ดูจิตต้องรู้จักจิตด้วยศีล สมาธิ ปัญญา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 26 สิงหาคม 2013.

  1. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    เมื่อพูดถึง "ดูจิต" บุคคลทั่วไปมักคิดถึง "วิปัสสนากรรมฐาน" เป็นกรรมฐานขั้นสูง ที่คิดกันไปเองว่า เป็นการปฏิบัติธรรมกรรมฐานที่ไม่ต้องเสียเวลา ทำ "สมถะกรรมฐานภาวนา" ให้เหนื่อยเปล่า ให้เกิดความเนิ่นช้ากับผู้ปฏิบัติธรรม เป็นวิธีปฏิบัติธรรมแบบสบายๆ ง่ายๆ และลัดสั้น ไม่ทำให้เวลาที่มีประโยชน์ต้องสูญเปล่าไปกับการ "นั่งหลับตาปฏิบัติสมาธิภาวนา" เลย

    ด้วยคิดเองเออเองไปว่า "การนั่งหลับตาปฏิบัติสมาธิภาวนา" นั้น เป็นการเสียเวลา ทรมานตนเองให้เหนื่อยเปล่าบ้างล่ะ เป็นการกดข่มอารมณ์กิเลสไว้บ้างล่ะ เป็นการหลีกหนีปัญหาบ้างล่ะ เป็นของพวกฤาษีชีไพรที่ไร้การศึกษาบ้างล่ะ ฯลฯ

    ยังมีอีกมากมายในข้อกล่าวหาว่าร้ายไว้ก่อน ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว เป็นเพียงอุบายในการหลีกเลี่ยงที่จะปรารภความพียรเพ่ง เพราะความเกียจคร้านในการ "ภาวนา" อย่างจงใจ ที่ไม่เห็นความสำคัญของการ "ภาวนามยปัญญา" นั่นเอง

    โดยขาดการนมสิการ น้อมนำเอาความรู้ความเข้าใจเหล่านั้น มาตรวจสอบ สอบสวน เทียบเคียง กับพระพุทธวจนะ ซึ่งพระพุทธองค์ได้ทรงตรัสไว้ดีแล้ว ใน "มหาประเทศ ๔"

    พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ในพระสูตรต่างๆนั้น โดยมากแล้ว ล้วนทรงสั่งสอนไปในทาง ให้ปรารภเรื่องความเพียร "เพ่งฌาน" อย่าเป็นผู้ประมาท จะได้ไม่เป็นผู้ที่เดือดร้อนในภายหลัง นี่เป็นคำพร่ำสอนของเรา ( พระพุทธเจ้า) แก่เธอ (ภิกษุสงฆ์สาวก) ทั้งหลาย

    ส่วนพระพุทธพจน์ที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสไว้ดีแล้วในมหาประเทศ ๔ มีดังนี้

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุผู้เป็นเถระมากรูปอยู่ในอาวาสโน้น เป็นพหูสูต มีอาคมอันมาถึงแล้ว เป็นผู้ทรงธรรมทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะหน้าพระเถระเหล่านั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา ดังนี้

    พวกเธอไม่พึงชื่นชม ไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้ว พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย

    ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระสูตรไม่ได้ ลงในพระวินัยไม่ได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้มิใช่คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และพระเถระเหล่านั้น จำมาผิดแล้ว ดังนั้น พวกเธอพึงทิ้งคำกล่าวนั้นเสีย

    ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระสูตรได้ เทียบเคียงในพระวินัยได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้เป็นคำของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และพระเถระเหล่านั้น จำมาถูกต้องแล้ว"


    ส่วนพระบาลีที่พระองค์ทรงตรัสกับท่านพระอาจารย์อานนท์ ดังนี้

    "โยโว อานนฺท ธมฺโม จ เทสิโต วินโย จ ปญฺญตฺโต โส มม อจฺจเยน สตฺถา" แปลว่า "ดูก่อนอานนท์ ธรรมและวินัยใด ที่เราได้แสดงแล้ว บัญญัติแล้ว แก่เธอทั้งหลาย ธรรมและวินัยนั้น จักเป็นศาสดาแทนเรา ปกครองท่านแทน เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว"

    เมื่อได้พิจารณาตามพุทธโอวาทแล้ว จะเห็นว่าพระพุทธองค์ทรงให้สอบสวนกับพระธรรมและพระวินัยที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนไว้ เมื่อมีใครนำเอาคำสั่งสอนมาแอบอ้าง ว่านั่นคือพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ว่านั่นคือพระวินัยที่พระพุทธองค์ทรงวางหลักไว้ดีแล้ว อย่าเพิ่งเชื่อ ให้ฟังและศึกษาด้วยดีแล้วนำมาสอบสวนกับพระธรรมและพระวินัยก่อน ว่าลงกันได้หรือไม่

    เมื่อลงกันได้ ควรสมาทานน้อมนำมาปฏิบัติ เพื่อพิสูจน์สัจธรรมความจริงนั้น ให้ประจักษ์แก่ตน แต่กาลกลับเปลี่ยนไปแบบคาดไม่ถึง เพราะอนุชนคนรุ่นใหม่ มักเชื่อโดยเชื่อตามๆกันมา ตามกระแสความศรัทธา ที่เชื่อไปตามนั้น โดยขาดความเฉลียวใจว่า สิ่งที่ศึกษาเรียนรู้หรือได้ยินได้ฟังมานั้น เป็นสิ่งที่ขาดหลักเหตุผล ที่จะให้ตริตรองตามความเป็นจริงได้ โดยเฉพาะเรื่องการปฏิบัติธรรม ศีล สมาธิ ปัญญา

