ชาวฟ้าดาวดึงส์.....ธรรมานุสรณ์ 2.

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย เมเฆนทร์, 20 กุมภาพันธ์ 2011.

  1. เมเฆนทร์

    เมเฆนทร์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    179
    ค่าพลัง:
    +53
    อธิบาย......สูตรเว่ยหล่าง. <O:p</O:p

    เว่ยหล่าง เป็นพระอรหันต์ในยุค 1200 กว่าปีที่ผ่านมา ท่านดำรงตำแหน่งสังฆปรินายกองค์ที่ 6 แห่งนิกายเซน ท่านเป็นมหาโพธิสัตว์ที่มาทำหน้าที่ส่วนหนึ่งในการต่ออายุพระพุทธศาสนา ได้อย่างสมภูมิธรรมของท่าน.<O:p></O:p>
    เว่ยหล่าง เป็นชายผู้ไม่รู้หนังสือ อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ แต่ท่านสามารถฟังธรรมและวิเคราะห์ธรรมที่พระพุทธองค์ประกาศไว้ได้อย่างถูกต้องและตรงประเด็น ถือว่าท่านเป็นอริยสงฆ์ที่เด่นทางด้านปฏิสัมภิทาญาณมาก ท่านสามารถอธิบายธรรมที่ยากให้สามารถเข้าใจได้ง่าย.<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    1.มีอยู่วันหนึ่ง พระสังฆปรินายกองค์ที่ 5 ได้เรียกประชุมบรรดาศิษย์ทั้งหมด เพื่อให้ทุกคนเขียนโศลก ว่าด้วยเรื่อง จิตเดิมแท้........โดยผู้ใดเข้าใจได้ถูกต้องว่า จิตเดิมแท้นั้นเป็นอย่างไร ผู้นั้นจะได้รับมอบผ้ากาสาวพัตร(อันเป็นเครื่องหมายตำแหน่งพระสังฆปรินายก) และจะถูกสถาปนาผู้นั้นเป็นสังฆปรินายกองค์ที่หก แห่งนิกายเซน <O:p</O:p
    ชินเชา ภิกษุผู้เป็นเชฏฐอันเตวาสิก ผู้มีอายุกาลพรรษามากที่สุดในบรรดาลูกศิษย์ของสังฆปรินายกองค์ที่ห้าได้พยายามแต่งโศลกขึ้น มีข้อความดังนี้<O:p</O:p

    “กายของเราคือต้นโพธิ์<O:p</O:p
    ใจของเราคือกระจกเงาอันใส<O:p</O:p
    เราเช็ดมันโดยระมัดระวังทุกๆชั่วโมง<O:p</O:p
    และไม่ยอมให้ฝุ่นละอองลงจับ”<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    แต่สังฆปรินายกได้ทราบก่อนอยู่แล้วว่า ชินเชาผู้นี้”ยังไม่ไม่ได้ก้าวเข้าไปในประตูแห่งการตรัสรู้ และเขายังไม่ซึมทราบในจิตเดิมแท้<O:p</O:p
    อธิบาย...........ดูผิวเผิน ชินเชาผู้นี้น่าจะเป็นภิกษุที่เก่งทางด้านภาวนา เพราะท่านคอยตามรู้ตามดูกายและจิตของท่าน ท่านมีความเพียรมีความสำรวมระมัดระวัง เพื่อไม่ให้จิตของท่านเศร้าหมองไปด้วยกิเลสมลทิน<O:p</O:p
    แต่แท้จริงแล้วท่านชินเชาเองกลับเป็นผู้อ่อนด้อยทางด้านภาวนาในสายตาของสังฆปรินายกองค์ที่ห้า <O:p</O:p
    เพราะท่านเองยังไม่เข้าใจในหลักธรรมอันเป็นธรรมชาตินั่นเอง<O:p</O:p
    การที่ชินเชาคิดว่า กายคืออะไร ใจของเราคืออะไรและต้องเช็ดมันทุกๆชั่วโมงเพื่อไม่ให้เกิดกิเลสนั้น การคิดแบบนี้ทุกๆขณะที่ชินเชาเข้าใจเองว่าเป็นการปฏิบัติธรรม ความคิดแบบนี้ก็เป็นจิตปรุงแต่งชนิดหนึ่ง<O:p</O:p

    เป็นการใช้จิตปรุงแต่งในธรรม เป็นการใช้จิตปรุงแต่งเพื่อเข้าไปบัญญัติว่าอะไรคืออะไร นี่คือกายนะ นี่คือจิตนะ นี่คือความเพียรนะ นี่คือความสำรวมระมัดระวังนะ นี่คือผลแห่งการภาวนานะว่าจิตเราปราศจากกิเลส.......<O:p</O:p
    ในขณะที่จิตปรุงแต่งแบบนี้ตลอดเวลา โดยเนื้อหาแห่งธรรมแล้วมันจะทำให้มรรคอันแท้จริงหายไป แต่กลายเป็นการเจริญอวิชชาตัณหาอุปาทานแทน <O:p</O:p

    อุปมาเหมือนกับว่า...เป็นการใช้ความปรุงแต่งเพื่อหานิพพานซึ่งเป็นสภาวะธรรมชาติอันปรุงแต่งไม่ได้<O:p</O:p
    ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ ให้ปฏิบัติแบบนี้อีก 100 กัป ก็ไม่สามารถบรรลุธรรมได้เลย<O:p</O:p
    เป็นการใช้ความมีความเป็นในจิต เพื่อหาความไม่มีไม่เป็นในจิต เป็นการใช้อัตตา(ความมีตัวมีตน)เพื่อหาอนัตตา(ความไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน).....ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว.<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ชินเชาใช้จิตปรุงแต่งเพื่อสร้าง ”ธรรมธาตุแห่งการสำรวมระวัง” ขึ้นมาทุกๆชั่วโมง<O:p</O:p
    นี่ก็เป็นการเข้าใจผิดอย่างมหันต์....<O:p</O:p
    โดยหลักธรรมชาติแห่งธรรมนั้น การที่ ”หันเห” วิถีแห่งจิตซึ่งประกอบไปด้วยอวิชชาตัณหาอุปาทานด้วยความเข้าใจโดยปราศจากความลังเลสงสัยในธรรมทั้งปวงนั้น ”ไปสู่” วิถีแห่งจิตอันว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน ตรงนี้ เป็นการสำรวมระวัง เป็นการระมัดระวัง อยู่แล้วในตัว เป็นความเพียรโดยชอบอยู่แล้ว เป็นความบริบูรณ์แห่งธรรมไปในตัวอยู่แล้ว อันก่อให้เกิดมรรคอันแท้จริง..........<O:p</O:p
    เพียงแค่ ภิกษุชินเชา ไม่เข้าไปเนื่อง ไม่เข้าไปเนิ่นช้า ในความคิดที่ว่า กายของเราคือต้นโพธิ์ ใจของเราคือกระจกอันเงาใส .................เมื่อไม่เข้าไปเนื่อง เมื่อไม่เข้าไปเนิ่นช้า ความคิดนั้นก็ดับไป<O:p</O:p
    จิตปรุงแต่งชนิดนั้นก็ดับไปเอง เป็นการดับไปแบบวิถีทางธรรมชาติของมันเองอยู่แล้ว ไม่มีตัวตนเราเข้าไปบังคับให้มันดับให้มันไม่เที่ยง <O:p</O:p
    และไม่ใช่การยอมหรือไม่ยอม ที่จะไม่ให้ฝุ่นละอองหรือกิเลสอันเป็นอวิชชาตัณหาอุปาทานลงมาจับ......ตามที่ภิกษุชินเชาเข้าใจ<O:p</O:p
    หลักตามกฎธรรมชาติ ทุกสรรพสิ่งย่อมไม่เที่ยงแท้แน่นอนอยู่แล้วโดยสภาพมันเอง มันไม่เที่ยงอยู่แล้ว<O:p</O:p
    การไม่ยอมที่จะไม่ให้อะไรมาจับกับสิ่งใดเพื่อที่จะบรรลุธรรม จึง เป็นการกระทำที่ขวางธรรมชาติอย่างสิ้นเชิง <O:p
    “การไม่เข้าไปเนื่องไม่เข้าไปเนิ่นช้าในความคิดทั้งปวงนั้น เป็นการไม่ยอมให้ฝุ่นละอองคือกิเลสลงมาจับจิตใจโดยระบบธรรมชาติอยู่แล้ว เป็นการไม่ยอมโดยสภาพธรรมเองอยู่แล้ว”<O:p</O:p
    การไม่ยอม แบบภิกษุชินเชาเป็นการไม่ยอมแบบมีอวิชชาตัณหาอุปาทานเข้าไปไม่ยอม<O:p</O:p

    ภิกษุชินเชาจึงเป็นผู้ที่ยังไม่บรรลุธรรมอันใดเลย เพราะยังมีความลังเลสงสัยในธรรมทั้งปวงอยู่.<O:p</O:p
    2.พระสังฆปรินายกกล่าวว่า ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย เมื่อเราใช้ปัญญาของเราในการเพ่งพิจารณาในภายใน เราย่อมมีความสว่างแจ่มแจ้ง ทั้งภายในและภายนอก และเราอยู่ในฐานะที่จะรู้จักใจของเราเอง การรู้จักใจของเราเองก็คือการลุถึงวิมุติ(การหลุดเป็นอิสระ) การลุถึงวิมุติ ก็คือการลุถึงสมาธิฝ่ายปัญญา ซึ่งเป็นความไม่ต้องคิด “ความไม่ต้องคิด”คืออะไร?ความไม่ต้องคิด คือการเห็นและการรู้สิ่งทั้งหลายทั้งปวง(ตามที่เป็นจริง) ด้วยใจที่ไม่มีอะไรห่อหุ้มพัวพัน,เมื่อเราใช้มัน มันแทรกเข้าไปได้ในทุกสิ่งแต่ไม่ติดแจอยู่ในสิ่งใดเลย สิ่งที่เราต้องทำนั้นมีเพียงการชำระจิตใจให้ใสกระจ่าง เพื่อวิญญาณทั้งหกเมื่อแล่นไปตามอายตนะทั้งหก จะไม่ถูกทำให้เศร้าหมองโดยอารมณ์ทั้งหก เมื่อใดใจของเราทำหน้าที่ของมันได้โดยอิสระ ปราศจากอุปสรรค และอยู่ในสถานะที่จะ”มา”หรือ”ไป” ได้โดยอิสระ เมื่อนั้นชื่อว่าเราได้บรรลุสมาธิฝ่ายปัญญา หรืออิสรภาพ สถานะเช่นนี้มีนามว่า การทำหน้าที่ของ”ความไม่คิด”................แต่ว่า การหักห้ามความคิดถึงสิ่งใดๆให้ความคิดทั้งหมดถูกกดเอาไว้ ย่อมเป็นการกดธรรมะไว้(ไม่ให้ปรากฏหรือเป็นไปตามที่ควรจะเป็นไป) และข้อนี้ย่อมเป็นความเห็นผิด.<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    อธิบาย............คำกล่าวของเว่ยหล่างตรงกับที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ในกุณฑลิยสูตร<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    กุณฑลิยสูตรมีเนื้อความว่า.........

    ตถาคตมีวิชชาและวิมุติเป็นผลานิสงส์

    [๓๙๔] สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอัญชนมฤคทายวัน ใกล้เมืองสาเกต ครั้งนั้นแลกุณฑลิยปริพาชกเข้าไป<O:p</O:p
    เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญข้าพเจ้าเที่ยวไปในอาราม เข้าไปสู่บริษัท เมื่อข้าพเจ้าบริโภคอาหารเช้าแล้วในเวลาปัจฉาภัต ข้าพเจ้าเดินไปเนืองๆ เที่ยวไปเนืองๆ สู่อารามจากอารามสู่อุทยานจากอุทยาน ณ ที่นั้น ข้าพเจ้าเห็นสมณพราหมณ์พวกหนึ่งกำลังกล่าวถ้อยคำมีวาทะและการเปลื้องวาทะว่าดังนี้เป็นอานิสงส์และมีความขุ่นเคืองเป็นอานิสงส์ ส่วนท่านพระโคดมมีอะไรเป็นอานิสงส์อยู่เล่า? พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรกุณฑลิยะตถาคตมีวิชชาและวิมุติเป็นผลานิสงส์อยู่.

