ดับราคะ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย รสมน, 14 ตุลาคม 2009.

  1. รสมน

    รสมน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,451
    ค่าพลัง:
    +2,047
    การจะดับกามราคะได้อย่างสิ้นเชิงไม่เกิดอีกเลยต้องอบรมเจริญปัญญาจน

    บรรลุเป็นพระอนาคามีบุคคล หรือพระอรหันต์เท่านั้น ส่วนการอบรมเจริญ

    สมถภาวนาเป็นเพียงการข่มกามราคะได้ชั่วคราวเท่านั้น การเจริญอสุภกรรมฐาน

    หรือกายคตาสติ ซึ่งเป็นกรรมฐานที่เป็นข้าศึกโดยตรงต่อกามราคะ จะต้องอบรมจน

    มีกำลังมากๆ บ่อยๆเนื่องๆ เป็นอาจิณ ย่อมข่มกามราคะได้ชั่วคราว การระลึกรู้

    สภาพธรรมทุกอย่างที่ปรากฏตามความเป็นจริง( สติปัฏฐาน) ย่อมดับกามราคะได้
    เป็นสมุทเฉท ไม่เกิดอีกเลย (พระอนาคามี)
    ตามหลักคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แสดงไว้ว่าข้าศึกโดยตรง
    ของกามราคะ ก็คือการพิจารณาอสุภะกรรมฐาน หรือกายคตาสติ การพิจารณา
    ร่างกาย (อาการ๓๒) โดยความเป็นปฏิกูล คือไม่งาม ถ้าพิจารณาให้เห็นตาม
    ความจริงแล้วจะไม่พบความสวยงาม หรือสิ่งที่น่ายินดีในร่างกายนี้เลย ตั้งแต่หัว
    จรดเท้าเต็มไปด้วยของไม่สะอาด เช่น เส้นผม ทั้งกลิ่นทั้งสีของเส้นผมก็ไม่งาม
    มีกลิ่นเหม็น เจ้าของต้องสระต้องบำรุงต่างๆ นาๆ สังเกตเวลาเราเห็นตามร้าน
    ตัดผมหรือที่หลุดมาจากหัวคนแล้ว ทุกคนจะรังเกียจ เวลากินอาหารถ้ารู้สึกว่ามี
    เส้นผมอยู่ที่อาหาร เราก็จะต้องนำออกไปด้วยความรังเกียจ ถ้าเอาไปเผาไฟยิ่งมี
    กลิ่นเหม็น และสิ่งที่หล่อเลี้ยงเส้นผมอยู่ คือน้ำเลือดน้ำหนอง นี่ยกตัวอย่างแค่
    เส้นผมเพียงอย่างเดียว อาการอื่นๆ ของร่างกายก็ไม่งามเหมือนกัน และร่างกาย
    นี้มีช่องเก้าช่อง เป็นที่ไหลเข้าไหลออกแห่งของไม่สะอาดเนืองนิจ คือ ที่ตาทั้ง
    สองข้างก็มีแต่ของสกปรก ที่หูก็เช่นกัน ช่องปากยิ่งเหม็นมาก ทวารเบาทวาร
    หนักก็มีแต่ของที่ไม่สะอาดไหลออกอยู่เนืองๆ ซึ่งในรายละเอียดจะศึกษาได้จาก
    พระไตรปิฎก

    การพิจารณาโดยความเป็นของปฏิกูล ย่อมข่มกามราคะได้เพียงชั่วคราวเท่า
    นั้น เมื่อไม่พิจารณา กามราคะย่อมเกิดขึ้นอีกได้ แต่การอบรมเจริญสติปัฏฐาน
    จนบรรลุความเป็นพระอนาคามีบุคคล สามารถดับกามราคะได้เป็นสมุทเฉท คือ
    ไม่เกิดอีกเลย เพราะฉะนั้น ควรอบรมสติปัฏฐาน เพื่อการดับกิเลสทั้งหมดไม่
    เพียงแต่กามราคะเท่านั้น
    จะพยายามบังคับยับยั้งให้ลดลงนั้น บังคับไม่ได้ ธรรมะทั้งหลายเป็นอนัตตา
    การที่ภาวะกำหนัด ซึ่งเป็นโลภะอย่างหยาบเกิดขึ้นได้นั้น ก็เพราะมีเหตุปัจจัย มีการ
    สะสมมามากจนนับไม่ได้ว่ากี่กัปป์ เกิดขึ้นจนชำนาญ เกิดขึ้นเป็นอัตโนมัติ ไม่ต้องชัก
    ชวนเลย

