ชีวิตมีทั้งวันวาน วันนี้ และวันพรุ่งนี้ เมื่อปัจจุบันธรรม เป็นสิ่งสำคัญของชีวิต

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย santosos, 13 กรกฎาคม 2011.

  1. santosos

    santosos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,165
    ค่าพลัง:
    +3,212
    ชีวิตมีทั้งวันวาน วันนี้ และวันพรุ่งนี้
    เมื่อปัจจุบันธรรม เป็นสิ่งสำคัญของชีวิต
    ชีวิตในวันนี้ จึงเป็นเรื่องที่ควรคำนึงมากกว่ากาลใดๆ
    วันนี้มีไว้สำหรับแก้ไข ไม่ใช่แก้ตัว

    แก้ตัว..... คือไม่ยอมรับความจริงในการทำผิดของตน
    .......... พยายามผลักความผิดไปให้ผู้อื่น หรือสิ่งแวดล้อม

    แก้ไข..... คือยอมรับความจริง หากมีอะไรผิดพลาด
    .......... บกพร่อง ก็ยอมรับผิด แล้วพยายามแก้ไข
    .......... ปรับปรุง พัฒนาตนเอง

    คนดี..... ชอบหาดู จุดบกพร่องของตน
    .......... มีหิริโอตตัปปะ ละอายแก่ใจ กลัวบาป

    คนชั่ว..... ชอบหาดูจุดบกพร่องของคนอื่น

    จับผิดคนอื่น และคิดไปว่า เราดี เขาไม่ดี

    เมื่อเขาดีกว่า ก็คิด อิจฉา ริษยา น้อยใจ
    ถ้าดีกว่าเขา ก็คิด ถือตัวถือตน ดูถูกดูหมิ่นเขา

    เป็นสภาวะที่เกิด อัตตา เกิดตัวตน

    อัตตาตัวตน และทุกข์ เป็นบริษัทเดียวกัน
    อัตตาตัวตน สร้างขึ้นใช้เวลานานแสนนาน
    เป็นเวลาหลายภพหลายชาติ ด้วยอำนาจอวิชชา
    กิเลส ตัณหา อุปาทาน คิดผิด และสำคัญผิด

    สำคัญผิด 9 อย่าง หรือ มานะ 9

    1. เป็นผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขา......... ก็ผิด
    2. เป็นผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตัวว่าเสมอเขา............. ก็ผิด
    3. เป็นผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตัวว่าเลวกว่าเขา.......... ก็ผิด
    4. เป็นผู้เสมอเขา สำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขา............ ก็ผิด
    5. เป็นผู้เสมอเขา สำคัญตัวว่าเสมอเขา................ ก็ผิด
    6. เป็นผู้เสมอเขา สำคัญตัวว่าเลวกว่าเขา.............. ก็ผิด
    7. เป็นผู้เลวกว่าเขา สำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขา.......... ก็ผิด
    8. เป็นผู้เลวกว่าเขา สำคัญตัวว่าเสมอเขา............. ก็ผิด
    9. เป็นผู้เลวกว่าเขา สำคัญตัวว่าเลวกว่าเขา........... ก็ผิด

    เมื่อใจดี จะไม่มีความคิด เป็นเรา เป็นเขา

    แต่จะเห็นสัตว์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
    ให้ “เห็น” เป็นหลัก เป็นกิริยา
    คนเรานั้นเมื่ออยู่ในสมมติโลก
    เราต้องอยู่ด้วยกันหลายคน มองเห็นเป็นธรรม
    ไม่ให้ตัวตนเข้าไปยึด ควบคุมจิตเป็นโอปนยิกธรรม
    น้อมเข้ามาหาตนเสมอ

    พอใจ ไม่พอใจ ศึกษาเป็นธรรม แยกแยะเป็นธรรม
    พิจารณาเป็นธรรม อริยสัจ 4 สติปัฏฐาน 4

    ใครทำให้เสื่อมลาภ หรือ มีลาภ
    ใครทำให้เสื่อมยศ หรือ มียศ
    ใครทำให้ถูกนินทา หรือ สรรเสริญ
    ใครทำให้ทุกข์ หรือ สุข

    “ใคร” ก็ไม่สำคัญ ตัดออกจากความคิด

    ไม่มีใคร ไม่มีเขา ไม่มีเรา มีแต่ทุกข์
    และคิดหาทางออกจากทุกข์ให้ได้
    พยายามลดอัตตาตัวตน ลดกิเลส ลดทุกข์
    ใครทำความดี ยินดี อนุโมทนาในการทำความดี
    ใครทำความชั่ว ก็ให้เห็นปัญหาในการทำความชั่ว

    ใคร ไม่สำคัญ เห็น เป็นกิริยา

    เมื่อใครทำความชั่วในสังคมเรา
    รักษาใจเราเป็นกลางๆ สุขภาพใจดี ใจดี มีเมตตา
    ยกขึ้นมา ยกการทำชั่วขึ้นมาพิจารณา ใคร ไม่สำคัญ
    หาวิธี แก้ไข ตักเตือน สำรวม ระวัง
    จัดการตามกฎหมาย
    จัดการตามวินัย ที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้
    ให้ลดปัญหาสังคมลง
    ใจเราให้ตั้งมั่นใน เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

    ละมานะ ละอัตตา ให้ได้ตั้งแต่เดี๋ยวนี้ วันนี้

    ตอนที่ 2
    สามนักปราชญ์

    ประเพณีที่ดีงามในชนบทอีสานอย่างหนึ่งคือ
    เช้าตรู่ของวันพระ 8 ค่ำ 15 ค่ำ
    แม่ออก พ่อออก หรืออุบาสก อุบาสิกา
    จะพากันถืออาหารใส่ปิ่นโต ใส่หม้อไปวัด
    เพื่อจำศีล ภาวนา สักวันหนึ่ง
    พอถึงวัดก็จัดอาหารถวายพระ

    เมื่อพระกำลังฉัน ญาติโยมก็จะรวมกันที่ศาลา
    ทำวัตรเช้า สวดมนต์ แล้วก็รับประทานอาหาร
    เมื่อโยมรับประทานอาหารเสร็จ
    พระภิกษุ สามเณร แม่ชี และญาติโยมทั้งหมด
    จะมารวมกันที่ศาลาอีกครั้ง
    จากนั้นญาติโยมก็จะสมาทานศีล
    ฟังเทศน์สักกัณฑ์หนึ่ง

    กลางวันก็พักผ่อนบ้าง อ่านหนังสือบ้าง
    เดินจงกรม นั่งสมาธิตามอัธยาศัย
    ตอนเย็นประมาณ 1 ทุ่ม รวมกันทำวัตรเย็น
    นั่งสมาธิ ฟังเทศน์ จนเกือบเที่ยงคืน
    บางคนก็ไปนอนพักผ่อน
    แม่ออกบางคนก็นั่งสมาธิตลอดคืน

    ตี 3 พระก็ตีระฆังให้สัญญาณ ตี 3 ครึ่ง หรือตี 4
    ก็ไปรวมกับพระที่ศาลาเพื่อทำวัตรเช้า
    พออรุณก็แยกย้ายกลับบ้าน
    กลับสู่ทางโลก รับภาระทางโลกต่อไป
    ถึงวันพระก็เข้ามาอยู่วัด
    วันหนึ่ง คืนหนึ่ง เป็นประจำ

    ณ หมู่บ้านแห่งหนึ่ง มีผู้เฒ่า 3 คน
    เมื่อถึงวันพระก็เข้าวัดจำศีลภาวนาเป็นประจำ
    ฟังเทศน์ ฟังธรรม ปฏิบัติธรรม
    ทำเช่นนี้มาเป็นสิบๆ ปี
    ชาวบ้านให้ความเคารพ ให้เกียรติผู้เฒ่าทั้งสาม
    เสมือนเป็น ปราชญ์ ของหมู่บ้าน
    ใครๆ มีปัญหา ก็ไปปรึกษา เรื่องธัมมะธัมโม

    ผู้เฒ่าทั้งสาม ก็คุยเก่ง พูดเก่ง สอนเก่ง
    พระบวชใหม่ๆ ยังสู้ไม่ได้
    เพราะว่านักปราชญ์ทั้ง 3 คน
    ได้ฟังเทศน์มาเป็นสิบๆ ปีแล้ว
    วันหนึ่ง แม่ออกจัดอาหารใส่ถาด
    มีอาหารหลายๆ อย่างใส่ในถ้วยเล็กๆ
    สำหรับนักปราชญ์ทั้งสามชุดหนึ่ง

    สามนักปราชญ์ตั้งวงรับประทานอาหารร่วมกัน
    อาหารก็มีแจ่วน้ำพริก และมีมะนาวครึ่งซีก
    เพื่อบีบใส่ในแจ่ว..... นั่นแหละ
    ผู้เฒ่าคนหนึ่ง..... จะบีบมะนาว
    คนหนึ่งห้าม..... คงจะไม่ชอบเปรี้ยว
    แต่คนนั้นไม่ฟัง..... บีบมะนาวใส่แจ่ว

    เจ็บใจมาก.....
    ตั้งแต่วันนั้น..... ก็ไม่พูดกันอีกเลย
    สมาคมสามนักปราชญ์..... แตก..... ล้มละลาย
    ชาวบ้านก็เดือดร้อนไม่มีกลุ่มนักปราชญ์ช่วยคิด
    เหมือนก่อน จริงๆ แล้ว ถ้าแจ่วเปรี้ยวมากไป
    ก็ไม่ต้องกินก็ได้ อาหารอย่างอื่นก็เยอะแยะไป

    แต่ปัญหาคงจะไม่ได้อยู่ที่รสอาหาร
    แต่อยู่ที่ความรู้สึกมากกว่า..... รู้สึกว่าเสียหน้า
    เสียความรู้สึก “เจ็บใจ”
    ลองดูตัวเราเองสิว่าเคยเกิดความคิด
    ความรู้สึกเช่นนั้นบ้างไหม..... เราก็เป็นอย่างนั้นทุกคน
    ไม่มากก็น้อย..... ใช่ไหม ?

    ตอนที่ 3
    ฉันนะ..... พระดื้อ

    เรื่องมีอยู่ว่า
    เมื่อพระพุทธเจ้าจวนจะปรินิพพาน
    พระอานนท์ทูลถามพระองค์ว่า
    จะทำอย่างไรกับพระฉันนะ
    พระฉันนะเป็นพระดื้อ กระด้าง ไม่ยอมเชื่อฟังใคร
    ถือตัวถือตนว่ารู้จักพระพุทธเจ้ามาตั้งแต่ทรงพระเยาว์
    นายฉันนะเป็นผู้ดูแลม้าที่รักของเจ้าชายสิทธัตถะ

    วันที่เจ้าชายสิทธัตถะออกผนวช
    นายฉันนะก็ได้ตามเสด็จไปด้วย
    เมื่อพระองค์เสด็จถึงริมฝั่งแม่น้ำอโนมา
    ก็ทรงเปลื้องเครื่องทรงให้นายฉันนะ
    นำกลับพระราชวังพร้อมกับม้ากัณฐกะ

    ส่วนเจ้าชายสิทธัตถะทรงอธิษฐานเพศเป็นนักบวช
    ทรงแสวงหาครูบาอาจารย์ ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา
    เมื่อทรงเห็นว่ามิใช่ทางจึงทรงเลิก
    ทรงหันมาบำเพ็ญเพียรทางจิต
    จนสามารถบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
    ทรงประกาศพระสัทธรรม
    จนมีสาวกรู้ตามเป็นจำนวนมาก

    ต่อมานายฉันนะได้ออกบวชเป็นพระภิกษุ
    แต่ถือตัวถือตน ไม่ยอมทำตามผู้ใด
    แม้แต่พระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ
    ผู้เป็นอัครสาวกฝ่ายขวาและฝ่ายซ้าย
    ตลอดถึงพระพุทธองค์เอง
    พระฉันนะก็ไม่ยอมประพฤติตาม

    ทำให้หมู่สงฆ์หนักใจ
    พระอานนท์จึงทูลถามว่า
    จะทำอย่างไรกับพระฉันนะ
    เมื่อพระองค์เสด็จปรินิพพานแล้ว
    พระองค์ตรัสว่า
    ให้สงฆ์ลงพรหมทัณฑ์ต่อพระฉันนะ
    คือห้ามภิกษุทุกรูปคบหาสมาคม
    ห้ามบอก ห้ามสอนสิ่งใด
    พระฉันนะต้องการทำสิ่งใด ก็ให้ทำสิ่งนั้น

    ครั้นพระพุทธองค์เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว
    สงฆ์ก็ลงพรหมทัณฑ์พระฉันนะ
    ภายหลังพระฉันนะรู้สึกตัว
    เห็นข้อบกพร่อง ผิดพลาดของตน
    แล้วค่อยๆ ละทิฏฐิมานะ
    จนในที่สุดก็สำเร็จเป็นพระอริยบุคคล

    ตอนที่ 4
    ชมรมทำความสะอาดห้องสุขา

    เมื่อพระอาจารย์มิตซูโอะ ไปประเทศญี่ปุ่น
    ได้พบปะพูดคุยกับ ประธานบริษัทใหญ่มีชื่อเสียงคนหนึ่ง
    เขาเป็นสมาชิกชมรมทำความสะอาดห้องสุขา
    สมาชิกเป็นคนชั้นสูง เป็นประธานบริษัทใหญ่ๆ
    หรือผู้ใหญ่ในสังคมกันทั้งนั้น
    กิจกรรมของเขาคือ ทำความสะอาดห้องสุขา
    ตามโรงเรียนต่างๆ และห้องสุขาสาธารณะเดือนละครั้ง

    เพื่อเป็นการละตัวตน เพื่อพัฒนาจิตใจตนเอง
    ชมรมนี้ตั้งขึ้นมาหลายสิบปีแล้ว
    เมื่อก่อนจะเข้าไปขออนุญาตตามบ้าน
    ทำความสะอาดห้องสุขา
    แต่ทุกวันนี้เลือกเฉพาะที่สาธารณะเป็นส่วนใหญ่

    เช่น ห้องสุขาในโรงเรียนประถม มัธยม
    ห้องสุขาสวนหย่อม ห้องสุขาสวนสาธารณะ
    ทำความสะอาดแต่ละครั้งใช้เวลาเกือบ 2 ชั่วโมง
    ขัดถูทำความสะอาดทุกส่วนของห้องน้ำ
    บางทีโดนด่าต่างๆ นานา
    จากคนจรจัดที่อาศัยอยู่ใกล้ๆ กัน ก็มี

    กิจกรรมสร้างสรรค์นี้ นับว่ามีประโยชน์
    ในการละทิฏฐิมานะ อัตตาตัวตน ขัดเกลากิเลส
    ได้อย่างดีทีเดียว ใครเห็นประโยชน์แล้วก็ตั้งชมรม
    ปฏิบัติกันเลย เป็นชมรมทันสมัย คิดใหม่ ทำใหม่
    ในการภาวนาพัฒนาจิตใจ

    ตอนที่ 5
    โอ๊ะซัง

    โอ๊ะซัง เป็นชาวญี่ปุ่น อายุ 52 ปี
    เดือนเมษายน 2541 หมอตรวจพบว่าเธอเป็นโรคมะเร็งในมดลูก
    หมอบอกว่าผ่าตัดแล้ว 2–3 เดือนน่าจะกลับไปทำงานได้
    โอ๊ะซังก็คิดไปว่า โรคมะเร็งถ้าผ่าตัดแล้วก็จะหาย ไม่น่ากลัว
    ผ่าตัด 7 วัน ย้ายไปเข้าห้องธรรมดา
    หมอบอกว่าควรรักษาด้วยเคมีบำบัด คือการฉีดคีโม

    โอ๊ะซังได้ปรึกษาหมอว่ามีวิธีรักษาอย่างอื่นไหม
    หมอบอกว่าคนที่ปฏิเสธการรักษาทางเคมีเป็นคนโง่
    หมอเร่งให้ตัดสินใจรักษาด้วยเคมี
    จิตใจโอ๊ะซังเริ่มสับสน ขออนุญาตกลับไปบ้านก่อน
    เดือนพฤษภาคม 2541 หมออนุญาตให้กลับบ้านได้

    เมื่อออกจากห้อง นางพยาบาลวิ่งมาบอกโอ๊ะซังว่า
    “คุณพร้อมจะตายพรุ่งนี้ มะรืนนี้หรือเปล่า”
    คำพูดของนางพยาบาล ทำให้จิตใจโอ๊ะซังแตก
    จิตตก กลัวตาย เกิดอาการโรคประสาท
    หมอบอกว่าอีก 2–3 เดือนกลับไปทำงานได้
    ทุกคนพร้อมกันพูดโกหกว่าฉันเป็นโรคร้ายแรง
    ขั้นสุดท้ายอาจจะตาย 1-2 วัน
    เกิดอาการโรคประสาทขึ้นมา

