ตัวอย่างของพระปัญญาวิมุติ และโทษของผู้เข้ามาขโมยธรรม

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย siratsapon, 1 มกราคม 2010.

แท็ก: แก้ไข
  1. siratsapon

    siratsapon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    368
    ค่าพลัง:
    +641
    ๑๐. สุสิมสูตร

    [๒๗๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน
    เขตพระนครราชคฤห์ สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคอันเทวดาและมนุษย์ทั้งมวล
    สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง ทรงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
    และเภสัชบริขารเป็นปัจจัยแก่คนไข้ แม้ภิกษุสงฆ์อันเทวดาและมนุษย์ทั้งมวลก็
    สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ
    เภสัชบริขารเป็นปัจจัยแก่คนไข้ แต่พวกปริพาชกเดียรถีย์อื่น อันเทวดาและ
    มนุษย์ทั้งมวลไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา ไม่ยำเกรง ไม่ได้จีวร
    บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขารเป็นปัจจัยแก่คนไข้ ฯ

    [๒๘๐] สมัยนั้นแล สุสิมปริพาชกอาศัยอยู่ ณ พระนครราชคฤห์กับ
    ปริพาชกบริษัทเป็นอันมาก ครั้งนั้นแล บริษัทของสุสิมปริพาชกได้กล่าวกะสุสิม-
    *ปริพาชกว่า มาเถิดท่านสุสิมะ ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักของพระสมณ
    โคดม ท่านเรียนธรรมแล้ว พึงบอกข้าพเจ้าทั้งหลาย พวกข้าพเจ้าเรียนธรรม
    นั้นแล้วจักกล่าวแก่คฤหัสถ์ทั้งหลาย เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้พวกเราก็จักมีเทวดาและ
    มนุษย์ทั้งมวลสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง จักได้จีวร บิณฑบาต
    เสนาสนะ และเภสัชบริขารเป็นปัจจัยแก่คนไข้ ฯ

    สุสิมปริพาชกยอมรับคำบริษัทของตน แล้วเข้าไปหาท่านพระอานนท์
    ถึงที่อยู่ ครั้นเข้าไปหาแล้ว ได้ปราศรัยกับท่านพระอานนท์ ครั้นผ่านการปราศรัย
    พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นสุสิมปริพาชกนั่งเรียบ-
    *ร้อยแล้ว ได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ท่านพระอานนท์ ผมปรารถนาจะประพฤติ
    พรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้ ฯ

    [๒๘๑] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์พาสุสิมปริพาชกเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
    พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วจึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
    ครั้นท่านพระอานนท์นั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระ
    พุทธเจ้าข้า สุสิมปริพาชกผู้นี้กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านพระอานนท์ ผมปรารถนา
    จะประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้ ฯ

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อานนท์ ถ้าอย่างนั้น เธอจงให้สุสิมปริพาชก
    บวช ฯ
    สุสิมปริพาชกได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ

    [๒๘๒] สมัยนั้นแล ได้ยินว่า ภิกษุเป็นอันมากอวดอ้างพระอรหัตผล
    ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า ข้าพระองค์ทั้งหลายรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์
    อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ

    ท่านสุสิมะได้ฟังมาว่า ภิกษุเป็นอันมากอวดอ้างพระอรหัตผลในสำนัก
    พระผู้มีพระภาคว่า ข้าพระองค์ทั้งหลายรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
    กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ

    ทันใดนั้นเอง ท่านสุสิมะก็เข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับ
    ภิกษุเหล่านั้น ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วน
    ข้างหนึ่ง ครั้นท่านสุสิมะนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กล่าวกะภิกษุเหล่านั้นว่า ได้ยินว่า
    ท่านทั้งหลายอวดอ้างพระอรหัตผลในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า ข้าพระองค์ทั้งหลาย
    รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่น
    เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้จริงหรือ ฯ

    ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า จริงอย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ ฯ

    [๒๘๓] สุ. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านรู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม
    บรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือคนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้
    ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง ภูเขา ไปได้ไม่ติดขัด
    เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตก
    เหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์
    พระอาทิตย์ ซึ่งมีฤทธิ์ มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอด
    พรหมโลกก็ได้ บ้างหรือหนอ ฯ

    ภิ. หาเป็นอย่างนั้นไม่ ท่านผู้มีอายุ ฯ

    [๒๘๔] สุ. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านรู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม
    ได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ด้วย
    ทิพยโสตธาตุอันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์ บ้างหรือหนอ ฯ

