"ญาณ ๑๖" ซึ่งจะนำไปสู่ความเป็นพระอริยะบุคคลระดับ "พระโสดาบัน"

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Sittirat, 13 กรกฎาคม 2006.

  1. Sittirat

    Sittirat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +821
    สำหรับผู้ที่เจริญสติในแบบ " สติปัฏฐาน ๔" นั้น เมื่อจิตตั้งมั่นแก่กล้าดีแล้ว จะเกิด "ญาณ ๑๖" ซึ่งจะนำไปสู่ความเป็นพระอริยะบุคคลระดับ "พระโสดาบัน" นั่นเอง

    *หมายเหตุ การที่จะได้มาซึ่ง "ญาณ ๑๖" นั้น จะต้องได้มาในขณะเจริญสติในแบบ "สติปัฏฐาน ๔" เท่านั้น ไม่ใช่มานั่งอ่านนั่งท่องเอา แล้วมาสำคัญตนเองผิดคิดว่าตนเองเป็น "พระโสดาบัน" นะครับ*

    *๑) "กาย" เรียกว่า "กายานุปัสนา" กำหนดสติให้อยู่ที่
    - ลมหายใจเข้าออก
    - อิริยาบท (ยืน-เดิน-นั่ง-นอน)
    - สัมปชัญญะ (อิริยาบทย่อย)
    - ปฏิกูล (ผม-ขน-เล็บ-ฟัน-หนัง)
    - ธาตุ ๔ (ดิน-น้ำ-ลม-ไฟ)
    - สิ่งที่มากระทบกายเช่น (เย็น-ร้อน อ่อน-แข็ง ตึง-ไหว)
    ๒) "เวทนา" เรียกว่า "เวทนานุปัสนา" กำหนดสติให้อยู่ที่ ขณะนั้นจิตเสวยอารมณ์แบบใด "อารมณ์สุข-อารมณ์ทุกข์-อารมณ์เฉย"
    ๓) "จิต" เรียกว่า "จิตตานุปัสนา" กำหนดสติให้อยู่ที่ ขณะนั้นจิตเสวยอารมณ์แบบใด "อารมณ์โลภ-อารมณ์โกรธ-อารมณ์หลง-อารมณ์เฉย"
    ๔) "ธรรม" เรียกว่า "ธรรมมานุปัสนา" กำหนดสติให้อยู่ที่ สิ่งที่มากระทบ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ว่าเป็นแบบใด "รูปธรรม-นามธรรม"

    หมายเหตุ = การกำหนดสติแบบ "สติปัฏฐาน ๔" นั้น ไม่จำเป็นจะต้องกำหนดทั้ง "กาย-เวทนา-จิต-ธรรม" ทั้งหมด แต่ให้เราเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งที่เราถนัด ที่เป็นที่นิยมกันมากที่สุดคือ กำหนดสติให้อยู่ที่ "ลมหายใจเข้าออก" ทุกขณะจิต


    *วิปัสสนาญาณ หมายถึง ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นว่าขันธ์ ๕ เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือ เห็นประจักษ์แจ้งซึ่ง ไตรลักษณ์ แห่งรูปนาม

    เมื่อเจริญสติในแบบ "สติปัฏฐาน ๔" นั้น จนจิตตั้งมั่นแก่กล้าดีแล้ว จะเกิด "ญาณ ๑๖"

    "ญาณ ๑๖" หรือ "โสฬสญาณ"

    ญาณ ๑. นามรูปปริจเฉทญาณ
    - ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นรูปเห็นนามว่าเป็นคนละสิ่งคนละส่วน ซึ่งไม่ได้ระคนปนกันจนแยกกันไม่ได้
    - การรู้จักจำแนกรูปและนาม อันเป็นสิ่งที่ถูกรู้หรือเป็นอารมณ์เครื่องระลึกของสติออกจากจิตผู้รู้

    ญาณ ๒. ปัจจยปริคคหญาณ
    - ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นถึงปัจจัยที่ให้เกิดรูป เกิดนาม คือ รูปเกิดจาก กรรม จิต อุตุ อาหาร ส่วนนามเกิดจาก อารมณ์ วัตถุ มนสิการ
    - รู้ว่ารูปหรือนามปรากฏเป็นคราวๆ เมื่อจิตไปรู้มันเข้า

    ญาณ ๓. สัมมสนญาณ
    - ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นไตรลักษณ์ คือ ความเกิดดับของรูปนาม แต่ที่รู้ว่ารูปนามดับไปก็เพราะ เห็นรูปนามใหม่เกิดสืบต่อแทนขึ้นมาแล้ว เห็นอย่างนี้เรียกว่า สันตติยังไม่ขาดและยังอาศัยจินตามยปัญญาอยู่ อีกนัยหนึ่งว่า สัมมสนญาณ เป็นญาณที่ยกรูปนามขึ้นสู่ไตรลักษณ์
    - รู้ว่ารูปนามทั้งปวงนั้นปรากฏเป็นคราวๆ เมื่อถูกรู้ และรูปนามทั้งปวงนั้นล้วนหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัย ตกอยู่ใต้กฎของไตรลักษณ์

    ญาณ ๔. อุทยัพพยญาณ
    - ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นไตรลักษณ์ชัดเจน โดยสันตติขาด คือ เห็นรูปนามดับไปในทันทีที่ดับ และเห็นรูปนามเกิดขึ้นในขณะที่เกิด หมายความว่า เห็นทันทั้งในขณะที่เกิดและขณะที่ดับ อุทยัพพยญาณนี้ยังจำแนกได้เป็น ๒ คือ ตรุณอุทยัพพยญาณ เป็นญาณที่ยังอ่อนอยู่ และพลวอุทยัพพยญาณ เป็นญาณที่แก่กล้าแล้ว
    - รู้ว่ารูปนาม และปฏิกิริยาของจิตต่อรูปนามที่จิตไปรู้เข้า ล้วนแต่เกิดดับต่อเนื่องกันไป

    ญาณ ๕. ภังคญาณ
    - ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นความดับแต่อย่างเดียว เพราะความดับของรูปนามเป็นสิ่งที่ตื่นเต้นกว่าความเกิด
    - ต่อมาพอจิตมีปฏิกิริยาใดๆ ต่อสิ่งที่จิตไปรู้เข้า ถ้าสติสัมปชัญญะบริบูรณ์ ปฏิกิริยานั้นจะดับไปทันที

    ญาณ ๖. ภยญาณ บ้างก็เรียกว่า ภยตูปัฏฐานญาณ
    - ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นว่ารูปนามนี้เป็นภัย เป็นที่น่ากลัว เหมือนคนกลัวสัตว์ร้าย เช่น เสือ เป็นต้น
    - ผู้ปฏิบัติจะเห็นว่า ภพชาติทั้งปวง อันหมายถึงการที่จิตเข้าไปอิงอาศัยอารมณ์ต่างๆ นั้น เป็นของไม่ปลอดภัย เนื่องจากอารมณ์ทั้งปวงล้วนแต่เกิดดับ

    ญาณ ๗. อาทีนวญาณ
    - ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นว่ารูปนามนี้เป็นโทษ เหมือนผู้ที่เห็นไฟกำลังไหม้เรือนตนอยู่ จึงคิดหนีจากเรือนนั้น
    - ในระหว่างที่อิงอาศัยอารมณ์นั้น จิตไม่ได้มีความสุขจริง เพราะภพชาติทั้งปวงล้วนแต่มีทุกข์มีโทษในตัวของมันเอง

    ญาณ ๘. นิพพิทาญาณ
    - ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นว่า เกิดเบื่อหน่ายในรูปนาม เบื่อหน่ายในปัญจขันธ์
    - จิตคลายความเพลิดเพลินพึงพอใจในภพชาติต่างๆ

    ญาณ ๙. มุญจิตุกมยตาญาณ
    - ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นว่าใคร่จะหนีจากรูปนาม ใคร่จะพ้นจากปัญจขันธ์ เปรียบดังปลาเป็น ๆ ที่ใคร่จะพ้นจากที่ดอนที่แห้ง
    - จิตพยายามดิ้นรนแสวงหาทางออกจากภพหรือการตกอยู่ใต้อำนาจของอารมณ์ต่างๆ

    ญาณ ๑๐. ปฏิสังขาญาณ
    - ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นเพื่อหาทางที่จะหนี หาอุบายที่จะเปลื้องตนให้พ้นจากปัญจขันธ์
    - จิตพบว่าหนีจากอารมณ์หรือภพไม่ได้ เพราะมันไม่อยู่ในอำนาจบังคับของเรา จึงจำเป็นต้องอยู่กับมัน

    ญาณ ๑๑. สังขารุเบกขาญาณ
    - ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นว่า จะหนีไม่พ้นจึงเฉยอยู่ไม่ยินดียินร้าย ดุจบุรุษอันเพิกเฉยในภริยาที่ทิ้งขว้างหย่าร้างกันแล้ว
    - จิตเป็นกลางต่ออารมณ์ เพราะเห็นแล้วว่ามันเป็นของเกิดดับ และหนีมันไม่ได้ ยิ่งพยายามไปปฏิเสธมัน ยิ่งเป็นทุกข์มากขึ้น จิตจึงไม่ปฏิเสธอารมณ์ เป็นกลางต่ออารมณ์

    ญาณ ๑๒. อนุโลมญาณ
    - ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นให้คล้อยไปตามอริยสัจจญาณนี้เรียกว่า สัจจานุโลมิกญาณ ก็ได้
    - จิตปล่อยวางอะไรจะเกิดมันก็เกิด ไม่ได้ปรารถนาแม้กระทั่งมรรคผลนิพพาน

    ญาณ ๑๓. โคตรภูญาณ
    - ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นพระนิพพาน ตัดขาดจากโคตรปุถุชนเป็นโคตรอริยชน
    - เมื่อจิตหมดความอยาก (ไม่มีตัณหา - พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้ละตัณหาอันเป็นตัวสมุทัย แล้วนิโรธจะปรากฏเอง) จิตก็ปล่อยวางอารมณ์ทั้งปวง ถอยเข้าหาจิตผู้รู้อย่างอัตโนมัติ

    ญาณ ๑๔. มัคคญาณ
    - ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นพระนิพพาน และตัดขาดจากกิเลสเป็นสมุจเฉทประหาร
    - สติ สมาธิ ปัญญา และธรรมฝ่ายการตรัสรู้ทั้งปวง รวมลงที่จิตดวงเดียวเป็นมรรคสมังคี กำลังของมรรคแหวกมโนวิญญาณซึ่งห่อหุ้มปิดบังธรรมชาติอันบริสุทธิ์ออก

    ญาณ ๑๕. ผลญาณ
    - ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นพระนิพพานโดยเสวยผลแห่งสันติสุข
    - ธรรมชาติอันบริสุทธิ์ปรากฏตัวขึ้น เป็นความว่าง สว่าง บริสุทธิ์ จิตหมดความปรุงแต่ง หมดการแสวงหา หมดกิริยาของจิต แต่ไม่ใช่หมดความรู้สึกอันเป็นการขาดสติสิ้นเชิง

    ญาณ ๑๖. ปัจจเวกขณญาณ
    - ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นใน มัคคจิต,ผลจิต,นิพพาน, กิเลสที่ละแล้ว และกิเลสที่ยังคงเหลืออยู่ ตั้งแต่ญาณที่ ๓ สัมมสนญาณ จนถึงญาณที่ ๑๒ อนุโลมญาณ รวม ๑๐ ญาณ นี้เรียกว่า วิปัสสนาญาณ เพราะสัมมสนญาณนั้น เริ่มเห็นไตรลักษณ์แล้วบางแห่งก็จัดว่า วิปัสสนาญาณ มีเพียง ๙ คือ นับตั้งแต่ญาณที่ ๔ อุทยัพพยญาณ จนถึงญาณที่ ๑๒ อนุโลมญาณ เพราะอุทยัพพยญาณเป็นญาณแรกที่รู้เห็นไตรลักษณ์ ด้วยปัญญาชนิดที่เรียกว่า ภาวนามยปัญญา โดยตรงโดยไม่ต้องอาศัย จินตามยปัญญาเข้ามาช่วย
    - ต่อมาสัญญาเกิดขึ้น จิตจะรู้ว่า เมื่อครู่นั้นเกิดอะไรขึ้น รู้จักพระรัตนตรัยที่แท้จริง รู้แล้วว่าทางปฏิบัติที่ถูกต้องเป็นอย่างไร รู้ว่าสิ่งทั้งปวงเกิดขึ้นแล้วต้องดับไปทั้งสิ้น เป็นไปตามเหตุปัจจัย เมื่อยังอยู่กับโลกก็ต้องอยู่อย่างสร้างเหตุดี เพื่อเอาผลของกรรมดีเป็นที่อาศัยอันสบาย

    *ตลอดสายของโสฬสญาณ ไม่มีเรื่องของนิมิตแปลกปลอมใดๆ เลย แต่ผู้ใดเจริญสติและสัมปชัญญะไม่ถูกต้อง หลงทำสมถะอยู่แล้วคิดว่าเป็นวิปัสสนา จะหลงไปเอานิมิตมาอธิบายเป็นวิปัสสนาญาณ และเห็นญาณต่างๆ ขาดจากกันเป็นท่อนๆ ไม่เห็นความสืบต่อเป็นสายโซ่ของญาณทั้ง ๑๖ ขั้นตอน