    “อายุแค่ 50 ปี ยังไม่น่าตายนี่”
    “ตายคนเดียวกลัว”
    “ตายแล้วจะไปไหน”
    “ฉันทำไมต้องตาย โลกนี้ไม่มีความยุติธรรมเลย”

    เห็นผู้หญิงมีลูกอ่อน เกิดเกลียดชัง
    เขากำลังมีความสุข อิจฉาเกลียดชัง
    คิดสารพัดอย่าง
    ฉัน..... ฉัน..... ฉัน
    ในที่สุด ฉีดคีโมรักษา
    สิงหาคม 2541 หมออนุญาตให้กลับบ้าน

    อยู่ที่บ้าน กลัวตายมากๆ
    ไปซื้อของก็กลัวในการเดิน
    รู้สึกถนนไม่เรียบ ตัวเราจะล้มลง
    แต่ต้องทำใจเมื่อต้องซื้อของ
    เพราะคิดไปว่าถ้าจัดอาหารไม่ได้
    คงจะอยู่ที่บ้านไม่ได้

    หลังจากกินยารักษาโรคประสาท 6 เดือน
    ดูทีวีและเล่นทีวีเกมส์ ทั้งวัน อีก 6 เดือน
    อยู่เฉยๆ ไม่ได้..... กลัว
    เดือนมกราคม 2542
    รับจดหมายจากพระอาจารย์มิตซูโอะ ว่า
    “มองเห็นทุกข์ให้เป็นธรรม”
    นึกๆ หมายความว่าอย่างไร ทำไมเป็น “ธรรม”
    พยายามต่อสู้กับโรค ไม่ยอมแพ้
    แต่ยังต้องดูทีวีทั้งวัน..... อยู่อย่างนั้น

    มิ.ย. 2542 พระอาจารย์กลับไปญี่ปุ่น
    แวะพักบ้านโยม ไม่ไกลจากบ้านโอ๊ะซังเท่าไรนัก
    โอ๊ะซังไปเยี่ยมพระอาจารย์ และเล่าประสบการณ์
    เรื่องผ่าตัดและอาการของโรคประสาท
    พระอาจารย์พูดว่า.....
    “กลัวตายทำไม ถึงเวลาตาย ทุกคนก็ต้องตาย
    อาการกลัวตาย โรคประสาทนี่เป็นการปรุงแต่งของจิต”
    ..... เธอติดใจคำพูด

    “เป็นการปรุงแต่งของจิต จิตสร้างขึ้นมาเอง”
    กลับบ้านเปิดหนังสือธรรม อริยมรรคมีองค์ 8
    ค้นพบประโยคว่ามีสัมมาสติ จึง มีสัมมาสมาธิ
    เมื่อสัมมาสมาธิ จิตจะไม่มีการปรุงแต่ง
    โอ๊ะซังคิดว่าเพื่อให้หายจากโรคประสาท
    ต้องเข้าสมาธิ เมื่อเข้าสมาธิ ต้องเจริญสติ
    ตอนเช้าเข้าโรงครัว
    มีความรู้สึกตัวในการจับหัวไชเท้า
    ความรู้สึกตัวในการจับมีด
    เพ่งในการหั่นหัวไชเท้า ฉับ !!

    จิตเข้าสมาธิ !!!

    อาจจะแค่ 2-3 วินาทีก็ได้ แต่เห็นอารมณ์ชัดเจน
    เมื่อออกจากสมาธิ อาการโรคประสาทหายหมด
    กินยารักษามา 6 เดือน
    หนีเข้าไปอยู่หน้าจอทีวี 6 เดือน
    เมื่อจิตเป็นสมาธิ เห็นตามความเป็นจริงได้ว่า
    อารมณ์ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน
    เมื่อกระทบโลกธรรมฝ่ายน่าปรารถนา
    มีลาภ มียศ มีสรรเสริญ มีสุข
    ก็จะเกิดอารมณ์พอใจ

    เมื่อกระทบโลกธรรมฝ่ายไม่น่าปรารถนา
    เสื่อมลาภ เสื่อมยศ ถูกนินทา เป็นทุกข์
    ก็จะเกิดอารมณ์ไม่พอใจ
    อารมณ์พอใจ ไม่พอใจ คือมีเรามีเขา
    เมื่อได้เจริญสติปัญญา
    กำหนดรู้เท่าทันอารมณ์แล้ว
    ก็จะเห็นว่า ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน
    เป็นอนัตตา ถ้าไม่ยึดมั่นถือมั่น
    ใจสบาย.... ใจสบาย

    ตอนที่ 6
    ไม่มีใครดี

    หญิงคนหนึ่ง มีลูกชายอายุ 20 ปี
    มีปัญหาในการปรับตัวเข้ากับสังคม
    เพราะมักจะกลัว ประหม่า ต้องเปลี่ยนงานบ่อยๆ
    เขาโทษแม่ว่าเลี้ยงลูกไม่ดี
    เมื่อเล็กๆ ลูกทำความดีก็ไม่ได้ชม
    ลูกทำความผิดก็ไม่ได้ตักเตือนว่าผิด เป็นต้น
    จึงทำให้เขาต้องเป็นแบบนี้มาตลอด

    ด้วยความปรารถนาดีแม่จึงแนะนำลูกชายว่า
    ให้เจริญอานาปานสติ แต่เขาไม่ยอมทำ
    พูดไปพูดมาก็จะเถียงกัน พูดกันไม่รู้เรื่อง
    จนวันหนึ่งแม่ของเขาได้เขียนจดหมายไปสอนว่า
    เขาเปรียบเหมือนคนที่ถูกลูกธนูที่มีพิษยิงใส่

    ขณะที่เจ็บปวดอยู่แทนที่จะดึงลูกธนูออก
    แต่กลับคิดว่า.....
    ใครยิง ยิงเขาทำไม พิษเป็นอะไร ทำด้วยอะไร ฯลฯ
    แล้วก็จะตาย.....
    เช่นเดียวกับเขาที่คิดแต่ว่าคนอื่นไม่ดี
    แม่ไม่ดี พ่อไม่ดี น้องไม่ดี
    จนมองข้ามความไม่ดีของตัวเอง มัวแต่โทษคนอื่น
    ชีวิตที่ไม่ได้เจริญอานาปานสติ ก็จะเป็นอย่างนี้
    ทุกข์ตลอดชีวิตนะ..... แม่เขียนไว้อย่างนั้น

    หลังจากเขาได้อ่านจดหมายแล้วก็ยอมรับ
    และขอให้แม่มาสอนอานาปานสติแก่เขา
    เมื่อได้พบกันเธอก็ได้สอนให้เขา
    เฝ้าดูลมหายใจเฉยๆ
    พอมีความคิดต่างๆ เข้ามา
    ก็ให้รู้ว่าเป็น การปรุงแต่งของจิตใจ
    และให้รีบกลับมาที่ลมหายใจอีก ทำอยู่อย่างนั้น
    คืนนั้นลูกชายของเธอก็ได้ฝึกทำดู

    ในเช้าวันรุ่งขึ้น เขาได้วิ่งเข้ามาหาแม่ และได้บอกว่า
    จิตใจของเขามีแต่การปรุงแต่งตลอดมา
    และแม่ก็ทำให้เขาเข้าใจตัวเอง
    ขณะนั้นจิตใจของเขาเบาสบายและดีใจมาก
    จนยกมือไหว้พระและขอบคุณแม่
    อย่างไรก็ตามลูกชายคนนี้ของเธอก็ยังไม่หายสนิท
    เพราะเขาไม่ได้ทำติดต่อกัน..... น่าเสียดาย

    ตอนที่ 7
    หลากหลาย..... มากมี

    คนเราเปรียบเหมือนผลไม้
    ผลไม้ชนิดต่างๆ ราคาแพง ราคาถูก
    รสหวาน รสเปรี้ยว..... ต่างมีลักษณะเฉพาะ
    บางอย่างเราชอบ แต่เขาไม่ชอบ
    บางอย่างเขาชอบ แต่เราไม่ชอบ

    สิ่งที่เราชอบ เราไม่ชอบ.....
    ไม่ใช่สิ่งที่ดี หรือไม่ดี เสมอไป
    ลูก..... เด็ก..... ก็เช่นกัน
    แต่ละคนมีลักษณะเฉพาะตัว.....
    มีความสามารถ มีธรรมชาติหลากหลาย
    เหมือนผลไม้ในสวน
    ลูกทุเรียน ลูกมะยม ลูกมะม่วง ลูกส้ม

    บทบาทสำคัญของพ่อแม่คือ
    ให้ความสำคัญ คำชม ให้กำลังใจ
    เอาใจเขาใส่ใจเรา พยายามเข้าใจลูกเรา
    รวมทั้งลูกคนอื่น
    พยายามสนับสนุนเขาในสิ่งที่เขาจะทำได้

    อย่าบังคับสิ่งที่เขาทำไม่ได้
    การเอาความเห็นของตนเองเป็นใหญ่
    เป็นสิ่งที่อันตราย
    สิ่งที่ดี ก็ชมให้กำลังใจ
    ผิดก็ว่าผิด ให้แก้ไข แต่อย่าตำหนิมากเกินไป
    ตำหนิ 1 ชม 9 จึงพอดี เหมาะสม

    จงพัฒนาลูกทุเรียน.....
    ให้รสหวานมันเป็นลูกทุเรียนที่อร่อยที่สุด
    ลูกมะยม..... ให้เป็นลูกมะยมที่ดีที่สุด
    ลูกมะม่วง..... ให้เป็นลูกมะม่วงที่ดีที่สุด
    ลูกส้ม..... ให้เป็นลูกส้มที่ดีที่สุด
    อย่าพยายามพัฒนาให้ลูกมะยมเป็นลูกทุเรียน
    ลูกมะม่วง ลูกส้ม หรือลูกอะไรๆ เลย

    ตอนที่ 8
    เต่าเจ้าปัญญา

    กระดองเต่ามี 6 รู คือ ศรีษะ 1 ขา 4 หาง 1
    ในเวลาที่ไม่มีอันตราย เต่าจะเดินไปเรื่อยๆ
    แต่เมื่อมีอันตรายเกิดขึ้น
    เต่าก็จะรีบหดตัวอยู่ในกระดอง
    จนกว่าจะรู้สึกตัวว่าปลอดภัย
    จึงค่อยๆ โผล่หัวออกมาดูว่าปลอดภัยหรือยัง
    แล้วจึงโผล่ขาและหางออกมาเดินช้าๆ เรื่อยๆ ต่อไป ตอนที่ 9
    ความมั่นใจในตัวเองกับอนิจจัง

    การปฏิบัติของเรา ก็ควรเอาอย่างเต่า
    เพราะเราก็มีทวารทั้ง 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
    เมื่อมีอะไรมากระทบแล้วยินดียินร้าย
    ก็ให้รีบหดเข้าไป อยู่กับลมหายใจออก
    ลมหายใจเข้า ไม่ต้องคิดไปตามอารมณ์
    แต่ให้หายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ สบายๆ
    จนใจสงบ ใจสบาย แล้วจึงค่อยๆ คิด อย่างมีสติปัญญา
    โดยเอาเต่าเป็นครู เป็นอาจารย์ของเรา



    การสร้างความมั่นใจในตัวเอง
    เป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินชีวิตให้สำเร็จ
    การทำอะไรก็ตาม เราจะต้องมีความมานะอดทน
    ที่จะทำให้สำเร็จลุล่วงไปโดยใช้ หลักอิทธิบาท 4 คือ

    ฉันทะ..... พอใจในสิ่งที่ทำ
    วิริยะ..... ปรารภความเพียร
    จิตตะ..... จิตใจจดจ่อในสิ่งที่ทำ
    วิมังสา..... ใช้ปัญญาทบทวนสิ่งที่ทำในอดีตเพื่อแก้ปัญหา
    และหาทางป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก

    เมื่อทำอะไรสำเร็จได้
    ก็จะเกิดความรู้สึกมั่นใจในตัวเอง
    แต่ความมั่นใจในตัวเองมากไป
    จนไม่ฟังใคร เพราะถือตัวถือตน
    ก็มักจะกระทบกับคนรอบข้าง

    ตรงกันข้ามถ้าใจเป็นธรรม
    คือเห็นความไม่เที่ยงในสังขาร
    จนไม่ถือตัวถือตนแล้ว
    ก็จะอ่อนน้อมถ่อมตน
    และพร้อมที่จะรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
    ด้วยใจดี ใจเป็นกลาง และใจเย็น
    โดยไม่กลัวเสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์
    แล้วยังสามารถจัดการกับอารมณ์ของตัวเองได้ดี

    เมื่อใดเราพอใจในการทำดีที่สุดแล้ว
    แม้จะได้ผลไม่ดี ก็จะไม่เสียใจ
    จนหยุดทำความดี
    และเมื่อได้ดี ก็ไม่ดีใจจนเกินไป
    ผู้มั่นใจในตัวเองสูง แต่ปัญญาเห็นอนิจจังแล้ว
    ก็จะเป็นผู้ไม่ถือตัวถือตน

    ตอนที่ 10
    หนทางปฏิบัติ

    พยายามรักษาความรู้สึกที่ดี
    หรือกุศลจิตเอาไว้ตลอดเวลา
    ทุกลมหายใจเข้า-ลมหายใจออก
    ในทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน
    ทำความรู้สึกกับลมหายใจ
    ทำให้สนิทสนมกลมกลืน

    เสมือนหนึ่งเป็นกัลยาณมิตร เป็นเพื่อนที่ดี เพื่อนรัก
    มีสติสัมปชัญญะ ความรู้สึกตัวทั่วถึง
    ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า
    มีความรู้สึกตัวที่จิต
    ถึงแม้ว่ามีอาการหายใจ ไม่หายใจก็ตาม
    อย่ายินดี ยินร้าย ไม่ให้ติดอยู่ในอารมณ์ต่างๆ

    ไม่ว่าสิ่งใดๆ ก็ล้วนเกิดจากกรรม
    ให้น้อมใจเข้ามาสู่ตน
    หายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ สบายๆ
    รักษาใจ เบาๆ สบายๆ
    ไม่มีเรา ไม่มีเขา
    อย่ายึดถือกับความรู้สึกนึกคิด เป็นเรา เป็นเขา

    หรือแม้..... เราดีกว่าเขา
    ............... เราเสมอเขา
    ............... เราด้อยกว่าเขา

    ทำใจเป็นธรรม ใจที่เป็นธรรมจะก่อให้เกิดการแก้ไข
    ไม่ว่าจะประสบกับโลกธรรมฝ่ายน่าปรารถนา
    หรือไม่พึงปรารถนา ให้น้อมศีล สมาธิ ปัญญา
    มารวมไว้ที่ใจของตน

    ไม่ส่งจิตคิดออกไปเพิ่มกิเลสทั้งหลาย
    เจริญสติปัฏฐาน 4 จนกว่าใจจะเห็นว่า
    ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา
    อย่าให้มีความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5
    อย่าให้มีอัตตาตัวตน
    อันเป็นความหนัก ความทุกข์ อีกเลย

    สพฺเพนาลํ อภินิเวสาย
    “สิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
    ไม่ถือตัว ไม่มีตน เป็นสุญญตา”

    …………………… เอวัง ……………………

    มูลนิธิมายา โคตมี
    ๓๗๘ อาคารสงเคราะห์ สาย ๒๐ ก. เขตสาธร กรุงเทพมหานคร ๑๐๑๒๐
    โทรศัพท์ ๐๒-๖๗๖๓๔๕๓ โทรสาร ๐๒-๒๘๖๘๖๙๐
    E-mail Address : mayagotami@watpahsunan.org
     
  2. santosos

    santosos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,165
    ค่าพลัง:
    +3,212
    มูลนิธิมายา โคตมี
    ๓๗๘ อาคารสงเคราะห์ สาย ๒๐ ก. เขตสาธร กรุงเทพมหานคร ๑๐๑๒๐
    โทรศัพท์ ๐๒-๖๗๖๓๔๕๓ โทรสาร ๐๒-๒๘๖๘๖๙๐
    E-mail Address : mayagotami@watpahsunan.org
     
  3. santosos

    santosos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,165
    ค่าพลัง:
    +3,212
    อย่ายุ่งกับเรื่องของคนอื่น ดูตัวเองมาก ๆ
    หลวงพ่อ (พระโพธิญาณเถระ) บอกว่า
    'ธรรมดาเราดูแต่คนอื่น 90% ดูตัวเองแค่ 10%'
    คือคอยดูแต่ความผิดของคนอื่น เพ่งโทษคนอื่น คิดแต่จะแก้ไขคนอื่น

    กลับเสียใหม่นะ ดูคนอื่นเหลือไว้ 10%
    ดูเพื่อศึกษาว่า เมื่อเขาทำอย่างนั้น คนอื่นจะรู้สึกอย่างไร เพื่อเอามาสอนตัวเองนั่นแหละ
    ดูตัวเอง พิจารณาตัวเอง 90% จึงเรียกว่าปฏิบัติธรรมอยู่