    เรื่อง "ศีล สมาธิ ปัญญา" หรืออีกนัยหนึ่งที่เรียกว่า "อริยมรรคมีองค์ ๘" ชัดเจนว่า เป็น "ทางเดินอันเอกของจิต สู่ความเป็นอริยบุคคล"

    ในครั้งกระนั้น ที่พระพุทธองค์ทรงมีพระสาวกครบ ๖๐ รูป ทรงรับสั่งให้ภิกษุสงฆ์สาวก ให้ออกไปเผยแผ่ในทิศละรูป อย่าได้ซ้อนทางกัน ทรงให้สอน

    ศีล งามในเบื้องต้น
    สมาธิ งามในท่ามกลาง
    ปัญญา งามในบั้นปลาย


    ให้ผู้รับฟังได้เรียนรู้ ศึกษา ลงมือปฏิบัติตาม เพื่อความงดงามใน ศีล สมาธิ ปัญญา อันมีพระพุทธพจน์ได้ทรงรับรองไว้ว่า อย่างนี้ศีล อย่างนี้สมาธิ อย่างนี้ปัญญา...ฯลฯ... และ ปัญญาเกิดเพราะความประกอบ...ฯลฯ... ปัญญาไม่อาจมีขึ้นโดยการนึกคิดเอาเองเลย หรือมีขึ้นโดยฉับพลัน

    "สีล ปริภาวิโต สมาธิ มหปฺผโล โหติ มหานิสงฺโส
    สมาธิ ปริภาวิตา ปญฺญา มหปฺผลา โหติ มหานิสงฺสา
    ปญฺญา ปริภาวิตํ จิตฺตํ สมฺมเทว อาสเวหิ วิมุจฺจติ"


    "สมาธิที่มีศีลอบรมแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่
    ปัญญาที่มีสมาธิอบรมแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่
    จิตที่มีปัญญาอบรมแล้ว ย่อมหลุดพ้นจากเครื่องเศร้าหมองเสียได้ ดังนี้"


    จากพระบาลีข้างต้น จะเห็นว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นอัญญะมัญญะปัจจัย ที่หนุนเนื่องกันให้เจริญ ตามขั้นตอนของการปฏิบัติธรรมกรรมฐาน ที่ควรประกอบ กระทำ โดยอาราธนาศีล เป็นเบื้องต้น เพื่อเกิดความอาจหาญในการปฏิบัติธรรมกรรมฐานภาวนา ให้เกิดขึ้นในท่ามกลาง เพื่อให้จิตมีสติ สงบตั้งมั่น รู้เห็นตามความเป็นจริง เป็นปัญญาที่งดงามในบั้นปลาย

    แต่ในปัจจุบันพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ ที่ถูกพวกนักตำรานิยม ที่มักแอบอ้างนำมาใช้ในทางที่ต้องถือว่า "ผิด" ไปจากความเป็นจริง โดยสอนให้ปฏิบัติ "วิปัสสนากรรมฐาน" ที่ได้เรียนรู้ศึกษาจากตำรา และอัตโนมัติอาจารย์ได้เลย โดยไม่ต้องลงมือปฏิบัติสมถกรรมฐานภาวนา เป็นการขาดความรอบคอบ ไม่นำมาตรวจสอบ สอบสวน เทียงเคียงกับพระธรรมและพระวินัย ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ดีแล้ว

    โดยสอนให้ผู้ศึกษาธรรมรุ่นใหม่ "ปฏิบัติธรรมกรรมฐานวิปัสสนา" ได้เลยโดยตรง ด้วยคิดไปเองว่า ที่ตนเองได้ศึกษา สุตมยปัญญา จินตมยปัญญา เท่าที่ผ่านมาเพียงแค่นี้ ตนเองก็ได้ชื่อว่ามี "สัมมาทิฐิ" เสียแล้ว ...ไม่รู้คิดขึ้นมาได้ยังไง

    ได้มองข้ามขั้นตอนของ "ภาวนามยปัญญา" ที่เป็นขั้นตอนสำคัญ ในการทำให้เกิด "สัมมาทิฐิ" โดยตรง เพราะ "ภาวนามยปัญญา" นั้น เป็นขั้นตอนในการพิสูจน์ว่า สุตะและจินตะที่ตนเรียนรู้ศึกษามานั้น เป็นสิ่งที่ถูกต้องตามความเป็นจริงหรือไม่ เพราะปัญญาไม่อาจเกิดขึ้นเอง จากความรู้สึกนึกคิด (สุตะ-จินตะ)

    มีพระบาลีรับรองไว้ ดังนี้

    "โยคา เว ชายเต ภูริ อโยคา ภูริสงฺขโย เอตํ เทฺวตปถํ ญตฺวา ภวาย วิภาวย จ ตถตฺตานํ นิเวเสยฺย ยถา พูริ ปวทฺฒติ"

    "ปัญญาเกิดขึ้นเพราะความประกอบ ไม่ประกอบ ปัญญาก็หมดสิ้นไป บุคคลรู้ทางแห่งความเจริญ และความเสื่อม ทั้ง ๒ ทางนี้ แล้ว พึงตั้งตนไว้ในทางที่ปัญญาจะเจริญ
    "

    เมื่อพิจารณาจากพระบาลี บุคคลควรรู้ทางแห่งความเจริญ อะไรล่ะที่ควรต้องเจริญ ก็คือ สติ สมาธิ ปัญญา อันเป็นองค์ธรรมสำคัญใน "อริยมรรค" เป็นสิ่งที่ต้องเจริญให้ยิ่งๆขึ้นไปนั่นเอง มรรคเป็นภาเวตัพพะ ต้องเจริญให้เกิดขึ้น เกิดขึ้นเองไม่ได้


