ช่วยแสดงความคิดเห็นกับบทความนี้กันหน่อยครับ

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย G@cKt, 24 กันยายน 2008.

  1. G@cKt

    G@cKt Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2006
    โพสต์:
    142
    ค่าพลัง:
    +94
    ผมมีบทความบทความนึง อยากให้กัลยาณมิตรทุกท่านได้อ่านแล้วแสดงความคิดเห็นกันหน่อยครับ ว่ามีความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไร




    ในอดีตผู้เขียนเคยคิดว่า การปฏิบัติธรรม การทำธรรมความดีนั้น เป็นสิ่งที่ทำได้ยากกว่าการทำความชั่วนัก แต่เมื่อมาถึงยุคปัจจุบัน ผู้เขียนก็ได้กลับมาพิจารณากับสิ่งที่เคยคิดไว้ในอดีตอีกครั้งกลับมีความเห็นว่า การปฏิบัติธรรม การทำความดี โดยมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ และเข้าใจถึงแก่นของธรรมนั้นเป็นสิ่งที่ผู้คนส่วนใหญ่ในปัจจุบันทำได้ยากยิ่งกว่า


    สาเหตุเพราะพวกเรานักปฏิบัติทั้งหลายในทุกวันนี้ต่างขวนขวาย วิ่งไปศึกษาธรรมะจากอาจารย์ผู้รู้ต่างๆตามคำบอกเล่าโดยเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดีสิ่งที่ชอบ เมื่อรับมาแล้วหากสิ่งนั้นเป็นของจริงก็ไม่ปฏิบัติอย่างจริงจัง ทำครึ่งๆกลางๆ หรือบ้างก็ไปรับมาศึกษาดูแล้วก็นำมาปฏิบัติตามอย่างจริงจังแต่ก็ขาดการพิจารณาด้วยเหตุผลอย่างมีสติ ทำให้แก่นพระธรรมของพระตถาคตนั้นได้เปลี่ยนไปจากเดิมเป็นอย่างมาก โดยเน้นไปในสิ่งต่างๆที่ยังเต็มไปด้วยกิเลส


    ปัจจุบันก็ยังมีผู้ปฏิบัติอีกจำนวนมากที่มีการใช้กิเลสเพื่อให้เกิดประโยชน์ในทางที่ดี ... แท้ที่จริงแล้วกิเลสก็มีส่วนดีอยู่ในตัวของมัน หากเรานำมาเลือกใช้อย่างถูกต้อง กล่าวคือ เรื่องตันหา ความทะเยอทะยาน การประพฤติปฏิบัติดีเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ตนได้มุ่งหวังไว้ ซึ่งก็เป็นกิเลสที่รู้จักใช้ให้เกิดประโยชน์ เปรียบเหมือนกับ ไฟ” ประโยชน์ของไฟ คือ ให้ความอบอุ่น หุงต้มอาหาร ฆ่าเชื้อโรค เป็นต้น แต่ไฟนี้ก็มีโทษมหันต์เช่นกันหากเราทุกคนนั้นประมาท ไฟก็จะเผาไหม้ทรัพย์สินมีค่า อาคารบ้านเรือน รวมถึงตัวทุกท่านเองให้ถึงแก่ชีวิตได้เช่นกัน


    หลายท่านอาจจะยังไม่เข้าใจถึงประโยช์ของกิเลสในข้างต้นที่ผู้เขียนได้กล่าวไว้ จึงอยากจะขอให้ทุกท่านลองนำมาพิจารณาอย่างมีสติกันเถิดว่า สิ่งที่ผู้เขียนจะยกตัวอย่างมานี้ มันยังมีติดอยู่กับตัวท่านทั้งหลายอยู่ไหม ยกตัวอย่างเช่น หากเรา อยากมั่งมี ร่ำรวย เราก็จะปฏิบัติตนเป็นคนดี ปฏิบัติธรรม ภาวนา รักษาศีล ซื่อสัตย์ ตั้งใจทำมาหากิน ไม่ฉ้อโกง หรือลักขโมย เพื่อให้ได้สิ่งที่ตนเองปรารถนา ...

    <O:p
    นี่แหละคือสิ่งที่เรียกว่า การใช้กิเลสให้เกิดประโยชน์ แต่ท่านทั้งหลายควรพึงระลึกไว้เช่นกันว่า กิเลสก็เหมือนกับไฟ เมื่อมันมีคุณ ก็มีโทษเช่นกัน หากทุกท่านขาดการใช้สติปัญญาในการพิจารณา <O:p


    จากเหตุการณ์ต่างๆทั้งหลายที่ผู้เขียนประสบพบเจอกับตัวเอง และคนไกล้ตัว อาจกล่าวสรุปได้ว่า ...


