ชั่วโมงซียน"บอย ท่าพระฯ"-สุดยอด!!...เหรียญเทพเจ้า

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 26 มีนาคม 2008.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    ชั่วโมงซียน"บอย ท่าพระฯ"-สุดยอด!!...เหรียญเทพเจ้า


    [​IMG]

    ปัจจุบันคนไทยเรานอกจากจะกราบไหว้บูชาพระพุทธปฏิมากรแล้ว ก็ยังมีที่พึ่งทางใจจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาอื่นอีกด้วย เช่น พระพิฆเนศ พระพรหม พระอิศวร และพระนารายณ์ ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูส่วนเทพเจ้าของชาวจีนก็มีการนับถือไม่น้อย

    [​IMG]

    เช่น พระโพธิสัตว์กวนอิมพระไภสัชคุรุพุทธเจ้า กวนอู ไต้ฮงกงและไฉ่ซิงเอี้ย เทพเจ้าแห่งโชคลาภเป็นต้น เมื่อมีคนนับถือกันมากๆ จึงมีการจัดสร้างวัตถุมงคล ที่จำลองรูปลักษณะเทพเจ้าองค์ต่างๆลงไป ทั้งเป็นรูปลอยองค์ และเหรียญ

    อย่างไรก็ตามตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การสร้างวัตถุมงคลที่เกี่ยวกับเทพเจ้านั้น มีการสร้างออกมาให้เช่าบูชากันอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลที่เกี่ยวข้องกับชาวจีน แต่ในจำนวนเหรียญเทพเจ้าทั้งหมด มีเหรียญเทพเจ้าอยู่เพียง ๓ รุ่นเท่านั้น ที่เรียกว่า "เป็นเหรียญเทพเจ้ายอดนิยม และเป็นที่ต้องการแสวงหาของสังคมวงการพระเครื่อง"

    [​IMG]

    เหรียญเทพเจ้าเหรียญแรกที่ได้รับความนิยมสูงสุดต้องยกให้ เหรียญพรหมสี่หน้าอาจารย์เฮงไพรวัลย์ ค่านิยมสภาพสวยๆประมาณ ๒-๓ แสนบาท ลักษณะเป็นเหรียญสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดที่อยู่ในแวดวงนักนิยมสะสมเหรียญคงจะพบเห็นอยู่บ่อยๆ เพราะเหรียญพรหมเหรียญนี้ เป็นที่รู้จักมักคุ้นกันดี อีกทั้งในแวดวงพระเครื่องมีการจัดประกวดกันอยู่บ่อยๆ ลักษณะเป็นเหรียญปั๊ม ห่วงเชื่อม พื้นเหรียญค่อนข้างบาง ขอบโดยรอบยาวเป็นเส้นนูนสองเส้น เส้นนอกใหญ่ และเส้นในเป็นเส้นเล็ก องค์ประธานของเหรียญประดิษฐ์เป็นเศียรพรหมสี่เศียร หันเศียรออกตรงสี่มุมอย่างสวยงาม

    เหรียญพรหมรูปข้าวหลามตัดท่านอาจารย์เฮง เหรียญนี้จัดเป็นเหรียญรุ่นแรกของท่าน ที่ออกมาเป็นรุ่น ๑ เริ่มสร้างปี ๒๔๗๙ เป็นต้นมา มีจำนวนเป็นร้อยๆ เหรียญ เหรียญรุ่นนี้เป็นเหรียญที่สร้างด้วยเนื้อเงิน (เนื้ออื่นยังไม่เคยเห็น) ปัจจุบันถ้าเป็นเหรียญที่อยู่ในสภาพสวยๆมีค่านิยมอยู่ระหว่าง ๑-๓แสนบาท ด้วยเหตุนี้จึงมีการทำปลอมออกมาจำนวนมาก

    ส่วนเหรียญเทพเจ้าที่ได้รับความนิยมรองลงมากคือ เหรียญจักรเพชรวัดดอน ยานนาวา กรุงเทพฯสร้างปี ๒๕๐๘ เป็นเหรียญพระพรหม มี ๒ เนื้อคือ เนื้อฝาบาตรค่านิยมอยู่ในหลักหมื่นปลายส่วน เนื้ออัลปาก้าค่านิยม๔-๕ หมื่นบาท