    ในเมื่อกำหนัดเกิดขึ้นได้ สติก็เกิดขึ้นได้เช่นกัน มาศึกษา มาฟังพระธรรมอัน
    ประเสริฐที่พระผู้มีพระภาค ฯ ทรงเพียรแสดงอนุเคราะห์สัตว์โลกถึง 45 พรรษา การฟัง
    นี้จะเป็นปัจจัยให้ผู้ฟังเกิดความเห็นถูก เกิดโยนิโสมนสิการ คิดได้ถูกต้องตรงสภาพ
    จริง และเป็นปัจจัยให้เกิดสติได้

    ฟังแล้วฟังอีก อ่านแล้วอ่านอีก สติมีโอกาสเกิดได้ อกุศลธรรมทั้งหลายจะถูก
    ขัดเกลาไปด้วยธรรมะฝ่ายตรงข้าม คือ กุศลธรรม

    ขอชื่นชม ที่ท่านเห็นว่าอกุศลธรรมเป็นสิ่งไม่ดี คิดแสวงหาวิธีการที่ดี เพื่อขจัด
    ยับยั้ง และเลือกที่จะมาค้นหาที่นี่.
    ธรรมที่เป็นข้าศึกของกามราคะก็คือ อสุภะ การพิจารณาซากศพ หรือการพิจารณา
    อาการ ๓๒ โดยความเป็นของปฏิกูล เมื่อพิจารณาโดยแยบคาย ย่อมบรรเทาหรือระงับ
    ได้ชั่วคราว

    พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 318

    เหตุละกามฉันท์

    ส่วนกามฉันท์นั้น จะละได้ก็ด้วยโยนิโสมนสิการ (การใส่ใจโดย

    แยบคาย) ในอสุภนิมิต. สิ่งที่ไม่งามก็ดี อารมณ์ที่ไม่งามก็ดี. ชื่อว่า อสุภนิมิต.

    การใส่ใจโดยอุบาย การใส่ใจถูกทาง การใส่ใจในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าไม่เที่ยง ใน

    สิ่งที่เป็นทุกข์ว่าทุกข์ ในสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนว่าไม่ใช่ตัวตน หรือในสิ่งที่ไม่งามว่าไม่

    งาม ชื่อว่า โยนิโสมนสิการ. เมื่อภิกษุทำโยนิโสมนสิการนั้นให้เป็นไปมาก ๆ

    ในอสุภนิมิตนั้น ย่อมละกามฉันท์เสียได้. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

    จึงตรัสไว้ (ในสังยุตตนิกาย มหาวารวรรค) ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสุภนิมิต

    มีอยู่ การทำให้มาก ๆ ซึ่งโยนิโสมนสิการในอสุภนิมิตนั้น นี้เป็นอาหาร เพื่อ

    ความไม่เกิดแห่งกามฉันท์ที่ยังไม่เกิด หรือเพื่อละกามฉันท์ที่เกิดแล้ว.
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=2 width="100%" align=center><TBODY><TR bgColor=#eeeeee><TD height=22></TD><TD align=right height=22><INPUT class=nostyle type=checkbox align=absMiddle value=2 name=c_sel[2]> </TD></TR><TR><TD bgColor=#cccccc colSpan=2 height=1></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=8 width=580 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top bgColor=#ffffff><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD> ผู้ที่จะดับความกำหนัด คือ ความติดข้องในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ได้หมดสิ้น

    ต้องถึงความเป็นพระอริยบุคคลขั้นพระอนาคามี แต่สำหรับผู้ที่เป็นปุถุชนนั้น การจะเห็นโทษ

    ของกามได้เป็นสิ่งที่กระทำได้ยาก หากไม่ใช่ด้วยปัญญาที่เห็นโทษของโลภะในชีวิตประจำวัน

    ก็ไม่สามารถจะไประงับ บังคับ ควบคุม ไม่ให้โลภะเกิดได้เลย ทุกคนมีจิตเห็น แล้ววันหนึ่งๆ ก็

    เห็นในสิ่งต่างๆ กัน ไม่เหมือนกัน บางคนเห็นสิ่งที่น่าใคร่ บางคนเห็นสิ่งที่ไม่น่าใคร่ ไม่มีใคร

    บังคับไม่ให้เห็นได้ เพราะมีปัจจัยให้ต้องเห็นด้วยผลของกรรม แต่หลังเห็น มักจะเป็นอกุศล