    สรุปสุดท้าย ศีลที่งามในเบื้องต้นนั้น ในตอนแรกที่สมาทานนำมาปฏิบัติ ยังเป็นแค่ "ข้อห้าม ข้อควรระมัดระวัง" ต่อเมื่อได้ลงมือปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนาอย่างจริงจัง (ปรารภความเพียรเพ่ง) จนจิตของตนมีกำลัง จาก "ข้อห้าม ข้อควรระมัดระวัง" กลับกลายเป็นงานที่ผู้ปฏิบัติธรรมภาวนา "วิรัติ" งดเว้นได้ ถึงจะยังไม่คงที่ มีเผลอบ้าง แต่จะน้อยลงไปเรื่อยๆ ในการพลั้งเผลอนั้นๆ

    ถ้าจิตมีกำลังมากพอ จนจิตของตนมีสติสงบตั้งมั่น เมื่อนั้นจิตจะรู้เห็นตามความเป็นจริงในอริยสัจ ๔ "สัมมาทิฐิ" ได้เกิดขึ้นแล้ว

    สาระสำคัญของศีล สมาธิ ปัญญา อยู่ที่ธรรมอันเป็นท่ามกลาง ที่ได้ชื่อว่า "สมาธิ" เป็นตัวเชื่อม ที่เชื่อมให้ ศีลและปัญญา เข้าหากัน จนเกิด "มรรคสมังคคี" ขึ้นมาได้ในที่สุด


    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
    ธรรมภูต
     
  2. ผ่อนกรรม

    ผ่อนกรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    63
    ค่าพลัง:
    +400
    ศีล (สติ – สมาธิ) ปัญญา

    ชีวิตไม่ได้มีแต่การภาวนาโดยนั่งหลับตา

    แต่ก็ต้องเริ่มจากการหลับตาก่อน

    แล้วพัฒนาสู่การมี (สติ – สมาธิ) ทั้งในขณะหลับตาและลืมตา

    สติ คือ ตัวเบรกอกุศลไว้ก่อน แบบฉับพลันทันการกระทำและความคิด

    เพื่อรอปัญญาจากความสงบใน(ฌาน - ความว่าง)

    ปัญญาญาน เข้ามาช่วย จึงหยุดทั้งการกระทำและความคิด

    หยุดแล้วไม่เผลอเพราะมี (สติ – สมาธิ)

    ที่ฝึกมาดีแล้วใช้ได้ทั้งในขณะหลับหรือลืมตา

    อยู่ที่การทำงานตามหน้าที่อย่างพร้อมเพียง

    ไม่ได้อยู่ที่ เกิดก่อนหลัง ภาวนามยปัญญา คือปัญญาแตกยอดมาจาก

    ปริยัติและปฏิบัติ(รู้ในธรรมแล้ว ปฏิบัติเห็นจริงแล้ว)

    ปัญญาแตกยอดนี้ก็คือทางสายกลางของแต่ล่ะคนที่ปรับสมดุลในตัวเอง

    จนเกิดผลแห่งการปฏิบัติ

    ถูกผิด โปรดชี้แนะด้วย ^^
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 สิงหาคม 2013
  3. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    ใช่ครับ ชีวิตไม่ใช่มีแต่หลับตา"ภาวนา"

    พิจารณากายในกายเป็นภายในเท่านั้น

    แต่เชื่อมั้ย? คนที่ยังเข้าไม่ถึงกายในกายเป็นภายใน

    ก็อย่าฝันลมๆแล้งไปเลยว่า ลืมตาแล้วจะพิจารณา"ภาวนา"เป็น

    เรื่องของพื้นฐาน ก็คือรากฐานอันสำคัญเพื่อพัฒนาการต่อๆไป

    แต่ส่วนใหญ่แล้ว พื้นฐานยังไม่ได้คือไม่แม่น แต่กลับโม้ไปถึงขั้นเทพโน้น

    เหมือนเรียน "หมอ" อนาโตมี่ยังไม่ผ่าน ก็อย่าหวังจะต่อไปได้เลย.

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  4. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    http://www.fungdham.com/sound/popup-sound/sim/03/popup-

    06.html

    หลวงปู่สิม พุทธาจาโร
    สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่

    พุทโธฝึกสติ 6 เม.ย 26 - ธรรมปฏิบัติ.mp3

    จิตหลง จิตเมา......ที่เที่ยงแท้แน่นอนคือตั้งใจปฏิบัติบูชาภาวนาละกิเลส

    ความโลภ ความโกรธ ความหลงให้เบาบางลงหมดสิ้นไป เมื่อกิเลสหมดสิ้นไป

    มันเที่ยงแท้แน่นอน เที่ยงแท้แน่นอนต่อพระนิพพาน...ฯลฯ


    ************************************************************
    ^
    ^
    อย่าเข้าใจ "ผิด" คำว่า"เที่ยงแท้แน่นอน" นั้น คือ จิต"เที่ยงตรงต่อพระนิพพาน"

    ไม่ใช่ จิต"เที่ยงแท้ถาวร" ที่จัดอยู่ใน "อัตตานุทิฐิ"

    เพราะความเชื่อของพราหมณ์บางจำพวกนั้น

    เชื่อว่าใครเคยเกิดเป็นอะไรมาในชาตินั้นๆ

    แม้นทำบาปอกุศลอย่างหนัก หรือ ทำบุญกุศลอย่างมาก

    เมื่อตกตายไป ได้กลับมาเกิดใหม่ ก็กลับมาเกิดเหมือนเดิมทุกๆภพชาติ

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  5. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    การปฏิบัติสมาธิ ช่วยจรรโลงพระพุทธศาสนาไม่ให้เสื่อมสูญไปได้