    การปฏิบัติธรรม การทำสมาธิในปัจจุบันนั้น เต็มไปด้วยการปฏิบัติธรรมโดยการควบคุมของตัวกิเลสที่เกิดประโยชน์” เป็นตัวดำเนินการแทบทั้งสิ้น และขึ้นชื่อว่ากิเลสแล้ว มันก็จะไม่ไว้หน้าใครซักคน มันทำลายได้หมดทุกอย่าง ไม่เว้นแม้แต่พระ หรือ ผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลายเองก็ตาม เพราะแท้ที่จริงแล้วหากเราพิจารณาด้วยความมีสติ “ตัวกิเลสที่เกิดประโยชน์” ก็คือ ตัวอยากดีนั่นเอง และในเมื่อมีคำว่า “อยาก” ก็คือ ตัณหา ซึ่งการมีตัณหาก็ย่อมจะมีทุกข์ เป็นกฎตายตัวอยู่แล้ว ดังนั้นการยังอยากมีอยู่ ก็ไม่ดี เพราะมันยังมีความอยากอยู่ ความไม่อยากดีต่างหากนั่นแหละดี ทำให้กล่าวได้ว่ามีน้อยมากในสังคมปัจจุบันที่จะมีผู้ปฏิบัติธรรมซึ่งละด้วยกิเลสความอยากได้อยากมี


    ในอดีตลัทธิกรรมฐานต่างๆนั้นจะมีหลักวิชาการต่างๆ สุดแล้วแต่ครูบาอาจารย์ท่านจะอบรมสั่งสอนมาอย่างไร วิธีการก็มีกันมากมายเหลือเกิน ตามแต่จริตของแต่ละท่านเพื่อให้เกิดจิตสงบ เพื่อให้เกิดจิตอันแก่กล้า สามารถทำสิ่งต่างๆได้ เช่น การอ่านจิตใจผู้อื่น การถอดจิตไปในมิติต่างๆ การรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า การสื่อกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆได้ เป็นต้น ซึ่งต่างๆเหล่านี้หากพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้วมีสติมีสติปัญญาแล้ว อาจจะกล่าวได้ว่า ยิ่งรู้มากก็ยิ่งเก่งมาก เมื่อเก่งมากแล้วขาดสติในการพิจารณา เกิดกิเลสทิฐิมานะ ก็ยิ่งเป็นการเพิ่มตัวกิเลสนั้นให้หนาขึ้นเท่านั้น ใครที่ทำได้ก็จะคิดว่าตนเองเก่ง ตนเองดีเลิศ เห็นผิดเป็นชอบก็มีเยอะแยะมากมายดังที่เราเห็นกันอยู่ในสังคมปัจจุบัน การปฏิบัติธรรม ทำสมาธิอันนี้จึงไม่เป็นไปเพื่อความหลุดพ้น ไม่เป็นไปเพื่อความดับ ไม่เป็นไปเพื่อการตรัสรู้ มรรค ผล นิพพาน และไม่เป็นไปเพื่อความหมดกิเลสเลย

    <O:p</O:p
    จึงอยากฝากให้นักปฏิบัติทุกๆท่านได้กลับไปพิจารณากันเถิดว่า เราปฏิบัติธรรมทำไม เพื่ออะไร นักปฏิบัติธรรม หลายท่านยังเข้าใจกันผิดกันอยู่มากในเรื่องของการฝึกสมาธิ อาทิเช่น ทำสมาธิจะต้องรู้ ทำสมาธิจะต้องเห็น ทำสมาธิจะต้องมีอิทธิฤทธิ์ ถ้าสมาธิแล้วเจอสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก็ยึดว่าตนเองได้มาถูกทางแล้ว ซึ่งจากการผู้เขียนที่ได้ประสบพบมา ส่วนมากจะเข้าใจกันซะแบบนี้ ซึ่งผู้เขียนก็เคยเป็นหนึ่งในนั้นเช่นกัน


    จริงอยู่...สิ่งเหล่านั้นมันมีจริง เป็นของจริง แต่มันไม่ใช่ของแท้ สิ่งเหล่านั้นมันเป็นเพียงเครื่องรู้ของจิต เป็นเครื่องระลึกให้เราพิจารณาเพื่อให้เกิดสติเท่านั้น เป็นภาวะเพื่อฝึกฝนจิตใจให้มีสติจนเป็นมหาสติต่างหาก”ไม่ใช่สิ่งที่ควรเอามายึดมาเป็นที่พึ่งเลย สิ่งที่เราควรจะยึดเป็นที่พึ่งนั้น คือ ตัวสติตัวเดียวเท่านั้น