    ธรรมชาติของจิตใจมันเข้าข้าง ตัวเอง
    โบราณพูดว่า เรามักจะเห็น ความผิดของคนอื่นเท่าภูเขา ความผิดของตนเองเท่ารูเข็ม
    มันเป็นความจริงอย่างนั้นด้วย เราจึงต้องระวังความรู้สึกนึกคิดของตัวเองให้มาก ๆ

    เห็นความผิดของคนอื่น ให้หารด้วย 10
    เห็นความผิดตัวเอง ให้คูณด้วย 10
    จึงจะใกล้เคียงกับความจริงและยุติธรรม
    เพราะเหตุนี้เราจะต้องพยายามมองแง่ดีของคนอื่นมาก ๆ
    และตำหนิติเตียนตัวเองมาก ๆ
    แต่ถึงอย่างไร ๆ เราก็ยังเข้าข้างตัวเองนั่นแหละ

    พยายามอย่าสนใจการกระทำ การปฏิบัติของคนอื่น
    ดูตัวเอง สนใจแก้ไขตัวเองนั่นแหละมาก ๆ
    เช่น เข้าครัวเห็นเด็กทำอะไรไม่ถูกใจ แล้วก็เกิดอารมณ์ร้อนใจ
    ยังไม่ต้องบอกให้เขาแก้ไขอะไรหรอก รีบแก้ไข ระงับอารมณ์ร้อนใจของตัวเองเสียก่อน
    เห็นอะไร คิดอะไร รู้สึกอย่างไร ก็สักแต่ว่า ใจเย็น ๆ ไว้ก่อน
    ความเห็น ความคิด ความรู้สึกก็ไม่แน่ ..... ไม่แน่ อาจจะถูกก็ได้ อาจจะผิดก็ได้
    เราอาจจะเปลี่ยนความเห็น ก็ได้
    สักแต่ว่า.....สักแต่ว่า.....ใจเย็น ๆ ไว้ก่อน ยังไม่ต้องพูด

    ดูใจเราก่อน สอนใจเราก่อน หัดปล่อยวางก่อน
    เมื่อจิตสงบแล้ว เมื่อจิตปกติแล้ว จึงค่อยพูด จึงค่อยออกความเห็น
    พูดด้วยเหตุ ด้วยผล ประกอบด้วยจิตเมตตากรุณา
    ขณะมีอารมณ์อย่าเพิ่งพูด
    ทำให้เสียความรู้สึกของผู้อื่น ทำให้ เสียความรู้สึกของตัวเอง
    ไม่เกิดประโยชน์เท่าที่ควร มักจะเสียประโยชน์ซ้ำไป

    เพราะฉะนั้น อยู่ที่ไหน อยู่ที่วัด อยู่ที่บ้าน ก็สงบ ๆ ๆ ไม่ต้องดูคนอื่นว่าเขาทำผิด ๆ ๆ
    ดูแต่ตัวเรา ระวังความรู้สึก ระวังอารมณ์ของเราเองให้มาก ๆ
    พยายามแก้ไข พัฒนาตัวเรา ..... นั่นแหละ

    เห็นอะไรชอบ ไม่ชอบ ปล่อยไว้ก่อน เรื่องของคนอื่น พยายามอย่าให้เข้ามาที่จิตใจเรา
    ถ้าไม่ระวัง ก็จะยุ่งกับเรื่องของคนอื่นไปเรื่อย ๆ
    หาเรื่องอยู่อย่างนั้น เอาเรื่องโน้นเรื่องนี้มาเป็นเรื่องของเราหมด
    มีแต่ยินดี ยินร้าย พอใจ ไม่พอใจ ทั้งวัน
    อารมณ์มาก จิตไม่ปกติ ไม่สบาย ทั้งวัน ๆ ก็หมดแรง

    ระวังนะ
    พยายามตามดูจิตของเรา รักษาจิตของเราให้เป็นปกติให้มาก
    ใครจะเป็นอะไร ใครจะทำอะไร ดีหรือไม่ดี เรื่องของเขา
    แม้เขาจะทำกับเรา ว่าเรา..... ก็เรื่องของเขา
    อย่าเอามาเป็นอารมณ์ อย่าเอามาเป็นเรื่องของเรา

    ดูใจเรานั่นแหละ พัฒนาตัวเองนั่นแหละ
    ทำใจเราให้ปกติ สบาย ๆ มาก ๆ
    หัด - ฝึก ปล่อยวาง นั่นเอง
    ไม่มีอะไรหรอก
    ไม่มีอะไรสำคัญกว่าการตามรักษาจิตของเรา
    คิดดี พูดดี ทำดี มีความสุข
    ถ้า หากถ้อยคำจากเมลนี้ เป็นดั่งประทีปธรรมในการสร้างจิตสำนึกที่งดงามให้แก่ผู้ที่ได้อ่านและศึกษา พึงน้อมดวงจิตบูชาระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย แล้วไปสู่การประพฤติและการปฏิบัติตนในฐานะพุทธมามกะที่ดี ก็คงจะนำมาซึ่งปีติอันใหญ่หลวงยิ่ง จากการอนุโมทนาบุญของผู้จัดทำขึ้น แล้ว
     
  4. santosos

    santosos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,165
    ค่าพลัง:
    +3,212
    วันนี้ พวกเราก็รวมกัน เป็นการฟังเทศน์และปฏิบัติธรรมโดยพร้อมกัน การสำรวมจิตใจของเรา ให้สงบเรียบร้อย แล้วก็การที่เรามานั่งอยู่ในสถานที่นี้ก็เป็นการเพื่อทบทวนดูชีวิตของเรา วันคืนล่วงไปล่วงไป เรากำลังทำอะไรอยู่ การกระทำของเรานี้ คือเป็นไปเพื่อประโยชน์และความสุขหรือไม่ ตั้งแต่เกิดมาเวลาของเราก็คลานไปเป็นส่วนหนึ่ง แล้วก็อนาคตของเราก็ยังไม่แน่ใจว่าจะอีกนานเท่าไร อย่างไรก็ตามสิ่งที่แน่นอนที่สุดว่า เราทุกคนยังจะมีความสุข เป็นคนไทยมี 66 ล้านคน มนุษย์ทั่วโลกหกพันห้าร้อยกว่าล้านคน ทุกคนอยากจะมีความสุข จึงต้องต่อสู้ทำอะไรทุกสิ่งทุกอย่างที่ราทำอยู่นี้ การกระทำของมนุษย์ทุกสิ่งทุกอย่างก็เป็นไปเพื่อ ความสุขตามที่เราเข้าใจ แต่การกระทำของเรานี้ ก็เป็นไปตามนั้นหรือไม่ อันนี้ไม่แน่นอน ถ้าเราไม่ได้ตั้งใจพิจารณาแล้วก็ การกระทำของเรานี้ไม่เป็นไปตามที่เราต้องการ โดยมากและโดยมาก คนเรานี้ก็แสวงหาความสุขที่ ค่อนข้างจะเป็นไปไม่ได้ ลองสังเกตดู ชีวิตของตัวเอง ชีวิตครอบครัว ชีวิตในสังคมนี้ทุกวันนี้เป็นอย่างไร มีแต่การต่อสู้ทะเลาะกันทั้งนั้น สามีภรรยาที่มีลูกแล้วก็ ยังบ่น ๆ อยู่ ขนาดคู่รัก เรียกว่าคู่รัก รักที่สุดจนแต่งงาน จนมีครอบครัวแล้วก็ ยังต่อสู้กัน ต่อสู้ทะเลาะกัน เมื่อเราเป็นคนที่ไม่เกี่ยวข้องแล้วก็ มันก็มีการต่อสู้ตลอด ชีวิตคือการต่อสู้ ก็ไม่ผิด ชีวิตคือการต่อสู้ จึงต้องต่อสู้กันอย่างทุกวันนี้ โดยเข้าใจว่า เป็นไปเพื่อความสุข สังเกตดู สามีภรรยาทะเลาะกัน ต่างคนต่างเรียกร้องความสุข ความสุขอยู่ที่ไหน ก็เขาพยายามหาความสุขกันทั้งนั้น ถ้าพูดถึงศีลธรรมก็ผิด ๆ ถูก ๆ แล้วแต่ ตามสัญชาตญาณของสัตว์ ความรู้สึกของเราก็เป็น ความรู้สึกตามสัญชาตญาณ แสวงหาความสุขในการกิน การนอน การเสพกาม หรือว่าเพื่อรักษาชีวิต หรือว่าเป็นไปตามกิเลศตัณหาของเรา

      พระพุทธเจ้าก็ตรัสไว้ว่า ใจ ใจเป็นประธาน ใจเป็นหัวหน้าของชีวิต เมื่อจิตใจดี จึงจะคิดดี พูดดี ทำดี มีความสุข เกิดประโยชน์ เมื่อใจเราดี เท่านั้น ถ้าจิตใจไม่ดี แล้วก็ การคิด การพูด การกระทำ ทุกสิ่งทุกอย่างก็ไม่ดี เรานึกมโนภาพดูว่า เมื่อเรารวยมาก ๆ เมื่อเราได้ยศตำแหน่งสูง ๆ เมื่อเราได้รับเกียรติยศสรรเสริญมาก ๆ เมื่อเราได้สิ่งดี ๆ ที่เราอยากได้ อยากมี อยากเป็น ได้ แต่ว่าเสียข้อเดียว เสียใจง่าย ใจเสียง่าย แล้วก็น้อยใจ แล้วก็อิจฉา แล้วก็กลัว แล้วก็โกรธ ถ้าจิตใจไม่ดี เสียใจ ใจเสียง่าย ใจเสียข้อเดียวเสียทั้งหมด หาความสุขไม่ได้ เพราะฉะนั้นเมื่อเราต้องการความสุขแล้วก็ ประเด็นแรกที่เราต้องคิดก่อน คือใจเรา การสร้างกำลังใจ ก็เป็นสิ่งสำคัญเพราะใจเป็นประธาน ใจเป็นหัวหน้าของชีวิต ปกติเราก็มองข้ามไป สิ่งที่สำคัญที่สุด แม้แต่รักษาชีวิตเกิดขึ้นกับใจ

      อาจารย์เองก็เคยไปประสบการณ์ธุดงค์ สมัยก่อนก็ไปธุดงค์ในป่า อาจารย์ก็ตั้งแต่เกิดมาแล้วก็ชอบเที่ยวป่าไปธรรมชาติ เมื่อบวชมาแล้วก็อยู่วัดป่า ได้เวลาพอสมควรหมายความว่าได้พรรษาก็ 7-8พรรษา แล้วก็ เริ่มหาประสบการณ์ในธุดงค์ในป่า ในเมืองไทยก็ต้องหาป่าไหน มีสัตว์ป่า มีเยอะ เมื่อเราอ่านประวัติของพระพุทธเจ้าก็ดี ครูบาอาจารย์ก็ดี พระธุดงค์ก็ต้องอยู่ปักกลด นั่งสมาธิเดิน จงกรมในป่าที่มีสตว์ป่านา ๆ ใช่ไหม เมื่อเราอ่านแล้วก็เกิดศรัทธา มีอารมณ์ อ่านหนังสือแล้วก็ อยากจะเป็นธุดงค์บ้าง แล้วก็ต้องถามหาว่าสัตว์ป่าอยู่ที่ไหน โดยมากก็เป็นเขตอนุรักษ์สัตว์ป่า ในเมืองไทยก็ ยังสัตว์ป่าก็มีมากพอสมควร สัตว์ใหญ่ก็มีตั้งแต่ช้าง พวกกระทิง ควายป่าก็มี แล้วก็เสือ เสือก็มีมาก เก้ง กวาง หมูป่า งู งูจงอางดัง ๆ โดยเฉพาะเข้าไปเขตอนุรักษ์สัตว์ป่าแล้วก็ สัตว์เหล่านี้ก็มีอยู่ มีอยู่ แล้วก็มีมาก ทีนี่เมื่อเราไปสถานที่นั้น พระธุดงค์ก็ไม่มีอาวุธ ไม่มีอาวุธ แล้วสัตว์ป่าก็มีจริง ๆ บางครั้งอาจารย์ก็เจอ สัตว์ป่านี่เราก็เจอกันจริง ๆ มันก็มีตั้งแต่ช้างป่า มีกระทิง เสือโคร่ง หรือว่าสัตว์ป่าอื่น ๆ อีเก้ง กวาง หมูป่า มันก็เจอกันในกลางป่า ทีนี้มันก็จริง ๆ แล้ว เราก็กลัวเหมือนกัน กลัวตาย กลัวตาย แต่เมื่อมาแล้วก็ต้องทำอย่างไรจึงจะรักษาชีวิตได้ พระธุดงค์ในป่า ก็มีครั้งหนึ่ง เจอเสือ เป็นที่เขาใหญ่ อยู่ในเขาใหญ่แล้วก็ วันหนึ่งอาจารย์อยู่กับพระฝรั่งด้วยและสามเณรไทย ปักกลดอยู่ในป่า แล้ววันหนึ่งสามเณรบอกว่า

    “โอ้ อยากจะเห็นช้างป่า อยากจะเห็นช้างป่า”

    “ถ้าอย่างนั้นก็ คืนนี้ คืนนี้เราก็ไปหาช้างป่าหน่อย”

    ถามพระฝรั่งว่าท่านจะไปไหม อาจารย์พระฝรั่งบอกว่าไม่ไปจะอยู่ที่นี่ ตกลงว่าอาจารย์ก็พาสามเณรไป คืนนี้ฉันข้าวเสร็จ ฉันข้างเสร็จแล้วก็เดิน เดินไป ไปสถานที่แห่งหนึ่ง เมื่อขึ้นจากปากช่องเข้าถึงเขาใหญ่แล้วก็มีป้ายเขียนไว้ว่า ที่ชุมนุมเพื่อนช้างป่า ก็มาถึงจุดนั้น เดินตามถนนใหญ่ ๆ นี่เดินออกมาเรื่อย ๆ เดินมาเรื่อย ๆ แล้วก็มีสำนักงานป่าไม้ แล้วเดินมาเรื่อย ๆ ใกล้ ๆ ที่ เขาก็มีป้ายเขียนไว้ ที่ชุมนุมเพื่อนช้างป่า แล้วก็พอดีก็เจอเจ้าหน้าที่ ถามเจ้าหน้าที่ว่า “ถ้าเราอยู่คืนนี้ คืนนี้ อยู่บริเวณนี้ ช้างป่าจะมาไหม” เจ้าหน้าที่บอกว่า

    “ไม่มาหรอก ไม่มาจะมาปีละครั้งสองครั้งจะมาบริเวณนี้”

    เราคิดว่า มีป้ายบอกว่า ที่ชุมนุมเพื่อนช้างป่า ช้างป่าจะเป็นเหงา ๆ แล้วก็มาบริเวณนี้ จะพบกัน เราก็คิดอย่างนั้น แล้วเจ้าหน้าที่ก็บอกว่า

    “โอ้ย นาน ๆ ทีหนึ่งจะมา ปีละครั้งสองครั้ง”

    เราก็ผิดหวัง อ๋อหรือ เราก็ผิดหวัง เราก็ คิด ถ้าอย่างนั้นก็จะกลับ กลับที่พักแล้วเราก็เดิน ทีนี้ตอนที่จะมานี่มาถนนใหญ่ แล้วเราก็คิดว่าน่าจะเดินในป่า ดูแผนที่แล้ว ทางเดินอยู่ในป่า น่าจะ น่าจะไปถึงที่พักได้ แล้วก็เดิน เดินในทางเดินในป่า เดินมาก็หลายชั่วโมงแล้วก็ถึงตอนเย็นแล้ว 4 โมงเย็น แล้วก็อีกสองกิโลเมตรก็เห็นเสาไฟฟ้า นี่เป็นถนน เห็นเสาไฟฟ้า เราก็รู้ เราก็รู้แล้วว่า เดินทั้งวัน เดิน อ้อมกลม ๆ แล้วกลับมาที่เก่า ที่เก่าและหลายชั่วโมงก็เดินแล้วก็เดินกลับมาที่เก่า อีกสองกิโลบนถนนที่มาจากปากช่องมีป้ายว่า ที่ชุมนุมเพื่อนช้างป่า แล้วเราก็รู้ว่า อ๋อเรากลับมาที่เก่า

    สามเณรบอกว่า “อาจารย์ อยากจะเห็นสัตว์ป่า”