    พระอริยะบุคคลได้มี 4 ประเภท ดังนี้

    พระอริยะบุคคลประเภทที่ 1. พระโสดาบันบุคคล คือท่านผู้ที่เพียรปฏิบัติวิป้สสนากรรมฐาน จนวิปัสสนาญาณบังเกิดขึ้น ทั้ง 16 ญาณ
    เป็นครั้งแรก ทำให้กิเลสต่างๆ เบาบางอย่างมากมายและสามารถละกิเลสได้อย่างสิ้นเชิง 3 ประการ ในสัญโญชน์ 10
    ประการ คือ
    1.1 สักกายทิฐิสัญโญชน์ คือการยึดถือเป็นตัวตนผิดๆ ในรูปนามนั้นๆ
    1.2 วิจิกิจฉาสัญโญชน์ คือความสงสัยใน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือความสงสัยในสิ่งต่างๆ จนฟุ้งซ่าน
    จนควบคุมจิตใจไม่อยู่เป็นบ่อเกิดโรคจิต โรคนอนไม่หลับ โรคหวาดระแวงโดยไร้สาเหตุ โรควิตกกังวัลจนผิดปกติ
    รวมความแล้วคือสงสัยลังเลจนเลยเถิด
    1.3. สีลัพพตปรามาสสัญโญชน์ คือการถือข้อวัตรปฏิบัติผิดไม่ถูกทาง
    มากล่าวถึงคำว่าสัญโญชน์ 10 ก็คือกิเลสหรืออนุสัยกิเลสที่นอนสงบนิ่งอยู่ในจิต
    เมื่อมีสิ่งอื่นใดมากระตุ่นหรือกวนให้กิเลสนี้กระจายขึ้นมากลายเป็น ราตะ โทษะ และโมหะ ให้เห็นทั้งทางใจ ทางวาจา
    และทางร่างกาย มี 10 ประการดังนี้
    1 สักกายทิฐิสัญโญชน์ คือการยึดถือเป็นตัวตนผิดๆ ในรูปนามนั้นๆ
    2 วิจิกิจฉาสัญโญชน์ คือความสงสัยใน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
    3. สีลัพพตปรามาสสัญโญชน์ คือการถือข้อวัตรปฏิบัติผิดไม่ถูกทาง
    ทั้ง 3 ประการข้างบนพระโสดาบัน ละได้อย่างเด็ดขาด
    4. กามราคะสัญโญชน์ คือการมีกามราคะ
    5. ปฏิฆะสัญโญชน์ คือความขุ่นเคือง ความโกรธ
    ทั้ง 5 ประการข้างบนพระอนาคามี ละได้อย่างเด็ดขาด
    6. รูปราคะสัญโญชน์ คือความยินดีในรูปภพ
    7. อรูปราคะสัญโญชน์ คือความยินดีในอรูปภพ
    8. มานะสัญโญชน์ คือความถือตัว
    9. อุทธัจจะสัญโญชน์ คือความที่จิตฟุ้งไป ไม่สามารถตั้งอยู่อารมณ์เดียวได้นาน
    10. อวิชชาสัญโญชน์ คือสภาพไม่รู้ ความมืดหลงของจิต หรือ โมหะ
    ทั้ง 10 ประการพระอรหัน ละได้อย่างเด็ดขาด
    เมื่อท่านทั้งหลายทราบถึง สัญโญชน์ 10 ประการแล้ว ก็จะมากล่าวถึงคุณวิเศษของพระโสดาบันต่อ ดังมีอยู่ในพระสูตรหนึ่ง
    พระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบให้ทราบถึงกิเลส และความทุกข์ที่เหลือของพระโสดาบันกับปุถุชน ให้เข้าใจดังนี้
    มีอยู่ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าทรงตรัสบอกกับพระภิกษุว่า
    "ภิกษุทั้งหลายเธอจงหยิบเศษดินบนแผ่นดินมาหนึ่งกำมือ"
    เมื่อภิกษุหยิบเศษดินขึ้นมาหนึ่งกำมือแล้ว พระพุทธเจ้าทรงตรัสถามว่า
    "เธอทั้งหลายจงเปรียบเทียบดูจำนวนเศษดินที่อยู่ในมือ กับแผ่นดินต่างกันมากใช่ไหม่?"
    พระภิกษุตอบว่า "ใช่ครับ" พระพุทธเจ้าจึงอธิบายให้ทราบ
    "เศษดินที่อยู่ในมือเธอเปรียบเสมือนกิเลสที่เหลืออยู่ของพระโสดาบันบุคคล
    แต่แผ่นดินนั้นเปรียบเสมือนกิเลสที่มีอยู่ของปุถุชนทั้งหลาย ดังนั้นความทุกข์เร้าร้อนที่พระโสดาบันได้รับ
    ย่อมน้อยกว่าปุถุชนมากมายจนประมาณไม่ได้"

    คุณวิเศษที่พระโสดาบันได้รับมีดังนี้
    1. สามารถเข้าผลสมาบัติตามฐานของพระโสดาบันได้
    2. จะไม่ไปเกิดในอบายภูมิ คือ สัตว์เดรัชฉาน เปรต อสุรกาย และสัตว์นรก อีกเลย เพราะกิเลสที่จะก่อให้เกิดทำอกุศลกรรม
    ที่ร้ายแรงที่ต้องให้ไปเกิดในอบายภูมิ ย่อมไม่มีอีกแล้ว
    3. จะเกิดในภพมนุษย์ หรือ สวรรค์ หรือ พรหม ตามบุญกุศล หรือตามกำลังสมาธิ ของแต่ละท่าน
    4. จะมาเกิดในภพมนุษย์อย่างมากที่สุดไม่เกิด 7 ชาติ ก็จะบรรลุเป็นพระอรหันเข้าสู่พระนิพพาน

    ประเภทของพระโสดาบันบุคคลแบ่งได้ 3 ประเภท
    1. เอกพิชีโสดาบัน คือจะกับมาเกิดในโลกมนุษย์เพียงชาติเดียว แล้วปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานต่อจนบรรลุเป็นพระอรหัน
    แล้วดับขันธ์ปรินิพพานในชาตินั้น
    2. โกลังโกละโสดาบัน คือท่านที่จะมาเกิดบนโลกมนุษย์อีก 2 ถึง 3 ชาติ แล้วมีโอกาศได้บรรลุเป็นพระอรหัน
    ดับขันธ์สู่พระนิพพาน
    3. สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน คือท่านที่จะมาเกิดบนโลกมนุษย์ มากกว่า 3 ชาติ แต่ไม่เกิน 7 ชาติ
    แล้วมีโอกาศบรรลุเป็นพระอรหัน ดับขันธ์นิพพาน


    พระอริยะบุคคลประเภทที่ 2. พระสกิทาคามี คือพระอริยะบุคคลที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานครบ 16
    ญาณในรอบแรกแล้วแล้วยังเพียรกำหนดวิปัสสนากรรมฐานต่อ จนวิปัสสนาญานบังเกิดขึ้นในรอบที่ 2 ตั้งแต่ญาณที่ 4
    อุทยัพพยญาณจนญานที่ 12 อนุโลมญาณ
    ชึ่งวิปํสสนาญาณนั้นเกิดขึ้นอย่างละเอียดออ่นแจ่มแจ้งกว่าสภาวญาณที่เคยฝ่านมาแล้ว และติดตามด้วย โวทานะ
    โวทานะแทนโคตรภูญาณ เพราะท่านเป็นอริยะบุคคลแล้ว หลังจากนั้นบรรลุถึงพระสกิทาคามีมรรค และเมื่อฝ่านตลอดทั้ง
    16 ญาณในรอบที่ 2 กิเลสที่มีอยู่จะเบาบางจากเดิมที่มีอยู่ในทันที่
    แต่ไม่สามารถละสัญโญชน์ทีเหลืออยู่ให้ตัวใดตัวหนึ่งขาดหายโดยสิ้นเชิ่ง
    แต่กิเลสของท่านเบาบางกว่าพระโสดาบันอย่างมาก ดำรงณ์ฐานะเป็นพระสกิทาคามีบุคคล

    คุณวิเศษที่พระสกิทาคามีได้รับมีดังนี้
    1. สามารถเข้าผลสมาบัติตามฐานของพระสกิทาคามีได้
    2. จะไม่ไปเกิดในอบายภูมิ คือ สัตว์เดรัชฉาน เปรต อสุรกาย และสัตว์นรก อีกเลย เพราะกิเลสที่จะก่อให้เกิดทำอกุศลกรรม
    ที่ร้ายแรงที่ต้องให้ไปเกิดในอบายภูมิ ย่อมไม่มีอีกแล้ว
    3. จะเกิดในภพมนุษย์ หรือ สวรรค์ หรือ พรหม ตามบุญกุศล หรือตามกำลังสมาธิ ของแต่ละท่าน
    4. จะมาเกิดในภพมนุษย์อย่างมากที่สุดเพียง 1 ชาติ ก็จะบรรลุเป็นพระอรหันต์ดับขันธ์นิพพาน


    พระอริยะบุคคลประเภทที่ 3. พระอนาคามีบุคคล คือพระอริยะบุคคลที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานครบ 16 ญาณในรอบที่ 2 แล้ว
    ก็ยังกำหนดวิปัสสนากรรมฐานต่อ จนวิปัสสนาญานบังเกิดขึ้นในรอบที่ 3 ตั้งแต่ญาณที่ 4 อุทยัพพยญาณจนญานที่ 12
    อนุโลมญาณ ชึ่งวิปํสสนาญาณนั้นเกิดขึ้นอย่างละเอียดออ่นแจ่มแจ้งกว่าสภาวญาณที่เคยฝ่านมาแล้ว และติดตามด้วย
    โวทานะ โวทานะแทนโคตรภูญาณ เพราะท่านเป็นอริยะบุคคลแล้ว ก็บรรลุถึงพระอนาคามีมรรค และเมื่อฝ่านตลอดทั้ง 16
    ญาณในรอบที่ 3 กิเลสที่มีอยู่จะเบาบางจากเดิมที่มีอยู่ในทันที่ และสามารถละสัญโญชน์ทีเหลืออยู่ได้อีก 2
    สัญโญชน์อย่างสิ้นเชิ่ง ได้แก่ กามราคะสัญโญชน์ และปฏิคะสัญโญชน์ ก็คือละกามและโทษะได้อย่างะเด็ดขาด
    ดำรงณ์ฐานะเป็นพระอนาคามีบุคคล

    คุณวิเศษที่พระอนาคามีได้รับมีดังนี้
    1. สามารถเข้าผลสมาบัติตามฐานของพระอนาคามีได้ แต่ท่านที่เคยฝึกสมาธิถึงฌานที่ 4 ท่านสามารถเข้านิโรธสมาบัติได้
    หรือบางท่านบังเกิดมีวิชา 3 อภิญญา 5 สามารถสำแดงฤทธิ์เดชได้
    2. ถ้ายังไม่บรรลุเป็นพระอรหันจะไปเกิดใน พรหมโลก ชั้นสุทาวาสพรหม อย่างเดียว จะไม่มาเกิดในมนุษย์โลกนี้อีกเลย
    แล้วจะบรรลุเป็นพระอรหันดับขันธ์นิพพานบนสุทาวาสพรหมนั้น
    ชั้นสุทาวาสพรหม เป็นชั้นของพระพรหมที่เป็นที่จุติของพระอนาคามีอริยะบุคคลในพระพุทธศาสนาอย่างเดียวเท่านั้น
    ซึ่งสามารถแบ่งลำดับชั้นในสุทาวาสพรหมได้อีก 5 ชั้น จากลำดับล่างไปสู่ชั้นสูง ดังนี้
    1 ชั้นอวิหาภูมิ
    2. ชั้นอตัปปาภูมิ
    3. ชั้นสุทัสสาภูมิ
    4. ชั้นสุทัสสีภูมิ
    5. ชั้นอกนิฏฐกาภูมิ
    ซึ่งพระอนาคามีท่านจะไปจุติตามชั้นต่างๆ ตามกำลังพละ 5 ของท่านที่เด่นชัด


    พระอริยะบุคคลประเภทที่ 4. พระอรหันต์บุคคล คือพระอริยะบุคคลที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานครบ 16 ญาณในรอบที่ 3 แล้ว
    ก็ยังกำหนดวิปัสสนากรรมฐานต่อ จนวิปัสสนาญานบังเกิดขึ้นในรอบที่ 4 ตั้งแต่ญาณที่ 4 อุทยัพพยญาณจนญานที่ 12
    อนุโลมญาณ ชึ่งวิปํสสนาญาณนั้นเกิดขึ้นอย่างละเอียดออ่นแจ่มแจ้งเป็นที่สุดด้วยบารมีที่เต็มบริบูรณ์ และติดตามด้วย
    โวทานะ โวทานะแทนโคตรภูญาณ เพราะท่านเป็นอริยะบุคคลแล้ว ก็บรรลุถึงพระอรหัตมรรค
    สามารถตัดกิเลสทั้งหมดได้สิ้นเชิง และเมื่อฝ่านตลอดทั้ง 16 ญาณในรอบที่ 4
    กิเลสที่ตัดขาดโดยอรหัตมรรคได้แก่สัญโญชน์ที่เหลืออยู่ 5 อย่างคือ
    6. รูปราคะสัญโญชน์ คือความยินดีในรูปภพ
    7. อรูปราคะสัญโญชน์ คือความยินดีในอรูปภพ
    8. มานะสัญโญชน์ คือความถือตัว
    9. อุทธัจจะสัญโญชน์ คือความที่จิตฟุ้งไป ไม่สามารถตั้งอยู่อารมณ์เดียวได้นาน
    10. อวิชชาสัญโญชน์ คือสภาพไม่รู้ ความมืดหลงของจิต หรือ โง่ หรือ โมหะ
    คุณวิเศษของพระอรหันต์ได้รับมีดังนี้
    1. สามารถเข้าผลสมาบัติตามฐานของพระอรหันต์ได้
    2. ไม่มีกิเลสเหลือในจิตใจแม้แต่เพียงนิดเดียว
    3. เมื่อดับขันธ์ต้องปรินิพพานอย่างเดียว

    ประเภทพระอรหันต์ แบ่งตามกำลังสมาธิได้ 2 ประเภท
    1. เจโตวิมุติอรหันต์ ได้แก่ท่านผู้ที่ได้ฌานมาก่อนแล้วมาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจนสำเร็จเป็นพระอรหันต์
    หรือท่านที่ปฏิบัติวิปัสสนาอย่างเดียว แต่เมื่อพระอรหัตมรรคจะอุบัติขึ้นนั้น ฌานก็อุบัติขึ้นในขณะนั้นเอง
    ด้วยบารมีที่สังสมมา ท่านเหล่านี้เรียกว่า ฌานลาภีบุคคล คือสำเร็จฌานสมาบัติได้วิชา 3 อภิญญา 6
    มีคุณสมบัติแสดงฤทธิ์ทั้งหลายได้
    2. ปัญญาวิมุติอรหันต์ ได้แก่พระอรหันต์ที่ท่านปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอย่างเดียวล้วนๆ และฌานไม่มีเกิดขึ้นเลย
    พระอรหันต์เหล่านี้มีชื่อว่า สุกขวิปัสสโก ไม่สามารถที่จะแสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้
    ประเภทพระอรหันต์ ยังแบ่งตามความแตกฉานได้ 2 ประเภทใหญ่
    1. ปฏิสัมภิทาปัตตอรหันต์ ได้แก่พระอรหันผู้แตกฉานในปฏิสัมภิทา
    เพราะเมื่อท่านบรรลุอรหัตมรรคอรหัตผลนั้นปฏิสัมภิทาญาณ ทั้ง 4 หรืออย่างหนึ่งอย่างใดบังเกิดขึ้น มีดังนี้
    - อรรถปฏิสัมภิทา คือแตกฉานในอรรถ
    - ธรรมปฏิสัมภิทา คือแตกฉานในธรรม
    - นิรุตติปฏิสมภิทา คือแตกฉานในภาษา
    - ปฏิภาณปฏิสัมภิทา คือแตกฉานในปฏิภาน
    2. อัปปฏิสัมภิทาปัตตอรหันต์ ได้แก่พระอรหันต์ผู้ชึ่งไม่แตกฉานในปฏิสัมภิทาญานทั้ง 4
    ซึ่งพระอรหันเหล่านี้มีเชื่อเรียกอีกอย่างว่า มูคพระอรหันต์ คือพระอรหันต์ผู้ที่ไม่มีความรู้ในปริยัติธรรม
    การที่ท่านจะได้บรรลุพระอรหันประเภท เจโตวิมุติอรหันต์ มีวิชา 3 อภิญญา 6 หรือ ปฏิสัมภิทาปัตตอรหันต์
    เกิดจากท่านได้เคยสร้างสมอบรมบารมีมาก่อนแต่ชาติปางก่อน และ/หรือ ท่านเคยตั้งจิตอธิฐานเมื่อประกอบกุศลต่างๆ
    โดยนัยว่า "เมื่อข้าพเจ้า ได้บรรลุมรรคผลเป็นพระอรหันต์สาวกแห่งสมเด็จพระพุทธเจ้า
    ขอให้มัคคสิทธิฌานหรือพระปฏิสัมภิทาญาณจงบังเกิดขึ้นพร้อมกับได้บรรลุมรรคผลด้วยเถิด"
    เพราะเนื่องด้วยได้อธิฐานบารมีอย่างนี้ไว้ การสังสมบารมีก็จะถูกชักนำไปทาง ฌาน อภิญญา และ ปฏิสัมภิทา
    ตามฐานะจนได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ที่มีปฏิสัมภิทาพร้อมทั้งอภิญญา 6 ไม่ใช่ว่าพออธิฐานแล้วไม่ต้องทำอะไร
    รอเมื่อถึงเวลาก็จะได้เอง ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดของคนส่วนมาก
    เพราะไม่มีสิ่งใดเลยที่ไม่ต้องมีเหตุปัจจัยอันสมบูรณ์แล้วจะได้ผลอันสมบูรณ์

    ----------------------------------------------------------------------
    *"ญาณ ๑๖" ...อ้างอิงจาก
    -พระไตรปิฏก ในเล่ม ๖๘ ขุททกนิกายปฏิสัมภิทามรรค อรรถกถา หน้า ๕๐ เป็นต้นไป
    -พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ ๕๐

    ----------------------------------------------------------------------
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 สิงหาคม 2006
  2. Fullmoonman

    Fullmoonman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    113
    ค่าพลัง:
    +1,221
    อนุโมทนา สาธุครับ..

