ชยสาโรภิกขุ แรงศรัทธาบนความต่าง

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย วิญญาณนิพพาน, 5 สิงหาคม 2010.

  1. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,878
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,021
    ชยสาโรภิกขุ แรงศรัทธาบนความต่าง


    ทุกวันนี้มีความหลากหลายของสื่อ เว็บไซต์ เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ กลายเป็นว่าคนใจแคบลงมาก เรามักเลือกเฉพาะที่ตรงกับความชอบใจของเรา
    [​IMG]
    ฌอน ชิเวอร์ตัน นามเดิมของหนุ่มอังกฤษก่อนจะเปลี่ยน "ฉายา" เป็น ชยสาโรภิกขุ เมื่อ 19 ปีก่อน และใช้ชวิตอยู่ในร่มกาสวพักตร์มานานถึง 33 ปีแล้ว

    แต่สำหรับตัวท่านเองออกจะคุ้นหูกับคำว่า "พระฝรั่ง" มากกว่า

    พระอาจารย์ชยสาโรภิกขุ แห่งสถานพำนักสงฆ์ จังหวัดนครราชสีมา เป็นผู้มีศรัทธาในพลังแห่งพุทธศาสนา จนได้ชื่อว่าเป็นพระฝรั่งที่ถ่ายทอดความลึกซึ้งทางธรรมฉบับภาษาไทยได้สละสลวยและกินใจพุทธศาสนิกชนทั่วโลก

    - โลกพุทธศาสนาในสายตาตะวันตกเป็นอย่างไร
    พุทธศาสนาในโลกตะวันตก แตกต่างจากที่นี่หลายประเด็น ที่สำคัญคือความหลากหลายทั้งจากอินเดีย ธิเบต จีน ญี่ปุ่น ไทย ลาว เขมร ต่างก็มีสำนักวิปัสนา ความหลากหลายนั้นมีผลดี เพราะมีทางเลือกเยอะ แต่ขณะเดียวกันก็ขาดความสามัคคี ตกลงไม่ได้ว่าพระพุทธศาสนาคืออะไรกันแน่ ภาพพจน์จึงไม่ชัดเจนเท่าไร

    เช่น พระญี่ปุ่นดื่มสาเก เราก็อยู่ในที่ประชุมกันและสอนเรื่องความสำคัญของศีล 5 จึงดูเหมือนไม่ให้เกียรติท่าน บางทีก็ต้องระวังตัว เพราะฉะนั้นพุทธยังคงเป็นศาสนาเล็กๆ ที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับศาสนาอื่นซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากกว่า
    [​IMG]
    - พุทธศาสนาในอังกฤษได้รับความสนใจระดับไหน
    หากดูที่อังกฤษแล้ว ความเชื่อในศาสนาคริสต์ค่อนข้างอ่อนแอ และหันมาสนใจพุทธศาสนามากขึ้นเรื่อย แต่อิทธิพลของศาสนาในโลกตะวันตกเป็นความสนใจคนละรูปแบบกับเมืองไทย

    คนที่นั่นจะเอาคำสอนในพระพุทธศาสนาไปประยุกต์ใช้ในวิชาการต่างๆ โดยที่พยายามเลี่ยงศัพท์ทางพุทธศาสนา เพื่อไม่ให้คนที่ไม่ใช่พุทธปฏิเสธ แล้วเลือกนำหลักคำสอนไปใช้ประโยชน์ได้เต็มที่

    เมื่อเขาได้ส่วนหนึ่งแล้ว เขาก็จะสนใจพุทธศาสนาด้วยตัวเขาเอง แต่ข้อเสียก็คือ คำสอนพระพุทธเจ้าเป็นระบบองค์รวม ถ้าดึงออกมาสักสองสามข้อออกจากบริบทก็จะไม่ได้รับประโยชน์เต็มที่

    อิทธิพลของพุทธศาสนาในอังกฤษ ทั้งในภาคปฏิบัติและแนวความคิดจึงมีอยู่มาก แต่ถ้าถามว่าเป็นพุทธหรือไม่ ก็บอกว่าไม่ใช่ แต่จะสนใจเรื่องการภาวนา การระงับความเครียด จึงสอดรับกับความรู้สึกของคนในโลกที่เจริญแล้ว พวกเขาจะคิดว่าชีวิตไม่มีความหมาย ไม่มีแนวทาง จึงต้องใช้คำสอนในระดับอุดมการณ์ที่ยึดเหนี่ยวจิตใจได้ เพื่อให้สงบปล่อยวางความทุกข์ในใจ

