ฌาน,สมาบัติ(จาก ศาลา ปฏิบัติธรรม)

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ยศวดี, 20 เมษายน 2012.

  1. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    [​IMG]ฌาน,สมาบัติ




    <TABLE style="WIDOWS: 2; TEXT-TRANSFORM: none; TEXT-INDENT: 0px; FONT-FAMILY: 'Times New Roman'; ORPHANS: 2; LETTER-SPACING: normal; WORD-SPACING: 0px; -webkit-text-size-adjust: auto; -webkit-text-stroke-width: 0px" border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width="100%">[​IMG]


    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE style="WIDOWS: 2; TEXT-TRANSFORM: none; TEXT-INDENT: 0px; FONT-FAMILY: 'Times New Roman'; ORPHANS: 2; LETTER-SPACING: normal; WORD-SPACING: 0px; -webkit-text-size-adjust: auto; -webkit-text-stroke-width: 0px" border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=white height="100%"><TBODY><TR><TD bgColor=#4682b4 vAlign=top background=http://www.larnbuddhism.com/grammathan/bg/t_back.gif width=132 noWrap>[​IMG]



    <CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>



    </TD><TD vAlign=top width="100%">[FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]<TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=20 width="90%" bgColor=white><TBODY><TR><TD vAlign=top width="90%">ตติยฌานหรือตติยสมาบัติ[/FONT]


    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]ปฐม แปลว่าที่ ๑ ทุติยะ แปลว่าที่ ๒ ตติยะ แปลว่าที่ ๓ ตติยฌานจึงแปลว่า ฌาน ที่ ๓ ตติยสมาบัติ แปลว่า การเข้าถึงอารมณ์ฌานที่ ๓ ฌานที่ ๓ นี้ มีอารมณ์ ๒ คือ
    1. สุข ได้แก่ความสุขที่ปราศจากปีติ คือความสุขทางจิตโดยเฉพาะ ไม่มีความสุข ที่เนื่องด้วยกาย
    2. เอกัคคตา มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ที่ไม่มีอารมณ์ห่วงใยในกาย เป็นอาการที่สงัด จากกาย ฌานนี้ท่านว่าเป็นฌานที่กายกับจิตแยกกันเด็ดขาด
    อาการของฌานที่ ๓ นี้เป็นอาการที่จิตตัดปีติความเอิบอิ่มใจในฌานที่ ๒ ออกเสียได้ เมื่ออารมณ์จิตเข้าถึงฌานที่ ๓ นี้ จะรู้สึกว่า อาการขนพองสยองเกล้าก็ดี น้ำตา ไหลก็ดี กายโยกโคลงก็ดี อาการซู่ซ่าทางกาย คล้ายกายเบา กายใหญ่ กายสูงจะไม่ปรากฏ เลยมีอาการทางกายเครียดคล้ายกับใครมาจับมัดไว้จนแน่น หรือคล้ายหลักที่ปักจนแน่น ไม่มีการโยกโคลงได้ฉันนั้น จงจำไว้ว่าตั้งแต่ฌานที่ ๒ เป็นต้นมา ไม่มีการภาวนาเลย ถ้า ยังภาวนาอยู่ และหูได้ยินเสียงชัด แต่ไม่รำคาญในเสียง เป็นฌานที่ ๑ ตั้งแต่ฌานที่ ๒ มา ไม่มีการภาวนาและเรื่องเสียงเกือบไม่มีความหมาย คือไม่มีความสนใจในเสียงเลย เสียง มีอยู่ก็เหมือนไม่มีเพราะจิตไม่รับเสียง ลมหายใจจะค่อยๆ น้อยอ่อนระรวยลงทุกขณะใน ฌานที่ ๓ นี้ลมหายใจยังปรากฏ แต่ก็รู้สึกเบาเต็มที่มีอาการคล้ายจะไม่หายใจ แต่ก็พอรู้สึก น้อยๆ ว่าหายใจ จิตสงัดไม่มีการหวั่นไหว ไม่มืด มีความโพลงอยู่มีอารมณ์แน่นในสมาธิ มากจนรู้ตัวว่า อารมณ์แนบแน่นกว่าสองฌานที่ผ่านมา อย่างนี้ท่านเรียกว่าเข้าถึงฌานที่ ๓ ต้องฝึกเข้าฌานออกฌานให้แคล่วคล่องว่องไวตามที่กล่าวมาแล้ว[/FONT]

