ชีวประวัติของนอสตราดามุส

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย pongsiri, 18 เมษายน 2005.

  1. pongsiri

    pongsiri เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มกราคม 2005
    โพสต์:
    1,069
    ค่าพลัง:
    +638
    <SCRIPT language=Javascript><!--DefineDefaultVars();FCGetWindowSize();DisplayFCAdBanner();// --></SCRIPT>
    <SCRIPT language=Javascript><!-- DisplayFCAdButtons();// --></SCRIPT>




    เมื่อสี่ร้อยกว่าปีมาแล้วประเทศฝรั่งเศษ บุรุษผู้หนึ่งเข้าไปนั่งซุ่มศึกษาค้นคว้าตำรับตำราต้องห้ามทางไสยศาสตร์อยู่ตามลำพัง ในห้องที่มืดมิดในยามรัตติกาล ที่ข้างกายของบุรุษผู้นี้มีอ่างน้ำใบหนึ่งวางอยู่บนขาหยั่งทองเหลืองชนิดสามขา เขาเพ่งกระแสจิตอันทรงพลังไปที่น้ำในอ่าง จนกระทั่ง เกิดเป็นเปลวไฟและพวยพุ่งขึ้นมา และลึกลงไปใต้ผิวน้ำปรากฏเป็นภาพแจ่มชัดของเหตุการณ์ต่างๆ ที่จะอุบัติขึ้นในโลก เช่น ภาพของสงครามโลก ครั้งที่ 1 ภาพของสงครามโลกครั้งที่ 2 ภาพของอยาตอลล่าห์ โคไมนี วางแผนโค่นล้มอำนาจของพระเจ้าซาห์แห่งอิหร่าน ภาพของสงครามอันยึดเยื้อระหว่างอิรักกับอิหร่าน ภาพและฝ่ายพันธมิตรโดยการนำของสหรัฐทำสงครามขับลไล่ทหารอิรักออกจากคูเวต ภาพอันน่าสะพรึงกลัวของสงครามโลกครั้งที่ 3 ซึ่งกำลังจะระเบิดในไม่ช้านี้ และภาพของการอวสานของโลกเรา ฯลฯ บุรุษผู้มีตาทิพย์สามารถล่วงรู้เหตุการณ์ในอนาคตได้อย่างลึกลับมหัศจรรย์ มีชื่อจริงว่า มิเชล เดอ นอสเตรอดัม แต่ชาวโลกรู้จักเขาในอีกชื่อหนึ่งที่เป็นที่คุ้นหูว่า " นอสตราดามุส " เขามีประวัติที่มีความลี้ลับมหัศจรรย์ควรแก่การสนใจยิ่ง ซึ่งผู้อ่านจะได้สัมผัสในทุกแง่ทุกมุม ณ กาลบัดนี้
    ชีวประวัติของนอสตราดามุส


    1. ชาติกำเนิด

    มิเชล เดอ นอสเตรอดัม (Michelde Nostredame) คือผู้ได้รับการขนานนามจากชาวโลกว่า " ราชาโหรโลก " แต่โดยทั่วไปคนรู้จักเขาในชื่อที่เป็นภาษาลาตินว่า " นอสตราดามุส (Nostradamus) " เขาเกิดเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ.1503 ตามแบบปฏิทินจูเลียนโบราณ ซึ่งตรงกับวันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ.1503 ตามแบบปฏิทินเกรกอเรียน บ้านเกิดอยู่ที่ แซงค์ เรมี เดอ โปรวองซ์ ประเทศฝรั่งเศษ

    แต่เดิมมีผู้เข้าใจว่า ตระกูลของนอสตราดามุสสืบเชื้อสายมาจากขุนนางแพทย์ชาวอิตาเลียนเชื้อสายยิว ซึ่งเป็นแพทย์หลวงประจำราชสำนักของพระเจ้าเรอเนแห่งอังจูแต่ความจริงแล้ว ไม่ได้สืบเชื้อสายมาจากขุนนางแพทย์อย่างที่เคยกล่าวอ้างนั้นแต่อย่างใด ทว่าสืบทอดเชื้อสายมาจากตระกูลสามัญชนชาวเมืองอาวิยอง

    จากหลักฐานที่ได้จากการค้นคว้าและวิจัยพบว่าปู่ของนอสตราดามุสมีชื่อว่า ปีโรต์ หรือ ปีแอร์ เดอ นอสเตรอดัม ซึ่งประกอบอาชีพเป็นพ่อค้าขายข้าวผู้มีฐานะมั่งคั่งและได้แต่งงานกับหญิงสาวนอกศาสนายิวคนหนึ่งชื่อ บลังช์ ต่อมามีบุตรกับนางบลังซ์คนหนึ่งชื่อ จูม หรือ จ๊าคส์ ซึ่งก็คือบิดาของนอสตราดามุสนี่เอง

    นายจ๊าคส์ได้ย้ายที่อยู่จากเมืองอาวิยองไปอยู่ที่เมือง แซงต์ เรมี เดอ โปรวองซ์ ในปี ค.ศ.1495 หลังจากย้ายมาอยู่ในที่แห่งใหม่นี้แล้ว ก็ได้เลิกประกอบกิจการค้าข้าวโดยเด็ดขาด และได้แต่งงานอยู่กินกับนางเรนีร์ เดอ แซงต์ เรมี หลานสาวของนายแพทย์ผู้หนึ่งซึ่งเปลี่ยนอาชีพจากแพทย์มาเป็นนายอากร

    เมื่อวันที่ 26 กันยายน ค.ศ.1501 พระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศษ ทรงมีพระบรมราชโองการป่าวประกาศบังคับชาวยิวทุกคนให้เปลี่ยนศาสนาเดิมมานับถือศาสนาคริสต์ นิกายคาทอลิก ซึ่งถ้าหากชาวยิวผู้ใดไม่ปฏิบัติตามก็จะต้องอพยพโยกย้ายออกจากมณฑลโปรวงซ์ภายในสามเดือน ก่อนหน้านี้ คือ ปี ค.ศ.1456 หลังจากพระเจ้าหลุยส์แห่งอารากอง สิ้นพระชนม์แล้ว ทั้งมณฑลโปรวองซ์และมณฑลแม็งได้ตกอยู่ในอำนาจการปกครองของกษัตริย์ฝรั่งเศษ

    เมื่อพระเจ้าหลุยส์แห่งฝรั่งเศษ ทรงมีพระบรมราชโองการประกาศออกมาเช่นนี้ ครองครัวของนอสตราดามุสจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนศาสนามาจากยูดายเป็นคาทอลิกอย่างไม่มีทางเลี่ยงใดๆ ได้ มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดว่า เมื่อปี ค.ศ. 1512 ซึ่งเป็นตอนที่นอสตราดามุสยังอยู่ในเยาว์วัยมีอายุเพียง 9 ขวบ บิดามารดาของเขามีชื่ออยู่ในบัญชีของผู้เปลี่ยนศาสนาอื่นมานับถือคริสต์นิกายคาทอลิก

    ผู้ที่ต้องการจะถอดข้อความในคำทำนายของนอสตราดามุส อย่างน้อยจะต้องตระหนักในข้อเท็จจริงที่ว่าเขามีพื้นเพสืบเชื้อสายมาจากยิว เพราะเป็นที่แน่นอนว่าเขาได้รับอิทธิพลจากการที่เคยได้อ่านตำรับไสยศาสตร์ของพวกยิว

    ยิ่งไปกว่านั้น นักเขียนชีวประวัติหลายต่อหลายคนยังอ้างว่า ตระกูลของนอสตราดามุสสืบเชื้อสายดั่งเดิมมาจาก ยิวโบราณเผ่าอิสซาการ์ ซึ่งเป็นพวกที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านดาราศาสตร์มาก สามารถตีความปรากฏการณ์ธรรมชาติต่างๆ ที่ปรากฏบนท้องฟ้าได้ โดย โจเซฟุส นักประวัติศาสตร์ชาวยิว เคยกล่าวถึงชนเผ่นนี้ว่า เป็นพวก " ที่สามารถหยั่งรู้สิ่งทั้งหลายซึ่งจะอุบัติขึ้นในอนาคตได้ "

    นอสตราดามุสเป็นบุตรคนโตของครอบครัว มีน้องเกิดร่วมท้องอีก 4 คน คือเบอร์ทรันต์ เฮ็กโตร์ อังตวง และ ฌอง เราไม่สามารถค้นหาประวัติละเอียดของ เบอร์ ทรันต์ เฮ็กโตร์ และอังเดรได้ แต่สำหรับคนที่ชื่อ ฌอง พอค้นหาประวัติได้ว่าเป็นนักประพันธ์ และนักวิจารย์เพลงพื้นเมืองของมณฑลโปรวองซ์ ต่อมาได้เล่นการเมืองและได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรของมณฑลแห่งนี้

    2. การศึกษาในปฐมวัย

    แววอัจฉริยะของนอสตราดามุส ได้ฉายออกมาให้เห็นอย่างเด่นชัดตั้งแต่เยาว์วัยเลยทีเดียว การศึกษาในปฐมวัยของเขาเริ่มต้นที่บ้านก่อน โดยมีปู่เป็นผู้สอนความรู้เบื้องต้นของวิชา ภาษาลาติน ภาษากรีก ภาษาฮิบรู คณิตศาสตร์ และโหราศาสตร์ ซึ่งในสมัยนั้นเรียก วิชาโหราศาสตร์ นี้ว่า "นภาศาสตร์ " (Celestial Science)