    พุทธบริษัทไม่สนใจการปฏิบัติสมาธิ ย่อมเป็นสาเหตุให้พระศาสนาเสื่อมสูญไปได้

    พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงทราบล่วงหน้าด้วยพระปรีชาญาณ ได้ตรัสตอบพระมหากัสสปเมื่อได้กราบทูลถาม ขณะทรงประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร แขวงเมืองพาราณสี ดังมีรายละเอียดดังนี้คือ:

    พระมหากัสสป กราบทูลถามขึ้นว่า:
    “เมื่อพระศาสนาแพร่หลายมากขึ้น พุทธบัญญัติก็มากขึ้นโดยลำดับ เหตุใดภิกษุในศาสนาที่แตกฉานในทางธรรมกลับลดน้อยลง”

    พระบรมศาสดาก็ได้ทรงแสดงมูลเหตุให้ฟังและได้ทรงเน้นว่า :
    “การที่มีผู้นำเอาคำสั่งสอนนอกศาสนามาอ้างอิงว่าเป็นคำสั่งสอนของพระองค์ เป็นมูลเหตุสำคัญอย่างหนึ่ง ที่จะทำให้คุณค่าของศาสนาน้อยลง”

    พระมหากัสสป ได้กราบทูลถามปัญหาต่อไปว่า :
    “พระศาสนาจะสูญสิ้นไปจากโลก ด้วยเหตุใดบ้าง"

    พระบรมศาสดาตรัสตอบว่า :
    สิ่งต่างๆในโลกนี้ จะทำลายศาสนาให้สูญสิ้นไปหาได้ไม่ แต่พุทธบริษัท ๔ เท่านั้น ที่จะทำให้ศาสนาสูญสิ้นไป ด้วยเหตุ ๕ ประการ คือ:

    ๑. พุทธบริษัท ไม่เคารพในพระศาสดาของตน
    ๒. พุทธบริษัท ไม่ตระหนักในธรรม
    ๓. พุทธบริษัท ไม่คารวะต่อสงฆ์
    ๔. พุทธบริษัท ไม่ตั้งใจศึกษาธรรม
    ๕. พุทธบริษัท ไม่สนใจในการทำสมาธิ

    ดังนั้น เราชาวพุทธทั้งหลายจึงควรลงมือปฏิบัติสมาธิอย่างจริงจัง เพื่อจรรโลงพระพุทธศาสนาไม่ให้เสื่อมสูญไปได้.

    BlogGang.com : : ˹���硹Դ����� - ��û�Ժѵ���Ҹ� ���¨���ŧ��оط���ʹ��������������٭�����

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  6. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    วันนี้ว่าด้วยเรื่อง"ศีล"

    พูดถึงศีลแล้ว โดยเฉพาะศีล๕ ใครว่าไม่สำคัญ?

    "อิมานิ ปัญจะ สิกขาปะทานิ เหล่านี้คือสิกขาบทห้าประการ

    สีเลนะ สุคะติงยันติ บุคคลย่อมไปสู่สุคติก็เพราะศีล

    สีเลนะ โภคะสัมปะทา ย่อมถึงพร้อมด้วยโภคะสมบัติก็เพราะศีล

    สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ย่อมไปสูนิพพานก็เพราะศีล

    ตัสฺมา สีลัง วิโสธะเย เพราะฉะนั้นพึงชำระศีลให้หมดจด ฯ"


    จากพระบาลีพร้อมแปล เราจะเห็นว่า แค่ศีล๕นั้นไม่ธรรมดาเลย

    โดยเฉพาะ"นักบวช" หรือ "นักปฏิบัติธรรมฏรรมฐาน" ทั้งหลาย

    เมื่อพูดถึง"ศีล๕" ิชาวบ้านทั่าวไปนั้น เป็นเพียงแค่"ข้อห้าม"

    เพราะกำลังจิตกำลังใจยังอ่อนแอ สืบเนื่องจากยังคลุกเคล้าอยู่กับสังคม

    ส่วน"นักบวช" หรือ"นักภาวนา"นั้น เป็นงานสำคัญที่ต้อง"วิรัติ"ให้ได้

    แต่ปัจจุบันกลับถูกมองข้ามความสำคัญเหล่านี้ไปอย่างน่าเสีดดายมาก

    ไปให้ความสำคัญกับข้อสุดท้ายคือ"วิปัสสนาปัญญา" ที่ชอบอวดกัน

    ซึ่งถ้าขาดพื้นฐานคือ "ศีล๕"เสียแล้ว ก็อย่าได้หวัง"วิปัสสนาปัญญา"เลย

    โดยขาดสำนึกว่า จะทำอย่างไร? ถึงจะมีพลังในการ "วิรัติ" ข้อห้ามเหล่านี้ให้ได้

    การ"วิรัติ"แค่ศีล๕ได้นั้น มีความหมายที่ยิ่งใหญ่ในทางพุทธศาสนามากจริงๆ

    เพราะเป็นก้าวสำคัญ ในการข้ามโคตรที่ไม่มีการย้อนคืนมาอีกแล้ว

    แต่ยังมี "นักบวช" หรือ "นักปฏิบัติธรรมกรรมฐาน"บางหมู่บางเหล่า

    มีศีล๕ที่ "วิบัติ" ย่อยยับคาตากับผู้ประสพพบรู้เห็น ไม่ละอายต่อบาป

    กลับสร้างภาพด้วยบุคคลิกลักษณะที่น่าเชื่อถือ

    พูดจาไพเราะ นุมนวล ชวนหลงไหล ให้เชื่อว่าตนเองได้"อริยแต่งตั้งขึ้นเอง"

    ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วยัง"ขาดความซื่อสัตย์ต่อตนเอง"

