ฐานะการงานของคฤหัสถ์และบรรพชิต มีกิจน้อย เมื่อเป็นสมบัติ ย่อมมีผลมาก

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย thepkere, 15 กันยายน 2012.

  1. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    ทรงโปรดสุภมาณพ
    [๗๐๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก
    เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. สมัยนั้น สุภมาณพโตเทยยบุตรอาศัยอยู่ในนิเวศน์ของคฤหบดีผู้
    หนึ่ง ในพระนครสาวัตถี ด้วยกรณียกิจบางอย่าง. ครั้งนั้น สุภมาณพโตเทยยบุตร ได้กล่าวกะ
    คฤหบดีที่ตนอาศัยอยู่ในนิเวศน์ของเขานั้นว่า ท่านคฤหบดี ข้าพเจ้าได้สดับมาดังนี้ว่า พระนคร
    สาวัตถี ไม่ว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลายเลย วันนี้เราจะพึงเข้าไปนั่งใกล้สมณะ หรือพราหมณ์
    ผู้ไหนหนอ?
    คฤหบดีได้กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
    ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ท่านจงเข้าไปนั่งใกล้พระผู้มีพระภาคพระองค์
    นั้นเถิด.
    [๗๑๐] ลำดับนั้น สุภมาณพโตเทยยบุตรรับคำคฤหบดีนั้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
    ถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง
    ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. แล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ท่านพระโคดม พราหมณ์ทั้งหลาย
    กล่าวกันอย่างนี้ว่า คฤหัสถ์เท่านั้นเป็นผู้ยินดีกุศลธรรมเครื่องนำออกไปจากทุกข์ บรรพชิตไม่เป็น
    ผู้ยินดีกุศลธรรมเครื่องนำออกไปจากทุกข์ ในเรื่องนี้ ท่านพระโคดมตรัสว่าอย่างไร?

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมาณพ ในเรื่องนี้ เราแยกออกกล่าว เราไม่รวมกล่าว เรา
    พรรณนาการปฏิบัติผิดของคฤหัสถ์ หรือของบรรพชิต ดูกรมาณพ จริงอยู่ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต
    ปฏิบัติผิดแล้ว ย่อมชื่อว่าเป็นผู้ไม่ยินดีกุศลธรรมเครื่องนำออกไปจากทุกข์ เพราะเหตุแห่งอธิกรณ์
    คือการปฏิบัติผิด ดูกรมาณพ เราพรรณนาการปฏิบัติชอบของคฤหัสถ์ หรือของบรรพชิต จริงอยู่
    คฤหัสถ์ หรือบรรพชิตปฏิบัติชอบแล้ว ชื่อว่าเป็นผู้ยินดีกุศลธรรมเครื่องนำออกไปจากทุกข์
    เพราะเหตุแห่งอธิกรณ์คือการปฏิบัติชอบ.

    ฐานะการงานของคฤหัสถ์และบรรพชิต
    [๗๑๑] สุ. ท่านพระโคดม พราหมณ์ทั้งหลายกล่าวกันอย่างนี้ว่า ฐานะแห่งการงาน
    ของฆราวาส มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีอธิกรณ์มาก มีการเริ่มมาก ย่อมมีผลมาก (ส่วน)
    ฐานะแห่งการงานฝ่ายบรรพชา มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีอธิกรณ์น้อย มีการเริ่มน้อย
    ย่อมมีผลน้อย ในเรื่องนี้ท่านพระโคดมตรัสว่าอย่างไร?

    พ. ดูกรมาณพ แม้ในเรื่องนี้ เราก็แยกออกกล่าว เราไม่รวมกล่าว ดูกรมาณพ ฐานะ
    แห่งการงานที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีอธิกรณ์มาก มีการเริ่มมาก เมื่อวิบัติ มีผลน้อย
    มีอยู่ ฐานะแห่งการงานที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีอธิกรณ์มาก มีการเริ่มมาก เมื่อเป็น
    สมบัติ มีผลมากมีอยู่ ฐานะแห่งการงานที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีอธิกรณ์น้อย มีการ
    เริ่มน้อย เมื่อวิบัติ มีผลน้อยมีอยู่ ฐานะแห่งการงานที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีอธิกรณ์
    น้อย มีการเริ่มน้อย เมื่อเป็นสมบัติ มีผลมากมีอยู่.