    เมื่อปู่ถึงแก่กรรมแล้ว นอสตราดามุสได้ย้ายกลับไปอยู่ที่บ้านกับบิดามารดา แต่การศึกษาก็ยังคงดำเนินอยู่ต่อไป โดยคราวนี้มีตาเป็นผู้สอนให้ ต่อมาถูกส่งให้ไปเรียนต่อที่เมืองอาวิยอง โดยได้ไปพักอยู่กับญาติๆ ซึ่งยังมีอยู่ในเมืองนั้น

    นอสตราดามุสให้ความสนในวิชาโหราศาสตร์มากเป็นพิเศษ จนเป็นที่กล่าวขวัญในหมู่เพื่อนฝูงที่เรียนอยู่ด้วยกัน พวกเพื่อนๆ ถึงกับขนานนามให้ว่า " โหรน้อย " นอกจากนั้น เขายังสนับสนุนทฤษฎีของ โคเปอร์นิคัส ที่กล่าวว่าโลกกลมและหมุนรอบดวงอาทิตย์อีกด้วย ซึ่งความเชื้อนี้ยังผลให้กาลิเลโอถูกฝ่ายศาสนจักรคาทอลิกนำตัวไปประหารชีวิตในอีกร้อยปีต่อมา

    3.ศึกษาแพทย์ศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยมองต์เปลิเย

    การเป็น " โหรน้อย " ของนอสตราดามุส ได้สร้างความวิตกกังวลอย่างใหญ่หลวงให้แก่บิดามารดาของเขาด้วยว่าในยุคนั้นฝ่ายศาสนจักรคาทอลิกได้ทำการปราบปราม ผู้ที่ประพฤตินอกรีตนอกรอยคำสั่งสอนของศาสนาคริสต์ โดยได้จัดตั้งคณะกรรมการฝ่ายศาสนจักรเพื่อทำหน้าที่สอบสวนและทำการลงโทษผู้กระทำความผิดในเรื่องนี้ขึ้น

    ด้วยเหตุที่ครอบครัวของนอสตราดามุสมีปูมหลังเป็นยิว คณะกรรมการของฝ่ายศาสนจักรจึงน่าจะจับตามองเพื่อจับผิดมากเป็นพิเศษกว่าคนเผ่าอื่น ดังนั้น เพื่อป้องกันอันตรายให้แก่บุตรซึ่งอาจถูกกล่าวหาจากฝ่ายศาสนจักรได้บิดามารดาจึงตัดสินใจส่งให้ไปศึกษาวิชาการแพทย์ที่ มหาวิทยาลัยมองต์เปลิเย เมื่อปี ค.ศ.1522 มหาวิทยาลัยแห่งนี้มีชื่อเสียงโด่งดังทางด้านวิชาการแพทย์รองลงมาจากมหาวิทยาลัยปารีส ซึ่งนับตั้งแต่ปี ค.ศ.1376 เป็นต้นมา พระเจ้าหลุยส์ที่ 1 แห่งอังจู ให้นำศพนักโทษประหารมาชำแหละเพื่อวิจัยทางการแพทย์ได้เป็นกรณีพิเศษ

    ขณะที่เริ่มเข้ามาศึกษาวิชาการแพทย์นั้น นอสตราดามุสมีอายุ 19 ปีใช้เวลาศึกษาอยู่ 3 ปีก็สามารถสำเร็จปริญญาตรีทางด้านการแพทย์อย่างง่ายดายเป็นประวัติการณ์ ซึ่งแสดงว่าเป็นคนอัจฉริยะมีความเฉลียวฉลาดมากเป็นพิเศษกว่าบุคคลอื่น

    จากบันทึกต่างๆ ที่รวบรวมมาได้จากหลายๆ แหล่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับระบบการสอบไล่ปีสุดท้ายในระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยมองต์เปลิเย ซึ่งแสดงว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่มีระบบการสอบที่ยากมาก ในการสอบวันแรกนั้น นักศึกษาแพทย์จะเข้าสอบปากเปล่าก่อน โดยเริ่มกันตั้งแต่แปดโมงเช้าเรื่อยไปจนถึงเที่ยงวัน

    นักศึกษาจะถูกบรรดาศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยทำการซักไซ้ไล่เลียงเพื่อตะล่อมให้จนมุม ซึ่งนักศึกษาจะต้องตอบข้อซักถามนั้นๆ ตามหลักวิชาการที่ตนได้ร่ำเรียนมา จนเป็นที่พอใจของบรรดากรรมการสอบ และจะต้องสามารถพิสูจน์ให้เห็นว่า ความรู้ที่ตนเรียนมานั้นแข็งแกร่งพอๆ กับความรู้ของกรรมการสอบเลยทีเดียว นักศึกษาที่สามารถผ่านการสอบปากเปล่านี้ได้ ทางมหาวิทยาลัยมองต์เปลิเย จะจัดพิธีมอบครุยปริญญาตรีสีแดง ให้ใช้สวมใส่แทนครุยนักศึกษาซึ่งเป็นสีดำ

    ที่มหาวิทยาลัยมองต์เปลิเยในสมัยนั้น เพียงแต่ได้ปริญญาทางแพทย์ ไม่ได้มีผลให้นักศึกษาได้ใบประกอบโรคศิลป์โดยอัตโนมัติเหมือนอย่างสมัยนี้ นักศึกษาแพทย์จะต้องผ่านการทดสอบความสามารถในด้านการบรรยายทางวิชาการในหัวข้อต่างๆ ถึง 5 หัวข้อด้วยกัน โดยกำหนดเวลาให้ 3 เดือน ซึ่งแต่ละหัวข้อที่นักศึกษาจะนำมาบรรยายให้กรรมการสอบฟังนั้น ทางคณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ของมหาวิทยาลัย เป็นผู้ทำการคัดเลือกให้ด้วยตัวเอง

    หลังจากสอบผ่านในขั้นตอนการบรรยายได้แล้ว ก็จะเป็นการสอบที่เรียกกันในภาษาฝรั่งเศษในสมัยนั้นว่า " แปร์แอ็งตังซิออแน็ม (Per intentioned) " โดยนักศึกษาแพทย์จะถูกกรรมการสอบตั้งปัญหาถามจำนวน 4 ข้อด้วยกันแต่ละหัวข้อทางกรรมการจะบอกนักศึกษาไปเตรียมค้นคว้าหาคำตอบไว้ก่อนวันสอบหนึ่งวัน

    นักศึกษาจะถูกบรรดาศาสตราจารย์ที่เป็นกรรมการสอบ ซักไซ้ปัญหาแต่ละข้อเป็นเวลาหนึ่งชั่วโงและภาษาที่ใช้ในการสอบขั้นนี้คือภาษลาติน การสอบขั้น " แปร์แอ็งตังซิออแน็ม "นี้ กว่าจะครบทุกขั้นตอนต้องใช้เวลา 1-2 วัน

    อีก 8 วันต่อมา หลังจากที่สอบผ่านขั้น " แปร์แอ็งตังซิออแน็ม " ได้แล้ว นักศึกษาแพทย์จะต้องเข้าสอบเพื่อตอบปัญหาข้อที่ 5 ซึ่งเป็นปัญหาที่คณะกรรมการสอบไม่ได้บอกให้นักศึกษาไปเตรียมค้นคว้าหาคำตอบเป็นการล่วงหน้า ผู้ที่ทำหน้าที่คัดเลือกปัญหานี้มาถามนักศึกษาแพทย์ได้แก่ตัวอธิการบดีมหาวิทยาลัย

    หากสอบผ่านขั้นนี้ไปด้วยดี ขั้นต่อไปนักศึกษาแพทย์จะต้องเตรียมเขียนวิทยานิพนธ์อธิบายวาทะของท่าน ฮิปโปเครตีส (Hippocrates) นักปรัชญากรีก ซึ่งถือกันว่าเป็นบิดาแห่งวิชาการแพทย์และจะต้องเขียนวิทยานิพนธ์นี้ให้แล้วเสร็จเพื่อส่งให้กรรมการสอบทำการตรวจในวันรุ่งขึ้น

    การสอบในขั้นตอบปัญหาข้อที่ 5 และการเขียนวิทยานิพนธ์ให้แล้วเสร็จภายใจหนึ่งคืนนี้ ถือว่าเป็นการสอบที่ยากเข็ญใจที่สุด ทั้งยังสร้างความเครียดและความกระวนกระวายใจ ให้นักศึกษาแพทย์มากที่สุดอีกด้วย ในสมัยนั้นจึงเรียกการสอบทั้งสองแบบนี้ว่า " การสอบขั้นกระดูกขัดมัน "

    หากจะลองเปรียบเทียบการสอบปีสุดท้ายของนักศึกษาแพทย์ของมหาวิทยาลัยมองต์เปลิเย กับการสอบปีสุดท้ายของนักศึกษาแพทย์ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ในสมัยปัจจุบัน ก็พอจะเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน กว่าที่จะมีคุณสมบัติครบถ้วนเป็นบัณฑิตแพทย์ของมหาวิทยาลัยมองต์เปลิเยได้นั้น นักศึกษาจะต้องผ่านการทดสอบหลายขั้นตอนและใช้เวลายาวนานมาก ทั้งนี้ก็เพื่อให้ได้มาตรฐานตามที่มหาวิทยาลัยได้ตั้งเอาไว้

    อย่างไรก็ตาม นอสตราดามุสสามารถสอบได้ปริญญาตรีทางการแพทย์ ที่ใครต่อใครในสมัยนั้นเห็นว่าแสนยากนี้ได้อย่างง่ายดาย และในที่สุดเขาก็ได้เข้าพิธีรับใบประกอบโรคศิลป์จากมือของบิช็อปแห่งเมืองมองต์เปลิเย เมื่อ ค.ศ.1525