    กับการอุตสาหะพิมพ์
    กับการนำเสนอธรรมทาน
     
  3. Bens

    Bens เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2006
    โพสต์:
    227
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,498
    สาธุมากๆครับ วิริยะบารมีมากนะครับ
     
  4. Sittirat

    Sittirat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +821
    ขอกราบขอบพระคุณทุกท่านที่สละเวลาเข้ามาอ่านนะครับ....ขอผลบุญรักษาและขอเจริญในธรรมครับ...สาธุ สาธุ สาธุ
     
  5. ยายทองประสา

    ยายทองประสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    805
    ค่าพลัง:
    +3,069
    ข้อความนี้แปร่งๆ อยู่นะครับ
    พระโสดาบันมีมัคคญาณ จริง
    แต่ไม่น่าจะแปลว่า ตัดขาดจากกิเลสเป็นสมุจเฉทประหาร
    เพราะนั่นดีเกินพระโสดาบันแล้วเลยไปอรหันต์แล้ว

    มัคคญาณ น่าจะแปลว่า รู้ว่าใช่ทาง หรือมิใช่ทาง ไปสู่พระนิพพาน รู้ว่าเข้าสู่ทางสายเอกแล้ว

    นับจากข้อที่ 14 ไปรู้สึกจะเริ่ม....ต่าง?? (จากที่ผมรู้มา)
    เช่น พระโสดาบันได้ ญาณ16 อันนี้ผมว่าควรที่จะอธิบายใหม่(อันอื่นก็ด้วย)
    เพราะที่ผมรู้มาหากหมายเอาตามข้อความที่คุณเขียนนั้น จะเป็นพระอรหัตตผล ตั้งแต่ข้อที่ 14 แล้ว

    แต่แท้ที่สุดแล้วเราน่าจะมาปฎิบัติกันดู เพื่อจะได้รู้ตามความเป็นจริง โดยยึดข้อความในพระไตรปิฎกเป็นหลัก เพราะผมไม่ทราบเหมือนกันว่าบทความนี้ หลวงพ่อท่านใดอธิบายไว้ หรือคุณศิติรัตน์ อธิบายเองตามความเข้าใจของตนเอง หรือไปเพิ่มเติมบทธรรมของหลวงพ่อองค์นั้น
    เพราะธรรมของพระพุทธเจ้าก็ต้องว่าตามนั้น หากยังปฏิบัติยังไม่ได้ไม่ถึง ไม่ควรไปตีความขยายความย่อความใดใด เพื่อเผยแพร่... เพราะข้อความอาจผิดจากความเป็นจริงได้
    เช่น สมัยหลวงพ่อยังเป็นสมมติสงฆ์ ไม่เข้าใจพระนิพพาน ก็จะอธิบายเรื่องนิพพานผิด และหลวงพ่อยังบอกอีกว่า หากพระรูปใดท่านอธิบายได้ถึงสังโยชน์ข้อใด แสดงว่าท่านทำได้ถึงเพียงแค่นั้น ท่านจะไม่อธิบายต่อถึงข้อที่เกินกว่านั้นเลย เพราะอาจผิดพลาดได้ อันเนื่องมาจากท่านยังเข้าไม่ถึง
    ดังนั้นการศึกษาพระธรรมวินัยนี้ ควรว่าตามพระไตรปิฎก หรือพระอริยเจ้าผู้ได้อธิบายธรรมไว้แล้วนั้นเถิด
     
  6. Onemind

    Onemind เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    28
    ค่าพลัง:
    +197
    พระโสดาบันบุคคล คือท่านผู้ที่เพียรปฏิบัติวิป้สสนากรรมฐาน จนวิปัสสนาญาณบังเกิดขึ้น ทั้ง 16 ญาณ เป็นครั้งแรก ละกิเลสได้อย่างสิ้นเชิง (สมุจเฉทประหาร ) 3 ประการ ในสัญโญชน์ 10
    ประการ คือ
    1.1 สักกายทิฐิสัญโญชน์ คือการยึดถือเป็นตัวตนผิดๆ ในรูปนามนั้นๆ
    1.2 วิจิกิจฉาสัญโญชน์ คือความสงสัยใน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือความสงสัยในสิ่งต่างๆ จนฟุ้งซ่าน
    จนควบคุมจิตใจไม่อยู่เป็นบ่อเกิดโรคจิต โรคนอนไม่หลับ โรคหวาดระแวงโดยไร้สาเหตุ โรควิตกกังวัลจนผิดปกติ
    รวมความแล้วคือสงสัยลังเลจนเลยเถิด
    1.3. สีลัพพตปรามาสสัญโญชน์ คือการถือข้อวัตรปฏิบัติผิดไม่ถูกทาง

    วิปัสสนาญาณบังเกิดขึ้น ทั้ง 16 ญาณ เป็นครั้งแรก เป็น พระโสดาบันบุคคล
    วิปัสสนาญาณบังเกิดขึ้น ทั้ง 16 ญาณ เป็นครั้งสอง เป็น พระสกิทาคามี
    วิปัสสนาญาณบังเกิดขึ้น ทั้ง 16 ญาณ เป็นครั้งสาม เป็น พระอานาคามี
    วิปัสสนาญาณบังเกิดขึ้น ทั้ง 16 ญาณ เป็นครั้งสี่ เป็น พระอรหันต์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 สิงหาคม 2006
  7. jomr0547

    jomr0547 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มกราคม 2006
    โพสต์:
    73
    ค่าพลัง:
    +261
    โมทนาสาธุครับผม

    พอพูดถึง16ญาณ ทำให้รู้สึกว่าการเป็นพระโสดาบัน ยากขึ้นกว่าแต่เดิมอีกนะเนี่ย ไม่อยากรู้เลย 16 ญาณเนี่ย
    เอาแค่สังโยชน์3 กรรมบถ10 พรหมวิหาร4 ทรงไว้ให้เป็นฌาณ ว่างๆก็ซ้อมตัดสังโยชน์10ตัว สัก1 นาที แล้วพอจะตาย หรือกำลังจะตายก็ใช้ปัญญาทำวิปัสณาตัดทุกตัวในสังโยชน์10ให้หมด เข้าพระนิพพานไปเลย (ทำได้ป่าวไม่รู้) อิอิ เทคนิคๆ

    จำมาจากตำราหลวงพ่อฤาษี ไม่รู้ว่าจำมาผิดหรือไม่ แต่เข้าใจแบบนี้อยู่คับ
     
  8. ยายทองประสา

    ยายทองประสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    805
    ค่าพลัง:
    +3,069
    ผมไม่ใช่คนที่ชอบหาเรื่องนะครับ
    แต่ผมเปิดพระไตรปิฎกแล้วตามที่คุณอ้างมา
    ไม่พบคำว่า ญาณ 16
    และในอรรถกถา ไม่มีคำนี้เช่นกัน
    ผมจะลงข้อความในพระอรรถกถาทีละญาณๆ นะครับ ปล.มีมากกว่า 16 ญาณครับ และไม่มีคำใดบอกเลยว่า
    ไม่เชื่อลองอ่านดู
     
  9. ยายทองประสา

    ยายทองประสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    805
    ค่าพลัง:
    +3,069
    ญาณที่ 1

    ๑. อรรถกถาสุตมยญาณุทเทส
    ว่าด้วย สุตมยญาณ
    ในอุทเทสนั้นเบื้องแรก พึงทราบ โสต ศัพท์ ในคำนี้ว่า
    โสตาวธาเน ปญญา สุตมเย
     
  10. ยายทองประสา

    ยายทองประสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    805
    ค่าพลัง:
    +3,069
    ๒. อรรถกถาสีลมยญาณุทเทส
    ว่าด้วย สีลมยญาณ

    คำว่า สุตฺวาน สํวเร ปญญา ความว่า:-
    ธรรม ๕ ประการเหล่านี้ คือ ปาฏิโมกข์ ๑
    สติ ๑ ญาณ ๑ ขันติ ๑ และ วิริยะ ๑ ท่าน
    แสดงว่าสังวร.
    สังวรที่มาแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า
    เป็นผู้เข้าถึง, เข้าถึงพร้อม, เข้ามา, เข้า
    มาพร้อม, ถึงแล้ว, ถึงพร้อมแล้ว, ประกอบ
    พร้อมแล้ว ด้วยปาฏิโมกขสังวรนี้*(อภิ. วิ. ๓๕/๖๐๒.) ชื่อว่า
    ปาฏิโมกขสังวร.
    สังวรที่มาแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า
    ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต
    ไม่ถืออนุพยัญชนะ, เธอย่อมปฏิบัติ เพื่อสำรวม
    จักขุนทรีย์ เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้
    อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัส
    ครอบงำนั้น ชื่อว่า รักษาจักขุนทรีย์, ชื่อว่า
    ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์*(ที.สี. ๙/๑๒๒.) ชื่อว่า สติสังวร.
    สังวรที่มาแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า
    กระแสทั้งหลายเหล่าใดในโลก มีอยู่,
    สติเป็นเครื่องกั้นกระแสเหล่านั้น เรากล่าวสติว่า
    เป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย, กระแสเหล่านั้น
    อันบัณฑิตย่อมปิดได้ด้วยปัญญา*(ขุ.ส. ๒๕/๔๒๕.) ดังนี้
    ชื่อว่า ญาณสังวร.
    สังวรที่มาแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัย
    นี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพจีวร*(ม.มู. ๑๒/๑๔.) ดังนี้
    ชื่อว่า ปัจจยปฏิเสวนาสังวร, ปัจจยปฏิเสวนาสังวรแม้นั้น ท่าน
    สงเคราะห์ด้วยญาณสังวรนั่นแล.
    สังวรที่มาแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า
    เป็นผู้อดกลั้นต่อ หนาว ร้อน หิว
    ระหาย สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และ
    สัตว์เลื้อยคลานเป็นผู้มีชาติแห่งผู้อดกลั้นต่อถ้อย
    คำที่ผู้อื่นกล่าวชั่วร้ายแรง ต่อเวทนาที่มีอยู่ในตัว
    ซึ่งบังเกิดขึ้นเป็นทุกข์ กล้า แข็ง เผ็ดร้อน ไม่
    เป็นที่ยินดี ไม่เป็นที่ชอบใจ อันจะคร่าชีวิตเสีย
    ได้*(ม.มู. ๑๒/๓๕.) ดังนี้
    ชื่อว่า ขันติสังวร.
    สังวรที่มาแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า
    ภิกษุ ย่อมอดกลั้น ย่อมละ ย่อมบรรเทา
    กามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมกระทำให้สิ้นสูญไป
    ให้ถึงความไม่มี*(ม.มู. ๑๒/๑๗.) ดังนี้
    ชื่อว่า วิริยสังวร.
    สังวรที่มาแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า
    พระอริยสาวกในพระศาสนานี้ ละ
    มิจฉาอาชีวะเสียแล้ว สำเร็จชีวิตอยู่ด้วยสัมมา-
    อาชีวะ*(สํ.มหา ๑๙.) ดังนี้
    ชื่อว่า อาชีวปาริสุทธิสังวร, อาชีวปาริสุทธิสังวร แม้นั้น ท่าน
    สงเคราะห์ด้วยวิริยสังวรนั่นแล.
    ในสังวร ๗ เหล่านั้น สังวร ๔ คือ ปาฏิโมกขสังวร,
    อินทรียสังวร, อาชีวปาริสุทธิสังวร, และปัจจยปฏิเสวนาสังวร ท่าน
    ประสงค์เอาในที่นี้, และในสังวร ๔ เหล่านั้น ปาฏิโมกขสังวร ท่าน
    ประสงค์เอาเป็นพิเศษ. ก็สังวรนี้แม้ทั้งหมดท่านเรียกว่า สังวร เพราะ
    กั้นทุจริตทั้งหลายมีกายทุจริตเป็นต้น ที่จำต้องสังวรตามธรรมดาของ
    ตน.
    ปัญญาของกุลบุตรผู้ฟังธรรมตามที่กล่าวแล้วในสุตมยญาณแล้ว
    สังวรอยู่ ทำการสังวร เป็นไปแล้วในการสังวรนั้น สัมปยุตกับสังวร
    นั้น ท่านกล่าวแล้วว่า สุตฺวาน สํวเร ปญญา. อีกอย่างหนึ่งมีความ
    ว่า ปัญญาในการสังวรเพราะมีการฟังเป็นเหตุบ้าง เพราะมีคำว่า
    เหตุอตฺเถ สุตฺวา ฟังเหตุและผลปรากฏอยู่ด้วย.
    บทว่า สีลํ ในคำนี้ว่า สีลมเย าณํ ความว่า ชื่อว่า
    ศีลเพราะอรรถว่าสำรวม, ชื่อว่า การสำรวมนี้ อย่างไร? คือการ
    ตั้งมั่น, อธิบายว่า ความเป็นกายกรรมเป็นต้นไม่เกลื่อนกล่นด้วย
    สามารถแห่งความเป็นผู้สำรวมด้วยดี. หรือความเข้าไปตั้งมั่น, อธิบายว่า
    ความที่แห่งกุศลธรรมทั้งหลายเป็นที่รองรับด้วยสามารถเป็นที่ตั้ง.
    ก็ในศีลนี้ นักปราชญ์ผู้รู้ลักษณศัพท์ รับรู้ตาม ๆ กันมาซึ่ง
    อรรถะทั้ง ๒ นี้เท่านั้น. แต่อาจารย์พวกอื่นพรรณนาว่า ชื่อว่า ศีล
    เพราะอรรถว่าเสพยิ่ง เพราะอรรถว่าเป็นที่รองรับ เพราะอรรถว่าเป็น
    ปกติ เพราะอรรถว่าเป็นศีรษะ เพราะอรรถว่าเย็น เพราะอรรถว่า
    เกษม.
    ศีลนั้นแม้จะมีประเภทต่าง ๆ หลายอย่าง
    ก็มีการสำรวมเป็นลักษณะ เหมือนรูป*(หมายเอารูปารมณ์)มีประเภท
    ต่าง ๆ เป็นอันมาก ก็มีการเห็นได้ด้วยตาเป็น
    ลักษณะ ฉะนั้น.
    เหมือนอย่างว่า ความที่รูปายตนะแม้มีประเภทต่าง ๆ เป็น
    อันมาก โดยประเภทแห่งสีมีสีเขียวและสีเหลืองเป็นต้น ก็มีการเห็น
    ได้ด้วยตาเป็นลักษณะ เพราะไม่ก้าวล่วงความที่แห่งรูปายตนะมีประเภท
    ต่าง ๆ โดยประเภทแห่งสีมีสีเขียวเป็นต้น ก็เป็นรูปายตนะที่เห็นได้
    ด้วยตาฉันใด, ความสำรวมแห่งศีลแม้มีประเภทต่าง ๆ หลายอย่าง
    โดยประเภทแห่งวิรัติมีเจตนาวิรัติเป็นต้น ท่านกล่าวแล้วว่าเป็นที่รองรับ
    กายกรรมเป็นต้น และเป็นที่ตั้งแห่งกุศลธรรมนี้ได้, การสำรวมนั้น
    นั่นแหละเป็นลักษณะของศีลแม้มีประเภทต่าง ๆ หลายอย่างโดยประเภท
    แห่งวิรัติมีเจตนาวิรัติเป็นต้น เพราะไม่ก้าวล่วงความเป็นที่รองรับและเป็นที่ตั้ง.
    ก็ การกำจัดความเป็นผู้ทุศีล และคุณ
    คือความไม่มีโทษ ท่านเรียกว่า เป็นรส เพราะ
    อรรถว่าเป็นกิจและสมบัติ ของศีลนั้นมีลักษณะ
    ดังที่ได้กล่าวมาแล้วอย่างนี้.
    เพราะฉะนั้น ธรรมดาว่าศีลนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า มีการ
    กำจัดความเป็นผู้ทุศีลเป็นรส เพราะรสมีอรรถว่ากิจ, มีความไม่มีโทษ
    เป็นรส เพราะรสมีอรรถว่าสมบัติ.
    ศีลนี้นั้น วิญญูชนทั้งหลายพรรณนาไว้ว่า
    มีความสะอาดเป็นปัจจุปัฏฐาน มีโอตตัปปะและ
    หิริเป็นปทัฏฐานของศีลนั้น.
    ศีลนี้นั้น มีความสะอาดเป็นปัจจุปัฏฐานตามที่พระผู้มีพระภาค-
    เจ้าตรัสไว้อย่างนี้ว่า
    ความสะอาดกาย, ความสะอาดวาจา, ความสะอาดใจ* (ที.ปา. ๑๑/๒๒๘.)
    ย่อมถึงซึ่งความนับว่า ปรากฏโดยความเป็นของสะอาด. ส่วน หิริ
    และโอตตัปปะ วิญญูชนทั้งหลายพรรณนาไว้ว่าเป็นปทัฏฐานของศีล
    นั้น, อธิบายว่า เป็นเหตุใกล้. เพราะเมื่อหิริและโอตตัปปะมีอยู่ ศีล
    ก็ย่อมเกิดขึ้นและตั้งอยู่, เมื่อหิริและโอตตัปปะไม่มี ศีลก็ย่อมไม่เกิดขึ้น
    และไม่ตั้งอยู่ฉะนั้น ญาณที่สหรคตด้วยศีล สัมปยุตด้วยศีลนั้น โดย
    วิธีที่กล่าวมาแล้วอย่างนี้ ชื่อว่า สีลมเย าณํ. อีกอย่างหนึ่ง ศีล
    นั่นแหละสำเร็จแล้ว ชื่อว่า สีลมัย, ญาณในสีลมัยนั้น คือสัมปยุต
    ด้วยสีลมัยนั้น.
    การพิจารณาโทษในการไม่สำรวม ๑, การพิจารณาอานิสงส์
    ในการสำรวม ๑, การพิจารณาความบริสุทธิ์ในการสำรวม ๑, การ
    พิจารณาความขาวสะอาดจากสังกิเลสในเพราะการสำรวม ๑ ท่าน
    สงเคราะห์ด้วยสีลมยญาณนั่นแล.
     
