ยังได้สั่งเณรไปบอกผู้หญิงคนหนึ่ง ซึ่งมาทำด้อมๆ มองๆ แอบมองท่านอยู่ ท่านย้ำไปว่าอย่าให้กูเห็นหน้าเด็ดขาด ไม่เช่นนั้นเดี๋ยวจะซวยตลอดชาติ ผู้หญิงคนนั้นเลยรีบหนีหายไปอย่างรวดเร็ว เพราะท่านบอกว่านิสัยของท่าน ไม่ชอบที่จะทำตัวเองเป็นคนไปติดในตระกูล เอาใจชาวบ้าน ให้ชาวบ้านมาคอยจับตามอง เหมือนกับว่าท่านกำลังจะเป็นอะไร (เป็นผู้วิเศษของใครๆ : ผู้เขียน)

    สิ่งที่ท่านทำนั้นก็เพื่อให้พวกเราสงบ สันติ เป็นการช่วยป้องกันจริยาของสมณะเอาไว้ ท่านมาช่วยรักษาบุญของพวกเราให้สงบสันติ ซึ่งเป็นบุญที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความพร้อม พระพุทธเจ้าเคยสอนพระอานนท์ไว้ว่า ถ้าไม่จำเป็นอย่ามองหน้าผู้หญิง อย่าอยู่ใกล้ อย่าพูดด้วย ถ้าจำเป็นต้องอยู่ใกล้ ต้องมองหน้า ต้องพูดด้วยสติ แล้วพูดไม่กี่คำ มีเรื่องจำเป็นถึงจะพูด พูดแล้วจงสำรวม สังวร ระวัง กิริยาอาการท่าทาง นี่คือสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนพระอานนท์

    วันนี้ท่านบอกว่า เฝ้าสังเกตดูพวกเรา เห็นว่าสงบลงเยอะ ท่านคิดว่าอยากตะโกนบอกให้ "รักษาสติ" แต่มานึกอีกทีว่า ฮื้อ... นี่มันทรัพย์ของท่านนี่นา ประโยชน์อะไรต้องเอาทรัพย์ไปแจกคนอื่น เขาไม่พอใจจะเอาแล้วต้องไปตะโกนบอกเขาทำไม นึกอย่างนี้ท่านเลยปลูกต้นไม้ต่อ แต่พอตกเย็นท่านมาคิดได้ว่าไม่ถูก เราเป็นครูบาอาจารย์เป็นพ่อเป็นแม่ ในฐานะของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ต้องรักลูก ต้องใส่ใจ ต้องเอื้ออาทรและเมตตา เมื่อเห็นทำผิด ต้องชี้นำบอกกล่าว (นี่แหละคือหัวใจของคุรุที่แท้)

    ท่านเลยมาบอกพวกเราอีกครั้งว่า พยายามเตือนตัวเอง อย่าให้คนอื่นเขามาเตือนเรา บางครั้งความง่วง ความเพลีย ความสนุกสนาน ความอยากพูด อยากคุยมันก็มี แต่ต้องแบ่งเวลาบ้าง รู้จักแบ่งเวลาหามุมสงบบ้าง เดินจงกรมบ้าง เจริญภาวนาบ้าง และเจริญสติกันให้มาก ท่านบอกว่าอย่าประมาท ชีวิตหลังความตายเป็นเรื่องลำบาก สำหรับคนที่ยืนหยัดอยู่บนความประมาท ที่พวกเราเป็นกันอยู่ทุกวันนี้มันไม่พ้นนรกไปสักเท่าไร อย่างดีก็เพียงแต่ทำให้เราไม่ต้องทุกข์ทรมานเป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นเปรต เป็นอสูรกาย แต่มันก็ขึ้นอยู่กับว่าเราทำได้แค่ไหน

    ชีวิตหลังความตาย

    หลวงปู่เล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนนี้ตอนท่านไปอยู่ปราจีนบุรี กิ่งอำเภอสระมรกต ผู้ใหญ่บ้าน ชื่อ ตาหง่า มีอาชีพตีไก่ ต่อมาไม่นานตาหง่าเป็นโรคที่ต้องเจาะคอรูเบ้อเร่อ ขากเสลดไม่ได้ ต้องเอาขนไก่แยงเข้าไปในคอ แล้วดึงออกมา รีดเอาเสลดออกจากขนไก่ เวลาจะพูดก็ต้องอุดรูที่คอก่อน ปากก็เน่า ตอนนอนคนอื่นเขากรนครอกๆ ตาหง่ากรนเหมือนกันแต่เสียง ก๊อก ก๊อก เหมือนไก่ร้อง

    ก่อนจะตายลูกหลานซื้อฟูกอย่างดีให้นอน แต่ไม่นอน กลับไปเอาไม้ไผ่มาผูกเป็นคอน แล้วขึ้นไปนอนบนคอนไม้ นั่งจับเจ่าอยู่บนนั้น ทำกิริยาเหมือนไก่ ตอนใกล้ๆ จะตายเข้าขั้นตรีฑูต นอนฟูกอย่างดีก็ไม่ได้ ต้องเอาทรายเอาฟางมารองนอน ข้าวที่เขาใส่จานมาให้ก็กินไม่ได้ ต้องโปรย แล้วเอาลิ้นเอาปากไล่แทะไล่จิกเหมือนไก่ เหตุเพราะว่าตาหง่าชอบกินไก่นรก ซึ่งวิธีการทำไก่นรกนั้น เขาเอาไก่ไปฝังดินโผล่แค่คอแล้วกรอกน้ำกะทิ ไก่ยังเป็นๆอยู่เลย กรอกน้ำกะทิทุกวันๆ และกรอกอะไรอีกสารพัด เวลาตาหง่าจะตาย มือทั้งสองจะชนกัน ปากก็ไล่จิกข้าว ลูกหลานเลยต้องผูกเอาไว้ที่เสาเรือน ผูกมือสองข้างกับขาสองข้างโยงคนละเสา ดึงจนกระทั่งเชือกบาดเข้าไปในเนื้อเห็นกระดูกขาวเหวอะหวะ