    4. เป็นแพทย์ผู้ชำนาญในการรักษากาฬโรค

    ในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 ได้เกิดกาฬโรคระบาดขึ้นทางภาคใต้ของประเทศฝรั่งเศษ ในสมัยนั้นคนฝรั่งเศษเรียกโรคนี้ว่า " โรคถ่าน " ทั้งนี้เพราะสาเหตุที่ว่า ใครเป็นโรคนี้จะเกิดจุดดำ ใต้หนังกำพร้าทั่วร่างกาย ตลอดชีวิตของนอสตราดามุส ได้ถูกใครต่อใครให้ร้ายป้ายสีอยู่ตลอดเวลา ทั้งๆ ที่ความจริงเขาเป็นคนดีคนหนึ่งที่สมควรได้รับการยกย่องเทิดทูน เป็นแพทย์ที่กล้าหาญ ไม่หวาดหวั่นต่ออันตรายจากการติดเชื้อกาฬโรคจากผู้ป่วย เป็นผู้มีมนุษย์ธรรมและเมตตาธรรมต่อคนไข้อย่างเสมอต้นเสมอปลายและมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เห็นอกเห็นใจคนยากจนอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน

    ทั้งนี้จะเห็นได้ว่า หลังจากสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมองต์เปลิเยแล้ว นอสตราดามุสมีชื่อเสียงโด่งดังและได้รับการยกย่องทั่วฝรั่งเศษ ในฐานะที่เป็นแพทย์ที่อุทิศตนเพื่อคนไข้อย่างแท้จริง และชอบสงเคราะห์คนไข้ผู้ยากไร้ในชนบทมากกว่าคนไข้ผู้ร่ำรวยในเมืองใหญ่ๆ

    ในระยะแรกของการเป็นแพทย์ นอสตราดามุสได้เดินทางไปอยู่ที่เมืองนาร์บอง ซึ่งที่เมืองนี้นอกจากจะได้ทุ่มเทชีวิตเพื่อรักษาเยียวยาคนไข้ที่เป็นกาฬโรคแล้ว ก็ยังใช้เวลาว่างเข้าไปศึกษาอยู่ในสำนักของพวกนักเล่นแร่แปรธาตุชาวยิวที่เปลี่ยนศาสนาเป็นคริสตัง ซึ่งสมัยนั้นเป็นสำนักเล่นแร่แปรธาตุที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก

    จากนั้นนอสตราดามุส ได้เดินทางต่อไปยังเมืองอื่นๆ ที่มีกาฬโรคระบาดอีกหลายต่อหลายเมือง และได้ให้การรักษาเยียวยาแก่คนไข้โดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยากของตนเองเลยแม้แต่น้อย

    นอสตราดามุสเป็นแพทย์ผู้มีโลกทรรศน์ที่ทันสมัยเขาไม่เห็นด้วยกับวิธีการป้องกันกาฬโรคที่บรรดาแพทย์ร่วมสมัยนิยมแนะนำประชาชนฝรั่งเศษให้ทำกัน คือ การใช้ผ้ายันต์ศักดิ์สิทธิ์ 7 สี ซึ่งอีกร้อยปีต่อมา พวกแพทย์อังกฤษก็เคยใช้ผ้ายันต์ชนิดนี้เหมือนกัน เมื่อเกิดกาฬโรคระบาดครั้งใหญ่ที่ลอนดอนประเทศอังกฤษ

    นอสตราดามุสเป็นคนมีนิสัยไม่ชอบอยู่ที่ใดเป็นหลักแหล่ง จากเมืองนาร์บองได้เดินทางไปอยู่ที่เมืองคาร์คาสซอน โดยไปพำนักอยู่ในบ้านของ บิช็อป อาเมเนียง เดอ ฟาอีส์ และได้ปรุงสูตรยาอายุวัฒนะให้แก่บิช็อปรูปนี้ด้วย

    ต่อมานอสตรามุสได้เดินทางไปพำนักอยู่ที่บ้านหลังหนึ่งแถวๆ ย่านถนนตริเปอรี ในเมืองตูลูส จากตูลูสได้ไปอยู่ที่เมืองบอร์โด ซึ่งขณะนั้นมีกาฬโรคระบาดอยู่อย่างหนักเช่นกัน จากบอร์โดได้กลับไปอยู่ที่เมืองอาวิยองและได้ทำการศึกษาค้นคว้าอยู่ที่เมืองนี้เป็นเวลาหลายเดือน และก็คงจะเริ่มสนใจไสยศาสตร์และศาสตร์ลี้ลับต่างๆ ในช่วงที่ไปอยู่ที่เมืองอาวิยองในครั้งนี้เอง เพราะจากหลักฐานทางเอกสารปรากฏว่า ในสมัยนั้น เมืองนี้มีห้องสมุดซึ่งมีหนังสือประเภทลึกลับมหัศจรรย์อยู่มากมาย

    ในขณะเดียวกัน ในช่วงนี้ นอสตราดามุสได้ประสบความสำเร็จ สามารถคิดค้นสูตรทำเยลลี่ผลควินซ์ ให้แก่ท่านสมณทูตของ พระสันตะปาปา และจอมอัศวินแห่งมอลตา ซึ่งทั้งสองท่านในขณะนั้นได้พำนักอยู่ที่เมืองอาวิยองนี้ด้วย ปรากฏว่าสูตรทำเยลลี่ของเขาเป็นที่ขึ้นชื่อลือชามาก แต่เมื่อเปรียบเทียบกับเยลลี่ในสมัยปัจจุบันแล้วเยลลี่ที่ทำจากสูตรที่เขาคิดค้นได้นี้ออกจะหวานไปสักหน่อยเท่านั้นเอง

    ที่ประชาชนฝรั่งเศษในยุคนั้นนิยมใช้เยลลี่ทำขนมแทนน้ำตาล ก็เพราะสมัยนั้นน้ำตาลมีราคาแพงมาก คนที่สามารถซื้อหามาทำขนมหรือปรุงอาหารรับประทานได้ ก็ต้องเป็นคนที่ร่ำรวย หรือไม่ก็เป็นคนในวงสังคมชั้นสูงเท่านั้น

    5. สำเร็จปริญญาเอกสาขาแพทย์ศาสตร์

    หลังจากที่ได้ออกตระเวณไปอยู่ตามเมืองต่างๆ ในประเทศฝรั่งเศษนานถึง 4 ปีแล้ว นอสตราดามุสได้หวนกลับไปที่เมืองมองต์เปลิเยอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งกลับไปคราวนี้ก็เพื่อที่จะศึกษาในระดับปริญญาเอกในมหาวิทยาลัยเดิมที่เขาสำเร็จปริญญาตรีมานั่นเอง

    ผู้อ่านอาจจะสงสัยว่า ทำไมนอสตราดามุสถึงไม่เรียนปริญญาโทก่อน แล้วจึงค่อยเรียนปริญญาเอกในภายหลังการที่เขาสามารถก้าวกระโดดไปเรียนปริญญาเอกได้เลยนี้อาจจะเป็นเพราะว่าหลักสูตรการศึกษาในมหาวิทยาลัยมองต์เปลิเย กำหนดให้ผู้จบปริญญาตรีสามารถเรียนต่อปริญญาเอกได้เลย ไม่ต้องผ่านปริญญาโท ในกรณีที่นักศึกษาผู้นั้นมีผลการเรียนดีเยี่ยม ในระดับปริญญาตรีมาแล้ว ซึ่งปัจจุบันบางมหาวิทยาลัยทั้งในยุโรปและอเมริกาหรือแม้แต่ในเมืองไทยของเรา ก็ถือแนวปฏิบัติเช่นเดียวกันนี้ นอสตรามุสเริ่มลงทะเบียนเป็นนักศึกษาปริญญาเอกเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 1529

    การสอนในระดับปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยมองต์เปลิเยในสมัยนั้น ใครที่สามารถผ่านได้ก็ถือว่า ต้องยอดเยี่ยมจริงๆ นักศึกษาต้องเตรียมศึกษาค้นคว้าวิชาต่างๆ เพื่อให้กรรมการทำการสอบ จำนวน 12 วิชาด้วยกัน แต่ในเวลาสอบจริงๆ จะเลือกสอบเพียง 6 วิชา ซึ่งใน 6 วิชานี้ 3 วิชาเลือกโดยวิธีจับฉลาก ส่วนอีก 3 วิชา คณบดีคณะแพทยศาสตร์เป็นผู้เลือกให้ด้วยตัวเอง

    เมื่อได้ทำการเลือกข้อสอบตามกรรมวิธีดังกล่าวแล้วนักศึกษาผู้เข้าสอบต้องอภิปรายถกแถลง และตอบข้อซักถามกับบรรดากรรมการสอบจนเป็นที่พอใจของทุกคน

    กล่าวกันว่า เมื่อนอสตราดามุสเข้าสอบเพื่อรับปริญญาเอกในครั้งนี้ ได้ถูกกรรมการรุมกินโต๊ะถามกันอย่างหนักทั้งนี้ก็เพราะเหตุที่เขามีแนวการวินิจฉัยและแนวการรักษาโรคผิดแผกแตกต่างไปจากแพทย์คนอื่นๆ

    นอกจากนั้น ที่กรรมการซักนอสตราดามุสหนักกว่านักศึกษาระดับปริญญาเอกคนอื่นๆ เพราะพวกกรรมการสอบเองไม่ค่อยจะชอบขี้หน้า ที่เขามีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่เคารพยกย่องในหมู่ของประชาชน จะเกินหน้าเกินตาแพทย์คนอื่นๆ ในสมัยนั้น