    ภิ. หาเป็นอย่างนั้นไม่ ท่านผู้มีอายุ ฯ

    [๒๘๕] สุ. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านรู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม
    กำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นได้ด้วยใจ คือจิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ
    หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือ
    จิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือ
    จิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ หรือจิต
    ฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็น
    มหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือ
    จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ
    หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือ
    จิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น บ้างหรือหนอ ฯ

    ภิ. หาเป็นอย่างนั้นไม่ ท่านผู้มีอายุ ฯ

    [๒๘๖] สุ. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านรู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม
    ระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติ
    บ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบ
    ชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏ-
    *กัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏกัปวิวัฏกัป
    เป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณ
    อย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขและทุกข์อย่างนั้น มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น
    ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น ในภพนั้น เรามีชื่ออย่างนั้น
    มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขและทุกข์อย่างนั้น
    มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้น แล้วมาเกิดในภพนี้ ย่อมระลึกถึง
    ชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้
    บ้างหรือหนอ ฯ

    ภิ. หาเป็นอย่างนั้นไม่ ท่านผู้มีอายุ ฯ

    [๒๘๗] สุ. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านรู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม
    เห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม
    ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์
    ผู้เป็นไปตามกรรมว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย สัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายทุจริต
    วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยะเจ้า เป็นมิจฉาทิฐิ ยึดถือการกระทำด้วย
    อำนาจมิจฉาทิฐิ เมื่อตายเพราะกายแตกดับไป ก็เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
    ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ส่วนสัตว์เหล่านั้น ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโน
    สุจริต ไม่ติเตียนพระอริยะเจ้า เป็นสัมมาทิฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฐิ
    เมื่อตายเพราะกายแตกดับไป ก็เข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ ย่อมเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลัง
    จุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วย
    ทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมด้วย
    ประการฉะนี้ บ้างหรือหนอ ฯ

    ภิ. หาเป็นอย่างนั้นไม่ ท่านผู้มีอายุ ฯ

    [๒๘๘] สุ. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านรู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม
    ถูกต้องอารูปวิโมกข์อันสงบ ก้าวล่วงรูปวิโมกข์ทั้งหลายด้วยกาย บ้างหรือหนอ ฯ
    ภิ. หาเป็นอย่างนั้นไม่ ท่านผู้มีอายุ ฯ

    [๒๘๙] สุ. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย คำตอบนี้ และการไม่เข้าถึงธรรม
    เหล่านี้ มีอยู่ในเรื่องนี้ในบัดนี้ อาวุโส เรื่องนี้ เป็นอย่างไรแน่ ฯ
    ภิ. ท่านสุสิมะ ผมทั้งหลายหลุดพ้นได้ด้วยปัญญา ฯ
    สุ. ผมไม่เข้าใจเนื้อความแห่งคำที่ท่านทั้งหลายกล่าวโดยย่อนี้โดยพิสดาร
    ได้ ขอท่านทั้งหลายจงกล่าวแก่ผม เท่าที่ผมจะพึงเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่ท่าน
    ทั้งหลายกล่าวโดยย่อนี้ โดยพิสดารเถิด ฯ
    ภิ. ท่านสุสิมะ ท่านพึงเข้าใจหรือไม่เข้าใจก็ตาม แต่ผมทั้งหลายก็หลุด
    พ้นได้ด้วยปัญญา ฯ

    [๒๙๐] ครั้งนั้นแล ท่านสุสิมะลุกจากอาสนะแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
    พระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
    ครั้นท่านสุสิมะนั่งเรียบร้อยแล้ว กราบทูลถ้อยคำที่สนทนากับภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด
    แด่พระผู้มีพระภาค ฯ
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สุสิมะ ธรรมฐิติญาณเกิดก่อน ญาณในพระ
    นิพพานเกิดภายหลัง ฯ
    พระสุสิมะกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์ไม่เข้าใจเนื้อความ
    แห่งคำที่พระองค์ตรัสไว้โดยย่อนี้โดยพิสดารได้ ขอพระผู้มีพระภาคจงตรัสแก่
    ข้าพระองค์ เท่าที่ข้าพระองค์จะพึงเข้าใจ เนื้อความแห่งพระดำรัส ที่พระองค์ตรัสโดย
    ย่อนี้ โดยพิสดารเถิด ฯ <!--MsgFile=0-->
     
  2. siratsapon

    siratsapon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    368
    ค่าพลัง:
    +641
    (ต่อ)