    - แล้วที่นั่นนำหลักคำสอนทางพุทธมาใช้กันอย่างไร

    อาตมาเพิ่งกลับมาจากอังกฤษ มาได้หนึ่งเดือน คนที่นั่นกำลังสงสัยกันมากเรื่อง Mindfulness ซึ่งแปลจากคำว่า สติ สาเหตุที่พวกเขาสนใจเรื่องนี้กันมาก มีที่มาจากคนที่เป็นโรคจิตระบาดทั่วโลก คือจิตซึมเศร้า (Depressive) ซึ่งเคยใช้การรักษาทั้งจิตบำบัดแบบซิกมันด์ ฟรอยด์ และใช้ยา แต่ระยะหลังทั้งสองทางไม่ได้ผลในระยะยาว

    ต่อมาจึงมีสาขาจิตบำบัดใหม่ (Cognitive Therapy:CT) เพื่อแก้ปัญหาคนที่เป็นโรคซึมเศร้า ซึ่งเขาจะมีความคิดบางอย่างตกร่อง คิดปรุงแต่งไปเองว่า ฉันแย่ ฉันไม่ดี ทำอะไรไม่เป็นสักอย่าง จึงพยายามให้คนนั้นกำหนดและปล่อยวางความคิด ทฤษฎีนี้ดี แต่ผลการปฏิบัติยังไม่ค่อยดีเท่าที่ควร

    แต่เมื่อรู้เรื่องการเจริญสติทางพุทธศาสนา การอยู่กับปัจจุบัน และปล่อยวางเรื่องอดีต อนาคต แล้วหันมาจัดการกับความรู้สึกในกาย ในใจ รู้เท่าทันอารมณ์ จึงถูกนำมาเป็นเครื่องมือใหม่ เรียกว่า Mindfulness-Based Cognitive Therapy:MBCT วิธีนี้ดีกว่าและได้ผลมากกว่าเท่าตัว โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคซึมเศร้าเรื้อรัง เพราะแก้ที่รากเหง้าของปัญหา

    ยังมีผลงานของ ดร.จอน คาเบ็ต-ซินน์ (Dr. Jon Kabat-Zinn) ผู้ก่อตั้งศูนย์เซ็นแห่งเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซ็ทส์ สหรัฐอเมริกา สร้างโครงงานที่มีชื่อเสียงในการช่วยคนที่มีอาการเจ็บปวดจากโรคร้ายแรง ซึ่งใช้ยาไม่ได้ผล โดยใช้การเจริญสติเพื่อลดความเครียด (Mindfulness-Based Stress Reduction : MBSR) มาสอนสติให้คน ช่วยระงับความรุนแรงของเวทนาสำหรับคนที่เป็นโรคที่ไม่ทางรักษาให้หายขาดได้

    ปัจจุบัน เรื่องนี้ถูกพูดถึงกันมาก ทำให้โครงงานที่เกี่ยวกับสติได้รับความนิยมสูง ก่อนกลับมาเมืองไทย อาตมาได้ไปเยี่ยมโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง เขาสอนวิชาสติให้วัยรุ่นมัธยม โดยไม่ได้กล่าวคำว่าพระพุทธศาสนา ซึ่งทางกระทรวงก็ไม่ได้ว่าอะไร แต่จริงๆ แล้วก็ดึงหลักของพระพุทธศาสนามาใช้นั่นเอง

    - เมื่อมีหลายนิกาย ทำไมท่านตัดสินใจเลือกเส้นทางนี้
    ที่เลือกยึด หลักเถรวาท เพราะมีความตั้งใจ ต้องการจะทุ่มเทกาย ถวายชีวิตให้กับพระพุทธศาสนา เพื่อบรรลุมรรคผลนิพพาน