    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]เสี้ยนหนามของฌานที่ ๓[/FONT]
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]ปีติ เป็นเสี้ยนหนามของ ฌานที่ ๓ เพราะฌานที่ ๓ ตัดปีติเสียได้ แต่ถ้าอารมณ์ ตกลงไปปีติจะปรากฏขึ้น ถ้าปีติปรากฏขึ้นเมื่อไร พึงทราบเถิดว่า ขณะนี้อารมณ์จิตเคลื่อน จากฌานที่ ๓ มาอยู่ระดับฌาน ๒ แล้วถ้าปรากฏว่ามีการภาวนาด้วย แต่จิตยังไม่รำคาญ ในเสียงก็ยิ่งร้ายใหญ่ เพราะอารมณ์สมาธิไหลออกจนเหลือเพียงฌาน ๑ ท่านให้ระมัดระวัง ด้วยการทรงสติสัมปชัญญะ อย่าให้อารมณ์สมาธิรั่วไหลเป็นอันขาด เพราะจะเป็นอันตราย แก่ฌาน ๓[/FONT]
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]อานิสงส์ฌานที่ ๓[/FONT]



    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]ฌานที่ ๓ นี้ ถ้าทรงไว้ได้จนตาย ในขณะตาย ตายในระหว่างฌานที่ ๓ ท่านว่า จะไม่หลงตาย เมื่อมีชีวิตอยู่ ก็จะเป็นคนมีอารมณ์แช่มชื่นเบิกบานตลอดเวลา หน้าตา สดชื่นผ่องใส เมื่อตายแล้ว ฌาน ๓ ย่อมส่งผลให้เกิดเป็นพรหม คือ
    1. ฌานที่ ๓ หยาบ ให้ผลไปเกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๗
    2. ฌานที่ ๓ กลาง ให้ผลไปเกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๘
    3. ฌานที่ ๓ ละเอียด ให้ผลไปเกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๙
    ฌาน ๓ ที่เป็นโลกียฌานให้ผลอย่างนี้ ถ้าเอาฌาน ๓ ไปเป็นกำลังของวิปัสสนาญาณ วิปัสสนาจะมีกำลังกล้า ตัดกิเลสให้เด็ดขาดได้โดยรวดเร็ว อาจได้บรรลุมรรคผลเบื้องสูงใน ชาตินี้โดยไม่ชักช้านัก ผลของท่านที่ทรงฌาน ๓ ไว้ได้มีผลดังกล่าวมาแล้วนี้[/FONT]
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]จตุตถฌาน หรือ จตุตถสมาบัติ[/FONT]
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]จตุตถะ แปลว่าที่ ๔ จตุตถฌานจึงแปลว่าฌานที่ ๔ ฌานที่ ๔ นี้มีอารมณ์ ๒ เหมือนฌาน ๓ แต่ผิดกันที่ฌาน ๓ มีสุขกับเอกัคคตา สำหรับฌานที่ ๔ นี้ ตัดความสุข ออกเสียเหลือแต่ เอกัคคตา และเติมอุเบกขาเข้ามาแทน ฉะนั้น อารมณ์ของฌาน ๔ จึงมีอารมณ์ผิดแผกจากฌาน ๓ ตรงที่ตัดความสุขออกไป และเพิ่มการวางเฉยเข้ามา แทนที่[/FONT]
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]อาการของฌาน ๔[/FONT]​