    อันเป็นพื้นฐานสำคัญ ใน"การรักษาศีล๕"ให้บริบูรณ์ได้เลย

    และไม่มีภูมิรู้ ภูมิธรรมที่ถูกต้องเที่ยงตรงต่อ"พระนิพพาน"ในเบื้องหน้า

    "นักปฏิบัติธรรมกรรมฐาน"คนรุ่นใหม่กลับมองข้ามความสำคัญนี้ไปอย่างน่าเสียดายจริงๆ

    คนถ้าลองขาดความซื่อสัตย์ต่อตนเอง อันมีความสำคัญเป็นเบื้องต้นเสียแล้ว

    ก็อย่างหวังความก้าวหน้าในภูมิรู้ ภูมิธรรม จากการ"ปฏิบัติภาวนา"ได้เลย

    เพราะเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากศีล๕นั้น เมื่อเทียบกับ"อาบัติปราชิก"แล้ว

    มีเข้าไปตั้งกี่ข้อที่เกี่ยวข้องกับ"อาบัติ"ที่ทำให้ขาดจาก"ความดีแบบถาวร"

    เจริญในธรรมที่สมควรแก่ธรรมทุกๆท่าน
     
  7. hastin

    hastin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +3,084
    ท่าน ธรรมภูต ครับ

    รบกวนสอบถามข้อมูลเรื่อง "อาบัติ"ที่ทำให้ขาดจาก"ความดีแบบถาวร" ครับ

    ขอบคุณครับ
     
  8. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    .....พูดจาส่อเสียด นี่...ผิดศิลมั้ยครับ? ....คุณอาว์...
     
  9. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    หลานรัก...

    คนเรานี้ชั่งแปลกแต่จริงนะ

    การพูดจาแบบตรงไปตรง ไม่อ้อมค้อมกลับกลายเป็นพูดส่อเสียดไป

    ส่วนที่พูดหวานปานน้ำผึ้ง แต่แอบแดกดันแบบน่าเกียจในวาจาพาทีที่สร้างภาพ

    กลับกลายเป็นความสุภาพน่าชื่นชม ที่ปนยาพิษ ถึงกับชีวาวายได้

    ทุกวันนี้จึงได้หา "คนที่ยังซื่อสัตย์ต่อตนเอง"ยากเข้าไปทุกที ก็อย่างนี้นี่เอง

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กันยายน 2013
  10. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    ครับ..."อาบัติ"ที่ทำให้ขาดจาก"ความดีแบบถาวร"

    เรามาดูที่อาบัติ "ปาราชิก" ใครที่โดนเข้า ไม่ว่า"นักบวช" หรือ"ฆารวาส"

    บุคคลคนนั้น ได้ชื่อว่า"ตัดขาดจากความดีแบบถาวร"

    โดยมากหลงคิดเองเออเองว่า ใช้เฉพาะ"นักบวช"เท่านั้น

    ต้องถือว่าความคิดนั้น "ผิด" ลองเทียบเคียง ตรวจสอบ สอบสวนดู

    อาบัติ"ปาราชิก" กับศีล๕ที่ "นักบวช"หรือ"นักภาวนา"ต้อง"วิรัติ"ดูครับ

    มีตรงกันตั้งกี่ข้อ บุคคลที่กล้าระเมิด"ศลี๕" โดยไม่เกรงกลัวต่อบาป

    บุคคลคนเช่นนั้น มีหรือที่จะไม่ทำชั่ว เมื่อไม่มีใคร "เห็น"

    ขนาดเห็นๆอยู่ มันยังกล้าที่จะละเมิดเลย แล้วลับหลังละ จะเหลือหรือ?

    ส่วนความหนักเบาของการต้องโทษความชั่วนั้นๆ

    ต่างกันไประหว่าง"นักบวช" กับ"ฆารวาส"ตาดำๆ

    "นักบวช" แค่ไถยจิตคิดไป แล้วมีคนเข้าใจตามนั้นได้ เสร็จสมบูรณ์ครับ

    เจริญในธรรมที่สมควรแก่ธรรมทุกๆท่าน
     
  11. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    ปาราชิก อาบัติหนักขาดจากความเป็นภิกษุ แก้ไขไม่ได้ เป็นเรื่องของวินัยสงฆ์

    ท่านห้ามมรรคผลเสีย หมายถึง เมื่อต้องกรรมหนักแล้ว ขาดจากเพศพรหมจรรย์

    แต่ทำคืนได้ด้วยการสิกขาลาเพศเสีย อาบัตินั้นจักไม่ติดตัวไปในเพศฆารวาส

    จากนั้น เจริญมรรคผล ย่อมสำเร็จได้อยู่

    มีในพระสูตรแสดงไว้ ว่ามีภิกษุต้องปารมชิก ปฏิบัติก็ไม่สบายใจ เกิดไม่ผ่องใส จิตใจเร่าร้อน สำนึกบาปเนืองๆ

    พระพุทธองค์ให้สิกขาเสีย จากเพศบรรชิต จากนั้นภิกษุรูปนั้นกลับมาบวชใหม่โดยถือเพศสามเณร เพียรไม่นานก็บรรลุมรรคผล

    อีกข้อ ปาราชิกไม่เกี่ยวอะไรกับ ศีล ๕

    เพราะ พระวินัย เป็นเรื่องการถือเพศพรหมจรรย์ ทำที่สุดแห่งทุกข์

    ก็พิจารณาดู ว่า อะไรเป็นฆ่าศึกต่อพรหมจรรย์บ้าง อะไรเป็นวิสัยของนักบวช อะไรเป็นวิสัยของบุถุชน