    มีคนนิมนต์ให้หลวงปู่ไปช่วย ซึ่งตอนนั้นตาหง่ายังมีไก่อยู่เป็นร้อยๆ ตัว ท่านจึงบอกว่าปล่อยไก่ไปเถอะ เขาเลยนำไก่ไปปล่อยที่วัด แล้วกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ จึงทำให้ตาหง่าจากที่เคยร้องก๊อกๆ ตอนกลางคืนก็หยุดร้อง จากที่เคยเอามือเคาะกันเสียงดังโป๊กๆ จนเนื้อหมดเหลือแต่กระดูกเคาะก็หยุดเคาะ หลวงปู่จึงบอกให้ถวายสังฆทานกรวดน้ำแผ่เมตตา ตาหง่าจึงค่อยสงบลง ร่างกายก็ค่อยดีขึ้นหน่อย

    ชีวิตหลังความตาย และโลกก่อนตาย จึงเป็นชีวิตที่ยากต่อการคาดเดา ถ้าจิตเรา สมาธิเรา สติเราไม่มั่นคง บางทีจะทำให้เราต้องอับเฉาเศร้าหมองได้ ดังนั้นท่านจึงเน้นว่าพยายามรักษาสติเอาไว้ ถ้าตราบใดที่เรายังไม่เป็นตัวของตัวเองเราก็ยิ่งต้องฝึกให้มากขึ้น

    สติ ธรรมะ ไม่ได้มีไว้พกพาอวดใคร หลวงปู่สอนไว้ว่ามีเอาไว้ใช้เวลาเราเผชิญต่อกิจกรรมการงานหรือปัญหาของชีวิตแล้วเราตัดสินไม่ได้ แก้ไขไม่สะดวก ไม่ละเอียด รอบคอบ ธรรมะมันจะเกิดตอนนี้ เสียแล้วก็ไม่ร้องไห้ ได้ก็ไม่ดีใจจนกลายเป็นประมาท นั่นคือคนมีธรรมะ อายุเวลาล่วงเลยไปทุกวันๆ ไม่มีใครหนุ่มตลอดกาล มันต้องแก่ลงทุกวัน กาลเวลามันกลืนกินสรรพสัตว์ ท่านจึงเตือนเสมอว่า "พยายามรักษาสติให้ได้มาก" อย่าปล่อยให้ตัวเองหลงใหลได้ปลื้มไปกับสิ่งไร้สาระ

    ความตาย (แบบธิเบต)

    เรื่องราวความเชื่อเกี่ยวกับโลกหลังความตายนี้ ต่างที่ต่างถิ่นก็มีความเชื่อที่แตกต่างกัน แต่มีอยู่ชาติ เผ่าพันธุ์หนึ่งที่เขาถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ เป็นเรื่องสิ่งที่ต้องเรียนรู้ นั่นคือ ชนชาวหลังคาโลก หรือ ชาว "ธิเบต"

    ตามความเชื่อของชาวธิเบตนั้น คนที่ตายไปแล้ว วิญญาณไม่ได้ออกจากร่าง วิญญาณยังสิงอยู่ในร่าง และสิงอยู่จนกว่าจะทำพิธีให้ออกไป เริ่มแรกทีเดียวผู้ใหญ่ในหมู่บ้านต้องมาพูดกับศพว่า ขอให้เจ้ารู้ว่าบัดนี้เจ้าตายไปแล้ว ร่างกายอันนี้ใช้ไม่ได้แล้ว (จิต) วิญญาณอย่าสิงสู่อยู่ต่อไปอีกเลย หรือบางทีก็ให้พระ (ลามะ) ที่เชี่ยวชาญชั้นอาจารย์มาทำพิธี

    ตามประเพณีของชนทั้งหลายทั่วโลก "ย่อมไว้อาลัยแก่คนตาย" แต่ชาวธิเบตมีประเพณี ความเชื่อที่ตรงกันข้าม คือเมื่อตายไปแล้วก็ "เป็นที่รังเกียจ" ของครอบครัว พยายามที่จะขับไล่ดวงวิญญาณไปให้ห่างมากที่สุด โดยไม่มีความอาลัย ห่วงหา ซึ่งเขามีเหตุผล ความเชื่อว่า ถ้ายังปล่อยให้ดวงวิญญาณวนเวียนอยู่ ด้วยความรัก ความอาลัยครอบครัว ดวงวิญญาณนั้นจะไม่ไปเกิด และยิ่งกว่านั้น ยังจะหลอกหลอน สร้างความกลัวให้แก่ครอบครัวต่อไปด้วย

    และเช่นกันที่ประเพณีทั่วไปย่อมมีการสรรเสริญคุณงามความดีของผู้ตาย ถึงแม้ผู้ตายจะได้ประกอบคุณงามความดีไว้เพียงเล็กน้อย แต่ก็พยายามที่จะพรรณนา สรรเสริญให้มาก เพื่อเป็นเกียรติแก่ตระกูล หรือแก่ตัวผู้ตาย แต่ธรรมเนียมของชาวธิเบตนั้นผู้ตายจะถูกด่าแช่งต่อหน้าศพ ว่าไม่ได้ทำความดีอะไร ทุกคนดีใจเมื่อเห็นเขาตายไปแล้ว ไม่มีใครรัก ไม่มีใครห่วงใย ไม่มีใครอยากพบ อยากเห็นเขาอีก ให้เขาไปเสียให้พ้น ซึ่งในความเป็นจริงนั้นอาจจะรักและอาลัยผู้ตายเป็นอย่างมาก แต่ถ้าไปแสดงความรัก ความอาลัยเข้า อาจจะทำความลำบากแก่ดวงวิญญาณ คือทำให้ดวงวิญญาณไม่ไปเกิดใหม่ วนเวียนอยู่ด้วยความห่วงใย และอาจจะหลอกหลอนให้โทษแก่ครอบครัว
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    การเกิดใหม่ของดวงวิญญาณ

    เหตุของการที่ต้องขับไล่ดวงวิญญาณของชาวธิเบตนั้น สืบเนื่องจากประเพณีที่ห่วงใยการเกิดใหม่ของดวงวิญญาณ พิธีการในทางศาสนาที่ทำ จึงไม่มีความสำคัญเท่าการที่จะทำให้ดวงวิญญาณไปเกิดและไม่ต้องเร่ร่อนอยู่ ทางที่ดวงวิญญาณจะไปเกิดนั้นมีอยู่หลายทาง ซึ่งมีหนทางตามแบบความเชื่อของชนชาติธิเบต คือ

