ตลาดโบราณ: อดีตที่ยังมีลมหายใจ

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 16 กุมภาพันธ์ 2006.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>ตลาดโบราณ: อดีตที่ยังมีลมหายใจ </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>16 กุมภาพันธ์ 2549 17:59 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9490000021642

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=380 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=380>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ตลาดน้ำท่าคา เสน่ห์อันเรียบง่ายของตลาดโบราณที่น่ายลด้วยวิถีชีวิตชาวบ้านริมน้ำ</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ขนมหมากฝรั่งมวนบุหรี่ตราแมวสีดำ ลูกอมรสโคล่า หรือขนมโก๋แถมแหวน สิ่งเหล่านี้เป็นอดีตแห่งวัยเยา ที่หลายๆคนยังจำได้ดี

    แต่เด็กสมัยนี้คงแทบไม่รู้จักไม่เคยเห็นขนมเหล่านี้กันเลย เพราะหาแทบไม่ได้แล้วตามร้านโชว์ห่วยในปัจจุบัน ยิ่งตามห้างสรรพสินค้ายิ่งไม่ต้องพูดถึง

    วันและคืนที่ล่วงเลยผ่านไปได้เปลี่ยนวิถีชีวิตของพวกเขาเหล่านั้น จากร้านขายโชว์ห่วยเล็กๆรวมถึงตลาดที่เป็นศูนย์รวมของร้านรวงต่างๆที่ทำมาค้าขายด้วยน้ำใจและจิตวิญญาณ ถูกแทนที่ด้วยร้านสะดวกซื้อ มินิมาร์ท ซุปเปอร์มาร์เก็ต หรือกลายเป็นห้างสรรพสินค้า ที่ตั้งขึ้นเพื่อขาย ขาย ขาย และก็ขายเพียงอย่างเดียว

    กระนั้นในซอกหลืบการค้าแห่งโลกทุนนิยมที่ถือคติการทำกำไรสูงสุด ก็ยังมีแง่งามแห่งวิถีอดีตสอดแทรกตัวอยู่(บ้าง) เป็นวิถีแห่งตลาดเก่าแก่ที่หลายๆคนมักเรียกขานว่า"ตลาดโบราณ" ที่หากใครได้ไปสัมผัส บางทีอาจจะมีคำถามตามมาว่า "ทำไมเราถึงไม่เกิดในยุคนั้น???"

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=380 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=380>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ตลาดคลองสวน 100 ปี มีพื้นที่ครอบคลุมถึง 2 จังหวัด </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> "ตลาดคลองสวน 100 ปี" ตลาดไม้ควบ 2 จังหวัด

    ตลาดคลองสวน มีลักษณะเป็นห้องแถวเรือนไม้ 2 ชั้น อายุเก่าแก่กว่า 100 ปี ที่ปกคลุมด้วยหลังคาสังกะสี มีระยะทางยาวกว่า 1 กิโลเมตร ตั้งขนานไปตามริมคลองที่ตลบอบอวลด้วยกลิ่นอายของบรรยากาศเก่าๆ แห่งการแลกเปลี่ยนซื้อขาย ณ ริมคลองประเวศน์บุรีรมย์ ที่ครอบคลุมพื้นที่ 2 จังหวัดคือ จังหวัดฉะเชิงเทรา(อ.บ้านโพธิ์ ต.เทพราช) และ จังหวัดสมุทรปราการ (อ.บางบ่อ ต.คลองสวน)

    เดิมนั้นชาวบ้านในบริเวณนี้ต่างใช้ชีวิตที่ผูกพันกับสายน้ำ โดยการเดินทางจากฉะเชิงเทราเข้ากรุงเทพฯต้องใช้เรือเมล์ขาวของนายเลิศที่มีเพียงลำเดียวรับคนจากประตูน้ำท่าถั่ว(ฉะเชิงเทรา) ผ่านตลาดคลองสวน ก่อนจะแล่นเข้าสู่กรุงเทพฯ(วังสระปทุม)

    ตลาดคลองสวนจึงเป็นจุดแวะพักและเป็นศูนย์รวมของชุมชน ดังจะเห็นได้จากสิ่งปลูกสร้างต่างๆ อาทิ โรงเจ วัดสุเหร่า และร้านรวงต่างๆ โดยมีร้านกาแฟเป็นศูนย์รวมของการพบปะและแลกเปลี่ยนข่าวสาร