    เหรียญนี้มีการประกอบพิธีปลุกเสกตามหลักของพระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ด้วยกันนับเป็นเหรียญที่มีประสบการณ์ทางคงกระพันสูงมากที่สุด มีผู้เจอกันไม่รู้เท่าไรต่อเท่าไรกันแล้ว เป็นเหรียญที่น่าอาราธนาขึ้นคอ เพื่อหวังผลทางคุ้มครองอันตรายเป็นที่สุด

    สามเณรวิรัชลุปซาร์ หรือ ท่านนารทะ ราชโยคะ ได้สร้างเหรียญท้าวมหาพรหมธาดาหรือเหรียญจักรเพชรณอุโบสถวัดดอน เมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๐๘เพื่อแจกจ่ายแก่ลูกศิษย์ลูกหา มี ๒ เนื้อ คือ เนื้อสตางค์ มีน้อย และเนื้ออัลปาก้า ซึ่งหายากมาก

    สามเณรวิรัชบ้านเดิมอยู่ย่านวัดดอน ยานนาวา มีปู่เป็นชาวเยอรมัน ชื่อ เฟอร์โดลุปซาร์ เคยเป็นครูสอนเกษตรในไทยก่อนสงครามโลกครั้งที่๑ คุณย่าชื่อ แช่มศรีโยหะ บิดาชื่อวินิจลุปซาร์

    สามเณรวิรัชลุปซาร์ เกิดเมื่อปี ๒๔๙๐ เป็นลูกคนที่สี่ บวชเป็นสามเณรที่วัดดอน ยานนาวา ตั้งแต่อายุ ๗ ขวบ ศึกษาวิชาไสยศาสตร์กับ อาจารย์ทีชาวเขมรที่ จ.ศรีสะเกษ จนสำเร็จ อาจารย์ทีเสียชีวิตเมื่ออายุ ๑๒๔ ปี ขณะนั้นสามเณรวิรัชอายุได้ ๑๒ ปี

    เมื่อได้วิชาแล้วสามเณรวิรัชกลับมายังวัดดอน ยานนาวา ที่บวชอยู่ และเผยแพร่วิชาไสยศาสตร์ที่ร่ำเรียนมา มีทั้งการลงเสือ ลงช้าง เสกเป่า เมื่อลงเสร็จแล้วก็ทดลองกันเดี๋ยวนั้น ในโบสถ์วัดดอน จนมีชื่อเสียงกระฉ่อน แต่สามเณรวิรัชมีอายุที่ได้รับจากเบื้องบนเพียง ๑๙ ปี มรณภาพเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๙

    ก่อนหน้านั้นเมื่อปี๒๕๐๘ ท่านได้สร้าง เหรียญจักรเพชรขึ้นมาและได้บรรจุวิชาสำคัญครบเครื่อง ตั้งแต่เมตตามหานิยม แคล้วคลาด จนถึงคงกระพันชาตรี เป็นเหรียญที่โด่งดังมาก

    ในขณะที่เหรียญเทพเจ้าตามคติความเชื่อของชาวจีนยอดนิยมนั้นต้องยกให้ เหรียญไต้ฮงกงมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งปี๒๔๙๓ จัดสร้างในวาระครบรอบ๔๐ ปี แห่งการก่อตั้งมูลนิธิ เหรียญเงินค่านิยมประมาณ ๒ แสนบาท ส่วนเนื้อทองแดง ค่านิยมประมาณ ๕-๖ หมื่นบาท

    ประวัติความเป็นมานั้นก่อนจะตั้งเป็นมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งนายเบ๊ยุ่นเซียง อัญเชิญรูปจำลองของ หลวงปู่ไต้ฮงขึ้นเรือกลไฟจากซัวเถาใช้เวลา ๑๐วันมาถึงกรุงเทพฯ และประดิษฐานไว้ที่ร้านกระจกยุ่นเซียง แถบวัดเลียบ ชาวจีนทั้งหลายในกรุงเทพฯ ซึ่งเลื่อมใสศรัทธาได้พากันมากราบไหว้เป็นจำนวนมาก