    ๑. ไปเป็นเทพเจ้า ซึ่งเป็นทางที่ดีที่สุด (ธิเบตมีความเชื่อเรื่องเทพเจ้า เรื่องปีศาจมาก)
    ๒. เป็นอสูร ยักษ์ มาร ซึ่งดีที่สองรองลงมา เพราะถึงแม้ว่าจะเป็นตัวร้าย ก็ยังมีฤทธิ์เดช
    ๓. เป็นมนุษย์ อย่างคนสามัญทั่วไป
    ๔. เป็นสัตว์เดรัจฉาน ซึ่งต่ำลงไปกว่ามนุษย์
    ๕. เป็นเปรต ซึ่งมีร่างกายใหญ่โตมหึมา ทนทุกขเวทนาด้วยการหิวกระหายอยู่เป็นนิตย์ และจะได้อาหารก็แต่เฉพาะที่ญาติพี่น้องในเมืองมนุษย์ทำบุญส่งไปให้ (เรื่องของเปรตนี้ เป็นคติความเชื่ออันเดียวกันกับทางพระบ้านเราที่เชื่อถือกัน)

    การทำลายศพ

    เมื่อได้ทำพิธีขับดวงวิญญาณออกไปจากร่างเสร็จ ร่างนั้นก็เป็นของไม่มีคุณค่าอะไร จะเอาไปทำอย่างไรก็ได้ เพียงแต่ทำลายให้หมดไป ซึ่งมีวิธีทำได้ถึง ๕ อย่าง ตามท้องถิ่น หรือตามลัทธินิกาย กล่าวคือ

    ๑. เอาศพไปบนยอดเขา ตัดขา ตัดแขนออกจากร่าง ทิ้งไว้ให้แร้ง หรือสัตว์ใดๆ กินตามใจชอบ
    ๒. เอาศพทิ้งลงในแม่น้ำ แม่น้ำที่จะทิ้งศพนี้มีเพียงบางแห่ง ซึ่งถือว่าเป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ การเอาศพทิ้งลงในแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์นั้น ไม่ใช่เพื่อประโยชน์แก่ศพ หรือแก่ดวงวิญญาณ แต่เป็นเรื่องที่บูชาแม่น้ำ ตามปกติศพที่ทิ้งลงไปในแม่น้ำนี้ ย่อมจะไม่มีอะไรเหลือ เพราะปลากินเนื้อหมด
    ๓. ใช้วิธีเผา
    ๔. ใช้วิธีฝัง

    ในบรรดาวิธีเหล่านี้ วิธีที่ใช้กันมากในธิเบต ดูเหมือนจะเป็นวิธีที่ ๑ เพราะเมื่อสัตว์กินเนื้อหมดแล้ว เหลือแต่กระดูก กระดูกนั้นนำมาทำประโยชน์ได้อีก โดยนำมาทำลูกประคำ ๑๐๘ ลูกสำหรับพระ

    ปฏิบัติธรรม (๒) (เสียงแห่งสภาวธรรม)

    มีอยู่วันหนึ่งหลวงปู่ได้นำปฏิบัติธรรม ท่านเน้นให้พวกเรามีสติตั้งมั่นรู้ตัวทุกขณะจิตทุกอิริยาบถ แล้วท่านก็ได้พูดถึงประโยชน์ของลมเจ็ดฐาน ว่าทำให้เราเป็นคนรอบรู้ ฉลาดตามกระบวนการของเหตุปัจจัย ถึงเราจะไม่เคยได้เรียนมา ไม่เคยได้ฟังมา ไม่เคยท่องจำมา แต่เราก็จะรู้มันได้ ทำให้เรามีอำนาจเหนือธรรมชาติ ท่านบอกว่า

    "...จะระลึกรู้ลมหายใจ (อานาปานบรรพ) หรือว่าจะดูโครงกระดูก (วิชากระดูก) ของตน พิจารณาโครงสร้างของกายหรือว่าจะรู้รูปอิริยาบถนั่งก็แล้วแต่ แต่การระลึกรู้รูปอิริยาบถนั่ง จิตมันจะเคลื่อนง่าย สติมันจะหายไปง่าย เพราะรู้แค่แว้บเดียว มันไม่มีรายละเอียดในการจับต้องอิริยาบถ เพราะเพียงแค่รู้ว่านั่งเฉยๆ มันก็จบ เพราะฉะนั้นถ้าจะรู้ให้ละเอียดรู้ลึกลงไป ต้องถลกหนังออกเข้าไปดูโครงสร้างของกาย มันก็ถือว่าเป็นการรู้อิริยาบถได้เหมือนกัน..."

    ท่านได้บอกวิธีการระงับเวทนา ซึ่งท่านเคยประสบมาหลังจากที่ท่านเลิกอบรมวิปัสสนาจารย์มาแล้วว่า ท่านจะปวดลึกๆ เข้าไปในเนื้อสมองบริเวณสมองซีกซ้ายด้านหลัง แล้วตาจะมองภาพไม่ค่อยเห็น มือจะชา ท่านมีวิธีระงับเวทนาโดยการ "เจริญสติให้อยู่ในองค์ฌาน" แล้วคิดด้วยวิถีพุทธว่า

    "กระดูกท่อนหนึ่งกำลังนั่งอยู่ กระดูกท่อนหนึ่งกำลังยืนอยู่ กระดูกท่อนหนึ่งกำลังเดินอยู่ กระดูกกองหนึ่งกำลังนอนอยู่ เมื่อเป็นกระดูก ความเจ็บปวดจะมีจากไหน"