    หากเราอบรมฝึกสติให้เข้มแข็ง แก่กล้าแล้ว ก็จะ รู้เท่าทันเหตุการณ์ต่างๆ ทั้งภายนอกและภายในจิต มีความคิดอะไรก็จะรู้ว่าไม่ควรยึดติด สักแต่ว่ารู้แล้วก็ไม่ยึดถือในสิ่งนั้นๆ เมื่อรู้แล้วก็ปล่อยวางไป หากเราสามารถปฏิบัติได้ สติของเราก็จะมีกำลัง เกิดปัญญา ทำอะไรก็ไม่ผิดพลาด นำตนไปสู่ภูมิธรรมขั้นต่างๆตั้งแต่ ขั้นต่ำ ขั้นกลาง ขั้นสูง แล้วก็สำเร็จในมรรค ผล นิพพานตามหลักธรรมอันพระเสริฐของพระพุทธองค์ที่ทรงเคยแสดงเอาไว้


    ฉะนั้น ไม่ว่าเราจะฝึกอะไรก็ดี จะพิจารณาอะไรก็ดี จะสวดมนตร์ภาวนาอะไรก็ดี จุดสูงสุดที่เราทุกคนต้องการ คือ สติตัวเดียวเท่านั้น ไม่มีอะไรที่ยิ่งใหญ่เป็นกว่าการมีสติสัมปชัญญะที่สมบูรณ์แน่นอนอีกแล้ว


    ในการฝึกสติ ผู้เขียนมีความเห็นว่าไม่จำเป็นเลยที่จะต้องไปนั่งนิ่งๆให้สถานที่เงียบๆอยู่คนเดียว เข้าป่าเขาลำเนาไพร การฝึกทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ อย่างรู้ตัว ในทุกๆสถานที่นี่แหละเป็นการหนทางที่จะฝึกสติที่ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการนั่ง การเดิน การนอน การรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา เป็นต้น ท่านทั้งหลายควรพิจารณาด้วยความมีสติเถิดว่า สติเป็นเครื่องมือชนิดเดียวของเราทุกคน ที่จะสลายความคิดปรุงแต่งและอวิชชาต่างๆให้สูญสิ้นไป และทำให้เกิดปัญญา


    ในฐานะที่เราเป็นนักปฏิบัติ พุทธศาสนิกชนที่ดี ควรจะฝึกการมีสติ จะคิด จะพูด จะกระทำอะไรทุกอย่างก็ให้ระลึกถึงสติเสียก่อน ถ้าผิดก็ให้รู้ ถ้าถูกก็ให้ทำ ให้ปฏิบัติ เพื่อให้เราทุกท่านปฏิบัติข้ามขั้นไปจากกิเลสที่เป็นประโยชน์ก็ดี ที่เป็นโทษก็ดี เพื่อให้เรียกได้ว่า เป็นผู้รู้ที่สมบูรณ์ด้วยสติสัมปชัญญะอย่างแท้จริง






    เจริญในธรรม




    สิบโท เคโรโระ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 24 กันยายน 2008
  2. ศักดิ์

    ศักดิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1,187
    ค่าพลัง:
    +2,022
    [​IMG]
    南 นำ
    無 โม
    觀 กวน
    世 ซี
    音 อิม
    菩 ผู่
    薩 สัก
    อามิตตาพุทธ ทุกอย่างย่อมมีคุณอนัตมีโทษมหัต เช่นยาเม็ดเล็กๆย่อมใช้รักษาโรคได้ฉันใดหากใช้ไม่ถูกตามวิธีย่อมไม่สามารถรักษาโรคได้อาจจะนำร้ายแก่ผู้ใช้ได้ฉันทั้น ทุกสิ่งมีขาวมีดำ มีความมืดมีความสว่าง มีวิชามีอวิชาฯลฯ สติเป็นสิ่งกำหนดรู้ซึ่งต้องเป็นสัมมาสติ พิจารณาให้รู้เท่าทั้นจิตและกิเลส แต่หากพิจารณาในถึงที่สุดแล้วทุกสิ่งล้วนเป็นอนัตตา เคยได้ยินครูบาอาจารย์กล่าวโดยประมาณว่า แม้แต่สุดท้ายสิ่งต่างๆในพระธรรมก็ต้องวางทิ้ง(ทุกสิ่งเป็นสุนยตา) ท่านเปรียบว่าคนที่พายเรือข้ามฝั่งเมื่อถึงฝั่งแล้วก็ต้องผูกเรือไว้ที่ท่าไม้พายก็ต้องวางไว้ที่เรือไม่มีใครที่จะถือติดไปด้วย.....
     
  3. G@cKt

    G@cKt Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2006
    โพสต์:
    142
    ค่าพลัง:
    +94

    อนุโมทนาคับมาสเซอร์
     

แชร์หน้านี้

Loading...