    อย่างไรก็ตาม นอสตราดามุสได้แสดงความสามารถออกมาอย่างเด่นชัดว่า มีความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในด้านการแพทย์เป็นยอดเยี่ยม จนกระทั่งกรรมการสอบผู้มีอคติไม่สามารถจะหาข้อตำหนิใดๆ ได้ในที่สุด ก็ได้รับปริญญาเอก มีศักดิ์และสิทธิ์สวมหมวกทรงสี่เหลี่ยม อย่างที่เห็นอยู่ในรูปของเขาที่โบสถ์เมืองซาลองนอกจากนั้น ก็ยังได้รับมอบแหวนทองประจำตัวแพทย์อีกหนึ่งวง กับตำราแพทย์ของฮิปโปเครตีสอีกหนึ่งเล่ม ในโอกาสเดียวกันนี้ด้วย

    6.เป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัยมองต์เปลิเย

    หลังจากสำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาเอกแล้วทางคณะแพทย์ศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมองต์เปลิเย เชื่อในความสามารถ จึงได้เสนอตำแหน่งอาจารย์สอนประจำให้แก่นนอสตราดามุส ซึ่งเขาก็รับคำเชิญเป็นอาจารย์อยู่ที่นี่เป็นเวลาหนึ่งปี ทว่าในช่วงที่เป็นอาจารย์อยู่นี้ได้เกิดขัดแย้งกับคณาจารย์อื่นๆ

    เกี่ยวกับความเห็นด้านทฤษฏีการแพทย์ที่สำคัญคือเขาไม่เห็นด้วยกับการที่จะรักษาคนไข้กาฬโรคโดยวิธีถ่ายเลือด ซึ่งแพทย์ร่วมสมัยนิยมทำกัน ประจวบกับมีนิสัยไม่ชอบอยู่เป็นที่อย่างถาวร ดังนั้นจึงลาออกจากการเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย แล้วเดินทางร่อนเร่ไปอยู่ยังที่ต่างๆ อีกครั้งหนึ่ง เมื่อปี ค.ศ.1532

    ในช่วงที่ท่องเที่ยวไปในครั้งหลังนี้ นอสตราดามุสมักประสบกับปัญหาความยุ่งยากอยู่เสมอๆ เพราะเขาชอบสวมเสื้อคลุมและหมวกสีดำ ซึ่งทำให้ผู้ที่เห็นเข้าใจผิดคิดว่าเป็นยิว จึงช่วยกันแจ้งให้ฝ่ายศาสนจักรจับตาดูพฤติกรรมอยู่ทุกระยะ ไม่ว่าเขาจะไปอยู่ ณ ที่ใด

    มีข้อที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่ง คือ นักเขียนฝรั่งเศษชื่อราบิเลส์ (Rabelais) ซึ่งชอบเขียนหนังสือแนวขบขันหยาบโลน ก็สำเร็จปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยมองต์เปลิเยเมื่อปี ค.ศ.1530 ด้วยเหมือนกัน แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่านอสตราดามุสและราบิเลส์เคยพบกันมาก่อน

    7. แต่งงานครั้งแรก

    ในช่วงสองปีหลังจากลาออกจากมหาวิทยาลัยมองต์เปลิเยแล้ว นอสตราดามุสได้ท่องเที่ยวผ่านไปทางเมืองบอร์โด ลาโรเชล และตูลูส ขณะที่ทำการรักษาคนไข้อยู่ในสามเมืองนี้ เขาได้รับจดหมายฉบับหนึ่งจาก จูเลียส ซีซาร์ ชาลี แจร์ นักปรัชญาคนสำคัญของยุโรปในยุคกลาง ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังไม่แพ้อีราสมุสนักปรัชญายุคเดียวกัน

    ชาลิแจร์เป็นนักปรัชญาที่สนใจหลายด้าน เป็นต้นว่าด้านการแพทย์ คำประพันธ์ ปรัชญา พฤกษศาสตร์และคณิตศาสตร์ ที่เขียนจดหมายไปนั้นก็เพื่อเชิญนอสตราดามุสให้ไปอยู่ด้วยกันที่บ้านของเขาที่เมืองอากัง

    นอสตราดามุสได้รับจดหมายนี้แล้วก็ตอบไปว่า ตนยินดีจะไปอยู่ด้วย และเมื่อไปอยู่แล้วก็ชอบชีวิตความเป็นอยู่ในเมืองอากังนี้มาก ราวปี ค.ศ. 1545 จึงได้ยุติการใช้ชีวิตร่อนเร่ชั่วคราว โดยได้ตัดสินใจแต่งงานกับหญิงสาวคนหนึ่ง ซึ่งว่ากันว่า นอกจากจะสะสวยน่ารักแล้วแถมยังร่ำรวยเสียอีกด้วย แต่เป็นที่น่าเสียดายที่เราไม่สามารถค้นหาชื่อภรรยาคนแรกนี้ของเขาได้

    นอสตราดามุสมีลูกกับภรรยาคนแรก 2 คน เป็นชาย 1 หญิง 1 ชีวิตในครอบครัวเป็นไปอย่างราบรื่น ส่วนทางด้านอาชีพการแพทย์นั้นเล่า ก็ประสบความเจริญก้าวหน้าและสร้างชื่อเสียงให้แก่เขามากยิ่งขึ้น

    นอกจากนั้น เขายังได้ประโยชน์มากมายจากการที่ได้มาอยู่กับชาลิแจร์ เพราะได้มีโอกาสพบปะพูดคุยกับนักปรัชญาผู้นี้เป็นประจำ กับทั้งมีโอกาสได้พบปะและแลกเปลี่ยนทรรศนะกับผู้คนที่ไปมาหาสู่อีกมากมาย ซึ่งทำให้ได้ความรู้มีโลกทรรศน์กว้างไกล และฉลาดเฉียบแหลมมากยิ่งขึ้น

    8.ประสบเคราะห์กรรม

    แต่ครั้นถึงปี ค.ศ.1537 โศกนาฏกรรมหลายต่อหลายอย่างได้ซัดกระหน่ำชีวิตและครอบครัวของนอสตราดามุสคือ ปีนั้น โรคกาฬโรคได้ระบาดเข้ามาในเมืองอากัง และในที่สุดก็คร่าเอาชีวิต ภรรยาและลูกทั้งสองคนของเขาไปด้วยทั้งๆ ที่ได้พยายามอย่างสุดความสามารถ แต่ก็ไม่อาจช่วยชีวิตไว้ได้

    เมื่อการณ์กลับปรากฏเป็นเช่นนี้ เกียรติภูมิของนอสตราดามุส ในฐานะที่เป็นแพทย์ผู้สามารถในการรักษากาฬโรค ได้ถูกทำลายลงอย่างสิ้นเชิง เมื่อประชาชนทราบว่าเขาไม่สามารถแม้แต่จะช่วยชีวิตคนในครอบครัวของตัวเองได้

    ยิ่งไปกว่านั้น ในระยะต่อมาก็เกิดแตกคอกับ ชาลิแจร์จนถึงขั้นตัดความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างกันในที่สุด อันที่จริงผู้ที่ก่อเรื่องไม่ใช่ฝ่ายนอสตราดามุส แต่เรื่องเกิดขึ้นเพราะ ชาลิแจร์เป็นผู้ก่อ คือ ชาลิแจร์ไม่เพียงแต่ก่อเรื่องทะเลาะเบาะแว้งกับนอสตราดามุสเท่านั้น แต่ยังเที่ยวหาเรื่องกับเพื่อนฝูงทุกคนอีกด้วย

    อย่างไรก็ตาม แม้ว่าความเป็นเพื่อนกับชาลิแจร์จะสิ้นสุดลงไปแล้ว แต่นอสตราดามุสไม่เคยกล่าวให้ร้ายป้ายสีในหนังสือ " Traite des fardemens " นอสตราดามุสยังคงเขียนสรรเสริญเยินยอเกียรติคุณของชาลิแจร์ ไว้ด้วยซ้ำไปว่า

    เป็นผู้สืบทอดวิญญาณของซิเซโรทางด้านวาทศิลป์
    เป็นผู้สิบทอดวิญญาณของเวอร์จิลทางด้านการประพันธ์
    และเป็นผู้สืบทอดวิญญาณของกำลังทางด้านการแพทย์
    ข้าพเจ้าเป็นหนี้บุญคุณชาชิแจร์ยิ่งกว่าบุคคลอื่นใดในโลก
    จะเห็นได้ว่า ข้อความที่ยกมานี้เป็นการยกย่องสดุดี

    ความสามารถทางด้านต่างๆ ของชาลิแจร์ ไม่ได้เอ่ยถึงความเลวของเพื่อนนักปรัชญาผู้นี้แม้แต่น้อยนิดเคราะห์กรรมของนอสตราดามุสยังไม่หมดแต่เพียงเท่านี้เพราะปรากฏว่า เขาถูกพ่อตาแม่ยายฟ้องร้องเรียกสินสอดทองหมั้นที่ฝ่ายพ่อตาแม่ยายจ่ายให้เขาในตอนแต่งงานลูกสาวคืน ซึ่งแสดงว่าในประเทศฝรั่งเศษสมัยนั้น เมื่อชายหญิงแต่งางานกัน ฝ่ายหญิงเป็นผู้จ่ายสินสอดให้แก่ฝ่ายชายเหมือนอย่างที่ประเทศอินเดีย

    นอกจากนั้น ในปี ค.ศ.1538 นอสตราดามุสถูกกล่าวหาว่า ทำตัวเป็นปฏิปักษ์ต่อศาสนจักรคาทอลิกโดยระบุว่า ครั้งหนึ่งเมื่อหลายปีก่อนหน้านี้ ได้กล่าวลบหลู่ดูหมิ่นศาสนาคาทอลิกอะไรบางอย่างเอาไว้ คนที่ได้ยินคำพูดของเขาจึงได้รายงานถึงเจ้าหน้าที่ของฝ่ายศาสนจักร