    ในเวลานั้นได้เกิดโรคระบาดขึ้นในหมู่ชาวจีนที่มาเมืองไทยทั้งกาฬโรค อหิวาตกโรค ไข้ทรพิษ ชาวจีนจำนวนมากต่างพากันมากราบไหว้หลวงปู่ไต้ฮง ขอพรให้พ้นภัยหรือหายจากโรคร้าย สะเดาะเคราะห์ด้วยการบริจาคเสื้อผ้า เงินทอง และหีบบรรจุศพจำนวนมาก ก่อเป็นจุดเริ่มต้นของการบำเพ็ญกุศลตามแนวจริยวัตรของหลวงปู่ไต้ฮง นอกจากนี้ยังมีการเรี่ยไรเงินเพื่อทำป่าช้าสาธารณะ สำหรับผู้ป่วยไร้ญาติ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จวบจนปัจจุบัน

    ประวัติของหลวงปู่ไต้ฮงหรือไต้ฮงกงปรากฏอยู่ในจดหมายเหตุอำเภอเตี้ยเอี้ยเมืองแต้จิ๋ว มณฑลกวางตุ้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ท่านเกิดที่เมืองเวินโจว มณฑลเจ้อเจียง เมื่อ พ.ศ.๑๕๘๒สมัยราชวงศ์ซ่งจากตระกูล ลิ้มเดิมชื่อหลิงเอ้อครอบครัวของท่านสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สินได้รับการศึกษาทั้งทางวิชาการ และพุทธศาสนา สอบได้เป็นบัณฑิตระดับจิ้นซือ (บัณฑิตชั้นเอก) เข้ารับราชการเป็นนายอำเภอเมื่ออายุ ๕๔ ปีและบวชเป็นพระในพุทธศาสนาปฏิบัติธรรมเผยแผ่ธรรมะเป็นเวลายาวนาน ในมณฑลฮกเอี้ยน

    เมื่อท่านเจริญอายุได้๘๑ ปีได้ธุดงค์มาถึงอำเภอเตี้ยเอี้ย เมืองแต้จิ๋ว มณฑลกวางตุ้ง เข้าจำพรรษาที่อารามเล่งจั๊วโก๋วยี่ ในปักซัว ต่อมาจึงย้ายไปที่วัดเมี่ยนอันกวน ในตำบลฮั่วเพ่ง ซึ่งมักจะเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติอยู่เป็นเนืองนิจ ทั้งเวลามีพายุ น้ำท่วม ไฟไหม้ โรคระบาด ภัยแล้ง จะมีผู้คนล้มตายจำนวนมาก ท่านก็เก็บศพไปฝังให้โดยไม่รังเกียจ ตั้งศาลารักษาโรคที่ริมโขดหินใหญ่ จัดหาอาหารสิ่งของให้ผู้ยากไร้ที่เดือดร้อน ชักชวนชาวบ้านและสานุศิษย์ให้ประกอบกิจกรรมการกุศลกันอย่างกว้างขวาง

    จริยวัตรแห่งเมตตาธรรมของท่านนั้นช่วยเหลือทั้งผู้มีชีวิตที่ยากไร้และผู้ตายที่ไร้ญาติ ท่านเห็นผู้คนข้ามแม่น้ำเหลียงเจียงที่กว้างใหญ่ถึง ๓๐๐ วาสายน้ำเชี่ยวตลอดปี เกิดเรือล่มคนจมน้ำตายเสมอ ก็ชักชวนชาวบ้านบริจาคกำลังกายกำลังทรัพย์ ลงมือสร้างสะพานฮั่วเพ้งให้ จนท่านมรณภาพเมื่อ พ.ศ.๑๖๗๐ สิริรวมอายุได้๘๘ ปีชาวจีนทางตอนใต้แถบแต้จิ๋วซัวเถา ศรัทธาเลื่อมใสท่านต่อเนื่องกันมาก
    ที่มา http://www.soonphra.com/board/index.php?act=ST&f=20&t=74120
     

แชร์หน้านี้

Loading...