    หลี แซ่แต้ อายุ 83 ปี หรือแป๊ะหลี เจ้าของร้าน "กาแฟแป๊ะหลี" ในตลาดคลองสวนที่ขายกาแฟมานานถึง 67 ปี เล่าว่า อยู่ที่ตลาดแห่งนี้มาตั้งแต่เกิดจนถึงปัจจุบัน แต่ก่อนเคยขายน้ำแข็งใสใส่น้ำหวาน พอมาช่วงวัยรุ่นก็เปลี่ยนมาขายกาแฟ

    "สมัยนั้นยังไม่มีรถยนต์ใช้จึงต้องนั่งเรือเมล์ขาวของนายเลิศใช้เวลาเดินทางเกือบทั้งวันเพื่อไปซื้อเม็ดกาแฟดิบที่กรุงเทพฯมาคั่ว ตอนนั้นยังคั่วกาแฟไม่เป็น เลยคั่วออกมาคั่วดิบบ้างสุกเกินไปบ้าง แต่ก็ต้องลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง ลุงขายกาแฟมาตั้งแต่แก้วละ 3 สตางค์ ช่วงนั้นถือว่าแพงเหมือนกัน เพราะเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และก็ขายเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันแก้วละ 10 บาท"

    แป๊ะหลีรำลึกอดีต ก่อนจะเล่าถึงวิธีการชงกาแฟในสมัยก่อนว่า จะใช้มือบดเม็ดกาแฟเพราะยังไม่มีเครื่องใช้ไฟฟ้า แต่ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นใช้มอเตอร์บด แต่ร้านของลุงยังคงใช้วิธีชงกาแฟแบบโบราณที่ใช้ถุงผ้าชงอยู่

    "สภากาแฟตอนเช้าๆมีตั้งแต่สมัยก่อนมาจนถึงปัจจุบัน แม้เวลาจะทำให้จำนวนคนที่มาพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อมูลข่าวสารลดน้อยลงตามวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปก็ตาม แต่ก็ยังมีลูกค้ากลุ่มหนึ่งที่เป็นคนเก่าคนแก่ในละแวกนั้นแวะเวียนมาเป็นลูกค้าประจำตอนเช้าๆ ชนิดที่เรียกได้ว่าไม่ต้องสั่งเลยแค่เห็นหน้าก็รู้ว่าจะสั่งอะไรแล้ว"แป๊ะหลีเล่าอย่างอารมณ์ดี

    นอกจากนี้แป๊ะหลียังเล่าถึงตลาดคลองสวนว่า ปัจจุบันตลาดแห่งนี้มีอายุ 106 ปี ตัวตลาดเป็นบ้านไม้ 2 ชั้น ชั้นบนไว้อยู่อาศัย ชั้นล่างเอาไว้ค้าขาย คนที่นี่เป็นคนเก่าคนแก่ที่อยู่กันมาตั้งแต่สมัยโบราณ ยึดอาชีพค้าขายตามแต่จะถนัด แต่ก่อนตลาดแห่งนี้เคยคึกคัก ผู้คนที่มาซื้อหาของต้องสัญจรด้วยเรือพายหรือเรือแจว และคนจะยิ่งเยอะหากวันไหนในตลาดมีลิเก มีการละเล่นต่างๆ หรือมีหนังมาฉายให้ดู แต่เดี๋ยวนี้คนไปมาตลาดแห่งนี้น้อย อาจเพราะการเดินตลาดเป็นสิ่งที่ไม่สะดวกสบายอีกแล้วก็เป็นได้

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=380 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=380>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ที่ตลาดน้ำท่าชาวบ้านจะนัดกันมาซื้อขายทุกวัน ขึ้นและแรม 2, 7, 12 ค่ำ</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ขึ้น-แรม 2, 7, 12 ค่ำ คึกคักกับตลาดน้ำท่าคา

    ตลาดน้ำท่าคา หมู่ที่ 2 ต.ท่าคา อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม เป็นตลาดน้ำที่แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชาวบ้านอย่างแท้จริง จนหลายๆคนยกให้เป็นตลาดน้ำของแท้ที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน ตลาดแห่งนี้มีวิธีการนัดขายของที่ไม่เหมือนใคร เพราะเหล่าพ่อค้าแม่ค้าและชาวบ้านจะพากันมาซื้อขายตามนัด เฉพาะในวันขึ้นและแรม 2 ค่ำ 7 ค่ำ 12 ค่ำของทุกเดือน ตั้งแต่เวลา 08.00 -12.00 น.