    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]ฌาน ๔ เมื่อนักปฏิบัติ ปฏิบัติถึงมีอาการดังนี้
    1. จะไม่ปรากฏลมหายใจเหมือนสภาพฌานอื่นๆ เพราะลมละเอียดจน ไม่ปรากฏว่ามีลมหายใจ ในวิสุทธิมรรคท่านว่า ลมหายใจไม่มีเลย แต่บางอาจารย์ ท่านว่า ลมหายใจนั้นมี แต่ลมหายใจละเอียดจนไม่มีความรู้สึกว่าหายใจ ตามนัยวิสุทธิ- มรรคท่านกล่าวถึงคนที่ไม่มีลมหายใจไว้ ๔ จำพวกด้วยกัน คือ ๑. คนตาย ๒. คนดำน้ำ ๓. เด็กในครรภ์มารดา ๔.ท่านที่เข้าฌาน ๔ รวมความว่า ข้อสังเกตที่สังเกตได้ชัดเจน ในฌาน ๔ ที่เข้าถึงก็คือ ไม่ปรากฏว่ามีลมหายใจการที่ฌาน ๔ เมื่อเข้าถึงแล้ว และ ขณะที่ทรงอยู่ในระดับของฌาน ๔ ไม่ปรากฏว่ามีลมหายใจนี้เป็นความจริง มีนักปฏิบัติ หลายท่านที่พบเข้าแบบนี้ถึงกับร้องเอะอะโวยวายบอกว่าไม่เอาแล้วเพราะเกรงว่าจะตาย เพราะไม่มีลมหายใจบางรายที่อารมณ์สติสมบูรณ์หน่อยก็ถึงกับค้นคว้าควานหาลมหายใจ เมื่ออารมณ์จิตตกลงระดับต่ำกว่าฌานที่ ๔ ในที่สุดก็พบลมหายใจที่ปรากฏอยู่กับปลาย จมูกนั่นเอง
    2. อารมณ์จิตเมื่อเข้าสู่ระดับฌาน ๔ จะมีอารมณ์สงัดเงียบจากอารมณ์ ภายนอกจริง ๆ ดับเสียง คือ ไม่ได้ยินเสียง ดับสุข ดับทุกข์ทางกายเสียจนหมดสิ้น มี อารมณ์โพลงสว่างไสวเกินกว่าฌานอื่นใด มีอารมณ์สงัดเงียบ ไม่เกี่ยวข้องด้วยร่างกาย เลย กายจะสุข จะทุกข์ มดจะกิน ริ้นจะกัดอันตรายใดๆ จะเกิด จิตในระหว่างตั้งอยู่สมาธิ ที่มีกำลังระดับฌาน ๔ จะไม่รับรู้อะไรทั้งสิ้น เพราะฌานนี้กายกับจิตแยกกันเด็ดขาดจริงๆ ไม่สนใจข้องแวะกันเลย ดังจะเห็นในเรื่องของลมหายใจ ความจริงร่างกายนี้จำเป็นมาก ในเรื่องหายใจเพราะลมหายใจเป็นพลังสำคัญของร่างกาย พลังอื่นใดหมดไป แต่อัสสาสะ ปัสสาสะ คือลมหายใจยังปรากฏ ที่เรียกกันตามภาษาธรรมว่า ผัสสาหารยังมีอยู่ ร่างกาย ก็ยังไม่สลายตัว ถ้าลมหายใจที่เรียกว่าผัสสาหารหยุดเมื่อไร เมื่อนั้นก็ถึงอวสานของการ ทรงอยู่ของร่างกาย ฉะนั้น ผลการปฏิบัติที่เข้าถึงระดับฌาน ๔ จึงจัดว่าลมหายใจยังคงมี ตามปกติที่ไม่รู้ว่าหายใจก็เพราะว่าจิตแยกออกจากกายอย่างเด็ดขาดโดยไม่รับรู้อาการ ของร่างกายเลย
    อาการที่จิตแยกจากร่างกาย[/FONT]
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]เพื่อให้เข้าใจชัดว่า จิตแยกออกจากร่างกายได้จริงเพียงใด เมื่อท่านเจริญสมาธิถึง ฌาน ๔ จนคล่องแคล่วชำนิชำนาญดีแล้ว ให้ท่านเข้าสู่ฌาน ๔ แล้วถอยจิตออกมาหยุดอยู่ เพียงอุปจารฌาน แล้วอธิษฐานว่า ขอร่างกายนี้จงเป็นโพรงและกายอีกกายหนึ่งจงปรากฏ แล้วเข้าฌาน ๔ ใหม่ ออกจากฌาน ๔ มาหยุดอยู่เพียงอุปจารฌาน ท่านจะเห็นกายเป็น โพรงใหญ่ มีกายของเราเองปรากฏขึ้นภายในกายเดิมอีกกายหนึ่ง ที่ท่านเรียกในมหาสติ- ปัฏฐานว่ากายในกาย จะบังคับให้กายในกายท่องเที่ยวไปในร่างกายทุกส่วน แม้แต่เส้น ประสาทเล็กๆ กายในกายก็จะไปได้สะดวกสบายเหมือนเดินในถ้ำใหญ่ ๆ ต่อไปจะบังคับ กายใหม่นี้ออกไปสู่ภพใด ๆ ก็ไปได้ตามประสงค์ ที่ท่านเรียกว่า " มโนมยิทธิ แปลว่า มีฤทธิ์ทางใจนั่นเอง" พลังของฌาน ๔ มีพลังมากอย่างนี้ ท่านที่ได้ฌาน ๔ แล้วท่าน จะฝึกวิชชาสาม อภิญญาหกหรือปฏิสัมภิทาญาณ ก็ทำได้ทั้งนั้น เพราะวิชชาการที่จะฝึก ต่อไปนั้น ก็ใช้พลังจิตระดับฌาน ๔ นั่นเอง จะแตกต่างกันอยู่บ้างก็เพียงอาการในการ เคลื่อนไปเท่านั้น ส่วนอารมณ์ที่จะใช้ก็เพียงฌาน ๔ ซึ่งเป็นของที่มีอยู่แล้วเปรียบเสมือน นักเพาะกำลังกาย ถ้ามีกำลังกายสมบูรณ์แล้วจะทำอะไรก็ทำได้เพราะกำลังพอจะมีสะดุด บ้างก็ตรงเปลี่ยนแนวปฏิบัติใหม่ จะยุ่งใจบ้างในระยะต้นพอเข้าใจเสียแล้วก็ทำได้คล่อง เพราะกำลังพอ ท่านที่ได้ฌาน ๔ แล้วก็เช่นเดียวกัน เพราะงานส่วนอภิญญาหรือวิชชาสาม ก็ใช้พลังจิตเพียงฌาน ๔ เท่านั้น ท่านที่ได้ฌาน ๔ จึงเป็นผู้มีโอกาสจะทำได้โดยตรง[/FONT]
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]เสี้ยนหนามของฌาน ๔[/FONT]
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]เสี้ยนหนาม หรือศัตรูตัวสำคัญของฌาน ๔ ก็คือ "ลมหายใจ" เพราะถ้าปรากฏว่า มีลมหายใจปรากฏเมื่อเข้าฌาน ๔ ก็จงทราบเถิดว่า จิตของท่านมีสมาธิต่ำกว่าฌาน ๔ แล้วจงอย่าสนใจกับลมหายใจเลยเป็นอันขาด[/FONT]
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]อานิสงส์ของฌาน ๔
    1. ท่านที่ทรงฌาน ๔ ไว้ได้ ในขณะที่มีชีวิตอยู่ จะมีอารมณ์แช่มชื่นตลอดวัน เวลาจะแก้ปัญหาของตนเองได้อย่างอัศจรรย์
    2. ท่านที่ได้ฌาน ๔ สามารถจะทรงวิชชาสาม อภิญญาหก ปฏิสัมภิทาญาณได้ ถ้าท่านต้องการ
    3. ท่านที่ได้ฌาน ๔ สามารถจะเอาฌาน ๔ เป็นกำลังของวิปัสสนาญาณชำระ กิเลสให้หมดสิ้นไป อย่างช้าภายใน ๗ ปี อย่างกลางภายใน ๗ เดือน อย่างเร็วภายใน ๗ วัน
    4. หากท่านไม่เจริญวิปัสสนา ท่านทรงฌาน ๔ ไว้มิให้เสื่อม ขณะตาย ตาย ในระหว่างฌานที่จะได้ไปเกิดในพรหมโลกสองชั้นคือ ชั้นที่ ๑๐ และชั้นที่ ๑๑
    จากเว็บ[/FONT]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    http://www.larnbuddhism.com
     
  2. แจ๊กซ์69

    แจ๊กซ์69 ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    3,142
    ค่าพลัง:
    +1,962
    สาธุ.......:cool:
     
  3. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    กราบนมัสการธรรมหลวงพ่อครับ....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 เมษายน 2012
  4. GhostHead

    GhostHead เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    1,010
    ค่าพลัง:
    +1,878
    โมทนาสาธุในธรรมทานครับ

    กราบหลวงพ่อพระราชพรหมยานด้วยครับ


    เจริญในธรรมครับ
     
  5. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    คุณสมบัติหลักๆ ของคนที่ทำฌานได้
    1. เป็นติเหตุกบุคคล
    2. ประพฤติพรหมจรรย์
    3. ปลีกวิเวก

    ถ้าข้อหนึ่งไม่ใช่ติเหตุกบุคคลเกิดมาด้วยเหตุ3 ทำยังไงก็ไม่ได้ฌาน
     

แชร์หน้านี้

Loading...