    ตอนนี้ 4 โมงเย็น ถ้าเป็นอย่างนี้เราก็ต้องอยู่ที่นี่สักชั่วโมง เพราะเรารู้อยู่ว่า สัตว์ป่าจะออกมาหากิน บริเวณนั้นก็มีน้ำ มีน้ำ แล้วสัตว์ป่าน่าจะเดินหากินตอนเย็น ถ้าอย่างนี้เราก็นั่งสมาธิสักชั่วโมง หาที่นั่งแล้วเราก็เดินไปข้างหน้า เราพูดกัน จนไม่นาน เห็นกวาง กวางตัวใหญ่ ๆ ตัวหนึ่ง พวกเราดีใจ เห็นกวางป่าอยู่ใกล้ ๆ เขาพอเห็นเราแล้วเขาก็เข้าป่าไป อาจารย์ก็เดินไปข้างหน้านิดหน่อย ก็นึกในใจ โอ้ยเสือโคร่ง เสือโคร่งตัวใหญ่ ๆ เดินมา เราก็เผชิญหน้ากันพอดี เข้าใจว่าเสือโคร่งเดินตามกวางอยู่ เพราะเราเห็นกวางแป๊บเดียวก็เห็นเสือโคร่งอยู่บนถนน อยู่บนถนนในป่า ต่างคนต่างมองหน้ากันอยู่พักใหญ่ พักใหญ่ แต่เสือโคร่งก็หันหลัง แล้วเราก็หันหลังไป อาจารย์ก็หันหลังไปไปทางสามเณร บอกสามเณร “โอ้! เสือ เสือ”แล้วสามเณรก็รีบเดิน เราก็ถอยกลับเข้าป่าลึก ๆ นี่แหละตามถนนที่เรามา ก็เดินกลับไปสักพักหนึ่ง แล้วคิดว่า เดี๋ยวนี้จาก 5 โมงเย็น วันกว่า ๆ แผล็บเดียวก็เห็นกวาง เห็นเสือโคร่ง เราอยู่ในกลางป่า สัตว์ป่าจะเริ่มเดินหากินแล้ว อาจารย์เองก็ไม่ได้ห่มจีวร อยู่ในป่าก็นุ่งสบง อังสะแล้วก็เดิน สามเณรก็ถือย่ามของอาจารย์กับจีวรไว้

    อาจารย์ก็บอกสามเณร “เณร เณรเอาจีวรมา อาจารย์จะห่มจีวร”

    แต่งเต็มยศ เต็มยศของพระ ห่มจีวรเรียบร้อย เราก็รู้สึกว่า เอ้ อาจจะคืนนี้ คืนนี้อาจจะตาย เสือจะกินเรา เลยต้องห่มจีวรให้เรียบร้อย เมื่อห่มจีวรเรียบร้อยก็ยืน แล้วก็ดูเณร ทำอย่างไรดี สองทางเลือก เราจะอยู่ที่นี่ หรือ เดินลึก ๆ เข้าป่าละก็สัตว์ป่ามากกว่านี้อีก ถ้าจะกลับที่พักต้องเดินไปหาเสือ ต้องเดินไปหาเสือ ใจเราก็ตัดสินใจว่า จะกลับ กลับก็ต้องเดินไปหาที่จุดที่พบกวาง เสือโคร่ง ทีนี้ดูใจ อ๋อดูใจแล้ว เราจะตายทิ้งชีวิตในป่าวันนี้ คืนนี้หรือเปล่า เพราะเราอยู่ท่ามกลางสัตว์ป่า แต่ก็ต้องเดินไปหาเสือโคร่ง ดูใจ แล้วก็ดูใจ แล้วรู้สึกว่าเราต้องทำอะไร ต้องทำอะไรในชาตินี้ ความรู้สึก จิตบอกว่ายังต้องทำอะไร มีอยู่ ตั้งแต่บวชมาแล้วก็อยู่วัดป่า แล้วก็ปฏิบัติอย่างนี้ ปฏิบัติอย่างโน่น ทำมาเรื่อย ๆ แล้วก็ ถึงวันนี้ แล้วก็ดูอนาคต วันนี้เป็นวันสุดท้ายหรือเปล่า ใจ ใจบอกว่ายังไม่ถึงเวลา ที่จะตาย รู้สึกว่ายังมีอนาคต ก็สรุปแล้ว ยังไม่ถึงเวลาที่จะตาย แล้วเราก็ดูความรู้สึก แล้วก็เป็นสัญญาเข้ามา เราเคยอ่านหนังสือ อ่านหนังสือประวัติของพระพุทธเจ้า สมัยที่เป็นพระโพธิสัตว์อยู่ชาติหนึ่ง พระโพธิสัตว์เดินในป่าก็เจอเสือแม่ลูกอ่อน กำลังนั่ง กำลังนั่งรอมนุษย์เดินมาเพื่อกินเป็นอาหาร รออยู่ตรงถนนในป่า เสือมีลูกหลายตัวลูกอ่อน กำลังรอ มีใครเข้ามาแล้วก็จะกิน เมื่อพระโพธิสัตว์ท่านรู้ว่าต้องมีใครคนใดคนหนึ่งต้องเป็นเหยื่อเป็นอาหาร ของเสือ พระโพธิสัตว์จึงตัดสินใจว่าจะเอาชีวิตไปให้เป็นทาน เดินเข้าไปให้เสือกิน

      สถานที่ว่านี้ สถานที่นี้ปัจจุบันเป็นประเทศเนปาล ชาวบ้านก็พูดต่อ ๆ กันมาว่าหมู่บ้านบริเวนนี้สมัยก่อนโน้นที่พระพุทธเจ้ายังเป็นพระโพธิสัตว์ แล้วก็เจอเสือ แล้วเอาชีวิตตนไปให้เป็นทาน ปัจจุบันสถานที่นี้ก็ยังมีอยู่ ที่เขาพูดกัน

      อย่างไรก็ตามเราก็เคยอ่านหนังสืออย่างนั้นแล้ว สถานการณ์ก็คล้ายกัน เรากำลังระลึก จุดที่เห็นเสือ เจอกันก็ เสือก็ดูเหมือนยังอยู่บนถนนอยู่ ในใจว่า วิ่งเข้าป่าก็ไม่ใช่ ต่างคนต่างเจอกันแล้วก็หยุด นิ่งหยุด แล้วก็มองหน้ากันอยู่พักหนึ่ง แล้วก็ เสือก็ค่อย ๆ หันหลัง อาจารย์ก็ค่อย ๆ หันหลังเดินมาหาสามเณร เดี๋ยวนี้เราต้องเดินไปหาที่เก่า เมื่อเราก็ตั้งใจจะเดินไปหาจุดที่เจอเสือ เราก็นึกในใจ ที่เราสวดมนต์กัน สวดมนต์เย็นนี้มันก็มีคำศัพท์ที่ว่า ข้าพเจ้ามอบกาย ถวายชีวิตนี้แด่พระพุทธเจ้า ข้าพเจ้ามอบกาย ถวายชีวิตนี้แด่พระธรรม ข้าพเจ้ามอบกาย ถวายชีวิตนี้แด่พระสงฆ์ นี่ก็สวดมนต์ทำวัตรเย็นกัน ก็สวดมนต์กันอยู่ทุกวัน แต่ก็สวดมนต์ก็สักแต่ว่าสวดมนต์ไป ในวันนั้นศัพท์อันนี้เข้ามา เข้ามาในใจ หมายความว่า พร้อมที่จะมอบกายถวายชีวิตนี้ แด่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ความรู้สึกอย่างนี้ก็เกิดขึ้นจากภายใน ภายในจิตใจ

      อย่างไรก็ตาม เราก็นึกในใจว่าแผ่เมตตาให้กับเสือนี่เหละ เรานี้ ที่เรามาอยู่ในป่า ก็เราตั้งใจมาปฏิบัติบำเพ็ญกุศล ไม่ใช่มาเพื่อเบียดเบียนใคร ถ้าเราไม่มีเวรกรรมแล้วก็ ขอให้ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน อาตมาก็นึกในใจ คล้ายกับว่าคุยกันด้วยทางจิตใจกับเสือโคร่ง แล้วก็เดินแล้วก็บอกสามเณรว่า เราไป ไปต่อ แล้วสามเณรก็เดินนำหน้า อาจารย์ก็เดินตามหลังสามเณร นึกภูมิใจว่า โอ้ ลูกศิษย์นี้เก่งนะ สามเณรนี่เก่งนะ แต่เสียข้อเดียวมองขวามองซ้าย มองขวามองซ้าย เสือจะอยู่ที่ไหนนี่แหละ

    อาจารย์ก็บอกว่า “เณร เณร ตั้งใจ ตั้งใจภาวนา”

    แล้วเณรก็สำรวม มองหน้า แล้วเณรก็เดินไปเรื่อย ๆ อาจารย์ก็เดินตามหลังสามเณรใจไม่ค่อยดี แหม่! เราก็ไม่ค่อยสบายใจ ถ้าจุดนั้นมีเสื้อแล้วและเสือก็จะกินสามเณร เด็ก ๆ ให้ เสือกิน เด็ก ๆ หมายถึงสามเณร แล้วก็เราจะกลับไปสังคมก็น่าละอาย กำลังนึก ๆ อยู่ก็ ถึงจุดที่เราเห็นกวางแล้วก็หยุดถามสามเณร

    “เณร เณร”

    แล้วเณรก็หยุดหันหลังมา

    “เณร เณร เป็นอย่างไรบ้าง”
    “ใจไม่ดี”
    “ใจไม่ดี”

    อาจารย์จึงให้เดินตามหลัง อย่างไรซะเราเป็นอาจารย์ เราจะเดินนำหน้า สามเณรให้เดินตามหลัง เราก็พยายามดู ดูจิต พยายามรักษาจิต ไม่ให้กลัว ไม่ให้กลัว แล้วก็เดิน หายใจเข้าลึก ๆ หายใจเข้ายาว ๆ กำหนดลมหายใจสบาย ๆ และพยายามไม่ให้เกิดความรู้สึกกลัว เดินไปเรื่อย ๆ เดินไปเรื่อย ๆ แล้วก็ถึงจุดถนนใหญ่ที่มาจากปากช่อง เราก็หันดูก็ โอ้ รอดนะ วันนี้ไม่ตาย ก็มีความรู้สึกว่ามีความสุขดี แค่มีความชีวิตอยู่ก็มีความสุข อย่างไรก็ตามพักหนึ่งก็เดินกลับที่พัก เดินไปสักระยะหนึ่งไม่นาน เราก็ตกใจเหมือนกัน ตกใจและก็ดีใจ เห็นช้าง ช้างป่าหลายเชือก หกเจ็ดเชือกอยู่ในริมถนน อยู่ในป่าเป็นตัวใหญ่ เราก็ดีใจที่ได้เห็นช้างเหมือนกัน เพราะตั้งแต่เช้า เราตั้งใจ ตั้งใจ มา มาเยี่ยมช้างป่า พอได้เห็นเราก็นึกดีใจแต่เราก็ต้องเดินทาง เพราะว่าช้างป่าอยู่ตรงริมถนน เป็นถนนลาดยาง เราต้องดู เอ๋ เราเดินผ่านได้หรือเปล่า ช้างป่า เราก็ต้องหยุด หยุด เราต้องหยุดแล้วก็ให้เขาเห็นเราก่อน เราก็เลยสังเกต การสังเกตช้างนี่ ถ้าช้างเราต้องสังเกตหู ถ้าหูตามธรรมดาเขาก็ไม่ตื่นกลัว ถ้าช้างหูตั้งแล้วก็เขาก็ตื่นกลัว เราสังเกตดูช้างแล้วก็ ช้างป่าก็ยืนเฉย ๆ อยู่ เราก็หยุดพักหนึ่ง เราเห็นเขา เขาก็เห็นเรา แล้วก็ค่อย ๆ เดิน ค่อย ๆ เดิน ช้างก็ยังนิ่ง ๆ นิ่งๆ อยู่ เราก็ค่อย ๆ ผ่านต่างคนต่างอยู่ริมถนนแล้วเราเราก็ผ่านไป ก็ไม่มีอะไร กลับมาที่พัก มาที่พักก็ดึก ๆ แล้ว สี่ทุ่ม ห้าทุ่ม นี่ก็เป็นเมื่อเราอยู่ในป่า

      ถ้าสรุปแล้วก็พระธุดงค์อยู่ในป่า การต่อสู้กับความรู้สึก ตั้งแต่สมัยพุทธกาล อริยะเจ้าโดยเฉพาะพระอรหันต์อยู่ในป่า ไม่ค่อยมีประวัติว่าถูกทำลายชีวิตจากสัตว์ป่า เพราะพระอริยะเจ้า จิตใจดี ไม่กลัว ไม่มีความรู้สึกกลัวว่าอัตตาตัวตน พระอริยะเจ้าก็มีจิตใจบริสุทธิ์ แล้วก็มีเมตตา เมื่อมีเมตตาแล้ว ก็อยู่ในป่า ก็ไม่เบียดเบียนกัน แม้เราก็เหมือนกัน เมื่อเราเดินในป่าก็ จะต้องต่อสู้ ต่อสู้กับความรู้สึกของตัวเอง รักษาใจเป็นปกติ ถ้าเราเกิดความรู้สึกกลัว แล้วก็ ธรรมดา เมื่อรู้สึกกลัวธรรมดาก็ เกิดฮอร์โมน หรือว่ากลิ่น กลิ่นที่เกินขึ้นจากกลัว นี่ก็ทำให้กระตุ้นสัตว์ป่า โดยเฉพาะสัตว์ป่าที่หากินแล้วก็ตามกลิ่น เมื่อเราสังเกตเดินในป่า การที่มองหน้ากันก็เขาก็นิ่ง ๆ อยู่ ถ้ากลิ่น กลิ่นของเราก็เข้าถึงจมูกสัตว์ป่าก็คึก จะตื่นตัว โดยเฉพาะเมื่อความรู้สึกเกิดขึ้นจากกลัว เกลียดและกลัว นี่ก็ไปกระตุ้นสัตว์ป่า เมื่อเรากลัวแล้วอันตราย สมมุติถ้าสามคน สมมุติเป็นสามคน ปักกลดอยู่ในป่า เมื่อสัตว์ป่าที่จะหากิน เขาจะกินเนื้อสัตว์เป็นอาหาร เมื่อสัตว์ป่าก็มา สัตว์ป่าจะกินใคร ไม่ใช่ว่า ไม่ใช่ว่าต้องกัดทุกคน ถ้ามนุษย์นี่ก็เห็นแก่ตัว เมื่อมีสัตว์ป่าพวกเราจะฆ่าทั้งหมดนั้น แต่สัตว์ป่าก็ฆ่าเพื่อกิน เพื่อมีชีวิตอยู่ ซึ่งจะเอาเพียงตัวเดียว ฆ่าเขา ตัวเดียวแล้วก็ต้องกินจนหมด กินจนหมดแล้วก็ค่อยหาใหม่ เมื่อเราอยู่ในป่า สมมุติเป็นสามคนแล้วก็ คนที่กลัวที่สุด ค่อนข้างจะเป็น อันตรายที่สุด ตายก่อนเพื่อน เพราะใจ ใจเรา เราทำลายใจก่อน สัตว์ป่าจึงจะทำลายทีหลัง ถ้าเรารักษาใจได้ คือรักษาชีวิต เพราะฉะนั้น เมื่อเราอยู่ในป่าก็มีหลักง่าย ๆ ถ้าเรารักษาใจได้ ก็ค่อนข้างจะปลอดภัย ถ้าเราทำลายใจตัวเอง หมายความว่า เกิดกลัว เกิดกลัวแล้วก็ สัตว์ป่าจะทำลายทีหลัง สำหรับพระธุดงค์อยู่ในป่ามันก็ต้องต่อสู้กับความกลัว แม้จะพยายามไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดความกลัว แล้วก็ ถ้าจะดีก็ จิตเป็นสมาธิ จิตเป็นสมาธิว่าเจริญเมตตาภาวานาก็ยิ่งดี มีเมตตาภาวนา หมายถึงสบายใจ มีความสุขใจ ถึงจะเป็นสัตว์ป่า ก็อยู่รอบ ๆ ตัว ก็เราก็เหมือนกัน เมื่อเกิดมาเป็นสัตว์ ต่างคนต่างต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย ต่างคนต่างกลัว โดยเฉพาะชีวิตสัตว์ป่าอยู่ในป่า เขาก็อยู่ ต่างคนต่างอยู่นี่กลัวกันทั้งนั้น เมื่อเราพิจารณา เรากับเขาก็เหมือนกัน แล้วก็พยายามคิด เมตตา ถ้าเราสามารถเจริญเมตตาภาวนาได้ก็ อันตรายของเรานี้จะลดลง หรือว่าถ้าเราตั้งใจเจริญสติปัฐฐานสี่ เจริญวิปัสสนาจน ทำลายความรู้สึกกิเลส ทำลายความรู้สึกเห็นแก่ตัว หรือว่ากลัว เข้าถึงวิปัสสนาแล้วก็ ยิ่งกว่าปลอดภัย เพราะเราไม่มี ไม่มีใครตาย ถ้าสมมุติ ถ้าเราได้เป็นพระอรหันต์เป็นต้น