    แต่เรื่องจริงมีอยู่ว่า วันนั้น นอสตราดามุสเดินไปพบช่างกำลังหล่อพระรูปของพระแม่มารีอยู่ เกิดคะนองปากพูดวิจารณ์ไปว่า รูปพระแม่มารีที่ช่างกำลังหล่ออยู่นั้นมีลักษณะเหมือนกับรูปของปีศาจ

    แต่เมื่อเกิดเรื่องราวขึ้นมาเช่นนี้ ทางฝ่ายนอสตราดามุสได้อุทธรณ์ไปว่า ที่เขาพูดไปนั้นไม่ได้จงใจที่จะลบหลู่ดูหมิ่นสิ่งเคารพของชาวคริสตัง เป็นเพียงแต่กล่าววิจารณ์ว่า พระรูปของพระแม่มารี ไม่งดงามในเชิงสุนทรียศาสตร์เท่านั้นเอง อย่างไรก็ตาม ทางคณะกรรมการสอบสวนของฝ่ายศาสนจักรคาทอลิกไม่เชื่อในคำอุทธรณ์ จึงได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปที่เมืองอากัง เพื่อทำการจับกุมตัวนำมาลงโทษที่เมืองตูลูส

    นอสตราดามุสตระหนักเป็นอย่างดีว่า หากยอมให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายศาสนจักรจับกุม ก็มีหวังจะต้องถูกนำตัวขึ้นศาลพระ หรือดีไม่ดีก็อาจจะถูกนำไปเข้าหลักประหารอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนั้น จึงได้หลบหนีออกจากเมืองอากังก่อนที่เจ้าหน้าที่ของฝ่ายศาสนจักรจะเดินทางไปถึง 6 ปีเต็ม

    นอสตราดามุสไม่ยอมแต่งงานใหม่ ครองตนเป็นพ่อหม้ายอยู่จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1547 ได้ตกลงปลงใจแต่งงานกับแม่หม้ายทรงเครื่องคนหนึ่ง ที่เมืองซาลอง อังโปรวองซ์

    นอสตราดามุสมีลูกกับแม่หม้ายคนนี้ถึง 6 คน มีคนหนึ่งฉลาดเฉียบแหลมเหมือนพ่อ ชื่อ ซีซาร์ เดอ นอสเตรอดัม เมื่อผู้พ่อเสียชีวิต ซีซาร์ผู้นี้อายุได้ 19 ปี และที่เรื่องราวของนอสตราดามุสไม่สูญหายไปจากโลก ส่วนหนึ่งก็เพราะซีซาร์นำมาบันทึกไว้ในหนังสือที่เขียนขึ้นชื่อ " Histories de Provence "

    ในช่วงที่นอสตราดามุสยังเป็นพ่อหม้ายหลบหนีการจับกุมของฝ่ายศาสนจักรอยู่นั้น เราไม่ค่อยทราบรายละเอียดเกี่ยวกับเส้นทางการเดินทางของเขามากนัก ที่เห็นมีอยู่บ้างก็แต่ในหนังสือ ที่เขาเขียนขึ้นในเวลาต่อมา ชื่อ " Moultes Opuscules " ซึ่งระบุว่า ได้ไปที่เมืองลอร์นเร็นเวนิช และซิซิลี ที่เข้าไปในประเทศอิตาลีก็เพื่อรวบรวมข้อมูลที่นำมาใช้เขียนหนังสือเกี่ยวกับทฤษฏีทางการแพทย์และสูตรยารักษาโรคต่างๆ รวมทั้งเพื่อไปพบปะกับบรรดานักโหราศาสตร์นักเล่นแร่แปรธาตุ และเกจิอาจารย์ทางไสยศาสตร์คนสำคัญๆ ที่อยู่ในเมืองต่างๆ เหล่านั้น

    ในช่วงเดียวกันนี้ นอสตราดามุสได้แปลหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ " Horus Apollo " ของฟิลิปปุส จากภาษากรีกเป็นภาษฝรั่งเศษ เป็นหนังสือประมวลความรู้ทางด้านจริยศาสตร์และปรัชญาธรรรมดา ๆ ไม่ดีเด่นเป็นที่สนใจของบรรดานักอักษรศาสตร์ในยุคหลังมากนัก

    9. ทำนายดวงชะตาของผู้ที่จะเป็นพระสันตะปาปา มีตำนานเล่าขานต่อๆ กันมาว่า ในช่วงนี้ นอสตราดามุส มีความสามารถในการทำนายทายทักดวงชะตาราศีของใครต่อใครได้แล้ว ว่ากันว่า ในระหว่างที่เดินทางท่องเที่ยวอยู่ในประเทศอิตาลีนั้น วันหนึ่ง ได้เดินสวนทางกับนักบวชคริสต์รูปหนึ่งซึ่งขณะนั้นมีหน้าที่เป็นเพียงคนเลี้ยงสุกรในวัด เพียงมองเห็นครั้งแรกกเท่านั้น ก็สามารถทราบในทันทีว่า ต่อไปในอนาคตจะได้เป็นพระสันตะปาปาเขาจึงคุกเข่าลงที่โคลนเฉอะแฉะกลางถนนแสดงการคารวะพลางกล่าวกับนักบวชรูปนี้ด้วยคำขึ้นต้นว่า " ข้าแต่องค์พระสันตะปาปาผู้ศักดิ์สิทธิ์ "
    นักบวชที่ว่านี้ คือ เฟริช เปอเรตตี ซึ่งต่อมาได้เป็นองค์ประมุขของศาสนจักรโรมันคาทอลิก เมื่อปี ค.ศ. 1589 อันเป็นช่วงหลังจากที่นอสตราดามุสเสียชีวิตไปนานแล้ว

    10. ล่วงรู้ชะตากรรมของหมู

    อีกเรื่องหนึ่งเล่ากันสนุกๆ ว่า นอสตราดามุสได้พบกับขุนนางคนหนึ่งที่เมืองฟลอแร็งวิลล์ หลังจากที่ได้สนทนากันแล้ว พอทราบว่าเป็นหมอดู จึงอยากจะทดสอบความสามารถให้เห็นดำเห็นแดงกันไปเลย ขุนนางเมืองฟลอแร็งวิลล์ ได้ทำการทดสอบ โดยขอให้ทำนายอนาคตของลูกสุกรทั้งสองตัวของเขา ที่กำลังนอนดูดนมแม่อยู่ที่สนามหญ้าในบ้าน ซึ่งนอสตราดามุสทำนายว่าท่านขุนนางจะได้รับประทานเนื้อสุกรตัวสีดำ ส่วนลูกสุกรตัวสีขาวจะถูกสุนัขคาบไปกิน ทันทีที่ได้ฟังคำทำนาย ขุนนางต้องการลบล้าง จึงได้เชิญนอสตราดามุสให้อยู่รับประทานอาหารเย็นที่บ้าน แล้วแอบไปกระซิบคนครัวให้จับลูกสุกรตัวสีขาวมาฆ่า เพื่อทำอาหารเย็นเลี้ยงนอสตราดามุส คนครัวก็ได้จัดการตามที่ท่านขุนนางสั่ง คือ นำลูกสุกรตัวสีขาวมาฆ่า แต่ในขณะที่กำลังเตรียมจะชำแหละเนื้อเพื่อปรุงเป็นอาหารเย็นอยู่นั้น มี สุนัขของเพื่อนบ้านตัวหนึ่งมาแอบคาบสุกรตัวนั้นวิ่งหนีเข้าป่าไป คนครัวตกใจมาก เกรงว่าจะถูกขุนนางผู้เป็นนายดุจึงไปจัดการฆ่าลูกสุกรตัวสีดำมาทำอาหารเย็นแทน

    ใขณะที่นอสตราดามุสกับขุนนางกำลังนั่งรับประทานอาหารเย็นมื้อนี้อยู่นั้น ทางฝ่ายขุนนางเจ้าของบ้านก็ได้ทำท่ากระหยิ่มยิ้มย่อง กล่าวว่า เนื้อที่เขากับนอสตราดามุสกำลังรับประทานอยู่นี้ คือ เนื้อของลูกสุกรตัวสีขาวที่ทำนายว่าจะถูกสุนัขคาบไปกิน นอสตราดามุสยิ้มอย่างผู้ชนะและยืนยันกับเจ้าของบ้านว่าเป็นเนื้อของลูกสุกรตัวสีดำ เพื่อพิสูจน์ความจริงกัน ท่านขุนนางจึงได้เรียกคนครัวมาสอบถาม แล้วคนครัวก็ได้เล่าเรื่องราวทั้งหมดที่เกิดขึ้นให้ผู้เป็นนายฟัง จึงเป็นอันว่าคำทำนายของนอสตราดามุสในครั้งนี้ถูกต้องอย่างแม่นยำ เหมือนมองเห็นอนาคตได้ด้วยตาทิพย์

    11. ทำนายอนาคตของนโปเลียน

    อีกตำนานหนึ่งที่ว่า นอสตราดามุสเคยเข้าไปพักอยู่ในโบสถ์เตซิอัง ในเมืองออร์วัล อันเป็นย่านที่อยู่ของชาวฝรั่งเศษเชื้อสายเบลเยี่ยม ทั้งนี้เพราะในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีผู้พบหนังสือคำโคลงคำพยากรณ์ของ นอสตราดามุสอยู่ในโบสถ์แห่งนี้สองเล่ม ซึ่งเขียนคำทำนายไว้ว่า จอมจักรพรรดินโปเลียน จะเรืองอำนาจในฝรั่งเศษ