    [๓๙๕] ก.ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญ ก็ธรรมเหล่าไหนที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมยังวิชชาและวิมุติให้บริบูรณ์?

    พ. ดูกรกุณฑลิยะ โพชฌงค์ ๗อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิชชาและวิมุติให้บริบูรณ์.

    ก.ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญ ก็ธรรมเหล่าไหนที่บุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้วย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์?

    พ. ดูกรกุณฑลิยะ สติปัฏฐานอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์.

    ก.ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญ ก็ธรรมเหล่าไหนที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์?

    พ. ดูกรกุณฑลิยะ สุจริต ๓อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์.
    [สุจริต3 คือกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต]

    <O:p</O:pก. ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญก็ธรรมเหล่าไหนที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสุจริต ๓ให้บริบูรณ์?

    [๓๙๖] พ. ดูกรกุณฑลิยะ อินทรีย์สังวรอันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์ อินทรีย์สังวรอันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์? <O:p</O:p
    ดูกรกุณฑลิยะภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปที่ชอบใจด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่ยินดี ไม่ขึ้งเคียดไม่ยังความกำหนัดให้เกิด และกายของเธอก็คงที่ จิตก็คงที่ มั่นคงดีในภายในหลุดพ้นดีแล้ว อนึ่ง เธอเห็นรูปที่ไม่ชอบใจด้วยจักษุแล้ว ก็ไม่เก้อไม่มีจิตตั้งอยู่ด้วยอำนาจกิเลส ไม่เสียใจ มีจิตไม่พยาบาท และกายของเธอก็คงที่จิตก็คงที่ มั่นคงดี ในภายใน หลุดพ้นดีแล้ว.

    อีกประการหนึ่งภิกษุฟังเสียงด้วยหู ฯลฯ ดมกลิ่นด้วยจมูก ฯลฯ ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ที่ชอบใจ ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่ยินดีไม่ขึ้งเคียด ไม่ยังความกำหนัดให้เกิด และกายของเธอก็คงที่ จิตก็คงที่มั่นคง<O:p</O:p
    ดีในภายใน หลุดพ้นดีแล้ว อนึ่ง เธอรู้ธรรมารมณ์ ที่ไม่ชอบใจด้วยใจแล้วไม่เก้อ ไม่มีจิตตั้งอยู่ด้วยอำนาจกิเลส ไม่เสียใจ มีจิตไม่พยาบาทและกายของเธอก็คงที่ จิตก็คงที่ มั่นคงดีในภายใน หลุดพ้นดีแล้ว.<O:p</O:p
    ...............................................................................................<O:p</O:p
    แปลได้ว่า สติปัฏฐาน ๔อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์. และ โพชฌงค์ ๗อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิชชาและวิมุติให้บริบูรณ์. เมื่อวิมุติบริบูรณ์ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าวิมุติแล้ว (วิมุติญาณทัสสนะ)................... และนี่คือเส้นทาง ธรรมอันคือธรรมชาติ...................<O:p</O:p
    และนี่คือเส้นทางแห่งความไม่ต้องคิด...........และนี่คือเส้นทางธรรมชาติอันปรุงแต่งไม่ได้<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    “อวิชชา(ความไม่รู้) ต้องแก้ด้วย ธรรมชาติอันปรุงแต่งไม่ได้”<O:p</O:p
    อวิชชา ถูกแก้ไขด้วยสติปัฏฐาน-โพชฌงค์-วิชชา-วิมุติ-วิมุติญาณทัสสนะ<O:p</O:p
    สติปัฏฐาน-โพชฌงค์-วิชชา-วิมุติ-วิมุติญาณทัสสนะ = ธรรมชาติอันปรุงแต่งไม่ได้<O:p</O:p

    การเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วซึ่งสติปัฏฐาน ๔= เส้นทาง ธรรมอันคือธรรมชาติ นั่นเอง<O:p</O:p
    ไม่ใช่เป็นการปรุงแต่งเพื่อให้มีเราเข้าไปเจริญ ไม่ใช่เป็นการปรุงแต่งเพื่อให้มีเราเข้าไปกระทำให้มาก<O:p
    การเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว = ความมุ่งไปสู่สภาพธรรมชาติที่มันดับโดยตัวมันเองอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นจิตชนิดใดๆ...........*****<O:p</O:p

    <O:p</O:p
    ในหมวดจิตตานุปัสสนา <O:p</O:p
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆอยู่.<O:p</O:p
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อนึ่ง<O:p</O:p
    จิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีราคะ หรือ จิตไม่มีราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตไม่มีราคะ<O:p</O:p
    จิตมีโทสะ ก็รู้ชัดว่าจิตมีโทสะ หรือ จิตไม่มีโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตไม่มีโทสะ<O:p</O:p
    จิตมีโมหะ ก็รู้ชัดว่าจิตมีโมหะ หรือ จิตไม่มีโมหะ ก็รู้ชัดว่าจิตไม่มีโมหะ <O:p</O:p
    จิตหดหู่ ก็รู้ชัดว่า จิตหดหู่ หรือ จิตไม่หดหู่ ก็รู้ชัดว่าจิตไม่หดหู่ <O:p</O:p
    จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่า จิตฟุ้งซ่าน <O:p</O:p
    จิตเป็นมหรคต(คือถึงความเป็นใหญ่) ก็รู้ชัดว่า จิตเป็นมหรคต <O:p</O:p
    จิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ชัดว่า จิตไม่เป็นมหรคต<O:p</O:p
    ............................................................................................<O:p</O:p
    ............................................................................................<O:p</O:p
    จิตวิมุติ(หลุดพ้น) ก็รู้ชัดว่า จิตวิมุติ(หลุดพ้น)<O:p</O:p
    จิตยังไม่วิมุติ(ไม่หลุดพ้น) ก็รู้ชัดว่า จิตยังไม่วิมุติ(ไม่หลุดพ้น)<O:p</O:p
    ................ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตเป็นภายในบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตเป็นภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิต ทั้งภายในภายนอกบ้าง ........ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในจิตบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมไปในจิตบ้าง .............. ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า จิตมีอยู่ แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก. เธอย่อมเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย ย่อมไม่ยึดถืออะไรๆในโลกด้วย.<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    จะขออธิบายเรื่องสติปัฏฐาน ดังนี้<O:p</O:p
    สติปัฏฐาน แปลว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ อันประกอบไปด้วยธรรม 4 ประการ<O:p</O:p
    คือ พิจารณาเห็นกายในกาย พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา พิจารณาเห็นจิตในจิต พิจารณาเห็นธรรมในธรรม ..............<O:p</O:p
    ธรรมอันว่าด้วยสติปัฏฐานนี้ พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ในคราวที่ท่านได้เสด็จประทับอยู่ในหมู่ชนชาวกุรุ ในนิคมที่ชื่อว่า กัมมาสทัมมะ <O:p</O:p
    ท่านได้ตรัสธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสตินี้ แบ่งเป็นหมวดหมู่เพื่อให้ดูง่ายต่อการศึกษาและเหมาะสมแก่ลักษณะอุปนิสัยของชาวกุรุ <O:p</O:p
    <O:p</O:pตรงนี้ก็เป็นข้อยืนยันอย่างหนึ่ง ว่าเมื่อหันเหวิถีแห่งจิตที่ปรุงแต่ง ไปสู่วิถีแห่งจิตอันว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนด้วยความเข้าใจในธรรม ความบริบูรณ์ในธรรมหรืออินทรีย์แห่งธรรมย่อมเกิดขึ้น<O:p</O:p
    ยกตัวอย่างเช่น <O:p</O:p
    จิตมีโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีโทสะ..................จิตไม่มีโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตไม่มีโทสะ<O:p</O:p
    จิตมีโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีโทสะ......<O:p</O:p
    ก็รู้ชัด หมายถึง สติ ที่ทำให้ไม่เข้าไปเนื่อง ไม่เข้าไปเนิ่นช้า ในความคิดอันเป็นโทสะนั้น <O:p</O:p
    เมื่อไม่เข้าไปเนื่อง ไม่เข้าไปเนิ่นช้า จิตที่ปรุงแต่งเกี่ยวกับโทสะก็ดับไป <O:p</O:p
    เป็นการดับไปเองอยู่แล้ว ตามหลักธรรมชาติ ****************<O:p</O:p

    การดับไปของจิตตามธรรมชาติ ก่อให้เกิดอินทรีย์แห่งธรรมไปในตัว ก็คือโพชฌงค์ธรรม 7 ประการ<O:p</O:p
    คือ 1.สติ<O:p</O:p
    2.ธัมมวิจยะ คือ ความเลือกเฟ้นธรรม<O:p</O:p
    3.วิริยะ คือ ความเพียร<O:p</O:p
    4.ปีติคือ ความปลื้มใจ<O:p
    5.ปัสสัทธิ คือ ความสงบใจสงบจิต<O:p</O:p
    6.สมาธิ <O:p</O:p
    7.อุเบกขา คือ ความเป็นกลางซึ่งตรงต่อสัจจะธรรม ความเป็นกลางในธรรมชาติแห่งธรรม<O:p</O:p
    การดับไปของจิตตามธรรมชาติ ก่อให้เกิดอินทรีย์แห่งธรรมไปในตัว สมดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า “สติปัฏฐาน ๔อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์.” <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ธรรมโพชฌงค์+การแสดงทางกาย วาจา ที่เหมาะสมในทุกที่และทุกทาง(สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวาจา)= มรรคมีองค์ 8<O:p</O:p

    <O:p</O:p
    ในเส้นทางหลุดพ้น ในเส้นทางแห่งอริยชนทั้งหลายตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหันตผลนั้น อริยชนเหล่านั้นย่อมเข้าใจและรู้ว่า “ธรรมปรุงแต่งอันหยาบปราณีต เลว ดีงาม ล้วนไม่เที่ยงแท้ ย่อมดับไป “<O:p</O:p
    ตามกฎธรรมชาติแห่งธรรม<O:p</O:p
    การพิจารณา เป็นการศึกษาและทำความเข้าใจว่าอะไรคืออะไร เพื่อขจัดความลังเลสงสัยในธรรมทั้งปวง<O:p</O:p
    แต่เมื่อมีความรู้ชัดแจ้งในกระบวนการแห่งธรรมแล้ว อริยชนทั้งหลายก็ควรจะปล่อยทุกอย่างให้ดำเนินไปตามกระบวนการแห่งธรรมทั้งปวงนั้นอันเป็นธรรมแห่งธรรมชาติ <O:p</O:p
    ในขณะที่โพชฌงค์ธรรมเกิดขึ้นแล้วและยังไม่บริบูรณ์ ตรงนี้พระพุทธองค์ตรัสว่า ”เป็นการคลายกำหนัด”<O:p</O:p