    ก็เป็นสิ่งที่ควรจะเข้าใจในความเป็นจริงของการสะสมว่า ในแสนโกฏิกัปป์ที่ผ่านมา หลังเห็นเป็น

    อกุศลมากต่อเนื่องกันหลายวาระ เพราะอะไร ? ถ้าไม่ใช่เพราะยังมีอนุสัยกิเลส ที่เป็นเชื้อให้

    อกุศลเกิดแล้วเกิดอีก แล้วก็สะสมใหม่เรื่อยๆ สังสารวัฏฏ์จึงได้ยืดยาว...เพราะเหตุฉะนี้

    เห็นอย่างอื่นที่ไม่ใช่ clip VDO สติเกิดขึ้นไหม ปัญญารู้ไหมว่าจิตเป็นอะไร กุศลหรือ

    อกุศล ปัญญารู้ถึงความไม่สงบของจิต หรือปัญญารู้ว่าก็เป็นสภาพธรรมหนึ่งเท่านั้น หรือว่าเป็น

    เราที่พอใจในรูปที่น่าใคร่ซึ่งเพียงปรากฏทางตาแล้วก็ดับไป หรือว่าเป็นเราที่เดือดร้อน กระสับ

    กระส่าย ไม่สบายใจ หลังจากการเห็นนั้นเกิดและดับไปแล้วหลายวาระ

    พระโสดาบันก็ยังมีกิเลส คือ โลภะ โทสะ โมหะ แต่ท่านไม่เดือดร้อนใจว่ายังมีท่าน

    หรือเป็นท่านแพ้ - ชนะกิเลสของท่าน แต่ปัญญาที่เกิดกับจิตของพระโสดาบันนั้นเอง เข้าใจ

    กิเลสตามความเป็นจริงว่า ไม่ใช่ท่าน และไม่ใช่ของท่าน ที่ต้องเกิดเพราะยังมีอนุสัยอยู่ ซึ่ง

    จะต้องเป็นกิจของโลกุตตรปัญญา ที่จะต้องดับจนเป็นสมุจเฉท ตามขั้นของโลกุตตรมรรคที่ได้

    บรรลุ เพราะฉะนั้น ขอให้ฟังพระธรรมและเจริญปัญญาต่อไปให้ค่อยๆ มั่นคงในธรรมะ</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    การที่จะลดความติดข้องในกามลงได้นั้น ก็ต้องเห็นโทษของกามค่ะ เพราะแม้

    ความสุขในกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ก็ไม่เที่ยง ( เมื่อไม่เที่ยงจึงเป็นทุกข์ )

    เป็นเหตุให้ไม่หยุดการแสวงหา ทั้งในทางที่ชอบและมิชอบ การศึกษาพระธรรม (เพื่อ

    ความเข้าใจชีวิตอย่างแท้จริง) เป็นหนทางเดียวเท่านั้น ที่จะละคลายความติดข้องยินดี

    ได้ เพราะเมื่อไม่รู้ว่าทุกข์คืออะไร... จึงต้องการที่จะได้เหตุที่นำมาซึ่งทุกข์อยู่เรื่อยๆ
    ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

    การที่จะให้ผล ก็ต้องทำกรรม อย่างเช่น เรื่องนี้ เขากล่าวมุสาวาท ด้วยการ

    สาบาน ดังนั้น กรรมจึงให้ผล เพราะการกล่าวคำมุสาวาทครับ ซึ่งการแช่ง

    บุคคลอื่น ไม่จำเป็นที่จะเป็นไปตามคำแช่งของคนนั้น เพราะสัตว์ทั้งหลายมี

    กรรมเป็นของๆตน ถ้าเขาทำกรรมดี จะแช่งให้ไปสู่ที่ไม่ดีหรือได้รับสิ่งไม่ดีก็

    ไม่ได้ ถ้าเขาทำกรรมชั่วจะอวยพร ให้เขาได้รับสิ่งที่ดีดีเพราะกรรมนั้นก็ไม่

    ได้ สัตว์ทั้งหลายจึงมีกรรมเป็นของๆตน
    อธิษฐาน คือ การตั้งจิตมั่น คือใช้เรื่องการทำความดี เช่น อธิษฐานบารมี

    สาบาน คือ การกล่าวแช่งตัวเองให้เป็นไปในเรื่องไม่ดีถ้าตนทำเช่นนั้น
     

แชร์หน้านี้

Loading...