    เมื่อท่านคิดได้อย่างนี้ เวทนาจากการเจ็บปวดที่เกิดในเนื้อสมองซีกซ้ายด้านหลัง ก็จะหายเป็นปลิดทิ้ง เหล่านี้คือความมหัศจรรย์ของจิต ความมหัศจรรย์ของมหาสติปัฏฐาน และเป็นความมหัศจรรย์ของลมเจ็ดฐาน ตอนที่ท่านมาอบรมพวกเราใหม่ๆ ท่านจะมีอาการไม่สบายมาก ไอ ดูท่าทางจะหมดแรง ท่านบอกว่าท่านกระทบกับไอเย็น (ตอนหัวค่ำใกล้จะมืด อากาศจะเย็นเร็วมาก จากที่เคยร้อนอบอ้าวกลางวัน) แล้วก็จาม รู้สึกว่ากำลังจะไอ ท่านจึงคิดว่า "กระดูกกองหนึ่งกำลังพนมมือไหว้พระพุทธเจ้า กระดูกกองหนึ่งกำลังจะกราบพระพุทธเจ้า" อาการจามของท่านจึงหายไป

    ท่านได้สอนพวกเราไว้ว่า ร่างกายที่เกิดความบีบคั้นจากบรรยากาศที่หนาวเหน็บ ในเวลานี้ ถ้าคิดว่ากระดูกกองหนึ่งกำลังนั่งอยู่ เมื่อมันไม่มีเลือดไม่มีเนื้อไม่มีชีวิต ไหนเลยมันจะมีความรู้สึก มันจะเกิดเวทนาได้อย่างไร คิดอย่างนี้ไม่ใช่คิดโกหกตัวเองหรือหลอกตัวเอง แต่คิดให้เห็นตามสภาพความเป็นจริงของอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จากนั้น ทุกคนก็ปฏิบัติธรรม...

    มีแค่นี้เองหรือ....เท่านี้เองหรือ

    ในระหว่างที่กำลังนั่งสมาธิกันอยู่นั้น ก็ได้ยินเสียงว่า "มีแค่นี้เองหรือ" คล้ายๆ เป็นคำอุทานจากหลวงปู่ แต่เป็นเสียงจากสภาวธรรมของท่านในขณะนั้น แล้วท่านเมตตาบอกกล่าว เป็นคำพูด ถ่ายทอดสภาวธรรมนั้นออกมา สั่งสอนให้พวกเราได้รับรู้รับทราบ เพื่อให้เกิดความแจ่มกระจ่างชัด ขจัดความโง่เขลาของพวกเรา

    "มีแค่นี้เองหรือ" เป็นคำอุทานในขณะที่ หลวงปู่กำลังวิเคราะห์กระดูกของท่าน แล้วก็ป่นกระดูกของตัวเองเป็นผุยผง ค้นหาชีวิตอินทรีย์ในผงกระดูกนั้น แต่ไม่พบ จึงทำให้ท่านรู้ว่ามันไม่มีจริงๆ มีแต่ผงกระดูกเท่านั้น ท่านจึงเปล่งเสียงแห่งสภาวธรรมนั้นออกมาว่า "มีแค่นี้เองหรือ เท่านี้เองหรือ" ความหมายของมันก็คือ หนึ่งชีวิตของท่านที่สร้างสิ่งสาระมากมาย สุดท้ายมีเพียงผงกระดูกกองหนึ่งเท่านั้น หนึ่งชีวิตของคนหนึ่งคน ทำทั้งดีทั้งเลว สุดท้ายก็จบลงตรงเพียงแค่ มีกองกระดูกกองหนึ่งเท่านั้น!

    จริงๆ แล้วท่านยังไม่อยากจะหยุด อยากจะนั่งอยู่อย่างนี้ยันสว่าง แต่ท่านสงสารพวกเรา และอยากจะอุทานบอกพวกเราอีกครั้งหนึ่งว่า "สันติคือความสุขอย่างยิ่ง ความสุขที่บุรุษบุคคลดื่มด่ำได้จากความสงบและสันติ เป็นความสุขสุดยอด" ท่านบอกว่าพูดเพื่อให้พวกเราได้เห็นถึงสาระประโยชน์ของการมีชีวิตอย่างจริงจัง ตั้งใจ จดจ่อ และก็จับจ้องมัน ในการที่จะเอาชนะสรรพสิ่งรอบกาย และในตัวเราเอง ท่านอยากให้พวกเราได้รู้ว่า ความรู้ทั้งหลายที่มีอยู่ในจักรวาล มันไม่ได้จบแค่คำว่าตำรา แต่มันจบลงตรงคำว่า "ท่านทำได้หรือเปล่า รู้จริง แค่ไหน ได้สาระจากมันมากน้อยอย่างไร"

    ชีวิตของสมณะผู้สงบต้องยืนอยู่ในความหมายของความปล่อยวาง สลัดหลุด ไม่ปล่อยอะไรให้มาฉุดเรา ท่านได้อธิบายว่า การที่ท่านพยายามจ้ำจี้จ้ำไช ห้ามปรามในบางเรื่องบางราวหรือหลายเรื่องหลายราว ก็เพราะอยากให้พวกเรามีกุศลผลบุญติดตัวบ้าง อย่างน้อยก็เป็นบารมีสร้างสมอบรมไว้ เกิดกับเขามาชาติหนึ่งเป็นคน ได้มีโอกาสบวชในพระพุทธศาสนา ได้ห่มผ้ากาสาวพัสตร์ จะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม ขอเพียงมีสักครั้งหนึ่ง ช่วงหนึ่งของชีวิตหรือลมหายใจ ที่เราคิดจะทำดี พูดดี คิดดี พยายามละเลิก ละเลย หนีห่างไกลจากความอัปรีย์ทั้งหลาย ก็เป็นบุญกุศลแล้ว อย่างน้อยมันจะติดตามตัวเรา ถึงวันนี้มันจะนิดหน่อย ได้เห็นแสงสว่างแค่งูแลบลิ้น ถ้าเราไม่ตาบอด เราจะต้องเห็นแสงนั้น แล้วเราก็จะเชื่อว่า แสงสว่างยังมีอยู่ในที่มืด