  11. ยายทองประสา

    ยายทองประสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    805
    ค่าพลัง:
    +3,069
    ๓. อรรถกถาสมาธิภาวนามยญาณุทเทส
    ว่าด้วย สมาธิภาวนามยญาณ

    คำว่า สํวริตฺวา สมาทหเน ปญญา ความว่า ปัญญาของ
    กุลบุตรผู้สำรวมด้วยสีลสังวรตามที่กล่าวไว้ในสีลมยญาณ แล้วทำการ
    สำรวมตั้งอยู่ในศีลมีจิตตั้งไว้ด้วยดี กระทำจิตให้มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ด้วย
    สามารถแห่งอุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ เป็นไปแล้วในสมาธิจิตนั้น
    คือสัมปยุตกับด้วยสมาธิจิตนั้น. การวางไว้ ตั้งไว้ ด้วยดีโดยชอบ
    ฉะนั้น จึงชื่อว่า สมาทหนํ-การตั้งไว้ด้วยดี, คำนี้ เป็นคำเรียก
    สมาธิโดยปริยาย.
    กุศลจิตเอกัคคตา ชื่อว่า สมาธิ ในคำนี้ว่า สมาธิภาวนา-
    มเย าณํ ชื่อว่า สมาธิ เพราะอรรถว่ากระไร? ชื่อว่าสมาธิ
    เพราะอรรถว่าตั้งมั่น (สมาธานํ). ชื่อว่า สมาธาน นี้อย่างไร?
    มีคำอธิบายว่า การวาง การตั้ง ซึ่งจิตและเจตสิกไว้ในอารมณ์เดียว
    โดยชอบด้วยดี เพราะฉะนั้น จิตและเจตสิก ไม่ฟุ้งไป ไม่เกลื่อน
    กล่น ตั้งอยู่โดยชอบด้วยดีในอารมณ์เดียว ด้วยอานุภาพแห่งธรรมใด,
    คำที่กล่าวมาแล้วนี้พึงทราบว่าเป็น สมาธาน.
    ก็ความไม่ฟุ้งซ่านเป็นลักษณะ การกำจัด
    ความฟุ้งซ่านเป็นรส การไม่หวั่นไหวเป็น
    ปัจจุปัฏฐาน และมีความสุขเป็นปทัฏฐานของ
    สมาธินั้นแล.
    ธรรมชาติใด อันพระโยคีบุคคลอบรมอยู่ เจริญอยู่ ฉะนั้น
    ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า ภาวนา, ภาวนาคือสมาธิ ชื่อว่า สมาธิภาวนา,
    อีกอย่างหนึ่ง การอบรมการเจริญซึ่งสมาธิ ชื่อว่า สมาธิภาวนา. ห้าม
    ภาวนาอื่นด้วยคำว่า สมาธิภาวนา. ญาณอันสำเร็จด้วยสมาธิภาวนา
    ด้วยสามารถแห่งอุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิดุจในก่อน.
    ๔. อรรถกถาธัมมัฏฐิติญาณุทเทส
    ว่าด้วย ธรรมฐิติญาณ
    ชื่อว่าปัจจัย ในคำนี้ว่า ปจฺจยปริคฺคเห ปญญา มีวจนัตถะ
    ว่า ผลย่อมอาศัยธรรมนั้นเกิด ฉะนั้น ธรรมนั้นชื่อว่า ปัจจัย.
    คำว่า ปฏิจฺจ ได้แก่ ไม่เว้นจากธรรมที่เป็นปัจจัยนั้น อธิบาย
    ว่า ไม่บอกคืน. บทว่า เอติ ความว่า ย่อมเกิดขึ้นด้วย ย่อมเป็นไป
    ด้วย. อีกอย่างหนึ่ง มีความว่าอุปการะ มีอรรถว่าเป็นแดนเกิด, ปัญญา
    ในการกำหนดคือกำหนดได้ซึ่งปัจจัยทั้งหลาย เพราะปัจจัยนั้นมีมาก
    อย่าง ชื่อว่า ปจฺจยปริคฺคเห ปญญา แปลว่า ปัญญาเป็นเครื่อง
    กำหนดปัจจัย.
    ธมฺมศัพท์ ในบทว่า ธมฺมฏฺ€ิติาณํ นี้ ย่อมปรากฏใน
    อรรถว่า สภาวะ, ปัญญา, บุญ, บัญญัติ, อาบัติ, ปริยัติ, นิสสัตตตา,
    วิการ, คุณ, ปัจจัย, ปัจจยุปบันเป็นต้น.
    ก็ ธมฺมศัพท์นี้ ย่อมปรากฏในอรรถว่าสภาวะ ได้ในติกะว่า
    กุสลา ธมฺมา สภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล, อกุสลา ธมฺมา
    สภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นอกุศล, อพฺยากตา ธมฺมา สภาวธรรม
    ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตะ.*(อภิ.สํ. ๓๔/๑.)
    ธมฺมศัพท์ ย่อมปรากฏในอรรถว่า ปัญญา ได้ในคำเป็นต้นว่า
    บุคคลใดผู้อยู่ครองเรือนประกอบด้วย
    สัทธา มีธรรม ๔ ประการเหล่านี้ คือ สัจจะ,
    ธรรมะ, ธิติ, และจาคะ บุคคลนั้นแล ละโลกนี้
    ไปแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก*(สํ.ส. ๑๕/๘๔๕.) ดังนี้.
    ธมฺมศัพท์ ย่อมปรากฏในอรรถว่า บุญ ได้ในคำเป็นต้นว่า
    ธรรมและอธรรมทั้ง ๒ นี้ มีผลเสมอกัน
    หามิได้เลย อธรรมย่อมนำไปนรก ธรรมย่อมให้ถึง
    สุคติ*(ขุ.เถร. ๒๖/๓๓๒.) ดังนี้.
    ธมฺมศัพท์ ย่อมปรากฏในอรรถว่า บัญญัติ ได้ในคำเป็นต้นว่า
    บัญญัติธรรม, นิรุตติธรรม, อธิวจนธรรม*(อภิ.สํ. ๓๔/๑๕.) ดังนี้.
    ธมฺมศัพท์ ย่อมปรากฏในอรรถว่า อาบัติ ได้ในคำเป็นต้นว่า
    ธรรมคือปาราชิก, ธรรมคือสังฆาทิเสส*(วิ.มหาวิภงฺค. ๑/๓๐๐.) ดังนี้.
    ธมฺมศัพท์ ย่อมปรากฏในอรรถว่า ปริยัติ ได้ในคำเป็นต้นว่า
    ภิกษุในธรรมวินัย ย่อมเรียนธรรมคือสุตตะ, เคยยะ เวยยา-
    กรณะ*(องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๗๓.) ดังนี้.
    ธมฺมศัพท์ ปรากฏในอรรถว่า นิสสัตตตา - ความไม่มีสัตว์ ได้ใน
    คำเป็นต้นว่า
    ก็สมัยนั้นแล ธรรมทั้งหลาย ย่อมมี,*(อภิ.สํ ๓๔/๑๕.)
    และในคำเป็นต้นว่า พระโยคีบุคคล ตามพิจารณาเห็นธรรม
    ในธรรมทั้งหลาย อยู่*(ที.มหา. ๑๐/๒๗๓.) ดังนี้.
    ธมฺมศัพท์ ปรากฏในอรรถว่า วิการ - ธรรมชาติที่ผันแปร ได้ใน
    คำเป็นต้นว่า
    ชาติธรรม ชราธรรม มรณธรรม*(องฺ.ทกส. ๒๔/๑๐๗.) ดังนี้.
    ธมฺมศัพท์ ปรากฎในอรรถว่า คุณ ได้ในคำเป็นต้นว่า
    พุทธธรรม ๖*(ขุ.มหา. ๒๙/๒๓๑.)… ดังนี้.
    ธมฺมศัพท์ ปรากฏในอรรถว่า ปัจจัย ได้ในคำเป็นต้นว่า
    ความรู้แตกฉานในเหตุ ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา*(อภิ.วิ. ๓๕/๗๗๙.)
    ดังนี้.
    ธมฺมศัพท์ ปรากฏในอรรถว่า ปัจจยุปบัน ได้ในคำเป็นต้นว่า
    ธาตุนั้น ตั้งอยู่แล ชื่อว่า ธรรมฐิติ ธรรมนิยาม*(สํ.นิ. ๑๖/๖๑.) ดังนี้.
    ธมฺมศัพท์นี้นั้น พึงเห็นว่าลงในอรรถว่า ปัจจยุปบัน แปลว่า ธรรม
    ที่เกิดแต่ปัจจัย. โดยอรรถท่านเรียกว่าธรรมะ เพราะทรงไว้ซึ่งสภาวะ
    ของตน, หรือ อันปัจจัยทรงไว้, หรือ ย่อมทรงไว้ซึ่งผลของตน,
    หรือ ผู้ใดบำเพ็ญธรรมให้บริบูรณ์ก็ทรงผู้นั้นไว้ ไม่ให้ตกไปในอบาย
    ทั้งหลาย, หรือทรงไว้ในลักษณะของตน ๆ , หรือว่าย่อมตั้งลงไว้ได้
    ด้วยจิต, ตามสมควร. แต่ในที่นี้ ชื่อว่า ธรรม เพราะอรรถว่า อัน
    ปัจจัยทั้งหลายของตน ทรงไว้, ธรรมทั้งหลายอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ย่อม
    ตั้งขึ้น คือ ย่อมเกิดขึ้นด้วย ย่อมเป็นไปด้วยธรรมชาติใด ฉะนั้น
    ธรรมชาตินั้น จึงชื่อว่า ธรรมฐิติ, คำนี้เป็นชื่อของปัจจัยธรรมทั้งหลาย,
    ญาณในธรรมฐิตินั้น ชื่อว่า ธัมมัฏฐิติญาณ.
    ก็ ธัมมัฏฐิติญาณนี้ มีปริยายแห่งการกำหนดปัจจัยแห่งนามรูป
    ทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นแก่พระโยคีบุคคลผู้ปรารภความเพียร
    เพื่อยถาภูตญาณทัสสนะ ด้วจิตอันตั้งมั่นด้วยสมาธิตามที่กล่าวไว้ใน
    สมาธิภาวนามยญาณแล้วกำหนดนามรูป.
    หากจะมีปุจฉาว่า ญาณนี้ ทำไมท่านไม่กล่าวว่า นามรูป
    ววัตถานญาณ อย่างเดียว แต่กลับกล่าวว่า ธัมมัฏฐิติญาณ
    เล่า? ก็มีวิสัชนาว่า เพราะการกำหนดธรรมที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ล้วน
    สำเร็จด้วยการกำหนดปัจจัยอย่างเดียว. เพราะว่าธรรมที่อาศัยปัจจัย
    เกิดขึ้น อันพระโยคีบุคคลไม่ได้กำหนดแล้ว ก็ไม่สามารถจะทำการ
    กำหนดปัจจัยได้. เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า นามรูปววัตถานญาณ
    อันเป็นเหตุแห่งปัจจยปริคคหญาณนั้น สำเร็จแล้วในก่อน ก็ยอมเป็น
    ญาณอันท่านกล่าวแล้วด้วย ศัพท์ว่า ธัมมัฏฐิติญาณ นั่นแล.
    หากจะมีคำถามว่า เพราะเหตุไร ท่านจะไม่กล่าว สมาทหิตฺวา
    ปจฺจยปริคฺคเห ปญญา แปลว่า ปัญญาในการกำหนดปัจจัย เพราะมี
    จิตตั้งมั่น เหมือนญาณที่ ๑ และญาณที่ ๒ เล่า? ตอบว่า เพราะ
    สมถะและวิปัสสนาเป็นธรรมคู่กัน.
    สมจริงดังคาถาประพันธ์อันโบราณาจารย์ได้กล่าวไว้ว่า
    หากว่าพระโยคีบุคคลมีจิตตั้งมั่นย่อมเห็น
    แจ้งได้โดยประการใดไซร้, และหากพระโยคี
    บุคคลเมื่อเห็นแจ้งอยู่ ย่อมมีจิตตั้งมั่นได้โดย
    ประการนั้น, ในกาลนั้น วิปัสสนา และสมถะ
    เป็นธรรมมีส่วนเสมอกัน เป็นธรรมคู่กันเป็นไป.
    เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า ท่านกล่าวว่า ปจฺจยปริคฺคเห
    ปญญา ธมฺมฏฺ€ิติาณํ แปลว่า ปัญญาในการกำหนดปัจจัย
    เป็นธัมมัฏฐิติญาณดังนี้ไว้ ก็เพื่อจะให้รู้ว่า ตราบใดที่อริยมรรคยังไม่
    ละสมาธิทำสมาธิกับปัญญาให้เป็นธรรมคู่กัน, พระโยคีบุคคลก็จำต้อง
    ขวนขวายอยู่ตราบนั้น.
     
