"ตาณัง เลณัง"ศูนย์ปฏิบัติธรรมเฉลิมราช ๖๐ ปี

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย สังขารไม่เที่ยง, 15 พฤศจิกายน 2011.

  1. สังขารไม่เที่ยง

    สังขารไม่เที่ยง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,943
    ค่าพลัง:
    +24,697
    [​IMG]
    <SCRIPT type=text/javascript src="http://www.komchadluek.net/js/slides.min.jquery.js"></SCRIPT><SCRIPT type=text/javascript> $('#slides').slides({ preload: false, preloadImage: 'images/loading.gif', effect: 'fade', crossfade: true, fadeSpeed: 500, play:4500, pause: 1500, hoverPause:true, generateNextPrev: false, generatePagination: false, animationStart: function(current){ $('.caption').animate({ bottom:-35 },100); if (window.console && console.log) { // example return of current slide number console.log('animationStart on slide: ', current); }; }, animationComplete: function(current){ $('.caption').animate({ bottom:0 },200); if (window.console && console.log) { // example return of current slide number console.log('animationComplete on slide: ', current); }; }, slidesLoaded: function() { $('.caption').animate({ bottom:0 },200); } }); </SCRIPT>
    • [​IMG]
    "ตาณัง เลณัง"ศูนย์ปฏิบัติธรรมเฉลิมราช ๖๐ ปี : เยือนถิ่นเรือนธรรม

    "ตาณัง เลณัง"ศูนย์ปฏิบัติธรรมเฉลิมราช ๖๐ ปี : เยือนถิ่นเรือนธรรม


    "การปฏิบัติธรรมที่แท้จริงมิใช่อื่นไกล ได้แก่ การที่เรามาสนใจ เอาใจใส่ ดูแลตัวเราเอง หรือตัวเรามาดูตัวเราเอง ฉะนั้น ที่เรามาเจริญวิปัสสนากรรมฐานตรงนี้ เรามุ่งต้องการให้เกิดปัญญา เรากำลังสร้างปัญญาให้เกิดขึ้น เพื่อเอาปัญญานั้นมามองให้เห็นความจริงทั้งที่เป็นรูปและเป็นนาม รวมทั้งความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และ อสุภะ ที่ปรากฏอยู่ในตัวเราให้เห็นความเป็นจริง

    ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นคติธรรมประจำใจในการปฏิบัติของพระครูปลัดประจาก สิริวณฺโณ พระวิปัสสนาจารย์แห่งศูนย์ปฏิบัติธรรม ตาณัง เลณัง ต.สำราญราษฎร์ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่

    คำว่า "ตาณัง เลณัง" เป็นคำที่ปรากฏอยู่ใน "พระคาถาธารณปริตร" ที่ว่า "อิมัง ธาระณัง อะมิตัง อะสะมัง สัพพะสัตตานัง ตาณังเลณัง สังสาระ ภะยะภีตานัง อัคคัง มหาเตชัง"

    คำว่า "ตาณัง" หมายความว่า นิพพานปกป้องบุคคลให้พ้นจากอบาย

    ส่วนคำว่า "เลณัง" หมายความว่า ธรรมเป็นที่ หลบซ่อน หรือหลีกจากภัยในสงสาร

    "พระคาถาธารณปริตร" มีที่มา คือ เมื่อครั้งออกพรรษาปี ๒๕๒๖ พระป่ากรรมฐานรูปหนึ่งได้มีโอกาสออกวิเวก เจริญรุกขมูล ธุดงค์ทางภาคเหนือ และชายแดนฝั่งพม่า เขตติดต่อพรมแดนในแวดวงหมู่บ้านชาวเขาเผ่าต่างๆ นานเกือบ ๓ เดือน ขณะปักกลดพักที่ดอยพระพุทธบาทห้วยต้ม อ.ลี้ จ.ลำพูน ได้พบและปรึกษาธรรมปฏิบัติและอื่นๆ กับพระอาจารย์รังสรรค์ โชติปาโล ซึ่งเพิ่งจะธุดงค์เดินป่ามาจากประเทศพม่า และได้จดจำเอา