    แสงสว่างแห่งธรรม

    เพราะความเชื่อในแสงสว่างที่ยังมีอยู่ในที่มืด จึงทำให้สัตว์เหล่านั้นขวนขวายที่จะไปหาความสว่าง แต่ถ้าไม่คิดจะทำ มันก็ไม่ปรากฏแสงสว่าง เมื่อไม่ปรากฏแสงสว่างเราก็ไม่เชื่อ เมื่อไม่เชื่อก็จมปลักอยู่ในความมืดบอดอยู่อย่างนั้น ชีวิตที่จมปลักอยู่กับความมืดบอดคือชีวิตของสัตว์นรก เมื่อเป็นชีวิตของสัตว์นรก มีคนมาบอกว่าทางสว่างมีเราก็ไม่เชื่อเพราะว่าไม่เคยเห็น พระธรรมมีแล้วก็ไม่เชื่อเพราะไม่เคยทำ พระพุทธเจ้ามีอุบัติแล้วก็ไม่เชื่อเพราะไม่เคยพบ พระอริยสงฆ์มีก็ไม่เชื่อเพราะเราไม่เคยรู้จัก

    เพราะฉะนั้นที่หลวงปู่เคี่ยวเข็ญในธรรม ท่านทำเพื่อให้พวกเราได้เชื่อ ได้เห็น ได้รู้ ได้สัมผัส แสงแห่งความสงบสันติ เพราะเพียงแค่ชั่วงูแลบลิ้นแว้บเดียว เราก็ยังมีโอกาสได้เป็นอานิสงส์ ทำให้เชื่อผลแห่งการปฏิบัติธรรม เมื่อเชื่อแล้ว ศรัทธาแล้ว และเป็นจริงที่สัมผัสด้วยตนเองแล้ว ถึงจะไปตกนรกหมกไหม้อยู่ที่ไหน จมปลักอยู่ในความมืดบอดอย่างไร ความเชื่อความศรัทธาที่มีอยู่ เพียงแค่แว้บเดียว ก็จะช่วยเราได้ในที่สุด มันจะทำให้เราได้รู้จักคิด รู้จักหาวิธีพ้นทุกข์ รู้จักแสวงหาความสว่างและสันติสุขด้วยตนเอง เพราะนิสัยของหลวงปู่นั้น ท่านบอกว่า ชอบอยู่คนเดียวเงียบๆ ไม่ชอบจะไปจ้ำจี้จ้ำไชใครมาก ไม่ชอบที่จะไปพูดมากกับใคร แต่เพราะนี่เป็นหน้าที่

    ที่ท่านชอบอยู่คนเดียว ท่านบอกว่าเพราะมีความสุขกับการได้อยู่คนเดียว แล้วอยากให้พวกเราได้มีความสุขแบบนี้อย่างนี้ เพื่อจะได้เห็นแสงสว่างในที่มืดบ้าง จะได้ไม่ปล่อยชีวิตให้หลงใหลได้ปลื้มไปกับอะไรๆ มากมาย ทุกอย่างรอบกายเรามันเป็นมายาการ เป็นโรงละครโรงหนึ่งเท่านั้น มันไม่ใช่ของจริง แต่เรามีหน้าที่กับมัน ก็ทำให้มันดีที่สุด อย่าปล่อยให้มันเป็นนายเรา ถ้าคิดได้อย่างนี้ คิดอย่างคนมีสติจริงๆ อย่างท่านแล้วเราก็จะรู้ว่ามันไม่มีอะไร

    หลวงปู่เล่าให้ฟังว่ามี "ลามะ" คุรุองค์ที่แปดขององค์ทไลลามะ เดินทางมาเมืองไทย และอยากมาพบท่าน ท่านจึงนึกถึงพวกเรา เพราะว่าเห็นพวกเราห่มผ้ากันหนาว (อากาศหนาวมากต้องห่มผ้าเพิ่ม เพราะจีวรผืนเดียวช่วยไม่ค่อยได้) ท่านเลยบอกวิธีแก้หนาวตามแบบธิเบตไว้ว่า พระธิเบต (ลามะ) ที่เขาอยู่ถ้ำน้ำแข็งเขาฝึก "โกลัมปะ" เขาต้องเจริญสติจนกระทั่งเป็นองค์ฌาน ทำกสิณไฟให้ปรากฏในกาย ในขณะที่อยู่ในองค์ฌาน อยู่ในสมาธิก็จะไม่รู้สึกหนาว เหมือนอย่างครั้งหนึ่งที่ท่านไปอยู่ในน้ำ สอนวิชา "สมาธิพระโพธิสัตว์" ให้กับเณร บริเวณรอบๆ กายของท่านจะมีน้ำอุ่นอยู่ตลอด ทั้งๆ ที่อากาศหนาวและน้ำเย็นมาก

    ท่านจึงบอกให้พวกเราเจริญสติ รู้ตัวก็ลุกขึ้นมา หายใจเข้าลึกๆ ขังลมไว้ แล้วนับ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ความร้อนมันจะปรากฏขึ้นในกาย เพราะถ้าไม่ทำอย่างนี้ นอนขดอยู่ในกลดมากๆ จะหนาวเหน็บเข้าไปจนถึงขั้นเจ็บกระดูก ต่อมทอมซิลอักเสบ หลอดลมอักเสบ เพราะอากาศเปลี่ยนเร็วมาก จะทำให้สุขภาพไม่ดี เจ็บป่วยได้ง่าย แล้วท่านก็ให้พวกเราไปทดลองฝึกดูเอาเอง จะได้อยู่อย่างไม่ต้องหวาดกลัวต่อภัยรอบตัว
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>การสร้างเตโชธาตุ

    เรื่องราวเกี่ยวกับการเอาชนะความหนาวของลามะธิเบต ผมได้ศึกษาค้นคว้า พบว่า ที่ธิเบตมีวิธีการฝึกเพื่อเอาชนะความหนาวที่แปลก พิสดาร โหด เนื่องจากเป็นที่ทราบกันอยู่ทั่วไปว่า ประเทศธิเบตเป็นดินแดนแห่งความหนาวเย็น อากาศหนาวตลอดปี เขตที่หิมะจะหยุดนั้นมีเพียงเล็กน้อย ที่อยู่ของมนุษย์ก็อยู่ในระยะสูงตั้งแต่ ๓,๐๐๐ ถึง ๘,๐๐๐ เมตร จากระดับน้ำทะเล ชีวิตในธิเบตเป็นชีวิตที่ต้องต่อสู้กับความหนาวอย่างแท้จริง คนธรรมดาต้องใช้เครื่องห่อหุ้มร่างกายอย่างหนา ซึ่งทอหรือทำด้วยขนสัตว์ แต่บรรดาพวกลามะใช้ผ้าอย่างบางๆ แล้วก็ทนหนาวได้อย่างแปลกประหลาด ซึ่งคนปกติแม้แต่คนเมืองหนาวยังต้องใช้เครื่องห่อหุ้มร่างกายอย่างมากเพื่อป้องกันความหนาว เพราะความหนาวสามารถทำให้คนตายได้ง่ายๆ ด้วยโรคที่เรียกว่าปอดชื้น ปอดบวม หรือไข้หวัดอย่างร้ายแรง