      การเจริญสติปัฎฐานสี่สมบูรณ์ พิจารณากาย พิจารณาเวทนา พิจารณาจิต พิจารณาธรรมะว่า สักแต่ว่า ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เข า ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน สักแต่ว่ากาย ธรรมชาติของจิตของเราก็ได้บริสุทธิ์เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน อันนี้เป็นที่สุดของการปฏิบัติก็ลักษณะสติปัฎฐานสี่จะเกิดขึ้นสมบูรณ์ แล้วก็สภาวะแห่งพุทธะ จิตใจที่เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เมื่อเป็นในลักษณะอย่างนี้แล้ว ถึงแม้ว่าอยู่ในป่า ก็ไม่อันตราย ยกเว้นแต่เมื่อเรามีเวรกรรมกับสัตว์ป่าแล้ว แม้แต่พระอรหันต์ก็เป็นถูกทำร้ายเหมือนกัน ถ้าเรามีเวรกรรม เวรกรรมต่อสัตว์ป่าแล้วก็ ถึงจะจิตใจเราดีขนาดไหน ก็อาจจะถูกทำร้าย ถูกทำร้ายได้ ถ้าเราไม่มีเวรกรรม เมื่อเราจิตใจดีก็ค่อนข้างจะปลอดภัย เพราะเหตุนี้ ตั้งแต่สมัยพุทธกาลพระอริยะเจ้าก็อยู่ในป่า ก็ไม่ค่อยมีภาวะที่จะถูกทำร้ายจากสัตว์ป่าก็มีน้อย อย่างไรก็ตามก็สรุปง่าย ๆ ก็ถึงแม้ว่าเราอยู่ในป่า ถ้าเราสามารถเอาชนะความกลัวได้ เอาชนะความกลัว รักษาจิตใจเป็นปกติ หรือรักษาจิตใจมีเมตตา หรือรักษาจิตใจเป็นพุทธะ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน แล้วก็เป็นการรักษาชีวิตของเรา คือใจ นี่ก็ ใจเป็นสำคัญ

      เพราะแม้แต่ พูดถึงสุขภาพกาย กายกับใจ โรคเจ็บไข้ป่วยของมนุษย์ก็เกิดขึ้นจากจิตอุปทาน มากกว่าหนึ่งในสามส่วน โรคเจ็บไข้ป่วยของเราก็มาจาก เกิดขึ้นจาก มีมากกรรมก็มีอยู่ เคยสร้างกรรม เป็นฆ่าสัตว์ เป็นเบียดเบียนสัตว์ หรือทำอะไรในอดีตหรืออดีตชาติ เรียกว่าทำบาป แล้วก็ ชาตินี้ก็เป็น มีเคราะห์กรรมที่เจ็บไข้ปวด หรือว่าอายุสั้น นี่เป็นกรรม น่าจะกรรม ก็เป็นส่วนหนึ่ง หรือว่าอาจจะเป็นเหตุปัจจัยในปัจจุบัน เป็นเหตุปัจจัยในปัจจุบัน เป็นสารอาหารที่สำคัญก็ไม่พอ พูดง่าย ๆ คือวิตามินต่างๆ ก็ไม่พอ หรือว่าสารอาหารอื่น ๆ ที่จำเป็นกับร่างกายไม่พอ แล้วก็จะให้เพิ่มเข้าไป แล้วก็ทำก็รักษาโรค ไม่เจ็บไม่ป่วย หรือว่าเป็นเชื้อโรค เป็นเชื้อโรค หรือว่าเป็นสารพิษต่าง ๆ ที่มีโทษกับร่างกายนี้อยู่ ถ้าเราหาอุบายขับออก อะไรที่เป็นส่วนเกิน มีโทษกับร่างกาย ขับออกจากร่างกายแล้วก็ โรคเจ็บไข้ป่วยก็หาย พูดง่าย ๆ ก็เป็นสารที่สำคัญ ถ้าขาดก็เพิ่ม ถ้าเป็นพิษ สารพิษ ส่วนเกินไม่จำเป็นแล้วก็ขับออกจากร่างกาย แล้วก็หายจากโรคเจ็บไข้ป่วย แล้วก็ส่วนหนึ่งที่ เมื่อจิตอุปทานยึดมั่นถือมั่น ที่ทำให้เกิดโรคเจ็บไข้ป่วย ก็เมื่อจิตใจดี ก็เป็นการรักษาสุขภาพกาย การนั่งสมาธิ การฟังเทศน์ การสวดมนต์ การทำสมาธิเดินจงกลม เจริญสมาธิ เจริญวิปัสสนาแล้วก็ เอนโดฟิน สารแห่งความสุขก็เกิดขึ้นกับสมองของเรา สารแห่งความสุขเอนโดฟิน อันนี้ คือทำให้รักษาโรคเจ็บไข้ป่วย หรือทำให้สุขภาพกายดี

      พูดง่าย ๆ ก็ ถ้าคนไทยทุกคนจิตใจดี ทุกคนจิตใจดีแล้วก็ ไม่ต้อง ไม่ต้องกินยา ไม่ต้องรักษาอะไรก็ โรคเจ็บไข้ป่วยของคนไทยประมาณหนึ่งในสามส่วน ก็หายเอง เมื่อปฏิบัติ จิตใจดี ก็หาย นี่เป็นส่วนหนึ่งก็เพราะเกิดขึ้นจากจิตทุกประการ อันนี้ก็เป็นถ้าเรารักษาจิตใจดี เพียงเท่านี้ก็เป็นผลดีต่อการรักษาโรค หรือว่ารักษาสุขภาพกาย ใจ ใจเรานี้ ค่อนข้างสำคัญแม้แต่กับร่างกายและจิตใจ

      ทีนี้เรื่อง อยู่ในสังคมเรานี้ เราทุกคนอยากจะมีความสุข เราต้องอยู่ในสังคม ก็มีพ่อแม่ พี่น้อง หรือเมื่ออยู่ที่ทำงานก็มีเจ้านาย เป็นเพื่อนร่วมงาน เป็นลูกน้อง เรามักจะมีปัญหาก่อมากมาย ถ้าเราสังเกต ในครอบครัวหรือสังคม ทุกวันนี้เราก็ต่อสู้กัน นินทากันเพื่อจะแก้ปัญหาในสังคม อันนี้ก็ ความจริงเรา มักจะสร้างปัญหากันทั้งนั้น จิตใจเรานี้สำคัญ เราพูดง่าย ๆ ก็เป็นการทะเลาะกัน ทะเลาะกัน ก็ด่ากัน ตีกัน ฆ่ากันไป เพราะเราใช่ ใจเราไม่ดี เมื่อเราเกิดโทสะแล้วก็ แสดงเป็นมโนกรรม วจีกรรม กายกรรม แล้วก็จะสร้างปัญหากัน พระพุทธเจ้าก็สอน ใจ ใจเป็นประธาน ใจเป็นหัวหน้าของชีวิต

      เราเคยคิดไหมว่า ทำไมชีวิตนี้เป็นทุกข์ ทุกข์ของเรานี้มีมากมาย ทุกข์เพราะ เงินทองไม่พอ ทุกข์เพราะเสื่อมยศ ทุกข์เพราะถูกนินทา ทุกข์เพราะสิ่งที่เราต้องการไม่มี ทุกข์เพราะสุขภาพกายไม่ดี ทุกข์เพราะ...มันก็มีเหตุ มีหลายสิ่งหลายอย่าง

      เรา ถ้าเราพูดแบบหนึ่งว่า ทุกข์เพราะเราไม่เข้าใจตัวเอง ทุกข์เพราะเราไม่เข้าใจตัวเอง ถ้าเราเข้าใจตัวเองแล้วก็ ปัญหาต่างๆ ก็หมดไป การปฏิบัติของเราก็เป็นต้องเป็น โอปะนะยิโก น้อมเข้ามาดูกายและจิตใจ ถ้าเราสังเกต เข้าวัดก็ดี สถานที่ปฏิบัติก็ดี เมื่อเราปฏิบัติแล้วก็ ทุกคนก็ต้องบอกว่า อดีตที่ทำไปแล้ว ไม่ต้องคิด อนาคตที่ยังไม่มาถึงก็ไม่ต้องคิดวิตกกังวล สิ่งภายนอกไม่ต้องคิด บุคคลภายนอกก็ไม่ต้องคิด แม้แต่ตัวเอง สมมุติเป็นอะไร สมมุติเป็นผู้หญิง เป็นผู้ชาย สมมุติเป็นเรา เป็นพ่อแม่ เรามีลูก เราเป็นอย่างนี้อย่างนั้น ก็ไม่ต้องคิด การปฏิบัติสิ่งที่แล้ว ต้องไม่คิดสิ่งเหล่านี้ และหยุดคิดสิ่งเหล่านี้ หรือว่า แม้แต่พระพุทธเจ้าก็ตรัสไว้ว่า พระพุทธเจ้าตรวจดูชีวิตของเรา ชีวิตของมนุษย์ ชีวิตของสัตว์แล้วก็ ท่านก็ ตรัสไว้ว่าเราต้องรู้จักเมตตา ความรักตัวเอง เราต้องรู้จักเมตตา แก่ตัวเอง หมายความว่าอะไร หมายความว่าทำจิตใจของตัวเองสบายใจ มีความสุขใจ คือเรามีเมตตาแก่ตัวเอง ไม่ใช่ว่าความรักตัวเอง คือเห็นแก่ตัว เห็นแก่ได้ เห็นแก่เอาเปรียบ อันนี้ไม่ใช่นะ ความรักแก่ตัวเอง เมตตาแก่ตัวเอง หมายถึง ทำจิตใจ มีความสุขใจได้ในทุกสถานการณ์ อะหัง สุขิโต โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าจงเป็นผู้ถึงสุข ขอข้าพเจ้าจงเป็นผู้ถึงสุข

      ถ้าเรานึกถึงเฉพาะประเทศไทย คนไทยมี 66 ล้านคน 66 ล้านคน ทุกคนจะมีความสุขใจได้ ถ้าเราเข้าใจถูกต้อง และปฏิบัติถูกต้อง ต้องเข้าใจถูกต้อง และปฏิบัติถูกต้องนิดหน่อย ไม่ต้องมาก แต่ต้องเข้าใจถูกต้อง และปฏิบัติถูกต้อง เราทุกคนว่า เราต้องมีเมตตาแก่ตัวเอง ต้องเป็น โอปะนะยิโก ไม่ ใช่ว่าเขาต้องรักพ่อแม่ รักสามี รักภรรยา รักเจ้านาย ต้องรักเพื่อน ต้องรักลูกน้อง ก่อนที่จะรักคนนี้คนนั้น พระพุทธเจ้าก็สอนไว้ว่า เราต้องรู้จักเมตตา ความรักตัวเองก่อน หมายถึงทำจิตใจหนักแน่น ทำจิตใจเป็นสุขภาพจิตใจที่ดี หรือทำจิตใจของเรานี้มีความสุขคลอดไป เหมือนกับรักษาชีวิต เราสังเกตดูว่า เมื่อเราเดินทางไปแล้วก็ สมมุติเป็นตลาด เขาก็ตีกัน ยิงกัน และก็โดยสัญชาติญาณ เราก็ต้องรักษาชีวิต เราก็ต้องรักษาชีวิตของตัวเอง ถึงจะเป็นเขาตีกัน ถึงจะเป็นพายุ ถึงจะเป็นน้ำท่วม ถึงจะเป็นแผ่นดินไหว โดยธรรมชาติ เราก็พยายามรักษาชีวิต สุดความสามารถ ทีนี้ทางจิตใจก็เช่นกัน ถ้าเราเป็นผู้มีเมตตาแก่ตัวเอง ถ้าเราเป็นผู้ที่มีความรักสุขภาพจิตใจที่ดีของตัวเอง ถ้าเราเข้าใจจุดนี้ ขอใจ ใจเป็นประธาน ใจเป็นหัวหน้า ถ้าเราให้ความสำคัญกับจิตใจของเรา โดยเข้าใจ โดยศึกษาธรรมะ อมรมสติ อมรมปัญญาแล้วก็ ถ้าเราเป็นผู้รัก สุขภาพจิตใจที่ดี เมตตาแก่ตัวเองแล้วก็ เราจะรักษาสบายใจ มีความสุขใจในทุกกรณี ใครจะนินทา ใครจะนินทา ใครนินทาเรา ไม่สำคัญ ใครจะสรรเสริญ ใครจะสรรเสริญเรา ก็ไม่สำคัญ สำคัญตรงที่ว่า เรารักษาจิตใจของตัวเอง เป็นสุขภาพจิตใจที่ดี รักษาจิตใจ เราสบายใจ เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ มีเหตุการณ์ภายนอกไม่สำคัญ อะไรจะเกิดขึ้นก็ช่างมัน เราเป็นผู้รักสุขภาพจิตใจที่ดี เราเป็นเมตตาแก่ตัวเองก็ เราก็มีสติ มีปัญญาที่จะดูแลจิตใจของเรานี้ ให้สงบ ให้สบายใจ มีความสุขใจ ถ้าเรามีคติ หรือว่าค่านิยมใน ดูแลจิตใจของเรา ถ้าเราเข้าใจจุดนี้แล้วก็ ชีวิตของเรานี้ ก็เรียบง่าย ถ้าเราไม่ศึกษาธรรมะแล้วก็ เราสังเกตดู เมื่อเราไม่สบายใจแล้วก็ เรามักจะคิดเพราะอะไร ไม่สบายใจ เพราะพ่อแม่ไม่ดี พ่อแม่ไม่รักเรา พ่อแม่รักพี่รักน้อง สามีไม่ดี สามีชอบเที่ยว ไม่ดูแลครอบครัว ประเดี๋ยวภรรยาก็ไม่ค่อยดี ภรรยาไม่ค่อยดูแลเรา ลูกบางทีก็เที่ยว ไม่เคยเรียนหนังสือ ไม่เคยสนใจทำงาน ลูกไม่ดี ทำงานก็รู้สึกว่าเจ้านายไม่ดี เจ้านายมีอคติ เจ้านายก็ให้ความสำคัญกับคนอื่นที่ไม่ค่อยทำงาน บางทีเราก็ไม่สบายใจ เพราะลูกน้องไม่ดี บางทีเราก็คิด เราไม่สบายใจเพราะสุขภาพกายไม่ดี เบียดเบียนจากโรคเจ็บไข้ป่วย เรามักจะไม่สบายใจแล้วก็คนอื่นไม่ดี สุขภาพกายไม่ดี หรือบัดนี้ก็เราเคยทำผิดในอดีต เสียใจ เราก็ติดอยู่อย่างนั้น เราไม่ค่อยคิดว่า เราไม่สบายใจ เพราะจิตใจเราไม่ดี เพราะไม่สบายใจ

      ทีนี้ถ้าเรารู้จักว่า ไม่สบายใจเหล่านี้มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ถ้าเรามีความเห็นชัดเจนว่า ไม่สบายใจนี้ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ธรรมชาติของจิตของเรานี้ประภัสสร ผ่องใสโดยธรรมชาติ ถ้ามีศรัทธามั่นคงแล้ว เราก็รู้จัก เมื่อไม่สบายใจเกิดขึ้นแล้วก็ โอปะนะยิโก น้อมเข้ามาดู ไม่สบายใจแล้วก็ ไม่สบายเหล่านี้ คืออนิจัง ทุกขัง อนัตตา ก็ปล่อยวาง ถ้าไม่สบายใจ ปล่อยวางได้เมื่อไร สบายใจก็ปรากฏทันที ไม่สบายใจนี้ เปรียบเทียบ มืด มืดหายไป และเมื่อสบายใจ สว่างก็จะปรากฏขึ้น เพราะธรรมชาติของจิตของเราทุกคน เป็นประภัสสร ผ่องใสโดยธรรมชาติ

      เพราะฉะนั้นการปฏิบัติของเรานี้ คือขอให้ทุกคน มีความเห็นชัดเจนว่า ไม่สบายใจนี้ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา แล้วก็เมื่อไม่สบายใจเกิดขึ้นแล้วก็ ดู โอปะนะยิโก กำหนดรู้เท่าทันว่า ไม่สบายใจนี้เป็นไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา พยายามรักษา มโนกรรม วจีกรรม กายกรรม การคิด การพูด การกระทำของเรานี้ คิดดี พูดดี ทำดี เราต้องฝึก ต้องฝึก อะไรจะเกิดขึ้นก็จะหาย ปกติก็เกิด น้อยใจ เสียใจ กลัว โกรธ แล้วก็มีเหตุการณ์ดัง ๆ เกิดขึ้นแล้วก็ คิดอย่างไรจึงจะ คิดดี คิดถูก พูดอย่างไรจึงจะพูดดี ทำอย่างไรจึงจะทำดี เมื่อเจอปัญหา เมื่อเจอปัญหา อันนี้ก็เป็นการบ้าน ถ้าเราทำได้แล้วก็ ชีวิตของเรานี้จะเปลี่ยนไปทางที่ดี การบ้าน เมื่อเราเจอปัญหาเกิดขึ้นก็คิดดี พูดดี ทำดี ทำอย่างไร คิดอย่างไร จึงจะคิดดี พูดอย่างไรจึงจะพูดดี ทำอย่างไรจึงจะทำดี วันนี้เราต้องคิดอยู่อย่างสม่ำเสมอ ทบทวนอยู่สม่ำเสมอ และก็ถ้าทำได้ชีวิตเรานี้มีแต่เจริญก้าวหน้า โชคดีมีสุข แต่ข้อสำคัญว่า คำพูด โดยเฉพาะพูดไม่ดี พยายามอย่าใช้โดยเด็ดขาด คำพูดนี้อันตราย คำพูดนี้ เบียดเบียนเรา ถ้าเราสามารถทำได้ว่า เรื่องคิดไม่ดี พูดไม่ดี ทำอะไรที่ไม่ดี พยายามหยุดนะ หยุดได้มากเท่าไรก็ยิ่งดี แล้วก็หัดคิดดี พูดดี ทำดี กำหนดชีวิตของเราแล้วก็ ชีวิตของเราก็จะเจริญก้าวหน้า อันนี้ก็เป็นการบ้าน

