ชมชุมชนบ้านบาตร...อีกหนึ่งประณีตศิลป์แห่งเมืองกรุง

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย paang, 17 มกราคม 2006.

  1. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=350 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=350>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>
    บาตรทำมือ ผลงานประณีตศิลป์ของชาวชุมชนบ้านบาตร
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ชื่อของชุมชนหลายๆ แห่งในกรุงเทพก็ล้วนบ่งบอกถึงอาชีพของคนในชุมชนนั้น ไม่ว่าจะเป็นบ้านบุ บ้านช่างหล่อ บ้านพานถม บ้านตีทอง ฯลฯ และ "ชุมชนบ้านบาตร" ก็เป็นอีกแห่งหนึ่งที่ฟังปุ๊บก็รู้ปั๊บว่าเขาทำอาชีพอะไรกัน และวันนี้ฉันก็จะลงพื้นที่พบปะประชาชนที่ชุมชนบ้านช่างหล่อดูสักหน่อย

    ที่ว่าจะลงพื้นที่นั้นฉันไม่ได้จะไปหาเสียงหรือโกหกหลอกลวงชาวบ้านที่ไหน เพียงแต่ว่า จะขอไปชมอาชีพการทำบาตรของชาวบ้านบาตรเพื่อประดับความรู้เท่านั้นเอง

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=250 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=250>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>
    กฤษณา แสงไชย กำลังตีบาตรบนกะล่อน
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> จากเสาชิงช้า ฉันมุ่งหน้าไปทางประตูผี ข้ามสะพานสมมติอมรมารคแล้ว แล้วเข้าสู่ถนนบริพัตรทางขวามือ เดินไปยังไม่ถึงครึ่งถนนมองทางซ้ายมือก็จะเห็นป้ายชื่อซอยสวยงามตัวใหญ่เบ้อเร่อ เขียนให้เห็นชัดๆ ว่า "ชุมชนบ้านบาตร"

    แต่สิ่งที่ทำให้ฉันรู้ว่ามาถึงชุมชนบ้านบาตรแน่ๆ แล้ว คงเป็นเสียงตีเหล็กดังก๊องแก๊งๆ ให้ได้ยินมาแต่ไกลมากกว่า ที่นี่ฉันได้พบกับคุณป้ากฤษณา แสงไชย ที่กำลังตีบาตรอยู่บนกะล่อน (อุปกรณ์ในการทำบาตรอย่างหนึ่ง) ป้ากฤษณาเป็นชาวบ้านบาตรคนหนึ่งที่เติบโตขึ้นมาในชุมชน และได้เห็นปู่ย่าตายายทำบาตรเป็นอาชีพมาตั้งแต่ยังเด็ก

    ป้ากฤษณาหยุดพักการตีบาตรชั่วครู่หนึ่ง เพื่อเล่าให้ฉันฟังเกี่ยวกับความเป็นมาของชาวบ้านบาตรว่า ชาวชุมชนแห่งนี้มีความเป็นมายาวนานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อครั้งกรุงเก่าก็มีชุมชนที่ประกอบอาชีพทำบาตรอยู่เช่นกัน และเมื่อมีการย้ายแผ่นดินใหม่มายังกรุงรัตนโกสินทร์ มีการกวาดต้อนประชาชนลงมาตั้งถิ่นฐานที่ราชธานีใหม่นี้ ผู้คนในชุมชนเดิมๆ ก็ยังคงเกาะกลุ่มกันประกอบอาชีพแบบเดิมที่เคยทำมา และชุมชนบ้านบาตรนี้ก็เช่นกัน

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=left border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=300 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=300>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>
    หากลองใช้ไม้เคาะบาตรดูจะมีเสียงกังวานเหมือนระฆัง
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=5>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ที่บ้านบาตรนี้ ฉันได้ความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับบาตรพระมาว่า บาตรนั้นไม่ได้มีความสำคัญเพียงแค่เป็นภาชนะใส่อาหารของพระภิกษุสงฆ์เท่านั้น ยังนับเป็นหนึ่งในเครื่องอัฐบริขาร หรือเครื่องใช้สอยที่จำเป็นของสงฆ์ และในพระวินัยยังบอกไว้ว่าพระสงฆ์จะสามารถใช้บาตรดิน และบาตรเหล็กได้เท่านั้น ส่วนบาตรที่ห้ามใช้คือบาตรทอง เงิน แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ แก้วผลึก แก้วหุงทองแดง ทองเหลือง ดีบุก สังกะสี และบาตรไม้ แต่ในปัจจุบันนี้ก็มีบาตรแสตนเลสใช้กันบ้างตามยุคสมัยที่เปลี่ยนไป และพระสงฆ์ที่เคร่งมากๆ บางรูปก็จะใช้บาตรที่ทำด้วยมือ ซึ่งมีตะเข็บ 8 ชิ้นด้วยกัน ซึ่งหากเป็นบาตรปั๊มที่ทำจากโรงงานก็จะไม่มีตะเข็บเลย ดังนั้นพระสงฆ์ที่ต้องการบาตรทำมือที่มีตะเข็บจึงต้องมาสั่งทำที่บ้านบาตรนี้