  12. ยายทองประสา

    ยายทองประสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    805
    ค่าพลัง:
    +3,069
    ๔. อรรถกถาธัมมัฏฐิติญาณุทเทส
    ว่าด้วย ธรรมฐิติญาณ

    ชื่อว่าปัจจัย ในคำนี้ว่า ปจฺจยปริคฺคเห ปญญา มีวจนัตถะ
    ว่า ผลย่อมอาศัยธรรมนั้นเกิด ฉะนั้น ธรรมนั้นชื่อว่า ปัจจัย.
    คำว่า ปฏิจฺจ ได้แก่ ไม่เว้นจากธรรมที่เป็นปัจจัยนั้น อธิบาย
    ว่า ไม่บอกคืน. บทว่า เอติ ความว่า ย่อมเกิดขึ้นด้วย ย่อมเป็นไป
    ด้วย. อีกอย่างหนึ่ง มีความว่าอุปการะ มีอรรถว่าเป็นแดนเกิด, ปัญญา
    ในการกำหนดคือกำหนดได้ซึ่งปัจจัยทั้งหลาย เพราะปัจจัยนั้นมีมาก
    อย่าง ชื่อว่า ปจฺจยปริคฺคเห ปญญา แปลว่า ปัญญาเป็นเครื่อง
    กำหนดปัจจัย.
    ธมฺมศัพท์ ในบทว่า ธมฺมฏฺ€ิติาณํ นี้ ย่อมปรากฏใน
    อรรถว่า สภาวะ, ปัญญา, บุญ, บัญญัติ, อาบัติ, ปริยัติ, นิสสัตตตา,
    วิการ, คุณ, ปัจจัย, ปัจจยุปบันเป็นต้น.
    ก็ ธมฺมศัพท์นี้ ย่อมปรากฏในอรรถว่าสภาวะ ได้ในติกะว่า
    กุสลา ธมฺมา สภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล, อกุสลา ธมฺมา
    สภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นอกุศล, อพฺยากตา ธมฺมา สภาวธรรม
    ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตะ.*(อภิ.สํ. ๓๔/๑.)
    ธมฺมศัพท์ ย่อมปรากฏในอรรถว่า ปัญญา ได้ในคำเป็นต้นว่า
    บุคคลใดผู้อยู่ครองเรือนประกอบด้วย
    สัทธา มีธรรม ๔ ประการเหล่านี้ คือ สัจจะ,
    ธรรมะ, ธิติ, และจาคะ บุคคลนั้นแล ละโลกนี้
    ไปแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก*(สํ.ส. ๑๕/๘๔๕.) ดังนี้.
    ธมฺมศัพท์ ย่อมปรากฏในอรรถว่า บุญ ได้ในคำเป็นต้นว่า
    ธรรมและอธรรมทั้ง ๒ นี้ มีผลเสมอกัน
    หามิได้เลย อธรรมย่อมนำไปนรก ธรรมย่อมให้ถึง
    สุคติ*(ขุ.เถร. ๒๖/๓๓๒.) ดังนี้.
    ธมฺมศัพท์ ย่อมปรากฏในอรรถว่า บัญญัติ ได้ในคำเป็นต้นว่า
    บัญญัติธรรม, นิรุตติธรรม, อธิวจนธรรม*(อภิ.สํ. ๓๔/๑๕.) ดังนี้.
    ธมฺมศัพท์ ย่อมปรากฏในอรรถว่า อาบัติ ได้ในคำเป็นต้นว่า
    ธรรมคือปาราชิก, ธรรมคือสังฆาทิเสส*(วิ.มหาวิภงฺค. ๑/๓๐๐.) ดังนี้.
    ธมฺมศัพท์ ย่อมปรากฏในอรรถว่า ปริยัติ ได้ในคำเป็นต้นว่า
    ภิกษุในธรรมวินัย ย่อมเรียนธรรมคือสุตตะ, เคยยะ เวยยา-
    กรณะ*(องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๗๓.) ดังนี้.
    ธมฺมศัพท์ ปรากฏในอรรถว่า นิสสัตตตา - ความไม่มีสัตว์ ได้ใน
    คำเป็นต้นว่า
    ก็สมัยนั้นแล ธรรมทั้งหลาย ย่อมมี,*(อภิ.สํ ๓๔/๑๕.)
    และในคำเป็นต้นว่า พระโยคีบุคคล ตามพิจารณาเห็นธรรม
    ในธรรมทั้งหลาย อยู่*(ที.มหา. ๑๐/๒๗๓.) ดังนี้.
    ธมฺมศัพท์ ปรากฏในอรรถว่า วิการ - ธรรมชาติที่ผันแปร ได้ใน
    คำเป็นต้นว่า
    ชาติธรรม ชราธรรม มรณธรรม*(องฺ.ทกส. ๒๔/๑๐๗.) ดังนี้.
    ธมฺมศัพท์ ปรากฎในอรรถว่า คุณ ได้ในคำเป็นต้นว่า
    พุทธธรรม ๖*(ขุ.มหา. ๒๙/๒๓๑.)… ดังนี้.
    ธมฺมศัพท์ ปรากฏในอรรถว่า ปัจจัย ได้ในคำเป็นต้นว่า
    ความรู้แตกฉานในเหตุ ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา*(อภิ.วิ. ๓๕/๗๗๙.)
    ดังนี้.
    ธมฺมศัพท์ ปรากฏในอรรถว่า ปัจจยุปบัน ได้ในคำเป็นต้นว่า
    ธาตุนั้น ตั้งอยู่แล ชื่อว่า ธรรมฐิติ ธรรมนิยาม*(สํ.นิ. ๑๖/๖๑.) ดังนี้.
    ธมฺมศัพท์นี้นั้น พึงเห็นว่าลงในอรรถว่า ปัจจยุปบัน แปลว่า ธรรม
    ที่เกิดแต่ปัจจัย. โดยอรรถท่านเรียกว่าธรรมะ เพราะทรงไว้ซึ่งสภาวะ
    ของตน, หรือ อันปัจจัยทรงไว้, หรือ ย่อมทรงไว้ซึ่งผลของตน,
    หรือ ผู้ใดบำเพ็ญธรรมให้บริบูรณ์ก็ทรงผู้นั้นไว้ ไม่ให้ตกไปในอบาย
    ทั้งหลาย, หรือทรงไว้ในลักษณะของตน ๆ , หรือว่าย่อมตั้งลงไว้ได้
    ด้วยจิต, ตามสมควร. แต่ในที่นี้ ชื่อว่า ธรรม เพราะอรรถว่า อัน
    ปัจจัยทั้งหลายของตน ทรงไว้, ธรรมทั้งหลายอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ย่อม
    ตั้งขึ้น คือ ย่อมเกิดขึ้นด้วย ย่อมเป็นไปด้วยธรรมชาติใด ฉะนั้น
    ธรรมชาตินั้น จึงชื่อว่า ธรรมฐิติ, คำนี้เป็นชื่อของปัจจัยธรรมทั้งหลาย,
    ญาณในธรรมฐิตินั้น ชื่อว่า ธัมมัฏฐิติญาณ.
    ก็ ธัมมัฏฐิติญาณนี้ มีปริยายแห่งการกำหนดปัจจัยแห่งนามรูป
    ทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นแก่พระโยคีบุคคลผู้ปรารภความเพียร
    เพื่อยถาภูตญาณทัสสนะ ด้วจิตอันตั้งมั่นด้วยสมาธิตามที่กล่าวไว้ใน
    สมาธิภาวนามยญาณแล้วกำหนดนามรูป.
    หากจะมีปุจฉาว่า ญาณนี้ ทำไมท่านไม่กล่าวว่า นามรูป
    ววัตถานญาณ อย่างเดียว แต่กลับกล่าวว่า ธัมมัฏฐิติญาณ
    เล่า? ก็มีวิสัชนาว่า เพราะการกำหนดธรรมที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ล้วน
    สำเร็จด้วยการกำหนดปัจจัยอย่างเดียว. เพราะว่าธรรมที่อาศัยปัจจัย
    เกิดขึ้น อันพระโยคีบุคคลไม่ได้กำหนดแล้ว ก็ไม่สามารถจะทำการ
    กำหนดปัจจัยได้. เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า นามรูปววัตถานญาณ
    อันเป็นเหตุแห่งปัจจยปริคคหญาณนั้น สำเร็จแล้วในก่อน ก็ยอมเป็น
    ญาณอันท่านกล่าวแล้วด้วย ศัพท์ว่า ธัมมัฏฐิติญาณ นั่นแล.
    หากจะมีคำถามว่า เพราะเหตุไร ท่านจะไม่กล่าว สมาทหิตฺวา
    ปจฺจยปริคฺคเห ปญญา แปลว่า ปัญญาในการกำหนดปัจจัย เพราะมี
    จิตตั้งมั่น เหมือนญาณที่ ๑ และญาณที่ ๒ เล่า? ตอบว่า เพราะ
    สมถะและวิปัสสนาเป็นธรรมคู่กัน.
    สมจริงดังคาถาประพันธ์อันโบราณาจารย์ได้กล่าวไว้ว่า
    หากว่าพระโยคีบุคคลมีจิตตั้งมั่นย่อมเห็น
    แจ้งได้โดยประการใดไซร้, และหากพระโยคี
    บุคคลเมื่อเห็นแจ้งอยู่ ย่อมมีจิตตั้งมั่นได้โดย
    ประการนั้น, ในกาลนั้น วิปัสสนา และสมถะ
    เป็นธรรมมีส่วนเสมอกัน เป็นธรรมคู่กันเป็นไป.
    เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า ท่านกล่าวว่า ปจฺจยปริคฺคเห
    ปญญา ธมฺมฏฺ€ิติาณํ แปลว่า ปัญญาในการกำหนดปัจจัย
    เป็นธัมมัฏฐิติญาณดังนี้ไว้ ก็เพื่อจะให้รู้ว่า ตราบใดที่อริยมรรคยังไม่
    ละสมาธิทำสมาธิกับปัญญาให้เป็นธรรมคู่กัน, พระโยคีบุคคลก็จำต้อง
    ขวนขวายอยู่ตราบนั้น.
     
  13. ยายทองประสา

    ยายทองประสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    805
    ค่าพลัง:
    +3,069
    ๕. อรรถกถาสัมมสนญาณุทเทส
    ว่าด้วย สัมมสนญาณ

    ชื่อว่า อดีต เพราะอรรถว่า ถึงแล้ว ถึงยิ่งแล้ว ก้าวล่วงแล้ว
    ซึ่งสภาวะของตนหรือ ขณะมีอุปปาทขณะเป็นต้น, ชื่อว่า อนาคต
    เพราะอรรถว่า ไม่ถึงแล้ว ไม่ถึงพร้อมแล้ว แม้ซึ่งสภาวะของตนและ
    ขณะมีอุปาทขณะเป็นต้นทั้ง ๒ นั้น, ชื่อว่า ปัจจุบัน เพราะอรรถว่า
    บรรลุแล้ว ถึงแล้ว เป็นไปแล้วเพราะอาศัยเหตุนั้น ๆ จนล่วงขณะมี
    อุปาทขณะเป็นต้น ในคำนี้ว่า อตีตานาคตปจฺจุปฺปนฺนานํ ธมฺมานํ
    สงฺขิปิตฺวา ววตฺถาเน ปญญา. ในกาล ในขณะสืบต่อและในปัจจุบัน
    ในที่นี้ประสงค์เอาปัจจุบันสันตติ คือปัจจุบันที่กำลังสืบต่อ. ปัญญา
    ในการรวบรวมเอาธรรม คือขันธ์ ๕ ทั้งที่เป็นอดีตอนาคตปัจจุบัน
    เหล่านั้นเข้าไว้ในขันธ์หนึ่ง ๆ แล้วทำให้เป็นกองด้วยสามารถกลาปะ
    คือหมวดหมู่แล้ว กำหนด วินิจฉัย ตัดสินได้.
    ญาณคือปัญญาในการถูกต้อง เลือกเฟ้น เพ่งพินิจด้วยดี อธิบาย
    ว่า ญาณในการพิจารณาในเบญจขันธ์โดยความเป็นหมวดหมู่ (กลาปะ)
    ชื่อว่า สมฺมสเน าณํ แปลว่า ญาณในการพิจารณาเบญจขันธ์.
    จริงอยู่ กลาปสัมมสนญาณนี้ ย่อมเกิดแก่พระโยคีบุคคลผู้ได้
    ธัมมัฏฐิติญาณเป็นเครื่องกำหนดปัจจัยของนามรูป ในลำดับแห่งนาม-
    รูปววัตถานญาณ ยกแต่ละขันธ์ ๆ ที่กำหนดไว้แล้วในก่อนขึ้นสู่พระ-
    ไตรลักษณ์แล้วเห็นแจ้งอยู่ โดยความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาตามที่กล่าวแล้ว โดยนัยแห่งพระบาลี
    เป็นต้นว่า
    พระโยคีบุคคลกำหนดรูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต
    อนาคตและปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม
    ละเอียดก็ตาม เลวก็ตาม ประณีตก็ตาม มีในที่ไกลก็ตาม ในที่ใกล้
    ก็ตาม โดยความเป็นของไม่เที่ยง การกำหนดนี้เป็นสัมมสนญาณประการ
    หนึ่ง, กำหนดโดยความเป็นทุกข์ การกำหนดนี้. เป็นสัมมสนญาณ
    ประการหนึ่ง, กำหนดโดยความเป็นอนัตตา การกำหนดนี้ก็เป็นสัมม-
    สนญาณประการหนึ่ง.*(ขุ. ป. ๓๑/๙๙.)
     