    <O:p</O:p
    และที่พระพุทธองค์ตรัสว่า.........”โพชฌงค์ ๗อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิชชาและวิมุติให้บริบูรณ์.<O:p</O:p
    แปลว่า เมื่อโพชฌงค์บริบูรณ์ ย่อมยังวิชชาและวิมุติให้บริบูรณ์ด้วยเช่นกัน เป็นธรรมที่เนื่องซึ่งกันและกัน<O:p</O:p
    <O:p</O:p<O:p</O:p
    ข้าพเจ้าเคยสนทนาธรรมกับภิกษุรูปหนึ่งซึ่งปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ.....<O:p</O:p
    ข้าพเจ้าถามว่า ท่านบรรลุธรรมอะไรแล้ว ภิกษุรูปนั้นตอบว่าท่านบรรลุธรรมชั้นอรหันตผล<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ข้าพเจ้าถามอีกว่า ท่านปฏิบัติธรรมตามแนวทางอย่างไร<O:p</O:p
    ภิกษุรูปนั้นตอบว่า ท่านปฏิบัติธรรมโดยที่ไม่ต้องทำอะไรเลย<O:p</O:p
    ข้าพเจ้าเลยถามท่านอีกว่า การปฏิบัติธรรมโดยที่ไม่ต้องทำอะไรเลย มีหลักการเช่นไร<O:p</O:p
    ภิกษุรูปนั้นให้คำตอบ..........โดยแจกแจงเป็นหลักธรรมดังนี้<O:p</O:p
    (1)ท่านว่า การที่เราเข้าไปรักษาศีล โดยการยึดถือว่ามีเราและเราต้องดีตามนั้น และยังเข้าใจอีกว่า การรักษาศีลแบบนี้จะทำให้บรรลุพระนิพพาน หากศีลไม่บริสุทธิ์ ก็ไม่สามารถเข้านิพพานได้ ท่านว่าการถือข้อวัตรแบบนี้เป็นศีลพรตปรามาส คือข้อวัตรที่เป็นไปด้วยความงมงายที่ไม่สามารถหลุดพ้นได้ <O:p</O:p
    ท่านว่า....การที่จิตปรุงแต่งว่าต้องรักษาศีลและทำให้ศีลนั้นบริสุทธิ์ เป็นเพียงเทวะธรรม เป็นการใช้จิตไปคอยปรุงแต่งเพื่อให้เกิดความระมัดระวัง หรือที่เรียกว่า หิริโอตัปปะ..............เป็นการเจริญในอวิชชาตัณหาอุปาทาน เท่านั้น<O:p</O:p
    ข้อวัตรแห่งอริยะทั้งหลาย ตั้งแต่ชั้นโสดาปัตติมรรคขึ้นไป คือ ข้อวัตรแห่งธรรมอันเป็นธรรมชาติเท่านั้น.....<O:p</O:p

    (2)ท่านว่า หากเรายังไม่เข้าใจในเรื่องอริยสัจ 4 ก็เปรียบเสมือนว่าเรามีความลังเลสงสัยในธรรมทั้งปวงอยู่<O:p</O:p
    เราควรศึกษาให้เกิดความเข้าใจอย่างชัดแจ้งว่า ทุกข์คืออะไร ทุกข์นั้นเกิดจากอะไร และจะแก้ไขทุกข์นั้นอย่างไร <O:p</O:p
    (3)ท่านว่า เมื่อเข้าใจในกระบวนการแห่งธรรมทั้งปวงแล้ว เราก็ควรจะปล่อยให้ทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินไปตามทางอันเป็นธรรมชาติของมัน <O:p</O:p
    .......ท่านให้เว้นเสียซึ่งจิตอันปรุงแต่งว่ามีเรา และเราเอาจิตเข้าไปดำริทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้เกิดพระนิพพาน <O:p</O:p
    ท่านว่า จิตที่ดำริเช่นนี้ไม่ใช่เป็นการปฏิบัติธรรม แต่เป็นการเจริญอวิชชาตัณหาอุปาทานชนิดหนึ่ง***<O:p</O:p

    <O:p</O:p
    (4)ท่านว่า เวทนามันดับในตัวมันเองอยู่แล้ว......อย่าใช้ อัตตาความมีตัวตนเข้าไปดับ อย่าใช้จิตปรุงแต่งว่านี่คือเวทนา นี่คือการดับแห่งเวทนา ........<O:p</O:p
    (5)ท่านว่า” การรู้ชัด” ในสติปัฏฐาน เป็นการรู้ที่ประกอบด้วยธรรมตัวอื่นๆอยู่แล้วตามโพชฌงค์ธรรมและมรรคมีองค์แปด......เป็นการรู้ที่ประกอบไปด้วย สติ สมาธิ ปัญญา อยู่แล้ว<O:p</O:p
    ท่านว่าบางสำนักแปลความ”การรู้ชัด”แบบผิดๆ.....โดยที่สอนลูกศิษย์ให้ใช้จิตปรุงแต่งว่า “ตัวรู้ตัวเดียว”ทุกครั้งที่สภาวะแห่งจิตเกิดขึ้น <O:p</O:p
    ท่านว่า การกำหนดรู้ แบบตัวรู้ตัวเดียว โดยที่ไม่เข้าใจธรรมในส่วนอื่นๆมันยังเป็นการลังเลสงสัยในธรรมทั้งปวงอยู่<O:p</O:p

    (6)ท่านเล่าว่าประสบการณ์ในการปฏิบัติธรรมของท่านนั้น......เมื่อศึกษาและทำความเข้าใจ จนเข้าใจในธรรมทั้งปวงแล้ว<O:p</O:p
    ท่านว่า.....ให้งดการพิจารณาธรรมซะ เพราะการพิจารณาธรรมเป็นจิตที่ปรุงแต่งชนิดหนึ่งซึ่งขวางการบรรลุธรรม.......<O:p</O:p
    ท่านว่า....ในชั้นแห่งอริยชน จะมีการเข้าไปสอดส่องธรรม(ธัมมวิจยะ) ว่าธรรมนี้เป็นธรรมแห่งธรรมชาติหรือไม่ เท่านั้น <O:p</O:p
    ท่านว่า......เมื่อศึกษาและทำความเข้าใจในธรรมทั้งปวง และเข้าใจแล้ว..... ก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะทำให้เราเข้าไปพิจารณาธรรมอีก..... ก็ควรปล่อยให้กระบวนการแห่งธรรมดำเนินไปตามเส้นทางธรรมชาติของมัน...ซึ่งเป็นธรรมชาติอันไม่ปรุงแต่ง จนกว่าจะคลายกำหนัดไปถึงระดับที่เรียกว่า วิชชา วิมุติ หรือที่เรียกว่าธรรมชาติอันปรุงแต่งไม่ได้แล้ว(นิพพาน)<O:p</O:p
    (7)ท่านเล่าประสบการณ์ของท่านอีกว่า........เมื่อท่านเริ่มปฏิบัติธรรมใหม่ๆ......<O:p</O:p
    ความไม่รู้(อวิชชา)ของท่านพาท่านปรุงแต่งตามรู้ตามดูในเรื่องจิตชนิดนี้จิตชนิดนั้นของท่านอยู่เรื่อย<O:p</O:p
    จิตเป็นโทสะบ้าง จิตเป็นโมหะบ้าง จิตเป็นกามราคะบ้าง............ล้วนไม่เที่ยงโดยตัวมันเอง<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    แต่ท่านก็เริ่มเข้าใจขึ้นมาอีกนิดว่า จิตอันเป็นโทสะ โมหะ ราคะ นั้นก็ล้วนเป็นจิตที่ปรุงแต่ง<O:p</O:p
    ท่านก็เลยสรุปเอาเป็นแค่ว่า จิตที่ปรุงแต่ง(โดยที่ไม่ใส่ใจในชื่อในชนิดของจิตที่ปรุงแต่งนั้น)<O:p</O:p
    บางครั้งจิตท่านก็ไม่ปรุงแต่ง ท่านก็ได้รู้สลับกันไปว่า ทั้งปวงนั้นก็คือจิตปรุงแต่งและจิตอันไม่ปรุงแต่ง(จิตว่างและจิตไม่ว่าง) และจิตที่ปรุงแต่ง(จิตไม่ว่าง)นั้น........ล้วนไม่เที่ยงโดยตัวมันเอง<O:p</O:p
    ต่อมาท่านก็เริ่มตกผลึกว่า.....จิตที่ปรุงแต่งและจิตที่ไม่ปรุงแต่งนั้น โดยแท้จริงมันเป็นผลโดยรวมแห่งการภาวนาแห่งการปฏิบัติ......ผลมันจะแสดงออกมาแค่ว่า จิตนี้ยังไม่หลุดพ้นหรือจิตนี้หลุดพ้นแล้ว<O:p</O:p
    ท่านจึงไม่ใส่ใจว่าจิตนี้เป็นจิตปรุงแต่งหรือไม่ปรุงแต่ง เป็นจิตว่างหรือจิตไม่ว่าง<O:p</O:p
    แต่คราใดที่จิตท่านปรุงแต่ง ครานั้นท่านเองก็จะรู้ชัดว่า จิตนั้นยังไม่หลุดพ้น<O:p</O:p
    ความเข้าใจของท่านอยู่แค่เพียงว่า......จิตท่านยังไม่หลุดพ้น<O:p</O:p
    จิตยังไม่หลุดพ้น......ล้วนไม่เที่ยงโดยตัวมันเอง<O:p</O:p
    ปัญหาที่เกิดขึ้นแก่ท่านก็คือ.....เมื่อไรมันจะเกิดวิชชา วิมุติ<O:p</O:p
    ท่านรอนิพพานมาเป็นปีกว่าๆ......ท่านนอนรอนิพพานบนเปลผ้าใบหน้ากุฏิท่าน..................................<O:p</O:p
    จนกระทั้งท่านจาริกเดินทางไปหาอาจารย์ท่านที่จังหวัดเลย <O:p</O:p
    ในวันแรกที่ท่านเข้าไปกราบหลวงพ่อโพธิ์ศรีสุริยะ ......... หลวงพ่อท่านใช้เจโตวาระจิตอันคล่องแคล่วของท่านทักว่า “นี่ท่าน......ท่านมัวแต่ปรุงแต่งว่าเมื่อไหร่จะวิมุติ เมื่อไหร่จะหลุดพ้น เมื่อไหร่จะนิพพาน..... จิตที่ท่านปรุงแต่งว่าเมื่อไหร่จะอย่างนี้เมื่อไหร่จะอย่างนั้น...... มันก็ล้วนเป็นจิตปรุงแต่งบังพระนิพพานด้วยกันทั้งสิ้น.......เมื่อจิตปรุงแต่งทุกชนิดมันดับไปด้วยสภาพตัวมันเองนั้น....นั่นแหละจิตที่มันว่างอันเป็นสุญญตา ณ ปัจจุบันกาลที่รู้นั้นมันคือเนื้อหาแห่งพระนิพพานโดยสภาพมันเองอยู่แล้ว.......นิพพานอยู่แล้วลูก.....นิพพานอยู่แล้ว..............<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ท่านว่า.......ท่านถึงกับอุทานออกมาว่า........”เอวัง....โหตุ......มันจบแล้ว มันจบจริงๆ”...............................<O:p</O:p
    ท่านเล่าต่อไปว่า จากคำสอนของหลวงพ่อโพธิ์ศรีทำให้ท่านเข้าใจในคำว่า วิชชา วิมุติ อย่างท่องแท้<O:p</O:p
    ไม่มีอวิชชาความไม่รู้ใดๆ ที่จะทำให้ท่านหันเหออกไปจากเส้นทางแห่งพุทธธรรมอันเป็นธรรมชาตินี้อีกเลย<O:p</O:p
    มันเป็นการตัดอวิชชาตัณหาอุปาทานได้โดยเด็ดขาดอย่างสิ้นเชิง(สมุจเฉท) ทำให้ใจท่านเป็นอิสระอย่างแท้จริง ไม่ติดขัดทั้งในการมาและการไป อยู่”ท่ามกลางระหว่าง”ได้อย่างลงตัว <O:p</O:p