    เล่มหนึ่งมีชื่อว่า " Prophecy of Philip Olovarius " ระบุไว้ว่าตีพิมพ์ในระยะหลัง คือ ราวปี ค.ศ. 1810 นายนอร์ มังค์ พระอาจารย์ที่ปรึกษาและพระสหายของพระเจ้านโปเลียนแห่งฝรั่งเศษ อ้างว่า พระเจ้านโปเลียนทรงนำหนังสือคำทำนายเล่มนี้พกติดตัวอยู่ตลอดเวลา ส่วนหนังสือคำทำนายเล่มที่สองชื่อ " The Prophecy of Orrval " ระบุว่าตีพิมพ์เมื่อ ค.ศ. 1544 แต่ความเป็นจริงน่าจะตีพิมพ์เมื่อราวปี ค.ศ. 1839

    นักวิเคราะห์ผลงานของนอสตราดามุสหลายคน รวมทั้งบาร์แรสต์และ อาเบ ตอร์เน ชาวิญญี ได้ยืนยันว่า หนังสือทั้งสองเล่มนี้นอสตราดามุสเป็นผู้เขียนเอง แต่เมื่อพิจารณาดูรูปแบบการเขียนที่ปรากฏไม่น่าจะใช่ ส่วนที่กล่าวว่านอสตราดามุสเคยไปพักอยู่ที่เมืองออร์วัลนั้น ก็เป็นเพียงตำนานเล่าขานต่อๆ กันมา ปราศจากหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรสนับสนุน

    จึงมีทางเป็นไปได้ว่า หนังสือทั้งสองเล่มนี้ผู้อื่นเป็นผู้เขียนขึ้น แต่แอบอ้างเอาชื่อของนอสตราดามุส เพื่อให้คำทำนายในหนังสือของตนน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น ซึ่งเรื่องแบบนี้มักเกิดขึ้นตลอดมาทุกยุคทุกสมัย

    12. ปราบโรคระบาด

    เมื่อถึงปี ค.ศ. 1554 นอสตราดามุสได้ไปตั้งหลักปักฐานอยู่ที่เมืองมาร์แซย์ โดยพักอยู่กับ หลุยซ์แซร์เรอในเดือนพฤศจิกายนของปีนั้น มณฑลโปรวองซ์ได้ประสบอุทกภัยครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งซีซาร์บุตรชายของนอสตราดามุส ได้เล่ารายละเอียดไว้ในหนังสือชื่อ ( Histories de Provence ) ว่าผลของอุทกภัยทำให้กาฬโรคระบาดหนักยิ่งกว่าเดิมอีกเท่าตัว เพราะเชื้อโรคแพร่ระบาดไปกับศพเน่าที่ลอยไปตามน้ำ

    นอสตราดามุสต้องการทำงานหนักจนไม่มีเวลาพักผ่อนเพื่อรักษาคนไข้ที่เป็นโรคนี้ ซึ่งแตกต่างจากแพทย์คนอื่นๆ ที่พากันกลัวตามหลบหนีออกไปจากเมืองมาร์แซย์ พร้อมกับคนไข้ที่พอมีกำลังวังชาเดินได้ ซึ่งการกระทำของแพทย์ดังกล่าว กลับยิ่งทำให้กาฬโรคระบาดไปถึงเมืองอื่นๆ ที่พวกเขาอพยพคนไข้เข้าไปอยู่

    ในสมุดบันทึกความจำที่บันทึกกันไว้ในสมัยนั้น กล่าวกันว่า กาฬโรคระบาดหนักที่สุดใน เมื่อเอ็กซ์ เมืองเอกของมณฑลโปรวองซ์ เจ้าหน้าที่จึงได้ส่งคนไปตามนอสตราดามุส เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1455 นอสตราดามุสได้เดินทางไปตามคำเรียกร้องของเจ้าหน้าที่และก็เป็นแพทย์เพียงผู้เดียวที่ไม่ยอมอพยพหนีไปอยู่ที่เมืองอื่น ตลอดระยะเวลาที่โรคยังระบาดในเมืองนี้ นอสตราดามุสทำงานอยู่ท่ามกลางคนป่วย โดยไม่ประหวั่นพรั่นพรึงอันตรายจากการติดเชื้อจากคนป่วย ให้การรักษาเยียวยาโดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยาก และได้แนะนำให้ประชาชนในเมืองเอ็กซ์พยายามอยู่ในที่ซึ่งมีอากาศบริสุทธิ์และดื่มแต่น้ำสะอาดเท่านั้น

    เมื่อนอสตราดามุสเดินทางไปถึงเมืองเอ็กซ์ใหม่ๆ นั้น ประชาชนต่างแสดงออกถึงความรู้สึกหมดอาลัยตายอยากในชีวิต เช่น ในกรณีของคนไข้หญิงรายหนึ่ง ได้จัดการเย็บถุงเตรียมเอาไว้ห่อศพของตัวเอง ด้วยเกรงว่าเมื่อตามแล้ว จะไม่มีใครเย็บให้ นอสตราดามุสได้บันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับการทำงานของเขาที่เมืองเอ็กซ์นี้ไว้ในหนังสือที่ชื่อว่า " Moultes Opuscules " โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบทที่ 8 ได้เขียนบรรยาย ถึงเหตุการณ์ในเมืองนี้โดยเฉพาะ

    13.คิดค้นสูตรยาป้องกันกาฬโรค

    นอสตราดามุสได้คิดค้นสูตรยาเม็ดป้องกันกาฬโรคขึ้นมาขนานหนึ่ง เรียกกันในสมัยนั้นว่า "ยาเม็ดดอกกุหลาบ" ยาขนานนี้ มีเครื่องปรุงประกอบด้วยสมุนไพรชนิดต่างๆ ดังต่อไปนี้

    <TABLE border=0><TBODY><TR><TD>ขี้เลื่อยจากต้นสนเขียว</TD><TD align=middle>1</TD><TD align=right>ออนซ์</TD></TR><TR><TD>ดอกไอรสเมองฟลอเรนซ์</TD><TD align=middle>1</TD><TD align=right>ออนซ์</TD></TR><TR><TD>กานพลู</TD><TD align=middle>3 </TD><TD align=right>ออนซ์</TD></TR><TR><TD>ว่านหางจระเข้</TD><TD align=middle>6</TD><TD align=right>แดร็ม</TD></TR><TR><TD>ว่านน้ำ</TD><TD align=middle>3</TD><TD align=right>แดร็ม</TD></TR><TR><TD>ดอกกุหลาบ</TD><TD align=middle>300/400</TD><TD align=right>ดอก</TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ในการปรุงยาขนานนี้ มีกรรมวิธีที่สลับซับซ้อน คือดอกกุหลาบที่จะนำมาใช้ปรุงยาจะต้องไปเก็บก่อนรุ่งอรุณเมื่อได้ดอกกุหลาบครบตามจำนวนแล้วก็นำไปให้คนป่วยเป็นโรคอมไว้ตลอดเวลา
    ในการปรุงยาขนานนี้ มีกรรมวิธีที่สลับซับซ้อน คือดอกกุหลาบที่จะนำมาใช้ปรุงยาจะต้องไปเก็บก่อนรุ่งอรุณเมื่อได้ดอกกุหลาบครบตามจำนวนแล้วก็นำโขลกให้ละเอียด นำไปคลุกเคล้ากับผงเครื่องปรุงสมุนไพรอีก 5 อย่างที่ได้บดไว้ และในตอนนี้ต้องระวังไม่ให้เครื่องปรุงยาถูกอากาศ จากนั้นก็นำเครื่องยาที่เคล้ากันดีแล้วไปปั้นเป็นลูกกลอน นำไปให้คนป่วยเป็นโรคอมไว้ตลอดเวลา


    นอสตราดามุสบรรยายสรรพคุณยาเม็ดดอกกุหลาบนี้ว่า นอกจากจะใช้ป้องกันกาฬโรคแล้ว ยังมีสรรพคุณใช้ระงับกลิ่นปากและกลิ่นเหม็นที่ออกมาพร้อมกับลมหายใจและก็ยังช่วยป้องกันโรคฟันผุไม่ให้ลุกลามได้อีกด้วย


    ที่นอสตราดามุสเข้าใจว่า คนเป็นกาฬโรคเพราะอยู่ในที่ซึ่งอากาศไม่บริสุทธิ์นั้น เป็นความเข้าใจที่ไม่ตรงกับการแพทย์สมัยใหม่ ซึ่งค้นพบว่า กาฬโรคโดยเฉพาะอย่างยิ่งชนิดที่ระบาดอยู่ในภาคใต้ของฝรั่งเศษ ในสมัยของนอสตราดามุสนั้น เป็นโรคที่ติดเชื้อมาจากหมัดหน


    อย่างไรก็ตาม นอสตราดามุสได้ชื่อว่า เป็นแพทย์ที่มีความสามารถเป็นเยี่ยมเหนือแพทย์คนอื่นๆ ที่สามารถพิชิตกาฬโรคลงได้อย่างราบคาบ เมื่อการระบาดของกาฬโรคยุติลงแล้ว ทางรัฐสภาเมืองเอ็กซ์สำนึกในคุณความดี จึงประชุมลงมติให้บำนาญตลอดชีวิตแก่เขา


    14. แต่งงานครั้งที่สอง

    หลังจากเมืองเอ็กซ์ปลอดจากกาฬโรคแล้ว นอสตราดามุสได้ออกเดินทางต่อไปที่เมืองซาลอง เมื่อไปถึงก็พบว่าเป็นเมืองที่ร่มรื่นน่าอยู่ จึงตัดสินใจที่จะใช้ชีวิตบั้นปลายอยู่ในเมืองนี้ แต่อยู่ได้ไม่ทันไร ทางเมืองลีอองส์ได้ส่งคนมาตามให้ไปช่วยรักษาโรคไอกรน ซึ่งระบายอย่างหนักในเมืองนี้ หลังจากปราบโรคไอกรนเสร็จแล้ว ก็กลับไปอยู่ที่เมืองซาลองอีกครั้งหนึ่ง