    แต่พวกลามะในธิเบตกลับห่มแค่ผ้าเหลืองบางๆ ธรรมดา และสามารถทนหนาวได้ ยิ่งเป็นลามะที่มีความสามารถเรียนรู้ฝึกฝนตามวิธีการของธิเบตด้วยแล้ว แม้ในเวลาหนาวจัดที่หิมะตก น้ำในลำธารเป็นน้ำแข็ง ก็เกือบจะไม่ต้องการเครื่องปกคลุมร่างกายแต่อย่างใด และไม่ได้ปกคลุมร่างกายยิ่งไปกว่าที่ใช้อยู่ตามธรรมดาในฤดูที่มีความอบอุ่น ทั้งนี้เพราะเหตุว่าบรรดาลามะได้เล่าเรียนศึกษาในทางสร้างเตโชธาตุมาไม่มากก็น้อย

    ทางหลักวิชาเขาอธิบายไว้ว่า ในร่างกายของมนุษย์เรานั้น ธรรมชาติได้ให้ความอบอุ่นมาเพียงพอ ได้ให้เตโชธาตุมาในตัวแล้ว เพียงแต่ทำให้เตโชธาตุนั้นมีกำลังแรงขึ้นเหมือนใส่เชื้อเพลิงให้เพลิงลุกแรงขึ้น ความอบอุ่นในร่างกายก็จะมีมากพอสำหรับต่อสู้ความหนาวได้ ในร่างกายของมนุษย์มีพลังที่ซ่อนอยู่ มนุษย์เพียงแต่รู้วิชาที่จะปลุกเอาพลังที่หลับอยู่ขึ้นมาใช้เท่านั้น ก็สามารถจะทำสิ่งซึ่งมนุษย์ทั่วไปเห็นเป็นความมหัศจรรย์ แต่ไม่ใช่ความมหัศจรรย์โดยธรรมชาติ ซึ่งอันที่จริงก็เป็นไปตามธรรมชาตินั่นเอง

    หลักวิชาอย่างนี้ตรงกับหลักจิตวิทยาที่รับรองทั่วไป ทั้งในธิเบต ในอินเดีย และในที่อื่นๆ ซึ่งการสร้างเตโชธาตุเป็นวิทยาการที่พิสูจน์ได้ เป็นวิทยาศาสตร์ อย่างน้อยก็ทำให้ทนหนาวได้ โดยไม่เป็นหวัด ไม่ป่วยไข้ ไม่สั่นสะท้าน รู้สึกอบอุ่นแม้มีเพียงเครื่องปกคลุมร่างกายเพียงเล็กน้อย ในขณะที่อากาศหนาวจัดจนเป็นน้ำแข็ง ผู้ที่ได้ฝึกฝนตามวิธีการอย่างครบถ้วนแล้ว สามารถจะยืนหยัดหรือนั่งอยู่กลางหิมะ โดยเปลือยกายอยู่ตลอดคืนได้ ยิ่งกว่านั้นลามะชั้นอาจารย์ที่เก่งๆ สามารถนั่งภาวนาเป่าหญ้าแห้งอยู่ประเดี๋ยวหนึ่งก็มีไฟลุกโพลงขึ้นมาได้!!

    วิธีการฝึกนั้น เป็นไปตามหลักวิทยาการ เป็นเรื่องจิตศาสตร์โดยแท้ เป็นวิธีที่ใกล้หลักพระพุทธศาสนายิ่งกว่าเรื่องอื่นๆ วิธีของธิเบตนั้นไม่มีวิธีที่ค่อยทำค่อยไป พอเริ่มต้นก็ทำอย่างหักโหมร้ายแรง สู้ไม่ได้ก็ตายไป ถ้าสู้ได้ก็เป็นอันฝึกฝนได้สำเร็จ ก่อนลงมือทำการฝึกหัด อาจารย์จะให้ท่องมนต์ก่อน มนต์นั้นมีใจความว่า เราเป็นผู้ไม่กลัว เราใช้หนี้หมดแล้ว เราเสียสละแล้ว เรามีความสุข อยู่ในความวิเวก ไม่ต้องการคบหาใคร นอกจากแผ่นดินและท้องฟ้า เราเชื่อว่าพระผู้ศักดิ์สิทธิ์ได้ให้สิ่งที่ป้องกันความหนาวไว้แก่เรา หิมะเป็นของสวยงาม ความหนาวเป็นเครื่องให้ความสุขแก่มนุษย์ ลมที่พัดพาเอาความเย็นแทรกซึมเข้าไปในกระดูกได้นั้นเป็นไปโดยธรรมชาติ ผู้มีปัญญาสามารถ ย่อมจะรับเอาสิ่งที่ดีจากของเหล่านั้นไว้ในตัว ไม่รับเอาสิ่งที่ร้าย

    การฝึกครั้งแรก คือให้ลงไปอาบน้ำในเวลากลางคืนในแม่น้ำที่เย็นเป็นน้ำแข็ง ห้ามเช็ดตัว ห้ามห่อหุ้มร่างกายด้วยผ้าหนา แล้วให้นั่งภาวนาคาถา ก็จะเกิดความอบอุ่นขึ้นในร่างกายหากเราสังเกตมันได้ ซึ่งอาจจะตรงกับหลักจิตวิทยาโดยทั่วไปว่าในร่างกายของมนุษย์เรานั้น ถ้ามีความจำเป็นจะต้องต่อสู้กับความร้ายแรงในทางหนึ่งทางใด กำลังใจที่จะต่อสู้ในทางนั้น ซึ่งหลับอยู่ในตัว ก็ลุกขึ้นต่อสู้ความหนาว เราจะใช้เวลาที่อยู่ในน้ำได้มากอย่างที่ไม่นึกว่าจะทำได้ และพอขึ้นมาจากน้ำก็รู้สึกว่ามีไอน้ำออกทั่วตัว ซึ่งแสดงว่าเตโชธาตุได้ลุกขึ้นทำการต่อสู้กับความหนาวเย็นอย่างมาก