    และที่ชอบฝ่ายเถรวาท เพราะถูกจริต ตรงไปตรงมา ไม่มีพิธีรีตรองมากมาย แต่เข้ามาเกี่ยวกับกายกับใจกับทุกข์ การที่จะอยู่กับป่ากับ ธรรมชาติ อย่างที่สาวกพระพุทธเจ้าเคยปฏิบัติในสมัยพุทธกาล

    - แล้วพระต่างชาติมีปัญหาเรื่องศัพท์ทางธรรมหรือไม่
    อาตมาคิดว่า เรื่องภาษาไม่ใช่อุปสรรค เพราะเชื่อว่าภาษาพื้นฐาน คือบาลีสันสกฤต ซึ่งทั้งคนไทยและต่างชาติก็ต้องเริ่มมาเรียนรู้เหมือนกัน

    ภาษามีความยากพอกัน แต่คนไทยอาจจะง่ายกว่าที่ศัพท์ไทยมีบาลีสันสกฤต แต่ในเมื่ออาตมาเป็นฝรั่ง ก็ต้องพยายามและขยันมากหน่อย ก็ไม่นาน

    ที่อาตมารู้สึกได้ผล คือการท่องตัวอักษรจนกระทั่งอ่านได้ จากนั้นก็อยู่คนเดียว ค่อยๆ อ่าน ดูศัพท์ในดิกชันนารี อีกทั้งอยู่กับครูบาอาจารย์ ไม่ได้เรียนทฤษฎีอะไรมากมาย ก็ปฏิบัติไปด้วย มีการพิสูจน์ไปด้วย ได้ปรึกษาหารือกับครูบาอาจารย์ ได้อ่านได้ฟัง พูดคุยกับพระด้วยกัน ทั้งหมดเป็นชีวิตของเรา เราก็ต้องคลุกคลีกับสิ่งนี้อยู่แล้วจึงไม่ยากเท่าไร

    - ท่านมีบุคคลที่เป็นแรงบันดาลใจในการศึกษาธรรมอย่างบ้างไหม
    อาตมาอยู่กับพระอาจารย์สุเมโธในเวลาไม่นาน แต่มาผูกพันกับหลวงพ่อชามาก ท่านสอนทุกอย่าง โดยใช้ภาษาง่ายๆ แต่มีความหมายลึกซึ้ง สามารถนำไปคิดได้ตลอดชีวิต อย่างที่ท่านสอนว่า "ทุกข์เพราะคิดผิด" มันง่ายๆ แปลได้ตรงตัว มันไม่ใช่ทุกข์ทางกาย แต่เป็นทุกข์ทางใจ เพราะคิดผิดอะไรอยู่ เพราะอยากได้แล้วไม่ได้ เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่ชอบ หรือได้ในสิ่งที่ไม่ชอบ ธรรมะเป็นเรื่องความรู้สึกไม่จำเป็นต้องใช้ภาษาพิสดาร มันก็ขยายออกจากความจริงได้ง่าย แล้วเราก็ปฏิบัติตามคำสอนของท่าน

    แต่ที่สูงสุดสำหรับอาตมาแล้ว พระพุทธเจ้าเป็นต้นแบบ เพราะเราก็เป็นชาวพุทธ และมีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา เป็นครูที่คุ้มครอง พูดในทางโลกแล้วท่านเป็นผู้ไม่มีโลภ โกรธ หลง และในทางบวชทางธรรม ท่านถึงพร้อมด้วยกรุณา ปัญญา ด้วยความบริสุทธิ์ใจ ละกิเลส ทุกคนที่มุ่งมั่นในการปฏิบัติก็จะดำเนินตามรอยพระพุทธองค์
    [​IMG]
    - แล้วได้นำวิถีคำสอนมาสร้างสไตล์การสอนอย่างไร
    สำนวนการเขียน การพูด มันจะต้องเกิดจากความเข้าใจ หรือมีสิ่งที่อยากสื่อก่อน แล้วก็ใช้ภาษาที่เหมาะที่สุดกับสิ่งที่ต้องการจะสื่อออกไป