    (8)ท่านอธิบายเพิ่มเติมในส่วนของการที่ท่านบรรลุธรรมว่า............ ในเมื่อความหมายแห่งพระนิพพาน คือ<O:p</O:p
    ธรรมชาติอันปรุงแต่งไม่ได้แล้ว คือความที่ไม่ต้องคิด คือความหยุดโดยสมบูรณ์ คือความเป็นอิสระโดยเด็ดขาดปราศจากอวิชชาตัณหาอุปาทาน........เพราะฉะนั้นนิพพานจึงไม่มีขอบเขต ไม่มีสัณฐาน ไม่มีขนาด<O:p</O:p
    ไม่มีปริมาณ <O:p</O:p
    ....... ท่านว่าภิกษุหลายๆรูปที่เป็นสหธรรมมิกของท่าน ได้ภาวนาแบบเดินมาถูกทางแล้ว แต่ติดปัญหามองธรรมไม่ออกแบบเส้นผมบังภูเขา......<O:p</O:p
    บางรูปยังหลงอยู่ว่า “ยังไม่บรรลุเพราะยังไม่ชัดเจน”<O:p</O:p
    บางรูปยังหลงอยู่ว่า “ยังไม่บรรลุเพราะยังไม่คงที่...จิตยังหวั่นไหว”<O:p</O:p
    บางรูปยังหลงอยู่ว่า “ยังไม่บรรลุเพราะ............................”<O:p</O:p
    ท่านบอกว่าสหธรรมมิกของท่านหลายๆรูปเข้าใจผิด เพราะยังไม่เข้าใจในคำว่า “ธรรมชาติ”<O:p</O:p
    ซึ่งเป็นธรรมชาติแห่งนิพพาน.......ธรรมชาติแห่งนิพพานมันเป็นความเสร็จเด็ดขาดในความว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนโดยลักษณะมันเองโดยตัวมันเอง...........จิตมันว่างอยู่แล้วโดยธรรมชาติมันเอง.......<O:p</O:p
    ไม่ใช่การที่ใช้จิตเข้าไปปรุงแต่งเพื่อเข้าไปกำกับ เข้าไปบังคับ เข้าไประวัง<O:p</O:p
    เข้าไปวัดขนาด เข้าไปวัดความคงที่หรือไม่คงที่..........<O:p</O:p

    นิพพาน คือความคงที่ในความว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวตน “เป็นธรรมชาติแห่งความคงที่ เป็นความคงที่โดยตัวมันเอง เป็นความคงที่โดยเนื้อหาแห่งมันเอง.........”<O:p</O:p
    การที่จิตปรุงแต่ง.....ว่ายังไม่บรรลุเพราะยังไม่ชัดเจน ยังไม่คงที่ ยังไม่........ยังไม่........ยังไม่................<O:p</O:p
    ก็ตรงกับที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า จิตยังไม่หลุดพ้น ก็ให้รู้ชัดว่า จิตยังไม่หลุดพ้น.............และ เมื่อจิตปรุงแต่งว่าจิตยังไม่หลุดพ้นทุกๆชนิดดับไปตามธรรมชาติมันเองแล้ว เหตุปัจจัยที่เข้ามาทางอายตนะชุดใหม่ เกิดวิญญาณรับรู้ กลายเป็นผัสสะ สัญญา สังขาร เวทนา.........<O:p</O:p
    และเวทนาดับไปเองอยู่แล้ว......สัญญา สังขารก็ดับ.....ขันธ์ 5 ดับ......เป็นธรรมชาติแห่งการดับ............<O:p</O:p
    เป็นธรรมชาติแห่งจิตที่ไม่ปรุงแต่ง......เป็นธรรมชาติอันปรุงแต่งไม่ได้แล้ว...........นี่คือนิพพาน.<O:p</O:p
    <O:p</O:p<O:p</O:p
    แต่ท่านก็ว่า มีกรณีแบบตกม้าตาย มีกรณีแบบปลาตายในน้ำตื้น<O:p</O:p
    คือว่า ยังใช้จิตไปปรุงแต่งเพื่อเข้าไปแบกเข้าไปยึด ”ในความเป็นธรรมชาติแห่งความคงที่.....ในความเป็นเนื้อหาแห่งพระนิพพาน......”<O:p</O:p
    ก็คือการใช้จิตปรุงแต่งว่า นี่คือจิตหลุดพ้น นี่เราหลุดพ้น นี่เป็นการหลุดพ้น.....<O:p</O:p
    ท่านว่าการปรุงแต่งแบบนี้ เป็นอวิชชาตัวสุดท้าย ที่ต้องขจัดทิ้งด้วยวิถีธรรมชาติแห่งธรรม<O:p</O:p
    <O:p
    เปรียบเสมือนเป็นการเกร็ง เป็นการปรุงแต่งเข้าไปแบก แบบนิดๆหน่อยๆ ซึ่งกลัวว่ามันจะไม่ใช่ธรรมชาติแห่งธรรมล้วนๆ....
    เมื่อจิตปรุงแต่งว่าจิตหลุดพ้น”ดับไปตามธรรมชาติมันเองแล้ว” เหตุปัจจัยที่เข้ามาทางอายตนะชุดใหม่ เกิดวิญญาณรับรู้ กลายเป็นผัสสะ สัญญา สังขาร เวทนา.........และเวทนาดับไปเองอยู่แล้ว......สัญญา สังขารก็ดับ.....ขันธ์ 5 ดับ......เป็นธรรมชาติแห่งการดับ.........เป็นธรรมชาติแห่งจิตที่ไม่ปรุงแต่ง......เป็นธรรมชาติอันปรุงแต่งไม่ได้แล้ว...........นี่คือนิพพานอันแท้จริง.<O:p</O:p
    <O:p</O:p<O:p</O:p
    ท่านสรุปธรรมทั้งหมดให้ว่า..................เมื่อเข้าใจแล้วว่านิพพานอันแท้จริงคืออะไร และวิธีที่จะดำเนินไปสู่นิพพานคือความเป็นอิสระโดยเด็ดขาดปราศจากความหมายแห่งความเป็นตัวตนนั้นเป็นอย่างไร ความเข้าใจตรงนี้เรียกว่า “วิชชา” คือความรู้แจ้งทั้งปวง เป็นความรู้แจ้งแทงตลอดในการพ้นจากอวิชชาตัณหาอุปาทานพ้นจากกองทุกข์ทั้งปวงได้ <O:p</O:p
    <O:p</O:p<O:p</O:p
    ......................... และเมื่อปล่อยให้ธรรมอันเป็นธรรมชาติมันทำงานของมันโดยอิสระเด็ดขาด ตรงนี้เรียกว่า “อรหันตมรรค”<O:p</O:p
    ...........................และความเป็นอิสระโดยเด็ดขาดปราศจากความหมายแห่งความเป็นตัวตนปราศจากอวิชชาตัณหาอุปาทาน ตรงนี้เรียกว่า “อรหันตผล”หรือ ”วิมุติ” (ความหลุดพ้น).<O:p</O:p

    <O:p</O:p3.ในวันหนึ่ง พระสังฆปรินายกเว่ยหล่างได้แสดงธรรมแก่ผู้มาชุมนุมฟัง ด้วยข้อความดังต่อไปนี้<O:p</O:p
    ...........ในระบบการเจริญกัมมัฏฐานภาวนาของเรานั้น เรามิได้กำหนดลงไปที่จิต หรือกำหนดลงไปที่ความบริสุทธิ์ หรือว่าเราจะไปจับเอาตัวความหยุดนิ่งปราศจากความเคลื่อนไหวทุกประการ ก็หามิได้.<O:p</O:p
    สำหรับการกำหนดจดจ่อลงไปที่จิตนั้น ไม่ควรทำ เพราะจิตเป็นของมืดมัวมาเสียก่อนแล้ว และเมื่อเรามองเห็นชัดว่า มันเป็นเพียงตัวมายาตัวหนึ่งเท่านั้นแล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นอะไรที่จะไปจดจ่อกับมัน สำหรับการกำหนดลงไปที่ตัวความบริสุทธิ์นั้นเล่า ตัวธรรมชาติแท้ของเราก็บริสุทธิ์อย่างแท้จริงอยู่แล้ว และตลอดเวลา<O:p</O:p
    ที่เราขับไล่อกุศลวิตกออกไปเสียให้สิ้นเชิง มันก็ไม่มีอะไรเหลืออยู่ในตัวเรา นอกจากความบริสุทธิ์อย่างเดียว<O:p</O:p
    เพราะว่ามันเป็นด้วยอกุศลวิตก นี่แหละ ที่ทำให้ตถตา(ความเป็นเช่นนั้นเอง)ต้องเศร้าหมองไป ถ้าเราเพ่งจิตของเรา กำหนดลงไปที่ความบริสุทธิ์ เราก็มีแต่จะสร้างอวิชชาอันใหม่ขึ้นมาอีกอันหนึ่ง เท่านั้น คืออวิชชาแห่งความบริสุทธ์ เพราะเหตุที่อวิชชา เป็นสิ่งที่ไม่มีที่ตั้งอาศัย จึงเป็นความเขลาที่เราจะไปอิงอาศัยมัน.<O:p</O:p
    ตัวความบริสุทธิ์นั้นไม่มีสัณฐาน ไม่มีรูปร่าง แต่มีคนบางคนที่อุตริถึงกับประดิษฐ์”รูปร่างของความบริสุทธิ์”<O:p</O:p
    ขึ้นมา แล้วก็กุลีกุจอกับมันในฐานะเป็นปัญหาสำคัญของความหลุดพ้น. เมื่อถือหลักความคิดเช่นนี้ คนเหล่านั้นก็กลายเป็น ผู้ขับไล่ไสส่งความบริสุทธ์เสียเองแล้ว จิตเดิมแท้ของเขา ก็ถูกทำให้เศร้าหมองไปเพราะเหตุนั้น.<O:p</O:p
    <O:p></O:p>
    อธิบาย.....จากข้อความข้างต้น....เว่ยหล่าง พยายามอธิบายว่า การเจริญกัมมัฏฐานภาวนา คือ ธรรมชาติแห่งธรรม นั่นเอง<O:p</O:p
    ธรรมชาติ มิใช่การกำหนด.......เพราะธรรมชาติคือสภาพสภาวะมันเอง มันดับเอง มันไม่เที่ยงโดยตัวมันเองอยู่แล้ว จะมี”เรา”.....เข้าไปกำหนดลงไปที่จิตทำไมอีก จิตที่เป็นของมืดมัวชนิดใด เช่นจิตที่เป็นโทสะ จิตที่เป็นราคะ ก็ล้วนแต่ดับในตัวมันเองอยู่แล้ว.......ก็ล้วนไม่เที่ยงโดยตัวมันเองอยู่แล้ว...... เมื่อไม่เข้าไปเนื่อง เมื่อไม่เข้าไปเนิ่นช้า.....มันก็ดับเองอยู่แล้ว ไม่เที่ยงโดยตัวมันเองอยู่แล้ว
    <O:p</O:pการจดจ่อและการกำหนด.....ไม่ใช่”การรู้ชัดว่า” ตามสติปัฏฐาน.........<O:p</O:p
    การจดจ่อและการกำหนดจิต เป็นอวิชชาซ้อนเข้ามาตัวหนึ่งที่มองไม่เห็นมัน...เป็นการยึดมั่นถือมั่นในเวทนาก่อให้เกิดตัณหาอุปาทาน <O:p</O:p
    แต่”การรู้ชัดว่า”.....ตามสติปัฏฐาน เป็นการรู้ซึ่งเป็นสภาวะธรรมชาติ เป็นสติ ที่ประกอบไปด้วยสมาธิและปัญญา ครบตามมรรคมีองค์ 8 <O:p</O:p
    เป็นปกติแห่งการรู้ เป็นธรรมชาติแห่งการรู้ ........มิใช่การบังคับเข้าไปกำหนดจดจ่อ ซึ่งขวางต่อธรรมชาติ<O:p</O:p
    “การรู้ชัดว่า”.........ชัด ในที่นี้ หมายถึง ปกติแห่งการรู้ ธรรมชาติแห่งการรู้ ปกติมันเอง.....ธรรมชาติมันเอง<O:p</O:p
    การกำหนดจดจ่อ.......มันเป็นการที่เอาจิตเข้าไปดำริเข้าไปริเริ่ม....เพื่อที่จะให้มันชัดเจนตามความรู้สึกของตัวเอง ซึ่งมันเป็นการเจริญตัณหาอุปาทานขึ้นมาอีกเนืองๆ<O:p</O:p