    ภายหลังที่ขึ้นจากน้ำ ห้ามคลุมผ้าที่ทำด้วยขนสัตว์ ห้ามผิงไฟ ให้นั่งนิ่งภาวนาให้นานที่สุด (ต่อสู้กับลมหนาวด้วย) วิธีการนั่งภาวนาสามารถนั่งขัดสมาธิแบบที่เรารู้จักก็ได้ หรือว่านั่งบนที่ที่ยกชั้นขึ้นห้อยขาลง มือทั้งสองพาดที่เข่า แต่ว่าให้เอาหัวแม่มือและนิ้วนางงอเข้า ส่วนนิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วก้อยให้เหยียดออก (แบบท่าพระโพธิสัตว์)

    ซึ่งวิธีการนั่งภาวนานี้เป็นมหาสติปัฏฐานโดยแท้ เพราะว่าให้พิจารณาลมหายใจเข้าออก แต่วิธีการ เคล็ดลับการฝึกที่ละเอียดนอกไปจากสติปัฏฐานที่เรารู้จักกันอยู่ในเมืองไทยนั้นก็คือ เวลาหายใจออกให้ขับอติมานะ ความเย่อหยิ่ง ความโกรธ ความพยาบาท ความอยากได้ และความเกียจคร้านออกไปพร้อมกับลมหายใจ เวลาหายใจเข้าให้นึกถึงพระพุทธคุณ และพระคุณของพระเจ้า ๕ พระองค์ ให้เอาอารมณ์ออกไปในเวลาหายใจออก ให้คิดเอาพุทธคุณเข้าในตัวเวลาหายใจเข้า

    เมื่อทำสติปัฏฐานเกี่ยวกับลมหายใจได้แน่วแน่แล้ว จึงทำการปฏิบัติอีกขั้นซึ่งมี ๒ ขั้นตอนคือ

    ขั้นแรกเรียกว่า "รามา" คือให้สร้างมโนภาพว่าในท้องเรานั้นมีดอกบัวดอกหนึ่ง อยู่ตรงสะดือของเรา ดอกบัวนั้นมีความร้อนแรงและแสงสว่างเหมือนดวงอาทิตย์ ให้สร้างมโนภาพให้ชัดว่าดอกบัวอยู่ในท้อง เป็นตัวแทนของดวงอาทิตย์ มีทั้งแสงและความร้อน ที่จะแผ่ซาบซ่าน กระจายความอบอุ่นไปทั่วร่างกาย

    ขั้นที่สองเรียกว่า "อุมา" ให้นึกสร้างเส้นประสาทใหม่ขึ้นในตัวเรา ๓ เส้น เส้นหนึ่งแล่นตั้งแต่ปลายเท้าขวาไปถึงปลายมือขวา เส้นที่สองแล่นตั้งแต่ปลายเท้าซ้ายขึ้นไปถึงปลายมือซ้าย เส้นที่สามแล่นกลางตัวขึ้นไปจนถึงศีรษะ ให้สร้างมโนคติเห็นเส้นประสาทเหล่านี้เป็นเหมือนสายฟ้า ที่มีไฟสีขาวเริงแรงอยู่ตลอดเส้น และเปลี่ยนขนาดเรื่อยไป ในขั้นแรกให้เห็นขนาดเท่าเส้นผม ต่อไปให้โตขึ้นเท่านิ้วก้อย เท่าแขน และลุกโพลงไปทั่วตัวแล้วก็กลับเล็กลง คือกลับเล็กเท่าแขน เท่านิ้วก้อยเท่าเส้นผม! ซึ่งเป็นวิธีการอย่างที่เรียกว่าอนุโลม-ปฏิโลม คือ เดินหน้าและถอยหลัง อย่างวิธีกัมมัฏฐานของไทย ทำกลับไปกลับมาอย่างนี้ให้ได้ภาพที่แน่นอนแล้ว ก็จบลงด้วยการเห็นสายไฟนั้นดับ ให้เรารู้สึกตกอยู่ในความมืด อยู่ในที่ว่างเปล่าของจักรวาล สงบนิ่งในอารมณ์นั้น

    วิธีการทางธิเบตเป็นที่เลื่อมใสแก่พวกนักศึกษา โยคะหรือพวกโยคีในอินเดีย จนมาขอร่ำเรียนศึกษา ซึ่งก็มีโยคีที่เก่งคนหนึ่งของอินเดีย ชื่อนโรทะ มีความรู้ทางลัทธิโยคีมาอยู่แล้ว ได้ไปศึกษาเพิ่มเติมตามวิธีการของธิเบต และได้รับการรับรองจากคนเก่งๆ ในธิเบต ว่าเป็นผู้สามารถสร้างความมหัศจรรย์ได้ในเรื่องเตโชธาตุ สามารถทำให้ไฟลุกขึ้นที่ไหนก็ได้

    เรื่องการสร้างเตโชธาตุนี้ มีคนเรียนกันมาก เมื่อมีผู้ที่เรียนรู้กันมาก หลากหลายอาจารย์ บางครั้งมักจะจัดให้มีการแข่งขันลองวิชา ลองความศักดิ์สิทธิ์ วิธีการทดลองก็คือ เอาผ้าคลุมตัวลงไปในน้ำในลำธารหรือในแอ่งซึ่งเย็นเยือกเป็นน้ำแข็ง หรือขุดหลุมหิมะแล้วลงไปแช่ เมื่อลงไปในน้ำหรือในหิมะนานพอที่แน่ใจว่าผ้าเปียกแล้ว ผู้ที่เป็นกรรมการควบคุมก็เรียกตัวขึ้นมา ให้นั่งอยู่ทั้งๆ ที่มีผ้าคลุมเปียกอย่างนั้น จนกว่าผ้าจะแห้งไปเองด้วยความอบอุ่นในตัวคน โดยตัดสินแพ้ชนะกันที่ว่าใครทำได้มากครั้งกว่า คือหมายความว่า มีความร้อนในตัวมากกว่า ทำให้ผ้าแห้งเร็วกว่า