    [๒๙๑] พ. ดูกรสุสิมะ เธอจะเข้าใจหรือไม่เข้าใจก็ตาม โดยแท้จริงแล้ว
    ธรรมฐิติญาณเกิดก่อน ญาณในพระนิพพานเกิดทีหลัง สุสิมะ เธอจะเข้าใจความ
    ข้อนั้นอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
    สุ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
    สุ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา สมควร
    หรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
    สุ. ข้อนี้ไม่สมควร พระเจ้าข้า ฯ
    พ. เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
    สุ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
    สุ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา สมควร
    หรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
    สุ. ข้อนี้ไม่สมควร พระเจ้าข้า ฯ
    พ. สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
    สุ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
    สุ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา สมควร
    หรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
    สุ. ข้อนี้ไม่สมควร พระเจ้าข้า ฯ
    พ. สังขารทั้งหลายเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
    สุ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
    สุ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา สมควร
    หรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
    สุ. ข้อนี้ไม่สมควร พระเจ้าข้า ฯ
    พ. วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
    สุ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
    สุ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา สมควร
    หรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
    สุ. ข้อนี้ไม่สมควร พระเจ้าข้า ฯ

    [๒๙๒] พ. ดูกรสุสิมะ เพราะเหตุนั้นแล รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่
    เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี
    อยู่ในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี รูปทั้งหมดนั่นอันเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตาม
    ความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ฯ

    เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี ภายใน
    ก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี
    ในที่ใกล้ก็ดี เวทนาทั้งหมดนั่น อันเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง
    อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ฯ

    สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี ภายใน
    ก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี
    ในที่ใกล้ก็ดี สัญญาทั้งหมดนั่น อันเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็น
    จริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ฯ

    สังขารทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี
    ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่ในที่
    ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี สังขารทั้งหลายทั้งหมดนั่น อันเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอัน
    ชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตน
    ของเรา ฯ

    วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี ภายใน
    ก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี
    ในที่ใกล้ก็ดี วิญญาณทั้งหมดนั่น อันเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็น
    จริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ฯ

    [๒๙๓] พ. ดูกรสุสิมะ อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อ
    หน่าย แม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขารทั้งหลาย แม้ใน
    วิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น
    เมื่อหลุดพ้น ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
    พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
    มิได้มี ฯ

    [๒๙๔] พ. ดูกรสุสิมะ เธอเห็นว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา
    และมรณะหรือ ฯ
    สุ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
    พ. สุสิมะ เธอเห็นว่า เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติหรือ ฯ
    สุ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
    พ. สุสิมะ เธอเห็นว่า เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพหรือ ฯ
    สุ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
    พ. สุสิมะ เธอเห็นว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทานหรือ ฯ
    สุ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ... เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา ... เพราะผัสสะเป็นปัจจัย
    จึงมีเวทนา ... เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ ... เพราะนามรูปเป็นปัจจัย
    จึงมีสฬายตนะ ... เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป ... เพราะสังขารเป็น
    ปัจจัย จึงมีวิญญาณ ... สุสิมะ เธอเห็นว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
    หรือ ฯ
    สุ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

    [๒๙๕] พ. ดูกรสุสิมะ เธอเห็นว่า เพราะชาติดับ ชราและมรณะ
    จึงดับหรือ ฯ
    สุ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า
    พ. สุสิมะ เธอเห็นว่า เพราะภพดับ ชาติจึงดับหรือ ฯ
    สุ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ... เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ... เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึง
    ดับ ... เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ ... เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ ...
    เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ ... เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ ...
    เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ ... เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ... เพราะ
    อวิชชาดับ สังขารจึงดับหรือ ฯ

    สุ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

    [๒๙๖] พ. ดูกรสุสิมะ เธอรู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมบรรลุอิทธิวิธี
    หลายประการ คือคนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้
    ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง ภูเขา ไปได้ไม่ติดขัด เหมือน
    ไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือน
    เดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปบนอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์
    พระอาทิตย์ ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอด
    พรหมโลกก็ได้ บ้างหรือหนอ ฯ

    สุ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า

    [๒๙๗] พ. ดูกรสุสิมะ เธอรู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมได้ยินเสียงสอง
    ชนิด คือเสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกล และอยู่ใกล้ ด้วยทิพยโสตธาตุ
    อันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์บ้างหรือหนอ ฯ

    สุ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

    [๒๙๘] พ. ดูกรสุสิมะ เธอรู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมกำหนดรู้ใจของ
    สัตว์อื่น ของบุคคลอื่นได้ด้วยใจ คือจิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่าจิตมีราคะ ฯลฯ จิตไม่
    หลุดพ้น ก็รู้ชัดว่าจิตไม่หลุดพ้น บ้างหรือหนอ ฯ