    นักปฏิบัติธรรมส่วนใหญ่ที่ไม่เข้าใจตรงนี้ อริยบทต่างที่เคลื่อนไหวไม่ว่าจะยืน นั่ง เดิน นอน มักจะคล้ายหุ่นยนต์ แข็งทื่อ....เพราะคอยเอาจิตเข้าไปกำหนดและจดจ่อ กลัวจิตจะปรุงแต่ง เลยเอาการรู้ไปไว้กับการก้าวย่าง การเคลื่อนไหวของร่างกาย......ตรงนี้ เป็นการปิดบัง อริยสัจ......ไม่ใช่แนวทางปฏิบัติ<O:p</O:p<O:p</O:p
    การกำหนดลงไปที่ความบริสุทธิ์....... ตรงนี้เป็นการใช้จิตปรุงแต่งซ้อนลงไป ซ้อนลงไปเพื่อเข้าไปบัญญัติสภาวะที่มันเป็นความบริสุทธิ์โดยตัวมันเองสภาพมันเองอยู่แล้ว.....มันคือ อวิชชาแห่งความบริสุทธิ์.<O:p</O:p

    จิตที่ว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน จิตที่ไม่ปรุงแต่ง........อันเกิดจากขันธ์ 5 มันดับโดยตัวมันเองตามหลักธรรมชาติ ก็คือ จิตที่บริสุทธิ์ นั่นเอง<O:p</O:p
    แต่การที่เข้าไปกำหนดว่านี่คือความบริสุทธิ์......การกำหนดนั่นแหละเป็นการทำให้เกิดการแปดเปื้อนขึ้นมา<O:p</O:p
    ด้วยอวิชชาที่ไม่สามารถมองเห็นมัน เพราะความที่ไม่เข้าใจในความหมายในคำว่า “ธรรมชาติ”<O:p</O:p
    มันบริสุทธิ์มันเองอยู่แล้ว......อย่าเข้าไปประดิษฐ์รูปร่างแห่งความบริสุทธิ์เข้ามาอีก <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ใช้ การกำหนด เพื่อ ทำธรรมชาติแห่งธรรมให้ปรากฏ.......มันเหมือนหาเขาในตัวกระต่าย<O:p</O:p
    หาเท่าไรก็หาไม่เจอ....... เพราะการกำหนดไม่ใช่ธรรมชาติ*** <O:p</O:p
    การพยายามจะ “จับฉวย” หรือ “กุมตัว” สิ่งเหล่านี้ที่เป็นธรรมชาติมันเองอยู่แล้ว เป็นการกระทำที่ขัดขวางต่อธรรมชาติของมันอย่างตรงกันข้าม
    <O:p</O:p<O:p</O:p<O:p</O:p
    4.ภิกษุ ฉิต่าว ได้อ่านมหาปรินิรวาณสูตรมานานเป็นสิบปี ท่านไม่เข้าใจในเนื้อหาแห่งพระสูตรที่กล่าวถึงเรื่องพระนิพพานที่ว่า “สิ่งทุกสิ่งไม่คงตัวอยู่อย่างถาวร. ดังนั้น สิ่งทั้งปวงจึงตกอยู่ใต้อำนาจของธรรมที่เป็นความเกิดขึ้นและความแตกดับ(กล่าวคือสังขตธรรมหรือธรรมอันปรุงแต่ง) เมื่อความเกิดขึ้นและความแตกดับมาสิ้นสุดลงด้วยกัน ศานติสุขแห่งความหยุดได้โดยสมบูรณ์ และความสิ้นสุดของการเปลี่ยนแปลง(กล่าวคือนิพพาน)<O:p</O:p
    ย่อมปรากฏขึ้น”<O:p</O:p
    พระสังฆปรินายกเว่ยหล่าง ได้อธิบายว่า “ไม่ว่าในขณะใดทั้งหมด นิพพานย่อมไม่มีปรากฎการณ์แห่งการเปลี่ยนแปลง หรือแห่งการเกิดดับ ไม่มีแม้กระทั่งความสิ้นสุดของการทำหน้าที่ของความเกิดขึ้น และความแตกดับ. นิพพานเป็นการแสดงออกของ..........ความหยุดได้โดยสมบูรณ์ และความสิ้นสุดของความเปลี่ยนแปลง....แต่แม้ในขณะแห่งการแสดงออกนั้น ก็ไม่มี ความเห็น ว่าเป็นการแสดงออก ดังนั้นจึงถูกเรียกว่า ความเปรมปรีดิ์อันไม่รู้จักหมดสิ้น ซึ่งไม่ต้องมีตัวผู้เปรมปรีดิ์หรือผู้ไม่เปรมปรีดิ์ แต่อย่างใด”<O:p</O:p
    <O:p</O:pอธิบาย ....นิพพานไม่มีปรากฎแห่งการเปลี่ยนแปลงหรือเกิดดับนั้น....เป็นการดับสนิทไม่มีเหลือปราศจากอวิชชาตัณหาอุปาทาน....<O:p</O:p
    การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป....นั้น เป็นการเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปแห่งอวิชชาทั้งปวง <O:p</O:p
    เมื่อจิตเราเป็นอิสระอย่างเด็ดขาดต่อเครื่องขัดข้องคืออวิชชาทั้งหลาย การเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปก็ย่อมไม่มีโดยสภาพแห่งธรรมนั้นแล้ว และไม่มีแม้กระทั่งความสิ้นสุดของการทำหน้าที่ของความเกิดขึ้น และความแตกดับ......เพราะเนื้อหาแห่งพระนิพพานคือธรรมชาติล้วนๆ....เป็นสภาพมันเองอยู่อย่างนั้นแบบนั้น......<O:p</O:p
    เป็นความอิสระอย่างเด็ดขาด “โดยที่ไม่ต้องอาศัยอะไรกับอะไร....เพื่ออะไร”<O:p</O:p
    นิพพานเป็นการแสดงออกของสภาพธรรมอันเป็นธรรมชาติล้วนๆ......การแสดงออกนั้นเป็นการแสดงออกโดยตัวมันเองโดยโดยสภาพมันเอง......จึงไม่ควรให้มีความเห็นใดๆเข้าไปบัญญัติอีกว่านี่คือการแสดงออก<O:p</O:p
    นี่คือนิพพาน นี่คือธรรมอันเป็นธรรมชาติล้วนๆ.....การมีความเห็นเช่นนี้ทำให้ ธรรมชาติอันแท้จริงในเนื้อหาแห่งธรรมนั้นหายไป และการมีความเห็นเช่นนี้กลายเป็นอวิชชาเข้ามาแทนที่<O:p</O:p
    หากจิตเราปรุงแต่งว่าจิตหลุดพ้น......เมื่อจิตชนิดนี้ดับไปโดยตัวมันเอง.....นั่นแหละ.....ถึงจะเป็นการหลุดพ้นโดยแท้จริงโดยเนื้อหาของมันเอง.....เป็นสภาพมันล้วนๆอยู่อย่างนั้น<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    5.ภิกษุ ฮังฉิ ท่านได้เดินทางมายังเมืองโซกาย เพื่อทำความเคารพพระสังฆปรินายกเว่ยหล่าง<O:p</O:p
    พระสังฆปรินายกถามว่า ก็ท่านกำลังปฏิบัติอยู่อย่างไรเล่า?<O:p</O:p
    ภิกษุ ฮังฉิ ตอบว่า.....แม้ธรรมคืออริยสัจทั้งหลาย ที่พระพุทธเจ้าทุกๆองค์สอนไว้ ข้าพเจ้าก็ไม่มีความจำเป็นอะไร ที่จะต้องเข้าไปแตะต้องด้วย <O:p</O:p
    พระสังฆปรินายกถามอีกว่า แล้วเดี๋ยวนี้ท่านอยู่ใน “ชั้นแห่งคุณวิเศษ” ชั้นไหนเล่า?<O:p</O:p
    ภิกษุ ฮังฉิ ตอบอีกว่า.....จะมี “ชั้นแห่งคุณวิเศษ” อะไรที่ไหนเล่า ในเมื่อข้าพเจ้าปฏิเสธไม่เกี่ยวข้อง<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ด้วย แม้กับอริยสัจที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายได้สอนไว้?<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    หากผู้ที่เริ่มศึกษาธรรมและยังไม่เข้าใจธรรมทั้งปวง อ่านข้อความที่ภิกษุ ฮังฉิ โต้ตอบกับพระสังฆปรินายก<O:p</O:p
    แล้ว คงนึกในใจว่า ภิกษุรูปนี้คงเป็นภิกษุผู้มีปัญญาอันมืดบอดเพราะท่านไม่เกี่ยวข้องไม่ใส่ใจในอริยสัจซึ่งเป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ได้ตรัสรู้ และคงจะออกอาการงงๆที่พระสังฆปรินายกได้ฟังการโต้ตอบธรรมของท่านฮังฉิแล้ว ถึงกับตั้งท่านฮังฉิเป็นหัวหน้าคณะในนิกายเซน <O:p</O:p
    โดยแท้จริงแล้ว ในสายตาของพระสังฆปรินายก ภิกษุ ฮังฉิ ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์เรียบร้อยแล้ว<O:p</O:p
    ท่านถึงกล้าแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าคณะ เพื่อเผยแพร่ธรรมที่พระพุทธองค์ได้ประกาศไว้ให้คงอยู่ต่อไป<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    การที่เข้าไปแตะต้องในอริยสัจทั้งหลาย ก็คือการเอาจิตไปปรุงแต่งเรื่องอันเกี่ยวกับว่าอะไรคือทุกข์ อะไรคือเหตุทำให้เกิดทุกข์..........การที่เอาจิตเข้าไปปรุงแต่งก็คือการพิจารณาธรรมอันเกี่ยวกับอริยสัจนั่นเอง <O:p</O:p
    การพิจารณา ก็คือ การปรุงแต่งทางจิตนั่นเอง เป็นสังขตธรรม เป็นอวิชชาตัณหาอุปาทานอย่างหนึ่ง****<O:p</O:p

    <O:p</O:p
    การที่ภิกษุ ฮังฉิ ท่านตอบว่า ไม่มีชั้นแห่งคุณวิเศษอะไรที่ไหน หมายถึงท่านกำลังบอกว่า ท่านเองก็ไม่ใช้จิตปรุงแต่งว่าท่านบรรลุธรรมอะไรชั้นไหนอย่างใด ไม่ได้ใช้จิตปรุงแต่งเข้าไปบัญญัติว่าท่านเป็นพระอรหันต์<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    การพิจารณา หรือ การบัญญัติว่าบรรลุธรรม .....มันกลายเป็นเครื่องเสียดแทง มันคืออวิชชาอย่างหนึ่ง<O:p</O:p
    ที่ทำให้ธรรมชาติแห่งธรรมล้วนๆอันเป็นสภาพนิพพานธรรมอันแท้จริงไม่ปรากฏไม่แสดงออก<O:p</O:p