      สำหรับวันนี้ก็ได้เวลาพอสมควรแล้ว เรื่องนี้ก็เป็นการบ้าน ถ้าฟังเทศน์ไม่พอ ก็หนังสือเล่มเล็ก ๆ โชคดี ทำต่อ และข้อคิดต่างๆ ก็มีอยู่ในหนังสือ ก็ค่อย ๆ อ่านและหนังสือธรรมะก็ ไม่ต้องอ่านเป็นชั่วโมง สี่ห้านาทีในวันหนึ่ง สี่ห้านาทีก็อ่านหนังสือธรรมะ แล้วค่อย ๆ คิด คิดอะไรก็คิดไป ถ้าเราดูแล้วก็ผ่านไป การบำรุงจิตใจ การบำรุงคิดดี คิดถูกก็เป็นสำคัญ สัมมาทิฐิ สมสังกัปปะ รู้จักคิดดี คิดถูก ว่าพูดดี ทำดีก็เราค่อย ๆ ศึกษา เรามักจะคิดผิดกันทั้งนั้น ถ้าเรายังร้องไห้อยู่ ทุกข์อยู่ ก็โดยมากเราก็คิดผิดเป็นส่วนใหญ่ ทุกข์เพราะคิดผิด ถ้าเราทุกข์ แต่คิดถูกได้ ก็จะมีแสงสว่างที่จะคิดต่าง ๆ ได้ อย่างไรก็ตามสิ่งเหล่านี้เราต้องค่อย ๆ ศึกษาไป สำหรับวันนี้ก็ได้เวลาพอสมควรแล้วก็ยุติเพียงเท่านี้ก่อน
     
  5. santosos

    santosos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,165
    ค่าพลัง:
    +3,212
    วันนี้ พวกเราก็รวมกัน เป็นการฟังเทศน์และปฏิบัติธรรมโดยพร้อมกัน การสำรวมจิตใจของเรา ให้สงบเรียบร้อย แล้วก็การที่เรามานั่งอยู่ในสถานที่นี้ก็เป็นการเพื่อทบทวนดูชีวิตของเรา วันคืนล่วงไปล่วงไป เรากำลังทำอะไรอยู่ การกระทำของเรานี้ คือเป็นไปเพื่อประโยชน์และความสุขหรือไม่ ตั้งแต่เกิดมาเวลาของเราก็คลานไปเป็นส่วนหนึ่ง แล้วก็อนาคตของเราก็ยังไม่แน่ใจว่าจะอีกนานเท่าไร อย่างไรก็ตามสิ่งที่แน่นอนที่สุดว่า เราทุกคนยังจะมีความสุข เป็นคนไทยมี 66 ล้านคน มนุษย์ทั่วโลกหกพันห้าร้อยกว่าล้านคน ทุกคนอยากจะมีความสุข จึงต้องต่อสู้ทำอะไรทุกสิ่งทุกอย่างที่ราทำอยู่นี้ การกระทำของมนุษย์ทุกสิ่งทุกอย่างก็เป็นไปเพื่อ ความสุขตามที่เราเข้าใจ แต่การกระทำของเรานี้ ก็เป็นไปตามนั้นหรือไม่ อันนี้ไม่แน่นอน ถ้าเราไม่ได้ตั้งใจพิจารณาแล้วก็ การกระทำของเรานี้ไม่เป็นไปตามที่เราต้องการ โดยมากและโดยมาก คนเรานี้ก็แสวงหาความสุขที่ ค่อนข้างจะเป็นไปไม่ได้ ลองสังเกตดู ชีวิตของตัวเอง ชีวิตครอบครัว ชีวิตในสังคมนี้ทุกวันนี้เป็นอย่างไร มีแต่การต่อสู้ทะเลาะกันทั้งนั้น สามีภรรยาที่มีลูกแล้วก็ ยังบ่น ๆ อยู่ ขนาดคู่รัก เรียกว่าคู่รัก รักที่สุดจนแต่งงาน จนมีครอบครัวแล้วก็ ยังต่อสู้กัน ต่อสู้ทะเลาะกัน เมื่อเราเป็นคนที่ไม่เกี่ยวข้องแล้วก็ มันก็มีการต่อสู้ตลอด ชีวิตคือการต่อสู้ ก็ไม่ผิด ชีวิตคือการต่อสู้ จึงต้องต่อสู้กันอย่างทุกวันนี้ โดยเข้าใจว่า เป็นไปเพื่อความสุข สังเกตดู สามีภรรยาทะเลาะกัน ต่างคนต่างเรียกร้องความสุข ความสุขอยู่ที่ไหน ก็เขาพยายามหาความสุขกันทั้งนั้น ถ้าพูดถึงศีลธรรมก็ผิด ๆ ถูก ๆ แล้วแต่ ตามสัญชาตญาณของสัตว์ ความรู้สึกของเราก็เป็น ความรู้สึกตามสัญชาตญาณ แสวงหาความสุขในการกิน การนอน การเสพกาม หรือว่าเพื่อรักษาชีวิต หรือว่าเป็นไปตามกิเลศตัณหาของเรา

      พระพุทธเจ้าก็ตรัสไว้ว่า ใจ ใจเป็นประธาน ใจเป็นหัวหน้าของชีวิต เมื่อจิตใจดี จึงจะคิดดี พูดดี ทำดี มีความสุข เกิดประโยชน์ เมื่อใจเราดี เท่านั้น ถ้าจิตใจไม่ดี แล้วก็ การคิด การพูด การกระทำ ทุกสิ่งทุกอย่างก็ไม่ดี เรานึกมโนภาพดูว่า เมื่อเรารวยมาก ๆ เมื่อเราได้ยศตำแหน่งสูง ๆ เมื่อเราได้รับเกียรติยศสรรเสริญมาก ๆ เมื่อเราได้สิ่งดี ๆ ที่เราอยากได้ อยากมี อยากเป็น ได้ แต่ว่าเสียข้อเดียว เสียใจง่าย ใจเสียง่าย แล้วก็น้อยใจ แล้วก็อิจฉา แล้วก็กลัว แล้วก็โกรธ ถ้าจิตใจไม่ดี เสียใจ ใจเสียง่าย ใจเสียข้อเดียวเสียทั้งหมด หาความสุขไม่ได้ เพราะฉะนั้นเมื่อเราต้องการความสุขแล้วก็ ประเด็นแรกที่เราต้องคิดก่อน คือใจเรา การสร้างกำลังใจ ก็เป็นสิ่งสำคัญเพราะใจเป็นประธาน ใจเป็นหัวหน้าของชีวิต ปกติเราก็มองข้ามไป สิ่งที่สำคัญที่สุด แม้แต่รักษาชีวิตเกิดขึ้นกับใจ

      อาจารย์เองก็เคยไปประสบการณ์ธุดงค์ สมัยก่อนก็ไปธุดงค์ในป่า อาจารย์ก็ตั้งแต่เกิดมาแล้วก็ชอบเที่ยวป่าไปธรรมชาติ เมื่อบวชมาแล้วก็อยู่วัดป่า ได้เวลาพอสมควรหมายความว่าได้พรรษาก็ 7-8พรรษา แล้วก็ เริ่มหาประสบการณ์ในธุดงค์ในป่า ในเมืองไทยก็ต้องหาป่าไหน มีสัตว์ป่า มีเยอะ เมื่อเราอ่านประวัติของพระพุทธเจ้าก็ดี ครูบาอาจารย์ก็ดี พระธุดงค์ก็ต้องอยู่ปักกลด นั่งสมาธิเดิน จงกรมในป่าที่มีสตว์ป่านา ๆ ใช่ไหม เมื่อเราอ่านแล้วก็เกิดศรัทธา มีอารมณ์ อ่านหนังสือแล้วก็ อยากจะเป็นธุดงค์บ้าง แล้วก็ต้องถามหาว่าสัตว์ป่าอยู่ที่ไหน โดยมากก็เป็นเขตอนุรักษ์สัตว์ป่า ในเมืองไทยก็ ยังสัตว์ป่าก็มีมากพอสมควร สัตว์ใหญ่ก็มีตั้งแต่ช้าง พวกกระทิง ควายป่าก็มี แล้วก็เสือ เสือก็มีมาก เก้ง กวาง หมูป่า งู งูจงอางดัง ๆ โดยเฉพาะเข้าไปเขตอนุรักษ์สัตว์ป่าแล้วก็ สัตว์เหล่านี้ก็มีอยู่ มีอยู่ แล้วก็มีมาก ทีนี่เมื่อเราไปสถานที่นั้น พระธุดงค์ก็ไม่มีอาวุธ ไม่มีอาวุธ แล้วสัตว์ป่าก็มีจริง ๆ บางครั้งอาจารย์ก็เจอ สัตว์ป่านี่เราก็เจอกันจริง ๆ มันก็มีตั้งแต่ช้างป่า มีกระทิง เสือโคร่ง หรือว่าสัตว์ป่าอื่น ๆ อีเก้ง กวาง หมูป่า มันก็เจอกันในกลางป่า ทีนี้มันก็จริง ๆ แล้ว เราก็กลัวเหมือนกัน กลัวตาย กลัวตาย แต่เมื่อมาแล้วก็ต้องทำอย่างไรจึงจะรักษาชีวิตได้ พระธุดงค์ในป่า ก็มีครั้งหนึ่ง เจอเสือ เป็นที่เขาใหญ่ อยู่ในเขาใหญ่แล้วก็ วันหนึ่งอาจารย์อยู่กับพระฝรั่งด้วยและสามเณรไทย ปักกลดอยู่ในป่า แล้ววันหนึ่งสามเณรบอกว่า

    “โอ้ อยากจะเห็นช้างป่า อยากจะเห็นช้างป่า”

    “ถ้าอย่างนั้นก็ คืนนี้ คืนนี้เราก็ไปหาช้างป่าหน่อย”

    ถามพระฝรั่งว่าท่านจะไปไหม อาจารย์พระฝรั่งบอกว่าไม่ไปจะอยู่ที่นี่ ตกลงว่าอาจารย์ก็พาสามเณรไป คืนนี้ฉันข้าวเสร็จ ฉันข้างเสร็จแล้วก็เดิน เดินไป ไปสถานที่แห่งหนึ่ง เมื่อขึ้นจากปากช่องเข้าถึงเขาใหญ่แล้วก็มีป้ายเขียนไว้ว่า ที่ชุมนุมเพื่อนช้างป่า ก็มาถึงจุดนั้น เดินตามถนนใหญ่ ๆ นี่เดินออกมาเรื่อย ๆ เดินมาเรื่อย ๆ แล้วก็มีสำนักงานป่าไม้ แล้วเดินมาเรื่อย ๆ ใกล้ ๆ ที่ เขาก็มีป้ายเขียนไว้ ที่ชุมนุมเพื่อนช้างป่า แล้วก็พอดีก็เจอเจ้าหน้าที่ ถามเจ้าหน้าที่ว่า “ถ้าเราอยู่คืนนี้ คืนนี้ อยู่บริเวณนี้ ช้างป่าจะมาไหม” เจ้าหน้าที่บอกว่า

    “ไม่มาหรอก ไม่มาจะมาปีละครั้งสองครั้งจะมาบริเวณนี้”

    เราคิดว่า มีป้ายบอกว่า ที่ชุมนุมเพื่อนช้างป่า ช้างป่าจะเป็นเหงา ๆ แล้วก็มาบริเวณนี้ จะพบกัน เราก็คิดอย่างนั้น แล้วเจ้าหน้าที่ก็บอกว่า

    “โอ้ย นาน ๆ ทีหนึ่งจะมา ปีละครั้งสองครั้ง”

    เราก็ผิดหวัง อ๋อหรือ เราก็ผิดหวัง เราก็ คิด ถ้าอย่างนั้นก็จะกลับ กลับที่พักแล้วเราก็เดิน ทีนี้ตอนที่จะมานี่มาถนนใหญ่ แล้วเราก็คิดว่าน่าจะเดินในป่า ดูแผนที่แล้ว ทางเดินอยู่ในป่า น่าจะ น่าจะไปถึงที่พักได้ แล้วก็เดิน เดินในทางเดินในป่า เดินมาก็หลายชั่วโมงแล้วก็ถึงตอนเย็นแล้ว 4 โมงเย็น แล้วก็อีกสองกิโลเมตรก็เห็นเสาไฟฟ้า นี่เป็นถนน เห็นเสาไฟฟ้า เราก็รู้ เราก็รู้แล้วว่า เดินทั้งวัน เดิน อ้อมกลม ๆ แล้วกลับมาที่เก่า ที่เก่าและหลายชั่วโมงก็เดินแล้วก็เดินกลับมาที่เก่า อีกสองกิโลบนถนนที่มาจากปากช่องมีป้ายว่า ที่ชุมนุมเพื่อนช้างป่า แล้วเราก็รู้ว่า อ๋อเรากลับมาที่เก่า

    สามเณรบอกว่า “อาจารย์ อยากจะเห็นสัตว์ป่า”

    ตอนนี้ 4 โมงเย็น ถ้าเป็นอย่างนี้เราก็ต้องอยู่ที่นี่สักชั่วโมง เพราะเรารู้อยู่ว่า สัตว์ป่าจะออกมาหากิน บริเวณนั้นก็มีน้ำ มีน้ำ แล้วสัตว์ป่าน่าจะเดินหากินตอนเย็น ถ้าอย่างนี้เราก็นั่งสมาธิสักชั่วโมง หาที่นั่งแล้วเราก็เดินไปข้างหน้า เราพูดกัน จนไม่นาน เห็นกวาง กวางตัวใหญ่ ๆ ตัวหนึ่ง พวกเราดีใจ เห็นกวางป่าอยู่ใกล้ ๆ เขาพอเห็นเราแล้วเขาก็เข้าป่าไป อาจารย์ก็เดินไปข้างหน้านิดหน่อย ก็นึกในใจ โอ้ยเสือโคร่ง เสือโคร่งตัวใหญ่ ๆ เดินมา เราก็เผชิญหน้ากันพอดี เข้าใจว่าเสือโคร่งเดินตามกวางอยู่ เพราะเราเห็นกวางแป๊บเดียวก็เห็นเสือโคร่งอยู่บนถนน อยู่บนถนนในป่า ต่างคนต่างมองหน้ากันอยู่พักใหญ่ พักใหญ่ แต่เสือโคร่งก็หันหลัง แล้วเราก็หันหลังไป อาจารย์ก็หันหลังไปไปทางสามเณร บอกสามเณร “โอ้! เสือ เสือ”แล้วสามเณรก็รีบเดิน เราก็ถอยกลับเข้าป่าลึก ๆ นี่แหละตามถนนที่เรามา ก็เดินกลับไปสักพักหนึ่ง แล้วคิดว่า เดี๋ยวนี้จาก 5 โมงเย็น วันกว่า ๆ แผล็บเดียวก็เห็นกวาง เห็นเสือโคร่ง เราอยู่ในกลางป่า สัตว์ป่าจะเริ่มเดินหากินแล้ว อาจารย์เองก็ไม่ได้ห่มจีวร อยู่ในป่าก็นุ่งสบง อังสะแล้วก็เดิน สามเณรก็ถือย่ามของอาจารย์กับจีวรไว้

    อาจารย์ก็บอกสามเณร “เณร เณรเอาจีวรมา อาจารย์จะห่มจีวร”