  14. ยายทองประสา

    ยายทองประสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    805
    ค่าพลัง:
    +3,069
    ๖. อรรถกถาอุทยัพพยานุปัสสนาญาณุทเทส
    ว่าด้วย อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ

    คำว่า ปจฺจุปฺปนฺนานํ ธมฺมานํ วิปริณามานุปสฺสเน ปญญา
    ความว่า ปัญญาในการเห็นความแปรไป คือความดับไปแห่งธรรมคือ
    เบญจขันธ์ ในภายในที่เป็นปัจจุบันด้วยอำนาจสันตติ. จิตแม้กำหนด
    ความเกิดขึ้นว่า ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ครั้นเกิดขึ้นแล้วก็ย่อมดับไป
    ดังนี้ ก็ชื่อว่าตั้งอยู่ในความแตกดับไปเหมือนกัน, เพราะฉะนั้น พึง
    ทราบว่า การเกิดขึ้นแม้ไม่ได้กล่าวไว้แล้วก็เป็นอันกล่าวไว้เหมือนกัน.
    อีกอย่างหนึ่ง การเกิดขึ้นแห่งปัจจุบันธรรมทั้งหลาย ย่อมเป็นอันกล่าว
    แล้วด้วยทัสนะ เพราะสำเร็จการเห็นความเกิดขึ้น.
    จริงอยู่ เว้นอุทยะคือการเกิดขึ้นเสีย ความเกิดขึ้นแห่งธรรม
    ทั้งหลาย ก็ย่อมไม่สำเร็จ, เพราะฉะนั้น แม้เมื่อไม่กล่าวว่า ปัญญา
    ในการตามเห็นความเกิดขึ้นและความแปรไปแห่งปัจจุบันธรรมทั้งหลาย
    ก็พึงทราบว่า เป็นอันกล่าวแล้วเหมือนกัน.
    อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ย่อมเกิดแก่พระโยคีบุคคลผู้บรรลุ
    สัมมสนญาณ ตามที่กล่าวแล้วในลำดับว่า ก็การเห็นความเกิดขึ้น
    ย่อมสำเร็จเพราะคำนั้นกำหนดตามพระบาลีว่า อุทยพฺพยานุปสฺสเน
    ญาณ แปลว่า ปัญญาในการตามเห็นการเกิดและความดับไป ดังนี้
    แล้ว ก็กำหนดการเกิดขึ้นและความดับไปในสังขารธรรมที่กำลังปรากฏ
    ในสัมมสนญาณนั่นเอง แล้วปรารภอุทยัพพยานุปัสสนาเพื่อทำการ
    กำหนดสังขารธรรมทั้งหลาย. เพราะว่าญาณนั้น ท่านเรียกว่า อุทยัพ-
    พยานุปัสสนา เพราะตามเห็นความเกิดและความดับ.
     
  15. ยายทองประสา

    ยายทองประสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    805
    ค่าพลัง:
    +3,069
    ๗. อรรถกถาวิปัสสนาญาณุทเทส
    ว่าด้วย วิปัสสนาญาณ

    คำว่า อารมฺมณํ ปฏิสงฺขา ความว่า รู้ เห็น อารมณ์มี
    รูปขันธ์เป็นต้น เพราะพิจารณาโดยความเป็นภังคะ คือแตกดับไป.
    คำว่า ภงฺคานุปสฺสเน ปญญา วิปสฺสเน าณํ ความว่า
    ปัญญาใดรู้ในการตามเห็น ความดับ แห่งญาณที่เกิดขึ้นแล้วเพราะ
    พิจารณาอารมณ์ของญาณนั้นโดยความเป็นภังคะ คือแตกดับไป, ญาณ
    นั้น ท่านกล่าวว่า วิปสฺสเน าณํ แปลว่า ญาณในวิปัสสนา.
    บทว่า วิปสฺสนา ได้แก่ เห็น เห็นแจ้ง โดยประการต่าง ๆ .
    ปาฐะว่า อารมฺมณปฏิสงฺขา ดังนี้ก็มี.
    เนื้อความแห่งวิปัสสนาญาณนั้นดังต่อไปนี้
    คำว่า ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์แล้วพิจารณาเห็นความ
    แตกดับไป เป็นวิปัสสนาญาณ ท่านกล่าวไว้แล้วเพราะพิจารณา
    อารมณ์โดยนัยตามที่กล่าวแล้วว่า การพิจารณา การรู้ การเห็นซึ่ง
    อารมณ์. ก็วิปัสสนาย่อมถึงยอดแห่งภังคานุปัสสนานั่นแหละ เพราะ
    ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวคำนี้ไว้เป็นพิเศษว่า วิปสฺสเน าณํ แปลว่า
    ญาณในวิปัสสนา.
    มัคคามัคคญาณทัสนะ ย่อมเกิดแก่พระโยคีบุคคลผู้ได้อุทยัพ-
    พยานุปัสสนาญาณ, เพราะฉะนั้น เมื่ออุทยัพพยานุปัสสนาสำเร็จแล้ว
    มัคคามัคคญาณทัสนะนั้น ก็ย่อมสำเร็จด้วย คำนั้นท่านมิได้กล่าวไว้เลย
    พึงทราบว่า ญาณมีวิปัสสนาเป็นยอด ท่านกล่าวไว้แล้วด้วยภังคานุ-
    ปัสสนาญาณ.
    เมื่อสังขารทั้งหลายอันพระโยคีบุคคลผู้กำหนดซึ่งอุทยัพพยะ
    อันตนเห็นแจ้งแล้วด้วยอุทยัพพยานุปัสสนาแล้ว ก็ปรากฏขึ้นโดยพลัน
    ทีเดียว เมื่อญาณแก่กล้าอยู่ สติก็ละอุทยะความเกิด แล้วตั้งอยู่ในภังคะ
    ความดับอย่างเดียว, ภังคานุปัสสนาญาณ ก็ย่อมเกิดขึ้นได้ในฐานะนี้
    แก่พระโยคีบุคคลนั้น ผู้เห็นอยู่ว่า ธรรมดาสังขารธรรมทั้งหลาย
    เกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ ก็ย่อมดับไปอย่างนี้
     
  16. ยายทองประสา

    ยายทองประสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    805
    ค่าพลัง:
    +3,069
    ๘. อรรถกถาอาทีนวญาณุทเทส
    ว่าด้วย อาทีนวญาณ

    คำว่า ภยตูปฏฺ€าเน ปญญา มีความว่า ปัญญาในการปรากฏ
    ขึ้นแห่งอุปปาทะความเกิด ปวัตตะความเป็นไป นิมิตเครื่องหมาย อายู-
    หนาการประมวลมา และ ปฏิสนธิการเกิดในภพใหม่ โดยความเป็นภัย
    คือในการเข้าไปยึดถือว่ามีภัยปรากฏอยู่เฉพาะหน้า โดยการประกอบ
    ด้วยความเบียดเบียนอยู่เนือง ๆ . ย่อมปรากฏโดยความเป็นภัย ฉะนั้น
    จึงชื่อว่า ภยตูปัฏฐาน คืออารมณ์. ปัญญา ในภยตูปัฏฐานนั้น. อีก
    อย่างหนึ่ง ชื่อว่า ภยตูปัฏฐาน คือปัญญา เพราะอรรถว่า ปรากฏ
    โดยความเป็นภัย คำนั้นย่อมเป็นคำอธิบาย อันท่านกล่าวแล้วว่า ภยตู-
    ปัฏฐาน.
    คำว่า อาทีนเว าณํ เป็นภุมมวจนะ คือสัตตมีวิภัตติ.
    เพราะพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรได้กล่าวไว้ว่า
    ธรรมเหล่านั้น คือ ปัญญาในความปรากฏ
    โดยความเป็นภัย ๑, อาทีนวญาณ ๑, นิพพิทา-
    ญาณ ๑, มีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญ-
    ชนะเท่านั้น.*(ขุ.ป. ๓๑/๕๐๗.)
    แม้จะกล่าวเพียงคำเดียว (ญาณเดียว) ก็ย่อมเป็นอันกล่าว
    ทั้ง ๓ โดยประเภทแห่งการกำหนด ดุจมุญจิตุกัมยตาญาณเป็นต้น
    ฉะนั้น แม้ไม่กล่าวว่า เมื่อภยตูปัฏฐานและอาทีนวานุปัสสนา สำเร็จ
    แล้ว นิพพิทานุปัสสนา ก็ย่อมสำเร็จ ดังนี้ ก็พึงทราบว่า เป็น
    อันกล่าวแล้วทีเดียว.
    สังขารทั้งหลาย อันจำแนกไว้ในภพ ๓, กำเนิด ๔, คติ ๕,
    วิญญาณฐิติ ๗, และสัตตาวาส ๙ ย่อมปรากฏเป็นมหาภัยแก่พระโยคี
    บุคคลผู้เสพอยู่ เจริญอยู่ กระทำให้มากอยู่ซึ่งภังคานุปัสสนามีความ
    ดับไปแห่งสังขารทั้งปวงเป็นอารมณ์ เหมือนอย่างสีหะ, เสือโคร่ง,
    เสือเหลือง, หมี, เสือดาว, ยักษ์, รากษส, โคดุ, สุนัขดุ, ช้าง
    ซับมันดุ, งูดุ, ฟ้าผ่า, ป่าช้า, สมรภูมิ, หลุมถ่านเพลิงที่คุกรุ่นเป็นต้น
    ย่อมปรากฏเป็นภัยใหญ่แก่บุรุษผู้กลัวภัยใคร่มีชีวิตอยู่เป็นสุข, ภยตู-
    ปัฏฐานญาณ ย่อมเกิดขึ้นได้ในฐานะนี้ แก่พระโยคีบุคคลผู้เห็นอยู่ว่า
    สังขารทั้งหลายในอดีตก็ดับไปแล้ว, ในปัจจุบันก็กำลังดับ, ถึงแม้ใน
    อนาคตก็จักดับไปอย่างนี้เหมือนกัน
    ในภพ, กำเนิด, คติ, ฐิติ, และสัตตาวาสทั่วทุกแห่งหน ที่
    ต้านทาน ที่ซ่อนเร้น ที่ไป ที่พึ่ง ย่อมไม่ปรากฏเลยแก่พระโยคีบุคคล
    ผู้เสพอยู่เจริญอยู่กระทำให้มากอยู่ ซึ่งภยตูปัฏฐานญาณนั้น, ความ
    ปรารถนาก็ดี ความถือมั่นก็ดี ย่อมไม่มีในสังขารทั้งหลายอันมีใน ภพ,
    กำเนิด, คติ, ฐิติ, นิวาสะ แม้สักสังขารเดียว, ภพทั้ง ๓ ปรากฏ
    ดุจหลุมถ่านเพลิงที่เต็มด้วยถ่านเพลิงไม่มีเปลว, มหาภูตรูป ๔ ปรากฏ
    ดุจอสรพิษที่มีพิษร้าย, ขันธ์ ๕ ปรากฏดุจเพชฌฆาตที่กำลังเงื้อดาบ,
    อัชฌัตติกายตนะ ๖ ปรากฏดุจเรือนว่างเปล่า, พาหิรายตนะ ๖ ปรากฏ
    ดุจโจรปล้นชาวบ้าน, วิญญาณฐิติ ๗ และสัตตาวาส ๙ ปรากฏดุจถูก
    ไฟ ๑๑ กองลุกเผาอยู่โชติช่วง, สังขารทั้งหลายทั้งปวงปรากฏแก่ผู้นั้น
    เหมือนเป็นฝี, เป็นโรค, เป็นลูกศร, เป็นไข้, เป็นอาพาธ, ปราศจาก
    ความแช่มชื่น, หมดรส, เป็นกองแห่งโทษใหญ่ เป็นเหมือนป่าชัฏที่มี
    สัตว์ร้าย แม้จะตั้งขึ้นโดยอาการที่น่ารื่นรมย์แก่บุรุษผู้กลัวภัยใคร่จะมี
    ชีวิตอยู่เป็นสุข เป็นเหมือนถ้ำที่มีภูเขาไฟพ่นอยู่, เป็นเหมือนสระน้ำ
    ที่มีรากษสสิงสถิตอยู่, เป็นเหมือนข้าศึกที่กำลังเงื้อดาบขึ้น. เป็น
    เหมือนโภชนะที่เจือด้วยยาพิษ, เป็นเหมือนหนทางที่เต็มไปด้วยโจร,
    เป็นเหมือนเรือนที่ไฟติดทั่วแล้ว, เป็นเหมือนสนามรบที่เหล่าทหาร
    กำลังต่อยุทธกัน.
    เหมือนอย่างว่า บุรุษนั้น อาศัยภัยมีป่าชัฏที่เต็มไปด้วยสัตว์
    ร้ายเป็นต้นเหล่านี้ กลัวแล้ว ตกใจแล้ว ขนลุกชูชัน ย่อมเห็นโทษ
    อย่างเดียวรอบด้าน ฉันใด, พระโยคาวจรนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน
    ครั้นเมื่อสังขารทั้งปวงปรากฏแล้วโดยความเป็นภัยด้วยอำนาจภังคานุ-
    ปัสสนา ก็ย่อมเห็นแต่โทษอย่างเดียวปราศจากรสหมดความแช่มชื่น
    อยู่รอบด้าน. อาทีนวานุปัสสนาญาณ ย่อมเกิดขึ้นแก่พระโยคีบุคคลนั้น
    ผู้เห็นอยู่อย่างนี้.
    พระโยคีบุคคลนั้น เมื่อเห็นสังขารทั้งปวงโดยความเป็นโทษ
    อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย กระวนกระวาย ไม่ยินดี ในสังขารทั้งหลาย
    อันมีประเภทในภพ, กำเนิด, คติ, วิญญาณฐิติ, และสัตตาวาสทั้งปวง.
    เหมือนอย่างว่าพญาหงส์ทองผู้ยินดีเฉพาะเชิงเขาจิตรกูฏ ย่อมไม่ยินดี
    บ่อน้ำแถบประตูบ้านคนจัณฑาลซึ่งไม่สะอาด, ย่อมยินดีเฉพาะสระใหญ่
    ทั้ง ๗ เท่านั้น ฉันใด, พญาหงส์คือพระโยคีนี้ ย่อมไม่ยินดีสังขาร
    อันมีประเภทต่าง ๆ ล้วนแล้วด้วยโทษอันตนเห็นแจ่มแจ้งแล้ว, แต่
    ย่อมยินดียิ่งในอนุปัสสนา ๗ เท่านั้น เพราะยินดีในภาวนา คือเพราะ
    ประกอบด้วยความยินดีในภาวนาก็ฉันนั้นเหมือนกัน. และเหมือนสีหะ
    ผู้มิคราชา ถูกจับขังไว้ แม้ในกรงทองก็ไม่ยินดี, แต่ย่อมยินดีใน
    หิมวันตประเทศอันกว้างใหญ่ถึง ๓,๐๐๐ โยชน์ ฉันใด, สีหะคือพระ-
    โยคีบุคคลแม้นี้ ย่อมไม่ยินดีแม้ในสุคติภพทั้ง ๓ แต่ย่อมยินดีในอนุ-
    ปัสสนา ๓ เท่านั้น
    อนึ่ง เหมือนพญาช้างฉัททันต์ เผือกผ่องทั้งตัวมีที่ตั้งดี ๗ สถาน
    มีฤทธิ เหาะไปในเวหาส ย่อมไม่ยินดีในใจกลางพระนคร, แต่ย่อม
    ยินดีในสระใหญ่ชื่อฉัททันต์เท่านั้น ฉันใด, พระโยคีบุคคลเพียงดัง
    ช้างตัวประเสริฐนี้ ย่อมไม่ยินดีในสังขารธรรมแม้ทั้งปวง, แต่ย่อมยินดี
    ในสันติบทคือพระนิพพานเท่านั้น อันท่านแสดงแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า
    การไม่เกิดขึ้น เป็นการปลอดภัย*(ขุ.ป. ๓๑/๑๑๕), มีใจน้อมไปโน้มไปเงื้อมไปใน
    สันติบทคือพระนิพพานนั้น. นิพพิทานุปัสสนาญาณย่อมเป็นอันเกิดขึ้น
    แล้วแก่พระโยคีนั้น ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ด้วยประการฉะนี้.
     