    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    6.พระสังฆปรินายกกล่าวกับภิกษุจิหว่าง ว่า “ไม่ว่าท่านกำลังทำงานหรือหยุดพัก จงอย่าให้ใจของท่านเกาะเกี่ยวกับสิ่งใด จงอย่าไปรู้สึกว่า มีความแตกต่างระหว่างอริยบุคคล กับบุคคลธรรมดา อย่าไปคิดว่ามีความแตกต่างระหว่างตัวผู้กระทำ กับสิ่งที่ถูกกระทำ จงปล่อยจิตเดิมแท้และสิ่งทั้งปวง ไว้ในสภาพแห่งความเป็นสภาพเช่นนั้น แล้วท่านจะอยู่ในสมาธิตลอดเวลา” <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    อธิบาย ข้อความข้างต้นเป็นตัวอย่างหนึ่งที่ยืนยันว่า คำสอนของพระพุทธองค์โดยแท้จริงนั้นเนื้อหาแห่งธรรมเป็นเรื่องเดียวกันไม่มีความแตกต่าง ถึงแม้จะแยกแตกออกเป็นนิกายต่างๆก็ตาม <O:p</O:p
    ลูกศิษย์และเพื่อนสหธรรมมิกหลายฝ่ายต่างก็ถามข้าพเจ้าว่า “อาจารย์ราเชนทร์ คำสอนของท่านเหมือนคำสอนของพวกนิกายเซน ใช่หรือเปล่า?<O:p</O:p
    ข้าพเจ้าตอบว่า ไม่ใช่แค่เหมือน แต่ข้าพเจ้าก๊อปปี้คำสอนมาเลยทั้งหมด เพราะในความเป็นจริงเส้นทางหลุดพ้นที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ก็มีหนทางเดียวเท่านั้น คือ เอกมรรคโควิสุทธิยา หรือเส้นทางธรรมอันเป็นธรรมชาติ<O:p</O:p
    คำว่าเซน ในความรู้สึกของนักปฏิบัติสายเถรวาทในประเทศไทยนั้น เป็นสำนักที่สอนให้บรรลุโดยฉับพลัน<O:p</O:p
    ไม่ให้ติดรูปแบบ ไม่ให้นั่งทำสมาธิเลย เป็นสำนักที่หลุดพ้นโดยใช้ปัญญาล้วนๆ...........สายเถรวาทหลายๆสำนัก สอนบรรดาพวกลูกศิษย์ตน ให้นั่งสมาธินานๆ เดินจงกรมแบบย่างหนอ ยกหนอ สอนให้พิจาณาธรรมมากๆ สอนให้ตามรู้ตามดู บางสำนักก็สอนจนถึงขนาดว่าสรุปธรรมให้กับบรรดาลูกศิษย์ของตนว่า<O:p</O:p
    “เพียงตัวรู้ตัวเดียวก็พอ”........บางสำนักก็ให้เริ่มต้นคำบริกรรมว่า”พุทโธ” โดยให้นั่งหลับตาแล้วให้บริกรรมคำว่า พุทโธไว้ในใจแบบไวๆจนจิตสงบนิ่งตามความเข้าใจของคณาจารย์เจ้าสำนัก<O:p</O:p
    แต่คณาจารย์ฝ่ายเซนอย่างเช่นสังฆปรินายกเว่ยหล่าง กลับกล่าวว่า “จงปล่อยจิตเดิมแท้และสิ่งทั้งปวง ไว้ในสภาพแห่งความเป็นสภาพเช่นนั้น แล้วท่านจะอยู่ในสมาธิตลอดเวลา” <O:p</O:p

    ถ้าอ่านอย่างผิวเผินด้วยความไม่เข้าใจในธรรม ก็จะคิดไปว่า ท่านเว่ยหล่างนั้นสอนลูกศิษย์ไม่ให้นั่งสมาธิ<O:p</O:p
    เอะอะ..อะไรก็จิตเดิมแท้ ก็จิตเดิมแท้...............<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    แต่ในความเป็นจริง คำกล่าวของเว่ยหล่างนั้นตรงกับคำสอนที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ ท่านตรัสไว้ว่า<O:p</O:p
    “ดูกรกุณฑลิยะ สติปัฏฐาน ๔อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์.”<O:p</O:p
    แปลได้ว่า......การเจริญ การกระทำให้มากแห่งสติปัฏฐาน ย่อมยังโพชฌงค์ 7 ให้เต็มบริบูรณ์ได้<O:p</O:p
    โพชฌงค์เต็มบริบูรณ์นั้น ย่อมหมายถึง สมาธิสัมโพชฌงค์อันเป็นธรรม 1 ใน 7 ของโพชฌงค์ 7 ย่อมเต็มบริบูรณ์ไปด้วย <O:p</O:p
    ซึ่งแปลอีกครั้งตามหลักแห่งตรรกศาสตร์ แปลได่ว่า.....การเจริญ การกระทำให้มากแห่งสติปัฏฐาน ย่อมยัง<O:p</O:p
    สมาธิสัมโพชฌงค์เต็มและบริบูรณ์ไปด้วย <O:p</O:p
    เพราะเหตุที่ว่า การเจริญสติปัฏฐาน โพชฌงค์ วิชชา วิมุติ เป็นเส้นทางหลุดพ้น<O:p</O:p
    หากการที่ใช้จิตปรุงแต่งว่าจะนั่งสมาธิแล้วคิดว่าจะทำฌาน 4 เพื่อให้หลุดพ้น แล้วนั่งไปเรื่อยๆจนกว่าจิตจะสงบ สมาธิตรงนี้ ก็ยังไม่ใช่สมาธิสัมโพชฌงค์ และไม่ใช่เป็นเหตุปัจจัยก่อให้เกิดโพชฌงค์บริบูรณ์ วิชชาและวิมุติบริบูรณ์(เพื่อการหลุดพ้น).....แต่การนั่งสมาธิโดยที่จิตดำริริเริ่มปรุงแต่งแบบนี้ เป็นการเจริญอวิชชาตัณหาอุปาทานล้วนๆ.......เป็นการคิดผิด ดำเนินในแนวทางที่ผิดมาแต่ต้น......<O:p</O:p
    การเจริญและการกระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐานนั้น “การเจริญ และการกระทำให้มาก” ก็คือ การปล่อยจิตเดิมแท้และสิ่งทั้งปวง ไว้ในสภาพแห่งความเป็นสภาพเช่นนั้นนั่นเอง<O:p</O:p
    การปล่อยจิตเดิมแท้และสิ่งทั้งปวง ไว้ในสภาพแห่งความเป็นสภาพเช่นนั้น ย่อมยังสมาธิสัมโพชฌงค์เต็มบริบูรณ์ไปด้วย หรือ “อยู่ในสมาธิตลอดเวลา” ตามที่เว่ยหล่างกล่าวไว้<O:p</O:p
    “สติปัฏฐาน ๔อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์”.นั้นเป็นธรรมที่หนุนเนื่องซึ่งกันและกัน การเกิดอินทรีย์แห่งธรรมเป็นการเกิดขึ้นพร้อมกัน เป็นความสามัคคีแห่งธรรม.<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    เพราะฉะนั้น คำกล่าวที่ว่า เซนคือสำนักที่สอนบรรลุโดยฉับพลันและเป็นการบรรลุโดยใช้ปัญญา และไม่ให้นั่งสมาธิ ก็ดูจะเป็นคำกล่าวหาที่เลื่อนลอย<O:p</O:p
    ตามความเข้าใจในธรรมของข้าพเจ้า เซนนั้น คือคณาจารย์ที่สามารถวิเคราะห์ธรรมที่พระพุทธองค์ได้ประกาศไว้ วิเคราะห์ได้อย่างถูกต้องและเข้าใจง่าย และการที่จะบรรลุได้โดยฉับพลันหรือไม่ก็ขึ้นอยู่ที่ปัญญาของแต่ละคนในการวิเคราะห์ธรรมและสรุปธรรมว่าลงตัวหรือไม่เท่านั้น<O:p</O:p
    ข้าพเจ้าอ่าน เซน หรือ สูตรเว่ยหล่างมา กว่าจะเข้าใจกว่าจะสรุปธรรมได้ทุกกระบวนความก็ใช้เวลาถึง 5 ปี<O:p</O:p
    ไม่เห็นจะฉับพลันตรงไหน จะออกไปทางอืดอาดยืดยาดเชื่องช้าเสียด้วย.........<O:p</O:p
    คำสอนที่พระพุทธองค์ได้นำมาประกาศนั้น เป็นเรื่องของกฎธรรมชาติ เป็นหลักธรรมอันคือธรรมชาติ <O:p</O:p
    หากคณาจารย์สำนักใดนิกายไหน สามารถอธิบายธรรม ”เป็นเนื้อหาเดียวกัน” กับที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ ก็ถือว่าสำนักนั้นหรือนิกายนั้น สามารถถ่ายทอดคำสอนของพระพุทธองค์ได้อย่างถูกต้องตรงไปตรงมา<O:p</O:p

    การศึกษาธรรมให้ดูที่คำสอนคำอธิบาย ไม่ใช่ให้ดูว่านี่คือนิกายไหน คณาจารย์นี้เป็นผู้มีชื่อเสียงโด่งดังหรือไม่<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    7.ภิกษุรูปหนึ่งนำโศลกซึ่งแต่งขึ้นโดย คณาจารย์ที่ชื่อ ออหลุน มาท่องบ่นอยู่ว่า....<O:p</O:p
    “ออหลุน มีวิธีและเครื่องมือ<O:p</O:p
    ที่จะกั้นจิตเสียจาก ความนึกคิดทั้งปวง<O:p</O:p
    เมื่ออารมณ์ต่างๆ มิได้กลุ้มรุมจิต<O:p</O:p
    ต้นโพธิ(เครื่องหมายแห่งปัญญา) ก็จะงอกงามอย่างเป็นล่ำสัน”<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    พระสังฆปรินายก ได้ยินโศลกนี้ จึงพูดว่า “โศลกนี้ย่อมแสดงว่า ผู้แต่งยังไม่ทันเห็นจิตเดิมแท้อย่างเต็มที่ ถ้าใครรับเอาข้อความมาถือปฏิบัติ ก็จะไม่ได้รับความหลุดพ้นแต่จักกลับผูกรัดตัวเองหนาแน่นยิ่งขึ้น”<O:p</O:p
    แล้วพระสังฆปรินายกก็แต่งโศลกขึ้นมาใหม่ว่า<O:p</O:p
    “เว่ยหล่าง ไม่มีวิธี และเครื่องมือ<O:p</O:p
    ที่จะกลั้นจิตเสียจากความนึกคิดทั้งปวง<O:p</O:p
    อารมณ์ต่างๆย่อมกลุ้มรุมจิตของข้าพเจ้าอยู่เสมอ<O:p</O:p
    และข้าพเจ้าสงสัยว่าต้นโพธิจะงอกงามได้อย่างไรกัน?<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    อธิบาย นี่ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งที่นักปฎิบัติธรรมติดกันมาก คือ ติดปรุงแต่งอันเกี่ยวกับเส้นทางหรือมรรคที่จะหลุดพ้น<O:p</O:p
    ความหมายของนิพพาน ก็คือ ธรรมชาติอันปรุงแต่งไม่ได้ <O:p</O:p
    ธรรมชาติอันปรุงแต่งไม่ได้ ก็คือ สภาพสภาวะของมันเองโดยตัวมันเองนั้น ปรุงแต่งไม่ได้<O:p</O:p
    เส้นทางหลุดพ้นนั้น(มรรค) ก็คือ เส้นทางอันเป็นธรรมชาติแห่งธรรม<O:p</O:p
    ธรรมชาตินั้น เป็นกระบวนการเป็นสภาพมันเอง “เป็นวิธีและเครื่องมือโดยตัวมันเอง” การที่ใช้จิตปรุงแต่งว่า เรามีวิธีที่จะเข้าไปจัดการกับจิตทั้งหลายนั้นออกเสียจากความนึกคิด และ ด้วยเหตุจากวิธีและเครื่องมือของเรา จะทำให้อารมณ์คือเวทนาต่างๆเข้ามากลุ้มรุมจิต(หมายถึง เราจะได้ไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นในเวทนาทั้งหลาย) สภาวะแห่งความหลุดพ้นก็จะงอกงามอย่างเป็นล่ำสัน.........การที่ใช้จิตปรุงแต่งแบบนี้ ก็บ่งบอกอยู่แล้วในตัวว่าผู้แต่งโศลกนี้ยังไม่เข้าใจในธรรม ยังไม่เข้าใจว่ามรรค<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    หรือเส้นทางที่หลุดพ้นอันแท้จริงนั้นเป็นเช่นไร(การปรุงแต่งในวิธีในมรรคนั้น เป็นอวิชชาตัณหาอุปาทานอย่างหนึ่งด้วย)<O:p</O:p
    วิธีและเครื่องมือโดยตัวมันเอง หรือ วิธีและเครื่องมือโดยธรรมชาติ นั้น เป็นอย่างไรเล่า?<O:p</O:p
    โดยธรรมชาติ อารมณ์หรือเวทนาต่างๆมันก็ดับโดยตัวมันเองโดยสภาพมันเองตามธรรมชาติ ธรรมชาติที่ว่าทุกสรรพสิ่งย่อมไม่เที่ยงอยู่แล้ว***<O:p</O:p
    โดยธรรมชาติ เมื่อไม่เข้าไปเนื่องไม่เข้าไปเนิ่นช้าในความคิดทั้งปวง ความคิดทั้งปวงนั้นมันก็ดับโดยตัวมันเองโดยสภาพมันเองตามธรรมชาติ ธรรมชาติที่ว่า ทุกสรรพสิ่งย่อมไม่เที่ยงอยู่แล้ว***<O:p</O:p
    การรู้ชัดว่า เวทนาทั้งปวงนั้นมันไม่เที่ยงมันดับโดยตัวมันเอง<O:p</O:p
    การรู้ชัดว่าความคิดทั้งปวง(จิต)นั้น มันไม่เที่ยงมันดับโดยตัวมันเอง........นั้น เป็นการเจริญ กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ซึ่งย่อมทำให้โพชฌงค์ธรรมเต็มบริบูรณ์โดยตัวมันเองด้วย และย่อมทำให้วิชชาและวิมุติเต็มบริบูรณ์โดยตัวมันเองด้วยเช่นกัน.<O:p</O:p
    “นี่คือ....ธรรมชาติอันปรุงแต่งไม่ได้ นี่คือ....นิพพาน”<O:p</O:p
    เว่ยหล่างจึงแต่งโศลกขึ้นมาใหม่ว่า ท่านไม่มีวิธีและเครื่องมือนั้น จึงถูกต้อง<O:p</O:p
    ยิ่งปรุงแต่ง.....ในวิธีอันหลุดพ้นว่าต้องทำอย่างนี้ เพื่อการนี้.<O:p</O:p
    วิธีหลุดพ้นอันแท้จริง(วิธีธรรมชาติ).....ก็จะหายไป<O:p</O:p