    การกลับไปเมืองซาลองครั้งนี้ นอสตราดามุสไม่ได้กลับไปตัวเปล่า ทว่ามีทรัพย์สินเงินทองติดตัวไปด้วยมากมาย ซึ่งเป็นทรัพย์สินเงินทองที่ประชาชนชาวเมืองลีอองส์มอบให้เขาด้วยเสน่หาและสำนึกในพระคุณที่รักษาโรคให้ ที่จริงแล้วทรัพย์สินเงินทองที่เขานำติดตัวไปเมืองซาลองนั้นเป็นส่วนที่เหลือจากที่ได้บริจาคให้แก่คนยากคนจนในเมืองลีอองส์ก่อนจะจากมา


    เรื่องราวเกี่ยวกับความโอบอ้อมอารีของนอสตราดามุสที่มีต่อคนยากจนเช่นนี้ แม้ว่าจะได้ข้อมูลมาจากตำนานที่เล่าขานสืบๆ กันมา แต่ก็มีเค้าประเด็นความจริงอยู่มากทีเดียว


    หลังจากกลับคืนสู่เมืองซาลองในครั้งหลังนี้แล้วนอสตราดามุสได้แต่งงานกับนางแอนน์ ป็องสาร์ท เกอเมลล์ เศรษฐินีหม้ายเมืองซาลองนั้นเอง ปัจจุบัน ทะเบียนสมรสของคนทั้งสองถูกเก็บไว้ที่หอจดหมายเหตุแห่งเมืองนี้


    ในทะเบียนระบุว่า แต่งงานกันเมื่อ ค.ศ. 1547 นายทะเบียนที่รับจดทะเบียนชื่อ นายเอเดียน โฮซีเอ ส่วนบ้านที่เคยพักอยู่กับครอบครัวในช่วงบั้นปลายของชีวิต ปัจจุบันยังอยู่ที่ ย่านปัวส์ซองเนอรี เมืองซาลอง


    ในระยะหลังๆ นี้ นอสตราดามุสใช้ชีวิตอยู่อย่างสงบส่วนใหญ่จะขลุกอยู่กับการผลิตเครื่องสำอางให้ภรรยาแม่หม้ายของเขาใช้ ซึ่งก็เป็นที่ติดอกติดใจของเธอมาก ดูเหมือนว่าในระยะนี้ จะไม่ได้ใช้ความรู้ทางด้านการแพทย์เพื่อรักษาเยียวยาคนไข้เหมือนในช่วงก่อน ๆ


    ยิ่งไปกว่านั้น ในช่วงนี้นอสตราดามุสเกิดไม่ถูกกับพวกคาบัง (Cabans) คนพื้นเมืองของซาลองที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิก พวกคาบังนี้เกิดขัดแย้งทางด้านศาสนากับพวก ฮอกือนอต์ (Houguenot ) ซึ่งเป็นพวกนับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์ ในระหว่างที่ทั้งสองฝ่ายเกิดขัดแย้งกันอยู่นี้ ทางฝ่ายคาบังโจมตีนอสตราดามุสว่าให้การสนับสนุนแก่พวกฮอกือนอต์ ซึ่งก็สร้างความลำบากใจให้แก่เขาอยู่ไม่น้อย


    15. เริ่มเขียนคำทำนายบันลือโลก

    ในช่วงเดียวกัน นอสตราดามุสได้สนอกสนใจในวิชาโหราศาสตร์มากเป็นพิเศษ และ พลังความสามารถในการล่วงรู้ถึงเหตุการณ์ในอนาคตของเขาก็คงจะมีอยู่ต่อไปเพราะว่าในปี ค.ศ. 1550 ปรากฏว่าเขาได้ตีพิมพ์หนังสือเล่มแรกในชีวิต มีชื่อว่า " ออลมาแน็ค (Almanac) " เป็นหนังสือเขียนเป็นคำ โคลงง่ายๆ ทำนายเกี่ยวกับสภาพดินฟ้าอากาศ พืชพันธุ์ธัญญาหาร และเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเมืองซาลอง


    หนังสือออลมาแน็คได้รับความนิยมในหมู่ของนักอ่านมาก มีการตีพิมพ์ออกมาทุกๆ ปี ในช่วงที่นอสตราดามุสยังมีชีวิตอยู่ มองซิเออ ลา กรัว ดือ เมน เขียนถึงหนังสือออลมาแน็คของนอสตราดามุสไว้เมื่อ ค.ศ. 1594 ว่า "ออลมาแน็คเป็นหนังสือที่ประชาชนให้ความเชื่อถือมากเหลือเกิน และเป็นหนังสือที่ขายดีมาก ถึงกับมีพวกมิจฉาชีพ ผู้ไม่มียางอาย ลอกเลียนแบบ แล้วอ้างว่าเป็นต้นฉบับของนอสตราดามุส "


    น่าจะเป็นเพราะผลแห่งความสำเร็จอย่างงดงามจากการกระทำของหนังสือออลมาแน็คนี่เอง ที่เป็นแรงผลักดันให้นอสตราดามุสหันไปจับงานเขียนหนังสือคำทำนายที่ยากขึ้นไปอีกเล่มหนึ่ง ชื่อ " Prophecies "


    นอกจากจะมุ่งมั่นบากบั่นอยู่กับงานเขียนหนังสือ " Prophecies " แล้ว ในช่วงเดียวกันนี้ นอสตราดามุสยังสนใจในงานสร้างสรรค์เพื่อสาธารณประโยชน์อื่นๆ ด้วย เช่น ได้สนับสนุน นายอาดัม เดอ ลา คราปอนน์ สถาปนิกและวิศวกรชาวซาลอง ให้ขุดคลองชลประทานเชื่อมแม่น้ำโรนกับแม่น้ำรังช์ เพื่อนำน้ำจากคลองแห่งนี้ไปแก้ปัญหาความแห้งแล้งในพื้นที่เพาะปลูกในอาณาบริเวณรอบๆ เมืองซาลอง


    นอสตราดามุสไม่เพียงแต่บริจาคเงินก้อนมหึมาเพื่อช่วยเหลือโครงการนี้เท่านั้น แต่ยังเป็นผู้ให้กำลังใจและให้คำแนะนำบางประการแก่นายคราปอนน์ตลอดเวลาอีกด้วยปัจจุบัน คลองส่งน้ำแห่งนี้ยังคงถูกใช้ประโยชน์ทางด้านการชลประทานอยู่จนตราบเท่าทุกวันนี้


    นอสตราดามุสกล่าวไว้ในหนังสือ " Prophecies " ว่า เขาได้ทำการดังแปลงห้องๆ หนึ่ง ที่ชั้นบนสุดในบ้านที่เมืองซาลอง ให้เป็นห้องศึกษาค้นคว้าตำราทางไสยศาสตร์โดยจะเข้าไปนั่งอยู่ในห้องนี้ตามลำพังในตอนกลางคืน


    นอสตราดามุสเปิดเผยในหนังสืออีกเล่มหนึ่งว่า ได้เผาตำราทางไสยศาสตร์หลายต่อหลายเล่มทิ้งในทันทีที่ได้ศึกษาค้นคว้าเสร็จ จึงทำให้เกิดความสงสัยกันว่า เพราะเหตุใดคนที่เป็นนักปราชญ์อย่างเขาจึงไม่รักและเสียดายหนังสือดีๆ เหล่านี้ เหตุผลสำคัญที่ต้องเผาตำรับตำราทางไสยศาสตร์เหล่านี้ทิ้ง ก็เพราะเกรงกลัวว่า เจ้าหน้าที่ของฝ่ายศาสนจักรคาทอลิก อาจจะเข้ามาตรวจค้นภายในบ้านแล้วพบตำราต้องห้ามเหล่านั้นเข้า


    ตำราสำคัญเล่มหนึ่ง ที่นอสตราดามุสนำมาใช้ศึกษาค้นคว้าทางไสยศาสตร์ คือ หนังสือชื่อ " De Mysterils Egyptorum " พิมพ์ที่เมืองลีอองส์ เมื่อ ค.ศ.1547


    16. ได้ศิษย์เอก

    ในปี ค.ศ. 1554 นอสตราดามุสได้บุคคลสำคัญคนหนึ่งมาเป็นศิษย์เอก ชื่อ ดร. ฌอง-เอเมอส์ เดอ ชาวิญญี ดร.ผู้นี้เคยดำรงตำแหน่งสำคัญ คือ เป็นถึงนายกเทศมนตรีเมืองโบน แต่ยอมสละตำแหน่งอันทรงเกียรติออกมาเป็นศิษย์ของเขา เพียงเพื่อต้องการศึกษาวิชาโหราศาสตร์และดาราศาสตร์


    เมื่อมารสมัครเป็นศิษย์ของนอสตราดามุสนั้น ดร. ชาวิญญีมีอายุเพียง 30 ปี แต่เป็นผู้มีคุณวุฒิทางการศึกษาสูงเด่นมาก คือ สำเร็จปริญญาเอกถึงสองสาขา ได้แก่ สาขาเทววิทยา และสาขานิติศาสตร์ ซึ่งคนที่ยังหนุ่มแน่นและมีความรู้สูงอย่างนี้ หากให้ทำงานอยู่ต่อไปเรื่อยๆ ก็เป็นที่หวังได้ว่าอนาคตจะต้องรุ่งโรจน์ก้าวไปได้มาก แต่เขากลับยอมเสียสละทุกสิ่งทุกอย่าง เพื่อประสงค์เพียงต้องการสนองความอยากรู้อยากเห็นของตนเท่านั้น