  17. ยายทองประสา

    ยายทองประสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    805
    ค่าพลัง:
    +3,069
    ๙. อรรถกถาสังขารุเปกขาญาณุทเทส
    ว่าด้วย สังขารุเปกขาญาณ

    คำว่า มุญฺจิตุกมฺยตาปฏิสงฺขาสนฺติฏฺ€นา ปญญา สงฺขารุ-
    เปกฺขาสุ าณํ ความว่า พระโยคีบุคคลใด มีความประสงค์คือ
    ปรารถนาเพื่อจะพ้นเพื่อจะสละ ฉะนั้น พระโยคีบุคคลนั้น จึงชื่อว่า
    มุญฺจิตุกมฺโย แปลว่า ผู้ใคร่จะพ้น, ความเป็นผู้ใคร่จะพ้น ชื่อว่า
    มุญฺจิตุกมฺยตา,
    ปัญญาใด ย่อมพิจารณา ย่อมใคร่ครวญ ฉะนั้น ปัญญานั้น
    จึงชื่อว่า ปฏิสงฺขา, อีกอย่างหนึ่ง การไตร่ตรอง ชื่อว่า ปฏิสงฺขา,
    ปัญญาใด ย่อมตกลง ย่อมวางเฉยเสียได้ ฉะนั้น ปัญญานั้น
    ชื่อว่า สนฺติฏฺ€นา แปลว่า วางเฉย, อีกอย่างหนึ่ง การวางเฉย
    ชื่อว่า สนฺติฏฺ€นา,
    ปัญญาชื่อว่า มุญฺจิตุกมฺยตานั้นด้วย ปฏิสงฺขาด้วย สนฺติฏฺ-
    ฐนาด้วย ฉะนั้น จึงชื่อว่า มุญฺจิตุกมฺยตาปฏิสงฺขาสนฺติฏฺ€นา
    แปลว่า ความใคร่จะพ้น, การพิจารณา, และการวางเฉย.
    ความเป็นผู้ใคร่จะสลัดเสียซึ่งความเกิดเป็นต้น ของพระโยคี
    บุคคลผู้เบื่อหน่ายด้วยนิพพิทาญาณ ในเบื้องต้น ชื่อมุญจิตุกัมยตา,
    การใคร่ครวญสังขารทั้งหลายที่พิจารณาแล้ว เพื่อทำอุบายแห่ง
    การละในท่ามกลาง ชื่อปฏิสังขา,
    การปล่อยวาง แล้ววางเฉยได้ในที่สุด ชื่อสันติฏฐนา.
    ปัญญา ๓ ประการโดยประเภทแห่งการกำหนดอย่างนี้ ชื่อว่า
    ความรู้ในการพิจารณาสังขารทั้งหลาย. ก็พระโยคีบุคคลผู้ปรารถนา
    ความเข้าไปวางเฉยในสังขาร ด้วยปัญญาแม้ทั้ง ๓ ต่างด้วยประเภท
    การกำหนดกล่าวคือ
    ๑. มุญจิตุกัมยตา ปรารถนาจะพ้นการเกิดเป็นต้น
    ๒. ปฏิสังขา พิจารณาสังขารทั้งหลาย
    ๓. สันติฏฐนา วางเฉยในสังขารทั้งหลาย
    คำว่า ปญญา และคำว่า สงฺขารุเปกฺขาสุ ท่านทำเป็น
    พหุวจนะไว้, คำว่า าณํ พึงทราบว่า ท่านทำไว้เป็นเอกวจนะ
    เพราะแม้จะต่างกันโดยประเภทแห่งการกำหนดก็เป็นอย่างเดียวกัน.
    สมจริงดังคำที่พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรกล่าวไว้ว่า ธรรม
    เหล่านี้ คือ มุญจิตุกัมยตา, ปฏิสังขานุปัสสนา และปฏิสังขารุเปกขา
    มีเนื้อความเป็นอันเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น.*(ขุ. ป. ๓๑/๕๐๘.)
    แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า คำว่า สงฺขารุเปกฺขาสุ นี้ เป็นพหุวจนะ
    เพราะสังขารุเปกขาเป็นของมากด้วยสามารถแห่งสมถะและวิปัสสนา
    ดังนี้ก็มี. ก็คำว่า สงฺขารุเปกฺขาสุ ในการเพ่งสังขารทั้งหลาย พึงทราบ
    ว่า เพ่งการกระทำ.
    แต่จิตของพระโยคีบุคคลผู้เบื่อหน่ายอยู่ ระย่ออยู่ด้วยนิพพิทา-
    ญาณนั้นด้วยประเภทแห่งการกำหนด ย่อมไม่ติด ย่อมไม่ข้อง ย่อม
    ไม่เกี่ยวอยู่ในสังขารทั้งหลายทุกประเภท อันอยู่ในภพ, กำเนิด, คติ,
    วิญญาณฐิติ, และสัตตาวาสทั้งปวง, จิตนั้นก็ใคร่ที่จะพ้น ใคร่ที่จะ
    สลัดทิ้งสัพพสังขารทั้งหมด.
    อีกอย่างหนึ่ง เสมือนปลาที่ติดอยู่ในข่าย, กบที่อยู่ในปากงู,
    ไก่ป่าที่ถูกขังอยู่ในกรง, มฤคที่ติดบ่วงแน่น, งูที่อยู่ในกำมือของหมองู,
    ช้างที่แล่นไปตกหล่มใหญ่, นาคราชอยู่ในปากของครุฑ, พระจันทร์
    ที่เข้าไปอยู่ในปากของราหู, บุรุษถูกศัตรูล้อมไว้ เหล่านี้เป็นต้น ล้วน
    เป็นผู้ใคร่เพื่อจะพ้นเพื่อจะหลุดรอดไปจากพันธนาการนั้น ๆ ด้วยกันทั้ง
    สิ้น ฉันใด, จิตของพระโยคีบุคคลนั้น ย่อมใคร่ที่จะพ้น ใคร่ที่จะ
    หลุดรอดจากสังขารทั้งปวง ก็ฉันนั้น. ก็เมื่อกล่าวอยู่อย่างนี้ พระปาฐะ
    ว่า มุญฺจิตุกามสฺส มุญฺจิตุกมฺยตา แปลว่า ความใคร่ที่จะพ้น
    ของพระโยคีบุคคลผู้ใคร่จะพ้น ก็ย่อมถูกต้อง. เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็
    พึงกล่าวได้ว่า ในบทว่า อุปฺปาทํ มุญฺจิตุกมฺยตา เป็นต้น ก็
    ควรเป็น อุปฺปาทา มุญฺจิตุกมฺยตา เป็นต้น, เพราะฉะนั้น
    เนื้อความก่อนนั่นแหละดีกว่า.
    ก็แล มุญจิตุกัมยตาญาณ ย่อมเกิดแก่พระโยคีบุคคลนั้นผู้ทอด
    อาลัยในสังขารทั้งปวง ผู้ใคร่จะพ้นจากสังขารทั้งปวง. พระโยคีบุคคล
    เป็นผู้ใคร่จะพ้นสังขารทุกประเภทบรรดามี ในภพกำเนิดคติวิญญาณฐิติ
    และสัตตาวาสทั้งปวง จึงยกสังขารเหล่านั้นขึ้นสู่พระไตรลักษณ์อีก
    เพื่อจะทำอุบายแห่งการพ้นให้สำเร็จ แล้วจึงเห็นแจ้งด้วยปฏิสังขานุ-
    ปัสสนาญาณ.
    ก็เมื่อพระโยคีบุคคลนั้นเห็นแจ้งอยู่อย่างนี้แล ปฏิสังขาญาณ
    เป็นนิมิตด้วยอนิจลักษณะ ย่อมเกิดขึ้น, ปฏิสังขาญาณอันเป็นไป
    ด้วยทุกขลักษณะ ย่อมเกิดขึ้น, และปฏิสังขาญาณเป็นนิมิตและเป็น
    ไปแล้วด้วยอนัตตลักษณะ ก็ย่อมเกิด.
    พระโยคีบุคคลนั้นเห็นว่า สพฺเพ สงฺขารา สุฺา แปลว่า
    สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นของว่าง ดังนี้แล้วจึงยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์
    พิจารณาสังขารทั้งหลายอยู่ จึงละความกลัวและความยินดีเสียได้ก็ย่อม
    วางเฉย มีตนเป็นกลางในสังขารทั้งหลาย ดุจบุรุษเห็นโทษของภริยา
    แล้วทิ้งภริยาเสีย แล้ววางเฉย มีตนเป็นกลางในร่างกายของภริยานั้น,
    พระโยคีบุคคลนั้น ย่อมไม่ถืออหังการว่า เรา หรือ มมังการว่า
    ของเรา.
    จิตของพระโยคีบุคคลนั้น เมื่อรู้อยู่ เห็นอยู่ อย่างนี้ ก็ย่อม
    หลีกออก ถอยกลับ หมุนกลับ ไม่ยินดีในภพทั้ง ๓. เหมือนใบบัว
    โอนไปหน่อยหนึ่ง หยาดน้ำทั้งหลายย่อมไหลไป ถอยกลับ หมุนกลับ
    ไม่ไหลลื่นไป, หรือเหมือนขนไก่หรือเอ็นและหนัง ที่เขาใส่ในไฟ
    ย่อมหลีกออก งอกลับ ม้วนกลับ ไม่คลี่ออกแม้ฉันใด; จิตของพระ-
    โยคีบุคคลนั้น ย่อมหลบหลีก ถอยกลับ หมุนกลับ ไม่ยินดีในภพ
    ทั้ง ๓ ฉันนั้น, อุเบกขา ความวางเฉย ก็ย่อมตั้งขึ้น. สังขารุเปกขา-
    ญาณ ย่อมเป็นอันเกิดขึ้นแล้วแก่พระโยคีบุคคลนั้นด้วยประการฉะนี้.
    อนุโลมญาณกับสังขารุเปกขาญาณนี้ เป็นเหตุให้สำเร็จโคตร-
    ภูญาณในเบื้องบน แม้จะมิได้กล่าวไว้ด้วยญาณต้นและญาณหลัง ก็พึง
    ทราบว่า ย่อมเป็นอันกล่าวไว้แล้วทีเดียว. สมจริงดังพระดำรัสที่
    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณา
    เห็นสังขารไร ๆ โดยความเป็นของเที่ยง จักเป็นผู้
    ประกอบด้วยขันติที่สมควร ข้อนั้นย่อมไม่เป็น
    ฐานะที่จะมีได้, ไม่ประกอบด้วยขันติที่สมควร
    จักก้าวลงสู่ความเป็นแห่งความเห็นชอบและความ
    แน่นอน ข้อนั้นย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้, เมื่อ
    ไม่ก้าวลงสู่ความเป็นแห่งความเห็นชอบและความ
    แน่นอน จักกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล, สก-
    ทาคามิผล, อนาคามิผล หรืออรหัตผล ข้อนั้น
    ย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้*(องฺ. ฉกฺก. ๒๒/๓๖๙.) ดังนี้เป็นต้น.
    และพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรได้กล่าวคำเป็นต้นว่า
    ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการเท่าไร, ย่อมก้าวลงสู่สัม-
    มัตตนิยามด้วยอาการเท่าไร.
    ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการ ๔๐, ย่อมก้าวลงสู่สัมมัตต-
    นิยามด้วยอาการ ๔๐*(ขุ. ป. ๓๑/๗๓๕.) ดังนี้.
    และในปัฏฐานปกรณ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำเป็นต้นว่า
    อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โคตรภู ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย อนุ-
    โลมเป็นปัจจัยแก่โวทาน ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย*(อภิ. ป. ๔๐/๕๐๕.)
    จริงอยู่ เมื่อพระโยคีบุคคลนั้น เสพอยู่ เจริญอยู่ กระทำให้
    มากอยู่ ซึ่งสังขารุเปกขาญาณนั้น อธิโมกขสัทธาก็ย่อมมีกำลังยิ่ง,
    วิริยะก็ประคองไว้ได้ด้วยดี, สติก็ตั้งมั่น, จิตก็เป็นสมาธิ, สังขารุเปกขา-
    ญาณ ก็ย่อมเป็นไปอย่างแก่กล้า.
    จิตนั้น พิจารณาสังขารทั้งหลายว่า อนิจฺจา ไม่เที่ยง,
    ทุกฺขา เป็นทุกข์, หรือ อนตฺตา ไม่ใช่ตัวตนด้วยสังขารุ-
    เปกขาโดยหวังว่า "มรรคจักเกิดขึ้นในบัดนี้ดังนี้ แล้วก็ลงสู่ภวังค".
    อนุโลมญาณ
    ต่อจากภวังค์ มโนทวาราวัชชนะก็เกิดขึ้นทำสังขารทั้งหลาย
    โดยนัยที่สังขารุเปกขาทำแล้วนั้นแหละให้เป็นอารมณ์ว่า อนิจจา
    ไม่เที่ยง, ทุกขา เป็นทุกข์, หรือ อนัตตา ไม่ใช่ตัวตน.
    ต่อจากมโนทวาราวัชชนะนั้น ชวนจิตก็เกิดขึ้น ๒ ขณะ, ๓
    ขณะ หรือ ๔ ขณะ รับเอาสังขารทั้งหลายทำให้เป็นอารมณ์ เหมือน
    อย่างนั้นนั่นแล.
    ญาณอันสัมปยุตกับชวนจิตนั้น ชื่อว่าอนุโลมญาณ.
    จริงอยู่ อนุโลมญาณนั้น ย่อมอนุโลมตามวิปัสสนาญาณ ๘
    ในเบื้องต้น เพราะเป็นกิจแห่งสัจญาณ, และอนุโลมตามโพธิปักขิย-
    ธรรม ๓๗ อันเป็นธรรมที่จะพึงบรรลุในเบื้องหน้า.
    เหมือนอย่างว่า ธรรมิกราชา ประทับนั่งบนบัลลังก์เป็นที่วินิจฉัย
    ทรงสดับการวินิจฉัยของอำมาตย์ผู้ฉลาดในโวหาร ๘ คน แล้วทรงละ
    อคติวางพระองค์เป็นกลาง อนุโมทนาว่า เป็นอย่างนั้นเถิด ย่อม
    อนุโลมตามข้อวินิจฉัยของอำมาตย์ทั้ง ๘ คนเหล่านั้น, และอนุโลมตาม
    โบราณราชธรรม.
    ในข้ออุปมานั้น อนุโลมญาณ เปรียบเหมือนพระราชา,
    วิปัสสนาญาณ ๘ เปรียบเหมือนมหาอำมาตย์ผู้ฉลาดในโวหาร, โพธิ-
    ปักขิยธรรม ๓๗ เปรียบเหมือนโบราณราชธรรม, พระราชาทรงอนุ-
    โมทนาว่า เป็นอย่างนั้นเถิด ชื่อว่า ย่อมอนุโลมตามข้อวินิจฉัยของ
    เหล่าอำมาตย์ผู้ฉลาดในโวหารด้วยตามราชธรรมด้วยฉันใด, อนุโลม-
    ญาณนี้ก็ฉันนั้น ย่อมอนุโลมตามวิปัสสนาญาณ ๘ ที่เกิดขึ้นปรารภ
    สังขารทั้งหลายด้วยสามารถแห่งพระไตรลักษณ์ มีอนิจลักษณะเป็นต้น
    เพราะเป็นกิจแห่งสัจจะ, และอนุโลมตามโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ
    อันเป็นธรรมที่จะพึงบรรลุในเบื้องหน้า. เพราะฉะนั้นญาณนี้ท่านจึง
    เรียกว่า อนุโลมญาณ ฉะนี้แล.
     