    "ที่เป็นเช่นนั้นก็ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่เป็นสิ่งที่ชาวบ้านตำบลท่าคาปฏิบัติสืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว สมัยก่อนชาวบ้านไม่นิยมนับวันเป็นวันจันทร์-อาทิตย์ แต่จะนับกันเป็นข้างขึ้นข้างแรม จึงเป็นที่มาของตลาดนัดตลาดน้ำท่าคา"

    ป้าลัดดา บริบูรณ์ วัย 52 ปีชาวบ้านที่ยึดอาชีพค้าขาย และเรือพาเที่ยวของตำบลท่าคา ท้าวความถึงที่มาของตลาดท่าคา ก่อนจะเล่าต่อว่า สมัยก่อนคนทะเลเอาของทะเลพวกกุ้ง หอย ปู ปลา มาแลกเปลี่ยนกับพวกผัก ผลไม้ จากสวนของชาวบ้านในตำบล จนกลายเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนสินค้าบริโภคซึ่งกันและกันของชาวบ้านท่าคา บ้านไหนมีมะพร้าว บ้านไหนมีส้มโอ มีข้าวสาร หรือมีหอยมีปลา ก็สามารถแลกเปลี่ยนกันได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้เงินตราใดๆ

    เช่นเดียวกับ อุไร สีเหลือง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 ตำบลท่าคา เล่าว่า สมัยก่อนมีเรือมาซื้อขายแลกเปลี่ยนกันเป็นจำนวนมาก ทั้งจากคนในละแวก และจากจังหวัดต่างๆใกล้เคียง เช่น สมุทรสาคร สุพรรณฯ ราชบุรี ทำให้การจราจรทางเรือเนืองแน่นถึงขนาดติดขัด

    แต่เมื่อประมาณปี 2525 เริ่มมีถนนตัดผ่าน ทำให้วิถีชีวิตเหล่านั้นเปลี่ยนไปบ้าง ตลาดน้ำท่าคาที่เคยคึกคักมานานกว่า 100 ปี ตลาดน้ำที่เป็นเสมือนสายธารแห่งชีวิต บัดนี้ลดจำนวนลงมาก ผู้คนหันไปค้าขายที่ตลาดทางบก หลงเหลืออยู่แต่เพียงคนที่เคยดำรงชีวิตและผูกพันกับสายน้ำแห่งนี้อย่างแท้จริงเท่านั้น

    ผู้ใหญ่กล่าวอีกว่า ตอนนี้คิดว่าจะไม่ยุบตลาดท่าคาในรูปแบบเดิม แต่จะจัดนัดเพิ่มในวันเสาร์-อาทิตย์เพื่อเป็นการส่งเสริมและอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมวิถีชีวิตไทยแบบดั้งเดิม ส่งเสริมให้ชาวบ้านมีรายได้ และยังส่งเสริมในด้านการท่องเที่ยวให้ชาวไทยและต่างชาติได้ตระหนักและรับรู้ถึงความเป็นไทยที่ทั่วโลกไม่มี

    "ที่นี่ยังมีบริการบ้านพักแบบ Home Stay ที่นักท่องเที่ยวสามารถสัมผัสบรรยากาศและการดำรงชีวิตจริงๆของชาวบ้านท่าคาได้อย่างเต็มรูปแบบ และยังมีบริการเรือพายพานักท่องเที่ยวล่องน้ำชมวิถีชีวิต เที่ยวสวนผลไม้ ดูการทำน้ำตาลมะพร้าว ยลโฉมเสน่ห์บ้านทรงไทย ตลอดสองฝั่งทาง" ผู้ใหญ่อุไรเล่า

    ถึงแม้วันนี้ ความคึกคักของตลาดท่าคาจะลดน้อยลงมาก เหลือแต่เพียงผู้เฒ่าผู้แก่เท่านั้นที่ยังคงดำรงชีวิตในรูปแบบเดิมที่ยึดถือและปฏิบัติกันมากว่า 100 ปี แต่ทางหมู่บ้านและทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)ก็ได้สนับสนุนและส่งเสริมให้ชาวบ้านรักษาวิถีชีวิตรูปแบบเดิมๆไว้ และพัฒนาตลาดน้ำท่าคามาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เพื่อสงเสริมให้ชาวบ้านมีรายได้และชูความเป็นไทยในสายตานักท่องเที่ยวอีกด้วย จะเห็นได้จากหากวันนัดวันใดตรงกับวันเสาร์หรือ อาทิตย์ จะมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาแวะเยี่ยมชมพอสมควร