    ป้ากฤษณา เล่าให้ฟังถึงขั้นตอนการทำบาตรให้ฉันฟังว่า ขั้นตอนแรกต้องเริ่มจากการทำขอบบาตรก่อน ขอบบาตรจะเป็นตัวกำหนดว่าบาตรนี้จะมีขนาดและรูปทรงเป็นอย่างไร จากนั้นจึงทำตัวบาตรโดยใช้แผ่นเหล็กรูปกากบาทมาดัดโค้งขึ้นเป็นโครงบาตร และนำไปประกอบกับแผ่นเหล็กชิ้นเล็กๆ อีก 4 ชิ้น ที่เรียกว่า "หน้าวัว" หรือ "กลีบบัว" ซึ่งเมื่อประกอบกันแล้วจะได้บาตรที่มีตะเข็บ 8 ชิ้นพอดี

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=250 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=250>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>
    บาตรขนาดเล็กของที่ระลึกที่ชาวต่างชาตินิยมซื้อหากันไม่น้อย
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> จากขั้นตอนการประกอบบาตร ก็มาถึงขั้นประสานรอยตะเข็บด้วยการเป่าแล่น ซึ่งวิธีในสมัยโบราณจะใช้ผงทองแดงและน้ำประสานทองประสานรอยต่อ แต่ในปัจจุบันใช้ความร้อนเพื่อทำให้เหล็กประสานกัน เรียบร้อยแล้วนำบาตรไปเผาให้เนื้อเหล็กประสานกัน เรียกว่า "แล่นบาตร" ก่อนที่จะนำมาตีบนกะล่อน หรือท่อนเหล็กที่มีหัวกลมมนเพื่อยุบมุมยุบเหลี่ยม รวมทั้งตีให้รอยตะเข็บที่ยังขรุขระนั้นเรียบเสมอกัน แค่นั้นยังไม่เสร็จต้องนำไป "ตีลาย" บนทั่งไม้เพื่อให้ได้รูปทรง แล้วยังต้องนำไปเจียรและตะไบให้เรียบร้อยเป็นขั้นสุดท้าย แต่ยังไม่ท้ายสุด เพราะต้องเอาบาตรไปบ่มหรือรมควันเพื่อไม่ให้ขึ้นสนิม และทำให้เกิดเป็นสีสันต่างๆ

    ฟังดูแล้ววิธีการทำหลายขั้นหลายตอนไม่ใช่ง่ายๆ นะนี่ ป้ากฤษณาบอกว่าบาตรลูกหนึ่งใช้เวลาอาทิตย์หนึ่งถึงจะเสร็จ แต่ก็ไม่ได้ทำเองทุกขั้นตอน เช่นในส่วนของการทำขอบบาตรก็จะจ้างให้คนในชุมชนเป็นคนทำแทน

    เมื่อถามถึงราคา ป้าบอกว่า ถ้าเป็นบาตรเหล็กขนาด 3 นิ้ว ราคา 500 บาท 7 นิ้ว ราคา 1,000 บาท แต่หากเป็นบาตรแสตนเลส ขนาด 7 นิ้ว เท่ากันราคาจะแพงกว่า คือ 3,000 บาท ส่วนมากหากเป็นนักท่องเที่ยวมาก็มักจะซื้อขนาด 3 นิ้วกลับไปเป็นของที่ระลึก แต่หากเป็นพระสงฆ์ก็มักจะสั่งทำขนาดมาตรฐานคือ 7 นิ้ว หรือจะเป็นบาตรน้ำมนต์ขนาด 12 นิ้วก็มี และบาตรลูกหนึ่งนี้ใช้ได้ 30-40 ปี เลยทีเดียว

    ในกรุงเทพเมืองฟ้าอมรนี้ไม่มีที่ไหนจะเป็นสุดยอดของการทำบาตรเท่ากับที่ชุมชนบ้านบาตรแห่งนี้อีกแล้ว แต่บาตรพระที่ทำด้วยมืออย่างประณีตในวันนี้กลับถูกบาตรปั๊มจากโรงงานที่ผลิตได้มาก รวดเร็ว และราคาถูกกว่าแย่งตลาดไป จึงทำให้หัตถกรรมทำบาตรพระในชุมชนลดลงเหลือเพียงแค่เป็นของที่ระลึก และรับทำตามจำนวนที่มีผู้มาสั่งเท่านั้น