    ไม่ใช่ เริ่มจากสำนวนก่อนแต่ไม่เข้าใจ ทั้งนี้สังเกตว่า เราอ่านในสิ่งที่เข้าใจยาก ก็เพราะให้เกียรติผู้เขียนที่เขาเป็นดอกเตอร์หรือเปล่า มันลึกซึ้งมาก แต่ลึกซึ้งตรงที่ไม่เข้าใจ ซึ่งอาตมาเห็นว่าเป็นข้อผิดพลาดของผู้เขียนที่ไม่สามารถขัดเกลาสำนวนให้ถึง ผู้อ่าน ถ้าไม่อย่างนั้นจะเขียนทำไม ถ้าไม่ต้องการจะสื่อให้ผู้อ่านเข้าใจ

    เราไม่จำเป็นตัดส่วนที่เข้าใจยากออกไปเลย ถ้ามันเป็นคำที่ลึกซึ้งจริงๆสามารถขัดเกลาความรู้สึก สามัญสำนึก
    สำหรับอาตมาเอง ภาษาที่ใช้ในตอนที่เทศน์มากกว่าร้อยกว่าพันกัณฑ์ให้ชาวบ้านฟัง มันเป็นเรื่องท้าทายที่ต้องทำให้ชาวบ้านทุกคนเข้าใจ แม้แต่คนที่ไม่เคยเรียนหนังสือ แต่พวกเขาก็ฉลาด เราต้องพยายามพูดให้เขาเข้าใจในสำนวนที่เราจะสื่อให้ได้

    ถ้าต้องเทศน์ในต่างประเทศที่ต้องมีล่ามด้วยก็ต้องเปลี่ยนเพราะมันยากและไม่มีความต่อเนื่องก็จะเลี่ยงคำยากๆ ไปใช้คำอุปมาอุปไมย เพราะผู้เทศน์ ผู้ฟัง ผู้แปลก็จะลำบาก แต่ถ้าใช้คำเปรียบเทียบก็จะให้เห็นภาพพจน์ได้ดีกว่า

    พระพุทธเจ้าหรือหลวงพ่อชาเป็นตัวอย่างที่ดี ท่านจะดูคน ดูผู้ฟัง จะวางคำพูดให้เหมาะกับผู้ฟัง แม้จะเป็นอุปมาอุปไมย อย่างหลวงพ่อชา เวลาคุยกับทหาร ก็จะคุยเปรียบเทียบกับเรื่องปืน หรือเวลาคุยกับชาวบ้าน ก็คุยเรื่องควาย ทำนา เอาเรื่องใกล้ตัวมาเป็นสะพานจากสิ่งที่อยู่ สิ่งที่ไม่รู้ ไปสู่สิ่งที่รู้

    - ณ เวลานี้ พระอาจารย์คิดว่าเรื่องใดอยากสื่อออกไปมากที่สุด
    ทั้งที่ทิศทาง ของโลกมุ่งเชื่อมโยงกันเป็นหนึ่ง (Global network) แต่มันกลับไม่เชื่อมต่อกัน ผลที่ออกมาตรงข้ามกับที่พยากรณ์ไว้

    ทุกวันนี้มีความหลากหลายของสื่อ เว็บไซต์ เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ สถานีโทรทัศน์ วิทยุ กลายเป็นว่าคนใจแคบลงมาก ในเมื่อมันมีให้เลือกเยอะ เราก็จะมักเลือกเฉพาะที่ตรงกับความชอบใจหรือตรงกับความคิดเห็นของเรา ฝ่ายนี้ก็จะเลือกฟังเลือกดูเลือกคุยกับฝ่ายนี้เท่านั้น แทนที่จะกว้าง เชื่อมต่อกัน เราจึงพูดกันไม่รู้เรื่องกันมากขึ้น

    แม้ความคิดเห็นในการบริหารประเทศ การบ้านการเมืองจะหลากหลายก็ไม่เป็นไร เป็นธรรมดาและเป็นสิ่งที่ดีในระบบประชาธิปไตย