    ทีนี้ ขึ้นชื่อว่าศีล ท่านหมายเอาที่เจตนา วิรัติ งดเว้น ละ หรือ เว้นขาดเสีย

    ศีล ๕ จัดเป็นข้อวัตรพื้นฐานในการดำเนินชีวิตอย่าผาสุข

    ท่านหมาย ยั้งอกุศลระดับหยาบ ทำกายสุจริต วาจาสุจริต มโนสุจริตให้บริบูรณ์

    อีกข้อ การล่วงศีล ๕ ท่านไม่ได้กล่าวว่า ผู้นั้นจะไม่สามารถบรรลุมรรคผล

    สมัยหนึ่งพระคุลีมาร ๑ ฯลฯ ซึ่งก็ทำกรรมหนัก ฆ่ามนุษย์เป็นจำนวนมาก

    ต่อมาคิดจะฆ่ามารดาตน ซึ่งเป็นอนันตนิยกรรมได้ พระพุทธองค์ทรงเสด็จไปสอนธรรม

    ไม่นานองค์คุลีมารก็เกิดดวงตาเห็นธรรม

    ลองคิดดูว่า พระพุทธองค์ไม่เสด็จไปโปรด องค์คุลีมารย่อมทำการฆ่ามารดา สำเร็จอนันตนิยกรรม ยากแก่การเยียวยา ห้ามสวรรค์ ห้ามมรรค แน่นอน

    ข้อนี้เปรียบเทียบกันในระดับความเข้าใจเรื่องศีล ว่าระดับศีลพื้นฐาน และระดับการล่วงในระดับต่างๆ ผลย่อมแตกต่างออกไป

    คำว่า สีลโค สีลสุนัข จัดเป็นสีลพรตปารมาส เพราะยึดมั่น

    สำคัญผิด ว่าการกระทำอย่างนี้ทำให้บริสุทธิจากกิเลส เป็นทางแห่งพระนิพพานอย่างยอดเยี่ยม

    บ้างก็เลยเถิด เป็นเรื่องขลัง เป็นเรื่องอัตตาทิฏฐิมานะเข้าไปยึดถือ

    อันที่จริงแล้ว ศีล๕นั้น ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับปาราชิก เพราะเป็นเรื่องฆารวาสครองตน กับ พระครองตน

    ให้ดูที่การขาดจากพรหมจรรย์ การเข้าไปข้องในกามคุณอันไม่ใช่วิสัย

    ซึ่งบุถุชนมีการเสพกามเป็นปกติ ยินดีในสี กลิ่น รส เป็นปกติ

    หากจะละก็ต้อง เขยิบตนจากศีลวัตร มาเป็นอธิจิต ความสงบระงับในการมณ์ที่พอใจไม่พอใจ

    ความเป็นผู้มีปัญญา ใส่ใจ สังเกตุสภาวะธรรมต่างๆ ซึ่งเป็นระดับปัญญาภาวนาต่อไป.
     
  12. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    อีกข้อการเห็นว่า การละเมิดศีล ๕ คือ การขาดจากความดีถาวร

    ความคิดนี้จัดเป็น สสัตทิฏฐิ เห็นว่าเที่ยงขึ้นมา ไม่สามารถแปรเปลี่ยนได้

    เช่น เห็นว่า บุคลทำความดีแล้ว มีความดีเป็นถาวร ย่อมสู่สุคติแบบถาวร เขาผู้นั้นจะไปตกอบายอีก หรือจะไม่เกิดอกุศลกรรมแน่นอน

    หรือ บุคคลผู้ล่วงบาปแล้ว ย่อมสู่ทุคติอบายภูมิแบบถาวร ก็ไม่ต้องผุดต้องเกิดกันพอดี

    อันที่จริง ผู้ล่วงบาปแล้ว เดือดร้อนในบาปแล้ว ต่อมาสำนึกได้ ทำกุศลจิตให้เกิดเนืองๆ

    ก็สามารถพ้นภัยได้ เป็นไปตามเหตุปัจจัย และตรงกับสภาธรรมไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

    ตัวอย่างมีให้ดูเยอะแยะ โจรกลับใจบ้าง เทวทัตถวายกระดูคางเป็นพุทธบูชาขณะธรณีสูบบ้าง

    พระพุทธองค์ทรงพย่กรณ์ไว้ว่า อนาคตพระเทวทัตจะได้เป็นพระปัจเจก

    เพราะฉนั้น ผู้ที่เคยล่วงศีลหากสำนึกได้ สร้างเหตุปัจจัย ทำความเห็นให้ถูกต้อง เพียรทำกุศลให้ปรากฏเนืองๆก็มีสุคติเป็นที่หมายได้
     