    แต่งเต็มยศ เต็มยศของพระ ห่มจีวรเรียบร้อย เราก็รู้สึกว่า เอ้ อาจจะคืนนี้ คืนนี้อาจจะตาย เสือจะกินเรา เลยต้องห่มจีวรให้เรียบร้อย เมื่อห่มจีวรเรียบร้อยก็ยืน แล้วก็ดูเณร ทำอย่างไรดี สองทางเลือก เราจะอยู่ที่นี่ หรือ เดินลึก ๆ เข้าป่าละก็สัตว์ป่ามากกว่านี้อีก ถ้าจะกลับที่พักต้องเดินไปหาเสือ ต้องเดินไปหาเสือ ใจเราก็ตัดสินใจว่า จะกลับ กลับก็ต้องเดินไปหาที่จุดที่พบกวาง เสือโคร่ง ทีนี้ดูใจ อ๋อดูใจแล้ว เราจะตายทิ้งชีวิตในป่าวันนี้ คืนนี้หรือเปล่า เพราะเราอยู่ท่ามกลางสัตว์ป่า แต่ก็ต้องเดินไปหาเสือโคร่ง ดูใจ แล้วก็ดูใจ แล้วรู้สึกว่าเราต้องทำอะไร ต้องทำอะไรในชาตินี้ ความรู้สึก จิตบอกว่ายังต้องทำอะไร มีอยู่ ตั้งแต่บวชมาแล้วก็อยู่วัดป่า แล้วก็ปฏิบัติอย่างนี้ ปฏิบัติอย่างโน่น ทำมาเรื่อย ๆ แล้วก็ ถึงวันนี้ แล้วก็ดูอนาคต วันนี้เป็นวันสุดท้ายหรือเปล่า ใจ ใจบอกว่ายังไม่ถึงเวลา ที่จะตาย รู้สึกว่ายังมีอนาคต ก็สรุปแล้ว ยังไม่ถึงเวลาที่จะตาย แล้วเราก็ดูความรู้สึก แล้วก็เป็นสัญญาเข้ามา เราเคยอ่านหนังสือ อ่านหนังสือประวัติของพระพุทธเจ้า สมัยที่เป็นพระโพธิสัตว์อยู่ชาติหนึ่ง พระโพธิสัตว์เดินในป่าก็เจอเสือแม่ลูกอ่อน กำลังนั่ง กำลังนั่งรอมนุษย์เดินมาเพื่อกินเป็นอาหาร รออยู่ตรงถนนในป่า เสือมีลูกหลายตัวลูกอ่อน กำลังรอ มีใครเข้ามาแล้วก็จะกิน เมื่อพระโพธิสัตว์ท่านรู้ว่าต้องมีใครคนใดคนหนึ่งต้องเป็นเหยื่อเป็นอาหาร ของเสือ พระโพธิสัตว์จึงตัดสินใจว่าจะเอาชีวิตไปให้เป็นทาน เดินเข้าไปให้เสือกิน

      สถานที่ว่านี้ สถานที่นี้ปัจจุบันเป็นประเทศเนปาล ชาวบ้านก็พูดต่อ ๆ กันมาว่าหมู่บ้านบริเวนนี้สมัยก่อนโน้นที่พระพุทธเจ้ายังเป็นพระโพธิสัตว์ แล้วก็เจอเสือ แล้วเอาชีวิตตนไปให้เป็นทาน ปัจจุบันสถานที่นี้ก็ยังมีอยู่ ที่เขาพูดกัน

      อย่างไรก็ตามเราก็เคยอ่านหนังสืออย่างนั้นแล้ว สถานการณ์ก็คล้ายกัน เรากำลังระลึก จุดที่เห็นเสือ เจอกันก็ เสือก็ดูเหมือนยังอยู่บนถนนอยู่ ในใจว่า วิ่งเข้าป่าก็ไม่ใช่ ต่างคนต่างเจอกันแล้วก็หยุด นิ่งหยุด แล้วก็มองหน้ากันอยู่พักหนึ่ง แล้วก็ เสือก็ค่อย ๆ หันหลัง อาจารย์ก็ค่อย ๆ หันหลังเดินมาหาสามเณร เดี๋ยวนี้เราต้องเดินไปหาที่เก่า เมื่อเราก็ตั้งใจจะเดินไปหาจุดที่เจอเสือ เราก็นึกในใจ ที่เราสวดมนต์กัน สวดมนต์เย็นนี้มันก็มีคำศัพท์ที่ว่า ข้าพเจ้ามอบกาย ถวายชีวิตนี้แด่พระพุทธเจ้า ข้าพเจ้ามอบกาย ถวายชีวิตนี้แด่พระธรรม ข้าพเจ้ามอบกาย ถวายชีวิตนี้แด่พระสงฆ์ นี่ก็สวดมนต์ทำวัตรเย็นกัน ก็สวดมนต์กันอยู่ทุกวัน แต่ก็สวดมนต์ก็สักแต่ว่าสวดมนต์ไป ในวันนั้นศัพท์อันนี้เข้ามา เข้ามาในใจ หมายความว่า พร้อมที่จะมอบกายถวายชีวิตนี้ แด่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ความรู้สึกอย่างนี้ก็เกิดขึ้นจากภายใน ภายในจิตใจ

      อย่างไรก็ตาม เราก็นึกในใจว่าแผ่เมตตาให้กับเสือนี่เหละ เรานี้ ที่เรามาอยู่ในป่า ก็เราตั้งใจมาปฏิบัติบำเพ็ญกุศล ไม่ใช่มาเพื่อเบียดเบียนใคร ถ้าเราไม่มีเวรกรรมแล้วก็ ขอให้ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน อาตมาก็นึกในใจ คล้ายกับว่าคุยกันด้วยทางจิตใจกับเสือโคร่ง แล้วก็เดินแล้วก็บอกสามเณรว่า เราไป ไปต่อ แล้วสามเณรก็เดินนำหน้า อาจารย์ก็เดินตามหลังสามเณร นึกภูมิใจว่า โอ้ ลูกศิษย์นี้เก่งนะ สามเณรนี่เก่งนะ แต่เสียข้อเดียวมองขวามองซ้าย มองขวามองซ้าย เสือจะอยู่ที่ไหนนี่แหละ

    อาจารย์ก็บอกว่า “เณร เณร ตั้งใจ ตั้งใจภาวนา”

    แล้วเณรก็สำรวม มองหน้า แล้วเณรก็เดินไปเรื่อย ๆ อาจารย์ก็เดินตามหลังสามเณรใจไม่ค่อยดี แหม่! เราก็ไม่ค่อยสบายใจ ถ้าจุดนั้นมีเสื้อแล้วและเสือก็จะกินสามเณร เด็ก ๆ ให้ เสือกิน เด็ก ๆ หมายถึงสามเณร แล้วก็เราจะกลับไปสังคมก็น่าละอาย กำลังนึก ๆ อยู่ก็ ถึงจุดที่เราเห็นกวางแล้วก็หยุดถามสามเณร

    “เณร เณร”

    แล้วเณรก็หยุดหันหลังมา

    “เณร เณร เป็นอย่างไรบ้าง”
    “ใจไม่ดี”
    “ใจไม่ดี”

    อาจารย์จึงให้เดินตามหลัง อย่างไรซะเราเป็นอาจารย์ เราจะเดินนำหน้า สามเณรให้เดินตามหลัง เราก็พยายามดู ดูจิต พยายามรักษาจิต ไม่ให้กลัว ไม่ให้กลัว แล้วก็เดิน หายใจเข้าลึก ๆ หายใจเข้ายาว ๆ กำหนดลมหายใจสบาย ๆ และพยายามไม่ให้เกิดความรู้สึกกลัว เดินไปเรื่อย ๆ เดินไปเรื่อย ๆ แล้วก็ถึงจุดถนนใหญ่ที่มาจากปากช่อง เราก็หันดูก็ โอ้ รอดนะ วันนี้ไม่ตาย ก็มีความรู้สึกว่ามีความสุขดี แค่มีความชีวิตอยู่ก็มีความสุข อย่างไรก็ตามพักหนึ่งก็เดินกลับที่พัก เดินไปสักระยะหนึ่งไม่นาน เราก็ตกใจเหมือนกัน ตกใจและก็ดีใจ เห็นช้าง ช้างป่าหลายเชือก หกเจ็ดเชือกอยู่ในริมถนน อยู่ในป่าเป็นตัวใหญ่ เราก็ดีใจที่ได้เห็นช้างเหมือนกัน เพราะตั้งแต่เช้า เราตั้งใจ ตั้งใจ มา มาเยี่ยมช้างป่า พอได้เห็นเราก็นึกดีใจแต่เราก็ต้องเดินทาง เพราะว่าช้างป่าอยู่ตรงริมถนน เป็นถนนลาดยาง เราต้องดู เอ๋ เราเดินผ่านได้หรือเปล่า ช้างป่า เราก็ต้องหยุด หยุด เราต้องหยุดแล้วก็ให้เขาเห็นเราก่อน เราก็เลยสังเกต การสังเกตช้างนี่ ถ้าช้างเราต้องสังเกตหู ถ้าหูตามธรรมดาเขาก็ไม่ตื่นกลัว ถ้าช้างหูตั้งแล้วก็เขาก็ตื่นกลัว เราสังเกตดูช้างแล้วก็ ช้างป่าก็ยืนเฉย ๆ อยู่ เราก็หยุดพักหนึ่ง เราเห็นเขา เขาก็เห็นเรา แล้วก็ค่อย ๆ เดิน ค่อย ๆ เดิน ช้างก็ยังนิ่ง ๆ นิ่งๆ อยู่ เราก็ค่อย ๆ ผ่านต่างคนต่างอยู่ริมถนนแล้วเราเราก็ผ่านไป ก็ไม่มีอะไร กลับมาที่พัก มาที่พักก็ดึก ๆ แล้ว สี่ทุ่ม ห้าทุ่ม นี่ก็เป็นเมื่อเราอยู่ในป่า

      ถ้าสรุปแล้วก็พระธุดงค์อยู่ในป่า การต่อสู้กับความรู้สึก ตั้งแต่สมัยพุทธกาล อริยะเจ้าโดยเฉพาะพระอรหันต์อยู่ในป่า ไม่ค่อยมีประวัติว่าถูกทำลายชีวิตจากสัตว์ป่า เพราะพระอริยะเจ้า จิตใจดี ไม่กลัว ไม่มีความรู้สึกกลัวว่าอัตตาตัวตน พระอริยะเจ้าก็มีจิตใจบริสุทธิ์ แล้วก็มีเมตตา เมื่อมีเมตตาแล้ว ก็อยู่ในป่า ก็ไม่เบียดเบียนกัน แม้เราก็เหมือนกัน เมื่อเราเดินในป่าก็ จะต้องต่อสู้ ต่อสู้กับความรู้สึกของตัวเอง รักษาใจเป็นปกติ ถ้าเราเกิดความรู้สึกกลัว แล้วก็ ธรรมดา เมื่อรู้สึกกลัวธรรมดาก็ เกิดฮอร์โมน หรือว่ากลิ่น กลิ่นที่เกินขึ้นจากกลัว นี่ก็ทำให้กระตุ้นสัตว์ป่า โดยเฉพาะสัตว์ป่าที่หากินแล้วก็ตามกลิ่น เมื่อเราสังเกตเดินในป่า การที่มองหน้ากันก็เขาก็นิ่ง ๆ อยู่ ถ้ากลิ่น กลิ่นของเราก็เข้าถึงจมูกสัตว์ป่าก็คึก จะตื่นตัว โดยเฉพาะเมื่อความรู้สึกเกิดขึ้นจากกลัว เกลียดและกลัว นี่ก็ไปกระตุ้นสัตว์ป่า เมื่อเรากลัวแล้วอันตราย สมมุติถ้าสามคน สมมุติเป็นสามคน ปักกลดอยู่ในป่า เมื่อสัตว์ป่าที่จะหากิน เขาจะกินเนื้อสัตว์เป็นอาหาร เมื่อสัตว์ป่าก็มา สัตว์ป่าจะกินใคร ไม่ใช่ว่า ไม่ใช่ว่าต้องกัดทุกคน ถ้ามนุษย์นี่ก็เห็นแก่ตัว เมื่อมีสัตว์ป่าพวกเราจะฆ่าทั้งหมดนั้น แต่สัตว์ป่าก็ฆ่าเพื่อกิน เพื่อมีชีวิตอยู่ ซึ่งจะเอาเพียงตัวเดียว ฆ่าเขา ตัวเดียวแล้วก็ต้องกินจนหมด กินจนหมดแล้วก็ค่อยหาใหม่ เมื่อเราอยู่ในป่า สมมุติเป็นสามคนแล้วก็ คนที่กลัวที่สุด ค่อนข้างจะเป็น อันตรายที่สุด ตายก่อนเพื่อน เพราะใจ ใจเรา เราทำลายใจก่อน สัตว์ป่าจึงจะทำลายทีหลัง ถ้าเรารักษาใจได้ คือรักษาชีวิต เพราะฉะนั้น เมื่อเราอยู่ในป่าก็มีหลักง่าย ๆ ถ้าเรารักษาใจได้ ก็ค่อนข้างจะปลอดภัย ถ้าเราทำลายใจตัวเอง หมายความว่า เกิดกลัว เกิดกลัวแล้วก็ สัตว์ป่าจะทำลายทีหลัง สำหรับพระธุดงค์อยู่ในป่ามันก็ต้องต่อสู้กับความกลัว แม้จะพยายามไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดความกลัว แล้วก็ ถ้าจะดีก็ จิตเป็นสมาธิ จิตเป็นสมาธิว่าเจริญเมตตาภาวานาก็ยิ่งดี มีเมตตาภาวนา หมายถึงสบายใจ มีความสุขใจ ถึงจะเป็นสัตว์ป่า ก็อยู่รอบ ๆ ตัว ก็เราก็เหมือนกัน เมื่อเกิดมาเป็นสัตว์ ต่างคนต่างต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย ต่างคนต่างกลัว โดยเฉพาะชีวิตสัตว์ป่าอยู่ในป่า เขาก็อยู่ ต่างคนต่างอยู่นี่กลัวกันทั้งนั้น เมื่อเราพิจารณา เรากับเขาก็เหมือนกัน แล้วก็พยายามคิด เมตตา ถ้าเราสามารถเจริญเมตตาภาวนาได้ก็ อันตรายของเรานี้จะลดลง หรือว่าถ้าเราตั้งใจเจริญสติปัฐฐานสี่ เจริญวิปัสสนาจน ทำลายความรู้สึกกิเลส ทำลายความรู้สึกเห็นแก่ตัว หรือว่ากลัว เข้าถึงวิปัสสนาแล้วก็ ยิ่งกว่าปลอดภัย เพราะเราไม่มี ไม่มีใครตาย ถ้าสมมุติ ถ้าเราได้เป็นพระอรหันต์เป็นต้น

      การเจริญสติปัฎฐานสี่สมบูรณ์ พิจารณากาย พิจารณาเวทนา พิจารณาจิต พิจารณาธรรมะว่า สักแต่ว่า ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เข า ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน สักแต่ว่ากาย ธรรมชาติของจิตของเราก็ได้บริสุทธิ์เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน อันนี้เป็นที่สุดของการปฏิบัติก็ลักษณะสติปัฎฐานสี่จะเกิดขึ้นสมบูรณ์ แล้วก็สภาวะแห่งพุทธะ จิตใจที่เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เมื่อเป็นในลักษณะอย่างนี้แล้ว ถึงแม้ว่าอยู่ในป่า ก็ไม่อันตราย ยกเว้นแต่เมื่อเรามีเวรกรรมกับสัตว์ป่าแล้ว แม้แต่พระอรหันต์ก็เป็นถูกทำร้ายเหมือนกัน ถ้าเรามีเวรกรรม เวรกรรมต่อสัตว์ป่าแล้วก็ ถึงจะจิตใจเราดีขนาดไหน ก็อาจจะถูกทำร้าย ถูกทำร้ายได้ ถ้าเราไม่มีเวรกรรม เมื่อเราจิตใจดีก็ค่อนข้างจะปลอดภัย เพราะเหตุนี้ ตั้งแต่สมัยพุทธกาลพระอริยะเจ้าก็อยู่ในป่า ก็ไม่ค่อยมีภาวะที่จะถูกทำร้ายจากสัตว์ป่าก็มีน้อย อย่างไรก็ตามก็สรุปง่าย ๆ ก็ถึงแม้ว่าเราอยู่ในป่า ถ้าเราสามารถเอาชนะความกลัวได้ เอาชนะความกลัว รักษาจิตใจเป็นปกติ หรือรักษาจิตใจมีเมตตา หรือรักษาจิตใจเป็นพุทธะ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน แล้วก็เป็นการรักษาชีวิตของเรา คือใจ นี่ก็ ใจเป็นสำคัญ