    สุ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

    [๒๙๙] พ. ดูกรสุสิมะ เธอรู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมระลึกถึงชาติก่อน
    ได้เป็นอันมาก คือชาติหนึ่งบ้าง ฯลฯ ย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อม
    ทั้งอาการ ทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ บ้างหรือหนอ ฯ

    สุ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

    [๓๐๐] พ. ดูกรสุสิมะ เธอรู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่
    กำลังจุติ ฯลฯ ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์
    ผู้เป็นไปตามกรรม บ้างหรือหนอ ฯ

    สุ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

    [๓๐๑] พ. ดูกรสุสิมะ เธอรู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมถูกต้องอารูปวิโมกข์
    อันสงบ ก้าวล่วงรูปวิโมกข์ทั้งหลาย ด้วยกายบ้างหรือหนอ ฯ

    สุ. มิใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

    [๓๐๒] พ. ดูกรสุสิมะ คำตอบนี้ และการไม่เข้าถึงธรรมเหล่านี้มีอยู่
    ในเรื่องนี้ ในบัดนี้ เรื่องนี้เป็นอย่างไรแน่ ฯ

    ลำดับนั้นเอง ท่านสุสิมะหมอบลงแทบพระบาททั้งสองของพระผู้มีพระภาค
    ด้วยเศียรเกล้า ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า โทษได้ตกถึง
    ข้าพระองค์ เท่าที่โง่ เท่าที่หลง เท่าที่ไม่ฉลาด ข้าพระองค์บวชขโมยธรรมใน
    ธรรมวินัยที่พระองค์ตรัสดีแล้วอย่างนี้ ขอพระผู้มีพระภาคจงรับโทษไว้โดยความ
    เป็นโทษ เพื่อความสำรวมต่อไป ของข้าพระองค์ด้วยเถิด พระเจ้าข้า ฯ

    [๓๐๓] พ. เอาเถิด สุสิมะ โทษได้ตกถึงเธอ เท่าที่โง่ เท่าที่หลง
    เท่าที่ไม่ฉลาด เธอบวชขโมยธรรมในธรรมวินัยที่เรากล่าวดีแล้วอย่างนี้ เปรียบ
    เหมือนเจ้าหน้าที่จับโจรผู้ประพฤติผิดมาแสดงตัวแก่พระราชา แล้ว กราบทูลว่า
    ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ โจรคนนี้ ประพฤติผิดแด่พระองค์ ขอพระองค์จงทรง
    ลงอาชญาตามที่พระองค์ทรงพระประสงค์แก่โจรคนนี้เถิด พระราชาพึงรับสั่งให้ลง
    โทษโจรนั้นอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงไปมัดบุรุษนี้ไพล่หลังให้มั่นด้วยเชือกที่เหนียว
    แล้วเอามีดโกนโกนหัวเสีย พาเที่ยวตระเวนตามถนน ตามทางสี่แยก ด้วยฆ้อง
    ด้วยกลองเล็กๆ ให้ออกทางประตูด้านทักษิณ แล้วจงตัดศีรษะเสียข้างด้านทักษิณ
    ของเมือง ราชบุรุษมัดโจรนั้นไพล่หลังอย่างมั่นคง ด้วยเชือกที่เหนียวแล้วเอามีด
    โกนโกนหัว พาเที่ยวตระเวนตามถนน ตามทางสี่แยกด้วยฆ้อง ด้วยกลองเล็กๆ
    พาออกทางประตูด้านทักษิณ พึงตัดศีรษะเสียข้างด้านทักษิณของเมือง สุสิมะ
    เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นต้องเสวยทุกข์และโทมนัสอันมีกรรมนั้น
    เป็นเหตุหรือหนอ ฯ

    สุ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

    [๓๐๔] พ. ดูกรสุสิมะ บุรุษนั้นต้องเสวยทุกข์และโทมนัสอันมีกรรม
    นั้นเป็นเหตุ แต่การบวชของเธอผู้ขโมยธรรมในธรรมวินัยที่ตถาคตกล่าวดีแล้ว
    อย่างนี้ นี้ยังมีผลรุนแรงและเผ็ดร้อนกว่านั้น และยังเป็นไปเพื่อวินิบาต แต่เพราะ
    เธอเห็นโทษ โดยความเป็นโทษแล้ว ทำคืนตามธรรม เราจึงรับโทษนั้นของเธอ
    ผู้ใดเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้ว ทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมต่อไป ข้อนี้
    เป็นความเจริญในวินัยของพระอริยะ ฯ
    จบสูตรที่ ๑๐

    จบมหาวรรคที่ ๗
    -----------------------------------------------------

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๓๑๘๗ - ๓๔๕๒. หน้าที่ ๑๓๑ - ๑๔๒.

     

แชร์หน้านี้

Loading...