  18. ยายทองประสา

    ยายทองประสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    805
    ค่าพลัง:
    +3,069
    ๑๐. อรรถกถาโคตรภูญาณุทเทส
    ว่าด้วย โคตรภูญาณ

    ในคำว่า พหิทฺธา วุฏฺ€านวิวฏฺฏเน ปญญา โคตฺรภูาณํ
    แปลว่า ปัญญาในการออกและหลีกไปจากสังขารนิมิตภายนอกเป็น
    โคตรภูญาณ นี้มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
    บทว่า พหิทฺธา ได้แก่สังขารนิมิต. เพราะว่า สังขารนิมิตนั้น
    ท่านกล่าวว่า พหิทธา - ภายนอก เพราะอาศัยอกุศลขันธ์ในจิตสันดาน
    ในภายใน. เพราะฉะนั้นโคตรภูญาณนั้นย่อมออก คือตั้งอยู่ในเบื้องบน
    ปราศจากสังขารนิมิตภายนอก ฉะนั้นโคตรภูญาณนั้นจึงชื่อว่าวุฏฐานะ,
    โคตรภูญาณนั้นย่อมหลีกออก ย่อมหมุนกลับ คือหันหลังให้ ฉะนั้น
    โคตรภูญาณนั้นจึงชื่อว่าวิวัฏฏนะ, วุฏฐานะนั้นด้วย วิวัฏฏนะนั้นด้วย
    ฉะนั้นจึงชื่อว่าวุฏฐานวิวัฏฏนะ. เพราะเหตุนั้นท่านพุทธโฆสาจารย์
    จึงกล่าวว่า
    โคตรภูญาณ ยังไม่ออกจากปวัตตขันธ์
    เพราะตัดสมุทัยยังไม่ขาด, แต่ออกจากนิมิตได้
    เพราะมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ ฉะนั้นจึงชื่อว่า
    เอกโตวุฏฐานะ คือออกจากสังขารนิมิตโดยส่วน
    เดียว*(ปัญญานิทเทส แห่งวิสุทธิมรรค.) ดังนี้.
    ชื่อว่า โคตรภู เพราะครอบงำเสียได้ซึ่งโคตรปุถุชน และ
    เพราะก้าวขึ้นสู่โคตรอริยะ. เพราะโคตรภูญาณนี้กระทำพระนิพพาน
    ชื่อว่า อนิมิตตะ ไม่มีนิมิตให้เป็นอารมณ์ในที่สุดแห่งอาเสวนะแห่งอนุ-
    โลมญาณของจิตที่เหนื่อยหน่ายจากสังขารทั้งปวงดุจน้ำตกจากใบบัว, ก้าว
    ล่วงเสียซึ่งโคตรปุถุชน ซึ่งอันนับว่าปุถุชน, ซึ่งภูมิแห่งปุถุชน, หยั่ง
    ลงสู่โคตรแห่งอริยะ อันนับว่าอริยะ เป็นภูมิแห่งอริยะ, ยังความ
    เป็นปัจจัยให้สำเร็จแก่มรรคด้วยอำนาจปัจจัย ๖ คือ อนันตระ, สม-
    นันตระ, อาเสวนะ, อุปนิสสยะ, นัตถิ, วิคตะ อันเป็นไปในครั้งแรก
    ความเสพในครั้งแรก, อันประชุมพร้อมกันในครั้งแรกในอารมณ์คือ
    นิพพาน, ถึงยอดเป็นศีรษะวิปัสสนา ย่อมเกิดขึ้นกระทำให้เป็นสภาพ
    ที่ให้หมุนกลับอีกไม่ได้.
     
  19. ยายทองประสา

    ยายทองประสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    805
    ค่าพลัง:
    +3,069
    ๑๑. อรรถกถามัคคญาณุทเทส
    ว่าด้วย มรรคญาณ

    ในคำว่า ทุภโต วุฏฺ€านวิวฏฺฏเน ปฺา มคฺเค าณํ
    แปลว่า ปัญญาในการออกและหลีกจากขันธ์และนิมิตทั้ง ๒ เป็น
    มรรคญาณ นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
    คำว่า ทุภโต แปลว่าทั้ง ๒, อีกอย่างหนึ่งท่านกล่าวอธิบายว่า
    ทั้งคู่. มรรคญาณย่อมออกคือย่อมหมุนกลับจากกิเลสทั้งหลาย และ
    ขันธ์อันเป็นไปตามกิเลสเหล่านั้น กับทั้งจากสังขารนิมิตทั้งปวงในภาย
    นอกจากการกระทำพระนิพพานให้เป็นอารมณ์ เพราะตัดกิเลสทั้งหลาย
    ได้ขาดแล้ว ฉะนั้นจึงชื่อว่า ปัญญาในการออกและหลีกจากขันธ์และ
    นิมิตทั้ง ๒.
    เพราะเหตุนั้น พระพุทธโฆสาจารย์จึงกล่าวว่า
    มรรคญาณแม้ทั้ง ๔ ออกจากนิมิต เพราะ
    มีพระนิพพานอันไม่มีนิมิตเป็นอารมณ์, และย่อม
    ออกจากปวัตตขันธ์ เพราะตัดสมุทัยได้ขาด ฉะนั้น
    จึงชื่อว่า ทุภโตวุฏฐานะ คือออกโดยส่วนทั้งสอง*
    (ปัญญานิทเทส แห่งวิสุทธิมรรค.) ดังนี้.
    ธรรมชาติใดย่อมขวนขวาย ย่อมเพ่งเล็งพระนิพพาน, หรือ
    พระโยคีบุคคลผู้ต้องการพระนิพพาน ย่อมขวนขวาย คือย่อมแสวงหา,
    หรือว่าธรรมชาติใดยังกิเลสทั้งหลายให้ตายไป เป็นไปอยู่ ฉะนั้น
    ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า มรรค, ญาณในมรรคนั้น ชื่อว่า มคฺเค าณํ -
    มรรคญาณ.
    มรรคญาณท่านทำเป็นเอกวจนะโดยชาติศัพท์. ก็มรรคญาณนั้น
    เกิดขึ้น ทำพระนิพพานให้เป็นอารมณ์ต่อจากโคตรภูญาณ, ตัดกิเลส
    อันจะพึงฆ่าได้เองโดยไม่มีส่วนเหลือ, เผาผลาญห้วงสมุทรคือทุกข์ใน
    สังสารวัฏอันมีเบื้องต้นและที่สุดอันบุคคลไปตามอยู่รู้ไม่ได้แล้วให้เหือด-
    แห้งไป, ปิดประตูอบายทั้งปวงเสีย, กระทำอริยทรัพย์ ๗ ให้ปรากฏอยู่
    ต่อหน้า, ละมิจฉามรรคประกอบด้วยองค์ ๘, ทำเวรภัยทั้งปวงให้สงบ,
    นำตนเข้าสู่ความเป็นบุตรผู้เกิดแต่พระอุระ แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    และได้อานิสงส์อื่น ๆ อีกหลายร้อยเท่าเหมือนคำที่กล่าวว่า
    บุรุษผู้ปรารถนาจะโดดข้ามแม้น้ำน้อยขึ้นไป
    ยืนอยู่บนฝั่งโน้น จึงจับเชือกหรือท่อนไม้ ที่ติดอยู่
    กับต้นไม้บนฝั่งนี้ แล้วโดดข้ามไปโดยเร็ว จนตัว
    ไปตกอยู่บนฝั่งโน้น เมื่อตัวตกที่ฝั่งโน้นแล้วก็ละ
    ความหวาดหวั่นนั้น ยืนอยู่บนฝั่งได้ฉันใด, พระ-
    โยคีบุคคลผู้ปรารถนาจะข้ามพ้นกิเลสทั้งหลายเห็น
    ภัยฝั่งนี้ล้วนแล้วด้วยสักกายทิฏฐิ แล้วยืนอยู่ที่ฝั่ง
    คือพระนิพพานอันไม่มีภัย จึงจับเชือกคือรูปขันธ์
    เป็นที่ยึดโดดมาโดยเร็วด้วยอุทยัพพยานุปัสสนา
    เป็นเบื้องแรก หรือจับไม้กล่าวคือนามขันธ์นั้นไว้
    ด้วยดี กระโดดมาด้วยอาวัชชนจิตโดยนัยตามที่
    กล่าวแล้วในก่อน โดดขึ้นด้วยอนุโลมญาณ แล้ว
    โน้มไปในพระนิพพาน เข้าไปสู่ที่ใกล้แห่งพระ-
    นิพพานนั้น ก็ปล่อยอารมณ์คือสังขารธรรมนั้นเสีย
    ได้ด้วยโคตรภูญาณ แล้วตกลงที่ฝั่งอื่นคือพระนิพ-
    พานอันเป็นอสังขตธรรม แต่นั้นก็ตั้งอยู่ด้วยมรรค-
    ญาณ ฉันนั้น.
    นระผู้ใคร่จะดูพระจันทร์ ในเวลาที่พระ-
    จันทร์ถูกเมฆหมอกบดบังไว้ ครั้นเมื่อเมฆหมอก
    ถูกพายุพัดไปตามลำดับ จากหนาทึบเป็นบางและ
    บางเข้าก็เห็นพระจันทร์ได้ฉันใด, โคตรภูญาณที่
    กำลังเพ่งอมตนิพพานอยู่ เมื่อโมหะที่ปกปิดสัจจะ
    ไว้ถูกทำลายให้พินาศไปด้วยอนุโลมญาณตามลำดับ
    ก็ฉันนั้นเหมือนกัน อนุโลมญาณก็มิได้เห็นอมต-
    นิพพาน เหมือนลมเหล่านั้นก็มิได้เห็นพระจันทร์
    โคตรภูญาณก็บรรเทาความมืดไม่ได้ เหมือนบุรุษ
    ก็บรรเทาเมฆหมอกไม่ได้ฉะนั้น. แต่มรรคญาณนี้
    เป็นไปในพระนิพพาน มิได้ละสัญญาอันโคตรภู-
    ญาณให้แล้ว จึงทำลายกองกิเลสมีกองโลภะเป็น
    ต้นได้ เหมือนจักรยนต์ที่ใช้เป็นเป้ากำลังหมุนอยู่
    นายขมังธนูยืนจ้องจะยิงอยู่แล้ว พอสัญญาอันคน
    อื่นให้แล้ว ก็ยิงลูกศรไปทะลุแผ่นเป้าได้ตั้ง ๑๐๐
    ฉะนั้น. มรรคญาณนั้นนั่นแลทำทะเลหลวงคือสัง-
    สารทุกข์ให้เหือดแห้งไป ปิดประตูทุคติเสียได้
    ทำคนที่มีหนี้คือกิเลสให้เป็นเสฏฐบุคคลผู้สมบูรณ์
    ด้วยอริยทรัพย์ ละมิจฉามรรคเสียได้. ทำเวรและ
    ภัยทั้งหลายให้สงบ, ทำตนให้เป็นลูกผู้เกิดแต่อก
    แห่งพระพุทธเจ้าผู้เป็นนาถะของโลก, ญาณนี้ย่อม
    ให้ซึ่งอานิสงส์อื่น ๆ อีกหลายร้อยอย่าง.
     
  20. ยายทองประสา

    ยายทองประสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    805
    ค่าพลัง:
    +3,069
    ๑๒. อรรถกถาผลญาณุทเทส
    ว่าด้วย ผลญาณ

    ในคำว่า ปโยคปฺปฏิปฺปสฺสทฺธิปฺา ผเล าณํ แปลว่า
    ปัญญาในการระงับปโยคะเป็นผลญาณ นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
    บทว่า ปโยโค แปลว่า การประกอบอย่างแรงกล้า, คือความ
    พยายามที่ออกจากกิเลสและขันธ์ทั้ง ๒ ได้ด้วยมรรคภาวนาโดยทำให้แจ้ง
    ซึ่งผล, ความสงบปโยคะคือความพยามนั้น คือการถึงที่สุดแห่งโยคะ
    ชื่อว่า ปโยคปฏิปัสสัทธิ. ปโยคปฏิปัสสัทธินั้นอย่างไร? คือการสิ้นสุด
    แห่งกิจในมรรคทั้ง ๔.
    ปัญญาในผลเป็นไปแล้ว เพราะปโยคปฏิปัสสัทธินั้นเป็นเหตุ
    ชื่อว่า ปโยคปฏิปัสสัทธิปัญญา. ปัญญานี้เป็นผลเพราะอรรถว่า ย่อม
    ผลิตผล คือย่อมให้เกิดวิบาก, ในผลนั้น ญาณอันสัมปยุตกับด้วยผล-
    จิตนั้น (ชื่อว่า ผเล าณํ) ก็ต่อจากมรรคญาณหนึ่ง ๆ ผลจิตอัน
    เป็นวิบากแห่งมรรคจิตนั้น ๆ นั่นแหละมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ เกิด
    ขึ้น ๓ ขณะก็มี ๒ ขณะก็มี ๑ ขณะก็มี. และเพราะผลจิตนั้นเป็น
    วิบากเกิดขึ้นในลำดับแห่งโลกุตรกุศลทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
    ว่า สมาธิมานนฺตริกฺมาหุ บัณฑิตทั้งหลายกล่าวสมาธิอันประกอบ
    ด้วยผลญาณ ซึ่งเกิดต่อจากมรรคญาณว่าเป็นธรรมอันบัณฑิตพึงรู้ทั่วถึง,
    และตรัสคำเป็นต้นว่า ทนฺธํ อานนฺตริกํ ปาปุณาติ อาสวานํ ขยาย*
    (องฺ. จตุกฺก. ๑๑/๑๖๒.) - พระโยคีบุคคลบรรลุธรรมวิเศษเพื่อความสิ้น
    อาสวะช้า.
    อนุโลมจิต ของพระโยคีบุคคลใด มี ๒ ขณะ, ที่ ๓ เป็น
    โคตรภู ที่ ๔ เป็นมรรคจิต ผลจิตอีก ๓ ขณะ ย่อมมีแก่พระอริยบุคคล
    นั้น. (รวมเป็น ๗ ตามชวนนิยาม)
    อนุโลมจิต ของพระโยคีบุคคลใด มี ๓ ขณะ, ที่ ๔ เป็น
    โคตรภู ที่ ๕ เป็นมรรคจิต ผลจิตอีก ๒ ขณะ ย่อมมีแก่พระอริยบุคคล
    นั้น. (รวมเป็น ๗ ตามชวนนิยาม)
    อนุโลมจิต ของพระโยคีบุคคลใด มี ๔ ขณะ, ที่ ๕ เป็น
    โคตรภู ที่ ๖ เป็นมรรคจิต ผลจิตอีก ๑ ขณะ ย่อมมีแก่พระอริยบุคคล
    นั้น. (รวมเป็น ๗ ตามชวนนิยาม)
    นี้ เป็นผลในมรรควิถี. ส่วนผลในระหว่างกาล เกิดขึ้นด้วย
    อำนาจสมาบัติ และเกิดขึ้นแก่ผู้ออกจากนิโรธสมาบัติก็สงเคราะห์ด้วย
    ผลญาณนี้เหมือนกัน.
     

แชร์หน้านี้

Loading...