    <O:p</O:p
    8.พระสังฆปรินายกกล่าวไว้ว่า “เมื่อภาวะที่แท้แห่งจิตของเราปราศจากมลทิน ปราศจากความโง่<O:p</O:p
    และปราศจากความกระวนกระวาย เมื่อเราตรวจตราภายในจิตของเราด้วยปรัชญาอยู่ทุกขณะโดยไม่ว่างเว้น เมื่อเราไม่ยึดติดอยู่กับสิ่งทั้งหลาย และไม่ยึดติดอยู่กับวัตถุที่ปรากฏ เราก็เป็นอิสระและเสรี<O:p</O:p
    เราจะวางหลักเกณฑ์ในธรรมไปทำไม เมื่อเราอาจบรรลุจุดประสงค์ได้โดยไม่มีปัญหา ไม่ว่าเราจะเหลียวซ้ายหรือแลขวา....... ทั้งนี้เนื่องจากความพยายามของเราเองที่เราตระหนักชัด<O:p</O:p
    ถึงภาวะที่แท้แห่งจิต และ เนื่องจากการตระหนักชัดกับการปฎิบัติธรรม นั้น<O:p</O:p
    เป็นสิ่งที่ต้อง ปฏิบัติพร้อมกันไป ไม่ใช่ค่อยทำค่อยไปทีละขั้น ............<O:p</O:p
    การวางหลักเกณฑ์ในธรรมจึงไม่จำเป็น เพราะธรรมทั้งหลาย ย่อมมีลักษณะเป็นนิพพานอยู่แล้วในเนื้อหา........เราจะสามารถไปกำหนดเป็นขีดขั้นได้อย่างไร? <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    อธิบาย การที่เราเข้าไปวางหลักเกณฑ์ในธรรมซะเอง โดยไม่เข้าใจว่าเส้นทางหลุดพ้นนั้นเป็นเส้นทางแห่งธรรมชาติ มันเป็นวิธีและเครื่องมือโดยตัวมันเอง...... การที่เราดำริเอาจิตไปปรุงแต่งในวิธีหลุดพ้น ว่าจะต้องทำตรงนี้ เพื่อตรงนี้ซึ่งเป็นการค่อยทำค่อยไปทีละขั้นนั้น การวางหลักเกณฑ์เช่นนี้ เป็นการขวางธรรมชาติ.......ทำให้ไม่สามารถบรรลุนิพพานธรรมได้.....<O:p</O:p
    พระพุทธองค์ก็ไม่เคยทรงวางหลักเกณฑ์ใดๆ.....<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    การที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า “มรรคอันหลุดพ้นนั้นมีองค์แปด” หรือตรัสไว้ว่า “โพชฌงค์ธรรม 7 ประการที่เต็มบริบูรณ์ย่อมทำให้ วิชชาและวิมุติย่อมบริบูรณ์”นั้น ไม่ใช่เป็นการที่พระพุทธองค์บัญญัติขึ้นมาเอง ก็หาไม่..........<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    มรรคมีองค์แปด หรือ โพชฌงค์ 7 มันเป็นอินทรีย์แห่งธรรม....... มันเป็นกำลังของธรรมทั้งหลายที่จะพาจิตให้พ้นจากอาสวะกิเลส อวิชชาตัณหาอุปาทานทั้งปวง <O:p</O:p
    อินทรีย์หรือกำลัง แห่งธรรมนี้......มันเกิดจากการที่เราเข้าใจในอริยสัจ ว่าอะไรคือปัญหา ปัญหาเกิดจากอะไรและต้องแก้ไขอย่างไร เมื่อเข้าใจและปล่อยให้ทุกสิ่งดำเนินไปตามวิถีธรรมชาติแห่งมัน......<O:p</O:p
    การปล่อยให้ทุกสิ่งดำเนินไปตามวิถีแห่งธรรมชาติทุกๆขณะนั่นแหละ “เป็นการเกิดและเพิ่ม” อินทรีย์หรือกำลังแห่งธรรม ไปในตัวพร้อมกัน ไม่ว่าจะเป็น สติ สมาธิ ปัญญา ความเพียร ปีติ ปัสสัทธิ อุเบกขา ที่มีอยู่ในมรรคมีองค์แปด หรือ โพชฌงค์ 7 ก็ตาม <O:p</O:p
    ในเส้นทางหลุดพ้น ตั้งแต่โสดาปัตติมรรค จนถึง อรหันตผล นั้น อินทรีย์แห่งธรรมทั้งหลายนั้นประกอบขึ้นมาด้วยความสามัคคี หรือ ความพร้อมเพรียงแห่งธรรมเท่านั้น***<O:p</O:p
    การตระหนักชัดถึงภาวะแห่งจิต กับ การปฏิบัติธรรมนั้น จึงเป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติพร้อมกันไป.<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ความเข้าใจผิดและเข้าไปดำริปรุงแต่ง เพื่อวางหลักเกณฑ์ในธรรมซะเอง วางเพื่อเข้าไปทำทีละอย่างทีละขั้นตอน เช่น ดำริว่าต้องนั้งสมาธิให้ถึงฌาน 4 เสียก่อน และต้องฝึกสติในท่าเดินจงกรมเสียก่อน แล้วค่อยมาพิจารณาธรรมว่าควรวางจิตอย่างไร วางจิตได้ขนาดนี้แล้ว ยังขาดเหลืออวิชชาตัวไหนอีก และต้องจัดการกับมันอย่างไร .................พระพุทธองค์ท่านไม่เคยสอน....ว่าทำเช่นนี้แล้ว จะพ้นจากกองทุกข์ทั้งปวงได้. เป็นการปฏิบัติธรรมที่เต็มไปด้วยความลังเลสงสัย(วิจิกิจฉา) เป็นความลังเลสงสัยที่ตนเองก็ไม่สามารถรู้ได้เลย หากตนเองได้ปักใจเชื่อแล้วว่า การวางหลักเกณฑ์เพื่อเข้าไปทำที่ละอย่างที่ละขั้นตอนแบบค่อยเป็นค่อยไปนั้น เป็นการปฏิบัติธรรมที่ถูกต้องนั้น การปฏิบัติแบบนี้ ก็ไม่สามารถบรรลุชั้นโสดาบันได้เลย เพราะยังไม่สามารถเข้าใจกระบวนการแห่งธรรมที่แท้จริง ยังมีความลังเลสงสัยอยู่.<O:p</O:p
    การที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า มรรคหรือโพชฌงค์ มีธรรมตัวไหนบ้าง ธรรมแต่ละตัวมีหน้าที่อย่างไรและเกี่ยวเนื่องกันอย่างไรนั้น เป็นการแจกแจงธรรมโดยอาศัย ปฏิสัมภิทาญาณแห่งความเป็น<O:p</O:p
    พุทธวิสัยของพระพุทธองค์ เป็นการแจกแจงธรรมเพื่อให้เราเรียนรู้และขจัดความลังเลสงสัยในธรรมทั้งปวงเท่านั้น.<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    และเมื่อเราเข้าใจธรรมตรงนี้แล้ว การนั่งสมาธิ การเดินจงกรม การกินข้าว การทำหน้าที่การงาน การยืน การเดิน การคุยกับเพื่อน การอาบน้ำ การนอน การเคลื่อนไหวในการไปและการมา ก็จะคล่องแคล่วไม่ติดขัด อยู่ท่ามกลางระหว่างได้อย่างลงตัวโดยไม่จำกัดกาล(อกาลิโก) ....เป็นการปฏิบัติธรรมที่เสมอกันด้วยธรรมอันเป็นธรรมชาติ ในการเคลื่อนไหวร่างกายในอริยบททั้ง 4 ได้อย่างลงตัวและเหมาะสมในทางธรรม.<O:p</O:p
    จริงๆแล้ว ธรรมอันเป็นธรรมชาติ ย่อมมีลักษณะเป็นนิพพานอยู่แล้วโดยเนื้อหา.<O:p</O:p
    ผู้ที่เข้าใจประโยคนี้ได้ชัดเจนรองลงมาจากพระพุทธองค์ ก็คือ พระพาหิยะ นั่นเอง<O:p</O:p
    ท่านเป็นพระอรหันต์ที่บรรลุธรรม “เร็วที่สุด” ใช้เวลาน้อยกว่าใครในการพิจารณาธรรมและปฏิบัติเพื่อบรรลุ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ก็เพราะท่านเข้าใจว่า การปรุงแต่งทั้งปวงในทุกเรื่องของจิตนั้น ล้วนบังพระนิพพานทั้งสิ้น <O:p</O:p
    ก็เพราะท่านเข้าใจว่า ธรรมชาติมันดับมันไม่เที่ยงโดยตัวมันเองอยู่แล้ว <O:p</O:p
    ก็เพราะท่านเข้าใจว่า จิตที่ปรุงแต่งทั้งปวงนั้นมันดับมันไม่เที่ยงโดยตัวมันเองอยู่แล้ว<O:p</O:p
    ก็เพราะท่านเข้าใจว่า.......ท่านจักไม่ปรุงแต่งว่าท่านยังไม่หลุดพ้น ท่านจักไม่ปรุงแต่งว่าท่านไม่หลุดพ้นเพราะเหตุใด ท่านจักไม่ปรุงแต่งว่าท่านหลุดพ้นแล้ว ท่านจักไม่ปรุงแต่งว่านี่คือธรรมชาติอันปรุงแต่งไม่ได้แล้ว ........<O:p</O:p
    และเมื่อท่านเข้าใจว่า.......ธรรมอันเป็นธรรมชาติ ย่อมมีลักษณะเป็นนิพพานอยู่แล้วโดยเนื้อหา ไม่จำเป็นต้องดำริใดๆ เพื่อเข้าไปแก้ไขธรรมชาติที่มันลงตัวอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องดำริใดๆ เพื่อเข้าไปลูบคลำบัญญัติธรรมอันเป็นธรรมชาติว่ามันคืออะไรขึ้นมาอีก.........ท่านพาหิยะก็ลุถึงวิชชาคือความรู้แจ้งทั้งปวง ลุถึงวิมุติคือความหลุดพ้น โดยท่านใช้เวลาเพียงชั่วครู่เดียว<O:p</O:p
    นิพพานอยู่แล้วโดยตัวมันเองสภาพมันเอง........นิพพานอยู่แล้ว .<O:p</O:p
    <O:p></O:p>
    นิพพาน.........อยู่แล้ว . <O:p</O:p
    ข้อความบางส่วนที่น่าสนใจ...........ในสูตรเว่ยหล่าง<O:p</O:p