    - แล้วเราจะใช้ธรรมะเข้ามาแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร
    สิ่งที่เราลืมไปและเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องมีมากที่สุด ซึ่งจะเป็นเบื้องหลัง เป็นพื้นฐานของความหลากหลายที่เราต้องถือไว้ นั่นคือ อุดมการณ์ของสังคม หรือคุณค่าที่เราเชิดชู (Common Value) ส่วนมากอาตมาจะยกตัวอย่างว่า ถ้ามีเงินมาวางตรงหน้าร้อยล้าน ให้เลยนะ แต่มีข้อแม้ว่าต้องฆ่าพ่อแม่ ถึงจะให้เป็นพันล้าน แสนล้านก็ไม่ยอมฆ่าพ่อแม่ตัวเองหรอก
    ฉะนั้นตกลงกันได้ว่าในสังคมยังมี สิ่งหนึ่งที่สำคัญกว่าเงิน นั่นคือ ชีวิตพ่อชีวิตแม่ แล้วก็พยายามขยายออกไปสู่คนรอบข้าง สู่ชีวิตคนอื่น ลูกหลาน ญาติพี่น้อง หรือเพื่อนก็ได้ แล้วก็สิ่งอื่น อย่างธรรมชาติสิ่งแวดล้อมก็ได้

    สมมติว่าเรามีป่าที่เมืองกาญจนบุรีเป็นร้อยไร่ แล้วมีคนต่างชาติเอาเงินมาให้แสนล้าน จะขายให้ไหม เราคิดได้ว่าสามารถเอาเงินไปพัฒนาประเทศได้ดีหลายอย่าง แต่ถ้าไม่ขายมันก็จะเป็นที่อยู่อาศัยของป่าของสัตว์ป่า

    เราก็ต้องชั่งใจดูว่าอะไรสำคัญกว่า เราต้องเลือกกำหนดว่าอะไรเป็นคุณค่า จึงต้องหาทางเปรียบเทียบเป็นข้อๆ เพื่อจะเลือกว่าอะไรเป็นข้อที่หนึ่ง สอง แล้วก็จะรู้ว่าเราให้ความสำคัญกับสิ่งใดมากน้อยแค่ไหน

    10-20 ปีที่ผ่านมา เราพัฒนาประเทศชาติโดยให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจเป็นที่หนึ่งตลอด เราก็ถือว่าสิ่งอื่นๆนั้นก็ดี แต่ถ้าต้องเลือก ก็มักจะเลือกเศรษฐกิจ เอาเงินเอาทองก่อน ถึงแม้ว่าจะอยากให้ความอบอุ่นในสังคมหรือมีชีวิตครอบครัวที่ดีก็ตาม

    - ทิศทางของพุทธศาสนาในอนาคตจะเป็นอย่างไร
    พระพุทธศาสนายังมีนิมิตหมายที่ดี แต่ก็อดเป็นห่วงเรื่องความอ่อนแอของสถาบันศาสนา การบริหารจัดการ การศึกษาวินัยสงฆ์ ไม่ได้ แต่ที่น่าอนุโมทนาเรื่องสถานีวิทยุท้องถิ่น ทุกวันนี้มีวัดทั่วประเทศทำสถานีวิทยุของท่าน ทำวัตรเช้าเย็น เปิดซีดีของครูบาอาจารย์ทั้งวันทั้งคืน ที่สังเกตเข้าไปในหมู่บ้าน หรือทุ่งนา จะมีเสียงพระเทศน์แทนเพลงลูกทุ่ง และยังมีการเผยแพร่หนังสือธรรมะ ให้เป็นธรรมทาน

    ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ส่วนไหน ทุกคนมีโอกาสศึกษาธรรมะ ชัดเจนและถูกต้อง เราได้เปรียบกว่าคนสมัยก่อน ทุกวันนี้เดินทางไปวัดก็ไม่ยาก เปิดทีวีเปิดวิทยุ หรือขอซีดีหนังสือธรรมะ มีโอกาสมาก มีการเข้าถึงง่ายขึ้น เป็นข้อที่ดี

    แต่เรื่องคำสอนผิด ความงมงายแพร่หลายมาก หรือที่เป็นพุทธพาณิชย์ เป็นจุดที่น่าเป็นห่วง หรือการที่เข้าใจว่า บุญเป็นสิ่งที่นับได้ ทำร้อยบาทได้ร้อยบุญ อย่างนี้เป็นความคิดที่ไม่ตรงกับที่พระพุทธเจ้าสอน

    มันก็ เป็นความคิดที่ไม่ตรง ชวนให้งมงาย
    ขอบคุณ เนื้อหาข่าวจาก
    [​IMG]

    http://men.mthai.com/content/4066
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 สิงหาคม 2010

แชร์หน้านี้

Loading...