    ศูนย์ปฏิบัติธรรมตาณัง เลณัง มีการอบรมวิปัสสนากัมมัฏฐาน สติปัฏฐาน ๔ ตามหลักสูตรของศูนย์ เหมาะแก่ผู้ที่เปี่ยมด้วยความศรัทธาในการปฏิบัติ เนื่องจากการปฏิบัติแม้จะใช้ห้องปฏิบัติธรรมรวม แต่ผู้ปฏิบัติจะต้องเดินจงกรมนั่งสมาธิและกำหนดอิริยาบถย่อยด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง และรักษาเวลาในการเดินจงกรมนั่งสมาธิแต่ละบัลลังก์ให้ลื่นไหลไปได้ด้วยตนเอง

    ในช่วงเช้าของวันแรกของการปฏิบัติทางศูนย์จะปฐมนิเทศเพื่อชี้แจงให้เข้าใจถึงกฎระเบียบในการปฏิบัติ และบริการต่างๆ ที่ทางศูนย์ได้จัดเตรียมเพื่อให้บริการแก่ผู้ปฏิบัติ พร้อมทั้งเปิดวีดีโอสาธิตวิธีการปฏิบัติ ทั้งนี้ผู้ปฏิบัติธรรมทุกท่านจะต้องเข้ารับฟังการปฐมนิเทศในเช้าวันแรกของการอบรม และจะต้องสามารถอยู่ปฏิบัติได้อย่างน้อย ๗ คืน ๘ วัน การปิดการอบรมในวันสุดท้ายของการปฏิบัติ พิธีสิ้นสุดในเวลา ๑๑.๓๐ น.โดยประมาณ

    ส่วนในช่วงบ่ายจะมีพิธีสมาทานกรรมฐาน หลังจากนั้นพระวิปัสสนาจารย์จะบรรยายธรรมให้กรรมฐานเบื้องต้น และสอนวิธีปฏิบัติ ได้แก่ วิธีเดินจงกรม วิธีนั่งสมาธิ และวิธีกำหนดอิริยาบถย่อย เช่น การรับประทานอาหาร เป็นต้น

    หลังจากนั้นโยคีต่างคน ต่างปฏิบัติเอง บริหารเวลาเอง และรักษาวินัยด้วยตนเอง เนื่องจากพื้นฐานจริตนิสัยและอินทรีย์ที่แตกต่างกันของโยคีแต่ละท่าน การปรับการปฏิบัติให้เหมาะสมกับตนเอง ตามคำแนะนำของพระวิปัสสนาจารย์ ทำให้เกื้อกูลต่อการปฏิบัติธรรมของโยคีเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งในหลักสูตรนี้โยคีจะได้รับการสอบอารมณ์ทุกวันโดยพระวิปัสสนาจารย์ เพื่อตรวจสอบความก้าวหน้าในการปฏิบัติ และท่านจะได้ช่วยแก้ปัญหาในการปฏิบัติเป็นรายบุคคล

    ศูนย์ปฏิบัติธรรม ตาณัง เลณัง เป็นสถานที่มีระเบียบ สงบ เรียบร้อย มีการจัดเเยกเป็นคอร์สการปฏิบัติ สำหรับผู้เริ่มต้น สำหรับผู้ที่เคยฝึกมาเเล้วหรือมีพื้นฐานการปฏิบัติเเล้ว ทั้งนี้ควรศึกษาระเบียบข้อปฏิบัติการเป็นอยู่และตารางเวลากิจกรรมให้เข้าใจอย่างละเอียดชัดเจน เพื่อให้ท่านสามารถปรับตัวดำเนินชีวิตแห่งการปฏิบัติธรรมได้อย่างถูกต้อง โดยไม่เกิดความวิตกกังวลใด ๆ การแต่งกายควรนุ่งขาวห่มขาว หรือแต่งกายสุภาพเรียบร้อย สีสันไม่ฉูดฉาดจนเกินไป สอบถามรายละเอียดได้ที่โทร.๐-๕๓๘๘-๗๒๑๐, ๐-๕๓๐๔๒-๗๐๕-๖

    �ҳѧ�ųѧ�ٹ�컯ԺѵԸ���������Ҫ����:���͹�������͹���� ���Ѵ�֡ : ��ʹҾ�������ͧ : ���Ƿ�����
     
  2. PITINATTH73

    PITINATTH73 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    2,991
    ค่าพลัง:
    +9,624
    ผมขออนุโมทนาสาธุ กับญาติธรรมทุกๆท่าน ในบุญกุศลที่ได้บำเพ็ญมาทั้งหมดทั้งปวงด้วยครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...