    [๗๑๒] ดูกรมาณพ ฐานะแห่งการงานที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีอธิกรณ์มาก
    มีการเริ่มมาก เมื่อวิบัติ ย่อมมีผลน้อย เป็นไฉน ดูกรมาณพ ฐานะแห่งการงาน คือ การไถ
    ที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีอธิกรณ์มาก มีการเริ่มมาก เมื่อวิบัติ ย่อมมีผลน้อย. ส่วน
    ฐานะแห่งการงานที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีอธิกรณ์มาก มีการเริ่มมาก เมื่อเป็นสมบัติ
    ย่อมมีผลมาก เป็นไฉน ฐานะแห่งการงาน คือ การไถนั่นแล ที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก
    มีอธิกรณ์มาก มีการเริ่มมาก เมื่อเป็นสมบัติ ย่อมมีผลมาก. อนึ่ง ฐานะแห่งการงานที่มีความ
    ต้องการน้อย มีกิจน้อย มีอธิกรณ์น้อย มีการเริ่มน้อย เมื่อวิบัติ ย่อมมีผลน้อย เป็นไฉน
    ฐานะแห่งการงาน คือ การค้าขาย ที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีอธิกรณ์น้อย มีการ
    เริ่มน้อย เมื่อวิบัติ ย่อมมีผลน้อย. ส่วนฐานะแห่งการงานที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย
    มีอธิกรณ์น้อย มีการเริ่มน้อย เมื่อเป็นสมบัติ ย่อมมีผลมาก เป็นไฉน ฐานะแห่งการงาน คือ
    การค้าขายนั่นแล ที่มีความต้องการน้อย มีอธิกรณ์น้อย มีกิจน้อย มีความเริ่มน้อย เมื่อเป็น
    สมบัติ ย่อมมีผลมาก.

    [๗๑๓] ดูกรมาณพ เปรียบเหมือนฐานะคือกสิกรรม ที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก
    มีอธิกรณ์มาก มีความเริ่มมาก เมื่อวิบัติ ย่อมมีผลน้อย ฉันใด ฐานะแห่งการงานของฆราวาส
    ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีอธิกรณ์มาก มีการเริ่มมาก เมื่อวิบัติ
    ย่อมมีผลน้อย. ฐานะคือกสิกรรมนั่นแล ที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีอธิกรณ์มาก มี
    การเริ่มมาก เมื่อเป็นสมบัติ ย่อมมีผลมาก ฉันใด ฐานะแห่งการงานของฆราวาสก็ฉันนั้นเหมือน
    กัน ที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีอธิกรณ์มาก มีการเริ่มมาก เมื่อเป็นสมบัติ ย่อมมีผล
    มาก. การงานคือการค้าขาย ที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีอธิกรณ์น้อย มีการเริ่มน้อย
    เมื่อวิบัติ ย่อมมีผลน้อย ฉันใด ฐานะแห่งการงานฝ่ายบรรพชาก็ฉันนั้นเหมือนกัน ที่มีความ
    ต้องการน้อย มีกิจน้อย มีอธิกรณ์น้อย มีการเริ่มน้อย เมื่อวิบัติ ย่อมมีผลน้อย. ฐานะแห่ง
    การงานคือการค้าขายนั่นแล ที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีอธิกรณ์น้อย มีการเริ่มน้อย
    เมื่อเป็นสมบัติ ย่อมมีผลมาก ฉันใด
    ฐานะแห่งการงานฝ่ายบรรพชาก็ฉันนั้นเหมือนกัน ที่มี
    ความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีอธิกรณ์น้อย มีการเริ่มน้อย เมื่อเป็นสมบัติ ย่อมมีผลมาก.


    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๓
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
    หน้าที่ ๔๙๑/๕๑๘ข้อที่ ๗๐๙ - ๗๑๓


    อธิกรณ์ เรื่องที่เกิดขึ้นแล้วจะต้องจัดต้องทำ , เรื่องที่สงฆ์ต้องดำเนินการ มี ๔ อย่าง คือ ๑. วิวาทาธิกรณ์ การเถียงกัน เกี่ยวกับพระธรรมวินัย ๒. อนุวาทาธิกรณ์ การโจทหรือกล่าวหากันด้วยอาบัติ ๓. อาปัตตาธิกรณ์ การต้องอาบัติ การ ปรับอาบัติ และการแก้ไขตัวให้พ้นจากอาบัติ ๔. กิจจาธิกรณ์ กิจธุระต่าง ๆ ที่สงฆ์จะต้องทำ เช่น ให้อุปสมบท ให้ผ้า กฐิน , ในภาษาไทย อธิกรณ์มีความหมายเลือนลางลงและแคบเข้า กลายเป็น คดีความ โทษ เป็นต้น


    อธิกรณ์
    น. เหตุ, โทษ, คดี, เรื่องราว. (ป., ส.).
    http://www.palungjit.org/dict/search.php?search_sid=0&kword=%CD%B8%D4%A1%C3%B3%EC
     
  2. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    งานทางโลก ค้าขาย ดีกว่า กสิกรรม ใน รายได้เท่ากัน
    งานทางธรรม บรรพชิต ดีกว่า คฤหัสถ์ ใน การบรรลุธรรมเหมือนกัน

    ดีกว่าตรง งานเบา ว่าง มีโทษน้อย เตรียมการน้อย
     
  3. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    ใครอ่านแล้วได้มุมมองตรงไหนเข้ามาให้ความรู้ เพิ่มเพื่อประโยชน์กับหลายๆคนและกับตัวผมเองด้วย
     

แชร์หน้านี้

Loading...