  13. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    ใจร่มๆก่อน ^^

    แม้ครั้งที่หนึ่ง เหตุกล่าวนี้ ท่านเห็นด้วยตาหรือ ท่านเอาอะไรมากล่าว

    แม้ครั้งที่สอง เหตุกล่าวนี้ ท่านเห็นด้วยตาหรือ ท่านเอาอะไรมากล่าว

    แม้ครั้งที่สาม เหตุกล่าวนี้ ท่านเห็นด้วยตาหรือ ท่านเอาอะไรมากล่าว

    นางขุชชุตตรา เป็นสตรีรูปค่อม เป็นธิดาของแม่นมของโฆษกเศรษฐีผู้เป็นบิดาเลี้ยงของพระนางสามาวดีซึ่งต่อมาได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าอุเทน กษัตริย์กรุงโกสัมภีนางขุชชุตตราได้รับมอบหมายจากเศรษฐีให้เป็นหญิงรับใช้ประจำตัวของพระนางสามาวดีตั้งแต่ยังสาว ต่อมาเมื่อพระนางได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าอุเทนและเข้าไปอยู่ในราชสำนักแล้วนางขุชชุตตราก็ได้ติดตามไปรับใช้ด้วยพระเจ้าอุเทนพระราชทานเงินค่าดอกไม้แก่พระนางสามาวดีวันละ 8 กหาปณะ ซึ่งพระนางได้มอบหมายให้นางขุชชุตตราเป็นผู้จัดซื้อดอกไม้ และนางขุชชุตตราก็ได้ยักยอกเงินค่าดอกไม้วันละ 4 กหาปณะ ซื้อมาเพียง 4กหาปณะเท่านั้นเป็นประจำทุกวัน วันหนึ่ง คนขายดอกไม้ทำบุญถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน เมื่อนางขุชชุตตราได้ช่วยจัดเตรียมภัตตาหารถวายและได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าก็ได้บรรลุโสดาปัตติผล วันนั้นนางได้ซื้อดอกไม้ทั้ง 8 กหาปณะมาถวายพระนางสามาวดี ทำให้พระนางสามาวดีเกิดความสงสัยจึงซักถาม นางขุชชุตตราก็ได้รับสารภาพ และเล่าเรื่องที่ตนได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าจนเข้าใจแจ่มแจ้งและบรรลุโสดาปัตติผลแล้วพระนางสามาวดีมีความสนพระทัยใคร่อยากฟังธรรมที่นางขุชชุตตราได้ฟังแล้ว จึงให้นางขุชชุตตราอาบน้ำแต่งตัวอย่างดี ปูอาสนะให้นั่งแสดงธรรมแก่พระนางและหญิงบริวารดังที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง เมื่อจบการแสดงธรรม หญิงเหล่านั้นทั้งหมดบรรลุโสดาปัตติผล พระนางจึงแสดงคารวะและตรัสให้นางขุชชุตตราไม่ต้องทำงานอีกต่อไป ให้นางอยู่ ในฐานะเป็นผู้นำธรรมะของพระพุทธเจ้ามาแสดงทุกวันซึ่งนางก็ได้ปฏิบัติเป็นประจำ ทำให้นางเป็นผู้มีความแตกฉานในธรรมมีความเชี่ยวชาญในธรรมเป็นอย่างยิ่ง พระพุทธเจ้าทรงยกย่องนางขุชชุตตราว่า”เป็นเลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลาย ผู้เป็นธรรมกถึก คือ " ผู้แสดงธรรม "


    จริงอยู่ ศีลมีอยู่ทุกศาสนา พุทธ พราหม์ คริสต์ แขก ก็มีศีล

    แต่ทำไมพระท่านจึงกล่าวว่า ย่อมไปสูนิพพานก็เพราะศีล หนอ

    ช่วยให้ความกระจ่ายด้วย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กันยายน 2013
  14. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    พระวจนะ" (เมื่อพระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ที่อุทยานอัมพลัฎฐิกา ในราชอาคาร ทรงกระทำธรรมมีกถา เป้นอันมากแก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้ว่า)---ศิล เป็นอย่างนี้ สมาธิเป็นอย่างนี้ ปัญญา เป็นอย่างนี้ สมาธิ ที่ศิลอบรมแล้ว ย่อมมีผลใหญ่มีอานิสงคืใหญ่ ปัญญา ที่สมาธิอบรมแล้วย่อมมีผลใหญ่มีอานิสงค์ใหญ่ จิต ที่ปัญญาอบรมแล้ว ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายโดยชอบเทียว คือ พ้นจาก กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ--มหา.ที.10/96/76...
     
  15. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ................จริงจริงเจตนา จขกท ดี นะครับ แต่ ไม่กว้างขวางพอ...เพราะพระท่านมีบอกไว้แล้วว่า .."มรรคใด ปฎิปทาใด เป็นไปเพื่อความสิ้นแห่งตัณหา ก็ ให้เจริญ มรรค และปฎิปทา นั้น"....ต้อง ใจกว้างหน่อยครับ..
     
  16. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    ขยาย ^^

    สุจริต ๓ เป็นเหตุให้ .....ฯลฯ บริบูรณ์

    สุจริต ๓ คือ กายสุจริต วาจาสุจริต มโนสุจริต

    มาจาก กุศลกรรมบถ ๑๐

    กายกรรม มี 3 อย่าง คือ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม

    วจีกรรม มี 4 คือ ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ

    มโนกรรม มี 3 คือ ไม่โลภอยากได้ของเขา ไม่พยาบาทปองร้าย เห็นชอบตามคลองธรรม

    ลงกับ วิรตี๓ คือสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ

    ทีนี้มันก็มีขั้นตอนของปฏิบัติอีก คือ

    ปาติโมกขสังวรณ์

    อินทรีย์สังวร

    อาชีวะปาริสุทธิ

    ปัจเวกขณะ

    สี่ข้อนี้ เป็นปัจจัยให้สติปัฏฐานเกิดได้

    หากไม่เข้าใจ ก็สำคัญผิด ยึดมั่นศีลสมาทาน แล้วอยู่กับเฉยๆไม่ทำอะไร แล้วสำคัญว่าศีลบริบูรณ์ดีอยู่ ข้อนี้ก็เห็นผิด

    ซึ่งศีล ต้องมีเจตนาวิรัส งดเว้น เว้นเฉพาะหน้า เว้นขาด

    เวลาเจอเหตุการณ์เฉพาะห้าให้ล่วงศีล แล้วยั้งได้ สังรวมได้ คุณของศีลก็เกิดในสมัยนั้น
     
  17. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    ที่จริงไม่ได้มีเจตนาสร้างเวร