    1.ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย จิตเดิมแท้ (essenceof mind)ของเรา ซึ่งเป็นเมล็ดพืชหรือแก่นของการตรัสรู้นั้น เป็นของ”บริสุทธิ์ตามธรรมชาติ” และต้องอาศัย จิตเดิมแท้ นี้เท่านั้น มนุษย์เราจึงจะเข้าถึง<O:p</O:p
    ความเป็นพุทธะได้โดยตรงๆ.<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    2.การที่ใครจะบรรลุอนุตตรสัมโพธิได้ ผู้นั้นจะต้องรู้แจ้งด้วยใจเอง ในธรรมชาติแท้ของตัวเอง หรือที่เรียกว่า<O:p</O:p
    จิตเดิมแท้ อันเป็นสิ่งที่ใครสร้างขึ้นไม่ได้ หรือทำลายให้สูญหายไปก็ไม่ได้. ชั่วเวลาขณะจิตเดียวเท่านั้น<O:p</O:p
    ผู้นั้นสามารถเห็นแจ้งจิตเดิมแท้ได้โดยตลอดกาลทั้งปวง ต่อจากนั้นทุกๆสิ่งก็จะเป็นอิสระจากการถูกกักขัง<O:p</O:p
    กล่าวคือจะเป็นวิมุติหลุดพ้นไป. ตถตา(คือความเป็นแต่ที่เป็นอยู่เช่นนั้น ไม่อาจเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นได้
    ซึ่งเป็นชื่อของจิตเดิมแท้อีกชื่อหนึ่ง) ปรากฏขึ้นเป็นครั้งเดียวหรือชั่วขณะจิตเดียว ผู้นั้นก็จะเป็นอิสระจากความหลงได้ตลอดกาลไม่มีที่สิ้นสุด. ไม่ว่าสถานการณ์รอบข้างจะเป็นเช่นไร ใจของผู้นั้น ก็ยังคงอยู่ในสภาพแห่ง”ความเป็นเช่นนั้น”. สถานะเช่นนี้ ที่จิตได้ลุถึงนั่นแหละคือตัวสัจจธรรมแท้ ถ้าสามารถมองเห็น<O:p</O:p
    สิ่งทั้งปวง โดยลักษณะการเช่นนี้ ก็จะได้รู้แจ้งจิตเดิมแท้ ซึ่งเป็นการตรัสรู้อันสูงสุด.<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    3.จิตเดิมแท้นั้น เป็นของบริสุทธิ์ อย่างบริสุทธิ์แท้จริง จิตเดิมแท้นั้น เป็นอิสระไม่อยู่ภายใต้อำนาจความต้องเป็นอยู่ หรือภายใต้ความดับสูญ อย่างอิสระแท้จริง จิตเดิมแท้นั้น เป็นสิ่งที่มีความสมบูรณ์อยู่ในตัวมันเองอย่างสมบูรณ์แท้จริง จิตเดิมแท้นั้น เป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือความเปลี่ยนแปลง อย่างนอกเหนือแท้จริง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฏออกมานี้ ไหลเทออกมาจากตัว จิตเดิมแท้.
    <O:p</O:p4.มันเป็นการบังเอิญในวันนั้น เมื่อธงริ้วกำลังถูกลมพัดสะบัดพริ้วๆ อยู่ในสายลม ภิกษุสองรูปเกิดโต้เถียงกันขึ้นว่าสิ่งที่กำลังไหวสั่นระรัวอยู่นั้น ได้แก่ลมหรือได้แก่ธงนั้นเล่า เมื่อไม่มีทางตกลงกันได้ อาตมาจึง<O:p</O:p
    เสนอข้อตัดสินให้แก่ภิกษุสองรูปนั้นว่า ไม่ใช่ลมหรือธงทั้งสองอย่าง ที่แท้จริงที่หวั่นไหวจริงๆนั้นได้แก่จิต<O:p</O:p
    ของภิกษุทั้งสองรูปนั้นเองต่างหาก.<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    5.คนที่ไม่รู้จัก จิตเดิมแท้ ของตนเอง และยังแถมมีความเขลาไปว่า............. การบรรลุพุทธรรมนั้น มีได้ด้วยศาสนพิธีต่างๆที่กระทำกันทางกายภายนอก(ไม่เกี่ยวกับจิต) นี้แหละคือคนจำพวกที่เข้าใจอะไรได้ยาก.<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    6.ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย ผู้ใดอยากทำการปฏิบัติ(ทางจิต) จะทำที่บ้านก็ได้ ไม่มีความจำเป็นสำหรับคนเหล่านี้ ที่จะต้องอยู่ในสังฆาราม พวกที่ปฏิบัติตนอยู่กับบ้านนั้น อาจเปรียบกันได้กับชาวบ้านทางทิศตะวันออกที่ใจบุญ พวกที่อยู่ในสังฆาราม แต่ละเลยต่อการปฏิบัตินั้น ไม่แตกต่างอะไรไปจากชาวบ้าน<O:p</O:p
    ที่อยู่ทางทิศตะวันตก แต่ใจบาป.<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    7.ผู้ที่มีใจเที่ยงธรรม การรักษาศีลไม่เป็นของจำเป็น<O:p</O:p
    ผู้มีความประพฤติตรงแน่ว การปฏิบัติในฌานมันจะมีมาเอง(แม้จะไม่ตั้งใจทำ)<O:p</O:p<O:p</O:p
    8.ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย การบำเพ็ญ “สมาธิที่ถูกวิธี” นั้น ได้แก่ การทำเป็นระเบียบตายตัว เพื่อให้เราเป็นคนตรงแน่วในทุกโอกาส ไม่ว่าคราวยืน นั่ง หรือนอน<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    9.ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย การนั่ง เพื่อการกัมมัฏฐานภาวนา? ในนิกายของเรานี้ การนั่ง หมายถึง<O:p</O:p
    การได้รับอิสรภาพอันเด็ดขาด และมีจิตสงบได้ในทุกๆกรณีที่แวดล้อมเข้ามาจากภายนอก ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายข้างดี หรือเป็นอย่างใดมา การกัมมัฏฐานภาวนานั้น หมายถึงการเห็นชัดแจ้งในภายใน ต่อ “ความแน่วไม่หวั่นไหว” ของจิตเดิมแท้.<O:p</O:p
    10.เมื่อเราสามารถน้อมจิตของเราไปตามทางแห่งธรรมะอันแท้ และถูกตรงในทุกโอกาส และเมื่อปัญญาแจ่มแจ้งอยู่ในใจของเราไม่ขาดสาย จนกระทั้งเราสามารถตีตัวออกห่างเสียได้ทั้งจากความรู้แจ้งและความไม่รุ้ ไม่ข้องแวะด้วยความจริงหรือความเท็จ, เมื่อนั้นแหละ เราอาจจะถือว่า ตัวเราได้รู้แจ่มชัดแล้วใน<O:p</O:p
    “ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ “ หรืออีกนัยหนึ่ง, ได้ลุถึงแล้วซึ่งพุทธภาวะ<O:p</O:p11.ปรัชญา(ปัญญา) คือ “สิ่งที่ใจเป็น”<O:p</O:p
    สมาธิ คือ “สิ่งที่พุทธะเป็น”<O:p</O:p
    ในการบำเพ็ญปรัชญาและสมาธิ ต้องให้แต่ละอย่างลงจังหวะต่อกันและกัน<O:p</O:p
    แล้วความคิดของเราก็จะบริสุทธิ์<O:p</O:p
    คำสอนข้อนี้จะเข้าใจได้ ก็แต่โดยการ “ประพฤติดูจนช่ำชอง”<O:p</O:p
    ที่ว่าสมาธิตั้งมั่นนั้น ที่จริงมิใช่สมาธิอะไรเลย<O:p</O:p
    คำสอนที่ถูกต้องนั้นคือ ให้บำเพ็ญปัญญา คู่กันไปกับสมาธิ โดยไม่แยกกัน.<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    12.การเริ่มต้นปฏิบัติ “ด้วยการแสวงหานั้น” เป็นการถือเอาทางผิดโดยสิ้นเชิง<O:p</O:p
    เพราะเมื่อสิ่งเหล่านี้มีอยู่ในเราเองแล้วเรื่องของมันก็คือทำให้เห็นแจ้งออกมา ไม่ใช่เที่ยววิ่งแสวงหา.<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    13.การพยายามจะ “จับฉวย” หรือ “กุมตัว” สภาวธรรมเหล่านี้ เป็นการกระทำที่ขัดขวางต่อธรรมชาติแท้ของมันอย่างตรงกันข้าม<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    14.ฉันไม่รู้(สึกว่ามี) ธรรมะของพระพุทธเจ้าเลย<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    15.การทำจิตให้เป็นอิสระจากมลทินทั้งปวง คือ ศีลของภาวะที่แท้แห่งจิต<O:p</O:p
    การทำจิตให้เป็นอิสระจากความกระวนกระวายทั้งหลาย คือสมาธิ ของภาวะที่แท้แห่งจิต<O:p</O:p
    สิ่งที่ไม่เพิ่มขึ้นหรือลดลง นั่นแหละคือ วัชร (วัชร หมายถึง ภาวะที่แท้แห่งจิต)<O:p</O:p
    การมา และ การไป เป็นสมาธิในขั้นต่างๆ<O:p</O:p
    16.ความเป็นตัวตนนั้นไม่ใช่อะไร นอกจากเป็นภาพลวงอันเกิดจาก การประชุมกันของขันธ์ห้า<O:p</O:p
    และภาพลวงนี้ ก็ไม่มีอะไรที่จะเกี่ยวข้องกับความจริงแท้.<O:p</O:p
    17.การยึดมั่นว่า มีตถตา(ความเป็นเช่นนั้นเองไม่เปลี่ยนแปลงเป็นอื่น)สำหรับเราที่จะยึดหมาย หรือ มุ่งไปสู่<O:p</O:p
    ย่อมเป็นธรรมที่ไม่บริสุทธิ์อย่างหนึ่ง<O:p</O:p
    18.ผู้เดินทาง ควรกำจัดความคิดทั้งมวลเสีย ความดีก็เช่นเดียวกับความชั่ว สิ่งนี้ย่อมเป็นเพียงหนทางที่เรียกกันว่า”ภาวะที่แท้แห่งจิต” เท่านั้น โดยแท้จริงแล้ว ย่อมไม่อาจเรียกเป็นชื่อใดๆได้ “ธรรมชาติอันไม่เป็นของคู่” นี้ คือ “ธรรมชาติที่แท้จริง”<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กุมภาพันธ์ 2011

แชร์หน้านี้

Loading...