      เพราะแม้แต่ พูดถึงสุขภาพกาย กายกับใจ โรคเจ็บไข้ป่วยของมนุษย์ก็เกิดขึ้นจากจิตอุปทาน มากกว่าหนึ่งในสามส่วน โรคเจ็บไข้ป่วยของเราก็มาจาก เกิดขึ้นจาก มีมากกรรมก็มีอยู่ เคยสร้างกรรม เป็นฆ่าสัตว์ เป็นเบียดเบียนสัตว์ หรือทำอะไรในอดีตหรืออดีตชาติ เรียกว่าทำบาป แล้วก็ ชาตินี้ก็เป็น มีเคราะห์กรรมที่เจ็บไข้ปวด หรือว่าอายุสั้น นี่เป็นกรรม น่าจะกรรม ก็เป็นส่วนหนึ่ง หรือว่าอาจจะเป็นเหตุปัจจัยในปัจจุบัน เป็นเหตุปัจจัยในปัจจุบัน เป็นสารอาหารที่สำคัญก็ไม่พอ พูดง่าย ๆ คือวิตามินต่างๆ ก็ไม่พอ หรือว่าสารอาหารอื่น ๆ ที่จำเป็นกับร่างกายไม่พอ แล้วก็จะให้เพิ่มเข้าไป แล้วก็ทำก็รักษาโรค ไม่เจ็บไม่ป่วย หรือว่าเป็นเชื้อโรค เป็นเชื้อโรค หรือว่าเป็นสารพิษต่าง ๆ ที่มีโทษกับร่างกายนี้อยู่ ถ้าเราหาอุบายขับออก อะไรที่เป็นส่วนเกิน มีโทษกับร่างกาย ขับออกจากร่างกายแล้วก็ โรคเจ็บไข้ป่วยก็หาย พูดง่าย ๆ ก็เป็นสารที่สำคัญ ถ้าขาดก็เพิ่ม ถ้าเป็นพิษ สารพิษ ส่วนเกินไม่จำเป็นแล้วก็ขับออกจากร่างกาย แล้วก็หายจากโรคเจ็บไข้ป่วย แล้วก็ส่วนหนึ่งที่ เมื่อจิตอุปทานยึดมั่นถือมั่น ที่ทำให้เกิดโรคเจ็บไข้ป่วย ก็เมื่อจิตใจดี ก็เป็นการรักษาสุขภาพกาย การนั่งสมาธิ การฟังเทศน์ การสวดมนต์ การทำสมาธิเดินจงกลม เจริญสมาธิ เจริญวิปัสสนาแล้วก็ เอนโดฟิน สารแห่งความสุขก็เกิดขึ้นกับสมองของเรา สารแห่งความสุขเอนโดฟิน อันนี้ คือทำให้รักษาโรคเจ็บไข้ป่วย หรือทำให้สุขภาพกายดี

      พูดง่าย ๆ ก็ ถ้าคนไทยทุกคนจิตใจดี ทุกคนจิตใจดีแล้วก็ ไม่ต้อง ไม่ต้องกินยา ไม่ต้องรักษาอะไรก็ โรคเจ็บไข้ป่วยของคนไทยประมาณหนึ่งในสามส่วน ก็หายเอง เมื่อปฏิบัติ จิตใจดี ก็หาย นี่เป็นส่วนหนึ่งก็เพราะเกิดขึ้นจากจิตทุกประการ อันนี้ก็เป็นถ้าเรารักษาจิตใจดี เพียงเท่านี้ก็เป็นผลดีต่อการรักษาโรค หรือว่ารักษาสุขภาพกาย ใจ ใจเรานี้ ค่อนข้างสำคัญแม้แต่กับร่างกายและจิตใจ

      ทีนี้เรื่อง อยู่ในสังคมเรานี้ เราทุกคนอยากจะมีความสุข เราต้องอยู่ในสังคม ก็มีพ่อแม่ พี่น้อง หรือเมื่ออยู่ที่ทำงานก็มีเจ้านาย เป็นเพื่อนร่วมงาน เป็นลูกน้อง เรามักจะมีปัญหาก่อมากมาย ถ้าเราสังเกต ในครอบครัวหรือสังคม ทุกวันนี้เราก็ต่อสู้กัน นินทากันเพื่อจะแก้ปัญหาในสังคม อันนี้ก็ ความจริงเรา มักจะสร้างปัญหากันทั้งนั้น จิตใจเรานี้สำคัญ เราพูดง่าย ๆ ก็เป็นการทะเลาะกัน ทะเลาะกัน ก็ด่ากัน ตีกัน ฆ่ากันไป เพราะเราใช่ ใจเราไม่ดี เมื่อเราเกิดโทสะแล้วก็ แสดงเป็นมโนกรรม วจีกรรม กายกรรม แล้วก็จะสร้างปัญหากัน พระพุทธเจ้าก็สอน ใจ ใจเป็นประธาน ใจเป็นหัวหน้าของชีวิต

      เราเคยคิดไหมว่า ทำไมชีวิตนี้เป็นทุกข์ ทุกข์ของเรานี้มีมากมาย ทุกข์เพราะ เงินทองไม่พอ ทุกข์เพราะเสื่อมยศ ทุกข์เพราะถูกนินทา ทุกข์เพราะสิ่งที่เราต้องการไม่มี ทุกข์เพราะสุขภาพกายไม่ดี ทุกข์เพราะ...มันก็มีเหตุ มีหลายสิ่งหลายอย่าง

      เรา ถ้าเราพูดแบบหนึ่งว่า ทุกข์เพราะเราไม่เข้าใจตัวเอง ทุกข์เพราะเราไม่เข้าใจตัวเอง ถ้าเราเข้าใจตัวเองแล้วก็ ปัญหาต่างๆ ก็หมดไป การปฏิบัติของเราก็เป็นต้องเป็น โอปะนะยิโก น้อมเข้ามาดูกายและจิตใจ ถ้าเราสังเกต เข้าวัดก็ดี สถานที่ปฏิบัติก็ดี เมื่อเราปฏิบัติแล้วก็ ทุกคนก็ต้องบอกว่า อดีตที่ทำไปแล้ว ไม่ต้องคิด อนาคตที่ยังไม่มาถึงก็ไม่ต้องคิดวิตกกังวล สิ่งภายนอกไม่ต้องคิด บุคคลภายนอกก็ไม่ต้องคิด แม้แต่ตัวเอง สมมุติเป็นอะไร สมมุติเป็นผู้หญิง เป็นผู้ชาย สมมุติเป็นเรา เป็นพ่อแม่ เรามีลูก เราเป็นอย่างนี้อย่างนั้น ก็ไม่ต้องคิด การปฏิบัติสิ่งที่แล้ว ต้องไม่คิดสิ่งเหล่านี้ และหยุดคิดสิ่งเหล่านี้ หรือว่า แม้แต่พระพุทธเจ้าก็ตรัสไว้ว่า พระพุทธเจ้าตรวจดูชีวิตของเรา ชีวิตของมนุษย์ ชีวิตของสัตว์แล้วก็ ท่านก็ ตรัสไว้ว่าเราต้องรู้จักเมตตา ความรักตัวเอง เราต้องรู้จักเมตตา แก่ตัวเอง หมายความว่าอะไร หมายความว่าทำจิตใจของตัวเองสบายใจ มีความสุขใจ คือเรามีเมตตาแก่ตัวเอง ไม่ใช่ว่าความรักตัวเอง คือเห็นแก่ตัว เห็นแก่ได้ เห็นแก่เอาเปรียบ อันนี้ไม่ใช่นะ ความรักแก่ตัวเอง เมตตาแก่ตัวเอง หมายถึง ทำจิตใจ มีความสุขใจได้ในทุกสถานการณ์ อะหัง สุขิโต โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าจงเป็นผู้ถึงสุข ขอข้าพเจ้าจงเป็นผู้ถึงสุข

      ถ้าเรานึกถึงเฉพาะประเทศไทย คนไทยมี 66 ล้านคน 66 ล้านคน ทุกคนจะมีความสุขใจได้ ถ้าเราเข้าใจถูกต้อง และปฏิบัติถูกต้อง ต้องเข้าใจถูกต้อง และปฏิบัติถูกต้องนิดหน่อย ไม่ต้องมาก แต่ต้องเข้าใจถูกต้อง และปฏิบัติถูกต้อง เราทุกคนว่า เราต้องมีเมตตาแก่ตัวเอง ต้องเป็น โอปะนะยิโก ไม่ ใช่ว่าเขาต้องรักพ่อแม่ รักสามี รักภรรยา รักเจ้านาย ต้องรักเพื่อน ต้องรักลูกน้อง ก่อนที่จะรักคนนี้คนนั้น พระพุทธเจ้าก็สอนไว้ว่า เราต้องรู้จักเมตตา ความรักตัวเองก่อน หมายถึงทำจิตใจหนักแน่น ทำจิตใจเป็นสุขภาพจิตใจที่ดี หรือทำจิตใจของเรานี้มีความสุขคลอดไป เหมือนกับรักษาชีวิต เราสังเกตดูว่า เมื่อเราเดินทางไปแล้วก็ สมมุติเป็นตลาด เขาก็ตีกัน ยิงกัน และก็โดยสัญชาติญาณ เราก็ต้องรักษาชีวิต เราก็ต้องรักษาชีวิตของตัวเอง ถึงจะเป็นเขาตีกัน ถึงจะเป็นพายุ ถึงจะเป็นน้ำท่วม ถึงจะเป็นแผ่นดินไหว โดยธรรมชาติ เราก็พยายามรักษาชีวิต สุดความสามารถ ทีนี้ทางจิตใจก็เช่นกัน ถ้าเราเป็นผู้มีเมตตาแก่ตัวเอง ถ้าเราเป็นผู้ที่มีความรักสุขภาพจิตใจที่ดีของตัวเอง ถ้าเราเข้าใจจุดนี้ ขอใจ ใจเป็นประธาน ใจเป็นหัวหน้า ถ้าเราให้ความสำคัญกับจิตใจของเรา โดยเข้าใจ โดยศึกษาธรรมะ อมรมสติ อมรมปัญญาแล้วก็ ถ้าเราเป็นผู้รัก สุขภาพจิตใจที่ดี เมตตาแก่ตัวเองแล้วก็ เราจะรักษาสบายใจ มีความสุขใจในทุกกรณี ใครจะนินทา ใครจะนินทา ใครนินทาเรา ไม่สำคัญ ใครจะสรรเสริญ ใครจะสรรเสริญเรา ก็ไม่สำคัญ สำคัญตรงที่ว่า เรารักษาจิตใจของตัวเอง เป็นสุขภาพจิตใจที่ดี รักษาจิตใจ เราสบายใจ เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ มีเหตุการณ์ภายนอกไม่สำคัญ อะไรจะเกิดขึ้นก็ช่างมัน เราเป็นผู้รักสุขภาพจิตใจที่ดี เราเป็นเมตตาแก่ตัวเองก็ เราก็มีสติ มีปัญญาที่จะดูแลจิตใจของเรานี้ ให้สงบ ให้สบายใจ มีความสุขใจ ถ้าเรามีคติ หรือว่าค่านิยมใน ดูแลจิตใจของเรา ถ้าเราเข้าใจจุดนี้แล้วก็ ชีวิตของเรานี้ ก็เรียบง่าย ถ้าเราไม่ศึกษาธรรมะแล้วก็ เราสังเกตดู เมื่อเราไม่สบายใจแล้วก็ เรามักจะคิดเพราะอะไร ไม่สบายใจ เพราะพ่อแม่ไม่ดี พ่อแม่ไม่รักเรา พ่อแม่รักพี่รักน้อง สามีไม่ดี สามีชอบเที่ยว ไม่ดูแลครอบครัว ประเดี๋ยวภรรยาก็ไม่ค่อยดี ภรรยาไม่ค่อยดูแลเรา ลูกบางทีก็เที่ยว ไม่เคยเรียนหนังสือ ไม่เคยสนใจทำงาน ลูกไม่ดี ทำงานก็รู้สึกว่าเจ้านายไม่ดี เจ้านายมีอคติ เจ้านายก็ให้ความสำคัญกับคนอื่นที่ไม่ค่อยทำงาน บางทีเราก็ไม่สบายใจ เพราะลูกน้องไม่ดี บางทีเราก็คิด เราไม่สบายใจเพราะสุขภาพกายไม่ดี เบียดเบียนจากโรคเจ็บไข้ป่วย เรามักจะไม่สบายใจแล้วก็คนอื่นไม่ดี สุขภาพกายไม่ดี หรือบัดนี้ก็เราเคยทำผิดในอดีต เสียใจ เราก็ติดอยู่อย่างนั้น เราไม่ค่อยคิดว่า เราไม่สบายใจ เพราะจิตใจเราไม่ดี เพราะไม่สบายใจ

      ทีนี้ถ้าเรารู้จักว่า ไม่สบายใจเหล่านี้มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ถ้าเรามีความเห็นชัดเจนว่า ไม่สบายใจนี้ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ธรรมชาติของจิตของเรานี้ประภัสสร ผ่องใสโดยธรรมชาติ ถ้ามีศรัทธามั่นคงแล้ว เราก็รู้จัก เมื่อไม่สบายใจเกิดขึ้นแล้วก็ โอปะนะยิโก น้อมเข้ามาดู ไม่สบายใจแล้วก็ ไม่สบายเหล่านี้ คืออนิจัง ทุกขัง อนัตตา ก็ปล่อยวาง ถ้าไม่สบายใจ ปล่อยวางได้เมื่อไร สบายใจก็ปรากฏทันที ไม่สบายใจนี้ เปรียบเทียบ มืด มืดหายไป และเมื่อสบายใจ สว่างก็จะปรากฏขึ้น เพราะธรรมชาติของจิตของเราทุกคน เป็นประภัสสร ผ่องใสโดยธรรมชาติ

      เพราะฉะนั้นการปฏิบัติของเรานี้ คือขอให้ทุกคน มีความเห็นชัดเจนว่า ไม่สบายใจนี้ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา แล้วก็เมื่อไม่สบายใจเกิดขึ้นแล้วก็ ดู โอปะนะยิโก กำหนดรู้เท่าทันว่า ไม่สบายใจนี้เป็นไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา พยายามรักษา มโนกรรม วจีกรรม กายกรรม การคิด การพูด การกระทำของเรานี้ คิดดี พูดดี ทำดี เราต้องฝึก ต้องฝึก อะไรจะเกิดขึ้นก็จะหาย ปกติก็เกิด น้อยใจ เสียใจ กลัว โกรธ แล้วก็มีเหตุการณ์ดัง ๆ เกิดขึ้นแล้วก็ คิดอย่างไรจึงจะ คิดดี คิดถูก พูดอย่างไรจึงจะพูดดี ทำอย่างไรจึงจะทำดี เมื่อเจอปัญหา เมื่อเจอปัญหา อันนี้ก็เป็นการบ้าน ถ้าเราทำได้แล้วก็ ชีวิตของเรานี้จะเปลี่ยนไปทางที่ดี การบ้าน เมื่อเราเจอปัญหาเกิดขึ้นก็คิดดี พูดดี ทำดี ทำอย่างไร คิดอย่างไร จึงจะคิดดี พูดอย่างไรจึงจะพูดดี ทำอย่างไรจึงจะทำดี วันนี้เราต้องคิดอยู่อย่างสม่ำเสมอ ทบทวนอยู่สม่ำเสมอ และก็ถ้าทำได้ชีวิตเรานี้มีแต่เจริญก้าวหน้า โชคดีมีสุข แต่ข้อสำคัญว่า คำพูด โดยเฉพาะพูดไม่ดี พยายามอย่าใช้โดยเด็ดขาด คำพูดนี้อันตราย คำพูดนี้ เบียดเบียนเรา ถ้าเราสามารถทำได้ว่า เรื่องคิดไม่ดี พูดไม่ดี ทำอะไรที่ไม่ดี พยายามหยุดนะ หยุดได้มากเท่าไรก็ยิ่งดี แล้วก็หัดคิดดี พูดดี ทำดี กำหนดชีวิตของเราแล้วก็ ชีวิตของเราก็จะเจริญก้าวหน้า อันนี้ก็เป็นการบ้าน

      สำหรับวันนี้ก็ได้เวลาพอสมควรแล้ว เรื่องนี้ก็เป็นการบ้าน ถ้าฟังเทศน์ไม่พอ ก็หนังสือเล่มเล็ก ๆ โชคดี ทำต่อ และข้อคิดต่างๆ ก็มีอยู่ในหนังสือ ก็ค่อย ๆ อ่านและหนังสือธรรมะก็ ไม่ต้องอ่านเป็นชั่วโมง สี่ห้านาทีในวันหนึ่ง สี่ห้านาทีก็อ่านหนังสือธรรมะ แล้วค่อย ๆ คิด คิดอะไรก็คิดไป ถ้าเราดูแล้วก็ผ่านไป การบำรุงจิตใจ การบำรุงคิดดี คิดถูกก็เป็นสำคัญ สัมมาทิฐิ สมสังกัปปะ รู้จักคิดดี คิดถูก ว่าพูดดี ทำดีก็เราค่อย ๆ ศึกษา เรามักจะคิดผิดกันทั้งนั้น ถ้าเรายังร้องไห้อยู่ ทุกข์อยู่ ก็โดยมากเราก็คิดผิดเป็นส่วนใหญ่ ทุกข์เพราะคิดผิด ถ้าเราทุกข์ แต่คิดถูกได้ ก็จะมีแสงสว่างที่จะคิดต่าง ๆ ได้ อย่างไรก็ตามสิ่งเหล่านี้เราต้องค่อย ๆ ศึกษาไป สำหรับวันนี้ก็ได้เวลาพอสมควรแล้วก็ยุติเพียงเท่านี้ก่อน
     
  6. aphipoo

    aphipoo Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2010
    โพสต์:
    99
    ค่าพลัง:
    +39
    อนุโมทนา สาธุ กับธรรมะทั้งหลายที่ได้ให้กับผู้อ่านนะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...