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=300 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=300>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ตลาดวิเศษชัยชาญที่บางส่วนถูกไฟไหม้ไปปลายปีที่แล้ว(ภาพ : ททท.)</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ตลาดวิเศษชัยชาญ สืบสานวิถีคนอ่างทอง

    ตลาดวิเศษชัยชาญ อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง นับเป็นหนึ่งในตลาดเก่าแก่อายุกว่า 100 ปี ที่ถึงแม้ว่าบางส่วนของตนลาดแห่งนี้จะถูกไฟไหม้ไปเมื่อปลายปี 2548 แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้มนต์เสน่ห์แห่งวิถีไทยในตลาดวิเศษชัยชาญลดลงแต่อย่างใด

    วิบูลย์ สงวนพงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง เล่าว่า ตลาดวิเศษชัยชาญเกิดขึ้นมาคู่กับเมืองวิเศษชัยชาญเมื่อประมาณร้อยกว่าปีมาแล้ว เป็นชุมชนที่มีชาวจีนอาศัยอยู่เยอะ แต่ก่อนการเดินทางต้องสัญจรไปมาทางเรือเท่านั้น ต่อมมามีถนนตัดผ่าน ตลาดที่เคยอาศัยน้ำก็ลดน้อยลง ตอนนี้ตลาดมี 2 ส่วนเชื่อมต่อกัน คือส่วนที่เป็นอาคารใหม่อยู่ริมถนน และส่วนที่เป็นแบบเก่าอยู่ริมน้ำ

    สำหรับตลาดส่วนที่เป็นแบบเก่านั้น เป็นบ้านไม้ชั้นเดียวบ้าง สองชั้นบ้าง มีโต๊ะ เก้าอี้ หรือรูปแบบอาคารเป็นไม้ฉลุแบบโบราณสวยงามมาก แต่เมื่อปลายปีที่ผ่านมาได้เกิดเหตุไฟไหม้ตลาดแห่งนี้ ทำให้บ้านเรือนที่เป็นเสมือนมรดกทางวัฒนธรรมเสียหายไปบ้างบางส่วน ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายอย่างมาก แต่ถึงบ้านเรือนจะวอดวายไป สิ่งที่ยังเหลืออยู่คือภูมิปัญญาและจิตวิญญาณของชาวบ้านที่ไม่วายวอดตามไปด้วย

    ในปัจจุบันตลาดวิเศษชัยชาญตลาดที่มีจุดเด่นในเรื่องขนมไทยหายาก ยังคงมีการดำเนินชีวิตค้าขายตามเดิม ไม่ได้ปิดร้างไป เนื่องจากไฟไหม้ทำให้เสียหายเพียงบางส่วนเท่านั้น ส่วนเรื่องการฟื้นฟู ได้วางแผนและประสานกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องแล้วอย่างต่อเนื่อง ทำให้การช่วยเหลือและฟื้นฟูเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว คาดว่าแม้การปรับปรุงหรือสร้างบ้านเรือนใหม่จะไม่เหมือนเก่าสักทีเดียว แต่จะทำให้ดีที่สุด จะปลูกเรือนก็ต้องตามใจผู้อยู่ด้วย

    ด้านอาทร จุลโลบล ที่ปรึกษาบริษัทกรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชันแนล จำกัด และประธานบริษัทAutovision & Travel ได้เล่าถึงความรู้สึกที่ได้ไปสัมผัสกับตลาดวิเศษชัยชาญมา ว่า "ตลาดวิเศษชัยชาญเป็นตลาดที่น่าที่จะอนุรักษ์ไว้ เป็นตลาดที่คนกลุ่มหนึ่งย้ายมาอยู่อาศัย ส่วนใหญ่เป็นญาติกัน เมื่อเข้าไปจะได้รับการต้อนรับอย่างยิ้มแย้มแจ่มใส ทุกคนในตลาดช่วยกันทำมาค้าขายไม่ใช่คิดแต่จะขายเฉพาะร้านของตนเอง"