    สาเหตุที่ ดร.ชาวิญญี ตัดสินใจมอบตัวเป็นศิษย์ขงนอสตราดามุส ก็เพราะได้แรงกระตุ้นมาจากคำพูดของกวีประจำราชสำนักผู้หนึ่ง ชื่อ ฌอง เดอร่าต์ ซึ่งเป็นบุคคลที่เลื่อมใสศรัทธาในผลงานของนอสตราดามุสในผลงานของนอสตราดามุสเป็นอย่างมาก กวี ฌอง เป็นระดับปัญญาชนคนหนึ่งในสมัยนั้นซึ่งนอกจากจะเป็นกวีประจำราชสำนักแล้วก็ยังดำรงตำแหน่งเป็น ศาสตราจารย์สาขาวิชาภาษากรีกประจำอยู่ที่วิทยาลัย กอลแลช เดอ ฟรังซ์ อีกด้วย


    ดร.ชาวิญญี เป็นตัวอย่างของศิษย์ที่มีความกตัญญูกตเวทีต่ออาจารย์หลังจากที่นอสตราดามุสเสียชีวิตไปแล้ว ดร.ชาวิญญีก็ไม่เคยลืมบุญคุณ เข้าได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับอาจารย์ไว้หลายเล่ม นอกจากนั้น ก็ยังทำหน้าที่เป็นบรรณาธิการเรียบเรียงหนังสือคำทำนาย ชื่อ " Prophecies " ซึ่งตีพิมพ์เป็นฉบับสมบูรณ์เป็นครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1568


    นับตังแต่ประสบผลสำเร็จอย่างงดงามจากการเขียนหนังสือ " ออลมาแน็ค " ดังกล่าวมาข้างต้นนั้นแล้ว เขาได้เริ่มจับงานเขียนด้านอื่นๆ ต่อไปอย่างไม่หยุดหยั่ง เป็นต้นว่างานเขียนสูตรยารักษาคนไข้และสูตรเครื่องสำอางต่างๆ รวมทั้งได้ตีพิมพ์หนังสือ " Horus Apollo " ที่แปลจากภาษากรีกเป็นภาษาฝรั่งเศษ จนในที่สุด เมื่อปี ค.ศ. 1552 ก็ได้พิมพ์หนังสืออีกเล่มหนึ่ง ชื่อ " Traite des Pardemens "


    เมื่อถึงปี ค.ศ. 1554 นอสตราดามุสได้ญาณพิเศษสามารถล่วงรู้ว่าจะเกิดยุคเข็ญในทวีปยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฝรั่งเศษ มิหน่ำซ้ำก็ยังเกิดอาเพศหลายอย่างเป็นลางบอกเหตุว่าสิ่งที่เขารู้เห็นด้วยญาณพิเศษนี้จะต้องเกิดขึ้นจริง ดังที่ ซีซาร์บุตรชายของนอสตราดามุส เขียนไว้ตอนหนึ่งในหนังสือ " Histoire de Provence"ว่า


    "ในปี ค.ศ.1554 มีเหตุอาเพศหลายอย่างอุบัติขึ้นเป็นลางร้ายในประเทศฝรั่งเศษ ที่สำคัญ ก็คือ บรรดาทารกที่เกิดใหม่มีร่างกายพิกลพิการ เช่น ในปลายเดือนมกราคมของปีนี้ ที่เมืองเซนาส์มีทารกคนหนึ่งเกิดมามีร่างกายประหลาด เป็นเด็กสองหัว หน้าตาน่าเกลียดน่ากลัว ราวกับเป็นลูกปิศาจมาเกิด บรรดาโหรผู้เชี่ยวชาญในการทำนายทายทักเหตุการณ์ในอนาคต เมื่อเห็นทารกร่างกายประหลาดคนนี้ ต่างก็ทำนายตรงกันว่า จะมีเหตุเภทภัยเกิดกับประเทศฝรั่งเศส นอกจากมีเด็กประหลาดเกิดที่เมืองเซนาส์แล้วอีก 6 สัปดาห์ต่อมาที่บริเวณใกล้ๆ เมืองซาลอง ก็ยังมีแม่ม้าตัวหนึ่งตกลูกออกมาเป็นสัตว์ประหลาดมีหัวสองหัว จากการที่มีมนุษย์และสัตว์ประหลาดเกิดมาเช่นนี้ นอสตราดามุสได้ประมวลเหตุการณ์แล้วทำนายว่า จะเกิดปัญหาการแตกแยกครั้งร้ายแรงในประเทศฝรั่งเศษในอนาคต"


    ในกาลต่อมา ปรากฏว่า คำทำนายของนอสตราดามุสเป็นจริง คือ ประชาชนฝรั่งเศษเกิดการแตกแยกกัน เนื่องจากปัญหาความขัดแย้งทางด้านศาสนา จนกระทั่งเกิดสงครามกลางเมืองถึงสามครั้ง ก่อนที่ พระเจ้าฮังรี เดอนาวาร์เรอ จะเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นกษัตริย์ฝรั่งเศษต่อจากราชวงศ์ใหม่เข้าปกครองประเทศฝรั่งเศษ


    ในช่วงที่เกิดอาเพศมีมนุษย์และสัตว์ประหลาดมาเกิด นอสตราดามุสอยู่ในระหว่างเขียนหนังสือคำทำนายชื่อ "Prophecies" ซึ่งมีคำทำนายเหตุการณ์ต่างๆ ที่จะอุบัติขึ้นในโลกในแต่ละยุคสมัย จวบจนกระทั่งถึงวันอวสานของโลก


    ดร. ชาวิญญี ได้เขียนถึงหนังสือคำทำนายเล่มนี้ว่า

    "นอสตราดามุสเขียนคำทำนายเหตุการณ์ของโลกเสร็จแล้วก็เก็บเอาไว้ ยังไม่ยอมตีพิมพ์ออกเผยแพร่เพราะเห็นว่าเนื้อหาสาระในคำทำนายจะกระทบกระเทือนต่อผู้อื่น แต่ในที่สุดมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะสงเคราะห์ต่อชาวโลก จึงได้ตีพิมพ์ออกสู่สายตาของสาธารณชน ผลที่ออกมา ก็คือ คำทำนายเหล่านี้เกิดโด่งดังขึ้นมา จนเป็นที่ขึ้นชื่อลือชา โจษขานและพูดกันติดปากในหมู่ประชาชนชาวฝรั่งเศษและชาวต่างประเทศ "


    หนังสือคำทำนาย " Prophecies " เริ่มตีพิมพ์เป็นครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1555 ที่เมืองลีอองส์ ประเทศฝรั่งเศษเป็นฉบับที่พิมพ์ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ แบ่งคำทำนายออกเป็นหมวดๆ เรียกว่า เซ็นจูรี (Century) ที่มีครั้งหนึ่งร้อยบท เซ็นจูรีที่ 1 เซ็นจูรีที่2 เซ็นจูรีที่ 3 ส่วนในเซ็นจูรีที่ 4 มีเพียง 53 บท ในฉบับที่พิมพ์ครั้งแรกนี้ นอสตราดามุสเขียนคำอุทิศความดีของหนังสือให้แก่ซีซาร์บุตรชายหัวแก้วหัวแหวนของเขา


    ต่อมาเมื่อปี ค.ศ.1557 ได้ตีพิมพ์หนังสือเล่มนี้อีกครั้งหนึ่ง โดยเพิ่มคำทำนายลงไปในเซ็นจูรีที่ 4 จนครบบริบูรณ์ และมีการเพิ่ม เซ็นจูรีที่ 5 เซ็นจูรี่ 7 พิมพ์ลงในเล่มด้วย เฉพาะเซ็นจูรี่ที่ 7 เท่านั้นที่มีคำทำนายยังไม่ครบสมบูรณ์


    ที่ใช้คำว่า " เซ็นจูรี " นั้น ไม่ได้มีความหมายว่า " ร้อยปีหรือศตวรรษ " อย่างภาษาที่เข้าใจกันในปัจจุบัน ทว่าเป็นการเรียกคำโคลงคำทำนายที่แยกออกไปเป็นกลุ่ม กลุ่มละร้อยคำโคลง ร้อยคำโคลงจัดเป็นหนึ่งเซ็นจูรี นอสตราดามุสตั้งใจไว้ว่าเขียนให้ครบ 10 เซ็นจูรีซึ่งก็จะทำให้คำทำนายรวมทั้งสิ้น 1,000 บท แต่ด้วยเหตุผลกลใดไม่ทราบ จึงไม่ยอมเขียนเซ็นจูรีที่ 7 ให้จบสมบูรณ์ ปล่อยให้คาราคาซังอยู่เช่นนั้น และมีหลักฐานจากที่ต่างๆ ระบุว่า เขาตั้งใจเริ่มเขียนเซ็นจูรีที่ 11 และเซ็นจูรีที่ 12 ต่อไป แต่มาเสียชีวิตลงไปก่อน


    คำโคลงต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ในคำทำนาย เขียนโดยวิธีวางตัวอักษรสลับที่ปนเปกันไปจนยุ่งเหยิง ภาษาที่ใช้เขียนคำโคลงก็มีหลายภาษา คือ ภาษาฝรั่งเศษ ภาษาพื้นเมืองของมณฑลโปรวองซ์ ภาษาอิตาเลียน เป็นต้น และได้หาทางป้องกันอันตรายจากการถูกกล่าวหาว่าเป็นนักไสยศาสตร์จากฝ่ายศาสนจักรคาทอลิก โดยการเขียนคำทำนายให้สับจน จนยากที่จะจับต้นชนปลายได้


    <HR align=center width="80%" SIZE=2>
     
  2. น้องไข่แมงสาบ

    น้องไข่แมงสาบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    420
    ค่าพลัง:
    +501
    ชอบค่ะ ได้รู้ชีวิตอีกหลายมุมของนอสตราดามุส
     

แชร์หน้านี้

Loading...