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=left border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=250 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=250>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>
    ขั้นตอนแรกของการทำบาตรต้องเริ่มจากการทำขอบบาตรก่อน
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=5>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> แต่ถึงอย่างไร บาตรของชุมชนบ้านบาตรก็ยังถือเป็นสินค้าคุณภาพ ที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปเข้าหูนักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งป้ากฤษณาบอกฉันว่า ที่นี่มีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเข้ามาชมบ่อย และก็มักจะซื้อบาตรพระขนาดเล็กๆ ติดไม้ติดมือไปเป็นของที่ระลึก แต่ก็น่าแปลกใจว่า ชาวต่างชาติบางคนก็เลือกเป็น โดยการลูบดูตะเข็บข้างในก้นบาตรว่าเรียบหรือขรุขระอย่างไรบ้าง บางคนก็ใช้วิธีใช้ไม้เคาะฟังเสียง เพราะบาตรทำมือนี้เมื่อเคาะแล้วจะมีเสียงกังวานเหมือนเสียงระฆัง บาตรแต่ละลูกก็จะมีเสียงไพเราะไม่เหมือนกัน บางคนก็เคาะดูว่าบาตรลูกไหนให้เสียงเพราะที่สุด แล้วก็ซื้อใบนั้นไป

    อย่างที่บอกว่า หลังจากที่โดนบาตรปั๊มมาแย่งตลาดไป จำนวนของชาวบ้านบาตรที่ยังคงทำบาตรอยู่ก็ลดจำนวนลงไปด้วยเช่นกัน จนตอนนี้เหลืออยู่เพียง 5 ครอบครัวเท่านั้นที่ยังคงทำบาตรกันอยู่ เมื่อฉันถามป้ากฤษณาถึงอนาคตของการทำบาตรพระในชุมชนนี้ ป้าบอกว่า วันหนึ่งอาชีพก็คงจะหมดไป คนที่มารับช่วงต่อก็คงไม่มี ลูกหลานของป้าเองก็ยังเป็นนักเรียนนักศึกษาอยู่ ก็อาจจะให้ช่วยทางด้านอื่น แต่ถ้าหากมีใครสนใจมาเรียนก็ยินดีจะให้ความรู้ ถือว่าชุมชนบ้านบาตรนี้เป็นแหล่งให้ความรู้ ใครมาก็ยินดีสอน

    แม้ชุมชนบ้านบาตรในวันนี้จะยังเหลือครอบครัวที่ทำบาตรอยู่เพียง 5 ครอบครัวเท่านั้น แต่เสียงตีบาตรดังก๊องแก๊งๆ ก็ยังคงดังอยู่ในซอยบ้านบาตร ทำให้ผู้คนที่ผ่านไปผ่านมายังรู้สึกว่า ชุมชนบ้านบาตรนี้เป็นชุมชนที่มีชีวิตอยู่ มิได้เหลือแต่เพียงชื่อเหมือนกับชุมชนอื่นๆ อีกหลายๆ แห่งในกรุงเทพแห่งนี้

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=300 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=300>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>
    อุปกรณ์ทำบาตรต่างๆ
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    * * * * * * * *

    การเดินทาง ไปยังชุมชนบ้านบาตร จากเสาชิงช้าเดินไปตามถนนบำรุงเมืองมุ่งหน้าไปทางแยกสำราญราษฎร์ เมื่อข้ามสะพานสมมติอมรมารคให้เลี้ยวขวาเข้าไปในถนนบริพัตร เดินไปประมาณเกือบกลางซอยจะเห็นซอยบ้านบาตรอยู่ทางซ้ายมือ ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการมาชมอยู่ที่เวลา 11.00-15.00 เนื่องจากชาวชุมชนจะกำลังทำบาตรกันพอดี

    สอบถามรายละเอียด ติดต่อคุณป้ากฤษณา แสงไชย โทร. 0-2819-3641 กด 7, 0-6997-6621

    สำหรับย่านเสาชิงช้านอกจากบ้านบาตรแล้วยังมีสถานที่ที่น่าสนใจให้เที่ยวชมอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นวัดสุทัศนเทพวราราม ที่มีเสาชิงช้าสีแดงสดตั้งโดดเด่นอยู่ด้านหน้าวัด มีโบสถ์พราหมณ์ตั้งอยู่ใกล้ๆ กัน

    พิธีโล้ชิงช้าที่ว่านั้นเป็นพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์เพื่อต้อนรับพระอิศวรที่เสด็จลงมาเยี่ยมโลก แต่พิธีที่ว่านี้ได้เลิกไปในสมัยรัชกาลที่ 7 ยังคงเหลือเพียงเสาชิงช้าที่เด่นเป็นสง่าท้าแดดฝนมาจนถึงปัจจุบัน

    นอกจากนี้ย่านเสาชิงช้ายังเป็นแหล่งรวมร้านขายสังฆภัณฑ์ และย่านร้านอร่อย อีกด้วย
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>ข้อมูลจาก ผู้จัดการออนไลน์</TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...