    เพียงเห็นว่า นักดูจิตกำลัง ส่งจิตออกนอกไปเพ่งโทษชาวบ้าน ลามไปถึงสงฆ์

    ไปตัดสินให้เพี้ยนไปจะเป็นกรรมได้

    โดยไปกล่าวตู่ กล่าวหาโดยไม่มีมูล ข้อนี้อันตรายหากผู้ถูกกล่าวหามีคุณ

    อีกข้อ คำว่า สีมาสัมเภท การวางจิตเสมอกัน ไม่ว่าเป็นมิตร เป็นศัตรูหรือตนเอง

    ไม่เพ่งออกนอก เพียรพิจารณานามรูป ธรรมในตนและธรรมผู้อื่นเสมอกัน จึงได้รสอุเปกขา

    หากส่งนอก แล้วไหลไปตามอามรณ์ ก็ผิดวัตถุประสงค์ มองไม่เห็นภัยอกุศลในนามรูปที่เกิดเฉพาะหน้านั้น

    ก็ทักกันสมควรแก่ธรรม
     
  18. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    ดูจิตดูด้วยสติ เกิด โลภะ โทสะ โมหะ ก็ให้มีสติรู้ ธรรมที่มันแวบเข้ามาสู่จิตไวเหมือนสายฟ้าแลบ เรากำจัดออกด้วยศีล สมาธิ ปัญญา เมื่อมีสติและสมาธิ การกำจัดทุกข์จะเป็นไปเร็วโดยอัตโนมัติ หมั่นให้ทาน อนุโมทนาบุญ บูชาบุคคลที่ควรบูชา เป็นสัมมาทิฏฐิ เป็นผู้มีความเพียร มีสติประคองจิตไว้ จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ พิจรณาสภาวะธรรมด้วยสติและปัญญา ไม่ประมาท!
     
  19. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    พระวจนะ" ภิกษุทั้งหลาย มรรคใด ปฎิปทาใด เป็นไปเพื่อความสิ้นแห่งตัณหา พวกเธอจงเจริญซึ่งมรรคนั้นปฎิปทานั้น...............ภิกษุทั้งหลาย มรรคนั้น ปฎิปทานั้น เป็นอย่างไรเล่า นั้นคือ โพชฌงค์เจ็ด กล่าวคือ สติสัมโพชฌงค์ ธัมวิจัยสัมโพชฌงค์ วิริยะสัมโพชฌงค์ ปิติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชเงค์---------------(ประโยชน์แห่งมรรคและปฎิปทาในสูตรนี้ ทรงแสดงเป็น ความสิ้นแห่งตัรหา ในสูตรอื่นทรงแสดงเป้นความดับแห่งตัรหา ก็มี) (เมื่อตรัสดังนี้แล้ว ท่านพระอุททายิทูลถามว่า เจริญโพชฌงค์เจ็ดนั้น ด้วยวิธีอย่างไร---ตรัสว่า) อุทายิ ภิกาุในกรณีนี้ เจริย สติสัมโพชฌงค์ ธัมวิจัยสัมโพชฌงค์ วิริยะสัมโพชฌงค์ ปิติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ชนิดที่อาสัย วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ เป็นดพชฌงค์อันไพบูลย์ ถึงวึ่งคุรอันใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีความลำบาก เมื่อเจริญสติสัมโพชฌงค์ อย่างชนิดนี้อยู่ ตัรหาย่อมละไป เพราะตัรหาละไป กรรมก็ละไป เพราะกรรมละไป ทุกข์ก็ละไป อุทายิด้วยอาการอย่างนี้แล ความสิ้นกรรมย่อมมีเพราะความสิ้นตัรหา ความสิ้นทุกขืเพราะมีความสิ้นกรรม แล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2013
  20. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    -ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง มรรคอันเป็นส่วนเจาะแทงกิเลส (นิพเพธภาคิย) เธอทั้งหลายจงฟังให้ดี มรรคอันเป็นส่วนเจาะแทงกิเลสนั้นเป้นอย่างไรเล่า คือ สัมโพชฌงคืเจ้ด เจ็ดคืออะไรเล่า เจ็ดคือ สติสัมโพชฌงค์ ธัมวิจัยสัมโพชฌงค์ วิริยะสัมโพชฌงค์ ปิติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงคื อุเบกขาสัมโพชฌงค์ (ตรัสดังนี้แล้ว ท่านพระอุทายิได้ทูลถามว่า การเจริญทำให้มากซึ่งโพชฌงค์เจ็ด อันมีส่วนแห่งการเจาะแทงกิเลส นั้นเจริญอย่างชนิดใหนกันเล่า พระเจ้าข้า ตรัสว่า)---อุทายิ ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ ธัมวิจัยสัมโพชฌงค์ วิริยะสัมโพชฌงค์ ปิติสัมโพชฌงคื ปัสสัทธิสัมดพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ชนิดที่อาสัยวิเวก อาสัยวิราคะ อาสัยนิโรธ เป็นโพชฌงค์อันไพบูลย์ ถึงซึ่งคุรอันใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีความลำบาก ภิกษุนั้น ด้วยจิตมีสติสัมโพชฌงค์ ธัมวิจัยสัมโพชฌงค์ วิริยะสัมโพชฌงค์ ปิติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันเจริญแล้ว ย่อมเจาะแทง ย่อมทำลาย วึ่งกองแห่งโลภะ อันยังไม่เคยเจาะแทง อันยังไม่เคยทำลาย ย่อมเจาะแทง ย่อมทำลาย ซึ่งกองแห่งโทสะ อันยังไม่เคยเจาะแทงอันยังไม่เคยทำลาย ย่อมเจาะแทง ย่อมทำลาย ซึ่งกองแห่งโมหะ อันยังไม่เคยเจาะแทง อันยังไม่เคยทำลาย ...อุทายิ โพชฌงค์เจ้ด เจริยอย่างนี้แล ทำให้มากอย่างนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อ การเจาะแทงกิเลส แล--มหาวาร.สํ.19/123-124/449-454..
     

แชร์หน้านี้

Loading...