    ตลาดชุมชนนานกว่า 100 ปี มีรูปร่างคล้ายตัว ที (T) ในภาษาอังกฤษ มีซอยเล็กๆหลายซอย ศูนย์กลางของตลาดอยู่บริเวณตรงกลาง ลักษณะเป็นบ้านไม้เก่าที่มีลายฉลุด้วยฝีมือคนไทย มีความผูกพันกันในลักษณะพี่น้อง มีร้านขายของมากมาย เรียกได้ว่ามีขายหมดทุกอย่าง ทั้งตลาดสด ร้านขายขนมไทยโบราณที่หายาก เช่น ขนมกง ขนมสามเกลอ ขนมจ่ามงกุฎ ขนมเสน่ห์จันทร์ ขนมทองเอก ขนมเกสรลำเจียก หรือแม้แต่ร้านทอง ร้านเครื่องใช้ไฟฟ้าก็มีอยู่ในตลาดแห่งนี้

    "ตลาดเป็นที่ท่องเที่ยวอยู่แล้ว ที่ตลาดวิเศษชัยชาญนี้คนชอบไปซื้อขนมเก่าๆที่อาจหาที่อื่นไม่ได้ วิถีชีวิตของตลาดจึงคึกคักอยู่เสมอ" อาทรเล่า

    แต่ปัจจุบันตลาดวิเศษชัยชาญเหลือเพียงความทรงจำที่ยังคงสนุกสนานและครุกรุ่นอยู่ในใจเท่านั้น เนื่องจากเมื่อปลายปีที่ผ่านมาได้เกิดเหตุไฟไม้ ทำให้ตลาดได้รับความเสียหายไปบางส่วน โดยทางจังหวัดอ่างทองกำลังดำเนินการวางนโยบายปรับปรุงฟื้นฟูให้เป็นแบบเดิมเหมือนเมื่อครั้งยังไม่ถูกไฟไหม้ เพื่อให้ตลาดวิเศษชัยชาญกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งหนึ่ง

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=380 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=380>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ตลาดน้ำดำเนินคึกคักไม่ว่างเว้นเพราะมีนักท่องเที่ยวไปเที่ยวชมอยู่เสมอ </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ตลาดน้ำดำเนินสะดวก คึกคักไม่ว่างเว้น

    สำหรับตลาดน้ำที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุด และกลายเป็นหนึ่งในเอกลักษณ์ไทยที่ชาวต่างชาติรู้จักกันดี ก็คือ ตลาดน้ำดำเนินสะดวก อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี ซึ่งด้วยความมีชื่อเสียงโด่งดังทั่วโลกทำให้มีผู้คนแวะเวียนมาตลาดน้ำดำเนินฯปีละหลายแสนคน

    ในอดีตตลาดน้ำดำเนินสะดวกเป็นเพียงตลาดน้ำเล็กๆ ที่ชาวบ้านนำผลผลิตในสวนของตนออกมาแลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายแก่กันและกัน ก่อนจะขยายเป็นตลาดน้ำที่มีขนาดใหญ่ขึ้น

    ปัจจุบันตลาดน้ำดำเนินสะดวกแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับตลาดน้ำท่าคา เพราะตลาดแห่งนี้เมื่อเปลี่ยนเป็นแหล่งท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวทั่วทุกมุมโลก จึงมีการปรับตัวจากการค้าขายอย่างเรียบง่ายตามวิถีชาวบ้าน มาเป็นการค้าขายเชิงพาณิชย์ เน้นสินค้าที่หลากหลายเพื่อเอาใจนักท่องเที่ยว

    ณี รุ่งแจ้งเจริญ อายุ 42 ปี แม่ค้าในตลาดน้ำดำเนินสะดวก เล่าว่า ตนขายขนมเบื้องที่ตลาดแห่งนี้มา 10 ปีแล้ว แต่ก่อนชาวบ้านจะเอาข้าวของมาขายกันเอง แต่พอตลาดแห่งนี้บูมขึ้นก็มีทัวร์มาลงเยอะ โดยเฉพาะช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ โดยปกติตนจะพายเรือขายขนมเบื้องไปมาแถวๆตลาด ช่วงตั้งแต่เช้าถึงเที่ยงของวันจันทร์-ศุกร์จะมีนักท่องเที่ยวมาเรื่อยๆ แต่จะเยอะช่วงวันเสาร์และอาทิตย์ ส่วนมากนักท่องเที่ยวจะเป็นทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ
     
  2. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,455
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,011
    น่าไปหมดทุกที่จริง ๆ ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...