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> อริยกันตศีล

    ภายหลังทำวัตรเย็นนั้น หลวงปู่ยังได้พูดถึง อริยกันตศีล คือศีลที่พระอริยเจ้าชอบใจ คือการรักษาศีลภายในออกมาข้างนอก หรือก็คือการที่มีความสำรวมสังวรระวัง มีใจที่คิดจะสำรวมสังวรระวังกาย วาจาและใจ คือผู้ที่ควรต่อการเจริญศีล ไม่ต้องพูดถึงคำว่ารักษาศีล เพราะเขารักษาผ่านมาแล้ว ต่อไปก็เป็นเรื่องของการทำศีลนั้นให้เจริญ เพราะฉะนั้นคนที่มีความสำรวมสังวรระวัง เป็นผู้เจริญในศีลนั้น กิริยาอาการแสดงออกจะละเอียดอ่อนละเมียดละไม ผู้มีปัญญามองออกว่าท่านผู้นี้รักษาศีล เจริญศีล ตั้งมั่นในศีล มีสติมั่นคง มีญาณปัญญาหยั่งรู้ คือรู้สภาวะตามอาการที่เป็นอยู่ อย่างนี้จึงเรียกว่าผู้เจริญศีล และก็เป็นศีลของพระอริยเจ้าที่ชอบใจ เรียกว่า "อริยกันตศีล"

    ท่านยังเน้นย้ำให้พวกเราเข้าใจคำว่า "มหาสติปัฏฐาน" มหา แปลว่าใหญ่ ดังนั้นจึงหมายถึง สติปัฏฐานที่มีความเป็นใหญ่ ใหญ่ต่อการกระทำพูดคิด คือ ซึมสิงไปทุกอณูของลมหายใจเข้าออก ไม่ใช่มีเฉพาะบางเวลา บางขณะ บางโอกาส แต่ถ้าไม่มีมหาสติปัฏฐาน ก็จะกลายเป็นคนที่ถูกฉุดกระชากลากไป ตามกระบวนการปรุงของจิตวิญญาณและอารมณ์ ท่านจึงบอกว่าเหตุผลที่ยังไม่พาพวกเราเข้าไปสู่ป่าลึกหรือยังไม่ได้เข้าไปสู่ลำอีซู เพราะท่านอยากให้พวกเราเตรียมพร้อมมากกว่านี้ แล้ววันนี้ท่านได้เห็นว่า พวกเรามีความสำรวมสังวรระวังพอสมควร แต่ถ้าปล่อยให้อยู่ในป่าคนเดียวลำพัง คงจะเอาตัวให้รอดยาก ถ้าไปกันเป็นหมู่ๆ ก็พอจะไปได้

    การเอาตัวรอด คือ ไม่หวาดผวา ไม่สะดุ้งกลัว ไม่หวาดหวั่น ไม่เกรง ไม่ขนลุก ไม่ขนพองสยองเกล้า ต่ออาการและกิริยาอาการต่างๆ ที่เป็นสภาพแวดล้อมตัวเรา ถ้าเป็นอย่างนี้ถือว่าเราอยู่รอด เป็นผู้เอาตัวรอด แต่ถ้าเรายังหวาดผวา สะดุ้ง หวั่นหวาด หวั่นกลัว เกรงกลัว ต่ออาการและกิริยาที่เป็นสภาพแวดล้อมตัวเราอยู่ อย่างนี้ถือว่าเอาตัวไม่รอด ถ้าเอาตัวไม่รอดก็ต้องอาศัยพึ่งพิงอิงแอบคนอื่น สิ่งอื่น เรื่องอื่นหรือเครื่องอยู่ชนิดอื่นๆ ความหมายของความอยู่รอด ที่หลวงปู่อยากจะให้พวกเรารู้ เข้าใจก็คือ มีสติทุกขณะทุกโอกาส แล้วไม่ว่าจะทำ พูด คิด มันจะเป็นเรื่องดีมีสาระตลอด แล้วเราจะละเอียดอ่อนละเมียดละไมต่อการทำ พูด คิดนั้น

    มหาสติปัฏฐานทำให้เรามีศักยภาพ เพิ่มพูนสมรรถนะในการเจริญดำรงชีวิต เรื่องที่ทำพูดคิดจึงเป็นเรื่องถูกต้อง ถูกตรงและก็มีสาระประโยชน์สูงสุด คนที่เจริญมหาสติปัฏฐานก็คือคนที่ได้กำไรในการดำรงชีวิต คนที่มีเครื่องอยู่แห่งสติ หรือมีสติปัฏฐานเป็นเครื่องอยู่ คือคนที่มีชีวิตอยู่ในชัยชนะตลอดกาล ผู้มีชัยชนะในชีวิตโดยไม่มีความพ่ายแพ้ หรือความพลาดพลั้ง ก็คือผู้ที่เจริญมหาสติปัฏฐาน

    ในพระไตรปิฎก พระสารีบุตรได้กล่าวไว้เป็นเบื้องต้นในการปฏิบัติธรรมว่า เครื่องอุปการะของสัตว์ทั้งปวง ไม่มีอะไรจะยิ่งใหญ่เท่ากับสติ ท่านเปรียบสติเอาไว้ดั่งบิดามารดาที่เลี้ยงดูบุตร สัมปชัญญะเหมือนกับบุตรที่เจริญเติบโต งอกงามไพบูลย์ ทั้งสติและสัมปชัญญะจึงเป็นบิดามารดาเกิดแห่งบุตร คือบิดามารดาเกิดแห่งสรรพสัตว์ นอกจากให้กำเนิดกายแล้ว ก็ยังเลี้ยงดูให้เจริญเติบโต แล้วยังชี้ทางสว่างให้ และให้ทรัพย์สมบัติในที่สุด
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...